ปรับลดพนักงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Jul 2020 00:57:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายการบิน Air France เตรียมปรับลดพนักงาน 6,500 คนในช่วง 2 ปี ฝ่าวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1285954 Tue, 30 Jun 2020 17:05:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285954 แอร์ฟรานซ์มีเป้าหมายนำเสนอแผนหนึ่งต่อสหภาพแรงงาน ในการปรับลดพนักงาน 6,500 อัตราในช่วง 2 ปีข้างหน้า ในขณะที่สายการบินแห่งนี้พยายามดิ้นรนรับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

สายการบินเรือธงของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอร์ฟรานซ์-แคแอลเอ็มกรุ๊ป กำลังปรับลดขนาดองค์กร และยกเลิกเส้นทางการบินภายในประเทศที่ขาดทุน ในขณะที่โรคระบาดใหญ่ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศอย่างหนักหน่วง

อย่างไรก็ตาม ในการปรับลดพนักงานสูงสุด 6,500 อัตรา ในนั้นรวมถึงนักบิน, พนักงานภาคพื้นและพนักงานต้อนรับบนเที่ยวบิน คิดเป็นไม่ถึง 15% ของพนักงานทั้งหมด นอกเหนือจากนี้แล้วจะมีการปรับลดพนักงานอีก 1,000 อัตราของสายการบิน HOP! ของแอร์ฟรานซ์

สอดคล้องกับรายงานของสถานีโทรทัศน์ BFM TV และสำนักข่าวเอเอฟพี ที่ระบุก่อนหน้านี้ว่ามีแนวโน้มที่จะมีการปรับลดพนักงานราวๆ 7,500 อัตรา

แอร์ฟรานซ์ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวเกี่ยวกับแผนปรับลดพนักงานของพวกเขา แต่คาดหมายกันว่าทางสายการบินแห่งนี้จะมีการพูดคุยหารือกับทางสหภาพแรงงานในวันที่ 3 ก.ค.

(Photo by Robert Alexander/Getty Images)

แหล่งข่าวเปิดเผยว่าในการปรับลดพนักงานนั้น ราว 3,500 อัตราจะมาจากการลดจำนวนพนักงานโดยการไม่จ้างทดแทนพนักงานที่ออกไป ผ่านการลาออกโดยสมัครใจหรือเกษียณ

ภายใต้การบริหารงานของซีอีโอ เบน สมิธ ซึ่งย้ายมาจากแอร์แคนาดาในปี 2018 ทางสายการบินแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม กำลังหาทางปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหภาพแรงงานฝรั่งเศส และก้าวข้ามเหตุกระทบกระทั่งด้านการบริหารระหว่างฝรั่งเศสกับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งต่างถือหุ้นเกือบๆ 14%

ด้วยมีภาระหนี้ถึง 10,400 ล้านยูโร ผ่านการกู้ยืมจากรัฐบาลเพื่อรับมือกับวิกฤตโรคระบาดใหญ่ COVID-19 ในนั้นรวมถึงเงินสนับสนุนจากฝั่งเนเธอร์แนด์ 3,400 ล้านยูโรที่อนุมัติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เวลานี้ทางแอร์ฟรานซ์ และเคแอลเอ็ม ต้องยกระดับปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและคงความเป็นอิสระ

บรรดาคู่แข่งทั้งหลายต่างเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในการแถลงปรับลดพนักงานไปก่อนหน้านี้ โดยบริติช แอร์เวย์ส มีแผนหั่นพนักงาน 12,000 อัตรา และอีซีย์เจ็ต แถลงจะปรับลดพนักงาน 4,500 อัตรา หรือคิดเป็นราว 30% ขณะที่ลุฟต์ฮันซา กรุ๊ป ก็กำลังจะปรับลดพนักงานประจำถึง 22,000 อัตรา หรือคิดเป็นราว 16%

Source

]]>
1285954
BMW ปรับลดพนักงาน 6,000 คน ระงับโครงการรถขับเคลื่อนอัตโนมัติเซ่นพิษ COVID-19 https://positioningmag.com/1284357 Sat, 20 Jun 2020 06:46:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284357 BMW จะปรับลดพนักงาน 6,000 อัตราในปีนี้ และระงับโครงการเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ร่วมมือกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ หลังค่ายรถหรูสัญชาติเยอรมนีมองเห็นอุปสงค์ดำดิ่งสืบเนื่องจากโรคระบาดใหญ่ไวรัส COVID-19

“มาตรการต่างๆ เพิ่มเติมมีความจำเป็นเพื่อให้บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีความยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับรับมือกับอิทธิพลต่างๆ ภายนอกและความผันผวนของตลาด” ผู้บริหารบีเอ็มดับเบิลยูระบุในถ้อยแถลง พร้อมบอกว่าทางบริษัทหวังบรรลุเป้าหมายในแผนปรับลดคนงานผ่านข้อตกลงโดยสมัครใจ

การปรับลดพนักงาน 6,000 อัตรา ถือเป็นกลุ่มก้อนที่มากพอสมควรสำหรับบีเอ็มดับเบิลยู ซึ่งมีพนักงานกว่า 120,000 คนทั่วโลก โดยการปรับลดมีขึ้นในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดจากอุปสงค์ถดถอยและกำลังผลิตที่ลดลง สืบเนื่องจาการแพร่ระบาดของ COVID-19

ขณะเดียวกันบีเอ็มดับเบิลยูและเดมเลอร์ เจ้าของเมอร์เซเดส ได้ออกถ้อยแถลงร่วม ระบุว่าทั้งสองบริษัทจะระงับโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเอาไว้ก่อน

ทั้งสองบริษัทจับมือกันในความพยายามไล่ตามบรรดาคู่แข่งจากสหรัฐฯและจีน ในนั้นรวมถึงเทสลาและกูเกิล ซึ่งเริ่มดำเนินการล่วงหน้าไปพอสมควร ในโครงการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

แต่ในการเจรจาที่เพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ทั้งสองบริษัทพบว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายแพงเกินไป ในการสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีร่วมกัน ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเศรษฐกิจในปัจจุบัน พวกเขาจึงมองว่ามันไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับเดินหน้าโครงการ “ความร่วมมือกันอาจเกิดขึ้นอีกครั้งในภายหลัง” ถ้อยแถลงจาก 2 บริษัทระบุ

บีเอ็มดับเบิลยูเคยแถลงเมื่อเดือนพฤษภาคม ว่าจะยกระดับโครงการลดค่าใช้จ่ายเพื่อรับมือกับความเสียหายทางเศรษฐกิจ อันเนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่เชื้อที่ถูกบังคับใช้เพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

เหล่าผู้บริหารมีแผนลดการลงทุน และหวังลดค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างผ่านมาตรการลดจำนวนพนักงานโดยสมัครใจมากกว่า แม้ในวันที่ 19 มิ.ย. ได้ออกมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมในความพยายามลดต้นทุนแล้วก็ตาม

เวลานี้ บีเอ็มดับเบิลยู เลือกหนทางลดชั่วโมงทำงานของแรงงานบางส่วน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และอนุมัติเพิ่มวันหยุดพิเศษแก่พนักงานอีก 8 วันต่อปี แลกกับการปรับลดค่าจ้าง

เหมือนกับ เดมเลอร์และโฟล์คสวาเกน ทางค่ายบีเอ็มดับเบิลยู คาดการณ์ว่าโรคระบาดใหญ่จะทำให้ทางบริษัทขาดทุนจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากโชว์รูมจำนวนมากจำเป็นต้องปิดบริการเป็นเวลานานหลายสัปดาห์

ทั้งนี้ในผลดำเนินการตลอดทั้งปี ทางบีเอ็นดับเบิลยูคาดหมายว่าพวกเขาจะมีกำไรก่อนหักภาษีลดลงอย่างมากจากระดับ 7,100 ล้านยูโร (ราว2.5แสนล้านบาท) ในปี 2019

Source

]]>
1284357
“การบินไทย” ยอมลดเงินเดือนผู้บริหาร 15-25% สู้วิกฤตไวรัส COVID-19 https://positioningmag.com/1265872 Tue, 25 Feb 2020 16:56:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265872 การบินไทยประกาศปรับลดเงินเดือนผู้บริการระดับสูงราว 15-25% จำนวนกว่า 40 คน ระยะเวลา 6 เดือน สู้วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในหลายประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบความมั่นใจในการเดินทาง และทำให้ผู้โดยสารลดลงในช่วงนี้ ซึ่งการบินไทยได้มีการปรับลดเที่ยวบินไปหลายเส้นทางโดยเฉพาะประเทศจีน บางเส้นทางปรับลดมากกว่า 50% ญี่ปุ่นลดไปกว่า 10% ทำให้บริษัทได้ปรับลดค่าใช้จ่ายตามไปด้วย

เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ฝ่ายบริหารจึงได้ร่วมกันกำหนดแผนการรับมือกับภาวะวิกฤตดังกล่าว โดยได้วิเคราะห์ผลกระทบในทุกสถานการณ์อย่างรอบคอบ ตั้งแต่ผลกระทบระดับน้อยจนถึงมากที่สุด โดยเริ่มจากการปรับลดค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติการบิน นอกจากนี้ยังปรับลดและชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็น การปรับลดแรงงานให้สอดคล้องกับปริมาณงาน เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว

เพื่อเป็นการแสดงความเสียสละของผู้บริหารระดับกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้อำนวยการใหญ่ ได้สมัครใจปรับลดเงินเดือนลง 15-25% และปรับลดค่าพาหนะลง 20-30% เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป

ระดับผู้บริหาร ตั้งแต่กรรมการผู้อำนวยใหญ่, รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งมีประมาณ 40 คน โดยการปรับลดดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับพนักงานแต่อย่างใด

และในช่วงนี้การบินไทยและไทยสมายล์ได้ให้ผู้โดยสาร สามารถเลื่อนตั๋วเดินทางได้ 6 เดือน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ การยกเลิกบินจะกระทบต่อผู้โดยสาร ซึ่งแม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัส แต่ยังมีผู้โดยสารที่มีความจำเป็นในการเดินทางอยู่ ดังนั้นก่อนที่จะมีการยกเลิกเที่ยวบิน จึงต้องประเมินอย่างรอบคอบ โดยพิจารณา ตั้งแต่การปรับลดขนาดเครื่องบิน, ยุบรวมเที่ยวบิน, บินบางวัน จนกระทั่งไม่มีผู้โดยสาร จึงมีการยกเลิก

ขณะนี้เส้นทางที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จีน ส่วนภาพรวมเส้นทางในเอเชีย มีการปรับลดเที่ยวบินลงประมาณ 10% และประเมินแต่ละเที่ยวบิน หาก Cabin Factor เหลือต่ำกว่า 50% จะพิจารณาลดเที่ยวบิน ซึ่งในช่วงเดือน ม.ค.จำนวนผู้โดยสารยัง ไม่กระทบมากเท่าไร แต่เดือน ก.พ. มีผลกระทบค่อนข้างมากแล้ว

ด้าน วิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์การบินไทย กล่าวว่า จากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ส่งผลต่ออัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin. Factor) ในเดือน ก.พ. ต่ำกว่าคาดที่ 70% ขณะที่เดือน ม.ค. มีมากกว่า 80% หลังจากที่การระบาดขยายไปนอกประเทศจีน เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี โดยในเดือน มี.ค.คาด Cabin Factor มีประมาณ 70%

โดยบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากเส้นทาง จีน และเอเชียเหนือ ประมาณ 30% ยุโรป 30% ออสเตรเลีย 10% ที่เหลือเป็นรายได้จากเอเชียใต้ อินเดีย และในประเทศไทย

สำหรับในช่วงสงกรานต์ ขณะนี้ยอดจองตั๋วยังไม่มีการยกเลิกมาก ส่วนใหญ่ผู้โดยสารยังคงรอดูสถานการณ์ไวรัส สำหรับเส้นทางยุโรป ออสเตรเลีย ยังมีความแข็งแกร่งและยังไม่มีการยกเลิก

Source

]]>
1265872
ยุคเปลี่ยนสู่ “รถยนต์ไฟฟ้า” เสี่ยงทำให้งานในอุตฯ รถยนต์เยอรมนีหายไป 4 เเสนตำเเหน่ง https://positioningmag.com/1260661 Wed, 15 Jan 2020 09:56:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260661 สื่อท้องถิ่นของเยอรมนี Handelsblatt รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวจากที่ปรึกษารัฐบาลว่า “การเปลี่ยนผ่านมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า อาจทำให้งานในอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีหายไปถึง 410,000 ตำแหน่งภายในปี 2030”

จากรายงานของ National Platform for Future of Mobility (NPM) ที่ปรึกษาของรัฐบาล ระบุว่า เเค่เฉพาะตำเเหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อน ก็มีความเสี่ยงที่จะตกงานกว่า 88,000 ตำแหน่ง
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนน้อยลงและต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่าเครื่องยนต์สันดาป

“พนักงานประกอบรถยนต์” ก็อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปลดเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบันโรงงานต่างๆ หันมาใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการประกอบชิ้นส่วนมากขึ้น

ด้านสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งเยอรมนี (VDA) ระบุว่า ในปีนี้จะมีการปรับลดตำแหน่งงานลงเรื่อยๆ หลังยอดขายรถยนต์ทั่วโลกที่ลดลง ประกอบกับการจ้างงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ขึ้นสู่จุดสูงสุดไปเเล้วที่ 834,000 ตำแหน่งเมื่อปี 2018 ดังนั้นจึงต้องกลับมาสู่ช่วงขาลง

อุตสาหกรรมยานยนต์ นับเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของเศรษฐกิจยุโรป ขณะเดียวกันผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปก็จำเป็นต้องเร่งปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า หลังมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่จริงจังเเละความกดดันจากการขับเคลื่อนของสหภาพยุโรปเพื่อมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

สำหรับใครที่สนใจดูข้อมูลรถทางเลือกเพิ่ม มาตามดูรถพลังงานไฟฟ้า ที่มาแรงที่สุดในปี 2019 ได้ที่ EasyCompare

ที่มา : Reuters / More than 400,000 German jobs at risk in switch to electric cars: Handelsblatt

]]>
1260661
ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! Audi จ่อลดพนักงาน 9,500 คน หลังอุตฯ ยานยนต์ตกต่ำ https://positioningmag.com/1255125 Wed, 27 Nov 2019 15:57:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255125 หลังบริษัทรถยนต์ค่ายใหญ่ทั้งหลายทยอยปลดพนักงานกันถ้วนหน้า ล่าสุด “Audi” ค่ายรถยนต์หรูสัญชาติเยอรมัน ภายใต้ชายคาของ Volkswagen ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ลดตำเเหน่งพนักงานถึง 9,500 คน ภายในปี 2025 ซึ่งคิดเป็นกว่า 10% พนักงานทั่วโลก โดยจะทำให้ประหยัดงบไปถึง 6 พันล้านยูโร ( เกือบ2เเสนล้านบาท) เพื่อนำไปพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเเละโครงการแห่งอนาคตเป็นหลัก

Audi ระบุว่า เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปจึงต้องมีการปรับลดพนักงานในส่วนที่ไม่จำเป็น โดยจะเพิ่มการจ้างงานในส่วนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 2,000 อัตรา เพื่อทำให้องค์กรคล่องตัวขึ้น ตามเป้าหมาย “become lean and fit for the future” อย่างไรก็ตาม บริษัทยืนยันว่าการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้จะไม่มีการปลดออกกะทันหัน แต่จะเกิดขึ้นตามการหมุนเวียนของพนักงาน โดยจะมีทั้งการลาออกและการเกษียณก่อนกำหนด

เมื่อประหยัดงบได้กว่า 6 พันล้านยูโรเเล้ว การลงทุนในโครงการแห่งอนาคตที่จะให้ความสำคัญในอีก 10 ปีต่อจากนี้ก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัลและรถยนต์ไฟฟ้า โดยปัจจุบัน Audi มีรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่น e-Tron ซึ่งใช้พนักงานในการประกอบน้อยกว่ารถยนต์พลังงานปกติที่มีหลายชิ้นส่วนมากกว่า

นอกจากนี้ยังจะไปลงทุนกับการปรับปรุงโรงงานที่เมือง Neckarsulm และ Ingolstadt ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อผลิตรถยนต์รวมกัน 675,000 คันต่อปี

Volkswagen ยังเป็นเจ้าของแบรนด์รถยนต์หรูชื่อดัง เช่น Porsche, Bugatti, Skoda และ Lamborghini โดยได้ลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนารถแบบไฮบริดที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ เเละมีแผนจะเปิดตัวโมเดลใหม่ 70 แบบภายในปี 2028

ค่ายรถยนต์ทั่วโลกต่างพยายามปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลังชะลอตัว รวมไปถึงในจีนเเละยุโรป ซึ่งมีการกดดันจากนโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงต้องมีการปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะถูกนำมาใช้เเทนรถยนต์เเบบเดิมที่ใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซล

เเต่การเปลี่ยนเเปลงนี้ ต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาล ค่ายรถยนต์จำเป็นต้องหาพันธมิตร โดยเมื่อเดือนที่แล้ว Fiat Chrysler ได้ประกาศควบรวมกิจการกับ Groupe PSA ซึ่งมีรถเเบรนด์ดังอย่าง Peugeot อีกทั้ง BMW และ Daimler ก็ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับ รวมไปถึง Honda และ General Motors (GM) ก็ร่วมมือพัฒนารถยนต์ไร้คนขับเช่นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางยอดขายรถยนต์ตกต่ำ เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัวลงเเละมีเเนวโน้มจะเลวร้ายลงอีก โดย Fitch Ratings ประเมินว่า ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกจะลดลงราว 3.1 ล้านคันในปีนี้ ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำกว่าปี 2008 ที่ตอนนั้นโลกเผชิญกับวิกฤตทางการเงิน

 

ที่มา : CNN , theguardian

]]>
1255125