นโยบายพักชำระหนี้สำหรับ “สินเชื่อธุรกิจ SME” และ “สินเชื่อรายย่อย” ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของภาครัฐ (ทั้งในและนอกพื้นที่ควบคุมฯ) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สำหรับสินเชื่อธุรกิจติดต่อที่เจ้าหน้าที่ดูแลสินเชื่อของท่าน สินเชื่อรายย่อยลงทะเบียนจาก QR Code ในภาพด้านบน สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1327
ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐทำให้รายได้ลดลง ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายๆ ไป
นโยบายพักชำระหนี้ “สินเชื่อธุรกิจ” และ “สินเชื่อรายย่อย” ของลูกหนี้ทั้งที่เป็นเจ้าของกิจการและลูกจ้าง ในสถานประกอบการที่ได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการตามคำสั่งภาครัฐ ให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน
แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 ที่หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน หรือธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-111-1111
นโยบายพักชำระหนี้ “สินเชื่อธุรกิจ” และ “สินเชื่อรายย่อย” ของลูกหนี้ทั้งที่เป็นเจ้าของกิจการและลูกจ้าง ในสถานประกอบการที่ได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการตามคำสั่งภาครัฐ เช่น สปาและนวด สถานเสริมความงาม บริการเพื่อสุขภาพ ร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 64 เวลา 8.00 น. – 15 ส.ค. 64 เวลา 16.00 น. ที่ www.gsb.or.th สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1115
นโยบายพักชำระหนี้ “สินเชื่อธุรกิจ” และ “สินเชื่อรายย่อย” ของลูกหนี้ทั้งที่เป็นเจ้าของกิจการและลูกจ้าง ในสถานประกอบการที่ได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการตามคำสั่งภาครัฐ เช่น สปาและนวด สถานเสริมความงาม ร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน
ทั้งนี้ สินเชื่อดังกล่าวหมายรวมถึงบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย และสินเชื่อธุรกิจ SME
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สินเชื่อธุรกิจติดต่อที่ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน หรือโทร. 02-777-7777 สำหรับสินเชื่อรายย่อยติดต่อผ่านแอป SCB EASY
นโยบายพักชำระหนี้สำหรับ “รายย่อย” กลุ่มผู้กู้สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน ให้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ 3 เดือน ผู้ที่สนใจแอดไลน์ @CIMBTHAI และแจ้งความประสงค์ได้
ด้านกลุ่ม สินเชื่อ SME ให้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ 2 เดือน โดยติดต่อผ่านพนักงานธนาคารที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
ทั้งกลุ่มรายย่อยและธุรกิจ ต้องแสดงข้อมูลว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เช่น เปิดร้านหรือทำงานในร้านค้าบนห้างสรรพสินค้า โดยแสดงหลักฐานเป็นประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือประกาศของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
สามารถลงทะเบียนหรือแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-626-7777 ทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น.
นโยบายพักชำระหนี้สำหรับลูกจ้างและนายจ้างในกิจการที่ต้องปิดตามมาตรการของภาครัฐ ธนาคารยูโอบีพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน
แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สำหรับสินเชื่อธุรกิจติดต่อเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ที่ดูแลสินเชื่อของท่าน สำหรับสินเชื่อรายย่อยดูรายละเอียดเพิ่มที่ www.uob.co.th หรือ โทร. 02-285-1555
ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐทำให้รายได้ลดลง ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายๆ ไป
พักชำระหนี้ให้กับลูกค้าทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่สถานประกอบการถูกปิดกิจการตามคำสั่งภาครัฐ ทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และกลุ่มที่มีสถานะ NPL ให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้ 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564
ลงทะเบียนขอพักชำระหนี้ได้ระหว่างวันที่ 19 ก.ค. – 29 ส.ค. 64 (ปิดระบบ 20.00 น.) ลงทะเบียนได้ 3 ช่องทางคือ แอปพลิเคชัน GHB ALL, เว็บไซต์ www.ghbank.co.th และไลน์ GHB Buddy
มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือลูกค้าเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 2 เดือน
สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกร แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สำหรับลูกค้าเกษตรกรและบุคคล แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ธ.ค. 64
ติดต่อได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ ไลน์ BAAC Family, โทร. 02-555-0555 , เว็บไซต์ www.baac.or.th และ ติดต่อที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
ไอแบงก์มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถพักชำระหนี้และกำไรได้ 2 เดือน
ติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หรืออีเมล [email protected] ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1302
ธนาคารกสิกรไทย แบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ โดยเป็นการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะเวลา 2 เดือน เริ่มการพักชำระตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป
โดยลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ คือ
– ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
– ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ
โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2564
-ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822
-ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888
LINE KBank Live https://kbank.co/LINEfriend
อ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม
]]>การระบาดของ COVID-19 และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้ CIO หรือผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและบริการ โดยได้เข้าสู่โหมด รัดเข็มขัด ซึ่งหมายความว่า การลงทุนจะลดลงและการจัดลำดับความสำคัญเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ตลอดทั้งปี 2563
สำหรับการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2563 ที่คาดว่าลดลง -8% แบ่งเป็น
จะเห็นว่าตลาดไอทีทุกกลุ่มประสบกับการใช้จ่ายที่ลดลง โดยเฉพาะในตลาดอุปกรณ์ดีไวซ์และระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ขณะที่รูปแบบการทำงานระยะไกลในกลุ่มย่อย เช่น บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เป็นกลุ่มเดียวที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 19% ในปี 2563 ซึ่งจะเห็นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ข้อความและการประชุมบนระบบคลาวด์โดยเติบโตขึ้น 8.9% และ 24.3% ตามลำดับ
“การฟื้นคืนสู่สภาวะปกติจะไม่เป็นไปตามรูปแบบดังเช่นสถานการณ์ที่ผ่าน ๆ มา เนื่องจากพลังที่อยู่เบื้องหลังสภาวะของการถดถอยนี้จะทำเกิดแรงสะท้อนอย่างรุนแรงต่อทั้งอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข สังคมและการค้า” นายจอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว
ในส่วนของประเทศไทย คาดว่าการใช้จ่ายไอทีจะลดลงต่ำกว่าทั่วโลกที่ -9.3% แบ่งเป็น
“อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมหนัก (อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกล แรงงานและเงินจำนวนมาก) แม้ว่าการใช้จ่ายด้านไอทีจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตลอดปี 2563 แต่มองว่าต้องใช้เวลานานกว่าสามปีในการกลับมามีมูลค่าเทียบเท่ากับปี 2562”
]]>ล่าสุด Airbnb สั่งปลดพนักงาน 25% หรือ 1,900 คน จากจำนวนพนักงานทั้งหมด 7,500 คน ที่มีอยู่ทั่วโลก พร้อมปรับลดขนาดบริษัทให้เล็กลง เลิกทำธุรกิจที่ไม่จำเป็นเเละกลับมาโฟกัสเเต่เรื่องที่พัก เหมือนช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่
Brian Chesky ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb เเจ้งต่อพนักงานว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่บอบช้ำที่สุด ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมฝ่าฟันไปด้วยกัน เเละนี่ไม่ใช่ความผิดของพนักงานเเต่อย่างใด โดยหวังว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับมาดีขึ้นหลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปเเต่คงจะไม่รุ่งโรจน์เหมือนปีก่อนๆ
“หลังวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ธุรกิจท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก ผู้คนจะเลือกไปเที่ยวใกล้บ้าน เที่ยวในสถานที่ปลอดภัยเเละจ่ายเงินน้อยลง”
กลุ่มพนักงานที่จะต้องออกจากตำเเหน่งจะกระจายทั่วโลก โดยทีมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Airbnb Studios หน่วยงานผลิตวิดีโอท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจด้านการเดินทาง รวมถึงกลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักหรูที่จำเป็นต้องหยุดไปก่อน โดยบริษัทจะกลับไปโฟกัสในธุรกิจที่เป็นรากฐาน คือการให้เช่าบ้านหรือห้องพักที่เจ้าของบ้านเป็นผู้ปล่อยเช่าเอง
โดยพนักงานที่ถูกปลดจะได้รับเงินชดเชยขั้นต่ำ 14 สัปดาห์ และบวกเพิ่มตามอายุงาน ส่วนพนักงานที่เคยมีสิทธิได้หุ้นก็จะยังคงได้สิทธินั้น เเละเเม้จะว่าจะสิ้นสภาพพนักงานไปแล้ว บริษัทก็ยังคงจะให้สิทธิประโยชน์ด้านประกันสุขภาพต่อไปอีก 12 เดือน
การปรับโครงสร้างของ Airbnb ครั้งนี้เป็นไปเพื่อลดค่าใช้จ่าย ประคองธุรกิจให้อยู่รอดจนพ้นวิกฤต หลังประเมินว่าว่าในปี 2020 รายได้ของบริษัทจะลดลงจากปี 2019 ถึง 50% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ราว 4,800 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.55 แสนล้านบาท)
ก่อนหน้านี้ Airbnb พยายามเเก้ไขสถานการณ์ด้วยการระดมเงินลงทุนเพิ่มราว 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเเละตัดค่าใช้จ่ายลง โดยเฉพาะในส่วนของ “งบการตลาด” ของปีนี้ที่เคยตั้งไว้ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านผู้ก่อตั้งบริษัทประกาศว่าจะไม่รับเงินเดือน 6 เดือนเเละผู้บริหารระดับสูงจะลดเงินเดือนลง 50%
ในช่วงที่ผ่านมา Airbnb แก้เกมด้วยการเปิดตัว Airbnb Experience ให้เจ้าของบ้านพาลูกค้าทำกิจกรรมเเบบเสมือนจริง รวมถึงพยายามเข้าถึงลูกค้าทางออนไลน์มากขึ้น เเต่ไม่ได้ช่วยในธุรกิจภาพรวมมากนัก ขณะเดียวกันก็ต้องเจอปัญหาการร้องเรียนเรื่องการคืนเงินให้กับลูกค้าที่ยกเลิกการจองห้อง เเละการช่วยเหลือเจ้าของห้องพักที่ขาดรายได้ในช่วง COVID-19 รวมถึงการออกกฎให้เว้นระยะเวลาการเข้าพักของเเขกเเต่ละคน อย่างน้อย 24 ชั่วโมงตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ
ที่มา : Airbnb , Reuters , techcrunch
]]>
สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia กลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการ “ล้มละลาย” พนักงานกว่าหมื่นคนเสี่ยงตกงานกะทันหัน
ในขณะที่สายการบินอีกหลายเเห่งในเอเชียต้อง “ชะลอเเผนธุรกิจ” จากเดิมที่มีเเผนจะควบรวมกิจการ ซื้อกิจการหรือซื้อเครื่องบินใหม่ เปลี่ยนมาเปลี่ยนเเค่พยุงธุรกิจให้รอดวิกฤต COVID-19 นี้ไปก็พอ รวมถึงขอให้ผู้โดยสารรับเงินคืนเป็น “เครดิต” เเทนเงินสดในยามธุรกิจย่ำเเย่ไร้เงินหมุน
Paul Scurrah ซีอีโอของ Virgin Australia กล่าวว่า การตัดสินใจยื่นขอล้มละลายครั้งนี้เป็นไปเพื่อที่จะต่อชีวิตของสายการบิน และแสดงให้เห็นถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการเงินของบริษัทต่อไป
ก่อนหน้านี้ สายการบินพยายามยื่นขอให้รัฐบาลจัดหาเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ ในวงเงิน 888 ล้านเหรียญสหรัฐ เเต่รัฐบาลออสเตรเลีย “ปฏิเสธ” ด้วยเหตุผลว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Virgin Australia เป็นสายการบินต่างชาติ (เเต่ Qantas สายการบินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจำนวน 715 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)
Virgin Australia มีผู้ถือหุ้นหลักๆ ประกอบด้วย สายการบิน Etihad Airways ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือหุ้น 20.94% สายการบิน Singapore Airlines ของสิงคโปร์ ถือหุ้น 20.09% บริษัทหนานชาน กรุ๊ป ถือหุ้น 19.98% บริษัท HNA Group ถือหุ้น 19.82% และบริษัท Virgin Group ของนักลงทุนชื่อดัง Richard Branson ถือหุ้นอยู่ 10.42%
โดยสายการบินมีเครื่องบินถึง 130 ลำ พนักงานรวมกันกว่า 10,000 คน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องอีกราว 6,000 คน ต้องเเบกรับหนี้สินระยะยาวอยู่ราว 3,170 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1 แสนล้านบาท)
ที่ผ่านมา Virgin Australia มีส่วนแบ่งรายได้ 31% ของเที่ยวบินในประเทศออสเตรเลีย เป็นอันดับ 2 รองจากคู่เเข่งอย่าง Qantas ที่มีส่วนแบ่ง 58% เเละที่เหลือเป็นของสายการบินขนาดเล็กในประเทศ โดยธุรกิจการบินในออสเตรเลียประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมาพักใหญ่ ก่อนที่จะเกิดวิฤกต COVID-19
ความเสียหายระยะยาวสายการบิน จะมีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภาคธุรกิจสำคัญของ GDP
ก่อนหน้านี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้
มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ
ล่าสุด IATA ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ความสูญเสียรายได้ของธุรกิจการบินโลกว่า ขณะนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นกว่าการประเมินครั้งก่อนเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเคยประเมินไว้ที่ 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดมาตรการ “ล็อกดาวน์” ในหลายประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงมาก การที่จะฟื้นฟูเส้นทางบินระหว่างประเทศ “ล่าช้า” กว่าที่เคยคาดไว้ เเละจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ลดลงถึง 55% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
“การล้มละลายของ Virgin Australia เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของวิกฤต ต่อจากนี้ 2-3 เดือน จะมีสายการบินล้มละลายอีกจำนวนมาก”
ที่มา : ฺBBC , straitstimes
]]>
ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย มองว่า ผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540
“จุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิกฤตการระบาดของเชื้อ COVID-19 กับวิกฤตปี 2540 คือ ในรอบนี้ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ ‘เร็ว’ และมี ‘ขนาดใหญ่’ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ทรุดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดับแรกๆ คือ การจัดการด้านสาธารณะสุขเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและดูแลผู้ป่วยในวงที่กว้างขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องอาชีพและปากท้องของประชาชน”
ทั้งสองส่วนนี้ มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จัดสรรไปหมดแล้ว
ด้านการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะปัจจุบันตลาดการเงินไทยเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจ ธปท. ออกซอฟต์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พ.ร.ก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตลอดจน พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งรวมแล้วคือมาตรการเยียวยาระยะที่ 3 ที่มีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้นถือเป็นส่วนสำคัญ
“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ จะยังคงขึ้นอยู่กับว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่า หากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอีกมากเพียงพอที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน” ปรีดีกล่าว
ประธานสมาคมธนาคารไทย เเนะว่ามาตรการ 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จำเป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่การจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีขนาดใหญ่ราว 22% ของจีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิมและเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถาบันและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมในตราสารหนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยมาตรการช่วยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนกิจการทั้งหมด และการจ้างงานกว่า 85% ของการจ้างงานทั้งประเทศ หรือกว่า 13 ล้านคน ผ่านการให้ซอฟต์โลนเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแบบอัตโนมัติ
“ทั้งหมดนี้ ก็คาดหวังว่าการต่อลมหายใจทางธุรกิจ จะช่วยพยุงจ้างงานและกลไกของห่วงโซ่ธุรกิจบางส่วนให้พอเดินต่อไปได้ ในระหว่างที่ทุกคนรวมพลังอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ”
]]>