Reuters รายงานจากคำกล่าวของ Howard Catton ซีอีโอของสภาพยาบาลนานาชาติ (ICN) ที่มีเครือข่ายกว่า 27 ล้านคนว่า
ความเสี่ยง ความเหน็ดเหนื่อยเเละการเจ็บป่วยจากการทำงานที่หนักเกินปกติ ส่งผลให้เกิดการลาออกของเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ท่ามกลางยอดผู้ป่วยจากสายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปัญหาการขาดเเคลนบุคลากรทางการเเพทย์อยู่ในระดับสูง
เหล่าประเทศตะวันตก อย่าง สหราชอาณาจักร เยอรมนี แคนาดา และสหรัฐฯ กำลังพยายามเเก้ไขปัญหานี้ ผ่านการเพิ่มการจ้างงานพยาบาลจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เเนวโน้มของความไม่เท่าเทียมกันทางด้านสุขภาพเเละสาธารณสุขแย่ลงไปอีก
“ผมเกรงว่าวิธีแก้ปัญหาเช่นนี้ จะคล้ายกับกรณีที่กลุ่มประเทศร่ำรวยได้อาศัยอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อซื้อและกักตุนอุปกรณ์ป้องกันโรคอย่างชุด PPE เเละวัคซีน”
จากข้อมูลของ ICN ระบุว่า ก่อนเกิดการระบาดใหญ่ ก็มีปัญหาการขาดแคลนพยาบาลทั่วโลกอยู่เเล้วถึง 6 ล้านคน โดยเกือบ 90% ของการขาดแคลนมักจะอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง
การจ้างงานพยาบาลจากต่างประเทศ บางส่วนมาจากภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa) รวมถึงไนจีเรีย และบางส่วนของแคริบเบียน
โดยเหล่าพยาบาลจะได้รับแรงจูงใจด้วยข้อเสนอเงินเดือนที่สูงขึ้น สวัสดิการเเละเงื่อนไขที่ดีกว่าประเทศบ้านเกิด รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการย้ายถิ่นฐาน
“หลายคนอาจจะมองว่านี่เป็นการที่ประเทศร่ำรวย หาทางลดค่าใช้จ่ายในการให้การศึกษาแก่พยาบาลใหม่และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข”
Howard Catton เรียกร้องให้มีการวางเเผนเพื่อเสริมกำลังเเรงงานอย่างจริงจังในระยะ 10 ปี เเละขอให้มีความร่วมมือกันในระดับโลก เพื่อให้มีการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเเละได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรูเท่านั้น
ที่มา : Reuters
]]>ปัจจุบัน ‘ฟิลิปปินส์’ เป็นแหล่งผลิตวิชาชีพพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยพยาบาลเป็นหนึ่งในอาชีพของชาวฟิลิปปินส์กว่า 10 ล้านคนที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในต่างเเดน ซึ่งทำเงินส่งกลับประเทศมากถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9 เเสนล้านบาท) ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
Silvestre Bello รัฐมนตรีกระทรวงเเรงงาน กล่าวว่า มีเหตุผลที่ควรอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถไปหางานที่ดีในต่างประเทศได้ พร้อมกันนั้นเราต้องทำให้เเน่ใจว่าฟิลิปปินส์เอง ก็จะไม่ประสบปัญหาขาดเเคลนเเพทย์เเละพยาบาล
ด้าน Jocelyn Andamo จากชมรมพยาบาลฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาเเล้วกว่า 2 เเสนคน เลือกที่จะทำงานในอุตสาหกรรมอื่น เนื่องจากระบบสาธารณสุขในประเทศ “มีค่าตอบเเทนเเละสวัสดิการน้อย” ซึ่งเธอมองว่าความเคลื่อนไหวของกระทรวงเเรงงานครั้งนี้ถือเป็นพัฒนาการที่ดี
โดยยังมีพยาบาลในฟิลิปปินส์อีกอย่างน้อย 4,000 คน ที่ตั้งใจจะไปทำงานในเยอรมนี ตะวันออกกลาง สกอตแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ และออสเตรเลีย แต่ถูกห้ามออกเดินทาง เนื่องจากจำนวนพยาบาลที่ย้ายไปทำงานในต่างเเดนเกินโควตา 5,000 คนเเล้ว
จากข้อมูลของรัฐบาล ระบุว่า ในปี 2019 พยาบาลชาวฟิลิปปินส์เกือบ 17,000 คนได้เซ็นสัญญาทำงานในต่างประเทศ
ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกแรงงานด้านสาธารณสุขไปเมื่อพ.ย.ปีที่แล้ว แต่ก็ยังจำกัดจำนวนที่จะเดินทางอยู่ เพื่อให้มีแพทย์และพยาบาล ‘เพียงพอ’ รับสถานการณ์โรคระบาดในประเทศ
ฟิลิปปินส์ กำลังต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 1.34 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมกว่า 2.3 หมื่นราย สูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
ล่าสุดมีประชาชนได้ฉีดวัคซีนโดสเเรกแล้ว 7.5 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศที่ 110 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ใช้วัคซีนของ Sinovac ที่เหลือเป็นวัคซีนของ Pfizer-BioNTech , AstraZeneca เเละ Sputnik V
]]>