พลังงานสะอาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Oct 2024 07:08:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตา “โซลาร์เซลล์” เจาะลึกแบรนด์ EnergyLIB พลิกโฉมวงการด้วยโซลูชันครบวงจร https://positioningmag.com/1494957 Mon, 21 Oct 2024 09:59:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1494957

เรียกได้ว่า เป็นยุคแห่งพลังงานสะอาดเลยจริงๆ เพราะเทรนด์การตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องโลกร้อน เป็นส่วนหนึ่งให้คนทั่วโลกหันมาให้คนสนใจกับพลังงานทางเลือกมากขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ “โซลาร์เซลล์” จึงเป็นหนึ่งในโซลูชันที่หลายคนกำลังมองหา


จับตา “โซลาร์เซลล์” ผู้เปลี่ยนตลาดพลังงานทางเลือก

โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีปัจจัยทั้งด้านอากาศร้อนจัดขึ้นทุกปี และวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไป มีการ Work from Home มากขึ้น ทำให้คนไทยต้องหันมาเปิดแอร์ตลอดทั้งวัน อีกทั้งการมาของรถ EV ก็มีส่วนทำให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น รวมไปถึงอุปกรณ์สมาร์ทโฮม และแกดเจ็ตต่างๆ ก็ล้วนแต่มีการใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น

นอกจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญก็คือ “ค่าไฟ” ที่มีการปรับขึ้นทุกปีๆ จนใครๆ ที่เห็นบิลค่าไฟ จะต้องหนาวทั้งที่อากาศร้อนไปเลยทันที เมื่อเปรียบเทียบเรทค่าไฟจากกฟผ. เพียง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2566) พบว่า เรทค่าไฟสูงขึ้นถึง 30% เป็นภาระค่าครองชีพที่คนไทยต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้บริโภคเริ่มตระหนักรู้ถึงพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะ “พลังงานแสงอาทิตย์” หลายคนเริ่มมองหาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยลดค่าไฟได้มากขึ้น และใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องบิลค่าไฟ แถมยังได้ช่วยโลกด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาด

ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ตลาดโซลาร์เซลล์สำหรับที่อยู่อาศัย มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งในเรื่องของราคาที่จับต้องได้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลาดโซลาร์สำหรับครัวเรือนจึงเป็นตลาดที่น่าจะตามองเป็นพิเศษ จากข้อมูลศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ตลาดโซลาร์เซลล์ไทย เติบโตเฉลี่ยถึง 22% ต่อปี ในปี 2565-2568 และคาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึงกว่า 67,000 ล้านบาท ในปี 2568


มีโซลูชันครบวงจรไว้ อุ่นใจกว่า

ถึงแม้ว่าตลาดนี้จะมีการเติบโตมากขึ้น และมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้นเช่นกัน แต่ต้องทำความเข้าใจในระบบโซลาร์เซลล์ก่อนว่า กว่าจะใช้งานได้สมบูรณ์แบบนั้น ต้องเกิดจากหลายอุปกรณ์ ทั้งแผงโซลาร์, อินเวอร์เตอร์, แบตเตอรี่ และอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละส่วนจะเป็นคนละแบรนด์กัน ทำให้เวลาเกิดปัญหา การรับประกัน และบริการหลังการขาย ผู้ใช้จะต้องติดต่อแยกแบรนด์และหาช่างเอง

บางครั้งก็เกิดการเกี่ยงกันว่าปัญหาไม่ได้เกิดที่สินค้าแบรนด์เรา หรือเกิดที่อุปกรณ์ตัวอื่นในระบบ ทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นไปอีกว่าสรุปเจ้าไหนจะต้องเข้ามารับผิดชอบกันแน่ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการทำงานอาจทำงานร่วมกันได้ไม่เต็มที่ เพราะที่ผ่านมายังไม่มีแบรนด์ใดที่มีโซลูชันครบวงจรสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยในประเทศไทย

นอกจากเรื่องอุปกรณ์แล้ว ยังมีปัญหาที่การติดตั้งด้วย ซึ่งมีราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับช่างที่ให้บริการติดตั้งเข้ามาประเมินราคา ทำให้คุณภาพ และมาตรฐานในการติดตั้งก็หลากหลายไปด้วยเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ล้วนมี Pain Point มากมาย หากในตลาดมีแบรนด์ที่มีโซลูชันแบบครบวงจรที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบ น่าจะช่วยคลายความกังวล มอบความอุ่นใจและสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานได้มาก ตั้งแต่ การขายแบบครบทั้งระบบทั้งแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ พร้อมรวมบริการติดตั้ง บริการหลังการขาย อย่าง บริการล้างแผงให้ฟรีหลังติดตั้ง และการรับประกัน ก็คงจะดีไม่น้อย


EnergyLIB ผู้เข้ามาพลิกวงการโซลาร์เซลล์สำหรับครัวเรือน ครบ จบ ง่าย ในที่เดียว

แต่ตอนนี้ประเทศไทยมีแบรนด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนั้นได้อย่างลงตัว EnergyLIB (เอเนอร์จี้ลิบ) แบรนด์ระบบโซลาร์โซลูชันครบวงจร ชูจุดเด่น “One-Stop Solution โซลูชันครบวงจร ครบ จบ ง่าย ในที่เดียว” ด้วยบริการครบวงจรสำหรับที่อยู่อาศัยครั้งแรกในไทย บริการตั้งแต่การออกแบบจนถึงการติดตั้งและบำรุงรักษา จากทีมวิศวกรมืออาชีพ มาพร้อมสโลแกน “ลดค่าไฟสูงสุด 70%[1] ใช้ไฟได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน”

โดยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “EnergyLIB P1 All-In-One” ที่มาพร้อม Black Magic แผงโซลาร์เซลล์และเครื่อง All-In-One ที่ได้รวมอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ไว้ในเครื่องเดียว ช่วยลดค่าไฟสูงสุด 70%[1] ให้ใช้ไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืนหรือแม้กระทั่งไฟดับ

อีกทั้ง ยังมาพร้อมโซลูชันครบวงจร มอบความสะดวกสบายและอุ่นใจให้กับผู้บริโภค ตอบโจทย์ Pain Point ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี หมดปัญหาเรื่องการติดตั้งและการดูแลระบบในระยะยาว ที่มีความยุ่งยากและอาจไม่ได้มาตรฐาน โดย EnergyLIB พร้อมมอบบริการในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น ก่อน ระหว่าง และหลังการติดตั้ง

  • ก่อนการติดตั้ง
    • ราคาเดียวจบ: จ่ายราคาเดียว รวมติดตั้งพื้นฐาน[2] ไม่ต้องเทียบราคาให้วุ่นวาย
    • ประสิทธิภาพสูงสุด: เลือกแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ที่เข้ากัน เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ต้องคิดให้ปวดหัว
    • มั่นใจในคุณภาพ: ทดสอบสินค้าอย่างละเอียด มั่นใจได้ว่าส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระหว่างการติดตั้ง
    • ออกแบบการติดตั้งเฉพาะหลังโดยผู้เชี่ยวชาญ: คำนึงถึงประสิทธิภาพ ความสวยงาม และความปลอดภัย เพื่อบ้านหลังพิเศษของคุณ
    • ทีมติดตั้งมืออาชีพ ใช้อุปกรณ์คุณภาพสูง: ทนทานใช้งานได้ในระยะยาว ปลอดภัยไร้กังวล
    • ทีม QC การันตีจาก EnergyLIB: ตรวจสอบและรับรองโดยวิศวกรก่อนส่งมอบงาน เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ
  • หลังการติดตั้ง
    • รับประกันงานติดตั้งทั้งระบบ: อุ่นใจไปกับการรับประกันทั้งระบบ 3 ปี[3] พร้อมล้างแผงและเช็คระบบฟรี 1 ครั้ง/ปี
    • รับประกันประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์: แผงโซลาร์เซลล์ 30 ปี[3] อินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ 10 ปี[3]
    • ฝ่ายบริการใส่ใจลูกค้าทุกท่าน: พร้อมบริการและตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง

กระแสตอบรับจากคนไทยดีเกินคาด

หลังจาก EnergyLIB เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยราคาเริ่มต้น 359,000 บาท ซึ่งเป็นราคาผลิตภัณฑ์ที่รวมค่าติดตั้งพื้นฐาน[2]แล้วเรียกว่าเป็นราคาที่จับต้องได้สุดๆ สำหรับโซลาร์โซลูชัน EnergyLIB การันตีความมั่นใจจากลูกค้าด้วยยอดพรีออเดอร์ที่สูงเกินเป้า 10 เท่า ในเดือนที่ผ่านมา จากกระแสตอบรับดี ยอดพรีออเดอร์สูงเกินเป้า ทำให้เห็นได้ชัดว่าคนไทยกำลังมองหาโซลูชันแบบครบวงจร EnergyLIB จึงพร้อมที่จะเป็น One-Stop Solution ด้านระบบโซลาร์โซลูชันสำหรับที่พักอาศัยแบบครบวงจร “ครบ จบ ง่าย ในที่เดียว” ทั้งการให้คำปรึกษา การติดตั้ง รับประกัน ตลอดจนบริการหลังการขาย รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ทั้งในแง่ดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพการทำงาน และการใช้งานในชีวิตประจำวัน

เป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยที่วงการโซลาร์เซลล์มีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคแบบครบวงจร สามารถพูดได้เลยว่า EnergyLIB เข้ามาเป็นผู้ปฏิวัติวงการโซลาร์เซลล์ที่อยู่อาศัยตัวจริง เพราะมีโซลูชันแบบครบวงจรเป็นรายแรกในประเทศไทย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Official Page หรือ Call Center ของ EnergyLIB สัมผัสผลิตภัณฑ์จริงได้ที่ร้าน BaNANA สาขาที่ร่วมรายการ และเป็นเจ้าของ EnergyLIB P1 All-In-One ได้แล้วที่ BaNANA ทุกสาขาและผู้จัดจำหน่ายที่ร่วมรายการทั่วประเทศ

[1] ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส ที่ติดตั้งแบตเตอรี่ 20 kWh และแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง โดยประสิทธิภาพและผลลัพธ์อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อาทิ ปริมาณแสงแดดและความร้อน ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์ อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ

[2] อาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ภายหลังจากการสำรวจพื้นที่หน้างานจริง โดยขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของบ้าน

[3] โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ใบรับประกัน

]]>
1494957
KResearch มอง Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทย แนะภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ https://positioningmag.com/1479287 Sun, 23 Jun 2024 13:53:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479287 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยแนะนำให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้จะเติบโตได้ราวๆ 2.6% ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายปัจจัย

บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องสภาวะแวดล้อมโลกจากเดิมที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจาก

เขาได้เกริ่นถึงสาเหตุโลกร้อน ซึ่งอุณภูมิโลกเปลี่ยนแปลงตามจำนวนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำให้เกิดการเผาถ่านหิน ขณะเดียวกันโลกในยุคปัจจุบันเองพื้นที่ป่าตอนนี้เหลือน้อยมาก ตอนนี้อาจทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดสูญพันธุ์อย่างถาวร เนื่องจากป่าทำให้เก็บคาร์บอน และมีความหลากหลายทางชีววิทยาเยอะมาก 

ปัจจุบันบุรินทร์ได้กล่าวว่าโลกตอนนี้กำลังมีการลดคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ปัญหาคือการเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่เรื่องของการทำเกษตรกรรม ทำให้มีการใช้พื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการทำเกษตรแบบเดิมๆ

ข้อมูลจาก KResearch

จีนหันมารุก Clean Tech มากขึ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ จีนเน้นเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) เยอะมาก โดยบุรินทร์ชี้ถึงหลังปี 2008 นั้นอากาศในจีนดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอดีตที่อากาศในประเทศจีนนั้นถือว่าไม่ได้สะอาดมากนัก และจีนเองยังส่งออกรถยนต์มากกว่าเยอรมันแล้วในปัจจุบัน

เขายังชี้ว่า การที่จีนทำ Clean Tech เพราะเม็ดเงินลงทุน และได้กำไรเข้าประเทศ เนื่องจากจีนมีอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งประเทศอื่นไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะมองว่าโลกหลังจากนี้เดินหน้าไปยัง Clean Tech แน่นอน

อย่างไรก็ดีกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป นั้นไม่ต้องการสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากจีนกินรวบอยู่คนเดียว จึงมีการออกมาตรการขัดขวางออกมา เช่น กำแพงภาษี เป็นต้น

ขณะเดียวกันบุรินทร์ชี้ว่าสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ในการตั้งประเทศดีมาก และในอดีตนั้นเป็นประเทศเดิผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แล้ว แตกต่างกับจีนที่ยังเป็นประเทศที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก การที่หันมาสู่ Clean Tech เองนั้นถือว่าดีกับประเทศจีนไปในตัว

ข้อมูลจาก KResearch

ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับไทยในเรื่อง Clean Tech และ EV

Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังกล่าวถึง ภาษีนำเข้าสินค้าในช่วงที่ผ่านมาทำให้บริษัทจีนย้ายฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น แผงโซลาร์ อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีการขึ้นภาษีสินค้าบริษัทที่มีจีนเป็นเจ้าของ

ฉะนั้นแล้ว กลยุทธ์ของจีนอย่าง China+1 ที่มีการขยายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีทางการค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทันทีถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แต่เขายังชี้ว่าถ้าหากสหรัฐฯ มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากบริษัทจีนจริง คาดว่ารัฐบาลจีนจะทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนอีก 20% ถ้าหากมีการประกาศภาษี ซึ่งการลดค่าเงินหยวนนั้น ปัญหาที่ตามมานั้นอาจทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาในอาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายด้านการผลิตในไทย และยอดขาดดุลการค้าของไทยเพิ่มมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี เขามองว่า Clean Tech และ EV จะเป็นโอกาสใหม่ของไทย และกลยุทธ์ China+1 อาจไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงต่อไป  เขายังชี้ว่าอาเซียนจะต้องรวมพลังกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมถึงการมีบทบาทในตลาด เขตเศรษฐกิจ และศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของโลกหลังจากนี้

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าไทยยังมีจุดแข็งเช่น พลังงานสะอาด หรือกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นโอกาสดึงภาคการผลิตใหม่ๆ หรือดึงคนเก่งๆ เข้ามา แต่เขาเองก็มองว่าเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมากเช่นกัน

ข้อมูลจาก KResearch

เศรษฐกิจไทย ภายใต้การกีดกันทางการค้า

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าความกังวลในการกีดกันทางการค้าทำให้จีนเร่งส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งไทยได้ประโยชน์จำกัด นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และในช่วงที่ผ่านมาไทยมีตัวเลขส่งออกสินค้าแย่กว่าในอาเซียน  

ปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยในช่วงข้างหน้า คือเรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐ สินค้านำเข้าจากผลสงครามการค้า และต้นทุนสินค้าเพิ่มจากผลกระทบจากเอลนีโญ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าภาคการผลิตอุตาหกรรมไทยอาจหดตัวได้อีก

สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น KResearch มองว่า ภาครัฐควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ กวดขันสินค้านำเข้าและสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงเติมสภาพคล่องให้กับ SMEs และเน้นวางแผนการจัดการน้ำ ขณะเดียวกัน ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนจะต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกมิติ ทำให้รายได้เติบโตเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุน

โดยในปี 2024 นี้ KResearch คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราวๆ 2.6% สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นมองว่ามาจากปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงการขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นไทยจากนักลงทุนชาวต่างชาติ

]]>
1479287
“ยูนิลีเวอร์” ประกาศบรรลุเป้าหมายโรงงาน จ.ฉะเชิงเทรา เปลี่ยนมาใช้ “พลังงานหมุนเวียน” 100% https://positioningmag.com/1478382 Mon, 17 Jun 2024 10:18:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478382 ยักษ์ใหญ่ FMCG อย่าง “ยูนิลีเวอร์” ประกาศความสำเร็จ 2 โรงงานในนิคมฯ เกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา สามารถเปลี่ยนมาใช้ “พลังงานหมุนเวียน” ครบ 100% เดินหน้าต่อเป้าหมายสร้าง “โซลาร์ ฟาร์ม” ในเขตโรงงาน

“ยูนิลีเวอร์” เป็นบริษัทข้ามชาติที่มีเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อยมลพิษจากกระบวนการผลิตเป็น “ศูนย์” (Net-Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2582 ถือเป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกโรงงานที่ยูนิลีเวอร์มีในโลกนี้กว่า 280 โรงงาน

รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีโรงงานของยูนิลีเวอร์ทั้งหมด 7 โรงงาน แบ่งเป็น 5 โรงงานย่านลาดกระบัง-มีนบุรี กรุงเทพฯ และ 2 โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา ต่างต้องรับภารกิจเดียวกันกับเป้าหมายระดับโลก

“พนิตนาถ จำรัสพันธุ์” ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับ 2 โรงงานนิคมฯ เกตเวย์ นั้นได้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จในด้าน “พลังงานหมุนเวียน” เรียบร้อยแล้วในปี 2566 สามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนได้ 100% ทั้งในส่วนพลังงานไอน้ำและพลังงานไฟฟ้า

ยูนิลีเวอร์ พลังงานหมุนเวียน
“พนิตนาถ จำรัสพันธุ์” ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย

ทั้งนี้ โรงงาน 2 แห่งของยูนิลีเวอร์ในนิคมฯ เกตเวย์ เป็นกลุ่มโรงงานที่ใช้ผลิตสินค้ากลุ่มอาหารทั้งหมด ประกอบด้วย 5 แบรนด์ คือ คนอร์ (Knorr), คนอร์ สำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพ (Knorr Professional), เบสท์ฟู้ดส์ (Best Foods), เฮลล์แมนน์ (Hellmann’s) และ เลดี้ ชอยซ์ (Lady’s Choice)

โซนการผลิตของโรงงานเกตเวย์แบ่งเป็น 2 โซน คือ 1.โซนโรงงานผลิตซอสแบบแห้ง เช่น ซุปก้อน ข้าวโจ๊ก และ 2.โซนโรงงานผลิตซอสแบบเปียก เช่น ซอสปรุงรส น้ำสลัด

ปริมาณสินค้าที่ผลิตของโรงงานทั้ง 2 แห่งในเกตเวย์ ซิตี้คิดเป็นสัดส่วน 20-25% ของการผลิตทั้งหมดของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย จึงถือเป็นฐานการผลิตสำคัญ รวมถึงโรงงานนี้ใช้เป็นฐานผลิตทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศด้วย โดยแบ่งเป็น 50% ผลิตจำหน่ายในประเทศ และ 50% ผลิตเพื่อส่งออกในประเทศรอบข้าง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย

 

ปลดล็อกหม้อต้มไอน้ำ “พลังงานชีวมวล”

ภารกิจด้านพลังงานหมุนเวียนของโรงงานเกตเวย์ของยูนิลีเวอร์ พนิตนาถอธิบายว่ามีทั้งหมด 3 ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.พลังงานไอน้ำ 2.พลังงานไฟฟ้า และ 3.สารทำความเย็น

ด้านแรก “พลังงานไอน้ำ” ส่วนนี้เป็นพลังงานที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตและล้างทำความสะอาดเครื่องจักรภายในโรงงาน ซึ่งพลังงานไอน้ำจะได้จากระบบหม้อต้ม (boiler) และหม้อต้มนี้ในอดีตจะต้องใช้เชื้อเพลิง “น้ำมันเตา” ซึ่งเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้

ยูนิลีเวอร์ พลังงานหมุนเวียน
หม้อต้มไอน้ำ พลังงานชีวมวล โรงงานเกตเวย์ ยูนิลีเวอร์

ยูนิลีเวอร์จึงต้องหาทางเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่จะมาใช้กับระบบหม้อต้ม โดยเลือกเปลี่ยนเป็น “พลังงานชีวมวล” มาตั้งแต่ปี 2560 และชีวมวลที่ใช้เป็น “เศษไม้อัด” (wood pellet) ซึ่งบริษัทมีการคัดเลือกซัพพลายเออร์แล้วว่าเป็นการใช้ไม้จากพืชที่ปลูกสำหรับเป็นแหล่งพลังงาน หรือเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ หรือขยะเศษไม้จากอุตสาหกรรมอื่น ซัพพลายเออร์ที่ส่งเชื้อเพลิงจะต้องไม่มีการใช้ไม้จากการตัดป่าธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม เหตุที่หม้อต้มพลังงานไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลเพิ่งจะสามารถการันตีว่าเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปีนี้ เป็นเพราะก่อนหน้านี้มีความท้าทายเรื่องการจัดการ “ขี้เถ้า” ของชีวมวลหลังการผลิตไอน้ำ ซึ่งในอดีตต้องใช้พนักงานในการลำเลียงออก และหม้อต้มต้องเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาแทนในระหว่างการลำเลียงขี้เถ้า แต่ในปี 2566 ยูนิลีเวอร์ได้พัฒนาเทคโนโลยีระบบหม้อต้มให้สามารถใช้ระบบอัตโนมัติในการลำเลียงขี้เถ้าแทนคน และลดเวลาที่ต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาดขี้เถ้าเหลือเป็นทุกๆ 3 สัปดาห์ จนทำให้ระบบไม่ต้องสลับมาใช้น้ำมันเตาแทนอีก

wood pallet เชื้อเพลิงชีวมวล

ด้านที่สองคือ “พลังงานไฟฟ้า” โรงงานยูนิลีเวอร์ เกตเวย์ มีการซื้อพลังงานหมุนเวียนจากผู้ที่ได้รับใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: RECs) ในประเทศไทยเพื่อทดแทนการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมีความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อศึกษาร่วมกันในการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 100% มาจำหน่ายให้กับยูนิลีเวอร์

นอกจากการจัดซื้อแล้ว ยูนิลีเวอร์ยังลงทุนโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟบนหลังคาโรงงาน ซึ่งผลิตไฟฟ้าสะอาดได้ 560 กิโลวัตต์

ด้านสุดท้ายคือ “สารทำความเย็น” ส่วนนี้โรงงานเกตเวย์มีการเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นในระบบต่างๆ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ยกเลิกการใช้สารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจก เช่น สารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs), สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) เป็นต้น

ส่วนแผนงานในอนาคตของโรงงานเกตเวย์ พนิตนาถยังระบุว่า โรงงานมีแนวนโยบายที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโซลาร์ฟาร์มภายในเขตโรงงานเพิ่มเติม แต่จะต้องมีการพิจารณาไม่ให้มีผลกระทบต่อสัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมภายในโรงงาน นอกจากนี้ การเป็นโรงงานแรกของยูนิลีเวอร์ไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โรงงานเกตเวย์จะเป็นต้นแบบให้กับโรงงานอื่นในเครือที่จะก้าวสู่ความยั่งยืนไปอีกขั้น

]]>
1478382
“บ้านปู เน็กซ์” เปิดตัว “คาเฟ่พลังงานสะอาด 100%” หวังเป็นโมเดลต้นแบบให้กลุ่มธุรกิจรีเทล https://positioningmag.com/1438029 Mon, 17 Jul 2023 16:26:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438029 “บ้านปู เน็กซ์” ร่วมกับ “Roots” เปิดตัวร้านกาแฟ pop-up “Infinite Café Powered by Banpu NEXT” ภายในสวนเบญจกิติ โดยเป็น “คาเฟ่พลังงานสะอาด 100%” ใช้ไฟฟ้าจากระบบโซลาร์ Off-grid พร้อมออกแบบเมนูที่ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่โลก หวังเป็นโมเดลต้นแบบให้กับกลุ่มธุรกิจรีเทล หันมาใช้โซลูชันเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

“สินนท์ ว่องกุศลกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด เปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ “Infinite Café Powered by Banpu NEXT” ร้านกาแฟ pop-up ที่จะเป็นโปรโตไทป์ของร้านกาแฟที่ใช้พลังงานสะอาด 100% ในการทำธุรกิจทุกขั้นตอน

ร้านกาแฟ Infinite Café นี้ตั้งอยู่ใน “สวนเบญจกิติ” บริเวณลานจอดรถ โดยตัวร้านมีขนาด 4 x 4 x 4 เมตร ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และรอบบริเวณร้านมีที่นั่งพักผ่อน (rest area) ซึ่งติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเช่นกัน รวมแล้วใช้พื้นที่ร้านและที่นั่งพักผ่อน 92 ตารางเมตร

ระบบโซลาร์รูปท็อปนี้มีขนาด 19 kW และภายในร้านยังติดตั้งแบตเตอรีขนาด 69 kWh เพื่อกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ในยามฝนตกหรือแดดอ่อนอีกด้วย ทำให้ระบบไฟฟ้าของ Infinite Café เป็นระบบพลังงานสะอาด Off-grid ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากโครงข่ายหลักได้แบบ 100%

คาเฟ่พลังงานสะอาด บ้านปู
Infinite Café Powered by Banpu NEXT มีโซลาร์รูฟบนหลังคาร้านและที่นั่งพักผ่อนโดยรอบ

Infinite Café จะเปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 24 กันยายน 2566 เปิดทุกวัน เวลา 07:00-13:00 น.

ด้าน “วรัตต์ วิจิตรวาทการ” เจ้าของร้าน Roots เชนร้านกาแฟที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความยั่งยืนซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 11 สาขา และได้เข้ามาเป็นพันธมิตรเพื่อทดลองการพัฒนาร้านคาเฟ่พลังงานสะอาดนี้

วรัตต์ระบุว่า ภายในร้านต้นแบบมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ ตู้แช่เย็น, เครื่องชงกาแฟ, เครื่องกรองน้ำ, หน้าจอแคชเชียร์ และพัดลมทำความเย็นให้พนักงาน (เป็นร้าน pop-up ไม่ติดแอร์) ซึ่งหลังจากทดลองระบบมา 4 วัน พบว่าระบบไฟฟ้าจากบ้านปู เน็กซ์มีเสถียรภาพ จ่ายไฟได้ไม่สะดุด และเพียงพอต่อความต้องการเหล่านี้ โดยจะเห็นว่าระดับพลังงานไฟฟ้าที่กักเก็บในแบตเตอรียังไม่เคยลดต่ำกว่า 96% อย่างไรก็ตาม จะประเมินผลกันอีกครั้งหลังจากจบระยะเวลาจำหน่ายจริงประมาณ 2 เดือน

คาเฟ่พลังงานสะอาด บ้านปู
แก้วเครื่องดื่มของร้านใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 45 วัน

นอกจากเป็น “คาเฟ่พลังงานสะอาด 100%” แล้ว Roots ยังเข้ามาช่วยในการออกแบบเมนูที่ลดคาร์บอนให้ได้มากที่สุดที่ทำได้ โดยมีการคัดสรรแหล่งเมล็ดกาแฟออร์แกนิกที่มีกระบวนการผลิตที่รบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด มีการใช้นมโอ๊ตทดแทนนมวัวในทุกเมนูเพราะเป็นประเภทนมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และ 50% ของเมนูในร้านนี้จะเป็นกาแฟสกัดเย็น (cold brew) ซึ่งลดการใช้พลังงาน

Roots ยังออกแบบเมนูพิเศษที่มีจำหน่ายเฉพาะ Infinite Café คือ Sugarcane Cold Brew & Honey Foam ซึ่งคัดแหล่งที่มาของวัตถุดิบให้ลดการปล่อยคาร์บอน ทำให้เมนูนี้จะลดการปล่อยคาร์บอนลง 750 กรัมเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแบบเดียวกันโดยทั่วไป

(ซ้าย) “สินนท์ ว่องกุศลกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด และ (ขวา) “วรัตต์ วิจิตรวาทการ” เจ้าของร้าน Roots

สินนท์กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าให้การจำหน่ายสินค้าตลอด 2 เดือนของ Infinite Café จะมีส่วนช่วยให้ลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้รวม 5,000 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับการจำหน่ายเครื่องดื่มในร้านปกติ และเป็นร้านที่ช่วยสร้างการตระหนักรู้เรื่องสังคมไร้คาร์บอน

 

โมเดลต้นแบบที่หวังเป็นแรงบันดาลใจให้ “รีเทล” ขนาดเล็ก

บ้านปู เน็กซ์ นั้นเป็นผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดแบบครบวงจร ที่ผ่านมามีการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนและแบตเตอรีให้กับธุรกิจต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ศูนย์การค้า ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม โครงการส่วนใหญ่ที่ต้องการติดตั้งจะเป็นโครงการขนาดใหญ่หลายร้อยกิโลวัตต์ต่อแห่ง แต่โมเดลต้นแบบของร้าน Infinite Café คาเฟ่พลังงานสะอาด 100% นี้จะเป็นแรงบันดาลใจว่าธุรกิจรีเทลขนาดเล็กแบบนี้ก็สามารถติดตั้งระบบพลังงานสะอาดได้

บริเวณด้านหลังร้านคือที่เก็บแบตเตอรี และมีถังทิ้งช่วยแยกขยะ

“เราลงทุนร้านนี้เพื่อเป็นโชว์เคสว่าขนาดร้านเท่านี้ก็ทำได้เหมือนกัน” สินนท์กล่าว “จากนี้ขอดู 2 เดือนหลังจากนี้ก่อนว่าร้าน pop-up ได้รับผลตอบรับอย่างไร จะต่อยอดไปในทางไหน และลูกค้าอาจจะได้เห็นไอเดียว่าโซลูชันของเราสามารถปรับแบบไหนได้บ้าง”

ทั้งนี้ บ้านปู เน็กซ์ระบุว่าโซลูชันของบริษัทเหมาะที่จะติดตั้งให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้ไฟฟ้าขนาดเริ่มต้น 10 kW หรือมีค่าไฟฟ้ารายเดือน 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมจะเปลี่ยนมาลงทุนระบบพลังงานสะอาดแล้วสามารถคืนทุนได้เร็ว

โครงการนี้คาดหวังจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการหรือผู้บริหารที่มีการลงทุนร้านรีเทลหลายสาขา และสนใจด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนระบบไฟฟ้าของร้านมาใช้พลังงานสะอาดทดแทน

]]>
1438029
มองโอกาสตลาด ‘โซลาร์เซลล์ไทย’ ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้าน! https://positioningmag.com/1437465 Tue, 11 Jul 2023 09:15:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437465 ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้ พลังงานสะอาด เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่หลายคนเจอกับ ค่าไฟ แสนแพง ทำให้เริ่มตื่นตัวกับพลังงานจาก แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ หลายคนคงสงสัยแล้วตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยนั้น ใหญ่ ขนาดไหน และมีโอกาสให้สอดแทรกอย่างไรได้บ้าง

มองสถานการณ์พลังงานสะอาดโลก

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มองว่า ปีนี้กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน และภาครัฐที่บังคับใช้นโยบาย โดย พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม จะเป็น ตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้พลังงานสะอาดขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กำลังผลิตพลังงานทดแทนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 107 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยคาดว่าในปีหน้ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะแตะ 4,500 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเทียบเท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าของจีนและสหรัฐอเมริการวมกัน

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า โซลาร์เซลล์ จะเพิ่มขึ้นราว 2 ใน 3 และคาดว่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2024 เนื่องจากราคาค่าไฟของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ผู้คนเริ่มหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขณะที่ พลังงานลม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ในปี 2023 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

โซลาร์เซลล์ไทยมีเพียง 3,000 เมกะวัตต์

สำหรับสถานการณ์ด้านพลังงานสะอาดของไทยนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษา สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) ปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่กรอบปี 2018-2025 อยู่ที่ 20,343 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของ โซลาร์เซลล์ 3,000 เมกะวัตต์ มากสุดในกลุ่ม ตามด้วย กังหันลม 1,500 เมกะวัตต์

ส่วนกรอบปี 2018-2037 จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของพลังงานสะอาดรวมโซลาร์เซลล์และกังหันลม 18,833 เมกะวัตต์

“เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เฉลี่ยวัตต์ละ 80 บาท แต่ปัจจุบันเหลือ 10 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลที่แนวโน้มมีแต่จะสูงขึ้น ดังนั้น ต่อไปไม่มีทางจะหนีพ้นการใช้พลังงานสะอาด และไม่มีอะไรจะชนะพลังงานแสงอาทิตย์และลมได้”

โอกาสมากกว่า 60,000 ล้านบาท

ไววิทย์ อุทัยเฉลิม กรรมการบริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจร กล่าวว่า หากนับเฉพาะแผนการผลิตพลังงานของไทย (Power Development Plan : PDP) ที่ต้องการผลิตพลังงานสะอาดให้ได้แตะ 20,000 เมกะวัตต์ คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ดังนั้น ตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยจะมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านแน่นอน

อย่างในส่วนภาค ครัวเรือน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดโซลาร์เซลล์ อย่างเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีครัวเรือนกว่า 3 ล้านหลัง แต่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ ไม่ถึง 10% แต่ภายใน 3 ปีจากนี้ คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 20% เพราะผู้บริโภคมีความตื่นตัวมาก หลังจากที่ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงนโยบายจากทางภาครัฐก็มีการสนับสนุน และธนาคารก็มีการให้กู้เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วย

“ตอนนี้เดเวลอปเปอร์ก็หันมาติดโซลาร์เซลล์ในโครงการกันหมด มีโปรโมชันใช้ไฟฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้า และต่อไปการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็จะเหมือนมือถือ ที่มีราคาถูงลงเรื่อย ๆ ดังนั้นตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก”

ผนึกทงเวย โซลาร์ เบอร์ 1 ของโลก

สำหรับ ซันเดย์ โซลาร์ ล่าสุดได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทยแต่เพียงรายเดียวของ ทงเวย โซลาร์ แบรนด์ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic: PV) ชนิดผลึกซิลิคอนรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติจีน ปัจจุบัน ทงเวย เป็นหนึ่งในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน โดยในปี 2022 มีผลประกอบการรวมประมาณ 783,241 ล้านบาท

ทงเวย มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ เหอเฟย, ซวงหลิว, เหม่ยซาน, จินถัง, เหยียนเฉิง, หนานทง และที่โครงการทงเหอ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ (modules) ไปยัง 48 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีเหมืองซิลิคอนที่สามารถซัพพลายผนึกซิลิคอนให้กับบริษัทผู้ผลิต PV ชั้นนำ อาทิ Jinko, JA, Cannadian, LONGI, Trina, เป็นต้น

ปัจจุบัน ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจรในไทยมีประมาณ 15-20 บริษัท เฉพาะบริษัทที่มีพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทใหญ่แบบทงเวยมีไม่ถึง 5 บริษัท ดังนั้น การแข่งขันจึงไม่ได้สูง โดย ซันเดย์ โซลาร์ จะจับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก เช่น กลุ่มผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ลูกค้าธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการ โรงงาน สถานประกอบการ และโครงการอสังหาริมทรัพย์

โดยในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,000 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตั้งเป้า 3 ปี มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท และภายใน 5 ปีตั้งเป้าโกยรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนจะรุกตลาดอีวีด้วย อาทิ หัวชาร์จอีวีชาร์จเจอร์ แบตเตอรี่สำหรับรถและโรงงานไฟฟ้า

“เราจะทำหมดเดี่ยวกับพลังงานสะอาด อย่างตลาดอีวีเราก็จะไปแน่แต่ไม่ได้ไปทำสถานีชาร์จ แต่จะนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์แทน”

]]>
1437465
จีนอาจ “แบน” ส่งออกเทคโนโลยี “แผงโซลาร์” ให้ตะวันตก ชะลอการเติบโตอุตฯ พลังงานสะอาด https://positioningmag.com/1417903 Sat, 04 Feb 2023 09:58:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417903 สงครามการค้าเกิดจุดพลิกผันที่คาดไม่ถึง เมื่อรัฐบาลจีนอาจสั่ง “แบน” การส่งออกเทคโนโลยีผลิต “แผงโซลาร์” ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จีนเป็นผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 75% ของซัพพลายเชนทั่วโลก หากเกิดการแบนขึ้นจริง จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของฝั่งตะวันตกต้องสะดุดและชะลอตัวลง

การแบนส่งออกเทคโนโลยี “แผงโซลาร์” ของจีนเป็นกลยุทธ์ที่เสมือนเป็นการเอาคืนสงคราม “ชิป” ของฝั่งตะวันตก ก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาพยายามจะทำให้การพัฒนาชิปของประเทศจีนชะลอตัวลง ด้วยการสั่งห้ามส่งออกเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาชิปเซ็ตขั้นสูง

ขณะที่แนวทางของรัฐบาลจีนนั้นยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน แต่สื่อต่างๆ ในจีนรายงานการคาดการณ์ว่า จะมีการห้ามส่งออกเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตองค์ประกอบของแผงโซลาร์ เช่น เวเฟอร์ขนาดใหญ่ แบล็กซิลิคอน แท่งซิลิคอนอินก็อตประสิทธิภาพสูง

ข้อมูลของสำนักงานพลังงานนานาชาติจะระบุว่า จีนเป็นผู้นำในซัพพลายเชนทุกๆ ด้าน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 79% ในภาคการผลิตแผงโซลาร์โพลีซิลิคอน 97% ในการผลิตเวเฟอร์สำหรับผลิตโซลาร์ และ 85% ในการผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิก

ด้านความเคลื่อนไหวของฝั่งตะวันตกนั้น ก่อนหน้านี้มีการผลักดันการผลิตแผงโซลาร์ในบ้านตัวเองให้ได้มากขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ อัดฉีดสิทธิพิเศษทางภาษีให้กับบริษัทที่ต้องการลงฐานผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิกภายในสหรัฐฯ รวมถึงมีโครงการเงินกู้และเงินให้เปล่าจากรัฐในการผลิตโซลาร์ด้วย ส่วนสหภาพยุโรปก็กำลังพิจารณาที่จะทำแบบเดียวกัน

ดังนั้น เมื่อจีนจะตอบโต้ด้วยการสั่งแบนการส่งออกเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต จึงเป็นปัญหาของฝั่งตะวันตก แต่สำนักข่าว Reuters วิเคราะห์ว่า ปัญหานี้ไม่ได้ยากลำบากเสียจนก้าวข้ามผ่านไปไม่ได้ เพียงแต่จะชะลอการพัฒนาของทางตะวันตกให้ช้าลง และใช้ต้นทุนที่แพงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากฝั่งตะวันตกเองก็มีหลายบริษัทที่มีสิทธิบัตรด้านเซลล์โฟโตโวลตาอิกและมีความเชี่ยวชาญด้านโซลาร์ เช่น Applied Materials, Enel, NorSun

ต้นทุนการลงทุนผลิตโซลาร์เองนั้นค่อนข้างสูงทีเดียว เพราะจะต้องใช้เงินทุนถึง 1,000 ล้านยูโรสำหรับการเพิ่มกำลังผลิตแผงโซลาร์ทุกๆ 1 กิกะวัตต์ และขณะนี้ยุโรปมีกำลังผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิกแค่ 10 กิกะวัตต์เท่านั้น เทียบกับประเทศจีนที่ผลิตได้ถึง 300 กิกะวัตต์!

เมื่อจีนสกัดกั้นแบบนี้ ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น และต้องใช้เวลานานขึ้นในการตั้งฐาน จากปกติการเริ่มผลิตโพลีซิลิคอนก็ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ปีอยู่แล้ว และจะสร้างซัพพลายเชนโซลาร์ให้ได้ครบสมบูรณ์ก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น 4 เท่าตัว

Reuters สรุปว่า การสั่งแบนส่งออกเทคโนโลยีโซลาร์ของจีนนั้น จะไม่ทำให้โครงการไปสู่โลกแห่งพลังงานสะอาดของตะวันตกต้องหยุดชะงักงัน แต่จะทำให้เคลื่อนไปได้ช้าลงแน่นอน

Source

]]>
1417903
ล้ำไปอีก! ‘ญี่ปุ่น’ เริ่มทดลองผลิตไฟฟ้าจาก ‘หิมะ’ หวังใช้เป็นพลังงานทดแทนราคาประหยัด https://positioningmag.com/1414888 Mon, 09 Jan 2023 09:34:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414888 ดูเหมือนว่าอะไรก็มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างพลังงานสะอาดให้ ญี่ปุ่น เพราะก่อนหน้านี้ก็มีแนวคิดที่จะใช้น้ำพุร้อนผลิตพลังงาน ล่าสุด ก็ได้เริ่มทำการวิจัย ผลิตกระแสไฟฟ้าจากหิมะ โดยหวังว่าจะหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนแห่งใหม่ เพื่อชดเชยการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เมือง อาโอโมริ ถือเป็นเมืองทางเหนือของญี่ปุ่นที่มี หิมะตกหนัก ทุกปี และในแต่ละปีเมืองอาโอโมริต้องเสียเงินถึง 5.9 พันล้านเยน เพื่อกำจัดหิมะโดยนำไปทิ้งลงสู่มหาสมุทร ดังนั้น บริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีในท้องถิ่นอย่าง Forte ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย Electro-Communications ในโตเกียว ทำการวิจัยเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากหิมะ

“หิมะถูกมองว่าสร้างความรำคาญ แต่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้” เจ้าหน้าที่ของเมืองกล่าว

การทดลองดังกล่าว เริ่มต้นในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยได้กวาดหิมะลงในสระว่ายน้ำของโรงเรียนร้าง โดยใช้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างหิมะที่เก็บไว้กับอากาศโดยรอบเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเมื่อหิมะที่ถือเป็นแหล่งกำเนิดอากาศเย็น จะมีท่อถ่ายเทความร้อนวางอยู่ ซึ่งความแตกต่างของอุณหภูมินี้จะถูกใช้เพื่อสร้างกระแสการพาความร้อนในน้ำหล่อเย็นภายในกังหัน ซึ่งกระแสพาความร้อนจะหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

“กระบวนการดังกล่าวจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับพลังงานแสงอาทิตย์ โคจิ เอโนกิ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Electro-Communications กล่าว

ที่ผ่านมา การผลิตไฟฟ้าโดยใช้หิมะที่เก็บไว้ได้รับความสนใจในฐานะแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ Forte พบว่า การผลิตไฟฟ้าจากหิมะยังมีความท้าทายต่าง ๆ ได้แก่ การหาสถานที่ขนาดใหญ่เพื่อเก็บหิมะและการรักษาอากาศที่ร้อนในช่วงฤดูหนาว ดังนั้น เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก บริษัทจะพิจารณาใช้ความร้อนจากน้ำพุร้อน

“มันเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนเฉพาะในภูมิภาคที่มีหิมะตกหนัก นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย” คาซาอิ จุน หัวหน้า Forte กล่าว

Source

]]>
1414888
ตามไปฟังเพลง “เป็นเธอ” แคมเปญของ “บ้านปู” ที่ใช้ “พลังงานสะอาด” อัดเพลง ถ่าย MV และจัดคอนเสิร์ต! https://positioningmag.com/1411699 Fri, 16 Dec 2022 11:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411699

จะมีสักกี่ครั้งที่การผลิตเพลงขึ้นมาสักเพลงหนึ่ง ตั้งแต่การอัดเสียงในสตูดิโอ ถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ จนถึงการจัดเวทีคอนเสิร์ต จะใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด” ทั้งหมด แต่แคมเปญล่าสุดของ “บ้านปู” พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง ผ่านการสร้างสรรค์เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) โดยได้นักร้องสาวเสียงดี “วี – วิโอเลต วอเทียร์” ตัวแทนคนรุ่นใหม่ มาร่วมสื่อสารเพลงรักจากพลังงานสะอาดในแคมเปญนี้

ธุรกิจพลังงานเป็นเรื่องที่ทั้งใกล้และไกลตัวเรา ใกล้เพราะในชีวิตประจำวันทุกคนย่อมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า แต่อาจจะรู้สึกไกลตัวเพราะพลังงานเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ไม่ได้สื่อสารเรื่องแบรนด์มากนัก

อย่างไรก็ตาม ผู้คนในโลกยุคใหม่กำลังตื่นตัวกับการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) พลเมืองคนหนึ่งของโลก ในบทบาทผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ก็มีการปรับพอร์ตธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บ้านปูต้องการเชื่อมต่อกับสาธารณชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ในฐานะบริษัทพลังงานไทยทันสมัยและใส่ใจด้านความยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์ที่ตอบรับกับโลกอนาคต Greener & Smarter

บรรยากาศการถ่ายทำ MV ด้วยพลังงานสะอาด

โซลูชันด้านพลังงานของบ้านปูนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ถ้าจะนำเสนอในเชิงเทคนิคล้วนๆ ก็คงจะฟังดูไกลตัวผู้บริโภค บ้านปูจึงเลือกดึงเรื่องพลังงานให้ใกล้ตัวคนมากขึ้นผ่านแคมเปญ “เพลงรักจากพลังงานสะอาด” สร้างสรรค์เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) ขึ้นมา โดยความพิเศษ คือ ไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตเพลงนี้ เกิดจากเทคโนโลยีที่ผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด”


เพลง “เป็นเธอ” เพลงรักที่ส่งมอบความรู้สึกดีๆ

แคมเปญ “เพลงรักจากพลังงานสะอาด” ครั้งนี้ มีการดึงตัว “แอ้ม – อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์” นักแต่งเพลงชื่อดัง มาร่วมงานกับนักร้องสาวเสียงดี “วี – วิโอเลต วอเทียร์” เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ด้านพลังงานจากแบรนด์บ้านปูผ่านบทเพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky)


เพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก การได้พบเจอใครสักคนที่เปลี่ยนโลกของเรา แต่ถ้าหากฟังให้ลึกลงไปจะได้พบความหมายลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ในเพลง เพราะเนื้อเพลงได้เปรียบ “พลังงาน” เป็นเสมือน “ความรัก” ที่ช่วยขับเคลื่อนสิ่งดีๆ เปลี่ยนโลกใบนี้ให้สดใสขึ้น

เมื่อเนื้อเพลงรวมกับดนตรีฟังสบายสไตล์วี – วิโอเลต ทำให้ประสบการณ์ด้านพลังงานจากแบรนด์บ้านปูได้รับการสื่อสารออกมาด้วย “พลังบวก” ที่ทำให้คนฟังอมยิ้มมีความสุขไปตามกัน


โชว์ศักยภาพโซลูชัน “พลังงานสะอาด” จากบ้านปู

เบื้องหลังความไพเราะของเพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) คือกระบวนการผลิตเพลง ตั้งแต่การอัดเสียงในสตูดิโอ การถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ ไปจนถึงการแสดงโชว์บนเวทีคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์เป็นเวลานาน 6 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้ได้ใช้ไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด” ที่ผลิตผ่าน Energy Solutions ของบ้านปูในทุกขั้นตอน!

เบื้องหลังการติดตั้งระบบโซลูชันพลังงาน (Energy Solutions) ที่เวทีมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์

โซลูชันพลังงาน (Energy Solutions) ของบ้านปู ที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับทั้งแคมเปญนี้ ประกอบด้วย

  • ระบบผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ช่วงกลางวันสามารถรับแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์ แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยตรง และมีแบตเตอรีเพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามค่ำคืน รวมถึงมีการประยุกต์ใช้กับรถเทรลเลอร์ จึงสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้ทุกที่ กลายเป็นหัวใจสำคัญในการจ่ายไฟให้กองถ่าย MV และการจัดมินิคอนเสิร์ต

  • เครื่องกักเก็บพลังงาน เครื่องนี้สามารถรับพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มากักเก็บในแบตเตอรี และเชื่อมต่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทันที โดยมีทั้งขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกด้วยริโมตคอนโทรล จึงนำมาใช้กับการอัดเพลงในสตูดิโอ และขนาดใหญ่ที่มีความจุถึง 1 MWh หรือเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าเป็นเวลา 1 เดือนของบ้านหนึ่งหลัง จึงนำมาใช้กับการจัดเวทีคอนเสิร์ตที่ใจกลางสยามสแควร์

นอกจากนี้ ใน MV เราจะเห็นผลิตภัณฑ์สำหรับ end users ของบ้านปูร่วมอยู่ในฉาก เช่น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi, ยานยนต์ไฟฟ้าจาก Banpu NEXT หรือโซลาร์รูฟท็อปในสถานที่ถ่ายทำ Summer Lasalle ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงบ้านปูกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ด้วย

ถือเป็นการแสดงศักยภาพของบ้านปูผ่าน ‘use case’ ของจริงว่า การใช้พลังงานสะอาดไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวผู้บริโภค และพลังงานจะสะอาดขับเคลื่อนโลกเราต่อไปได้จริงๆ


สะพานที่เชื่อมต่อให้คนรุ่นใหม่รู้จัก “บ้านปู” มากขึ้น

บรรยากาศความสนุก สดใส ในมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์

แคมเปญเพลงรักจากพลังงานสะอาดของบ้านปูนั้นได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวัง โดย MV เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) บน YouTube และ Facebook นั้นมียอดวิวรวมทะลุ 3 ล้านครั้ง ขณะที่การจัดมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็มีประชาชน คนรุ่นใหม่เข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี บ้านปูไม่ได้คาดหวังกับยอดวิวมากเท่ากับการเริ่มสร้างความรักที่มีต่อแบรนด์ (Brand Love) ในหัวใจของคนรุ่นใหม่ และให้ผู้ที่ได้ฟังหรือมาร่วมชมมินิคอนเสิร์ตได้รับประสบการณ์ที่ดี ได้มาสัมผัสว่า “บ้านปูอยู่ใกล้คุณกว่าที่คุณคิด” และบ้านปูคือแบรนด์ที่มุ่งมั่น “ส่งมอบพลังงานที่ดีขึ้นเพื่ออนาคต” (Smarter Energy for the Future)

]]>
1411699
GPSC – ธ.ก.ส. ศึกษาพื้นที่เกษตร ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ-ลม ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด พลิกโฉมเกษตรสู่ Smart Farming https://positioningmag.com/1411018 Fri, 09 Dec 2022 04:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411018

GPSC – ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งแสงอาทิตย์ และลม ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงาน พลิกโฉมภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร และต่อยอดการขอฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียวจาก ธ.ก.ส. ในอนาคต เพื่อร่วมขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดย  ธ.ก.ส. พร้อมเติมทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อหาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ที่สามารถนำมาพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยที่เกษตรกรยังคงสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมคู่ขนานกันไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ พร้อมกับหาแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในส่วนของไฟฟ้ามาใช้ในภาคเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งจะตอบโจทย์การเกษตรอย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งความร่วมมือกับ GPSC จะช่วยเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และลมที่เป็นพลังงานสะอาด  และมีอยู่ตลอดทั้งปีในประเทศไทย รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเชื่อมโยงในการนำความรู้ต่างๆ ของ GPSC ไปยังเกษตรกรเพื่อปรับใช้ในกระบวนการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทั้งในส่วนของการผลิตที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับเกษตรกรในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด ในการทำเกษตรอินทรีย์และผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว  (Green Credit)  วงเงินรวม  20,000  ล้านบาท ในส่วนของการขับเคลื่อนการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนร่วมปลูกป่าในพื้นที่ของตนเองและชุมชนผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ในชุมชน ปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้เข้าร่วมโครงการ 6,838 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการ 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 123,845 ราย และมีชุมชนที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 62 ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ความยั่งยืน

สำหรับแนวทางการดำเนินงานของทั้งสององค์กร จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยคัดเลือกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพในทุกพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในส่วนของ GPSC จะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เหมาะสม เข้าไปสนับสนุนภาคการเกษตร ทั้งการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการพลังงาน เข้าไปควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการใช้งานของภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทยเป็นเกษตรยุคใหม่ที่มีความยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่แสวงหาแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วนมากขึ้น

GPSC และ ธ.ก.ส. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้พลังงานสะอาดในการทำการเกษตรกรรมร่วมด้วย อีกทั้งเกษตรกรยังอาจสามารถต่อยอดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียว (Green Farming Certificate) ในอนาคต ซึ่งเป็นการการันตีผลผลิตที่ได้จากการเกษตรที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งของพัฒนาอาชีพเกษตรกรยุคใหม่ และยังเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานสะอาด ในการยกระดับมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรของไทยที่สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (การพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #SmartFarming #BAAC #GreenCredit

]]>
1411018
GPSC ประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการ “GPSC Greenovation Startup Sandbox” https://positioningmag.com/1409098 Fri, 25 Nov 2022 03:13:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409098

กลับมาอีกครั้งกับโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ในรอบ Final Pitching Day เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศนักพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. และ บริษัทในกลุ่ม GPSC ได้แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP และ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด หรือ NUOVO PLUS ร่วมผลักดันนักคิดคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันแรกจนมาถึงรอบสุดท้าย ในวันนี้ ทีมเข้าร่วมโครงการได้พัฒนาไอเดียนวัตกรรมขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ภายใต้โจทย์ “เราจะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดที่คุณสามารถเข้าถึงได้?” โดยได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจาก Mentor รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop สุดเข้มข้น รับคำปรึกษา และต่อยอดไอเดียธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับเงินทุนรวมมูลค่ากว่า 600,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดแผนงานและพัฒนาไอเดียธุรกิจ ในรอบ Final Pitching Day การนำเสนอผลงานครั้งสุดท้ายของทั้ง 3 ทีม ได้แก่ “ทีม ควายงาน” ผู้คิดค้น “BuffBox” เครื่องมอเตอร์ไฟฟ้ารุ่น ต้นแบบช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยของไทย “ทีม Onecharge” ที่ร่วมมือกับพันธมิตร มุ่งขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายการติดครอบคลุมทั่วประเทศ และ “ทีม Electron+” เจ้าของไอเดีย FTE (Flexible thermoelectric) Cooling in Automotive เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับโซลาร์เซลล์ ช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเฉพาะจุด

ดร.รสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ถือเป็นโอกาสสำหรับน้องๆ ที่ยังเป็น Young Generation ที่มีไอเดียในเรื่องนวัตกรรมพลังงานสะอาด ความท้าทายของน้องๆ คือ เวลาเราคิด Project หรือคิดว่าเราจะช่วย Environment อย่างไร เราคิดอย่างเดียวก็ไม่เกิดอะไร แต่ถ้าเราลงมือทำได้ เราก็สามารถที่จะทำให้ความฝันเราเกิดเป็นความจริง ความท้าทายก็คือว่าแล้วการลงมือทำ จะต้องใช้งบประมาณเท่าไร นี่เป็นสิ่งที่ GPSC สามารถที่จะเสริมให้น้องๆ มีโอกาสในการที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ได้

เกณฑ์การตัดสินของเราประกอบไปด้วยหลายๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโจทย์ของงานว่าการพัฒนานั้นต้องสร้างความยั่งยืนอย่างไร ตอบสนองคุณค่าต่อเราและสังคมอย่างไรต่อไป ในแง่ของการพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจ ในเรื่องของความพร้อมของบุคลากรและทีมงานที่คณะกรรมการนำมาเป็นเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด ทั้ง 3 ทีมงาน ทำได้ดีทั้งสิ้น ความท้าทาย คือ เราต้องมาตัดสินน้องๆ Startup ต่างๆ ที่อาจจะยังไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนเลย เราพยายามจะเอาหลักเกณฑ์สักอันมาจับว่าใครที่เหมาะสมจะเป็นผู้ชนะ ตลอดระยะเวลาที่หลายๆ เดือนที่ทำงานร่วมกันกับน้องๆ มา ก็จะมีการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ตรงไหนที่ทีมไหนยังขาดอยู่ ทางพี่ๆ ก็พยายามจะช่วยสนับสนุนเติมไปให้ หรือภาพของธุรกิจก็เราจะค่อยๆ Grooming น้องทุกคน พอมาถึงวันนี้ทุกคนมีภาพที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดทุกมิติ อันนี้คือ Challenge คุณวัชรพงศ์ อินทะเคหะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการพาณิชย์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP (บริษัทในกลุ่ม GPSC ผู้พัฒนานวัตกรรมการจัดการพลังงานและสาธารณูปโภค) กล่าว

โดยทีมที่ทำผลงานได้ออกมาดีที่สุด สามารถคว้าตำแหน่งสุดยอดไอเดียนักพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ด้านพลังงานไฟฟ้า คือทีม ELECTRON PLUS+ มาพร้อมผลงาน เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ไฟฟ้าแบบ FTE cooling in Auto Motive หรือการทำความเย็นจาก Flexible thermoelectric ในยานยนต์ เฉพาะจุด ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในรถยนต์ EV ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทีม ELECTRON PLUS+ ผู้ชนะเลิศโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ได้เล่าถึง Pain Point ในการสร้างนวัตกรรมนี้ คือ มองการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่โฆษณาว่าวิ่งได้ 500 กิโลเมตร แต่จริงๆ แล้ว พอนำไปใช้งานแล้วได้ไม่ถึง อาจจะวิ่งได้แค่ 450 กิโลเมตร ดังนั้นจากตรงนี้เองเราก็เลยไปหาในส่วนของสาเหตุหลักๆ ก็มาจากแอร์ที่ใช้อยู่ในรถยนต์ที่เป็นในส่วนของ Compressor นั่นเอง เราจึงต้องทำการแก้ปัญหาโดยที่เปลี่ยนระบบทำความเย็นใหม่โดยที่ไม่ต้องไปใช้ Compressor แล้วใช้เทคโนโลยีของเราเข้าไปแทน หนึ่งสิ่งถ้าเทียบกับตัว Compressor ที่เราได้พูดไปในส่วนของ Pain Point ตัวนั้นทำให้เกิดในส่วนของภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน ซึ่งตัวเทคโนโลยีของเราไม่ได้ทำให้เกิดพวกนั้นเลย ของเราเป็น Green Technology พูดง่ายๆ เป็นพลังงานสะอาดที่ตอบโจทย์กับโครงการนี้

GPSC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจไฟฟ้าจากนวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อความยั่งยืน และยังแสวงหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาดที่จะเป็นเทรนด์ที่สำคัญของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัลที่มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และมีเป้าหมายเดียวกันที่จะเดินหน้าไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่ง GPSC กำหนดเป็นเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กร Net Zero ภายในปี 2060

#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #GreenovationStartupSandbox


]]>
1409098