มังสวิรัติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Jun 2021 23:32:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ร่วมวงอาหาร Plant-based ! “คิวพี” เตรียมเปิดตัว “ไข่คน” ทำจากถั่วเหลือง https://positioningmag.com/1336182 Wed, 09 Jun 2021 13:34:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336182 Kewpie (คิวพี) มายองเนสแบรนด์ดัง เกาะกระแสอาหารมังสวิรัติ เตรียมเปิดตัวเมนูใหม่ “ไข่คน” ที่ไม่ได้ทำจากไข่แต่ทำจาก “ถั่วเหลือง” ช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่าบริษัท Kewpie ในญี่ปุ่นเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเป็นอาหารมังสวิรัติ นั่นคือ “ไข่คน” ที่ทำมาจากถั่วเหลือง โดยชื่อภาษาญี่ปุ่นสำหรับผลิตภัณฑ์นี้คือ Hobotama ซึ่งแปลได้ว่า “เกือบจะเป็นไข่” ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์

กำหนดเปิดตัวช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ แต่บริษัทจะขายแบบ B2B ให้กับร้านอาหาร โรงแรม และโรงเรียนก่อน ก่อนพิจารณาเปิดขายแบบ B2C ให้กับผู้บริโภครายย่อยต่อไป โดยราคาขายของ Hobotama นั้นสูงกว่าไข่คนธรรมดาถึง 3 เท่า

บริษัทเข้ามาร่วมสมรภูมิอาหารมังสวิรัติ/plant-based เพราะเล็งเห็นกระแสผู้บริโภคที่หันมาเลือกทานอาหารวีแกนมากขึ้น ทั้งด้วยเหตุผลด้านสุขภาพและด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีผู้บริโภคเลือกทานวีแกนมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ฟาร์มสัตว์มีการใช้ทรัพยากรโลกมหาศาล ทั้งน้ำและดินที่ใช้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ และสัตว์ในฟาร์มโดยเฉพาะวัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ไข่เหลว plant-based สำหรับทำไข่คน แบรนด์ Just Egg (Photo : Eat Just)

อย่างไรก็ตาม คิวพีไม่ใช่แบรนด์แรกที่หันมาจับตลาดอาหารมังสวิรัติทดแทนไข่ เพราะหลายบริษัทในสหรัฐฯ ออกนำไปก่อนแล้ว รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอย่าง Eat Just ผู้ผลิตแบรนด์ไข่วีแกน Just Egg จำหน่ายไข่เหลววีแกนบรรจุขวดขนาด 355 มิลลิลิตร ในราคา 4.99 เหรียญ (ประมาณ 155 บาท)

คิวพีนั้นเป็นแบรนด์ผู้ผลิตมายองเนส น้ำสลัด ซอส และอาหารทารก ตัวบริษัทเองเป็นผู้ใช้ซัพพลาย “ไข่” ถึง 10% ของประเทศ มากที่สุดในญี่ปุ่น เพราะต้องใช้ผลิตมายองเนส รวมถึงเป็นผู้ถือสิทธิบัตรนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไข่มากที่สุดในหลายๆ ประเทศ

แม้ว่าคิวพีจะหันมาจับตลาดไข่วีแกนแล้ว แต่บริษัทยังคาดว่าความต้องการใช้ไข่เพื่อผลิตสินค้าปกติก็จะยังเติบโตต่อไป

Source

]]>
1336182
จับตาอีกก้าวของ ‘More Meat’ ผู้บุกเบิกตลาด ‘Plant-based’ ไทย ที่ได้ ‘V Foods’ ลงทุน https://positioningmag.com/1311771 Wed, 23 Dec 2020 12:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311771 หากพูดถึงตลาด ‘Plant-based Food’ หรือ ‘โปรตีนทดแทนจากพืช’ หลายคนคงนึกไม่ค่อยออก หรืออาจจะคิดถึงพวก ‘โปรตีนเกษตร’ ที่จะเห็นกันเยอะช่วงเทศกาลกินเจ หรือนึกถึงแบรนด์ต่างชาติอย่าง ‘Beyond Meat’ แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วตลาด Plant-based นั้นกว้างกว่าที่คิด แถมปัจจุบันมีมูลค่าถึง 28,000 ล้านบาทเลยทีเดียว และแน่นอนว่าด้วยเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรงเพราะ COVID-19 ทำให้แบรนด์ที่อยู่ในตลาดอย่าง ‘More Meat’ สตาร์ทอัพฟู้ดเทคไทยยิ่งน่าจับตามอง

ทำความรู้จัก ‘More Meat’ สตาร์ทอัพ FoodTech ที่ขอบุกเบิกตลาด ‘Plant-Based’ ในไทย

รู้จักตลาด ‘Plant-based Food’

ตลาด ‘Plant-based Food’ แบ่งออกได้ 3 แบบ 1. Plant-based Milk อาทิ น้ำนมข้าวโพด, นมอัลมอนด์ 2. Plant-based Meat หรือ เนื้อสังเคราะห์ และ 3. Plant-based Meal อาหารพร้อมทานหรือพร้อมปรุงสังเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการ ‘นำเข้า’ เป็นหลัก แถมราคายัง ‘สูง’ นี่จึงเป็นช่องว่างสำคัญของ ‘More Meat’ ในการทำตลาดไทย รวมถึงการขยายตลาดอีกด้วย

“ตลาด Plant-based Meat ของไทยมีมูลค่าประมาณ 10-20 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 30-40% ต่อปี ดังนั้นปีหน้าคาดว่าจะมีมูลค่าแตะ 30-40% ล้านบาทได้ เพราะกระแสการดูแลสุขภาพกำลังมา” อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด

More Meat เตรียมโกอินเตอร์ปีหน้า

‘More Meat’ สตาร์ทอัพฟู้ดเทคไทยที่ทำ Plant-based Meat หรือเนื้อสังเคราะห์จาก ‘เห็ดแคลง’ คาดว่าปีหน้าจะสามารถทำรายได้แตะ 20 ล้านบาทได้ และในสิ้นปีจะสามารถขยายตลาดไปในประเทศสิงคโปร์, มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยใช้จุดแข็งที่สามารถ ‘ปรุงได้หลากหลายกว่า’ ไม่เหมือนกับผู้เล่นระดับโลกที่จะนำไปปรุงได้ยาก เพราะทำมาสำเร็จรูปกว่า นอกจากนี้ More Meat จะชูจุดเด่นด้าน ‘สุขภาพ’ ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ในขณะที่แบรนด์อื่นจะชูเรื่องของการลดโลกร้อนเพราะไม่ทานเนื้อสัตว์

“อย่าง Plant-based Meat ของ Beyond Meat จะเป็นเนื้อเบอร์เกอร์ เวลาจะนำไปประกอบอาหารมันทำได้ยาก ทั้งต้องหั่น ต้องปรุงที่เข้าเนื้อยาก นอกจากนี้ยังคำนึงถึงโภชนาการเป็นหลักเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ” วรกันต์ ธนโชติวรพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่การตลาด More Meat กล่าว

วรกันต์ ธนโชติวรพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่การตลาด More Meat

ได้ V Foods มาลงทุน

การจะเติบโตในมุม Startup นักลงทุนถือเป็นปัจจัยสำคัญ โดย More Meat ก็ได้ ‘V Foods’ ผู้ทำตลาด Plant-Based Food กลุ่ม Plant-based Milk ภายใต้สินค้าน้ำนมข้าวโพดเข้ามาร่วมลงทุน โดยล่าสุดได้ออกโปรดักต์ใหม่ในหมวด Plant-based Meal พร้อมทานก็คือ ‘ลาบทอด ผลิตจากพืช’

“เราเป็นสตาร์ทอัพ เราก็ยังต้องการเงินทุน เพราะเรื่องของการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องใช้เงินมาก แต่ก็ไม่ใช่ใครก็ได้ ซึ่งที่เราเลือก V Foods เพราะเขาก็ทำ Plant-based เหมือนกัน แล้วก็ให้อิสระเราในการทำงานเต็มที่”

COVID-19 โอกาสขยายตลาดแมส

ในช่วงแรกนั้น More Meat มีแต่แพ็กเกจสินค้า 1 กก. ทำให้ยังไม่สะดวกต่อการซื้อของผู้บริโภค และเน้นที่การทำตลาดแบบ B2B กับร้านอาหาร แต่พอมีช่วง COVID-19 ทำให้ร้านอาหารต้องปิดไป แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ปิด และผู้บริโภคก็เริ่มหาซื้อผ่านออนไลน์ More Meat จึงได้ปรับขนาดเป็น 200 ก. และขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จนปัจจุบัน รายได้ 80% มาจากผู้บริโภคทั่วไป อีก 20% มาจากร้านอาหาร ดังนั้น หากการระบาดรอบ 2 มีความรุนแรงมากขึ้นก็ไม่กังวลว่าจะส่งผลกระทบ

ปัจจุบัน โรงงานผลิต Plant-based ของ More Meat อยู่ที่จังหวัดสงขลา โดยสามารถผลิตได้ 3-4 ตัน/เดือน ซึ่งยังสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้อีก 2 เท่า ซึ่งในปีหน้า More Meat มีแผนจะเพิ่มสินค้าใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการส่งออกไปต่างประเทศ

ภาพจาก Instagram More meat

Plant-based มันไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็น Solution ที่ช่วยแก้ปัญหา เพราะทั้งภาวะโลกร้อน การระบาดของโรคใหม่ ๆ มันเกิดจากการพฤติกรรมเดิม ๆ บริโภคแบบเดิม ดังนั้น Plant-based จึงตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม และช่วยเรื่องลดการแพร่ระบาดของไวรัสที่มาจากสัตว์ ดังนั้น มันไม่ใช่เทรนด์”

]]>
1311771
Plant-Based เทรนด์อาหารแห่งอนาคต Unilever ขยับรุกตลาดจริงจัง ตั้งเป้าทำเงิน 3.6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1306712 Thu, 19 Nov 2020 09:19:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306712 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ขยับมูฟใหม่เข้าสู่ตลาด Plant-Based กันอย่างต่อเนื่อง ตามเทรนด์อาหารโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

ล่าสุด Unilever (ยูนิลิเวอร์) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเจ้าใหญ่ ตั้งเป้าปั้มยอดขายในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช หรือ Plant-Based เพิ่มเป็น 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) ภายใน 5-7 ปีนี้

เป้าหมายดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าบริษัทคาดว่าตลาด Plant-Based จะเติบโตสูงมากในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของยอดขายปัจจุบันที่ 200 ล้านยูโร (ราว 7.2 พันล้านบาท) ตามที่บริษัทตั้งไว้ในปีนี้

กลุ่มสินค้าแบรนด์เนื้อมังสวิรัติ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระเเสรักษ์โลกของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารที่ทำมาจากพืช มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จริงๆ เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ มีการปล่อยคาร์บอนที่เป็นภัยต่อการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

Hanneke Faber ประธานฝ่ายอาหารของ Unilever ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างยอดขายให้บริษัทได้ถึง 1.93 หมื่นล้านยูโร (6.9 แสนล้านบาท) ในปี 2019 ระบุว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว สินค้า Plant-Based ยังมีส่วนเเบ่งการตลาด ราว 5% เเต่ต่อไปจะสามารถขยายตัวเเละครองตลาดได้ถึง 50%”

โดยต่อไป Unilever จะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ Plant-Based ในกลุ่มไอศกรีมที่ปราศจากนมและมายองเนสไปจนถึงอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากถั่วเหลืองและสาหร่าย ฯลฯ

นักวิเคราะห์ มองว่า การที่บรรดาเจ้าใหญ่ในวงการกระโดดลงมาเล่นสนาม Plant-Based กันคึกคัก จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชมีราคาถูกลงตามด้วยกำลังการผลิตและการจัดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้น เเละจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวครั้งใหญ่

อย่างการที่ Nestlé คู่แข่งรายสำคัญ หันมาทุ่มลงทุนในการพัฒนาสินค้าทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถทานอาหารที่มีรสชาติและผิวสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์จริง แต่ไม่มีกระบวนการปศุสัตว์ที่สร้างผลกระทบต่อโลก ก็เป็นการกระตุ้นการเเข่งขันในตลาดนี้ได้ดีทีเดียว 

ตอนนี้ผู้ผลิต Plant-Based ส่วนใหญ่จะเป็นพันธมิตรกับเชนฟาสต์ฟู้ดรายใหญ่เเละมุ่งเข้าตีตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Impossible Foods จับมือกับ Burger King ส่วน Beyond Meat กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์กับ McDonald’s ในสหรัฐฯ สำหรับแพลตฟอร์ม McPlant ขณะที่ Nestlé ส่งวัตถุดิบเมนูเบอร์เกอร์จากพืชให้ McDonald’s ในเยอรมนี

สำหรับตลาด Plant-based Food ในประเทศไทย ก็เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

จากข้อมูลของ NRF ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของไทย ระบุว่า ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

ไม่ใช่เเค่ NRF รายเดียวที่กำลังเล็งตลาดนี้ เพราะบริษัทยักษ์ด้านอาหารของไทยอย่าง “เครือซีพี” และ “ไทยยูเนี่ยน” ก็กำลังมองความเป็นไปได้ในตลาด Plant-base Food เช่นกัน

อ่านต่อ : NRF ขอเป็น Foxconn แห่งตลาด Plant-based Food กางแผนขยายโรงงานทั่วโลก

 

ที่มา : Financial Times , The Guardian

]]>
1306712