มาตรการรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Sep 2021 12:45:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ฉีดวัคซีนไม่ถึง 70% เเผนเปิดกรุงเทพฯ จ่อเลื่อน ยอดติดเชื้อผ่าน ‘จุดสูงสุด’ เเต่ยังน่ากังวล https://positioningmag.com/1352819 Tue, 21 Sep 2021 10:39:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352819 เเผนเปิดกรุงเทพฯ จ่อเลื่อน เหตุฉีดวัคซีนยังล่าช้า ได้ไม่ถึง 70% วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดผู้ติดเชื้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว สิ้นปีอาจเหลือ 2,500 รายต่อวัน เสียชีวิต 40 รายต่อวัน เเม้ผ่อนคลายมาตรการ แต่ยังน่ากังวลไม่แน่นอนสูง รัฐใช้เเผนดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังหารายได้ชดเชยภาคท่องเที่ยว อาจต้องรอนานถึงปี 68 กว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาระดับปกติ

จ่อเลื่อนเเผนเปิดกรุงเทพฯ ฉีดวัคซีนได้ไม่ถึง 70% 

วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ทางการจะเลื่อนเปิดกรุงเทพฯ ซึ่งการผ่อนคลายในระยะต่อไปยังต้องระมัดระวัง และอาจขึ้นอยู่กับอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  

โดยแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ระยะที่ 2 เบื้องต้นเตรียมเปิดเพิ่มอีก 4 จังหวัดพื้นที่นำร่องในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ได้แก่ เชียงใหม่ (.เมือง อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.ดอยเต่า) ชลบุรี (พัทยา สัตหีบ อ.บางละมุง) เพชรบุรี (ชะอำ) และประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน)

ส่วนในกรุงเทพฯ อาจต้องเลื่อนออกไปจนกว่าจำนวนประชากรในพื้นที่จะได้รับวัคซีน 2 โดส ตามเกณฑ์ที่ 70% ของประชากร ล่าสุด ณ วันที่ 19 กันยายน มีอัตราการฉีดที่ 40.7%  

ยอดติดเชื้อรายวันผ่าน ‘จุดสูงสุด’ แต่ยังน่ากังวล

อย่างไรก็ตาม เเม้ทางการจะทยอยเปิดพื้นที่นำร่องเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ แต่ความกังวลและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ในไทยจะยังสูงอยู่อย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564’ หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ในกรณีฐาน : การฉีดวัคซีนจำนวนมากในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะช่วยควบคุมการติดเชื้อได้ระดับหนึ่ง ภายใต้ข้อสมมติว่า ฉีดวัคซีนเฉลี่ยวันละ 460,000 โดส และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ 50%

วิจัยกรุงศรี มองว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ ตลอดช่วงที่เหลือของปี โดยในช่วงสิ้นปีจะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 2,500 รายต่อวัน และเสียชีวิตราว 40 รายต่อวัน 

มาตรการควบคุมการระบาดจึงยังมีความจำเป็น การผ่อนคลายมาตรการควรดำเนินการไปทีละขั้นตอนแต่ยังคงข้อจำกัดบางประการด้วยความระมัดระวังตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ อาจมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพิ่มเติมในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้หรือเป็นช่วงที่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงต่ำกว่า 150 รายต่อวัน

ในกรณีเลวร้าย : แม้จะฉีดวัคซีนได้ 90 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ เเต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอาจยังอยู่ในระดับสูงตลอดช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากวัคซีนมีประสิทธิภาพต่ำ และผ่อนคลายมาตรการควบคุมเร็วเกินไป ในกรณีนี้อาจเห็นการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง

ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังหารายได้ชดเชยท่องเที่ยว

ขณะเดียวกัน ทางการได้เตรียมออกมาตรการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ โดยตั้งเป้า 5 ปี (2565-2569) ไว้ที่ราว 1 ล้านล้านบาท เเบ่งเป็นเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท สร้างรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท หวังสร้างรายได้เข้าประเทศในช่วงที่ภาคท่องเที่ยวยังฟื้นช้า

โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงในลักษณะผู้พำนักระยะยาว (long-term stay) ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1. กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง 

2. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ

3. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย

4. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ

คาดจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาปกติ ปี 68 

เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติปีละเกือบ 2 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวเกือบ 40 ล้านคนต่อปี

ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มล่าช้า วิจัยกรุงศรี คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่าจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดอาจต้องใช้เวลาหลายปี หรือราวปี 2568

ปัจจุบันแม้แผนการฉีดวัคซีนจะเร่งขึ้นแต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีเพียง 0.15 ล้านคน และ 2.5 ล้านคน ในปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ

ผลจากการระบาดที่รุนแรงกว่าคาดจึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและทำให้แผนการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวหลักบางแห่งเลื่อนช้าออกไปอีก ทั้งหลายประเทศสำคัญได้ปรับยกระดับคำเตือนนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมาประเทศไทย อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอังกฤษ

การฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียอาจล่าช้า เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ยังอยู่ในระดับสูง และมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน และการกลายพันธุ์ของไวรัส

 

 

]]>
1352819
เช็กเลย! แจกเงินประกันสังคม “ม.33 เรารักกัน” รับ 4,000 บาท ลงทะเบียน 21 ก.พ.- 7 มี.ค. นี้ https://positioningmag.com/1318073 Fri, 05 Feb 2021 06:23:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318073 เคาะแล้ว! ผู้ประกันตนมาตรา 33 ‘ประกันสังคมรับเงินเยียวยา 4,000 บาท ในโครงการ.33 เรารักกัน  เริ่มลงทะเบียน 21 ก.พ.- 7 มี.ค. นี้ ย้ำไม่จ่ายเป็นเงินสด ให้เฉพาะคนที่มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 5 เเสนบาท

สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุถึงความคืบหน้าในการจ่ายเงินเยียวประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ว่า ตอนนี้ได้มีการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียน.33 เรารักกัน ไว้เรียบร้อยแล้ว ผ่าน www.ม33เรารักกัน.com หากผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก็สามารถเปิดลงทะเบียนได้เลย

โดยมีไทม์ไลน์การรับสิทธิ์.33 เรารักกันดังนี้

  • 21 กุมภาพันธ์ -7 มีนาคม 2564 ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ
  • 8-14 มีนาคม 2564 ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูลรวมทั้งประมวลผลคัดกรอง
  • 15-21 มีนาคม 2564 กดใช้งาน และกดยืนยันตัวผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง
  • ได้วงเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังครั้งละ 1,000 บาท ในวันที่ 22, 29 มีนาคม และวันที่ 5, 12 เมษายน 2564
  • เริ่มใช้จ่ายซื้อสินค้า และบริการกับร้านค้าภายในโครงการเราชนะ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม-31 พฤษภาคม 2564

ต้องรอรายละเอียดทั้งหมดที่กำลังจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ก่อน

#ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

  • ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะเป็นผู้ประกันตน .33 ที่มีสัญชาติไทย
  • ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • ต้องมีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท (ไม่รวมเงินลงทุนในกองทุน พันธบัตรรัฐบาล หรือสลากออมสิน)

โดยจะได้รับเยียวยาครั้งละ 1,000 บาท รวม 4 สัปดาห์ รวมวงเงิน 4,000 บาทผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง

คาดว่าจะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

]]>
1318073
ผลกระทบ COVID-19 อาจพุ่งกว่า 1.3 ล้านล้าน สมาคมธนาคารไทย เชื่อมาตรการรัฐ “ช่วยได้” https://positioningmag.com/1273452 Tue, 14 Apr 2020 13:05:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273452 สมาคมธนาคารไทย ชี้ผลกระทบ COVID-19 อาจสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หากสถานการณ์สงบเร็วกระทบจีดีพี 7.7% หากยืดเยื้อความเสียหายอาจรุนแรงขึ้น เชื่อมาตรการรัฐเป็น “ยาดี” ช่วยได้

เศรษฐกิจจะแย่กว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เเต่เเตกต่าง

ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย มองว่า ผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

“จุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิกฤตการระบาดของเชื้อ COVID-19 กับวิกฤตปี 2540 คือ ในรอบนี้ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ ‘เร็ว’ และมี ‘ขนาดใหญ่’ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ทรุดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดับแรกๆ คือ การจัดการด้านสาธารณะสุขเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและดูแลผู้ป่วยในวงที่กว้างขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องอาชีพและปากท้องของประชาชน”

ทั้งสองส่วนนี้ มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จัดสรรไปหมดแล้ว

ด้านการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะปัจจุบันตลาดการเงินไทยเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจ ธปท. ออกซอฟต์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พ.ร.ก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตลอดจน พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งรวมแล้วคือมาตรการเยียวยาระยะที่ 3 ที่มีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้นถือเป็นส่วนสำคัญ

“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ จะยังคงขึ้นอยู่กับว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่า หากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอีกมากเพียงพอที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน” ปรีดีกล่าว

อุ้มตลาดทุน – ต่อลมหายใจ SMEs

ประธานสมาคมธนาคารไทย เเนะว่ามาตรการ 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จำเป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่การจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีขนาดใหญ่ราว 22% ของจีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิมและเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถาบันและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมในตราสารหนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยมาตรการช่วยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนกิจการทั้งหมด และการจ้างงานกว่า 85% ของการจ้างงานทั้งประเทศ หรือกว่า 13 ล้านคน ผ่านการให้ซอฟต์โลนเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแบบอัตโนมัติ

“ทั้งหมดนี้ ก็คาดหวังว่าการต่อลมหายใจทางธุรกิจ จะช่วยพยุงจ้างงานและกลไกของห่วงโซ่ธุรกิจบางส่วนให้พอเดินต่อไปได้ ในระหว่างที่ทุกคนรวมพลังอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ” 

]]>
1273452