มุสลิม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Jul 2024 08:38:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไทย” ติดอันดับ 5 ประเทศ Non-OIC ที่เป็นมิตรต่อ “นักท่องเที่ยวมุสลิม” แห่งปี 2024 https://positioningmag.com/1481277 Thu, 04 Jul 2024 07:08:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481277
  • Mastercard จัดทำรายงานดัชนีการท่องเที่ยวของชาวมุสลิมประจำปี 2024 “ไทย” ติดอันดับ 5 ประเทศที่เป็นมิตรกับ “นักท่องเที่ยวมุสลิม” มากที่สุดในกลุ่มประเทศ Non-OIC
  • ตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมทั่วโลกปีนี้คาดว่าจะมีกว่า 168 ล้านคน โตขึ้น 5% จากช่วงก่อนโควิด-19 ถือเป็นอีกกลุ่มนักท่องเที่ยวสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
  • Mastercard จัดทำรายงาน “ดัชนีการท่องเที่ยวของชาวมุสลิมทั่วโลกประจำปี 2024” (The Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index หรือ GMTI 2024) เพื่อจัดอันดับประเทศที่เป็นมิตรต่อ “นักท่องเที่ยวมุสลิม” มากที่สุดในโลก สร้างโอกาสดึงดูดการเข้ามาท่องเที่ยวของชาวมุสลิมจากหลายประเทศ

    โดยดัชนีนี้มีตัวชี้วัดแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1)การบริการ เช่น มีห้องละหมาดในสถานที่ต่างๆ มีอาหารฮาลาลให้เลือก โรงแรมและสนามบินที่เป็นมิตรกับมุสลิม 2)สิ่งแวดล้อม เช่น ความปลอดภัยโดยทั่วไปต่อคนมุสลิม ระเบียบข้อบังคับที่ไม่กระทบต่อศรัทธา 3)การเข้าถึง เช่น มีเที่ยวบินเข้าถึงง่าย การให้วีซ่า 4)การสื่อสาร เช่น การทำการตลาดต่อคนมุสลิมโดยตรง

    ดัชนีนี้มีการวัดใน 145 ประเทศทั่วโลก และมีการแยกกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลาม (Non-OIC) ในการจัดอันดับไว้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมก็สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวฮาลาลได้

    5 อันดับแรกประเทศ OIC ที่เป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวมุสลิมมากที่สุด ปี 2024

    อันดับ 1 (ร่วม) อินโดนีเซีย (76 คะแนน)
    อันดับ 1 (ร่วม) มาเลเซีย (76 คะแนน)
    อันดับ 3 ซาอุดิอาระเบีย (74 คะแนน)
    อันดับ 4 ตุรกี (73 คะแนน)
    อันดับ 5 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (72 คะแนน)

    5 อันดับแรกประเทศ Non-OIC ที่เป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวมุสลิมมากที่สุด ปี 2024

    อันดับ 1 สิงคโปร์ (66 คะแนน)
    อันดับ 2 สหราชอาณาจักร (58 คะแนน)
    อันดับ 3 ไต้หวัน (55 คะแนน)
    อันดับ 4 ฮ่องกง (54 คะแนน)
    อันดับ 5 ไทย (52 คะแนน)

    ประเทศไทยโดดเด่นเรื่องอาหารฮาลาลมีให้เลือกหลากหลาย (Photo: Shutterstock)

    สำหรับประเทศ “ไทย” นั้นรายงาน GMTI ของ Mastercard ประเมินว่า ไทยมีความพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวมุสลิมเสมอมา ด้วยการสนับสนุนร้านอาหารฮาลาลและผลิตภัณฑ์ฮาลาลในสถานที่ท่องเที่ยว และยังใช้ประโยชน์จากการมีชุมชนคนมุสลิมในประเทศมาสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในจุดหมายปลายทางสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต และกระบี่ ซึ่งจะมีร้านอาหารฮาลาลทุกระดับให้เลือกไม่เว้นแม้แต่สตรีทฟู้ด

    นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางฮาลาล” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2027 ด้วย มุ่งเน้นการขยายอุตสาหกรรมฮาลาลหลายด้าน เช่น อาหาร ท่องเที่ยว บริการ เครื่องแต่งกาย ซึ่งน่าจะทำให้ประเทศไทยยังอยู่ในระดับต้นๆ ของการวัดดัชนี GMTI ในอนาคต

     

    “นักท่องเที่ยวมุสลิม” ตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

    รายงาน GMTI ยังคาดการณ์ด้วยว่า ปี 2024 นี้จะมีนักท่องเที่ยวมุสลิมออกท่องเที่ยวต่างประเทศกว่า 168 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5% จากก่อนโควิด-19 และประเมินว่าภายในปี 2028 น่าจะมีนักท่องเที่ยวมุสลิมขึ้นไปแตะ 230 ล้านคน เนื่องจากประเทศมุสลิมหลายประเทศมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นและมีรายได้สูงขึ้น

    นักท่องเที่ยวมุสลิม
    (Photo: Ihsan Adityawarman / Pexels)

    ด้านกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวมุสลิม หากวัดจากจีดีพีต่อหัวของประชากรซึ่งยิ่งสูงก็ยิ่งมีโอกาสที่จะใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นนั้น 10 อันดับประเทศมุสลิมที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด ได้แก่ 1)กาตาร์ 2)สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3)คูเวต 4)บรูไน 5)บาห์เรน 6)ซาอุดิอาระเบีย 7)โอมาน 8)ตุรกี 9)คาซัคสถาน และ 10)มาเลเซีย

    อย่างไรก็ตาม มีประเทศมุสลิมอื่นด้วยที่น่าสนใจด้วยจำนวนประชากรมากและมีกลุ่มผู้มีฐานะมาก โอกาสจะออกมาท่องเที่ยวต่างประเทศสูง เช่น อินโดนีเซีย อิหร่าน อียิปต์ ปากีสถาน เป็นต้น

    กลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิมเป็นคนวัยไหน? ด้วยโครงสร้างประชากรมุสลิมทั่วโลก 70% คือคนวัยไม่เกิน 40 ปี แตกต่างจากเทรนด์ประชากรโลกที่จะสูงวัยมากกว่า

    หากเจาะลึกลงไป กลุ่มที่น่าจะเดินทางท่องเที่ยวจะเป็นคนวัย 21-40 ปีเป็นหลักซึ่งเป็นวัยทำงาน การเดินทางจึงมักจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ “กลุ่มเดินทางกับครอบครัว” กลุ่มนี้จะต้องการที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับเด็กหรือไปได้ทั้งครอบครัว และอีกกลุ่มคือ “กลุ่มยังโสด” ซึ่งต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวหลากหลาย มีทั้งมาพักผ่อน และมาทำธุรกิจ

    ]]>
    1481277
    “อินโดนีเซีย” ประกาศสั่งห้ามพลเมืองเดินทางไปประกอบ “พิธีฮัจญ์” ที่ซาอุฯ ในปีนี้แล้ว https://positioningmag.com/1281811 Tue, 02 Jun 2020 15:40:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281811 รัฐบาลอินโดนีเซียมีคำสั่งให้พลเมืองมุสลิมงดเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ซาอุดีอาระเบียในปีนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

    อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก และแต่ละปีจะมีชาวอิเหนานับแสนคนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะในซาอุดีอาระเบีย สำหรับชาวมุสลิมแล้วการไปแสวงบุญที่เมกกะถือเป็นภารกิจสำคัญที่ควรจะกระทำให้ได้อย่างน้อยสัก 1 ครั้งในชีวิต

    จากข้อมูลจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอิเหนาพบว่า มุสลิมในอินโดนีเซียจะต้องใช้เวลารอเฉลี่ยถึง 20 ปีกว่าจะได้โควตาไปทำฮัจญ์

    ตอนนี้รัฐบาลซาอุฯ ประกาศว่า ทั้งพิธีฮัจญ์ และพิธีอุมเราะห์ (หมายถึงการเยี่ยมเยียน ซึ่งก็คือการเดินทางไปแสวงบุญและปฏิบัติศาสนกิจที่นครเมกกะนอกเวลาประกอบพิธีฮัจญ์ สามารถกระทำได้ตลอดทั้งปี) จะถูกระงับไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม

    Photo : Shutterstock

    ฟัครุล ราซี รัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนาของอินโดนีเซีย ระบุว่า รัฐบาลสั่งงดการเดินทางไปฮัจญ์ในปีนี้เนื่องจากกังวลเรื่องการระบาดของ COVID-19 รวมถึงมาตรการจำกัดการเดินทางที่อินโดนีเซียและหลายประเทศยังคงบังคับใช้อยู่

    ปีนี้อินโดนีเซียได้โควตาไปทำฮัจญ์ 221,000 คน และผู้มีสิทธิ์กว่า 90% ลงทะเบียนยืนยันแล้วว่าพร้อมที่จะไป

    เดวี พนักงานบริษัทโทรคมนาคมในกรุงจาการ์ตา เป็นคนหนึ่งที่ได้โควตาไปทำฮัจญ์ในปีนี้หลังจากที่รอคอยมานานถึง 6 ปี แต่เธอก็ทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น

    “ถ้ารัฐบาลตัดสินใจแล้ว ฉันก็ต้องยอมรับ ท้ายที่สุดฉันเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยการอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้า”

    Source

    ]]>
    1281811
    การละหมาดเเบบ New Normal ชาวมุสลิมร่วมพิธีกลางลานจอดรถห้าง IKEA ในเยอรมนี https://positioningmag.com/1280806 Wed, 27 May 2020 08:55:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280806 การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนต้องเว้นระยะห่างทางสังคมรวมไปถึงการประกอบศาสนกิจด้วย

    ภาพของชาวมุสลิมกว่า 800 คนที่ร่วมประกอบพิธีละหมาดหมู่ในวันอีด บนลาดจอดรถของ IKEA ห้างเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังในเมืองเเฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี กำลังได้รับเสียงชื่นชมจากโลกออนไลน์ว่าเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเเบบ New Normal ที่ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของโรคระบาดได้เป็นอย่างดี

    ทางมัสยิด Wetzlar ได้กล่าวขอบคุณห้าง IKEA ที่เอื้อเฟ้อพื้นที่ลานจอดรถกลางเเจ้งให้กับชาวมุสลิมที่เข้าร่วมละหมาดในวันอีดเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

    Kadir Terzi ประธานมัสยิดบอกกับ BBC ว่าทางผู้จัดการร้านไม่ลังเลเลยที่จะอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าว ทำให้เขารู้สึกดีใจเเละมีความสุขมาก โดยผู้เข้าร่วมการละหมาดครั้งนี้ต้องสวมหน้ากากอนามัย นำเสื่อของตัวเองไปเเละต้องอยู่ห่างจากกัน ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีจะต้องอยู่ที่บ้าน

    เหตุที่ทางมัสยิดจำเป็นต้องใช้ลาดจอดรถเพื่อประกอบพิธีละหมาดนั้น เพราะต้องปฎิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้มัสยิดไม่สามารถรองรับศาสนิกชนจำนวนมากได้ ลานจอดรถซึ่งอยู่ในที่โล่งเเจ้งจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสม

    ประธานมัสยิด บอกอีกว่าการสวดมนต์ขอพรในวันอีดมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อชาวมุสลิมจำนวนมากกำลังรู้สึกโดดเดี่ยวในช่วงรอมฎอนเนื่องจากข้อจำกัดของ COCID-19 ซึ่งปกติเเล้วช่วงที่ถือศีลอดจะเป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวเเละชุมชนอยู่ร่วมกัน พร้อมมีการจัดงานการกุศล

    “ปีนี้เป็นช่วงรอมฎอนที่เเตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่มีการเยี่ยมเยือนเเละไม่ได้ถือศีลอดร่วมกัน ซึ่งทำให้การมาร่วมละหมาดครั้งนี้มีค่ามาก”

    หลังจากภาพการละหมาดบนลานจอดรถของ IKEA มีการเเชร์เเละเผยเเพร่ตามสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ก็มีเสียงชื่นชมในมิตรภาพที่สวยงามระหว่างศาสนา โดยก่อนหน้านี้ มีการรายงานภาพชาวมุสลิมร่วมละหมาดในโบสถ์ชาวคริสต์ในกรุงเบอร์ลินเช่นกัน

    ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งระบุว่า “นี่คือความรักเเละความเมตตาที่โลกต้องการในตอนนี้” ด้านผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกรายบอกว่า “เป็นสัญญาณเเห่งความหวังในยามยากลำบาก เป็นการหาวิธีแก้ไขเเละอยู่ร่วมกันเพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้”

    สำหรับชาวมุสลิมในไทยก็มีออกมาทำพิธีฉลองสิ้นสุดเดือนรอมฎอน แบบ New Normal เช่นเดียวกัน โดยมัสยิดที่ได้รับอนุญาต มีการคัดกรองเเละเว้นระยะห่างอย่างเข้มงวด

    รวมภาพ : ชาวมุสลิมภาคใต้ร่วมละหมาดฮารีรายออิดิ้ลฟิตรี ท่ามกลางการระบาดเชื้อ COVID-19

    ภาพการละหมาดจาก จ.นราธิวาส

    ยกตัวอย่างเช่น มัสยิดกลางจังหวัดยะลา ได้มีการตรวจคัดกรองวัดไข้และการจัดที่นั่งละหมาดห่างกันประมาณ 1-2 เมตร โดยมีทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ร่วมตรวจคัดกรองก่อนเข้าภายในมัสยิดและจดชื่อที่อยู่ ตามบัตรประชาชนก่อนเข้าภายในมัสยิด และขอความร่วมมือในการงดการใกล้ชิด เช่นการทำสลาม หรือการสวัสดีทักทายกัน แทนที่จะมีการจับมือสลามแบบเดิมให้มีการยกมือ และกล่าวสลามต่อกัน นอกจากนี้ยังยกเว้นการสวมกอดเพื่อแสดงความยินดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย

     

    ที่มา : BBC , Mirror

    ]]>
    1280806