ยากจน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Mar 2022 09:06:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้ https://positioningmag.com/1377981 Thu, 17 Mar 2022 08:25:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377981 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด

การระบาดใหญ่นำไปสู่การว่างงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่เลวร้ายลง และความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง เเรงงานที่อายุน้อยและผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masatsugu Asakawa ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าว

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องต่อสู้กับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเปราะบางเเละหลายครัวเรือน กำลังเผชิญการสูญเสียรายได้เเละต้องเเบกรับหนี้สินจำนวนมาก

โดยประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม 6.55 ล้านคน , อินโดนีเซีย 5.91 ล้านคน และมาเลเซีย 3.87 ล้านคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานไร้ทักษะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบรายย่อยตลอดจนธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ดิจิทัล

ผลกระทบของการระบาดใหญ่ส่งผลต่อความยากจนและการว่างงาน ทำให้การเข้าถึงโอกาสของคนยากจนยิ่งแย่ลงไปอีก” ADB ระบุ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนเเรงจะส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่น

ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากในการเติบโต อย่างเช่น ประเทศไทย โดยคาดว่าจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวขึ้น เมื่อมีการเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมจะเพิ่มขึ้น 58% ในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปี 2019 ถึง 64%

ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการขนส่ง ที่พัก นันทนาการและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ยังคงอ่อนแอ เพราะการเดินทางยังคงถูกจำกัดและมีการบังคับเว้นระยะห่างทางสังคม

โดย ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : CNBC , ADB 

]]>
1377981
กลุ่ม G7 ตั้งเป้าบริจาค ‘วัคซีนโควิด’ ช่วยประเทศยากจน ผ่าน COVAX อย่างน้อย 1,000 ล้านโดส https://positioningmag.com/1336478 Fri, 11 Jun 2021 04:50:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336478 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ตกลงบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประเทศรายได้ต่ำปานกลาง เบื้องต้นอย่างน้อย 1 พันล้านโดส ผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก เร่งกระจายวัคซีนให้เสร็จสิ้นภายในปีหน้า

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยว่า สหราชอาณาจักรจะบริจาควัคซีนโควิด-19 อีก 100 ล้านโดส เพื่อสมทบกับเเผนการของสหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศว่าจะเเจกจ่ายวัคซีน Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ไปเมื่อเร็วๆ นี้

เอ็มมานูเอล มาครงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็เตรียมจัดส่งวัคซีนช่วยเหลืออีก 30 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2021 นี้เช่นกัน

โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เเห่งสหรัฐฯ พร้อมกับอัลเบิร์ต บูร์ลาซีอีโอของบริษัท Pfizer เเถลงร่วมกันเพื่อยืนยันว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ซื้อวัคซีนของ Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ให้เเก่โครงการ COVAX โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างน้อย 92 ประเทศ

สำหรับเเผนการจัดส่งจะทยอยส่ง 200 ล้านโดสแรกภายในปีนี้ ขณะที่เหลืออีก 300 ล้านโดส คาดว่าจะจัดส่งให้แล้วเสร็จภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 โดยวัคซีนของ Pfizer ที่จะขายให้สหรัฐฯ ล็อตใหญ่นี้ เป็นส่วนหนึ่งใน
เเผนการจัดสรรวัคซีน 2 พันล้านโดสให้กับกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง ที่บริษัทเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้

ก่อนหน้านี้ ทำเนียบขาว เปิดเผยเอกสาร เเผนการเเบ่งปันวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 80 ล้านโดส ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เคยให้คำมั่นไว้ โดยตั้งเป้าจะแจกจ่ายให้แล้วเสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เเบ่งเป็นเฟสเเเรก 25 ล้านโดส ในจำนวนนี้ วัคซีนกว่า 75% จะถูกจัดสรรให้กับ COVAX (มีลิสต์รายชื่อประเทศไทยด้วย เเม้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) ขณะที่อีก 25% จะเตรียมสำรองไว้ให้ประเทศที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดหนัก จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือในทันที และประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ โดยตรง (คลิกอ่านต่อ : ที่นี่)

อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนบริจาควัคซีนดังกล่าวว่ามีจำนวนน้อยเกินไป โดยองค์กรออกซ์แฟม ใช้คำเปรียบเปรยเหมือนน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรเพราะยังมีประชากรทั่วโลกเกือบ 4 พันล้านคนที่ต้องพึ่งพาโครงการ COVAX และปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกยี่ห้อต้องฉีดให้ครบ 2 โดส

ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกายังเป็นโซนที่มีความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีนน้อยที่สุด ประมาณ 1.7% ของวัคซีนที่มีการฉีดทั่วโลกไปว่า  2.2 พันล้านโดส

 

ที่มา : Reuters , AFP , AP 

 

]]>
1336478
IMF เเนะประเทศร่ำรวย ปรับ ‘ขึ้นภาษี’ เพื่อลดปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1326430 Fri, 02 Apr 2021 11:59:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326430 IMF เเนะประเทศร่ำรวยขึ้นภาษี’ นำงบมาพัฒนาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ’ ที่รุนเเรงขึ้นจากวิกฤต COVID-19

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุถึงรายงานของ Fiscal Monitor เผยเเพร่ในเดือนเมษายน 2021 ที่ชี้ให้เห็นว่า การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ลุกลามไปทั่วโลกนั้น ทำให้ความไม่เท่าเทียมในสังคม ทวีความรุนเเรงขึ้น

โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดูเเลสุขภาพ การศึกษา เเละโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นรัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ หลังผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว

IMF เเนะนำว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือประเทศร่ำรวย อาจจะต้องใช้มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้เพิ่มการเก็บภาษีมรดกให้สูงขึ้นรวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความสามารถจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น

Photo : Getty Images

ด้านมูลนิธิ Oxfam ระบุว่า ในช่วงเดือนมี.. – .. 2020 มหาเศรษฐีทั่วโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนจนมีรายได้ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวขึ้น

โดยเมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาดมารวมกัน จะพบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

อ่านเพิ่มเติม : COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงินเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมาฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

Oxfam ให้ความเห็นว่า ทั้ง IMF และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงดำเนินนโยบายทางการเงินที่จะซ้ำรอยกับวิกฤตการเงินปี 2008-2009 ด้วยการผลักภาระภาษีจากคนรวยและบริษัทยักษ์ใหญ่ไปสู่ครัวเรือน

 

ที่มา : Reuters , IMF

]]>
1326430
ธนาคารโลกเผย COVID-19 ทำเศรษฐกิจโลกพังทลาย หนักสุดในรอบ 150 ปี https://positioningmag.com/1282733 Tue, 09 Jun 2020 06:08:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282733 ธนาคารโลก รายงานคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลก Global Economic Prospects ประจำปี 2020 ระบุว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะช็อกครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเเละรุนเเรง ซึ่งจะนำไปสู่การพังทลายของเศรษฐกิจโลกในวงกว้างที่สุด นับตั้งเเต่ปี 1870 (ในรอบ 150 ปี) แม้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ จะออกมาตรการมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจเเล้วก็ตาม

จากรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 5.2% ในปีนี้ โดยหากพิจารณาจีดีพีต่อหัว จะพบว่าการหดตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945-46 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายประเทศที่ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่านั้น ซึ่งหมายความว่าขนาดของภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำรุนแรงเป็นวงกว้างที่สุดในรอบ 150 ปี

โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะติดลบ 6.1% ยูโรโซน ติดลบ 9.1% บราซิล ติดลบ 8.0% อินเดีย ติดลบ 3.2% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะยังเติบโต แต่จะเติบโตเพียง 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 44 ปี

ขณะที่เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาจะติดลบ 2.5% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกของประเทศกลุ่มนี้ในรอบ 60 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 5.0%

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเเละเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก

เเม้ World Bank จะคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2021 แต่ก็เตือนว่า อาจมีการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกให้ลดลงอีก หากเกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เเละสั่งปิดภาคธุรกิจต่างๆ อีกรอบ ทำให้ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะดิ่งลงไปมากกว่านี้ เเละหากการเเพร่ระบาดยังคงยืดเยื้อ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจโลกอาจหดตัวได้ถึง -8% ในปีนี้

“ความเลวร้ายของวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ จะทำให้ผู้คน 70-100 ล้านคน ตกอยู่ในสภาพยากจนถึงขีดสุด มากกว่าตัวเลขที่เคยมีการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 60 ล้านคน”

 

ที่มา : World Bank , AFP

]]>
1282733
เงินของประชากรโลก 60% รวมกัน…ยังรวยไม่เท่ามหาเศรษฐี 2 พันคน https://positioningmag.com/1261281 Mon, 20 Jan 2020 08:15:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261281 เหล่าเศรษฐีพันล้านมีจำนวนมากขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เเละร่ำรวยกว่าประชากร 60 % ของโลก โดยคนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในทวีปแอฟริกา

จากรายงานของมูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) ระบุว่า ผู้หญิงและเด็กหญิงที่ยากจนอยู่ล่างสุดของระบบนี้ พวกเธอทำงานดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างรวม 1.2 หมื่นล้านชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 10.8 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

“มหาเศรษฐีพันล้านซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2,153 คน มีทรัพย์สินรวมกัน มากกว่าทรัพย์สินของคนยากจนที่สุดในโลก 4,600 ล้านคนรวมกัน”

Amitabh Behar หัวหน้าของ Oxfam อินเดีย กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ล้มเหลวของเรากำลังหล่อเลี้ยงกระเป๋าเงินของมหาเศรษฐีและธุรกิจใหญ่ ด้วยการทำลายชายและหญิงธรรมดาทั่วไป ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่ามหาเศรษฐีควรมีอยู่หรือไม่

“ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนไม่อาจแก้ไขได้ หากปราศจากนโยบายทำลายความไม่เท่าเทียมอย่างตรงจุด”

อ่านเพิ่มเติม : รวยแล้วรวยอีก! Top 500 เศรษฐีโลกรวยขึ้น 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐปี 2019

รายงานดังกล่าวระบุด้วยว่า “คนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในแอฟริกา” โดยประชากรผู้หญิงและเด็กผู้หญิง คือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้ได้น้อย เพราะต้องทำงานด้านการดูแลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่งานดูแลเหล่านั้นคือต้นกำเนิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจและสังคม

“พวกเธอส่วนใหญ่มักไม่มีเวลาที่จะรับการศึกษา มีชีวิตที่เหมาะสม หรือมีโอกาสพูดว่าสังคมของเราควรไปในทิศทางไหน พวกเธอจึงติดกับดักชั้นล่างสุดของระบบเศรษฐกิจ ” Behar กล่าว

Oxfam เเนะว่าหากกลุ่มคนที่ร่ำรวยรวยที่สุดในโลกจ่ายภาษีเพิ่มเพียงร้อยละ 0.5 เป็นเวลา 10 ปี จะเท่ากับการลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ถึง 117 ล้านตำแหน่งในด้านการดูแลผู้สูงอายุและเด็ก การศึกษาและสาธารณสุข

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ Oxfam อ้างอิงข้อมูลจากนิตยสาร Forbes และธนาคารเครดิตสวิสในสวิสเซอร์แลนด์ เเละถูกโต้แย้งโดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคน

 

ที่มา : AFP / Billionaires richer than 60 percent of the world’s population: Oxfam

]]>
1261281