รถEV – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 29 Nov 2023 06:25:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘รถอีวี’ จีนช่วงต.ค. ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้รัฐบาลจะเลิกนโยบายสนับสนุนแล้วก็ตาม https://positioningmag.com/1453810 Wed, 29 Nov 2023 05:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453810 ดูเหมือนความนิยมในรถอีวีจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูได้จากอัตราการเติบโตที่ยังคงร้อนแรงทั่วโลก แม้แต่ตลาดอันดับ 1 อย่าง จีน ที่ถึงจะสิ้นสุดโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล ส่วนตลาดก็ยังสามารถเติบโตได้ ส่วนตลาดอเมริกาเหนือก็เติบโตถึง 78%

ตามรายงานจากบริษัท Canalys เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก (รวม BEV และ PHEV) เพิ่มขึ้น 49% เป็น 6.2 ล้านคัน ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยรถอีวีคิดเป็น 16% ของตลาดรถยนต์ขนาดเล็กทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 12.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

โดยตลาด จีน ยังเป็นตลาด EV ที่ใหญ่ที่สุดด้วยจำนวน 3.4 ล้านคัน คิดเป็น 55% ของยอดขายอีวีโลก โดยอัตราการเติบโตในช่วงครึ่งแรกอยู่ที่ 43% และยอดขายในเดือน ตุลาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้จะสิ้นสุดการอุดหนุนจากรัฐบาลแล้วก็ตาม และในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ถือเป็นช่วงที่ตลาดรถยนต์ของจีนจะขายดีที่สุด ตามข้อมูลของ Rho Motion

“สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับตัวเลขในเดือนตุลาคมก็คือ ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในจีนยังคงสูงเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าเงินอุดหนุนจะถูกตัดออก โดยในปีนี้จะเป็นปีธงสำหรับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า” บริษัทวิจัยตลาดกล่าว

ส่วน ยุโรป ตลาดรถอีวีที่ใหญ่เป็นอันดับสอง มีส่วนแบ่ง 24% มียอดส่งมอบ 1.5 ล้านคัน ก็เติบโตขึ้นอย่างมากถึง 26% อย่างไรก็ตาม การยกเลิกเงินอุดหนุนในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่งผลต่อความต้องการในเยอรมนีอย่างเห็นได้ชัด

“เงินอุดหนุนเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดเยอรมนี เนื่องจากการจดทะเบียนรถยนต์โดยสารเกือบ 2 ใน 3 เป็นเชิงพาณิชย์”

ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน ตลาดอีวีทั่วโลกเติบโต 34% ส่วนจีนเติบโต 29% ส่วนยอดขายรถอีวีใน อเมริกาเหนือ เพิ่มขึ้น 78% ในปีนี้

“ตลาดอเมริกาเหนือยังคงมีความแข็งแกร่งในปี 2023 โดยที่ Tesla ยังคงครองส่วนแบ่งความต้องการสูงสุด อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งการตลาดของ Tesla ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 50% ในช่วงไตรมาสที่สาม แม้จะมีการลดราคาก็ตาม”

]]>
1453810
นักวิเคราะห์ประเมินราคา ‘รถอีวี’ จะเท่ากับ ‘รถสันดาป’ ภายในปี 2570 https://positioningmag.com/1443935 Mon, 11 Sep 2023 09:56:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443935 ต้องยอมรับว่าราคา รถอีวี ยังมีราคาที่ สูงกว่ารถยนต์สันดาป ถ้าไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐเข้ามาช่วย แต่จากการประเมินของ การ์ทเนอร์ เชื่อว่าภายในปี 2570 ราคาเฉลี่ยของรถ BEV จะเท่ากับรถยนต์ ICE ที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเร่งให้เกิดการใช้ EV ทั่วโลก

ปี 2570 รถ BEV จะมีราคาเท่ากับรถ ICE

นักวิเคราะห์ของ การ์ทเนอร์ คาดว่า ภายในปี 2570 ราคาเฉลี่ยของ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จะเท่ากับ รถยนต์สันดาป (ICE) ที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเร่งให้เกิดการใช้ EV ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2573 การผลิตไฟฟ้าและประสิทธิภาพเครือข่ายจะเป็นปัจจัยกำหนดการใช้งาน EV ให้แพร่หลายเหนือกว่าปัจจัยด้านราคา

“เว้นแต่ในประเทศต่าง ๆ จะจูงใจผู้ขับขี่รถ EV ให้ชาร์จแบตเตอรี่นอกช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด นอกจากนี้การเปลี่ยนไปใช้รถ EV อาจสร้างความต้องการที่มากขึ้นเพิ่มเติมทั้งในด้านกำลังการผลิตไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในการจ่ายไฟ” โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าว

EV เติบโตมากกว่า PHEV

สำหรับภาพรวมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ทั่วโลกจะเติบโตจาก 9 ล้านคันในปี 2565 เพิ่มเป็น 11 ล้านคัน ภายในสิ้นปี 2566 โดยคาดว่า รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จะเติบโตช้าลงเล็กน้อยจาก 3 ล้านคัน ในปี 2565 เพิ่มเป็น 4 ล้านคันในปี 2566

สัดส่วนของรถ PHEV คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้น นิยมรถ PHEV มากกว่ารถ BEV โดยผู้บริโภคในสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนจากรถเครื่องยนต์สันดาปมาเลือกใช้รถ PHEV มากกว่า BEV เนื่องจากช่วยให้เดินทางได้ไกลขึ้น

ต่างจากในตลาด ยุโรปตะวันตก จีน และอินเดีย โดยรถ PHEV ได้รับความสนใจน้อยกว่า BEV เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดเหล่านี้ให้ความสำคัญกับ ต้นทุนการใช้งานโดยรวมที่ต่ำกว่า รวมถึงประสบการณ์การขับที่เงียบกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปี 2573 รถที่ออกสู่ตลาดกว่า 50% เป็น EV

โดยภายในปี 2573 คาดว่าจำนวนรถยนต์ทุกรุ่นที่ผลิตออกมาทั้งหมดจะเป็นรถ EV มากกว่า 50% เนื่องจากการตัดสินใจของภาครัฐบาลที่มุ่งมั่นลดการปล่อยฝุ่นละอองจากยานพาหนะ และการริเริ่มโครงการสนับสนุนในบางประเทศ อาทิ การออกกฎหมายเพื่ออนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และการออกข้อบังคับให้ต้องใช้รถ PHEV เป็นอย่างน้อย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์

โดยผู้ผลิตรถยนต์บางรายกำลังมองหาวิธีกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากท่อไอเสียของรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ ๆ ภายในปี 2578 และบางรายตั้งเป้าที่จะบรรลุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสหรัฐฯ ให้ได้ 40-50% ต่อปี ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้าได้นำไปสู่การเปิดตลาดใหม่ ๆ ของแพลตฟอร์มการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (EV Platform)

“กฎระเบียบด้านมลพิษที่เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนโมเดลรถยนต์ที่ทำการตลาดอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2573” ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่ม

]]>
1443935
คาดยอดขาย ‘รถอีวี’ ทั่วโลกทะลุ 14 ล้านคัน เติบโต 35% https://positioningmag.com/1430481 Mon, 15 May 2023 03:18:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430481 จากรายงานของ Global Electric Vehicle Outlook ดูเหมือนว่าสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ทั่วโลกจะสดใส เพราะทั้งเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึงมาตรการจูงใจในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้ยอดขายรถอีวีทั่วโลกปีนี้จะทะลุ 14 ล้านคัน เติบโตสูงถึง 35%

ตามรายงานของ Global Electric Vehicle Outlook ที่ได้แพร่เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา คาดว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% โดยมีรถอีวีทั้งหมดกว่า 14 ล้านคัน ส่งผลให้ส่วนแบ่งของรถอีวีในตลาดรถยนต์ทั้งหมดเพิ่มเป็น 18% จากที่ปี 2020 มีส่วนแบ่งเพียง 4% โดยยอดการซื้อใหม่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในปลายปีนี้จากช่วงไตรมาสแรกมียอดขายมากกว่า 2.3 ล้านคัน

การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาด จีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งแต่ละประเทศก็มีหลากหลายปัจจัยในการผลักดันให้เกิดการเติบโต อาทิ ในสหภาพยุโรปที่ออกแพ็กเกจ Fit for 55 อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ตั้งเป้าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์สำหรับรถยนต์ใหม่ภายในปี 2035

หรือในสหรัฐอเมริกา ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติลดอัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และรวมถึงมาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะติดตั้งแท่นชาร์จเพิ่มเติมมากขึ้น ขณะที่ประเทศจีนเองก็ได้ขยายนโยบายจูงใจในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม ส่งผลให้ส่วนแบ่งยอดขายของรถอีวีกับรถยนต์ทั้งหมดในประเทศทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 29% ในปีนี้ จากที่ปี 2021 มีสัดส่วน 16%

ปัจจุบัน จีนถือเป็นผู้นำของตลาดอีวีทั่วโลก โดยมีส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกถึง 60% ส่วนในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยยอดขายในปี 2022 ขยายตัว 15% และ 55% ตามลำดับ

ส่วนใน ญี่ปุ่น การเติบโตของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าตามหลังตลาดอื่น ๆ โดยมีจำนวนรถอีวีเพียง 3% เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ โดยเติบโตเพียง 1% เท่านั้น

“รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลังงานใหม่ของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังนำการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลก โดยรถยนต์เป็นเพียงคลื่นลูกแรก รถเมล์ไฟฟ้าและรถบรรทุกจะตามมาในไม่ช้า” Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารของ IEA กล่าว “รถยนต์เป็นเพียงคลื่นลูกแรก รถเมล์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจลดการเติบโตของยอดขายรถอีวีในปีนี้ ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและการยุตินโยบายสนับสนุนรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศจีน

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะลดความต้องการน้ำมันลงอย่างน้อย 5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2030

Source

]]>
1430481
ค่าย ‘รถอีวี’ สัญชาติสหรัฐฯ แห่ปรับราคารถขึ้นหลังวัตถุดิบผลิต ‘แบตเตอรี่’ ราคาพุ่งไม่หยุด https://positioningmag.com/1386218 Sun, 22 May 2022 08:45:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386218 ผู้ผลิตรถยนต์ อาทิ Tesla, Rivian และ Cadillac กำลังปรับราคารถยนต์ไฟฟ้าของตนขึ้นท่ามกลางสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะวัตถุดิบหลักที่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

แม้ว่าราคาแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจะลดลงมาหลายปีแล้ว แต่บริษัทแห่งหนึ่งคาดการณ์ว่าความต้องการแร่ธาตุแบตเตอรี่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 4 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจผลักดันราคาเซลล์แบตเตอรี่ให้สูงขึ้นกว่า 20% โดยราคาที่เพิ่มขึ้นยังไม่ร่วมราคาวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ที่พุ่งสูงขึ้นไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ในปีที่ผ่านมา เทสล่า (Tesla) ต้องปรับขึ้นราคาหลายครั้ง และปรับอีก 2 ครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเจอแรงกดดันจากเงินเฟ้อ ที่ส่งผลต่อต้นด้านราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง จนปัจจุบัน รถยนต์รุ่น Standard  ที่ถูกที่สุดของรุ่น Model 3 เริ่มต้นที่ 46,990 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23% จาก 38,190 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022

ส่วน Rivian ผู้นำรถกระบะอีวีรายแรกได้ปรับราคารถกระบะ R1T โดยจะเพิ่มขึ้น 18% เป็น 79,500 ดอลลาร์สหรัฐ และ R1S รถ SUV จะเพิ่มขึ้น 21% เป็น 84,500 ดอลลาร์สหรัฐ ด้าน Lucid Group ได้ประกาศวันที่ 5 พฤษภาคมว่าจะขึ้นราคารถซีดานหรูทุกรุ่นประมาณ 10-12% สำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาที่ทำการจองตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน

นอกจากนี้ General Motors (GM) ขึ้นราคารถอีวีอีกราว 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 62,990 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าต้นทุนสินค้าโดยรวมในปี 2022 จะอยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น สองเท่า จากที่ผู้ผลิตรถยนต์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

คำถามคือ ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบางรายขึ้นราคา ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาแพงอยู่แล้วมีราคาแพงขึ้นไปอีก อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดคำถามว่าจะส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ ให้เกิดขึ้นได้ช้าลงหรือไม่

Source

]]>
1386218
ส่องกระแส ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ บนโซเชียล รับนโยบายแพ็กเกจรถ EV https://positioningmag.com/1378767 Wed, 23 Mar 2022 06:51:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378767 ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) ยิ่งมีนโยบายที่เอื้อต่อทั้งการลดราคา, ลดภาษีสรรพสามิต ทำให้ในงาน Motor Show 2022 บรรดาค่ายทั้งยุโรป จีน ญี่ปุ่น และไทย ต่างก็เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลากหลายรุ่นจากหลายราคาตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน
บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2565 ซึ่งพบว่ามีการพูดถึงเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าถึง 2,962,853 เอ็นเกจเมนต์จากกว่า 4,500 แอคเคาท์ โดยช่องทางที่พูดถึงอันดับ 1 คือ Facebook (54.88%) รองลงมา คือ เว็บไซต์ข่าว (20.93%), Twitter (7.65%), YouTube (6.62%) และ ช่องทางอื่น ๆ (9.92%) แบ่งเป็นการพูดถึงจาก ผู้ชาย (62.73%) มากกว่า ผู้หญิง (37.27%)

เมื่อพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้พบว่า มีการพูดถึงแบรนด์ต่าง ๆ เป็นจำนวนถึง 868,671 เอ็นเกจเมนต์ โดย 5 อันดับแบรนด์ ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ

  • Tesla
  • Great Wall Motor (ORA Good Cat)
  • Volvo
  • Toyota
  • BMW

นอกเหนือจากการพูดถึงแบรนด์แล้ว 3 ประเด็นหลักที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า มีดังนี้

ความคุ้มค่า และประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้า (736,221 เอ็นเกจเมนต์)

เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ายังเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่าชาร์จไฟหนึ่งครั้งวิ่งได้ไกลแค่ไหน, มีค่าใช้จ่ายเมื่อชาร์จต่อครั้งเท่าใด, จุดชาร์จมีเพียงพอหรือไม่, ค่าซ่อมแพงหรือไม่, ลุยน้ำได้หรือเปล่า ซึ่งมีผู้ใช้งานบน Facebook ได้ออกมารีวิวการขับรถไปกลับกรุงเทพ-หัวหิน และใช้เงินเพียง 83 บาทเท่านั้น ชาวโซเชียลจึงเห็นว่าการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ก็อาจจะเหมาะกับยุคที่น้ำมันราคาแพงเช่นนี้

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าที่เปิดตัวในตลาดตอนนี้ยังคงมีราคาสูง ประกอบกับการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในเดือน พ.ค.-ส.ค. นี้ ทำให้ชาวโซเชียลบางคนกลับมาตั้งคำถามว่าแล้วรถยนต์ไฟฟ้าจะคุ้มค่ากว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจริงหรือ

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (418,223 เอ็นเกจเมนต์)

ในยุคที่พลเมืองโลกหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าจึงตอบโจทย์ในเรื่องนี้ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงแล้ว ยังลดการปล่อยมลพิษและควันดำซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ถือได้ว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าน่าจะเป็นหนึ่งในกระแสรักษ์โลกที่ชาวโซเชียลให้ความสำคัญในปี 2565

นโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (277,035 เอ็นเกจเมนต์)

หลายคนกำลังตั้งตาคอยให้รัฐฯ ออกนโยบายที่เอื้อต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งการลดราคา, ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์, ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้า แต่อย่างไรก็ตามชาวโซเชียลก็ยังคงมีความกังวลราคาไฟฟ้าต่อหน่วยเมื่อต้องชาร์จไฟรถจะพุ่งสูงขึ้นหรือไม่

แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะยังจับต้องไม่ได้ในทุกกลุ่ม แต่อัตราการเติบโตในไทยยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในงาน Motor Show 2022 ปีนี้ เราอาจได้เห็นยอดสั่งจองรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และคงได้เห็นรถชนิดนี้วิ่งบนท้องถนนกันมากขึ้น ไม่แน่ในอนาคตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอาจจะเข้ามาแทนที่รถยนต์เชื้อเพลิงก็เป็นได้

]]>
1378767
จับตา ‘Rivian’ สตาร์ทอัพรถอีวี หลังประกาศ IPO 135 ล้านหุ้น คาดมูลค่าแตะ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1359825 Tue, 02 Nov 2021 04:45:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359825 ‘Rivian’ ถือเป็นหนึ่งในน้องใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามองในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเปิดตัว ‘R1T’ รถกระบะไฟฟ้ารายแรกปาดหน้า Tesla, GM และ Ford ซึ่งล่าสุด Rivian ก็เตรียมเปิด IPO ซึ่งมีการตั้งเป้ามูลค่าแตะ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากที่ส่งมอบรถคันแรกไปเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในต้นเดือนตุลาคม Rivian ก็ได้วางแผนเตรียม IPO ล่าสุด บริษัทก็มีแผนจะเสนอขายหุ้นจำนวน 135 ล้านหุ้นในราคา 57-62 ดอลลาร์ โดยมีตัวเลือกให้ผู้รับประกันการจัดจำหน่ายซื้อหุ้นเพิ่มเติมได้มากถึง 20.25 ล้านหุ้น โดย Rivian มีการกำหนดเป้าหมายมูลค่าตลาดมากที่สุดที่ 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการที่แท้จริงจากนักลงทุนก่อนที่บริษัทจะออกสู่สาธารณะ โดยก่อนหน้านี้มีแหล่งข่าวรายงานว่า บริษัทจะขอการประเมินมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์

Rivian ยานยนต์ไฟฟ้าคู่แข่ง Tesla ยื่นเปิด IPO แล้ว! ระดมทุนขยายโรงงาน-สถานีชาร์จ

การประเมินมูลค่าดังกล่าวจะทำให้ Rivian เป็นยักษ์ใหญ่ในกลุ่มสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า และจะเทียบได้กับ Nio ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีน อย่างไรก็ตาม Rivian ยังมีมูลค่าน้อยกว่ายักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์แบบดั้งเดิม เช่น Ford แต่ก็เล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ Rivian วางแผนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะในสัปดาห์หน้า โดยมีแผนจะเข้าจดทะเบียนใน Nasdaq ภายใต้สัญลักษณ์ ‘RIVN’ ตามหนังสือชี้ชวน IPO ของ Rivian ที่ยื่นเมื่อเดือนที่แล้ว และในการยื่นเอกสารเมื่อวันจันทร์ (1 พ.ย.) Rivian กล่าวว่า นักลงทุนรวมถึง Amazon และ T. Rowe Price ได้แสดงความสนใจในการซื้อหุ้นรวมสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่เสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงการซื้อหุ้น IPO บางส่วนผ่านแพลตฟอร์มนายหน้าออนไลน์ของ SoFi

รู้จัก ‘Rivian’ ผู้ผลิต ‘รถกระบะไฟฟ้ารายแรก’ ที่ปาดหน้าทั้ง Tesla, GM และ Ford

ปัจจุบัน Rivian กำลังพัฒนารถตู้ขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ระยะสุดท้ายสำหรับ Amazon ซึ่งได้กล่าวว่ามีแผนที่จะมีรถตู้ 10,000 คันบนท้องถนนภายในปี 2022 และ 100,000 คันภายในปี 2030 และในส่วนของรถกระบะไฟฟ้า R1Ts บริษัทวางแผนที่จะส่งมอบ 1,000 คันภายในสิ้นปีนี้ จากยอดจองรถ R1T และ R1S รวม 48,390 คัน ในตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Amazon เปิดเผยว่ามีสัดส่วนการถือหุ้น 20% ใน Rivian ซึ่งเมื่อรวมกับการลงทุนในตราสารทุนอื่น ๆ แล้วมีมูลค่าตามบัญชีสูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์ โดย Amazon ได้ลงทุนมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ใน Rivian จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ Ford ก็ถือหุ้นประมาณ 12% ใน Rivian เช่นกัน

Source

]]>
1359825
ลาก่อนรถน้ำมัน! คาด ‘รถอีวี’ จะครองโลกในปี 2033 เร็วกว่าที่เคยประเมิน 5 ปี https://positioningmag.com/1338452 Wed, 23 Jun 2021 08:13:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338452 การศึกษาใหม่ระบุว่ายอดขาย รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถอีวี จะแซงหน้ารถยนต์สันดาปภายในปี 2033 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ 5 ปี เนื่องจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมถึงความสนใจในการผลักดันความต้องการขนส่งปลอดมลพิษ

บริษัทที่ปรึกษา Ernst & Young LLP มองว่า ใน ยุโรป จีน และ สหรัฐอเมริกา ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะมียอดขายแซงหน้ารถยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันภายในปี 2033 โดยตลาดทั้ง 3 ถือเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และภายในปี 2045 ยอดขายที่ไม่ใช่รถอีวีจะลดลงเหลือน้อยกว่า 1% ของตลาดรถยนต์ทั่วโลก

คำสั่งของรัฐบาลในหลายประเทศที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์และผู้บริโภคต้องเผชิญกับบทลงโทษทางการเงินที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขายและซื้อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลทั่วไป ส่งผลให้เกิดความต้องการรถอีวีในยุโรปและจีน

EY มองว่ายุโรปจะเป็นผู้นำในตลาด เนื่องจากมีแผนที่จะลดการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์ภายในปี 2028 ขณะที่จุดเปลี่ยนดังกล่าวจะเกิดกับจีนในปี 2033 และตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาในปี 2036 โดยสาเหตุที่สหรัฐฯ ตามหลังตลาดหลักอื่น ๆ ของโลก เนื่องจากในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการยกเลิกหรือผ่อนคลายกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมไปกว่า 125 ฉบับ ทำให้ในยุคของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องมาแก้ไข รวมถึงการเสนองบ 174 พันล้านดอลลาร์เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการติดตั้งสถานีชาร์จครึ่งล้านทั่วประเทศ

ไม่ใช่แค่ตัวกฎระเบียบ แต่ความต้องการของผู้บริโภคสำหรับรถอีวีก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ตั้งแต่ Model 3 รุ่นขายดีของ Tesla ไปจนถึงรุ่นไฟฟ้าใหม่ที่มาจากผู้ผลิตรถยนต์รุ่นเก่า เช่น รถกระบะ Hummer ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าของ General Motors และรถกระบะไฟฟ้าของ Ford Motor

Photo : AFP

การศึกษา EY ยังพิจารณาถึงคนเจนมิลเลนเนียลซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงอายุ 20 และ 30 ปีปลาย ซึ่งช่วยขับเคลื่อนการนำรถอีวีมาใช้ ผู้บริโภคเหล่านั้นซึ่งได้รับแรงหนุนจากปัญหาการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้เลือกที่จะไม่ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ทำให้มีความต้องการที่จะเป็นเจ้าของเจ้าของรถยนต์ และ 30% ของพวกเขาต้องการใช้รถอีวี

“มุมมองที่เราเห็นจากคนรุ่นมิลเลนเนียลนั้นชัดเจนว่ามีแนวโน้มมากขึ้นที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า”

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับรถยนต์อีวีซึ่งดีกว่า ที่จะต้องเจอปัญหาจากข้อจำกัดที่ของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป เช่น บางเมืองไม่อนุญาตให้ขับรถเครื่องยนต์เข้าในเมือง, หรือไม่สามารถจอดได้ในบางพื้นที่ นี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นผู้บริโภค

ทั้งนี้ คาดว่ายุโรปจะเป็นผู้นำในด้านปริมาณการขายรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2031 ส่วนจีนจะกลายเป็นตลาดชั้นนำของโลกสำหรับรถยนต์อีวี ขณะที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลคาดว่าจะมีสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของการจดทะเบียนรถยนต์ขนาดเล็กทั้งหมดในปี 2025 แต่ตัวเลขนี้จะลดลง 12% ภายในปี 5 ปี และภายในปี 2030 EY คาดการณ์ว่ารถยนต์ที่ไม่ใช่อีวีจะมีสัดส่วนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการจดทะเบียนรถยนต์ขนาดเล็กทั้งหมด

Source

]]>
1338452
ยลโฉม ‘Canoo’ รถกระบะไฟฟ้าที่น่ารักที่สุดในโลก แถมฟังก์ชันล้ำอีกเพียบ https://positioningmag.com/1323364 Sun, 14 Mar 2021 05:22:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323364 เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องมีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ภายใต้ฝากระโปรงหน้า ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้าจึงมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปทรงได้อย่างหลากหลาย อย่าง ‘Cybertruck’ ของ ‘Tesla’ และ ‘Rivian’ แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติอเมริกันที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘Amazon’ และล่าสุด ‘Canoo’ ที่ถูกนิยมว่ารถกระบะที่น่ารักสุดในโลก

ตอนนี้ Canoo สตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้าในแคลิฟอร์เนียได้เปิดเผยรถกระบะที่มีการออกแบบให้มีหน้าแบนเหมือนรถตู้ โดยรูปทรงของรถกระบะ Canoo นั้นคล้ายกับรถบรรทุกบางรุ่นในช่วงปี 1950 และ 60 เช่น รถกระบะ Corvair ของ General Motors รถบรรทุก Jeep Forward Control และรถกระบะ Volkswagen Type 2

ภาพจาก canoo.com

เพราะการออกแบบให้หน้าแบนเหมือนรถตู้ ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นสำหรับพื้นที่กระบะบรรทุกสินค้าโดยไม่ทำให้รถมีขนาดใหญ่เกินไป โดยรถกระบะ Canoo มีความยาว 184 นิ้วหรือยาวกว่า Toyota Corolla เพียงเล็กน้อย มันสั้นกว่า Tesla Cybertuck มาก แต่กระบะเก็บสัมภาระของ Canoo ด้านหลังสามารถยืดท้ายกระบะเพิ่มความยาวจาก 6 เป็น 8 ฟุต

ภาพจาก canoo.com

การที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ไม่มีเครื่องยนต์ยังช่วยให้มีพื้นที่ภายในรถบรรทุกมากขึ้น โดยด้านหน้าของรถสามารถเปิดออกเพื่อใช้เป็นโต๊ะทำงานได้ หากยังไม่พอทั้งสองด้านของกระบะก็ยังสามารถเปิดออกเพื่อใช้งานที่หลากหลายได้เช่นเดียวกับที่คนทั่วไปมักใช้ประตูท้ายรถกระบะไว้นั่ง รวมทั้งยังสามารถแบ่งโซนเพื่อแยกสิ่งของต่าง ๆ ออกจากกันได้

นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถซื้อแร็คหลังคาและ camper shells ที่เป็นอุปกรณ์เสริมได้ด้วย ทั้งนี้ รถกระบะ Canoo ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าที่ด้านหน้าและด้านหลัง มีกำลังสูงสุด 608 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 746 นิวตันเมตร สามารถขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 322 กม. และมีน้ำหนักบรรทุกอยู่ที่ 816 กก.

ภาพจาก canoo.com

บริษัท Canoo เป็นสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้าที่เปิดตัวสู่สาธารณะเมื่อปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 3.4 พันล้านดอลลาร์ ที่ผ่านมา Canoo ได้เปิดตัวรถตู้ 2 คัน โดยคันหนึ่งเป็นรถตู้สำหรับทำงานและรถตู้โดยสาร โดยบริษัทไม่ได้ประกาศราคาว่ารถกระบะมีราคาเท่าไหร่ แต่คาดว่าจะเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าในปี 2566

ภาพจาก canoo.com

Source

]]>
1323364
ส่อง 5 แบรนด์รถ EV ยอดขายสูงสุดในโลก ที่แสดงให้เห็นว่า ‘Tesla’ มีโอกาสถูกโค่นแชมป์ https://positioningmag.com/1318588 Tue, 09 Feb 2021 06:45:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318588 เปิดปี 2021 มาก็เจอแต่ข่าวเกี่ยว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือที่เราชอบเรียกกันว่า ‘รถ EV’ แต่รู้หรือไม่ว่าในปี 2020 รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายเท่าไหร่ ซึ่งจากข้อมูลของ EV Sales Blog พบว่าปี 2020 มีการขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 3,124,793 คัน โดยกว่า 68% เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ ‘Battery Electric Vehicle’ (BEV) หรือ ‘ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว’ ที่เหลือเป็นแบบ ‘ปลั๊กอินไฮบริด’ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)

โดย 5 อันดับแบรนด์รถยนต์ที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด (รวมทั้ง BEV และ PHEV) ได้แก่

Tesla ยอดขาย 499,535 คัน ส่วนแบ่งตลาด 16% *(Tesla มีเฉพาะรถ BEV)

Volkswagen Group ยอดขาย 421,591 คัน ส่วนแบ่งตลาด 13%

SAIC ยอดขาย 272,210 คัน ส่วนแบ่งตลาด 9%

Renault-Nissan-Mitsubishi Alliance ยอดขาย 226,975 คัน ส่วนแบ่งตลาด 7%

BMW Group ยอดขาย 195,979 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6%

Tesla Roadster 2020

เมื่อรวมยอดขายของแบรนด์ 5 อันดับแรกคิดเป็นสัดส่วน 51.7% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก และที่น่าสนใจคือ ‘Volkswagen Group’ แบรนด์ที่เคยอยู่อันดับ 6 ในปี 2019 แต่ภายในปีเดียวสามารถขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ของตลาดได้ แถมในในไตรมาสที่ 4 Volkswagen Group มียอดขายเป็นที่ 1 สามารถแซง Tesla ได้ โดยมียอดขาย 191,000 คัน ส่วน Tesla มี 183,000 คัน

คำถามคือปี 2021 Tesla จะสามารถรักษาแชมป์ได้หรือไม่ เพราะจากการเติบโตที่ก้าวกระโดดของ Volkswagen Group ที่หายใจรดต้นคอ Tesla ในปี 2020 ก็น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ความท้าทายที่ Tesla ต้องเผชิญได้แล้ว ขณะที่ Volkswagen ก็เริ่มรุกตลาดอย่างเต็มที่ โดยระบุว่ามีแผนจะลงทุน 35,000 ล้านยูโร (4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2025 พร้อมกับมีแผนจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าบริสุทธิ์ประมาณ 70 รุ่นภายในปี 2030 เพื่อแข่งขันกับ Tesla

จับตา ‘Volkswagen’ ในศึก ‘รถ EV’ เตรียมทุ่มเงิน 4.3 หมื่นล้านเหรียญงัดข้อกับ ‘Tesla’

ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายเริ่มเห็นโอกาสจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และพร้อมที่จะเข้ามาในสงครามนี้ ที่จะเห็นได้ชัดก็คือ ‘Apple’ ที่กำลังจะปิดดีลกับบริษัทรถยนต์ เช่น Hyundai หรือ KIA เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ Apple ออกแบบ นอกจากนี้ Peter Rawlinson อดีตหัวหน้าวิศวกรที่เคยคลุกคลีกับ Elon Musk กำลังสร้างรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในนาม Lucid Motors ที่การันตีว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าระยะไกลที่แล่นได้เร็วและไกลที่สุดในโลกมาแข่ง ดังนั้นคงต้องจับตาดูกันยาว ๆ ว่าอาณาจักรมูลค่า 8 แสนล้านดอลลาร์ของ Tesla จะมีไม้เด็ดอะไรมางัดกับคู่แข่งที่กำลังเกิดใหม่มาเรื่อย ๆ นี้

Peter Rawlinson อดีตลูกน้อง Elon Musk สร้างรถใหม่บนจุดขาย “ดีกว่า Tesla”

Source

]]>
1318588
ผลวิจัยชี้ ‘คนไทย’ สนใจใช้ ‘รถ EV’ สูงสุดในอาเซียน แต่ ‘ที่ชาร์จ’ ยังเป็นข้อกังวลหลัก https://positioningmag.com/1318112 Fri, 05 Feb 2021 07:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318112 ‘นิสสันอาเซียน’ ร่วมมือกับ ‘ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน’ (Frost & Sullivan) องค์กรที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และงานวิจัยทางธุรกิจได้เผยถึงผลสำรวจเทรนด์ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยประจำปี 2564 โดยระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยมีความต้องการ มีความสนใจ และตื่นตัวต่อระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว

43% สนใจเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าใน 3 ปี

ที่ผ่านมา ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนได้ทำงานวิจัยด้านระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ จากนั้นในเดือนกันยายน 2563 บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้ทำการศึกษาอีกครั้งจาก 6 ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ประกอบไปด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า 43% ของผู้ใช้รถยนต์ที่ไม่ใช่พลังงานไฟฟ้าจะเลือกพิจารณารถยนต์ไฟฟ้าอย่างแน่นอนหากจะต้องซื้อรถยนต์คันต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า และเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนร่วมตอบแบบสำรวจจะเลือกพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 33%

นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่เข้าใจเรื่องรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงวิธีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น 53% โดยวัดจากผู้ที่ร่วมตอบแบบสำรวจ นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีความกระตือรือร้นในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

สิ่งแวดล้อมแรงผลักดันใหญ่

จากการสำรวจพบว่า 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนได้แก่ 1.ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้รถยนต์สันดาป และ 3.ความปลอดภัยที่มากกว่า

และสำหรับประเทศไทยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องหลักที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดย 90% ของผู้ใช้รถตระหนักว่า ‘รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคอาเซียนที่อยู่ที่ 88%

โดยผู้ร่วมตอบแบบสำรวจคนไทยมากถึง 91% ระบุว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้ใช้รถในประเทศไทยระบุว่า แหล่งพลังงานหมุนเวียนจะช่วยส่งเสริมให้มีการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นทำให้พวกเขามีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม โดย 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 34% เมื่อเทียบกับงานวิจัยเดียวกันเมื่อปี 2561

อุปสรรคใหญ่ สถานีชาร์จ

ผู้บริโภคเริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยความกังวลเรื่องพลังไฟฟ้าจะหมดระหว่างทางก่อนไปถึงสถานีชาร์จลดเหลือ 53% จากปี 2561 อยู่ที่ 58% ส่วนปัญหาข้อสงสัยต่อเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าก็ลดลงเหลือ 40% จากปี 61 อยู่ที่ 48%

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคหลักสำคัญเพียงเรื่องเดียวที่ยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561 นั่นก็คือ ความกังวลต่อระบบแท่นชาร์จไฟฟ้าสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัด” โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 76% มองว่าสถานีชาร์จไฟฟ้าจำเป็นต้องมีมากขึ้นในเขตบริเวณที่พักอาศัย และ 47% มีความกังวลเกี่ยวกับระบบแท่นชาร์จไฟฟ้าตามแหล่งสาธารณะ กลับกัน ข้อกังวลนี้กลับลดลงในทุกประเทศที่มีการสำรวจ โดยเฉลี่ย 9%

ภาษีและสถานีชาร์จ 2 ปัจจัยกระตุ้น

จากงานวิจัยผู้บริโภคในอาเซียนพบว่า 66% ของผู้บริโภคในภูมิภาคเชื่อว่าพวกเขาไม่อาจหลีกเลี่ยงการหันมาใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งสิ่งนี้จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในอนาคตอันใกล้ โดยผลวิจัยในปี 2561 พบว่า 2 อันดับที่ช่วยจูงใจให้เปลี่ยนไปใช้รถฟ้าคือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี 77% การมีแท่นชาร์จติดตั้งตามอาคารที่พักอาศัย 75%

สำหรับประเทศไทย แรงจูงใจที่มาเป็นอันดับ 1 คือ สถานีแท่นชาร์จในเขตบริเวณที่พักอาศัย 76% ตามด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี 73% และช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 50%

เทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ อีกนวัตกรรมน่าสนใจ

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ กับระบบไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และระบบสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine Vehicle: ICE Vehicle) แล้ว ปัจจัยที่เป็นสิ่งดึงดูดสำหรับผู้ใช้รถในไทยมากที่สุด คือเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ ซึ่งให้สมรรถนะเฉกเช่นรถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องชาร์จไฟจากภายนอก และเมื่อลูกค้าได้เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ได้อย่างไร ผู้ตอบแบบสำรวจถึง 82% ระบุว่า ขุมพลังอี-พาวเวอร์นั้น “น่าสนใจมาก” และ “ค่อนข้างน่าสนใจ” เป็นรองแค่รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่เท่านั้น

]]>
1318112