ระบบชำระเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Mar 2022 07:47:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กว่าครึ่งของ Gen Z มองวิธีชำระเงินแบบ BNPL ในแง่ลบ วินัยการเงินลดลงจากการยืมเงินอนาคต https://positioningmag.com/1377561 Tue, 15 Mar 2022 07:03:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377561 การศึกษากระแส Buy Now Pay Later (BNPL) ในหมู่ผู้บริโภคอเมริกัน พบว่า 52% ของคน Gen Z มองวิธีชำระเงินแบบนี้ในแง่ลบ เพราะทำให้วินัยการเงินเสีย แต่ยังถือเป็นวัยที่เปิดรับมากที่สุดเทียบกับวัยอื่น ฟากเอเชีย กระแสการ “ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” ลุยตลาดได้ชัดเจนขึ้นเมื่อปี 2021 โดยมีคนรุ่นใหม่เป็นเป้าหมายหลัก และดูจะเปิดใจรับมากกว่า

ผลวิจัยจากบริษัท Student Beans บริษัทเทคด้านการตลาด ศึกษาการใช้วิธีชำระเงินแบบ Buy Now Pay Later (BNPL) ซึ่งกำลังเป็นกระแสฮิตในช่วงที่ผ่านมา พบว่าคน Gen Z ประมาณ 1 ใน 3 ชื่นชอบวิธีชำระเงินแบบนี้ แต่ก็มีมากกว่าครึ่งที่มองว่าเป็นวิธีชำระเงินที่ทำให้วินัยการเงินเสียไป

BNPL หมายถึงการจ่ายแบบ “ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” คล้ายกับการผ่อนผ่านบัตรเครดิต แต่ส่วนใหญ่แพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารและเข้ามาให้บริการ จะตัดวงรอบการผ่อนไม่เกิน 6 เดือน ดอกเบี้ย 0% และจับมือกับร้านค้าแบรนด์ระดับกลางๆ การชำระต่อบิลไม่สูงมาก ต่างจากการผ่อนกับบัตรเครดิตที่มักจะมีตัวเลือกให้ผ่อนเมื่อเป็นการซื้อของชิ้นใหญ่ราคาสูง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการมีค่าธรรมเนียมปรับหากชำระคืนไม่ตรงเวลา

แน่นอนว่าหลักการทางจิตวิทยาของบริการนี้จะคล้ายกับผ่อนผ่านบัตรเครดิตเช่นกัน เพราะทำให้การซื้อถูกแบ่งออกเป็นเงินก้อนเล็กๆ จากการซื้อน้ำหอมที่ต้องจ่ายครั้งเดียว 3,000 บาท กลายเป็นจ่ายเพียงเดือนละ 1,000 บาทติดต่อกัน 3 เดือน เป็นต้น

Contactless and cashless payment through qr code and mobile banking

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในวัยรุ่นอเมริกัน Gen Z ซึ่งพบว่า วัยรุ่น 34% มองว่า BNPL เป็นบริการที่ดีเยี่ยม แต่กลับกัน มีถึง 52% ที่ยังไม่แน่ใจ เพราะเห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้วินัยการเงินเสียไป

“แม้ว่าบริการซื้อก่อนผ่อนทีหลังจะล่อตาล่อใจ คุณก็ต้องมั่นใจว่าคุณมีทุนพอที่จะจ่ายเงินคืนจากที่ยืมล่วงหน้ามา” Student Beans ให้คำแนะนำ “ควรจะวางแผนจ่ายล่วงหน้าด้วยการทำตารางงบประมาณการเงินส่วนตัว ใช้เครื่องมือคำนวณให้ชัดเจนว่าการเงินต่อเดือนของคุณเป็นอย่างไร และอะไรที่เหมาะสมกับงบที่ตนเองมี”

 

ยิ่งสูงวัยกว่า ยิ่งกังวลกับ BNPL

แม้ตัวเลข 52% ของ Gen Z ดูเหมือนว่ามาก แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่สูงวัยกว่า เช่น กลุ่มพ่อแม่ของ Gen Z (มักจะเป็นคนวัย Gen X) มีถึง 60% ที่มองว่าการซื้อก่อนผ่อนทีหลังเป็นความเสี่ยง และจะทำให้คนวัยหนุ่มสาวซื้อของมากกว่าที่ตัวเองจะจ่ายไหว ยิ่งขึ้นไปถึงระดับปู่ย่าตายาย (มักจะเป็นคนวัยเบบี้บูม) มีถึง 67% ที่มองว่าการผ่อนแบบนี้เป็นความเสี่ยงทางการเงิน

วัยรุ่น Gen Z อเมริกัน นิยมซื้อเสื้อผ้าเพื่อใส่ถ่ายคอนเทนต์ลง Instagram/TikTok

อย่างไรก็ตาม มีคนทุกวัยที่เข้ามาใช้บริการแต่นำไปซื้อสินค้าต่างกัน Gen Z นิยมใช้เพื่อซื้อเสื้อผ้า ขณะที่ Gen X และเบบี้บูมจะใช้ซื้อสินค้าไอทีซึ่งมีราคาสูง

“โดยเฉลี่ยแล้ววัยรุ่นอเมริกันจะใช้เงินเดือนละประมาณ 103.16 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,400 บาท) ที่ดึงออกจากงบซื้ออาหาร มาซื้อเสื้อผ้าแทน จุดประสงค์เพื่อใส่ถ่ายรูปลง Instagram และ TikTok เท่านั้น” ผลการสำรวจระบุ

 

BNPL เริ่มบุกตลาดเอเชีย

สำหรับในเอเชีย เริ่มเห็นแอปฯ สำหรับชำระเงินแบบ BNPL บุกตลาดชัดเจนขึ้นเมื่อปี 2021 มีประเทศที่เป็นตลาดหลัก เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย

โดยเฉพาะในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Buy Now Pay Later เห็นโอกาสการบุกตลาดสูงมาก เนื่องจากประชากรจำนวนมากเข้าไม่ถึงเครดิตธนาคาร ทำให้ไม่มีบัตรเครดิต ขณะที่แพลตฟอร์มเหล่านี้สมัครง่ายกว่าบัตรเครดิตธนาคารมาก

ปัจจุบันผู้เล่นหลักที่เห็นการบุกชัดเจน เช่น Razer, Grab, Shopee กลุ่มนี้เป็นการเพิ่มฟังก์ชันใหม่ภายในแอปฯ หลักของตนเอง และมีกลุ่มที่เป็นแอปฯ ซื้อก่อนผ่อนทีหลังโดยเฉพาะ เช่น Atome, Pine Labs, Pace, EmpatKali เป็นต้น

BNPLสิ่งที่เหมือนกับกับฝั่งตะวันตกคือผู้ใช้เป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นที่ถนัดการใช้เทคโนโลยี ข้อมูลจาก Pace ซึ่งให้บริการในสิงคโปร์, มาเลเซีย และฮ่องกง ระบุว่า ผู้ใช้แอปฯ ของบริษัท 72% เป็นคน Gen Y และ Gen Z

Pace ยังบอกด้วยว่า ถ้าเจาะลึกเฉพาะคน Gen Z มีถึง 55% ที่เป็น “แฟนตัวยง” ของการชำระเงินด้วย BNPL โดยคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ไม่มีบัตรเครดิต และเชื่อว่าการใช้ BNPL คือการบริหารกระแสเงินสด รวมถึงมองบวกว่าบริการแบบนี้จะไม่ทำให้พวกเขาเป็นหนี้ เพราะเป็นการจ่ายเงินก้อนเล็กๆ เท่านั้น เห็นได้ว่าโอกาสฝั่งเอเชียดูจะมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ เพราะมุมมองผู้ใช้เปิดกว้างกว่า

สอดคล้องกับข้อมูลจาก Atome ที่บุกตลาดไทยเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน พบว่ามีคนไทยเพียง 7-8 ล้านคนที่ถือบัตรเครดิต และเป้าหมายหลักคือกลุ่มคนวัย 18-30 ปี เป็นคนทำงานอิสระจำนวนมาก ทำให้เข้าไม่ถึงบัตรเครดิตอยู่แล้ว จึงมีโอกาสสูงที่จะเจาะตลาด

ต้องติดตามต่อว่าการทำตลาดในเอเชียจะเติบโตได้มากแค่ไหนจากนี้ และจะมีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้าไทยอีกหรือไม่

Source: foxbusiness, 2c2p, CNAluxury

]]>
1377561
ยูนิโคล่ เปิดตัว ‘Uniqlo Pay’ ระบบชำระเงินของตัวเอง เก็บข้อมูลลูกค้า นำมาช่วยวางเเผนการขาย https://positioningmag.com/1315026 Tue, 19 Jan 2021 14:27:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315026 เเบรนด์เสื้อผ้ายอดนิยมอย่าง Uniqlo (ยูนิโคล่เปิดตัวระบบการชำระเงินของตัวเอง ที่มีชื่อว่า ‘Uniqlo Pay’ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า พร้อมติดตามประวัติการซื้อ เพื่อนำข้อมูลมาวางเเผนในการผลิตเเละการขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Fast Retailing บริษัทเเม่ของ Uniqlo ได้ร่วมพัฒนาระบบการชำระเงินนี้กับ Sumitomo Mitsui Banking Corp. เป็นการเชื่อมบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตเข้ากับแอปพลิเคชัน เบื้องต้นตอนนี้มี 3 ธนาคารในญี่ปุ่นที่รองรับ ได้แก่ SMBC, Mitsubishi UFJ Financial Group และ Resona Holdings ซึ่งจะมีการขยายต่อไปในอนาคต โดยให้ลูกค้าสามารถสแกนและชำระเงินได้ง่ายๆ ผ่าน QR Code

Uniqlo จะเริ่มนำร่องใช้  ‘Uniqlo Pay’ ได้เกือบทุกสาขาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอยู่ราว 800 เเห่ง รวมไปถึงการซื้อผ่านออนไลน์ เเละสามารถใช้กับเเบรนด์ในเครือ Fast Retailing อย่าง  GU ได้ 

ในปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีแอปพลิเคชันชำระเงินในสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดคือ ‘PayPay’ ที่ได้รับการสนับสนุนโดยยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank Group มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนมากกว่า 35 ล้านคน ขณะที่แอปพลิเคชันของ Uniqlo ก็มียอดดาวน์โหลดถึง 30 ล้านครั้ง ดังนั้น Fast Retailing จึงกลายเป็นเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่มีฟังก์ชันการชำระเงินของตัวเอง

หลักๆ Uniqlo ต้องการเพิ่มการใช้งานของแอปพลิเคชันที่มีฐานผู้ใช้จำนวนมาก ให้สามารถรวบรวมข้อมูลของลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งมองว่าการเพิ่มฟังก์ชันการชำระเงินเข้าไป จะช่วยลดเวลาในการรอคิวจ่ายเงินได้ด้วย

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1315026
เส้นทางคอลลาเจน 3,000 ล้าน จากไทอิน สู่ Amado Shopping เขย่าวงการโฮมช้อปปิ้ง https://positioningmag.com/1314803 Tue, 19 Jan 2021 01:54:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314803 ขายเองไม่พอ “อมาโด้” ลุยโมเดลธุรกิจใหม่ เปิด Amado Shopping รุกตลาดโฮมช้อปปิ้งเต็มตัว เปิดรับพาร์ตเนอร์ขายสินค้าแบรนด์อื่น โดยคิด GP 25% ใช้วิธีซื้อแอร์ไทม์รายการในจำนวนเยอะ ตั้งเป้าสู่คอลลาเจน 3,000 ล้านในสิ้นปี 2564 และเข้าตลาด MAI ในไตรมาส 3

เส้นทางคอลลาเจนพันล้าน

หลายคนคงคุ้นเคยกับ “อมาโด้” แบรนด์คอลลาเจนของนักธุรกิจหนุ่ม “เชน ธนา” หรือ ธนาตรัยฉัตร ที่ปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ตามรายการทีวีหลายๆ ช่อง เพราะมีการไทอินขายสินค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมโปรโมชันที่ดึงดูดนักช้อปตลอด

อมาโด้เริ่มก่อตั้งในปี 2557 ทำให้ตอนนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแบรนด์คอลลาเจนพันล้านภายใน 6 ปี ในปี 2563 ได้ปิดรายได้ที่ 2,298 ล้านบาท มีการเติบโตสู่งถึง 231.14% ซึ่งธนาตรัยฉัตรได้บอกว่ามีการปรับเป้ารายได้ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 จาก 1,200 ล้านบาท เป็น 1,800 ล้านบาท จนปิดรายได้ที่สองพันกว่าล้านบาท

แรกเริ่มอมาโด้ได้มีช่องทางจัดจำหน่ายผ่านคีออสก์ จนเมื่อปี 2562 ได้มีดีลเลอร์ตัวแทนจัดจำหน่ายแต่ละจังหวัด โดยดีลเลอร์ของอมาโด้จะไม่มีลูกทีมที่ตัดราคากัน

จุดเปลี่ยนสำคัญของอมาโด้อยู่ที่เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ได้เริ่มขยายช่องทางจัดจำหน่ายเข้าสู่รายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการไทอิน หรือมีสปอตโฆษณา ซึ่งการที่เข้าจำหน่ายทางทีวีนี่เอง ทำให้กำเนิดช่องทาง “เทเลเซลส์” อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งตอนแรกที่ขายในทีวี อมาโด้ได้จ้างเอเยนซี่ที่เป็นคอลเซ็นเตอร์ในการรับออเดอร์ต่างๆ แต่ก็พบว่ามีการคิดส่วนแบ่งค่อนข้างแพง จนได้จัดทีมเทเลเซลส์เป็นของตัวเองเพื่อรองรับออเดอร์ทางทีวีโดยเฉพาะ

ทำให้ปัจจุบันอมาโด้มี 5 ช่องทางจัดจำหน่าย ได้แก่ ดีลเลอร์ 49% ออนไลน์ 17% เทเลเซลส์ 29% คีออสก์ 3% และโมเดิร์นเทรด 2%

จนทำให้อมาโด้ค้นพบว่า ตลาดทีวีช้อปปิ้ง หรือโฮมช้อปปิ้งมีโอกาสมหาศาล มีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านบาท โดยที่อมาโด้มียอดขายจากรายการทีวี หรือเทเลเซลส์ 900 ล้านบาท หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 6%

ไทอินผ่านรายการนับพันครั้ง

การขายผ่านทีวีของอมาโด้จะมี 2 รูปแบบด้วยกัน 1. Talk หรือเป็นการนำสินค้าไปไทอินในรายการ ธนาตรัยฉัตรเข้าไปพูดคุยในรายการ แล้วแจ้งโปรโมชันการขาย จะให้ลูกค้าโทรเข้ามา จะมีทีมเทเลเซลส์คอยรับออเดอร์ และ 2. Spot เป็นโฆษณาทางทีวี แต่รวมๆ แล้วอมาโด้จะเรียกรวมกันว่า “แอร์ไทม์”

ในปี 2563 อมาโด้มีแอร์ไทม์ในทีวีแบ่งเป็นทอล์กออนแอร์ 1,170 ครั้ง และสปอตโฆษณา 202 ครั้ง จะเลือกใช้เป็นเทศกาล หลายคนบอกว่าเห็นอมาโด้บ่อย แต่ธนาตรัยฉัตรบอกว่านี่เป็นตัวเลขการออนไลน์ที่คิดเป็น 1 ใน 4 ของบางแบรนด์เท่านั้น

โดยกระจายผ่าน 8 ช่องในทีวีดิจิทัล แบ่งสัดส่วนเป็นไทยรัฐทีวี 32% ONE31 23% อมรินทร์ทีวี 16% MONO29 11% ช่อง 3 8% ช่อง 9 4% เวิร์คพอยท์ 3% และเนชั่นทีวี 2%

โดยที่มี 10 รายการ ที่เป็น Top 10 ROI ของอมาโด้ ได้แก่ ตะลอนข่าว จากไทยรัฐทีวี เกลือวันเด้อ จากช่องวัน ข่าวเช้าช่องวัน จากช่องวัน เป็นต้น

ธนาตรัยฉัตรได้เผยข้อมูลว่า 2 รายการที่สร้างยอดขาย New High มากที่สุดได้แก่ รายการ “เกลือวันเด้อ” จากช่องวัน มีการโทรเข้ามา 1,898 สาย ภายใน 8 นาที และรายการ “ตะลอนข่าว” จากช่องไทยรัฐทีวี มีการโทรเข้า 1,657 สาย ภายใน 7.30 นาที

ในการไทอินในรายการแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30-3 นาที แต่เคยมีช่วงเวลาที่นานสุด 9-10 นาทีก็มี ในปีนี้อมาโด้ตั้งเป้ามีแอร์ไทม์ในการทอล์กในรายการทีวี 3,037 ครั้ง และสปอตโฆษณา 723 ครั้ง

เปิดโมเดลใหม่ Amado Shopping

หลังจากที่เริ่มเข้าสู่การขายผ่านทีวี หรือเป็นธุรกิจทีวีช้อปปิ้งแล้ว ในช่วง 1-3 เดือนแรกอมาโด้ยังใช้บริการเอเยนซี่ในการช่วยรับโทรศัพท์ รับออเดอร์ มีการแบ่ง GP กัน แล้วจึงตั้งทีมเทเลเซลส์ขึ้นมา

เมื่อการขายสินค้าแบรนด์ของตัวเองไปได้ด้วยดีแล้ว อมาโด้จึงแตกไลน์ธุรกิจใหม่ Amado Shopping ในการเข้ามาเขย่าตลาดวงการทีวีช้อปปิ้งเต็มตัว

โมเดลของ Amado Shopping ไม่ได้เปิดช่องใหม่ หรือทำรายการของตัวเองแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้แอร์ไทม์การไทอินสินค้าเหมือนเดิม เพียงแต่มีการซื้อช่วงเวลามากขึ้นจากรายการที่ ROI สูงๆ โดยจะเปิดรับพาร์ตเนอร์เป็นสินค้าแบรนด์อื่น ไม่จำกัดว่าเป็นกลุ่มไหน มาให้อมาโด้ช่วยขายผ่านรายการ นั่นคือการเปลี่ยนจากการขายคอลลาเจน มาเป็นขายสินค้าอื่นแทนนั่นเอง ทำให้มีรายได้มากขึ้น

ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด เล่าว่า

Amado Shopping นับเป็นการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ หรือ New Business Model บุกตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้ง จะเป็นโฮสในการทำเทเลมาร์เก็ตติ้งให้แบรนด์สินค้าอื่นๆ หรือถ้าแบรนด์ไหนอยากให้ผมลงไปช่วยขายด้วยก็ได้ ก็ตกลงราคากัน เป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจใหม่ ทั้งยังสามารถเก็บรวบรวมสะสมข้อมูลลูกค้าเป็น Big Data ที่เป็นขุมทรัพย์สำคัญของธุรกิจ

คิด GP 25% มีทีมเทเลเซลส์

ธนาตรัยเสริมว่า จุดแข็งของ Amado Shopping คือ การคิดค่า GP 25% จากปกติรายการโฮมช้อปปิ้ง หรือเอเยนซี่จะคิดค่า GP เฉลี่ย 40-65% สามารถเอาสินค้ามาให้ทางอมาโด้จัดการได้ ไม่จำกัดว่าเป็นสินค้ากลุ่มไหน แค่เป็นสินค้าถูกกฎหมาย มีการจดทะเบียนถูกต้องเท่านั้น พร้อมกับปัจจัยอื่นๆ

  • มีทีมเทเลเซลส์รับสายพร้อมปิดการขาย 200 คน
  • มีบริการส่งสินค้าภายใต้การบริการของอมาโด้เอง สามารถส่งของได้ภายใน 48 ชั่วโมงทั่วประเทศ
  • มีคลังสินค้าจัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ 3 ไร่ครึ่ง และคาดการณ์จะขยายเป็น 6 ไร่ในอนาคต

ในปีนี้อมาโด้ตั้งเป้ามีรายได้จาก Amado Shopping ถึง 1,000 ล้านบาท และก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้งในประเทศภายใน 3 ปี หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท

มุ่งสู่คอลลาเจน 3,000 ล้าน

ในปี 2563 อมาโด้มีรายได้รวม 2,298 ล้านบาท เติบโต 231.14% มีส่วนแบ่งการตลาด 10% ในตลาดอาหารเสริมที่มีมูลค่า 22,621 ล้านบาท ตลาดเติบโต 8.5% หรืออยู่อันดับที่ 5 มีการตั้งเป้าขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดภายใน 3 ปี

ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 3,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

แบ่งสัดส่วนรายได้ของสินค้าออกเป็น Colligi 71% Cerigi 11% H 9% อื่นๆ 8% และสินค้าใหม่ที่จะออกในปีนี้โปรไบโอติกอีก 16%

]]>
1314803