รายได้ต่ำ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 17 Apr 2022 01:09:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ครัวเรือนไทย กลุ่ม ‘รายได้ต่ำ’ เสี่ยงเจอพิษ ‘เงินเฟ้อ’ เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า https://positioningmag.com/1381616 Fri, 15 Apr 2022 10:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381616 ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ดันเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี กระทบต้นทุนธุรกิจ ครัวเรือนรายได้ต่ำเจอหนักเร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่าจากปีก่อน สวนทางกับกลุ่มรายได้สูง 

อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สร้างความกังวลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.73% YOY เพิ่มขึ้นจาก 5.28% เดือนกุมภาพันธ์

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงสาเหตุสำคัญว่ามาจาก ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับสูงขึ้นมาก (+31.4% YOY)

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ 2.0% จาก 1.80% ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% และ 1.43% ตามลำดับ

ประชาชนเเบกค่าใช้จ่าย ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และอยู่เหนือกรอบของเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงาน แม้ว่าราคาไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกชนิดสินค้า แต่กลับสร้างความกังวลให้แก่สังคมเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อ

ทำให้ยอดค้นหาของคำว่า ‘เงินเฟ้อ’ ใน Google แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคมร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 42.0 จาก 43.3 เดือนกุมภาพันธ์

Photo : Shutterstock

กลุ่มรายได้ต่ำ เงินเฟ้อเร่งตัว 6 เท่า

วิจัยกรุงศรี คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% จากแรงหนุนของราคาอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและราคายานพาหนะ อีกทั้งราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยยืนอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย และอาจใช้เวลาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีกว่าที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
 
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า จากตะกร้าการบริโภคสินค้าที่มีความแตกต่างกัน กลุ่มคนรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและการขนส่ง รวมกันราวสองเท่าของกลุ่มคนรายได้สูง จึงมีโอกาสเผชิญเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับกลุ่มคนรายได้สูงที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปี 2564

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลากยาว กระทบเศรษฐกิจโลก 

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมมีสัญญาณฟื้น แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันการเติบโตในระยะข้างหน้า

ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ 89.2 จาก 86.7 ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงต้นปีจะมีสัญญาณเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในระยะถัดไปปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่มีความเสี่ยงอาจลากยาวมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจโลกและการค้าชะลอลง ส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ขณะที่ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจะส่งผลต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานของโลก หากสถานการณ์การล็อกดาวน์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อและเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการประเมินว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้ input จากจีนคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมด (gross value added) สูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากเวียดนาม และฮ่องกง

 

 

]]>
1381616
โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้ https://positioningmag.com/1377981 Thu, 17 Mar 2022 08:25:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377981 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด

การระบาดใหญ่นำไปสู่การว่างงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่เลวร้ายลง และความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง เเรงงานที่อายุน้อยและผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masatsugu Asakawa ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าว

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องต่อสู้กับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเปราะบางเเละหลายครัวเรือน กำลังเผชิญการสูญเสียรายได้เเละต้องเเบกรับหนี้สินจำนวนมาก

โดยประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม 6.55 ล้านคน , อินโดนีเซีย 5.91 ล้านคน และมาเลเซีย 3.87 ล้านคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานไร้ทักษะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบรายย่อยตลอดจนธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ดิจิทัล

ผลกระทบของการระบาดใหญ่ส่งผลต่อความยากจนและการว่างงาน ทำให้การเข้าถึงโอกาสของคนยากจนยิ่งแย่ลงไปอีก” ADB ระบุ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนเเรงจะส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่น

ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากในการเติบโต อย่างเช่น ประเทศไทย โดยคาดว่าจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวขึ้น เมื่อมีการเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมจะเพิ่มขึ้น 58% ในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปี 2019 ถึง 64%

ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการขนส่ง ที่พัก นันทนาการและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ยังคงอ่อนแอ เพราะการเดินทางยังคงถูกจำกัดและมีการบังคับเว้นระยะห่างทางสังคม

โดย ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : CNBC , ADB 

]]>
1377981