ร่ำรวย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Jul 2021 01:33:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 เมืองที่แพงที่สุดสำหรับ “ชีวิตคนรวย” ปี 2021 “เซี่ยงไฮ้” ขึ้นครองแชมป์ https://positioningmag.com/1342413 Wed, 14 Jul 2021 14:16:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342413 Julius Baer จัดทำรายงาน “เมือง” ที่แพงที่สุดในโลกสำหรับการใช้ “ชีวิตคนรวย” โดยวัดจากราคาไลฟ์สไตล์หลายด้าน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงชุดสูท หลังผ่านปีแห่งโรคระบาดและอัตราเงินเฟ้อ “เซี่ยงไฮ้” ก้าวขึ้นมาครองแชมป์แทนที่ฮ่องกง ส่วนกรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 11 จากทั้งหมด 25 เมือง

ปี 2021 เป็นปีที่สองที่ Julius Baer จัดทำรายงาน Global Wealth and Lifestyle Report 2021 โดยปีนี้รายงานถูกจัดทำหลังผ่านปีแห่งโรคระบาด COVID-19 มีการเก็บสถิติสองรอบ คือ รอบวันที่ 13-19 กรกฎาคม 2020 และ รอบวันที่ 16-22 พฤศจิกายน 2020

ภาพรวมของปีนี้เห็นได้ว่าเม็ดเงินที่จะต้องใช้เพื่อดำรง “ชีวิตคนรวย” ที่สะดวกสบายดังเดิมนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของค่าเงิน การปรับเพิ่มข้อกำหนดและกำแพงภาษีของหลายประเทศ

ปีนี้มีการสำรวจทั้งหมด 25 เมืองทั่วโลก (ลดลงจากปีก่อนที่มี 28 เมือง) 10 อันดับแรก เมืองที่แพงที่สุดสำหรับ “ชีวิตคนรวย” ปี 2021 มีดังนี้

อันดับ 1 – เซี่ยงไฮ้
อันดับ 2 – โตเกียว
อันดับ 3 – ฮ่องกง
อันดับ 4 – โมนาโก
อันดับ 5 – ไทเป
อันดับ 6 – ซูริค
อันดับ 7 – ปารีส
อันดับ 8 – ลอนดอน
อันดับ 9 – สิงคโปร์
อันดับ 10 – นิวยอร์ก

แชมป์เก่าอย่าง “ฮ่องกง” นั้นอันดับลดลงไปอยู่อันดับ 3 และมี “เซี่ยงไฮ้” ขยับขึ้นมาแทนที่บัลลังก์แชมป์ชีวิตหรูหราที่แพงที่สุด ส่วนเมืองที่หลุดออกจาก Top 10 ไปในปีนี้คือ “ลอสแอนเจลิส”

ฮ่องกงนั้นมีปัจจัยที่ทำให้ราคาไลฟ์สไตล์คนรวยลดลงคือ “ค่าห้องพักสวีทในโรงแรม” ซึ่งปรับลดจากโรคระบาดที่ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก

เซี่ยงไฮ้
เซี่ยงไฮ้ เมืองที่แพงที่สุดสำหรับไลฟ์สไตล์คนรวย ปี 2021

ขณะที่เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองสุดแพงของคนรวย ค่าเฉลี่ยเม็ดเงินที่ต้องใช้เพื่อคงไลฟ์สไตล์เดิมเพิ่มขึ้น 5% ในรอบปี ปัจจัยที่ปรับขึ้นสูงมาก เช่น เที่ยวบินธุรกิจ ราคาตั๋วขึ้น 82% มื้ออาหารเย็นรสเลิศ ปรับขึ้น 12% รวมไปถึงที่อยู่อาศัยที่มีดีมานด์สูงมากจนรัฐบาลจีนต้องจัดระบบ ‘social scoring’ และลอตเตอรี่สุ่มผู้ซื้อ เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดลง

การสำรวจของ Julius Baer ครอบคลุมราคาสินค้าและบริการทั้งหมด 18 อย่าง ได้แก่ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เครื่องประดับ กระเป๋าถือผู้หญิง รองเท้าสตรี ชุดสูทผู้ชาย ที่อยู่อาศัย แพ็กเกจเทคโนโลยี ลู่วิ่งสายพาน นาฬิกาข้อมือ วิสกี้ ไวน์ ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ มื้ออาหารค่ำเลิศรส ประกันสุขภาพ ห้องพักสวีทในโรงแรม การทำเลสิก และค่าจ้างทนายความ

3 เมืองที่ “แพง” ที่สุดของไลฟ์สไตล์ “ชีวิตคนรวย” แต่ละภูมิภาค : เซี่ยงไฮ้ อันดับ 1 ของเอเชียแปซิฟิก, นิวยอร์ก อันดับ 1 ของทวีปอเมริกา และ โมนาโก อันดับ 1 ของ EMEA

สำหรับกรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 11 เท่ากับปีก่อน ราคาสินค้าที่จัดว่า “แพง” ของกรุงเทพฯ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นในโลกคือกลุ่มเสื้อผ้า โดยเฉพาะ “ชุดสูทผู้ชาย” ที่ราคาแพงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 20% ด้านบริการนั้น “ประกันสุขภาพ” ของกรุงเทพฯ จัดว่าแพงอันดับ 1 ของโลกร่วมกับเซี่ยงไฮ้

แต่สินค้าที่ “ถูกกว่า” ของกรุงเทพฯ คือ เครื่องประดับ กระเป๋าถือสตรี นาฬิกาข้อมือ เมื่อรวมกับ ค่าตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจและค่าห้องพักสวีทที่ถูกกว่าเช่นกัน ทำให้กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่น่าสนใจในการมา “ช้อปปิ้ง” ของชาวต่างชาติ หากประเทศไทยสามารถเปิดการท่องเที่ยวได้

กรุงเทพ สีลม สาทร ภาพมุมสูง
ราคาที่อยู่อาศัยไฮเอนด์ของกรุงเทพฯ ยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยโลกครึ่งหนึ่ง ทำให้เศรษฐีสนใจซื้อ

นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังมีราคาที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยโลกเกือบครึ่งหนึ่ง แถมปีนี้ยังเป็นปีของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ทำให้เศรษฐีที่ยังมีกำลังซื้อช้อนชื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองกันจำนวนมาก

แล้วถ้าคุณเป็นเศรษฐีที่อยากใช้เม็ดเงินให้คุ้มค่า ควรจะไปอยู่ที่ไหน? 5 อันดับที่ไลฟ์สไตล์คนรวยถูกที่สุด ได้แก่ อันดับ 21 – เซาเปาโล อันดับ 22 – มุมไบ อันดับ 23 – เม็กซิโก ซิตี้ อันดับ 24 – แวนคูเวอร์ และอันดับ 25 – โจฮันเนสเบิร์ก

Source – Global Wealth and Lifestyle Report 2021

อ่านข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

]]>
1342413
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828