ร้านค้าปลีก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 31 Aug 2020 08:08:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CBRE พบสัญญาณ “ค้าปลีก” หลัง COVID-19 ทบทวน “ลดสาขา” เกือบทุกกลุ่มธุรกิจ https://positioningmag.com/1294684 Mon, 31 Aug 2020 07:46:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294684
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำสุดในเดือนเมษายน 2563 ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 50.1 ในเดือนกรกฎาคม 2563
  • ช่วงล็อกดาวน์ศูนย์การค้า ทำให้เจ้าของร้านค้าปลีกคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มออนไลน์ และจะย้ายไปรุกตลาดออนไลน์มากขึ้นหลังวิกฤต รวมถึงวิกฤตครั้งนี้ยังทำให้ร้านค้าปลีกต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
  • ส่งผลให้ร้านค้าปลีกทบทวนการลดสาขาหรือลดขนาดพื้นที่เช่าศูนย์การค้าลงเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นกลุ่มค้าปลีกเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาซึ่งมีสัดส่วนผู้ที่ต้องการเพิ่มสาขาสูงกว่าการลดสาขา
  • ซีบีอาร์อี ประเทศไทย (CBRE) อ้างอิงข้อมูลของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสู่จุดต่ำสุดในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งลดลงมาเหลือ 47.2 เท่านั้น เป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 หลังจากนั้นทยอยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขึ้นมาสู่ระดับ 50.1 ในเดือนกรกฎาคม 2563

    CBRE ยังคาดการณ์ว่า การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (Same-store-sales Growth : SSSG) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้น่าจะติดลบทั้งธุรกิจค้าปลีกอาหารและธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ศูนย์การค้า

    หลังจากผ่อนคลายล็อกดาวน์ในช่วงเดือนมิถุนายน ห้างค้าปลีกพยายามกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคหลายแนวทาง เช่น จัดกิจกรรมโปรโมชันยาวนานและบ่อยครั้งขึ้น ห้างค้าปลีกบางแห่งยังยอมปรับเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้นด้วยสำหรับผู้เช่าเดิม เพื่อช่วยเหลือให้ผู้เช่าฟื้นฟูธุรกิจได้เร็วขึ้น

    อย่างไรก็ตาม CBRE ได้สำรวจตลาดพื้นที่ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤษภาคมในหัวข้อ “COVID-19 จะส่งผลต่อร้านค้าของคุณอย่างไรในช่วงที่เหลือของปีนี้” พบว่า จากมาตรการล็อกดาวน์ดังกล่าว ทำให้ช่วงที่ผ่านมาเจ้าของร้านค้าปลีกต่างหันไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการทำธุรกิจจนมีความคุ้นเคย และมีแนวโน้มจะใช้ช่องทางออนไลน์ต่อเนื่องหลังผ่านพ้นวิกฤต โดยแยกแนวโน้มการปรับตัวทางธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่มคือ

    1) กลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างยอดขายออนไลน์ให้เติบโต ได้แก่ ธุรกิจสินค้าราคาแพง, ธุรกิจเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา, ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์ และธุรกิจแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 40-80% จะใช้กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายออนไลน์เป็นหลักในการทำธุรกิจครึ่งปีหลัง

    2) กลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการรวมสาขา ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจค้าปลีกอื่นที่เน้นสร้างประสบการณ์ และธุรกิจสุขภาพและความงาม สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 30-60% จะใช้กลยุทธ์หลักคือการลดสาขา

    ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเฉพาะคำตอบเรื่องการลดสาขาหรือเพิ่มสาขาในช่วงครึ่งปีหลัง พบว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีผู้ตอบว่าจะลดสาขามากกว่าเพิ่มสาขา ยกเว้นธุรกิจเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาซึ่งจะเพิ่มสาขามากกว่าการลดสาขา

    “เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ การปรับลดขนาดพื้นที่เช่าเดิมจะกลายเป็นแนวทางที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้เช่าจะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง ห้างสรรพสินค้าจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการจัดวางผังร้านค้า และจัดส่วนผสมของผู้เช่าแต่ละประเภท (Tenant Mix) ให้ละเอียดและรอบคอบมากขึ้น” จริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็น

    จริยายังกล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จะเร่งให้ค้าปลีกออนไลน์เติบโต และค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องปรับตัว

    ผู้พัฒนาโครงการห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่จะต้องทบทวนแนวคิดการทำโครงการเพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค และมองว่าธุรกิจค้าปลีกไทยยังต้องใช้เวลาก่อนฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ยกเว้นว่าจะมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้เท่ากับช่วงก่อนเกิดการระบาด โดยเฉพาะศูนย์การค้าใจกลางกรุงเทพฯ ที่พึ่งพิงกำลังซื้อต่างชาติสูง

    ]]>
    1294684
    รุกค้าปลีกออฟไลน์ เปิดตัว Amazon Go Grocery ซูเปอร์มาร์เก็ต “ไร้แคชเชียร์” เต็มรูปแบบ https://positioningmag.com/1266418 Sun, 01 Mar 2020 07:55:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266418 ยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon เปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไม่มีพนักงานเก็บเงิน หรือเเคชเชียร์ เเห่งเเรกที่นครซีเเอตเทิลในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังจะเข้ามาเขย่าธุรกิจร้านค้าปลีกในประเทศ ที่มีมูลค่ากว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไร้เเคชเชียร์นี้มีชื่อว่า Amazon Go Grocery โดยลูกค้าสามารถเข้าไปหยิบสินค้าเเล้วเดินออกไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเช็กเอาต์หรือเปิดกระเป๋า ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือรูดบัตรเครดิต ซึ่งผู้ซื้อจะต้องสเเกนผ่านเเอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนก่อนเพื่อเข้าไปในร้าน จากนั้นกล้องเเละเซ็นเซอร์จะตรวจจับว่าลูกค้าหยิบสินค้าใดออกไปจากชั้นวางสินค้าบ้าง ก่อนที่จะสั่งเก็บเงินทางบัญชีของ Amazon ทางออนไลน์

    Amazon Go Grocery เป็นการขยายมาจากร้าน Amazon Go ที่เป็นโครงการทดลองของ Amazon ตั้งแต่ 2 ปีก่อน โดยร้านใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10,400 ตารางฟุต มีขนาดใหญ่กว่าร้านเดิมถึง 5 เท่าเเละมีสินค้าให้เลือกมากกว่า โดยวางเเผนจะเปิดสาขาแห่งที่สองที่นครลอสแอนเจลิสในช่วงปลายปีนี้

    การที่ Amazon ลงสนามมาเเข่งในธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะถือเป็นการรุกธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตแบบเต็มตัว หลังจากที่ลงทุนซื้อกิจการของร้าน Whole Foods ที่มีสาขา 500 แห่งมาตั้งแต่ปี 2017

    อย่างไรก็ตาม Amazon ยังตามหลังคู่แข่งสำคัญที่เป็นเจ้าเเห่งวงการซูเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิมอย่างห้าง Walmart ที่มีสาขากว่า 4,700 แห่ง ซึ่งก็กำลังพัฒนาให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน

    อ่านเพิ่มเติม: เอาคืน! “ยอดขายออนไลน์” ของห้าง Walmart และ Target โตเร็วกว่า Amazon แล้ว

    นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายผู้ค้าปลีกเเละสตาร์ทอัพใหม่ๆ ที่กำลังทดสอบระบบไร้แคชเชียร์เช่นเดียวกัน อย่างเช่น 7-Eleven ที่กำลังทดสอบระบบนี้ที่ร้านสาขาในรัฐเท็กซัส

     

    ที่มา : No Checkout Needed: Amazon Opens Cashier-less Grocery Store

    ]]>
    1266418