ร้านค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Jun 2021 14:37:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Grab เดินเกมรุก ‘ไฟเเนนซ์’ ให้สินเชื่อร้านค้า-ไรเดอร์ ผ่อน 0% ขยายจับ ‘บุคคลทั่วไป’ ในอนาคต https://positioningmag.com/1337959 Mon, 21 Jun 2021 11:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337959 เป็นที่ทราบกันดีว่า แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Grab’ (เเกร็บ) วางโพสิชันตัวเองไว้เป็น ‘Super App’ รวมบริการหลายอย่างไว้ในที่เดียว หนึ่งในนั้นก็คือบริการทางการเงินเเละในปีนี้ก็ได้เห็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้านสินเชื่อเด่นชัดขึ้น พร้อมเตรียมขยายจับ ‘บุคคลทั่วไปในอนาคต

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย เล่าว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารเเละพาร์ตเนอร์คนขับอย่างมาก เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง ขาดเงินทุนพยุงธุรกิจ เหล่านี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัวของยอดสินเชื่อใหม่

Grab มีไรเดอร์ (คนขับ) ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และพาร์ตเนอร์ร้านค้า รวมกว่า 4 แสนราย ในจำนวนนี้ใช้บริการสินเชื่อ แกร็บไฟแนนซ์ รวมกัน 1 เเสนราย ประมาณ 80% เป็นพาร์ตเนอร์คนขับ ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และอีก 20% เป็นพาร์ตเนอร์ร้านค้า

โดยสินเชื่อที่ Grab นำเสนอให้พาร์ตเนอร์คนขับและร้านค้า เป็นสินเชื่อเงินสดระยะสั้นระยะเวลาผ่อนชำระ 3-6 เดือน มีวงเงินสูงสุด 1 เเสนบาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสูงสุด 33% ต่อปี ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขการกู้ของพาร์ตเนอร์ร้านค้า

ปัจจุบัน Grab ให้บริการสินเชื่อใน 2 รูปแบบ ได้เเก่

  • สินเชื่อเงินสดสำหรับร้านค้า

ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 7 หมื่น – 1 เเสนบาท พิจารณาวงเงินผ่าน Credit Scoring จากข้อมูลใน Grab เริ่มเปิดให้บริการในเดือนม.. 64 โดยร้านค้าสามารถเลือกว่าจะผ่อนเป็นรายวัน หรือจะผ่อนเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีหลายร้านเลือกผ่อนรายวันเพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก พอหมุนได้ในหลักร้อย

“เรากำลังเตรียมนำเสนอบริการผ่อนชำระสินค้ารายวัน 0% แก่พาร์ตเนอร์ร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในการต่อยอดธุรกิจ แบ่งเบาภาระการลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ”

  • สินเชื่อรายย่อยสำหรับไรเดอร์

จุดเด่นของสินเชื่อนี้ คือจะคล้ายกับการผ่อน 0%’ ของบัตรเครดิต เเต่จะเจาะกลุ่มไรเดอร์โดยเฉพาะ เพราะหลายคนมีความต้องการอยากซื้อสินค้าต่างๆ เเต่เข้าถึงบัตรเครดิตยาก เพราะไม่มีสลิปเงินเดือน เเต่ Grab มีข้อมูลรายได้ของไรเดอร์ช่วยประเมินสถานะการกู้ได้

เป็นสินเชื่อผ่อนของที่ไรเดอร์สามารถซื้อมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ที่ Grab หามาให้บริการ โดยคิดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการผ่อน 3-6 เดือน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 1-2 หมื่นบาทตามราคาสินค้า โดยไรเดอร์นิยมซื้อเครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟนเเละทีวี

ใช้ AI คำนวณสินเชื่อ 

ข้อได้เปรียบของ Grab นอกจากมีจำนวนไรเดอร์เเละร้านค้าจำนวนมากเเล้ว นั่นก็คือ การคำนวณวงเงินสินเชื่อด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เป็น ‘Data Driven Lending’ อุดช่องว่างของธนาคารที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักฐานยืนยันรายได้ที่เเน่นอน 

โดย Credit Scoring เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อ รวมไปถึงชั่วโมงการทำงาน พฤติกรรม และรายได้ที่ได้จากบริษัท เพื่อหาวงเงินสูงสุดที่เหมาะสมให้ผู้กู้ เป็นระบบที่ช่วยให้คนทําดี ได้ดี

เมื่อถามถึงความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ เขามองว่าไรเดอร์หลายคนไม่ได้ทำงานนี้เป็นประจำก็จริง เเต่ยอดเงินกู้ไม่ได้สูงมาก ไม่คุ้มที่จะสูญเสียช่องทางรายได้ ถ้าวงเงินเป็นล้าน เราคงไม่ได้ปล่อยกู้

แกร็บไฟแนนซ์ เตรียมจะขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ Grab ให้บริการจากที่ผ่านมากระจุกในจังหวัดใหญ่เเละจะทยอยเพิ่มสินค้าในรายการผ่อนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

ปีนี้เราไม่ได้ตั้งเป้าเป็นตัวเลขว่าคนจะเข้ามาใช้บริการสินเชื่อเท่าไหร่ เเต่หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สร้าง Loyalty ภายใน เตรียมขยายสู่ ‘ภายนอก’ 

สำหรับ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปเป็นกลุ่มธุรกิจที่แกร็บตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายให้บริการด้านการเงินเเบบครบวงจร ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่

Grab Pay – ระบบจ่ายเงินให้ไรเดอร์ ร้านอาหาร เเละอีวอลเล็ตของผู้ใช้
Grab Insure – ให้บริการประกันต่างๆ เป็น micro insurance
Grab Finance – ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เเละ Credit Score
Grab Invest – บริการเงินฝากการลงทุน

ในปีหน้า Grab เราจะขยายไปด้านเงินฝาก เเละการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมบริการทางการเงินทุกด้าน

โดยรายได้จากดอกเบี้ยต่างๆ มีเเนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ จากตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการบริการทางการเงินที่มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ Grab 

นอกจากนี้ การออกสินเชื่อให้ไรเดอร์เเละร้านอาหาร ยังเป็นการสร้าง  ‘Loyalty’ ต่อเเบรนด์ กระตุ้นให้คนต้องขยันทำงานมากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่ดียกระดับบริการให้ถูกใจลูกค้า เพื่อไม่ให้เสียเครดิตเพื่อยื่นกู้เงิน

แกร็บไฟแนนซ์ ยังคงให้บริการเฉพาะกับไรเดอร์และร้านค้าในระบบ แต่ในอนาคตหวังว่าจะให้บริการกับบุคคลทั่วไปภายนอกได้

ต้องจับตามองว่าธุรกิจไฟแนนซ์ของ Grab จะขยายไปในทิศทางใด เเม้ทางผู้บริหารจะยืนยันว่า ตอนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมุ่งเเข่งขันในตลาดสินเชื่อ Non-Bank ก็ตาม….

 

]]>
1337959
ร้านค้าทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงิน “ค่าถุงพลาสติก” แล้ว ราคาขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน https://positioningmag.com/1286131 Wed, 01 Jul 2020 12:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286131 ร้านค้าปลีกทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติกเเล้ว ตั้งเเต่ 1 .. เป็นต้นไป โดยไม่ได้กำหนดราคาตายตัว ขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน

ร้านค้าทั่วไป รวมถึงสะดวกซื้อ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคิดเงินค่าถุงพลาสติกกับลูกค้าราคาเท่าใด ซึ่งสำนักข่าว AFP รายงานว่า ร้านค้าส่วนใหญ่เก็บค่าถุงพลาสติกใบละ 3 เยน (ราว 0.90 บาท)

ลูกค้ารายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า เธอซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อทุกเช้า และวันนี้ก็ได้เตรียมกระเป๋าผ้ามาเอง เพราะรู้ว่าร้านจะเริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกแล้ว 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการห่อบรรจุภัณฑ์ในสินค้าต่างๆ ที่เน้นทั้งความพิถีพิถันและความสวยงาม ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ ห่อกล้วยแต่ละลูกด้วยพลาสติก สิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นสร้างขยะต่อประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ (ยกเว้นสหรัฐฯ) โดยสหประชาชาติเคยวิจารณ์รัฐบาลญี่ปุ่นว่าล่าช้าในเรื่องลดการใช้พลาสติก

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเคลื่อนไหว ด้วยการออกมาตรการล่าสุดเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น และให้ใช้อย่างชาญฉลาด การเก็บค่าถุงพลาสติกทั่วประเทศครั้งนี้ จึงหวังจะกระตุ้นให้ประชาชนคิดให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกหรือไม่

ญี่ปุ่นเคยให้คำมั่นว่า ภายในปี 2030 จะลดขยะพลาสติกลงให้ได้ 1 ใน 4 จากที่ผลิตขยะปีละ 9.4 ล้านตันในปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า ถุงพลาสติกคิดเป็น 2% ของขยะพลาสติกทั้งหมด

ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ (G20) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล เมื่อปีที่ผ่านมา

แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบอกว่ามีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยและนำขยะพลาสติกรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 80 แต่รายงานของ AFP มองว่า การกำจัดขยะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังใช้การเผา ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)

 

 

]]>
1286131
Microsoft ประกาศปิด Microsoft Store เกือบทั่วโลก เหลือเเค่ 4 สาขา บุกขายออนไลน์เต็มตัว https://positioningmag.com/1285464 Sat, 27 Jun 2020 08:41:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285464 ยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีโลกอย่าง Microsoft ประกาศจะปิด Microsoft Store เเบบถาวร จำนวน 83 เเห่งหรือคิดเป็นเกือบทั้งหมดทั่วโลก เหลือไว้เพียง 4 สาขาใหญ่เท่านั้น เพื่อหันไปทุ่มขายออนไลน์เต็มตัว

โดยจะมุ่งพัฒนาการให้บริการบนเว็บไซต์ Microsoft.com แทน ซึ่งลูกค้าสามารถรับการสนับสนุนทางการขาย การฝึกอบรม และอื่นๆ ได้ผ่านช่องทางออนไลน์เเบบครบวงจร ขณะที่พนักงานฝ่ายสาขาทุกคนจะได้ทำงานต่อไปกับบริษัท โดยจะได้รับการโยกย้ายไปทำงานด้านเทรนนิ่ง

David Porter รองประธาน Microsoft กล่าวว่ายอดขายของเราเติบโตขึ้นทางออนไลน์ เนื่องจากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสนอขายแบบดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ละทีมงานที่มีความสามารถของเราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จในการให้บริการลูกค้าที่ก้าวไปไกลกว่าข้อจำกัดเรื่องสถานที่

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Microsoft เริ่มขยายธุรกิจค้าปลีกด้วยการเปิดให้บริการผ่านสาขา จากความพยายามที่จะสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งเหมือนกับ Apple โดยให้ผู้คนได้ไปลองใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่ของ Microsoft ที่สร้างโดย Microsoft และคู่ค้า Microsoft 

เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ Microsoft ต้องทบทวนกลยุทธ์นี้ใหม่ หลังจากต้องปิดร้านชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้บริษัทต้องให้บริการลูกค้าผ่านทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ จึงพบว่า Microsoft เหมาะกับการให้บริการทางออนไลน์มากที่สุด

เนื่องจากที่ผ่านมา Microsoft ได้ทุ่มงบลงทุนในร้านค้าออนไลน์และพัฒนาเว็บไซต์ Microsoft.com อยู่เเล้ว รวมถึงร้านค้าใน Xbox และ Windows ก็เข้าถึงผู้คนมากกว่า 1.2 พันล้านคนต่อเดือนในตลาด 190 แห่งทั่วโลก 

การตัดสินใจปิดสาขา Microsoft Store แบบถาวรครั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายในการปิดร้านก่อนหักภาษีราว 450 ล้านเหรียญสหรัฐ ( ราว 1.39 หมื่นล้านบาท) ซึ่งจะถูกบันทึกในไตรมาสปัจจุบันสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2020

สำหรับ Microsoft Store ที่ยังไม่ถูกปิดจะเหลือเพียง 4 เเห่งเท่านั้น ได้เเก่ ลอนดอน ซิดนีย์ นิวยอร์ก และในสำนักงานใหญ่ในเมือง Redmond โดยจะมีปรับรูปแบบการให้บริการเป็น Microsoft Experience Centers ที่เน้นให้บริการลูกค้าทั่วไปแทนการขายสินค้า

 

ที่มา : CNBC , CNN , theverge

]]> 1285464