วัคซีนโควิด19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 19 Dec 2021 12:28:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์’ คาดจำนวนเคส ‘โอมิครอน’ จะเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ https://positioningmag.com/1365810 Wed, 08 Dec 2021 05:37:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365810 ปัจจุบัน COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้ระบาดไปแล้วใน 54 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยที่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายแรก โดยเป็นผู้ป่วยชาวอเมริกันเดินทางจากประเทศสเปน ซึ่งทาง อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ ได้ออกมาพูดถึงการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนว่าแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ก่อน และจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มเป็นหลักล้านในไม่กี่สัปดาห์จากนี้

อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ มองว่า COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีโอกาสที่จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เพราะแพร่กระจายเร็วขึ้นและอาจนำไปสู่ การกลายพันธุ์ที่มากขึ้นในอนาคต และคาดว่าจำนวนเคสโอมิครอนที่ได้รับการยืนยันจะเพิ่มขึ้นจากหลายสิบเป็นล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

“เราไม่คิดว่ามันเป็นข่าวดี เมื่อมันสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เพราะนั่นหมายความว่าจะมีผู้คนหลายพันล้านคนที่ติดเชื้อ และการกลายพันธุ์อื่นอาจเกิดขึ้น”

ด้าน ดร.แอนโธนี เฟาซี หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของทำเนียบขาว กล่าวว่า รายงานในช่วงสุดสัปดาห์จากแอฟริกาใต้ระบุว่า โอมิครอนไม่รุนแรงเท่าที่กลัวในตอนแรก อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากตัวแปรนี้อย่างเต็มที่

โดยรายงานของสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ ระบุว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพริทอเรีย ซึ่งป่วยด้วยโรค COVID-19 ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม นอกจากนี้รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้ป่วยจำนวนมากเข้ารับการรักษาด้วยเหตุผลทางการแพทย์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม บูร์ลาเตือนว่า เป็นเรื่องยากที่จะสรุปผลจากการระบาดของการติดเชื้อในแอฟริกาใต้ในขณะนี้ เพราะมีชาวแอฟริกาใต้เพียง 5% เท่านั้นที่อายุเกิน 60 ปี และคนที่อายุน้อยกว่ามักติดเชื้อ COVID-19 น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากในแอฟริกาใต้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงจากโควิด

ทั้งนี้ ไฟเซอร์สามารถพัฒนาวัคซีนที่สามารถต่อต้านสายพันธุ์โอมิครอนได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนใหม่หรือไม่ และอาจจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการพิจารณาว่า วัคซีนปัจจุบันให้การป้องกันที่เพียงพอต่อตัวแปรหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไฟเซอร์มั่นใจว่ายาต้านไวรัส Paxlovid จะต่อสู้กับโอมิครอนและไวรัสอื่น ๆ ทุกชนิดที่โผล่ออกมา เพราะยาเม็ดยับยั้งเอนไซม์ที่ไวรัสจำเป็นต้องทำซ้ำหรือที่เรียกว่า โปรตีเอส เพราะมันเป็นเรื่องยากมากสำหรับไวรัสที่จะกลายพันธุ์โดยปราศจากเอนไซม์โปรตีเอส

“มันยากมากสำหรับไวรัสที่จะสร้างสายพันธุ์ที่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากโปรตีเอสนี้”

ทั้งนี้ บูร์ลาไม่ได้คาดหวังว่าจะสามารถกำจัดโควิดได้ทั้งหมดในเร็ว ๆ นี้ แต่เชื่อว่าสังคมจะเริ่มมองไวรัสเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากขึ้นได้รับการฉีดวัคซีนและการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นออกสู่ตลาด

Source

]]>
1365810
‘ออสเตรเลีย’ ขยายเวลาล็อกดาวน์อีก 2 สัปดาห์ ย้ำไม่ยกเลิกจนกว่าผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ https://positioningmag.com/1342267 Wed, 14 Jul 2021 08:39:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342267 ในปี 2020 ออสเตรเลีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่รับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ด้วยจากมาตรการที่แข็งขันอย่างการล็อกดาวน์และติดตามผู้เสี่ยงติดเชื้อ แต่เมื่อเข้าปีที่ 2 ของการระบาดใหญ่แถมเกิดการกลายพันธุ์ทำให้จากที่เคยคุมอยู่ตอนนี้เริ่มเอาไม่อยู่ โดยออสเตรเลียจำเป็นต้องขยายการล็อกดาวน์ไปอีก 2 สัปดาห์เพื่อสกัดเชื้อ

ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซิดนีย์ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 5 ล้านคน ต้องอยู่แต่บ้านด้วยมาตรการล็อกดาวน์ แต่เพราะการระบาดที่ไม่ลดลง โดยมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 97 รายในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ทำให้ แกลดิส เบเรจิคเลียน นายกรัฐมนตรีนิวเซาท์เวลส์ ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มอีก 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย โดยมาตรการดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ต่อเมื่อผู้ติดเชื้อใกล้เป็นศูนย์เท่านั้น

“มันเจ็บเสมอที่จะพูดแบบนี้ แต่เราจำเป็นต้องขยายเวลาล็อกดาวน์ อย่างน้อยอีกสองสัปดาห์” เบเรจิคเลียนกล่าว

ภายใต้กลยุทธ์ “COVID Zero” ของออสเตรเลีย ทางการกำลังพยายามปิดกั้นการแพร่เชื้อในชุมชนอย่างสมบูรณ์ โดยการล็อกดาวน์ของเมืองมีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 30 กรกฎาคม โดยชาวซิดนีย์ส่วนใหญ่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านเพื่อออกกำลังกาย ซื้อของที่จำเป็น ทำงาน หรือด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ

ส่วนโรงเรียนถูกปิดให้บริการ ขณะที่บางพื้นที่ที่ตรวจพบผู้ป่วยจะถูกคุมเข้ม โดยมีตำรวจได้เฝ้าด้านหน้าและด้านหลังของอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พักอาศัยออกไป ส่วนพรมแดนของออสเตรเลียส่วนใหญ่ถูกปิดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 ก็คาดว่าจะไม่เปิดก่อนสิ้นปี

การระบาดของโรค COVID-19 ครั้งล่าสุดของออสเตรเลียเริ่มขึ้นในกลางเดือนมิถุนายน และเพิ่มขึ้นเป็น 864 รายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้ป่วยหนัก 20 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย โดยที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้รับการยกย่องว่าสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่ได้ในระยะเริ่มต้น แต่การเปิดตัววัคซีนที่ช้าทำให้ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกัน โดยตอนนี้มีประชาชนเพียง 5.9% ที่ได้ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว

Source

]]>
1342267
ส่อง 10 เรื่องเกี่ยวกับ ‘วัคซีนโควิด’ ที่ชาวโซเชียลไทยให้ความสนใจมากที่สุด https://positioningmag.com/1335070 Wed, 02 Jun 2021 08:40:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335070 แม้จะมีการประกาศให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีข้อสงสัย และคำถามต่าง ๆ มากมายจากคนบนโลกโซเชียล ซึ่งบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้รวบรวมข้อสงสัย และความกังวลใจของคนบนโลกโซเชียล ผ่านการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในช่วงวันที่ 1- 31 พ.ค. 

จากการสำรวจพบว่ามีจำนวน Engagement สูงกว่า 53,000,000 Engagement คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อวันถึง 1,600,000 Engagement โดยถูกพูดถึงผ่านช่องทางหลัก คือ Facebook และ Twitter โดย 10 เรื่องหลัก ๆ ที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 มีดังนี้

ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด

ชาวโซเชียลยังคงตั้งคำถามเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่ทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรง ซึ่งเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนกันเป็นประเด็นหลัก ๆ รวมถึง เรื่องวัคซีนต่างแบรนด์ จะมีผลข้างเคียงต่างกันไหม?

การลงทะเบียนฉีดวัคซีน

การลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอป รวมถึงการเปิดให้ลงทะเบียนรับวัคซีนผ่านหลากหลายช่องทางจนทำให้เกิดข้อสงสัย เช่น ขั้นตอนการลงทะเบียนในช่องทางต่าง ๆ ทำอย่างไร? หลังลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง และจะได้ฉีดวัคซีนเมื่อไร? และสามารถเลือกแบรนด์ได้หรือไม่?

ประสิทธิภาพของวัคซีน

ถือเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจกันในอันดับต้น ๆ คือ เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์มีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร? วัคซีนที่มีให้ฉีดในตอนนี้สามารถป้องกันเชื้อได้มากน้อยเพียงใด และป้องกันสายพันธุ์ไหนได้บ้าง? รวมถึงเชื้อโควิดบางสายพันธุ์จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่?

การสร้างภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันที่ได้หลังฉัดวัคซีนเป็นอีกเรื่องที่หลายคนต้องการทราบ เกิดคำถามตามมาว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์สร้างภูมิคุ้มกันได้มากน้อยเพียงใด? ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใด? และคนไทยจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อไรและอย่างไร? และหลังการฉีดวัคซีน ยังมีโอกาสติดโควิดหรือไม่?

ผู้ได้ประโยชน์จากวัคซีน

ข่าวความสำเร็จของวัคซีนทำให้หลายคนตั้งคำถามว่านอกจากประชาชนที่ได้รับประโยชน์ทางตรงแล้ว ใครที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้บ้าง?

กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว

หากเป็นบุคคลที่อยู่ใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนแบรนด์ใด และควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดอย่างไร? นอกจากนี้ อาการและภาวะอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์หรือเป็นประจำเดือน สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

กลุ่มคนสูงอายุ

หลายคนสงสัยว่าผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนหรือไม่ และหากฉีด วัคซีนแบรนด์ใดจะปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป?

แผนกระจายวัคซีน

มีคำถามถึงความคืบหน้าแผนการฉีดวัคซีนครึ่งหลังปี 2564 ในกลุ่มบุคคลทั่วไปว่าจะเริ่มฉีดได้เมื่อใด? รวมถึง แผนการนำเข้าวัคซีนแบรนด์อื่นว่าจะมาถึงไทยและสามารถฉีดได้เมื่อใด?

การฉีดวัคซีนซ้ำ

หลายคนกังวลกรณีฉีดวัคซีนแล้ว มีวัคซีนใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าออกมา สามารถฉีดซ้ำได้หรือไม่? หรือหากเคยติดเชื้อCOVID-19 แล้ว จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่? รวมถึงการรับวัคซีนเข็มที่ 2 สามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องรับวัคซีนเข็มที่ 2 จากแบรนด์เดิมเท่านั้น

ราคาวัคซีน

ประชาชนมีความต้องการวัคซีนทางเลือกค่อนข้างสูง อาทิ โมเดอร์นา ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับราคาตามมา ว่าราคาต่อโดสอยู่ที่เท่าไร?

วัคซีนถือเป็น ความหวัง และเป็น อาวุธ สำคัญที่จะช่วยหยุดการแพร่ระบาด สร้างภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชนได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนที่จำกัดทำให้การจะฉีดวัคซีนอาจจะล่าช้า ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนทำได้ตอนนี้ คือ การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนรอบข้าง

]]>
1335070
ยอดจองโรงแรมใน ‘โปรตุเกส’ พุ่ง 475% หลัง ‘อังกฤษ’ ไฟเขียวเที่ยวได้ กลับมาไม่ต้องกักตัว https://positioningmag.com/1332139 Fri, 14 May 2021 05:37:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332139 รัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้อนุมัติให้ประชาชนชาวอังกฤษที่เดินทางไปประเทศ ‘โปรตุเกส’ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมไม่จำเป็นต้องกักตัวเมื่อเดินทางกลับ แต่จะต้องทำการทดสอบ COVID PCR ภายในสองวันหลังจากเดินทางมาถึงสหราชอาณาจักร ซึ่งมาตรการดังกล่าวก็ทำให้ชาวอังกฤษแห่กันเดินทางไปโปรตุเกสจนยอดจองโรงแรมโตถึง 475% เลยทีเดียว

แม้ว่ากฎอาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางระบาด แต่นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษก็รีบคว้าโอกาสในการจองวันหยุดพักผ่อนในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว

“เป็นความบ้าคลั่งอย่างแท้จริงในแง่ของการจอง โดยมีความต้องการจองเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า” Katya Bauval ผู้อำนวยการฝ่ายขายของโรงแรม Vila Vita Parc ใน Algarve ทางตอนใต้ของโปรตุเกสกล่าว

ด้านเครือโรงแรม ‘Pestana’ ซึ่งเป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโปรตุเกสก็มียอดการจองห้องพักเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดย Jose Theotonio ซีอีโอของ Pestana Hotel Group กล่าวว่า ความต้องการเพิ่มขึ้น 250% ของเครือ และผู้ให้บริการอื่น ๆ มียอดจองเพิ่มขึ้น 475% โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้สถานที่ใน Algarve และ Porto Santo ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในหมู่เกาะ Madeira

“สัญญาณนี้จากรัฐบาลอังกฤษได้กระตุ้นให้เกิดการจองอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่ที่พัก นอกจากนี้ยังเห็นความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากนักท่องเที่ยวในเยอรมนี, สเปน และตลาดในประเทศด้วย”

ภาพจาก shutterstock

แน่นอนว่าอานิสงส์ที่ทำให้การท่องเที่ยวในโปรตุเกสกลับมาคึกคักก็เพราะไม่ต้องถูกกักตัวหลังจากกลับมาที่สหราชอาณาจักร ขณะที่ประเทศอย่าง สเปน, อิตาลี และกรีซ ที่หากไปแล้วต้องกลับมากักตัวอีก 10 วัน จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยม นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบของโปรตุเกสที่กรีซและสเปนไม่มี

ทั้งนี้ โปรตุเกสกลายเป็นจุดสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2019 โปรตุเกสมีนักท่องเที่ยวกว่า 24.6 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้น 7.9% จากปี 2018 ขณะที่สหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเข้าพักของนักท่องเที่ยวในโปรตุเกสซึ่งคิดเป็น 18.8% ของจำนวนทั้งหมดตามมาด้วยเยอรมนี 12.3% และสเปนซึ่งคิดเป็น 11%

แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศหยุดชะงักลงอย่างสิ้นเชิงจากการระบาดของไวรัส COVID-19 นอกจากนี้โปรตุเกสยังต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ครั้งที่ 2 เมื่อต้นปี 2021 เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มาตรการที่เข้มงวดได้คลี่คลายลงแล้ว

ในส่วนของนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ อาจจะใช้เวลานานกว่าจะกลับมา แม้จะมีการประกาศจากประธานคณะกรรมาธิการยุโรป Ursula von der Leyen ว่า ชาวอเมริกันที่ฉีดวัคซีนจะสามารถเดินทางไปเยือนยุโรปได้ในช่วงฤดูร้อนนี้ก็ตาม ทั้งนี้ ในปี 2019 โปรตุเกสยังดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช่สหภาพยุโรปจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเพิ่มขึ้น 21.3% นักท่องเที่ยวจีนโต 16.8% และบราซิลเติบโต 14.9%

Source

]]>
1332139
‘WHO’ ประกาศ ‘โควิดสายพันธุ์อินเดีย’ เป็นภัยคุกคามสุขภาพระดับโลก https://positioningmag.com/1331486 Tue, 11 May 2021 05:39:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331486 ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ได้ออกแถลงว่ากำลังจัดประเภทของ COVID-19 สามสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ พร้อมกับจัดให้ ‘สายพันธุ์อินเดีย’ (B.1.617) เป็น “สายพันธุ์ที่สร้างความวิตกกังวล” และกลายเป็น “ภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก”

Maria Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ WHO กล่าวว่า WHO มีการค้นพบตัวแปรที่เรียกว่า B.1.617 หรือไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์ในอินเดีย โดยในการศึกษาเบื้องต้นพบว่าไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากสามารถติดต่อง่ายกว่าไวรัสตัวเดิม และมีหลักฐานบางอย่างที่พบว่าอาจต่อต้านวัคซีนได้

“และด้วยเหตุนี้เราจึงจัดว่าสิ่งนี้เป็นตัวแปรของภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก

ทั้งนี้ WHO กำลังติดตามเชื้อ COVID-19 อย่างน้อย 10 สายพันธุ์ ทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ได้มีการจำแนกประเภทของไวรัสแล้ว 3 สายพันธุ์ ได้แก่ COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7), COVID-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) และ COVID-19 สายพันธุ์บราซิล (P.1)

อย่างไรก็ตาม แม้ไวรัสสายพันธุ์อินเดียจะถูกระบุว่าเป็นข้อกังวลหากพบว่ามีการติดต่อกันมากขึ้นอันตรายถึงตายหรือดื้อต่อวัคซีน แต่ข้อมูลปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวัคซีน COVID-19 ที่มีอยู่ “ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้”

MUMBAI, INDIA JUNE 14: Healthcare staff does door to door screening of temperature and pulse rate of a residents at Baiganwadi,Shivaji Nagar, Govandi, on June 14, 2020 in Mumbai, India. (Photo by Pratik Chorge/Hindustan Times via Getty Images)

ทั้งนี้ หลายคนเชื่อว่าตัวแปรนี้อยู่เบื้องหลังการติดเชื้อระลอกล่าสุดในอินเดีย โดยปัจจุบัน อินเดียมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เฉลี่ย 3,879 คนต่อวัน และมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยประมาณ 391,000 รายต่อวันในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ เพิ่มขึ้นประมาณ 4% จากสัปดาห์ที่แล้ว

ปัจจุบัน เชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อินเดียได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าววานนี้ (10 พ.ค.) มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์อินเดียเป็น รายแรก โดยเป็นหญิงไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศปากีสถาน

Source

]]>
1331486
“อเมริกา” สั่งวัคซีนจอห์นสันแปะฉลากเตือนข้างขวด แก้ปัญหา “เกิดลิ่มเลือดอุดตัน” https://positioningmag.com/1329144 Sun, 25 Apr 2021 15:27:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329144 CDC สหรัฐฯ ล่าสุดยกเลิกการสั่งห้ามใช้วัคซีนจอห์นสันแล้ว และประกาศวัคซีนสามารถถูกนำกลับมาใช้ได้ใหม่ในวันเสาร์ที่ 24 เม.ย. หลังจากที่ทางผู้กำกับสหรัฐฯ สามารถตกลงแก้ปัญหาเรื่องความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันกับบริษัทได้ด้วการทำฉลากเตือนแปะข้างขวด

CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวานนี้ว่า ศูนย์การป้องกันโรคและการป้องกันสหรัฐฯ CDC รวมไปถึงองค์การอาหาร และยาสหรัฐฯ FDA ต่างยกเลิกคำสั่งระงับการใช้วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันชั่วคราว โดยวัคซีน COVID-19 ประสิทธิภาพ 1 โดสของตลาดเพียงตัวเดียวนี้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งในวันเสาร์ที่ 24 เม.ย. ที่สหรัฐฯ

โดยทางหน่วยงานทั้งสองเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นหลังการออกเสียงของทางคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกัน ACIP ที่เปิดไฟเขียวให้สามารถนำวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันกลับมาฉีดได้อีกครั้ง

“ทางเราสรุปว่าประโยชน์สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่ประจักษ์ของวัคซีน COVID-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันนั้นมีความเหนือกว่าต่อความเสี่ยงซึ่งเป็นที่รับรู้เกิดขึ้นต่อบุคคลอยุ 18 ปีขึ้นไป” รักษาการผู้อำนวยการ FDA ดร. แจเนต วู๊ดค็อก (Janet Woodcock)

และเสริมต่อว่า “ทางเราเชื่อมั่นว่า วัคซีนตัวนี้ยังคงเป็นไปตามมาตรฐานของเราในด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพ ทางเราขอแนะนำให้ใครก็ตามที่มีคำถามเกี่ยวกับวัคซีน ว่าวัคซีนตัวนี้สามารถได้รับอย่างปลอดภัยหรือไม่ให้ทำการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตัวเอง”

Photo : Shutterstock

ขณะที่ CDC นั้นพบว่าได้ออกคำสั่งยกเลิกใช้วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันในวันศุกร์ที่ 23 เม.ย. โดยทางคณะกรรมการ ACIP แสดงความวิตกว่า การที่นำวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันออกไปจากพูลวัคซีน COVID-19 ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศ 3 แบรนด์ในเวลานี้ จะทำให้โครงการแจกวัคซีนให้กับประชาชนชาวอเมริกันทุกคนต้องล่าช้าออกไป

อีกทั้งทาง ACIP ยังชี้ให้เห็นว่า การที่วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมีจุดเด่นที่ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็นพิเศษและมีขนาดแค่ 1 โดส ทำให้เป็นที่ต้องการของคนจำนวนมากที่ไม่ต้องวิตกว่าจะลืมกลับมารับอีกในโดสที่ 2 หรือในกลุ่มประชาชนที่ประสบปัญหายากลำบากในการจองตารางการฉีดให้กับตัวเอง

CNN รายงานว่า สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของวัคซีนที่เกี่ยวกับปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน โดยทาง CDC พบว่า มีเคสการเกิดทั้งหมด 15 เคสซึ่งเป็นรายที่หาได้ยากซึ่งเรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ (thrombosis) ที่มาพร้อมกับ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia syndrome ) หรือ TTS และส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นปัญหาที่คล้ายกับที่พบในวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าของอังกฤษ

โดยในการวิเคราะห์เชิงลึกพบว่า น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันแต่ทว่าความเสี่ยงยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก โดยมีอัตราเฉลี่ยที่จะสามารถเกิดได้ 1.9 เคส/ประชากร 1 ล้านคน และในระหว่างกลุ่มสตรีระหว่างอายุ 18-49 ปี พบได้ราว 7 เคส/ทุก 1 ล้านคน ส่วนในกลุ่มผู้หญิงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอัตราเฉลี่ยที่จะเกิดจะเหลือแค่ 0.9 เคส/ทุก 1 ล้านคน

Photo : Shutterstock

ทั้งนี้ ในกลุ่ม 15 คนที่เกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในสหรัฐฯ จากวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันนั้น พบว่า 13 คน เป็นสตรีอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยทางคณะกรรมการ ACIP ได้หารือให้มีการให้คำแนะนำคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษต่อความเสี่ยง แต่ในท้ายที่สุดไม่มีการโหวตในเรื่องนี้เกิดขึ้นในที่ประชุม

และสำหรับในการปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มชายอเมริกันไม่ได้มีการเอ่ยถึงในเรื่องนี้ ซึ่งสำหรับประโยชน์ของวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พบว่า วัคซีนทุก 1 ล้านโดส สามารถป้องกันผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล 650 คน และเสียชีวิต 12 คนในกลุ่มผู้หญิงอายุ 18-49 ปี และวัคซีนยังสามารถป้องกันผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลกว่า 4,700 คนและเกือบ 600 คนในกลุ่มผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันในสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี CDC สหรัฐฯ แถลง

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทยาจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ออกมาระบุก่อนหน้าว่า ทางบริษัทตกลงในข้อความเตือนที่จะถูกเพิ่มขึ้นบนฉลาก ที่จะแสดงเตือนให้เห็นถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเลือดร่วมกับกรณีเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

Source

]]>
1329144
สหรัฐฯ ผุดโครงการ ‘ลดหย่อนภาษี’ ดึงดูดใจให้ประชาชนไปฉีด ‘วัคซีนโควิด’ https://positioningmag.com/1329022 Fri, 23 Apr 2021 08:53:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329022 รัฐบาลสหรัฐฯ สรรหาวิธีดึงดูดใจให้คนไปฉีดวัคซีนโควิด-19’ ผุดโครงการลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่อนุญาตลูกจ้างลาหยุด’  ไปรับวัคซีน กระตุ้นเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่‘  ให้เร็วที่สุด หลังมีคนจำนวนมากลังเลไม่อยากฉีด 

โครงการลดหย่อนภาษีดังกล่าว จะเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายของบริษัทที่หายไป ในช่วงที่พนักงานลาหยุดเพื่อไปฉีดวัคซีนและยังได้รับค่าจ้างปกติ รวมไปถึงในช่วงการพักฟื้นจากผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กกลาง และองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 ราย จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากสุดถึง 511 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันต่อคน ระยะเวลามากสุดถึง 10 วัน หรือ 80 ชั่วโมงทำการงาน ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2021

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนยังเรียกร้องให้นายจ้างช่วยเเบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้อง เเละเชิญชวนให้พนักงานออกไปฉีดวัคซีน โดยให้สิทธิพิเศษอย่าง การแจกผลิตภัณฑ์ฟรีและให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนเเล้ว

ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 รายนั้น นับเป็นกว่า 50% ของภาคเอกชนในสหรัฐฯ โดยโครงการลดหย่อนภาษีนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีไบเดนเซ็นรับรองเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สหรัฐฯ กำลังระดมฉีดวัคซีนระยะต่อไปหลังอนุญาตให้ประชาชนที่อายุมากกว่า 16 ปีทุกคน สามารถเข้ารับวัคซีนได้ ถ้าคุณกำลังรอว่าเมื่อไรจะถึงคิวของคุณ คุณไม่ต้องรออีกต่อไป

ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุกว่า 80% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส ส่งผลให้อัตราเสียชีวิตในผู้สูงวัยลดลงตามไปด้วย

โจ ไบเดน ได้ประกาศความสำเร็จ หลังรัฐบาลสามารถกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ให้กับชาวอเมริกันได้ทะลุเป้าหมายใหม่ที่วางไว้ 200 ล้านโดส ภายใน 100 วันแรกของการดำรงตำแหน่งแล้ว เเละสำเร็จก่อนกำหนดถึง 1 สัปดาห์

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมเเละป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) รายงานอัตราการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ เฉลี่ย 3 ล้านครั้งต่อวันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.8 ล้านครั้ง ในช่วงต้นเดือนมีนาคม

เเต่อัตราการฉีดวัคซีนลดลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แม้ว่าประชาชนวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนเเล้วก็ตาม

บรรยากาศการต่อคิวเข้ารับวัคซีน COVID-19 ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

ทางการสหรัฐฯ ได้สั่งระงับการฉีดวัคซีน COVID-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เป็นการชั่วคราว หลังพบรายงานภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 6 ราย แม้ว่าวัคซีน J&J จะมีสัดส่วนน้อยกว่า 4% ของวัคซีนทั้งหมดกว่า 213 ล้านโดสที่สหรัฐฯ ฉีดไปจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีการใช้วัคซีนนี้ไปเเล้วมากกว่า 6.8 ล้านโดส

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เผยว่า ตอนนี้สหรัฐฯ มีวัคซีน COVID-19 ของบริษัท Pfizer เเละ Moderna เพียงพอที่จะเร่งฉีดได้ 3 ล้านครั้งต่อวัน

ก่อนหน้านี้ มีความเห็นจากแพทย์ในสหรัฐฯ ที่เกรงว่าจะเกิดปัญหาวัคซีนล้นประเทศ’ เพราะยังมีกลุ่มคนจำนวนมากกว่า 15-20% ที่ลังเลไม่อยากฉีดวัคซีน

 

ที่มา : CNBC , NBC News

]]>
1329022
ธุรกิจ ‘ร้านอาหาร’ ในญี่ปุ่น เจ็บหนักเพราะพิษโควิด ต้อง ‘ล้มละลาย’ ไปมากกว่า 700 ร้าน https://positioningmag.com/1327658 Sun, 11 Apr 2021 10:07:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327658 ธุรกิจร้านอาหารรับผลกระทบหนักจากพิษ COVID-19 โดยอัตราการล้มละลายของร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น ปี 2020 มีมากถึง 715 แห่ง มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในรอบ 20 ปี

ในจำนวนนี้ ร้านประเภทผับ บาร์ และโรงเบียร์ ล้มละลายถึง 183 ร้าน สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000

รายงานของ Teikoku Databank ระบุว่า กิจการร้านอาหารเหล่านี้ล้มละลาย พร้อมการเเบกหนี้ 10 ล้านเยนขึ้นไป

โดยสาเหตุที่ร้านอาหารต้องปิดกิจการนั้น หลักๆ มาจากผลกระทบของโรคระบาด ที่ทำให้ร้านต่างๆ ต้องปิดชั่วคราว เเละเมื่อได้กลับมาเปิดอีกครั้งก็ต้องให้บริการในเวลาที่สั้นลง ตามมาตรการควบคุมโรคของรัฐ รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานและการเก็บภาษีเพื่อการบริโภค (Consumption Tax) ที่เพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 10%

ล่าสุด ญี่ปุ่นยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเมืองใหญ่อย่างโอซาก้าและจังหวัดอื่นๆ ทางการจึงให้ร้านอาหารลดระยะเวลาเปิดทำการลง โดยขอให้ปิดภายใน 20.00 .

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าธุรกิจร้านอาหารในญี่ปุ่น จะเริ่มฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน เเละการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

Photo : Shutterstock

โดยจำนวนร้านอาหารที่ล้มละลายในญี่ปุ่นเริ่มลดลง 36% ในเดือนมกราคม เเละดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ลดลง 56.3% เเละในเดือนมีนาคม ที่มีร้านอาหารล้มละลายลดลง 2.6%

ด้านธุรกิจ ‘โรงเเรม’ ก็เผชิญวิกฤตขั้นสาหัสจากผลกระทบของ COVID-19 เช่นกัน โดยศูนย์วิจัย Tokyo Shoko ระบุว่า ในปี 2020 ผู้ประกอบการธุรกิจโรงเเรมในญี่ปุ่นล้มละลายมากถึง 118 แห่ง เพิ่มขึ้น 57.35% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยเป็นครั้งเเรกที่โรงแรมในประเทศต้องยื่นล้มละลายเกิน 100 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2013

จากความไม่เเน่นอนของเศรษฐกิจเหล่านี้ ทำให้บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่มีเเนวโน้มจะล้มละลายเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรม ซึ่งอัตราการล้มละลายของภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 26% เลยทีเดียว

 

ที่มา : Japantimes

]]>
1327658
‘อียู’ ขู่จำกัดส่งออกวัคซีนนอกกลุ่ม เหตุ ‘AstraZeneca’ และ ‘Pfizer’ ประสบปัญหาด้านการผลิต https://positioningmag.com/1316576 Wed, 27 Jan 2021 11:41:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316576 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา AstraZeneca ไม่สามารถส่งวัคซีนได้ตามจำนวนที่สัญญาไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้การฉีดวัคซีนของสหภาพยุโรปไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งนั่นหมายถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยิ่งมีความเสี่ยง

Stella Kyriakides คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสาธารณสุขของอียู แสดงความไม่พอใจในการเจรจากับ AstraZeneca เธอกล่าวว่าผู้ผลิตยา ‘ตั้งใจที่จะจัดหายาในปริมาณที่น้อยกว่าที่ตกลง’ โดยอาจจัดส่งได้น้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ซึ่งสหภาพยุโรปได้สั่งซื้อวัคซีน AstraZeneca จำนวน 300 ล้านโดสซึ่งจะได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสัปดาห์นี้โดยมีตัวเลือกให้ซื้อเพิ่มอีก 100 ล้านโดส

“ยุโรปลงทุนหลายพันล้านเพื่อช่วยพัฒนาวัคซีน COVID-19 ตัวแรกของโลกเพื่อให้เกิดผลดีร่วมกันในระดับโลกอย่างแท้จริง และตอนนี้ บริษัทต่าง ๆ ต้องส่งมอบวัคซีนตามที่ตกลงไว้ พร้อมทั้งต้องการความโปร่งใสอย่างเต็มที่เกี่ยวกับการส่งออกวัคซีน”

ทั้งนี้ อียูได้แบ่งเงินจากกองทุนฉุกเฉินจำนวน 2.7 พันล้านยูโร (3.3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาวัคซีน ยิ่งไปกว่านั้นมีการใช้จ่ายหลายพันล้านเพื่อให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมาก

(photo by John Keeble/Getty Images)

Pierpaolo Sileri รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอิตาลี กล่าวว่า ผู้คนที่มีอายุมากกว่า 80 ปีจะได้รับการฉีดวัคซีนช้ากว่าที่วางแผนไว้ 4 สัปดาห์อันเป็นผลมาจากความล่าช้า โดยประเทศอิตาลีกำลังขู่ว่าจะดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ผลิตยา

“เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงเราสามารถฉีดวัคซีนให้กับชาวอิตาลีได้ถึง 45 ล้านคน แต่ผมไม่เชื่อในบริษัทเหล่านี้จนกว่าจะเห็นวัคซีน”

Jens Spahn รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเยอรมนี กล่าวว่า การควบคุมการส่งออกวัคซีนไม่ได้เกี่ยวกับการให้ “สหภาพยุโรปเป็นอันดับแรก” แต่เป็นการทำให้แน่ใจว่า “ยุโรปได้รับส่วนแบ่งที่ยุติธรรม”

บรรยากาศการแจกหน้ากากอนามัยที่ป้ายรถเมล์ในเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 63 หลังจากรัฐบาลสเปนประกาศผ่อนคลายการล็อกดาวน์ ให้กิจการบางประเภทกลับมาทำการได้ เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงานผลิต (photo: Rober Solsona/Europa Press via Getty Images)

ด้าน AstraZeneca กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เมื่อวันที่ 15 มกราคมเราส่งมอบปริมาณน้อยกว่าที่วางแผน เนื่องจากบริษัทได้ปรับปรุงโรงงานผลิตใน Puurs ประเทศเบลเยียม โดยในขณะนี้เรายังคงเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่จะผลิตยาให้ได้ 2 พันล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 1.3 พันล้านที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก” ขณะที่ Pfizer กล่าวว่า จะกลับสู่กำหนดการเดิมของการส่งมอบสำหรับสหภาพยุโรปในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนมองว่า ความล่าช้าหนึ่งหรือสองสัปดาห์ “ไม่ใช่ปัญหาใหญ่” แต่ก็เข้าใจดีว่าความล่าช้าหมายถึงชีวิต Burak Kazaz ศาสตราจารย์ด้านการจัดการซับพลายเชน มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ กล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าจากทั้งสองบริษัทเป็นสัญญาณว่ายังคงมีข้อบกพร่องในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับยุโรปเท่านั้น แต่เกิดในหลาย ๆ ประเทศ

Source

]]>
1316576
‘Pfizer’ เผยรายงานระบุวัคซีน ‘ใช้ได้ผล’ กับ ‘โควิดสายพันธุ์อังกฤษ’ https://positioningmag.com/1315476 Thu, 21 Jan 2021 07:32:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315476 เชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกเฝ้าระวังกันมาก เพราะสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดได้ง่าย และกระจายอย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุด ‘Pfizer-BioNTech’ ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ได้ออกรายงานว่าวัคซีนของบริษัทมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์

เชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์ B.1.1.7 คาดว่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรซึ่งพบเมื่อเดือนกันยายน โดยไวรัสกลายพันธุ์สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและกระจายได้เร็ว ทำให้หลายคนกังวลว่า ‘วัคซีน COVID-19’ ที่เพิ่งพัฒนาเสร็จจะสามารถใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่

Photo : Shutterstock

แต่ล่าสุด งานวิจัยของ ‘Pfizer-BioNTech’ ที่ตีพิมพ์บน BioRxiv ระบุว่า “ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางชีวภาพในการทำให้แอนติบอดี้ในเลือดเป็นกลาง” ระหว่างการทดสอบในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ B.1.1.7 กับสายพันธุ์ดั้งเดิมของไวรัส COVID-19 กับผู้เข้าร่วม 16 คนที่ได้รับวัคซีนก่อนหน้านี้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมอายุ 18 ถึง 55 ปีและอีกครึ่งหนึ่งอายุ 56 ถึง 85 ปี นับเป็นเอกสารฉบับแรกที่ผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายใหญ่เปิดเผยออกมา ขณะที่บริษัทยาอื่น ๆ กำลังทำการทดสอบประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้เตือนว่าการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์โควิดทั่วโลกจำเป็นต้อง “ติดตามอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ” เพื่อให้แน่ใจได้ว่าวัคซีนยังมีประสิทธิภาพการป้องกันที่คงที่ โดยปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่า 96.2 ล้านคน เสียชีวิต 2.05 ล้านคน ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์

Source

]]>
1315476