วิษณุ เทศขยัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 22 Jan 2021 13:58:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Branding is Essential : บทสรุปการสร้างแบรนด์ ทางรอดของธุรกิจ https://positioningmag.com/1307083 Sun, 22 Nov 2020 16:13:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307083

สนใจติดตามรับฟัง Podcast ได้ :  SPOTIFY, SOUNDCLOUD, APPLE PODCAST, YOUTUBE

เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายใน Series “Branding is Essential” เนื้อหาในตอนนี้เป็นการเชื่อมโยง และสรุปสาระสำคัญของแต่ละตอน ตั้งแต่ตอนแรกจนถึงตอนที่ 6 เพื่อให้เห็นกระบวนการของสังคมที่เปลี่ยนไปซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ การทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและภาพในอนาคต การพัฒนาแบรนด์ และการสื่อสารเพื่อให้สอดคล้องกับ Next Normal

เราจะแบ่งปันมุมมองของบทสรุปความสำคัญในการพัฒนาแบรนด์ ที่เป็นหัวใจในความอยู่รอดของธุรกิจ เป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสังคมไทย

1. อะไรคือ New Normal, Next Normal

ตอนที่ 1 เราเริ่มต้นกันที่คำถามว่า Covid-19 ส่งผลให้เกิด New Normal หรือไม่ อะไรคือ New Normal และ Next Normal ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายไปมากแล้วในบ้านเรา แต่ผลกระทบที่ชัดเจนก็คือ การที่สังคมและผู้คนจะก้าวกระโดดไปสู่สังคม Digital เร็วขึ้น

โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า เราอาจอยู่ในบันไดขั้นที่ 3 จากทั้งหมด 10 ขั้น ของ The Third Wave หรือ “คลื่นลูกที่สาม” ที่ Alvin Toffler อธิบายไว้ ผลกระทบของ Covid-19 ทำให้เราก้าวกระโดดไปสู่บันไดขั้นที่ 5 ภายในคลื่นลูกนี้ และนี่เองที่คือ New Normal

ส่วน Next Normal ก็คือบันไดขั้นที่ 6 -10 ก่อนจะพัฒนาไปสู่คลื่นลูกถัดไปคือลูกที่ 4 ภาพของ Next Normal คือการที่ผู้คนและสังคมจะมีวิถีชีวิตที่ผสานไปกับเครื่องมือ Digital มากขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ด้านธุรกิจ พฤติกรรมผู้ซื้อเปลี่ยนไป ธุรกิจขนาดใหญ่ย่อตัวลง ขณะที่แบรนด์ท้องถิ่นเติบโตมากขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น

Digital Culture ส่งผลต่อมุมมองและพฤติกรรมของผู้คนในแต่ละ Generation แตกต่างกันไป ทำให้เกิด Generation Gap สังคมจะปรับเปลี่ยนไปอย่างมากมาย และรวดเร็วในแทบทุกด้าน ทั้งวิถีชีวิตผู้คน ครอบครัว อาชีพและการทำงาน โครงสร้างสังคม ธุรกิจ การเมือง มุมมองค่านิยม คุณค่าและความหมายของชีวิต เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ออกจะเป็นไปในทางลบมากกว่าบวกในสายตาของ Toffler

สิ่งที่ได้จากเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่า ตอนนี้เราอยู่ตรงไหน เราพอมองเห็นภาพอนาคต (Next Normal) ว่าน่าจะเป็นอย่างไร  แบรนด์และธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวใน 2 ด้านหลัก ด้านแรกก็คือการปรับธุรกิจให้สอดคล้องไปกับวิถีดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Digital Transformation ในทุกๆ ด้าน ด้านที่ 2 คือการที่แบรนด์และธุรกิจต้องเข้าใจพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปของผู้ซื้อ ทั้ง 2 ด้านนี้รวมเรียกได้ว่าเป็น “มาตรฐานใหม่” ของธุรกิจ หรือ New Brand Standardize

2. พฤติกรรมผู้ซื้อเปลี่ยนไปสู่ “มาตรฐานใหม่”

เข้าสู่ตอนที่ 2 เราแบ่งปันมุมมองต่อเนื่องถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อที่เรียกว่าเป็น “มาตรฐานใหม่ของผู้บริโภค” ที่แบรนด์จำเป็นต้องรู้ นั่นก็คือ ทั้ง “การซื้อ” และเครื่องมือในการ “ตัดสินใจซื้อ” เปลี่ยนมาใช้ และพึ่งพาช่องทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง

แม้กระทั่งความคิด และมุมมองก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมดิจิทัลอย่างแนบแน่น สินค้าหรือบริการต้องตรงกับ Pain point และตอบสนองตัวตนหรือสร้างความรู้สึกร่วมให้กับผู้ซื้อได้เท่านั้นที่จะจบลงด้วยการ “ซื้อ” ทางเลือกที่เพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณและการตลาดแบบทุนนิยมทำให้ผู้บริโภคไม่ยึดติดและภักดีต่อแบรนด์อีกต่อไป ภาพลักษณ์ที่เคยโดดเด่น ความเป็นเบอร์หนึ่งของตลาด บริการหลังการขาย เหล่านี้ไม่อาจมัดใจผู้ซื้อไว้ได้อีกต่อไป

ใน Next Normal ที่กำลังก่อตัวและกลืนกินอย่างรวดเร็ว กระบวนการของสังคมกำลังกลายพันธ์ุไปสู่สังคมดิจิทัลที่มีทั้งข้อดี และผลกระทบที่รุนแรง โครงสร้างธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมใหม่จะเป็นทั้งโอกาส และอุปสรรคสำหรับธุรกิจ ผู้บริโภคกำลังเติบโตไปสู่พฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานใหม่ของผู้ซื้อ แบรนด์ และธุรกิจที่จะไปต่อได้ คือแบรนด์ที่สามารถปรับตนเองให้เข้าสู่มาตรฐานใหม่ แบรนด์ที่ยังไม่เข้าใจ หรือปรับตัวเองไม่ได้จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังอย่างซบเซา และเหือดแห้งจากไปในท้ายที่สุด

3. “มาตรฐานใหม่ของแบรนด์” ที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน

ตอนที่ 3 การปรับตัวที่เป็น “มาตรฐานใหม่” ของแบรนด์ หรือ New Brand Standardize คือการปรับทั้งกระบวนการภายในของธุรกิจ และการพัฒนาตัวตนเพื่อสร้างการรับรู้สู่ภายนอกซึ่งก็คือผู้ซื้อของแบรนด์ กระบวนการทั้งภายในและภายนอกนี้ ต้องพัฒนาควบคู่และประสานสอดคล้องกันไป

การปรับกระบวนการภายใน หมายถึงการพัฒนาระเบียบวิธีการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากผลที่เกิดขึ้นจากสังคมดิจิทัล อย่างที่ Thomas Friedman เขียนไว้ใน The World is Flat เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถของการปรับตัวและสามารถเผชิญความท้าทาย สร้างความพร้อมในการเคลื่อนที่ร่วมไปกับสังคมที่กำลังปรับเปลี่ยน

ในขณะที่แบรนด์ก็ยังจำเป็นต้องพัฒนาอัตลักษณ์ของธุรกิจอย่างต่อเนื่องแม่นยำ และจริงใจในทั้ง 4 ระดับ ตั้งแต่การสร้างตัวตนเพื่อสร้างการจดจำ การพัฒนาคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่ตอบสนอง Pain point ของผู้ซื้อ การแสดงออกถึงบุคลิกภาพ และการมีส่วนร่วมต่อปัญหาของสังคมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ตัวตนที่ชัดเจน และการนำเสนอหลักคิดที่เป็นปรัชญาพื้นฐานในการพัฒนาธุรกิจ

การปรับตัวในทั้ง 2 ด้านจำเป็นต้องพัฒนาให้สอดคล้องเพื่อให้ส่งผลต่อการสร้าง “มาตรฐานใหม่” ให้กับแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการภายในของธุรกิจจะช่วยให้แบรนด์เข้มแข็ง และยืดหยุ่นพร้อมเคลื่อนที่ไปกับบริบทของสังคมที่ปรับเปลี่ยน

การพัฒนาอัตลักษณ์ในทั้ง 4 ระดับเป็นทั้งเครื่องมือที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ทำให้การพัฒนากระบวนการทางธุรกิจคมชัดและแม่นยำยิ่งขึ้น และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญเพื่อใช้ในการสื่อสารสร้างการรับรู้ที่โดดเด่นแตกต่างให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือผู้ซื้อของแบรนด์ นี่คือหัวใจของ “มาตรฐานใหม่” ที่แบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อพร้อมก้าวไปสู่ Next Normal

4. มาตรฐานใหม่ “เริ่มตรงไหน เส้นทางเป็นอย่างไร?”

ตอนที่ 4 เราแบ่งปันมุมมองที่จะช่วยให้การปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานใหม่ของแบรนด์ “แม่นยำและจับต้องได้” เพราะความเข้าใจในมาตรฐานใหม่อาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่การลงมือทำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อเริ่มลงมือทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง กับความแตกต่างของทั้งประเภทธุรกิจ และสถานการณ์ความมั่นคงแบรนด์ที่แตกต่างกัน

แบรนด์จะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร ทุนความเข้าใจที่แบรนด์จำเป็นต้องมีก่อนลงมือปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาไปสู่มาตรฐานใหม่มีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือ การที่แบรนด์จะต้องรู้สถานะที่เป็นจริงของธุรกิจของตนเอง และสถานะที่เป็นจริงของคู่แข่ง

โดยเปรียบเทียบธุรกิจของตนเองและคู่แข่งจากเงื่อนไขของระยะเวลาในการยืนระยะในตลาดมายาวนานอย่างไร แบรนด์ที่อยู่มานาน แบรนด์ที่เริ่มต้นได้ระยะหนึ่งและยังอยู่ในการแข่งขัน และแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้น แต่ละแบรนด์จะมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบที่แตกต่างกันไป มีจุดร่วมและจุดต่างที่ควรเน้นเพื่อการพัฒนาไปสู่มาตรฐานใหม่ที่อาจใกล้เคียงหรือต่างกันออกไป

เช่น การรับรู้จดจำในแบรนด์ โอกาสและความได้เปรียบในด้านโครงสร้างและการบริหาร ประสบการณ์และความเข้าใจในธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ การ “รู้เขารู้เรา” จะช่วยแบรนด์ให้เริ่มต้นได้ตรงจุดถูกที่ พัฒนาอย่างมีทิศทาง เพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งและเข้าถึงผู้ซื้อของตนได้อย่างแม่นยำ

ความเข้าใจข้อที่ 2 ที่แบรนด์ควรมีก่อนการพัฒนาคือ การรู้จักและเข้าใจวัฏจักรที่สำคัญของการพัฒนาธุรกิจ เข้าใจกฏหรือธรรมชาติของสร้างรายได้จากการนำเสนอสินค้าหรือบริการให้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย 4 ช่วงๆ แรกที่อาจขายได้ดีเกินคาด ช่วงที่ 2 ที่ยอดตกลงรวดเร็ว ช่วงที่ 3 ที่ยอดคงที่ และสุดท้ายช่วงที่ 4 ที่ยอดจะตกลงเรื่อยๆ จนไม่คุ้มต้นทุนการผลิต และถอยหลังออกไปสู่ภาพที่ใหญ่ขึ้นของวัฏจักรการเติบโต ที่เรียกว่า S-Curve

ในช่วงแรกของการเริ่มต้น ธุรกิจจะเติบโตเชื่องช้า ช่วงที่ 2 จะเติบโตก้าวกระโดด จากนั้นช่วงที่ 3 การเติบโตจะลดลงเรื่อยๆ และในช่วงที่ 4 การเติบโตจะกลายเป็นความถดถอย ความเข้าใจเหล่านี้จะเป็นเสมือนแผนที่ให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่มีประสบการณ์ได้เข้าใจ และสามารถเตรียมการณ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ลดโอกาสความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดความเข้าใจในธรรมชาติเหล่านี้

ข้อที่ 3 ที่แบรนด์ควรมีก่อนการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกระบวนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านธุรกิจที่กำลังปรับเปลี่ยนไปสู่ Next Normal ซึ่งก็คือเนื้อหาในตอนที่ 1, 2 และ 3 อะไรคือ มาตรฐานถัดไปที่กำลังจะเกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้คนและสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร การปรับตัวของธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานถัดไปต้องพัฒนาด้านใดและอย่างไร

ความเข้าใจสถานะของธุรกิจ, วัฏจักรการพัฒนาและเข้าใจความหมายของมาตรฐานถัดไป จะเป็นหลักยึดที่มั่นคงให้กับการปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานใหม่ที่แบรนด์จะสามารถข้ามผ่านไปสู่ Next Normal ได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน

5. สื่อสารกับผู้ซื้ออย่างมีทิศทาง ควบคู่ไปกับการพัฒนาแบรนด์

ตอนที่ 5 การสื่อสารแบรนด์ที่แม่นยำเป็นกุญแจของความสำเร็จ ไม่มีช่วงเวลาไหนที่การสือสารของแบรนด์จะสำคัญเท่าสถานการณ์ปัจจุบันและจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นใน Next Normal เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของทุกแบรนด์ก็คือการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภค

ในขณะที่ช่องทางดิจิทัลกลายเป็นช่องทางหลักที่ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและหลากหลาย จำนวนแบรนด์ที่ชาญฉลาดเกิดขึ้นมากมายผลักดันให้ทุกแบรนด์เข้าสู่การแข่งขันในการสื่อสารแบรนด์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค การพัฒนาและปรับตัวของแบรนด์เพื่อให้อยู่รอดไม่เพียงพออีกต่อไป

แบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารคุณค่าของตนเองออกไปสู่ผู้บริโภคควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการสื่อสารนั้นไม่จำเป็นต้องรอผลสำเร็จของการพัฒนาแบรนด์ เมื่อมีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจและอัตลักษณ์ที่ตกผลึกแล้ว สามารถสื่อสารควบคู่ไปกับการพัฒนาแบรนด์ได้พร้อมกันไป

โดยประเด็นของการสื่อสารอาจแยกออกได้เป็น 2 ด้าน คือการสื่อสารคุณค่าของสินค้าหรือบริการ (Core Value) เป็นการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความโดดเด่นแตกต่าง เรื่องราวที่มาเบื้องหลัง ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าหรือบริการ

และด้านที่ 2 คือ สื่อสารตัวตนของแบรนด์ ทั้งในด้านบุคลิกภาพ มุมมอง ความมุ่งมั่นรับผิดชอบทั้งในด้านธุรกิจและการมีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาสังคมต่างๆ รวมไปถึงหลักคิดพื้นฐานในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่า การสื่อสารเหล่านี้เป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจและเข้าถึงคุณค่าของแบรนด์ แนวทางของการ ”สื่อสารแบรนด์” จึงมีลักษณะเฉพาะที่เน้นที่การสื่อสารด้วยข้อเท็จจริง สื่อสารไปสู่กลุ่มเฉพาะที่เป็นเป้าหมายของแบรนด์ เป็นการสื่อสารที่ต้องใช้เวลา สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้สึกร่วมกับแบรนด์ให้ได้ในท้ายที่สุด

เมื่อมีประเด็นในการสื่อสารที่หลากหลาย การสื่อสารแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายของการสื่อสารทุกครั้ง ควบคู่ไปกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารที่ชัดเจนในครั้งนั้นๆ เพื่อสร้างชุดข้อความ (Key Message) ที่เหมาะสมกับผู้รับสาร

ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องมีกลยุทธ์หลัก (Brand Communication Strategy) เพื่อควบคุมแนวทางในการสื่อสารทุกๆ ครั้งให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียดลึกซึ้งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะจะทำให้แบรนด์สามารถกำหนดทั้งเนื้อหา, รูปแบบและช่องทางในการสื่อสารที่เหมาะสม

ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และนี่คือกุญแจดอกสุดท้ายของความสำเร็จ เพราะเมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อความที่ตรงกับบุคลิกและความสนใจของเขาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นความเข้าใจ สนใจ สุดท้ายเขาก็จะต้องการทดลอง “ซื้อ” และถ้าแบรนด์สามารถพัฒนาคุณภาพของสินค้าหรือบริการ รวมถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างและสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ก็จะเกิดเป็นการยอมรับ ชื่นชม เชื่อมั่นและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้ซื้อของแบรนด์

6. สื่อสารให้โดนใจ อาจง่ายกว่าที่คิด ถ้าเข้าใจจิตวิทยาเชิงลึกพฤติกรรมผู้ซื้อ

ตอนที่ 6 แบ่งปันความคิดหัวใจในการสื่อสาร ที่นักสื่อสาร นักการตลาด ผู้ผลิตคอนเทนต์ หรือผู้ประกอบการอาจตั้งคำถามว่า “อะไรคือหัวใจของเนื้อหาในการสื่อสารที่จะจับใจหรือโดนใจผู้ซื้อได้จริง” เพราะพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปของผู้บริโภค ช่องทางออนไลน์ที่มากมายหลากหลาย จำนวนเนื้อหามหาศาลที่ถาโถมอยู่ในโซเชียลมีเดีย อะไรที่จะสร้างความแตกต่างที่สามารถดึงความสนใจ เพื่อให้แบรนด์สามารถสื่อสารคุณค่าของตนเองไปถึงผู้ซื้อได้

คำตอบก็คือ “การใช้หลักจิตวิทยาในการวิเคราะห์ความต้องการของบุคคล” จะช่วยให้เราเข้าใจและสร้างเนื้อหาที่โดนใจผู้ซื้อได้ ซึ่งที่จริงแนวทางนี้ถูกใช้มานานแล้วในการสื่อสารการตลาดของแบรนด์ขนาดใหญ่ต่างๆ และทุกวันนี้ก็ใช้เป็นหลักอย่างละเอียดซับซ้อนมากเกินกว่าที่หลายคนจะจินตนาการได้ด้วยซ้ำไป (สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องนี้อาจลองดูสารคดีจาก Netflix เรื่อง Social Dilemma จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น) ทำไมจิตวิทยายังคงถูกนำมาใช้กับการสื่อสารอยู่อย่างต่อเนื่อง

เป็นเพราะ “Tool Change, Human remain the Same” เทคโนโลยี, เครื่องมือ และช่องทางอาจเปลี่ยนไปแต่ความต้องการของผู้คนยังคงเป็นเช่นเดิม มนุษย์ยังคงมีความต้องการพื้นฐานมาจากกายภาพ การเรียนรู้ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม สังคมและยุคสมัย การนำทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมความต้องการของมนุษย์มาประยุกต์ใช้ จะทำให้การสร้างเนื้อหามีความคมชัดยิ่งขึ้น

เช่น ทฤษฎี “ลำดับชั้นความต้องการ” ของมาสโลว์ที่ทำให้เราเห็นภาพความต้องการพื้นฐานของผู้คน, ความต้องการที่เป็นผลมาจากสังคมไปจนกระทั่งถึงความต้องการบรรลุตัวตนที่สมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ความต้องการเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับการสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างสอดคล้องและแม่นยำ

ทั้งหมดนี้คือหัวใจที่ช่วยให้การสื่อสารแบรนด์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักผู้ซื้ออย่างชัดเจน การเลือกรูปแบบและช่องทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย เป็นพื้นฐานที่จำเป็นในขั้นต้น แต่การสามารถสร้างแรงจูงใจโดยเข้าใจความต้องการของผู้ซื้อที่แม่นยำ จะช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้ตรงใจ ตรงความต้องการของผู้ซื้อ นั่นคือเป้าหมายและความสำเร็จในการสื่อสารแบรนด์

“นี่คือเนื้อหาทั้งหมดของ Series : Branding is Essential แบรนดิ้ง ทางรอดที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ

เนื้อหา, มุมมองและข้อมูลต่างๆ ที่แบ่งปันทั้งหมด มุ่งเน้นให้แบรนด์ นักการตลาด นักสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) ได้มีโอกาสเข้าถึงชุดความคิดและองค์ความรู้ในการสร้างและพัฒนาแบรนด์ต่างๆ ที่เหมาะสมถูกต้องและเป็นธรรม

เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างปลอดภัย เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน เพื่อเป็นฐานให้กับระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทั้งในด้านรายได้และสถานภาพทางสังคมของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขมวลรวมที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตของสังคมไทย (สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหาในรายละเอียดของแต่ละตอนสามารถติดตามได้จาก positioningmag.com และที่ essential.co.th)

10 ข้อคิด (ปิดท้าย) เพื่อการสื่อสารและพัฒนาแบรนด์

การสื่อสารแบรนด์

  1. ประโยชน์ของผู้ซื้อเป็นศูนย์กลางเสมอในการสื่อสารและการพัฒนา
  2. การให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงอย่างเปิดเผยทุกด้าน คือหัวใจของการขาย
  3. พูดในสิ่งที่ผู้ซื้ออยากได้ยิน และต้องเป็นความจริง
  4. อธิบายข้อจำกัดของตนเองได้ไม่จำเป็นต้องปิดบัง พร้อมนำเสนอประโยชน์ทดแทนข้อจำกัดนั้นๆ
  5. การสื่อสารที่ดีต้องเป็นไปควบคู่กับการให้บริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ซื้อเสมอ

การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์

  1. เปิดเผยตัวตนของแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่า คุณคือใคร
  2. สื่อสารหลักคิดของธุรกิจ และประยุกต์แนวทางนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ซื้อ
  3. ทำในสิ่งที่ดี ทุกๆ คนตอบรับความดี
  4. สร้างความร่วมมือ แบ่งปันประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของคุณต่อสังคม
  5. พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมและโลกที่ดีขึ้น

ขอบคุณสำหรับการติดตามและหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากเนื้อหาทั้งหมดเหล่านี้ครับ

]]>
1307083
Understanding Consumer’s Deep Behavior เข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค หัวใจของการพัฒนาแบรนด์ https://positioningmag.com/1301038 Sun, 11 Oct 2020 14:04:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301038

สนใจติดตามรับฟัง Podcast ได้ :  SPOTIFY, SOUNDCLOUD, APPLE PODCAST, YOUTUBE

กระบวนการทางสังคม, เครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่เปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมของผู้ซื้อปรับเปลี่ยนไปสู่มาตรฐานใหม่เราจะแบ่งปันมุมมองเพื่อเข้าถึงพฤติกรรมในเชิงลึกของผู้บริโภค วิเคราะห์ที่มาของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เพื่อให้แบรนด์สามารถพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์, บริการ รวมถึงสามารถสร้างเนื้อหาและสื่อสารได้แม่นยำเพื่อเข้าถึงผู้ซื้อของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามได้ในเนื้อหาของตอนนี้

ตอนที่แล้ว เรานำเสนอเรื่องของการสื่อสารซึ่งเน้นที่ตัวแบรนด์หรือผู้ประกอบการ ว่าต้องมีหลักคิดอย่างไรในการสร้างการสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจสำคัญในเรื่องนี้ คือการที่แบรนด์จำเป็นจะต้องเข้าใจความต้องการ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้ซื้อของตนอย่างชัดเจน เพื่อที่จะสามารถสร้างแนวทางการสื่อสาร นำเสนอเนื้อหาได้ตรงตามลักษณะต่างๆ ของผู้ซื้อได้อย่างแม่นยำ

ความเข้าใจตัวตนของผู้ซื้อจากการวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง และยังช่วยเพิ่มความชัดเจนแม่นยำในการพัฒนาแบรนด์ไปด้วยขณะเดียวกัน ซึ่งวิธีการนี้แบรนด์ และองค์กรใหญ่ๆ ต่างก็ใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนงานด้านการตลาด และการสื่อสารกันมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Micro SMEs ต่างๆ สามารถนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจได้ในแทบทุกด้าน โดยเริ่มต้นจากกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจน ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญคือ กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจนั้นมีกี่กลุ่ม เป็นกลุ่มหลักและกลุ่มรองอย่างไร มีจำนวนมากหรือน้อยเท่าไร

อันดับต่อไปที่ต้องทำความเข้าใจคือ ในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มเดียวก็จะมีบุคลิกภาพ, ความต้องการ และพฤติกรรมย่อยที่หลากหลาย การรู้ถึงบุคลิกภาพจะช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารได้อย่างหลากหลายตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งไปกว่านั้นการรู้ถึงที่มาของบุคลิกภาพก็จะยิ่งช่วยให้แบรนด์นำเสนอเนื้อหาที่เข้าถึงได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น การสื่อสารแบบที่พูดเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ นอกจากจะทำให้ความสนใจลดลงแล้ว อาจส่งผลให้กลายความเบื่อหน่าย ทำให้ถูกเพิกเฉยและอาจปิดการรับรู้ไปในท้ายที่สุด ซึ่งไม่เป็นผลดีกับแบรนด์

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างเกินไป หรือมีจำนวนหลายกลุ่มมาก หรือเป็นกลุ่มเป้าหมายมีขนาดที่ใหญ่มาก จะทำให้การวิเคราะห์ที่มาของพฤติกรรม และบุคลิกภาพยิ่งยาก และซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบจิตวิทยามวลชน แทน ซึ่งมีกระบวนการและแนวทางที่แตกต่างออกไป เป็นการจัดกลุ่มบุคลิกภาพโดยคัดกรองมวลชนออกเป็นกลุ่มย่อยให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ อาจจำเป็นสำหรับบางธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายใหญ่มากจริงๆ แต่โดยมากมักใช้กับโครงการรณรงค์ด้านสังคมการเมืองต่างๆ มากกว่า 

Mark Zuckerberg ขึ้นให้การต่อสภาคองเกรสในสหรัฐอเมริกา กรณี Cambridge Analytica นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปใช้ประโยชน์ในโฆษณาทางการเมือง (photo: MARTINEZ MONSIVAIS / wired.com)

หลักในการวิเคราะห์บุคลิกภาพแบบจิตวิทยามวลชน มีอยู่หลายแนวทาง และถูกใช้เพื่อการสื่อสารกับมวลชนมานานแล้ว ในปัจจุบันก็มีการนำมาใช้ร่วมกับข้อมูล และเครื่องมือดิจิทัลที่เรียกันว่า Data Science จากฐานข้อมูล Big Data ที่กระจายอยู่ทั่วไปในสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น

ในกรณีอื้อฉาวของบริษัท Cambridge Analytica ที่ใช้ข้อมูลจากสื่อ Social Network ทั้ง Facebook, Twitter, Google, Pandora และอื่นๆ ในการวิเคราะห์บุคลิกภาพ และความต้องการของผู้คนในรัฐต่างๆ ของอเมริกา เพื่อสร้างเป็นโครงการรณรงค์ในการสร้างคะแนนนิยมให้กับโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงของการหาเสียงเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2014-2016 จนกระทั่งทรัมป์ชนะการเลือกตั้งและได้เข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2017

บุคลิกภาพ 5 อย่าง หรือBig 5 Personalityเป็นหนึ่งในรูปแบบการวิเคราะห์ที่ได้รับความนิยม และกล่าวถึงกันมากในการนำมาประยุต์ใช้เพื่อเข้าถึงความต้องการของมวลชนในด้านต่างๆ มีรหัสย่อว่า OCEAN ซึ่งมาจากตัวอักษรตัวแรกของบุคลิกทั้ง 5 ด้านของการวิเคราะห์

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)
  • ด้านแรกคือOpenness หรือการเปิดรับประสบการณ์ใหม่วิเคราะห์ถึงน้ำหนักหรือความโน้มเอียงของกลุ่มเป้าหมายจากแกนของบุคลิก 2 ขั้ว คือ ขั้วที่ชอบการคิดค้น ใคร่รู้ หรือขั้วของการอยู่ในกรอบ ระแวดระวัง
  • ด้านที่ 2 “Conscientiousness หรือการมีหลักคิดในการพิจารณาวิเคราะห์ระหว่างความมีหลักคิดที่ยึดโยงอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ กับ ลักษณะที่ปรับเปลี่ยนไปมา เน้นที่ตนเองเป็นศูนย์กลาง
  • ด้านที่ 3 “Extroversion บุคลิกต่อสังคมวิเคราะห์ระหว่างบุคลิกแบบเปิดเผย กระตือรือร้นในการเข้าสังคม กับ สันโดษ สงบเสงี่ยม
  • ด้านที่ 4 “Agreeableness การปฏิบัติต่อผู้คนวิเคราะห์ระหว่างบุคลิกที่เป็นมิตร เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น กับ ชอบการปะทะ ชอบการแข่งขันและคิดต่าง
  • ด้านที่ 5 “Neuroticism หรือความมั่นคงด้านอารมณ์  วิเคราะห์ระหว่างความอ่อนไหวตื่นตระหนกง่ายกับราบเรียบมั่นคง

บุคลิกภาพทั้ง 5 ด้านนี้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการวิเคราะห์เพื่อแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ แต่ก็มีนักวิเคราะห์หลายส่วนที่เห็นว่ายังขาดด้านที่สำคัญ และเพิ่มอีกด้านหนึ่งเข้าไปร่วมใช้ในการวิเคราะห์ด้วยก็คือ ด้านที่ 6 “Honesty-Humility หรือการมีคุณธรรมและจริยธรรมคือการวิเคราะห์บุคลิกระหว่างด้านที่มีความซื่อสัตย์ อ่อนน้อม ไม่โอ้อวด กับ ด้านที่มีลักษณะหลอกลวง หน้าไหว้หลังหลอก ละโมบ เอาเปรียบ การเพิ่มด้านที่ 6 เข้าไปในการวิเคราะห์จะเรียกรูปแบบนี้ว่า HEXACO ซึ่งมาจากตัวอักษรแรกของด้านทั้ง 6 ในการวิเคราะห์ เช่นเดียวกัน

ข้อมูลของบุคลิกภาพทั้ง 5 หรือ 6 ด้านนี้ ปัจจุบันถูกดึงมาจากข้อมูลส่วนบุคคลของการใช้งานเครื่องมือดิจิทัล และสื่อ Social Media ต่างๆ นี่เป็นจึงเป็นเหตุผลที่ทุกคนควรใช้เครื่องมือดิจิทัลและ Social Media อย่างเหมาะสมระมัดระวัง โดยเฉพาะการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เพราะการปล่อยปละละเลยเพียงเล็กน้อยจะเปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย แล้วนำผลการวิเคราะห์กลับมาใช้กับผู้บริโภคและสังคมในการโน้มน้าวสร้างแรงจูงใจ หรืออาจไปไกลถึงการยัดเยียด, บิดเบือนเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านสังคม, การเมืองและธุรกิจต่างๆ

การวิเคราะห์บุคลิกภาพแบบ OCEAN และ HEXACO นั้นมีลักษณะเป็นการระบุค่าบนตำแหน่งของแกนแต่ละด้านที่มีตัวแปรเป็นคู่ในด้านที่ต่างกัน หรือที่เรียกว่า Binary เหมาะกับการวิเคราะห์เชิงลึก การนำมาประยุกต์ใช้งานจึงยุ่งยากและซับซ้อน เกินความจำเป็นสำหรับธุรกิจทั่วไปโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้เพียงแค่หลักจิตวิทยาพื้นฐานก็เพียงพอแล้ว ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเพื่อการสื่อสารและพัฒนาแบรนด์

แนวคิดจิตวิทยาพื้นฐานและการวิเคราะห์บุคลิกภาพของบุคคลจะมีโครงสร้างคล้ายๆ กัน ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พฤติกรรมส่วนแรกที่มาจากสัญชาตญาณ และบุคลิกที่ติดตัวมาแต่กำเนิดผ่านทางพันธุกรรม ส่วนที่ 2 คือพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากตัวตนผสมการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม และส่วนที่ 3 คือพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของสังคมยุคสมัย

ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่อธิบายเรื่อง Id, ego, Super-ego จิตสำนึก จิตก่อนสำนึก จิตไร้สำนึก ต่างๆ หรือทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory) ของอัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) ที่อธิบายพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการเลียนแบบสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการของมนุษย์ (A Theory of Human Motivation) ของอับบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ที่อธิบายความต้องการ 5 ระดับของบุคคลจากพื้นฐานทางกายภาพไปจนถึงความต้องการเติมเต็มในความสมบูรณ์ด้านจิตใจของมนุษย์

สิ่งที่มาสโลว์อธิบายดูจะเหมาะสมกับการพัฒนาแบรนด์ และการทำความเข้าใจบุคลิกภาพเพื่อการสื่อสารแบรนด์ได้อย่างลงตัวมากที่สุด มาสโลว์อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอไม่สิ้นสุดเริ่มจากระดับที่ 1 ไปจนถึง 5 และเมื่อความต้องการในระดับใดได้รับการตอบสนองแล้วก็จะก้าวไปสู่ความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไป โดยที่ความต้องการในระดับเดิมจะไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้อีกต่อไป ความต้องการ 5 ระดับ เริ่มจาก

  • ระดับ 1 Physiological Needs คือความต้องการทางกายภาพ เช่นต้องการอาหารเสื้อผ้ารองเท้า
  • ระดับ 2 Safety Needs ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น สุขภาพที่ดี การมีอาชีพ รายได้ที่มั่นคง
  • ระดับ 3 Belonging and love, Social Needs ความต้องการด้านทรัพย์สิน ความรัก ครอบครัว การมีบทบาทตัวตนในสังคม
  • ระดับ 4 Esteem Needs ความต้องการการเคารพนับถือ การยกย่อง การยอมรับ สร้างความภาคภูมิใจ
  • ระดับ 5 Self-Actualization Needs ความต้องการมีตัวตนที่สมบูรณ์ สร้างความสุข ความอิ่มเอมใจในแนวทางที่เติมเต็มด้านจิตใจของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีนี้ถูกนำไปใช้ประกอบการพัฒนางานการตลาดอย่างแพร่หลาย  ผู้ประกอบการ SMEs และธุรกิจทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ได้ทั้งการพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ บริการ ตัวตนและภาพลักษณ์ของแบรนด์

ยกตัวอย่าง สินค้ารองเท้า โดยพื้นฐานแล้วคุณค่าของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ระดับ 1 คือ ใส่แล้วสบาย เดินไม่เจ็บเท้า แต่สามารถเพิ่มคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไปได้ในทุกระดับ การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือวัสดุรีไซเคิล ช่วยเพิ่มการตอบสนองความต้องการในระดับที่ 2 คือความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาด้านการออกแบบสร้างคุณค่าจากตัวตนที่โดดเด่นของแบรนด์รองเท้า ช่วยตอบสนองความต้องการในระดับที่ 3 และ 4 คือ ผู้ซื้อรู้สึกดีที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของและคนรอบข้างก็ชื่นชม สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ซื้อ

และกรณีรองเท้า Toms ที่มีปรัชญาในการทำธุรกิจเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการแบ่งปันรองเท้า 1 คู่ให้กับผู้ด้อยโอกาสทุกครั้งที่รองเท้าขายได้ 1 คู่ ที่ Toms เรียกแนวคิดนี้ว่า “One for One” ปรัชญาธุรกิจนี้ตอบสนองความต้องการในระดับที่ 5 คือ ผู้ซื้อรองเท้า Toms สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยความรู้สึกอิ่มเอมใจที่ได้ทำสิ่งที่ดีเติมเต็มความสุขในการผู้ให้

ธุรกิจ และผู้ประกอบการต่างๆ สามารถใช้ลำดับชั้นความต้องการนี้ เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณค่าสินค้าและบริการรวมถึงตัวตนของแบรนด์ เพื่อให้ตรงกับพฤติกรรมความต้องการของผู้ซื้อได้เช่นเดียวกัน จุดที่น่าสังเกตก็คือ ความต้องการในระดับที่ 1 และ 2 จะตรงกับคุณค่าพื้นฐานของสินค้าและบริการ

ในขณะที่ความต้องการในระดับที่ 3, 4 และ 5 ตรงกับการสร้างคุณค่าเพิ่มและตัวตนที่โดดเด่นของสินค้าหรือบริการ อาจจะมีความต้องการในระดับที่ 2 คือความมั่นคงปลอดภัยเท่านั้นที่คาบเกี่ยวเป็นได้ระหว่างทั้งคุณค่าพื้นฐานของผลิตภัณฑ์และมูลค่าเพิ่มของสินค้า โจทย์ที่สำคัญของผู้ประกอบการและนักการตลาด ก็คือ ต้องรู้อย่างชัดเจนว่าสินค้าและบริการของตนอยู่ในความต้องการระดับใดของผู้ซื้อ และจะสามารถพัฒนาคุณค่าของตัวตนเพิ่มเติมให้ตรงกับการต้องการในระดับอื่นๆ ที่สูงขึ้นไปของผู้ซื้อได้อย่างไร

เมื่อผู้ประกอบการรู้ถึงความต้องการในระดับทั้ง 5 ของผู้ซื้อแล้ว และสามารถพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการในระดับต่างๆ ของผู้ซื้อได้อย่างหลากหลาย การสร้างเนื้อหาและการสื่อสารคุณค่าเหล่านี้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของปัญหาในการสร้างเนื้อหาและการสื่อสารก็คือ แบรนด์เองที่ไม่สามารถสร้างประเด็นที่หลากหลายในการสื่อสารได้

ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการที่แบรนด์ไม่ได้สร้างคุณค่าที่หลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมทั้งตัวตนของธุรกิจ (รายละเอียดการพัฒนาตัวตนด้านต่างๆ ของแบรนด์ในเนื้อหาตอนที่ 3) และนั่นเป็นเพราะแบรนด์ไม่มีแนวทาง และไม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือตัวตนอย่างชัดเจน นี่จึงเป็นสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาในการพัฒนาและการสื่อสารแบรนด์ที่ธุรกิจและผู้ประกอบการควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญ

“Tools Change, Human remain the Same” วันนี้พฤติกรรมของผู้ซื้อ เปลี่ยนไปสู่มาตรฐานใหม่แล้วพฤติกรรมในการเข้าถึงข้อมูลเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารเพื่อเข้าถึงข้อมูลเปลี่ยนมุมมองการตัดสินใจซื้อ เปลี่ยน แต่สิ่งที่ยังคงเหมือนเดิมเสมอไม่เปลี่ยนแปลงไปก็คือความต้องการของผู้คน ผู้ซื้อยังคงมีความต้องการในระดับต่างๆ ไม่ต่างไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต และจะไม่ต่างไปจากนี้เช่นเดียวกันในอนาคต

จิตวิทยาพื้นฐานที่สามารถสร้างความเข้าใจในที่มาของพฤติกรรม, บุคลิกภาพ และความต้องการต่างๆ ของผู้คนจึงถูกใช้มาอย่างยาวนานในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในวันนี้ที่การพัฒนาองค์ความรู้ และการใช้เครื่องมือดิจิทัลมีความพร้อม สะดวก และง่ายสำหรับผู้ประกอบการ

การสร้างความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ซื้อเพื่อการพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ บริการและตัวตนที่โดดเด่น จะช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ซื้อได้อย่างแม่นยำ และนี่อาจเป็นทั้งทางรอดในปัจจุบันและโอกาสของการเติบโตที่สำคัญของธุรกิจใน Next Normal ที่กำลังรอเราอยู่ในอนาคตอันใกล้นี้

ตอนหน้า ตอนที่ 7 เป็นตอนสุดท้ายของ Series “New Normal, Next Normal Branding is Essential” หรือแบรนดิ้ง ทางรอดที่สำคัญที่สุดของธุรกิจตลอดการเดินทางของทั้ง 6 ตอนที่ผ่านมา ในตอนที่ 7 จะเป็นบทสรุปสำคัญของทุกภาพจากทั้ง 6 ตอนที่เกาะเกี่ยวสัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพใหญ่ที่ชัดเจนและเป็นที่มาที่สำคัญเบื้องหลังของประโยคนี้ “Branding is Essential” ติดตามได้ในตอนหน้า ตอนสุดท้ายของซีรีส์นี้ครับ

ข้อมูลประกอบ

  1. https://www.simplypsychology.org/big-five-personality.html
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/ซีคมุนท์_ฟร็อยท์
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Id,_ego_and_super-ego
  4. https://albertbandura.com
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Abraham_Maslow
  6. https://medium.com/chaostheoryblog/ocean-personality-model-fbebc7920d8b
  7. https://towardsdatascience.com/a-data-science-approach-to-personality-models-d3c7e18a377
  8. https://en.wikipedia.org/wiki/HEXACO_model_of_personality_structure
  9. https://www.nytimes.com/2018/04/04/us/politics/cambridge-analytica-scandal-fallout.html
  10. https://www.theguardian.com/uk-news/2018/mar/23/leaked-cambridge-analyticas-blueprint-for-trump-victory
]]>
1301038
Brand Communication for Next Normal สื่อสารแบรนด์อย่างไรให้ตรงกับ Next Normal https://positioningmag.com/1296700 Sun, 13 Sep 2020 16:19:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296700

สนใจรับฟัง Podcast ได้ :  SPOTIFY, SOUNDCLOUD, APPLE PODCAST, YOUTUBE

เมื่อพฤติกรรมของผู้ซื้อเปลี่ยนไปสู่มาตรฐานใหม่ แบรนด์ต้องพัฒนาเทคนิค และวิธีการสื่อสารที่สามารถสร้างทั้งความน่าสนใจ นำเสนอคุณค่า ดึงดูดและสื่อสารเป้าหมาย รวมถึงตัวตนที่แตกต่าง สอดคล้องไปกับพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานใหม่ของผู้ซื้อให้ได้อย่างเหมาะสม นี่คือกุญแจของความสำเร็จที่เราจะแบ่งปันมุมมองกันในเนื้อหาของตอนนี้

“Content is King” เป็นประโยคที่คุ้นหู บางข้อมูลบอกว่าคนที่ใช้และสื่อสารประโยคนี้คนแรก ก็คือ บิล เกตส์ โดยใช้เป็นหัวเรื่องของบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ในปี ค.ศ. 1996 บางข้อมูลคัดค้านว่าไม่ใช่ เพราะเคยมีการใช้ประโยคนี้มาก่อนนานแล้วและเป็นการใช้ในความหมายอื่นที่ต่างออกไป ประเด็นที่เราให้ความสำคัญก็คือ ความหมายของประโยคนี้ที่ บิล เกตส์ และอีกหลายๆ คนใช้สื่อถึงอะไร?

ก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะพัฒนาและเติบโตอย่างในวันนี้ สื่อหลักมีเพียง วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ เท่านั้น และแต่ละสื่อก็มีจำนวนไม่มาก การผลิตจำกัดอยู่ในวงผู้ผลิตสื่อมืออาชีพเฉพาะด้านเท่านั้น เพราะเครื่องมือที่มีราคาแพงและขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ละเอียดซับซ้อน

คอนเทนต์ต่างๆ จึงมีจำนวนไม่มาก และไม่ได้หลากหลายเหมือนทุกวันนี้ เมื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเครื่องมือดิจิทัลที่ใช้ในการผลิตราคาเริ่มถูกลงมาก หลายคนจึงมองเห็นอนาคตว่า จะมีจำนวนเนื้อหาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมากมายมหาศาลพร้อมๆ กับช่องทางการสื่อสารใหม่อีกมากมายด้วยพลังของอินเทอร์เน็ต

ในทะเลที่กว้างใหญ่ของเนื้อหาเหล่านี้ “Content is King” จึงหมายถึง “เนื้อหา (ที่ดึงดูดและน่าสนใจ) เท่านั้นที่จะเป็นหัวใจของความสำเร็จ” ซึ่งก็เป็นจริง และเกิดขึ้นแล้วในวันนี้ ถ้าเราสังเกตก็จะเห็นว่า เนื้อหาที่โดดเด่น และน่าสนใจนั้นเกิดขึ้นจากใครก็ได้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้ผลิตมืออาชีพที่ใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานสูงอีกต่อไป แค่มือถือก็ทำได้แล้ว

เนื้อหาที่น่าสนใจเหล่านี้ถูกส่งต่อผ่านช่องทางออนไลน์ทำให้เกิดการเข้าถึงอย่างรวดเร็ว แม้แต่สื่อหลักอย่างสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบันก็นำเสนอเนื้อหาเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว

ที่ยกตัวอย่างเรื่อง “Content is King” ก็เพื่อแบ่งปันมุมมองให้เราเห็นถึงความสำคัญของ “เนื้อหา” ในปัจจุบันว่ามีความสำคัญมากขนาดไหน การสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดและน่าสนใจอาจทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าถอยออกมามองในภาพที่ใหญ่ขึ้นของสร้างการเนื้อหาเพื่อการสื่อสารแบรนด์

การผสมผสานวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายทางธุรกิจเข้าไปในเนื้อหา โดยยังคงความน่าสนใจของเนื้อหาเอาไว้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง กลายเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของประโยคที่เริ่มพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ที่ว่า “Communication is King” ซึ่งหมายถึง “การสื่อสาร (ที่มีประสิทธิภาพ) เท่านั้นที่จะเป็นหัวใจของความสำเร็จ”

Content is King ยังคงเป็นจริงแต่ไม่เพียงพออีกต่อไป ด้วยเนื้อหาจำนวนมหาศาลที่ถูกปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง กระจัดกระจาย แต่ละชิ้นต่างก็พยายามสร้างความโดดเด่น แตกต่าง เรียกร้องความสนใจจากผู้คน การกำหนดเทคนิค และวิธีการในการสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และผลักดันให้เกิดผลตามความคาดหวัง

Communication is King จึงสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ได้น้อยไปกว่าความสำคัญของคอนเทนต์ ในด้านของการพัฒนาแบรนด์ ประโยคนี้จึงหมายถึง “การสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ” นั่นคือ การพัฒนาเทคนิค และวิธีการสื่อสารแบรนด์ที่สามารถสร้างทั้งความน่าสนใจ ดึงดูด และสื่อสารเป้าหมายรวมถึงตัวตนของแบรนด์ที่แตกต่าง และสอดคล้องไปกับพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานใหม่ของผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสม นี่คือกุญแจความสำเร็จของธุรกิจ

Brand Commnication หรือ “การสื่อสารแบรนด์” แตกต่างอย่างไรกับการโฆษณา การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เพื่อให้แบรนด์ และธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SME เข้าใจได้แม่นยำ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง เราอาจเทียบเคียงการสื่อสารแบรนด์กับการสื่อสารอื่นๆ โดยเปรียบเทียบด้วย

เป้าหมายของการสื่อสาร ข้อมูลของเรื่อง ระยะเวลา และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย โฆษณานั้นเป้าหมายต้องการสร้างความจดจำผลักดันให้ผู้ซื้อเชื่อมั่น และตัดสินซื้อ ข้อมูลเนื้อหาจึงต้องการความหวือหวาเพิ่มเติมให้น่าสนใจ ใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งไม่ได้ต่อเนื่องยาวนานนัก กลุ่มเป้าหมายชัดเจนตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ส่วนการประชาสัมพันธ์เป้าหมายเพื่อเผยแพร่เนื้อหาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้ ไม่ต้องการการตอบสนองด้านใดที่ชัดเจน เน้นข้อมูลที่กระชับถูกต้องและแม่นยำ เผยแพร่ในระยะเวลาสั้นๆ สู่ผู้รับสารในวงกว้างและกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสารแบรนด์ เป้าหมายเพื่อสร้างการจดจำและความเข้าใจในคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ สร้างความเชื่อมั่นในตัวตนของธุรกิจ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อเท็จจริงด้านต่างๆ ที่คัดกรองและย่นย่อให้สื่อสารได้ง่ายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอเนื้อหาใช้เวลาต่อเนื่องและสม่ำเสมอสู่กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ

นี่คือภาพกว้างของการสื่อสารแบรนด์ หรือคำที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า “การสร้างการรับรู้ในแบรนด์” (Brand Awareness) ที่แสดงให้เห็นด้านที่แตกต่างจากการสื่อสารประเภทอื่นๆ มีประเด็นที่ผู้ประกอบการมักถามอยู่เสมอว่า การสร้างการรับรู้ในแบรนด์นั้นจำเป็นจริงหรือ การโฆษณาเพื่อสร้างยอดขายน่าจะสำคัญกว่าเพราะเห็นผลทันตา ซื้อโฆษณาเมื่อไหร่ได้ยอดขายก็เพิ่มขึ้นทันที การสร้างการรับรู้ในแบรนด์นั้นไม่เห็นผลอะไรชัดเจนเลย ทำไปเพื่ออะไร? (มีคำตอบอธิบายในรายละเอียดเรื่องนี้ในเนื้อหาตอนที่ 4)

ภาพจาก : pixabay

จะว่าไปก็เป็นอย่างนั้นจริงครับ ไม่จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ในแบรนด์ แค่โฆษณาก็เพียงพอแล้ว ที่จริงอาจไม่ต้องโฆษณาเลยก็ได้ ถ้าธุรกิจของคุณอยู่ใน 3 กลุ่มนี้ คือ

1. สินค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่คนจำนวนมากต้องใช้ และเป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งเลยหรือมีน้อยมาก เช่น รถยนต์เทสลา (Tesla) ซึ่งวันนี้เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้นแล้ว

2. เป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนสูง สามารถผลิตสินค้านวัตกรรมจำนวนมากขายในราคาถูก เพื่อสร้างกำไรจากการขายปริมาณมาก เมื่อขายหมดหรือยอดขายลดลงก็ผลิตสินค้าประเภทใหม่ออกขายทดแทน หมุนเวียนแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เช่น สินค้าประเภท Gadget ราคาถูกต่างๆ

3. ธุรกิจที่มีนวัตกรรมมีแผนงานที่ดี และมีเงินทุนพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ทดลองใช้งานฟรีอย่างต่อเนื่องยาวนานจนผู้บริโภคคุ้นชิน จากนั้นจึงสร้างช่องทางหารายได้จากส่วนประกอบต่างๆ ตามแผนธุรกิจ เช่น Google, Facebook, Lazada , TikTok ฯลฯ

Photo : Shutterstock

คำถามคือ ธุรกิจของคุณอยู่ใน 3 กลุ่มนี้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์เป็นสิ่งจำเป็น กระบวนของสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแล้ว (เนื้อหาละเอียดในตอนที่ 1) พฤติกรรมของผู้ซื้อเปลี่ยน (เนื้อหาละเอียดในตอนที่ 2) คู่แข่งมากขึ้น ฉลาดขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น (เนื้อหาละเอียดในตอนที่ 3)

จากเดิมที่ “การสื่อสารแบรนด์ = การสร้างการรับรู้ในแบรนด์”

ในวันนี้แทบพูดได้เลยว่า “การสื่อสารแบรนด์ = การขาย” เพราะวันนี้ผู้บริโภค “ซื้อ” จากคุณค่าของประโยชน์การใช้ และความคิดความรู้สึกหรือความพึงพอใจ

เรื่องแรกที่เป็นพื้นฐานที่แบรนด์หรือผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เพื่อการสื่อสารแบรนด์ ก็คือ ผู้ซื้อของแบรนด์คือใคร? นอกจากอายุ, เพศและสถานภาพต่างๆ (Demographic) แล้วสถานที่หรือตำแหน่งของผู้ซื้ออยู่ที่ไหน (Geographic) เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเสมอ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ซื้อของแบรนด์มีพฤติกรรมความชอบมุมมองและสนใจในเรื่องอะไร อย่างไร (Psychographic) ความเข้าใจในผู้ซื้อที่ถ่องแท้ จะเป็นกลไกที่สำคัญต่อการสร้างและนำเสนอเนื้อหาที่แม่นยำต่อผู้ซื้อ

โดยทั่วไปผู้ซื้อตัดสินใจ “ซื้อ” จากเงื่อนไข 2 ด้าน ก็คือ ประโยชน์การใช้ (Functional) และความคิด ความรู้สึกหรือความพึงพอใจ (Emotional) แบรนด์จึงต้องสื่อสารทั้ง 2 ด้านให้ตรงกับเงื่อนไขในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ในด้านประโยชน์ในการใช้สอย

แบรนด์ต้องสื่อสารคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ที่มาเบื้องหลังของคุณค่าเหล่านั้น ความโดดเด่นและแตกต่างเพื่อให้ตรงกับความต้องรับรู้ของผู้ซื้อ ในด้านความคิด ความรู้สึกและความพึงพอใจ แบรนด์ต้องสื่อสารบุคลิก แนวคิด ตัวตน การแสดงความร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่างๆ ที่เหมาะสม

หลักการหรือปรัชญาการขับเคลื่อนธุรกิจ (ถ้าธุรกิจยังไม่มีข้อมูลเหล่านี้หรือมีแต่ยังไม่ชัดเจนควรพัฒนาตัวตนเหล่านี้ มีคำอธิบายเนื้อหาละเอียดในเนื้อหา ตอนที่ 3) เพื่อให้ตรงกับความต้องการรับรู้ของผู้ซื้อในด้านตัวตนของแบรนด์ การสื่อสารทั้ง 2 ด้านนี้แบรนด์หรือผู้ประกอบการสามารถกำหนดสัดส่วนมากน้อยได้ตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจ ประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการ ยกตัวอย่าง เช่น

ในธุรกิจประเภทประกันชีวิต เนื้อหาด้านประโยชน์จากการประกันอาจคล้ายคลึงกับคู่แข่งในตลาด ไม่ได้มีประเด็นอะไรที่โดดเด่น บริษัทประกันชีวิตจึงมักนำเสนอสื่อในด้านความรู้สึก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ซื้อเห็นถึงโอกาสของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ความจำเป็นที่ควร “ซื้อ” เพื่อประกันอนาคตให้กับคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด

ธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป (FMCG) เครื่องดื่มและน้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ต่างๆ สินค้าเหล่านี้มีคู่แข่งในตลาดสูง คุณภาพของสินค้าไม่แตกต่างกันมากแบรนด์จึงมักนำเสนอในด้านความสดใส สดชื่น ความสนุก ความตื่นเต้น ที่จะได้รับจากการใช้สินค้าเพื่อสร้างรสนิยม และการจดจำให้ตรงกับความชอบของผู้ซื้อทดแทนคุณภาพที่ทำให้โดดเด่นแตกต่างกันได้ยาก

หรือสินค้าประเภทแฟชั่นที่ทั้งประโยชน์ในการใช้งานและคุณภาพใกล้เคียงกันมาก ไม่มีความแตกต่างกันเลย แบรนด์แฟชั่นจึงเน้นที่การสื่อสารบุคลิกภาพ มุมมอง ตัวตนที่ชัดเจน เพื่อสร้างความแตกต่าง เป็นคุณค่าในด้านการสร้างความรู้สึกร่วมกับตัวตนของแบรนด์ให้กับผู้ซื้อ ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดี เช่น แบรนด์ Chanel, Gucci ฯลฯ

ตัวอย่างของการพัฒนาและสื่อสารแบรนด์ที่โดดเด่นชัดเจนมาก ก็คือ Nike ในด้านประโยชน์การใช้งานนั้น Nike พัฒนาและสื่อสารรูปแบบสินค้าที่หลากหลายทั้งด้านวัสดุ การออกแบบ แยกย่อยตามประเภทของผู้ซื้อ เช่น กีฬา, กิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ และการใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย

Nike ยังพัฒนาการให้บริการที่ผู้ซื้อสามารถออกแบบทั้งรูปแบบ และวัสดุแล้วสั่งผลิตเพื่อให้เป็นรองเท้าของคุณคนเดียวเท่านั้น (Customize) รวมถึงการร่วมมือกับแบรนด์สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง การผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มจำนวนจำกัดสื่อสารทั้งประโยชน์และการสร้างความรู้สึกร่วมในด้านรสนิยมที่โดดเด่น ด้านการสื่อสารบุคลิกภาพ ตัวตนและการมีส่วนร่วมต่อปัญหาของสังคม Nike สื่อสารตัวตนได้ชัดเจนและต่อเนื่อง ทั้งกรณีการสนับสนุน Tiger Woods, การต่อต้านการเหยียดสีผิวของ Colin Kaepernick และ George Floyd ทำให้ Nike เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงและมัดใจผู้ซื้อไว้ได้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องและมั่นคงมาอย่างยาวนานแม้กระทั่งในปัจจุบัน

ถ้าเราถอดรหัสการสื่อสารแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพก็จะพบว่า (ภาพประกอบ) การสื่อสารที่ดีเริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและแม่นยำ ถ้าเป็นไปได้ควรมีกลยุทธ์กำหนดการขับเคลื่อนในภาพใหญ่เพื่อให้เป้าหมายในการสื่อสารในครั้งนั้นๆ สอดรับไปกับกลยุทธ์หลัก

สิ่งที่สำคัญจำเป็นถัดมาที่ต้องรู้เสมอก็คือการสื่อสารนั้นมุ่งไปสู่ใคร (ที่จริงก็คือผู้ซื้อแต่ในหลายกรณีแบรนด์อาจมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มควรสรุปให้ชัดเจน) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และแม่นยำ (สถานภาพ, พื้นที่, ความสนใจ) จะทำให้เรารู้ว่าผู้ซื้อของเรารับสื่อผ่านช่องทางไหนและพฤติกรรมการรับสื่อในรูปแบบอย่างไร เพื่อให้เรากำหนดแนวทางของข้อความ (Key Message) และเนื้อหาต่างๆ ได้ตรงกับพฤติกรรมของผู้ซื้อ และตรงกับภาพลักษณ์ และบุคลิกตัวตนของแบรนด์ (Identities) ควบคู่กันไปด้วย

การสร้างเนื้อหาหรือคอนเทนต์ก็จะมีแนวทางที่ชัดเจนทั้งในด้านของข้อความ (Message) รูปแบบ (Format) และการเลือกช่องทาง (Channel)​ ในการสื่อสาร นี่เป็นวิธีการที่แบรนด์ซึ่งประสบความสำเร็จต่างก็ใช้เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการ SME และธุรกิจต่างๆ สามารถนำแนวทางการสื่อสารนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาแบรนด์ให้เกิดผลสำเร็จที่จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับธุรกิจ และเศรษฐกิจในภาพรวมของสังคมไปด้วยพร้อมๆ กัน

ตอนหน้า ตอนที่ 6 เราจะแบ่งปันมุมมองในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ซื้อในเชิงลึก (Understanding Consumer’s Deep Behavior) เพื่อให้แบรนด์และผู้ประกอบการเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และพัฒนาแบรนด์รวมถึงสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ “ผู้ซื้อ” เข้าถึงคุณค่าและตัวตนของแบรนด์ได้อย่างแม่นยำ ติดตามได้ในเนื้อหาของตอนหน้าครับ

ข้อมูลประกอบ

View at Medium.com

]]>
1296700