สภาพัฒน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Aug 2021 05:24:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525
สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% ฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ต้องเร่งคุมการระบาด https://positioningmag.com/1346823 Mon, 16 Aug 2021 05:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346823 สภาพัฒน์ฯ เเถลงจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% จากฐานที่ต่ำเเละอานิสงส์ส่งออก มองเศรษฐฏิจไทยยังไม่ถดถอยในทางเทคนิค เเต่กำลังขยายตัวลดลงเรื่อยๆ เเละมีเเนวโน้มฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ปรับลดประมาณการจีดีพีทั้งปีนี้ เหลือ 0.7 -1.2% เเนะรัฐฉีดวัคซีน-เยียวยาให้ทั่วถึง เร่งคุมการระบาดให้ได้ในไตรมาส 3 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัว 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)

และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 0.4% (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ 2%

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% นั้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เเละส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก มาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชน เริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง

ด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิมที่ราว 5 แสนคน

โดยรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 17.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 37.1% ในช่วง 4 ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.4% และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่  12.20%

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ในทางเทคนิคถือว่ายังขยาย และไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตัมที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดที่รุนเเรง ตั้งเเต่ช่วงเดือน เม..ที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการว่างงานง อยู่ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 2% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.4 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็น 56.1% ของ GDP

ลดเป้าจีดีพีปี 64 โตเฉลี่ย 1% ต้องเร่งคุมโควิดให้ได้ในไตรมาส

สำหรับเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7–1.2 (มีค่ากลางอยู่ที่ 1%) ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5 – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว มีขึ้นภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า ตัวเลขการติดเชื้อโควิดรายใหม่ จะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส..นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือนก.. 64 เเละอาจะมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ปัจจัยเสี่ยง : การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้เเก่

1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง

2) ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

3) ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิตรวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยบวก : เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ยังมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆโดยได้รับการสนับสนุนจาก

1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก

2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุนและมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ

3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตร

4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 16.3% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5% , 1.1% และ 4.7% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.7% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะ อยู่ในช่วง 1.0 – 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.0% ของ GDP

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐกระจายวัคซีน เยียวยาให้ทั่วถึง ออกมาตรการหนุนฟื้นตัว

ด้านข้อเสนอเเนะของสภาพัฒน์ ในการบริหารเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 มี 7 ประเด็นที่ รัฐควรให้ความสำคัญ คือ

1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนชุมชนและกลุ่มแรงงาน เร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2) การช่วยเหลือเยียวยา ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรง ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่ และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ

(5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง เน้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1346823
ว่างงานพุ่งไม่หยุด เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเคว้ง ‘ไม่มีงานทำ’ หนี้ครัวเรือนสูง จำใจกู้นอกระบบ https://positioningmag.com/1333573 Mon, 24 May 2021 07:50:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333573 โควิด-19 สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย ไตรมาสเเรกของปี 2564 ว่างงานพุ่ง 7.6 เเสนราย นักศึกษาจบใหม่เกือบแสนคน ‘สุดเคว้ง’ ตำแหน่งงานไม่เพียงพอ เสี่ยงตกงานยาว ด้านหนี้ครัวเรือนสูงไม่หยุด ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ประชาชนต้องควักเงินออมมาใช้ ก่อหนี้บัตรเครดิตเสี่ยงกู้นอกระบบเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนคน คิดเป็น 1.96% เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก นับตั้งแต่เดือน ม..เป็นต้นมา

โดยอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรงแต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง

เเบ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 8 หมื่นคน ในเดือน มี.. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ...คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

Photo : Shutterstock

ส่วนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

โดยกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เเละมียอดผู้มีงานทำในไทยทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวสูงขึ้น รวม 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2%

ปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเเละมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้ภาคบริการ จ้างงานลดลง 0.7% สาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0% และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 0.2%

เเต่บางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ

เด็กจบใหม่ เสี่ยงไร้งานยาว 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในปี 2564 ที่ต้องติดตามเเละเเก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้เเก่

1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน

โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจเหล่านี้อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น 

2) แรงงานในภาคท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่

ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะ รองรับนักศึกษาจบใหม่

กระทบกับการหางานของ นักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ...เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

4) เเรงงานรายได้ลดต่อเนื่อง เสี่ยงตกงานยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกันและการว่างงานเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยด้วย

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือนทะลุ 14 ล้านล้าน คนจำใจก่อหนี้บัตรเครดิตกู้นอกระบบเพิ่ม

หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยาย 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เเม้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในไตรมาส 4 ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

เเต่จากปัญหาตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น จะทำให้รายได้ของแรงงานลดลง และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น

คาดว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19”

ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ด้านความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ตอนนี้ประชาชนเริ่มนำเงินออมออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย มาไว้รองรับในระยะถัดไป

 

 

]]>
1333573
“สภาพัฒน์” มองเศรษฐกิจเริ่มฟื้น Q3/63 ติดลบ 6.4% “ดีกว่าที่คาด” หวังปีหน้าพลิกบวก 3.5-4.5% https://positioningmag.com/1306150 Mon, 16 Nov 2020 07:06:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306150 สภาพัฒน์เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2563 หดตัว 6.4% “ดีกว่าที่คาดส่งผลให้ 9 เดือนเเรกของปีนี้ จีดีพีติดลบ 6.7%  คาดทั้งปีจะติดลบ 6% จับตาปัจจัยเสี่ยงตกงานพุ่ง เร่งกระตุ้นเที่ยวในประเทศ มองปีหน้า 2564 กลับมาเป็นบวกได้ที่ 3.5-4.5%

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เเถลงว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพีไตรมาส 3/63 หดตัว 6.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เเล้ว ติดลบน้อยลงจากไตรมาส 2/63 ที่ติดลบสูงถึง 12.1% เนื่องจากผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 

ทำให้ 9 เดือนแรกปีนี้ เศรษฐกิจไทยหดตัว 6.7% ปรับตัวดีขึ้นกว่าประมาณการเดิม โดยปัจจัยที่หนุนการเติบโตของไตรมาส 3 มากจากการคลายล็อกดาวน์ที่ส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ กลับมาดำเนินการได้มากขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น

การส่งออก ในไตรมาส 3 ปี 2563 หดตัว 8.2% หดตัวที่น้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 ที่หดตัวถึง 17.8% หลังเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว และการขยายตัวของสินค้าส่งออกบางรายการที่ได้ประโยชน์จากการแพร่ระบาดของ COVID-19  ส่วนการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 3 ปี 2563 หดตัว 17.8% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 23.4%

การลงทุนภาคเอกชน ยังหดตัว 10.7% แต่เป็นการหดตัวที่น้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 15% ขณะที่การลงทุนในสิ่งก่อสร้างกลับมาขยายตัว 0.3% ด้านการลงทุนรวม ลดลง 2.4 % เทียบกับที่ลดลง 8% ในไตรมาสที่ 2/63

การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 18.5% เป็นผลจากการลงทุนของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น 29.5% การลงทุนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 0.9% ส่วนการบริโภคภาครัฐ ขยายตัว 3.4% ตามการขยายตัวของการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปีลดลง 120.6 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล ยานยนต์ การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ และทองคำ

สำหรับสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ข้าวเปลือก การผลิตเครื่องประดับอัญมณีและสิ่งของอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 257.2 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 397.5 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 140.3 พันล้านบาท

Photo : Shutterstock

ในไตรมาส 3/2563 พบว่ามีผู้ว่างงาน 740,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับ 1.90% ใกล้เคียงกับ 1.95% จากไตรมาส 2 โดยพบว่า แรงงานอายุน้อยและการศึกษาสูง มีปัญหาการว่างงานมากกว่าคนกลุ่มอื่น

ขณะที่แรงงานในระบบมีการว่างงานเพิ่มขึ้น โดยผู้ขอรับสิทธิว่างงาน 488,000 คน คิดเป็นอัตราผู้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตันภาคบังคับที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 3.5%

ส่วน “หนี้ครัวเรือน” เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไตรมาส 2/63 มีมูลค่า 13.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% ซึ่งชะลอลงจาก 4.1% ในไตรมาส 1/63 โดยมีสาเหตุจากการหดตัวรุนแรงของเศรษฐกิจ ความเปราะบางทางการเงินครัวเรือนเพิ่มขึ้น ทำให้ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อยังมีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด

ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 3 ที่หดตัวน้อยกว่าคาด ทำให้ สศช. ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้ง เป็นหดตัวน้อยลงเหลือ 6% จากเดิมคาดว่าจะหดตัวประมาณ 7.5%”

สำหรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ที่คาดว่าจะติดลบ 6.0%” นั้น อยู่ภายใต้สมมติฐานว่า การบริโภคภาคเอกชนจะติดลบ 0.9% การบริโภคภาครัฐบาลขยายตัว 3.6% การลงทุนภาคเอกชนติดลบ 8.9% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 13.7% มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐติดลบ 7.5% อัตราเงินเฟ้อติบลบ 0.9% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินทุน 2.8% 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 สศช. ประเมินว่า จะกลับมาขยายตัวที่ประมาณ 3.5-4.5% จากแรงหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐ จากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการทางเศรษฐกิจ และฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 

คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในปีหน้า จะขยายตัว 4.2% การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 2.4% การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวได้ราว 6.6% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวได้ประมาณ 0.7-1.7% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในะดับ 2.6% ของจีดีพี

ส่วนการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องถึงปี 2564 สศช. แนะนำในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

(1) ป้องกันการกลับมาระบาดระลอก 2 ในประเทศ 

(2) ดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว ผ่านการเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

(3) ให้การช่วยเหลือดูแลแรงงาน

(4) รณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น

(5) เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุม

(6) ดำเนินการด้านวัคซีนป้องกัน COVID-19

(7) ขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 94.4% งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่า 70% งบเหลื่อมปีให้ได้ไม่น้อยกว่า 85% และการเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทให้ได้ไม่น้อยกว่า 70% 

(8) ขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า ลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท และส่งเสริมการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ 

(9) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 – 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง ขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้กำลังการผลิต แก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ 

(10) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในบางพื้นที่ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมการรองรับปัญหาภัยแล้ง 

(11) การรักษาบรรยากาศทางการเมือง 

(12) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  

 

อ่านรายละเอียด : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3/2563 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1306150
คนไทยจนน้อยลง! เหลือ 4.3 ล้านคน แต่ยังเหลื่อมล้ำเพียบ “ปัตตานี” คนจนสูงสุด https://positioningmag.com/1304704 Thu, 05 Nov 2020 16:56:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304704 สภาพัฒน์เปิดตัวเลข “คนจนลดลง” ต่อเนื่อง ตลอด 20 ปี จาก 25.8 ล้านคน ในปี 2541 ลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน ในปี 2562 ส่วนคนปัตตานีมีสัดส่วนคนจนหนาแน่นสูงที่สุด แต่ความเหลื่อมล้ำ-ความไม่เสมอภาคในการถือครองทรัพย์สินยังมีเพียบ!

คนจนลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ จัดทำรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เพื่อนำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านความยากจน และความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา และนโยบายหรือโครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

รายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของ สศช. พบว่า สัดส่วนคนยากจนลดลงจาก 9.85% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 6.24% ในปี 2562 หรือมีคนจนจำนวน 4.3 ล้านคน ลดลงจาก 6.7 ล้านคนในปีก่อนหน้า

เมื่อพิจารณาแนวโน้มของความยากจนในระหว่างปี 2541 ถึงปัจจุบัน สัดส่วน และจำนวนคนจนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนคนยากจน 25.8 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 38.63% ในปี 2541 ลดลงเหลือ 11.6 ล้านคน หรือ 17.88% ในปี 2552 และลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน หรือ 6.24% ในปี 2562

สถานการณ์ความยากจนในระยะ 5 ปีหลัง (ปี 2558-2562) พบว่า สัดส่วนคนจนอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสัดส่วนไม่เกิน 10% และมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง คือ ปี 2559 และ 2561 โดยสัดส่วนคนยากจนที่เพิ่มขึ้นในปี 2559 เกิดจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง

ขณะที่ในปี 2561 เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ เงินบาทแข็งค่า และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ส่งผลสืบเนื่องต่อผู้มีรายได้น้อยซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของธนาคารโลก (World Bank, 2019. “Taking The Pulse of Poverty and Inequality in Thailand”)

สถานะยากจนเรื้อรัง

การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความยากจนในระยะหลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และธนาคารโลก ระบุว่า อาจเกิดจากความยากจนของไทยลดลงมากจากอดีตที่ผ่านมา จนทำให้ครัวเรือนที่มีสถานะยากจนอยู่ในปัจจุบันเป็นครัวเรือนที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง หรืออยู่ในกับดักของความยากจน ซึ่งต้องมีนโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด

จากการวิเคราะห์กลุ่มคนยากจนในระยะหลัง พบว่า ครัวเรือนยากจน 1 ใน 3 เป็นผู้ไม่ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ (Economically Inactive Household) มีการพึ่งพิงสูงโดยมีเด็ก และผู้สูงอายุจำนวนมาก ในครัวเรือน และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา และต่ำกว่า (คนจน 79.18% จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า) อีกทั้งผู้มีงานทำที่ยากจนส่วนใหญ่ทำงานในภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีรายได้น้อย สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยากจนมีความสามารถในการสร้างรายได้ได้น้อย

“การปรับตัวลดลงของคนจนในปี 2562 สาเหตุสำคัญเกิดจากการขยายความครอบคลุมมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในปี 2562 โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยโดยตรง”

โดยในปี 2562 มีผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนทั้งหมด 14.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นมาจากปี 2561 ที่มี 11.4 ล้านคน จากการที่รัฐบาลได้เปิดการลงทะเบียนรอบพิเศษ (ในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2561) สำหรับกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ในรอบก่อนหน้า

โดยผู้ที่มีบัตรฯ จะได้รับการช่วยเหลือด้านภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันรายเดือน ได้แก่ วงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น 200-300 บาท/เดือน ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะวงเงินรวมสูงสุด 1,500 บาท/เดือน และค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท/3 เดือน อีกทั้ง คนยากจนบางส่วนยังได้รับการเงินช่วยเหลือจากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ และเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

แม้สัดส่วนคนจนในปี 2562 จะมีแนวโน้มลดลง แต่การรักษาระดับสัดส่วนคนจนให้อยู่ในระดับต่ำยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป เนื่องจากในปี 2563 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นวงกว้าง และยังมีความไม่แน่นอนว่าการแพร่ระบาดจะต่อเนื่องยาวนานแค่ไหน ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์ความยากจนในปี 2563 กลับไปแย่ลงอีกครั้ง

ปัตตานีคนจนสูงสุด นนทบุรีน้อยสุด

สัดส่วนความยากจนลดลงเกือบทุกจังหวัด และภาพรวมสัดส่วนคนจนมีแนวโน้มลดลงในทุกภูมิภาค โดยในปี 2562 จังหวัดที่มีปัญหาความยากจนน้อยที่สุด ได้แก่

  • นนทบุรี 0.24%
  • ปทุมธานี 0.24%
  • ภูเก็ต 0.40%
  • สมุทรปราการ 0.56%
  • กทม. 0.59%

ส่วน 10 จังหวัดที่มีคนจนหนาแน่นที่สุด ได้แก่

  • ปัตตานี 29.72%
  • นราธิวาส 25.53%
  • แม่ฮ่องสอน 25.26%
  • ตาก 21.13%
  • กาฬสินธ์ุ 20.21%
  • สระแก้ว 18.74%
  • พัทลุง 18.67%
  • ชัยนาท 17.89%
  • อ่างทอง 17.32
  • ระนอง 16.43%

ความเหลื่อมล้ำยังมีให้เห็นอีกเพียบ!

อย่างไรก็ตาม ด้านความไม่เสมอภาคในการถือครองทรัพย์สินสุทธิลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูง มูลค่าทรัพย์สินรวมสุทธิเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมดหักด้วยมูลค่าหนี้สินทั้งหมด (ในระบบ และนอกระบบ) โดยในปี 2562 มีค่าเท่ากับ 0.6442 ปรับตัวลดลงจาก 0.6453 และ 0.6651 ในปี 2560 และปี 2558 ตามลำดับ เป็นผลจากการที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเพียงแหล่งเงินทุนนอกระบบ ซึ่งมีความเสี่ยง ภาระและต้นทุนการชำระหนี้ที่มากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูง

เช่นเดียวกับส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์จีนี หลังปรับปรุงตั้งแต่ ปี 2552-2560 เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอย่างชัดเจน โดยในปี 2560 ค่าสัมประสิทธิ์ฯ หลังปรับปรุงอยู่ที่ 0.5221 สูงกว่าค่าเดิมที่ได้จากข้อมูลสำรวจที่ 0.4528 สะท้อนว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง

โดยข้อมูลภาษีมาใช้ในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างภาษี พบว่า มาตรการการหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน/บริจาคส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของผู้ยื่นแบบภาษีฯ ในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2560-2561 ที่ค่าลดหย่อนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากจากปี 2559 (การปรับโครงสร้างภาษี) ซึ่งเป็นการสะท้อนว่า

กลไกหรือมาตรการรายจ่ายภาษียังคงไม่สามารถทำหน้าที่ในการกระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ได้อย่างที่ควรจะเป็น

Source

]]>
1304704
เศรษฐกิจไทยสะเทือน GDP ไตรมาส 2 หดตัว -12.2% ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ​ https://positioningmag.com/1292866 Mon, 17 Aug 2020 06:23:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292866 พิษ COVID-19 สะเทือนเศรษฐกิจไทยสภาพัฒน์แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2563 ติดลบถึง 12.2% หนักสุดในรอบ 22 ปี หั่นคาดการณ์จีดีพีทั้งปีติดลบ 7.5% จากเดิมคาดว่าจะติดลบ 5-6% จับตาสถานการณ์โรคระบาดที่เริ่มควบคุมได้ ภาคธุรกิจเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หนักมากที่สุด ลดลงจากไตรมาสแรก 6.9% จากมาตรการล็อกดาวน์ปิดสถานที่ต่างๆ รวมถึงภาคส่งออกที่ติดลบ 10% ทำให้จีดีพีหดตัวลงมาก การลงทุนรวมในไตรมาสก่อนลดลง 8% ขณะที่การบริโภคเอกชนลดลง 6.6% 

ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยไตรมาส 2/2563 ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวลึกที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งเเต่ไตรมาส 2/2541 ที่จีดีพีติดลบ 12.5% (ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง) อย่างไรก็ตาม มองว่า เศรษฐกิจไทยจะหดตัวน้อยลงเรื่อย ๆ เเต่การจะกลับมาเติบโตปกติเท่าก่อนโรคระบาด ต้องรอไปถึงปี 2565”

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ลง โดยคาดว่าจะติดลบในช่วงระหว่าง -7.8% ถึง -7.3% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง -5% ถึง -6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ -1.2% ถึง -0.7% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของจีดีพี

Photo : Shutterstock

สำหรับรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2563 ของ สศช. มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

ด้าน การใช้จ่าย การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้กํารส่งออกสินค้าและบริการการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลงขณะที่การใช้จ่ายเเละการลงทุนภาครัฐขยายตัว

การบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวลดลง 6.6% เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของฐานรายได้ในระบบเศรษบกิจเเละการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วง COVID-19 รวมถึงการดำเนินมาตรการควบคุมเเละป้องกันโรคระบาดของภาครัฐทำให้การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนกึ่งคงทนเเละหมวดบริการสำคัญ เช่น

  • การซื้อยานยนต์ ลดลง 43.0%
  • เสื้อผ้าเเละรองเท้า ลดลง 21.4%
  • การใช้จ่ายในร้านอาหารเเละโรงเเรม ลดลง 45.8%
  • การใช้จ่ายเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ ลดลง 17.1%
  • การใช้จ่ายเพื่อค่าน้ำเเละค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 3.8%

รวมครึ่งแรกของปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนลดลง 2.1% และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง 0.7%

การลงทุนรวม ปรับตัวลดลง 8.0% เทียบกับ 6.5% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง 15% ต่อเนื่อง จากการลดลง 5.4% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง 18.4% และ 2.1% ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 12.5% เทียบกับปรับตัวลดลง 9.3% ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลง 0.8% รวมครึ่งแรกของปี 2563 การลงทุนรวมลดลง 7.2%

ด้านการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงิน USD ลดลง 17.8% (ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2552 ที่ลดลง 25.6%) เทียบกับการขยายตัว 1.4%ในไตรมาสเเรก โดยปริมาณการส่งออกลดลง 16.1% เเละราคาส่งออกลดลงร้อยละ 2.0

การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ (+8.9%) หักอาวุธ, ยานพาหนะซ้อมรบ (+1.1%) จีน (+12.1%) ญี่ปุ่น (-13.5%) อาเซียน (9) (-22.3%) EU (15) (-30.3%) ออสเตรเลีย (-16.1%) และตะวันออกกลาง (15) (-19.7%)

สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้เเก่ รถยนต์นั่ง (-45.2%) รถกระบะและรถบรรทุก (-67.7%) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (-45.0%) อิเล็กทรอนิกส์(-6.6) ปิโตรเคมี (- 18.9%) ข้าว (-0.9%) ยาง (-41.0%)
และน้ำตาล (-28.4%)

การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลง 50.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 23.3% ในไตรมาสเเรก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 100% รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 0.019 ล้านล้านบาท ลดลง 97.1% รวม H1/63 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลง 36.2% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 66.2% อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 29.01%

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มปี 2563

 

]]>
1292866
COVID-19 ฉุดจีดีพีไทย ไตรมาสเเรกหดตัว -1.8% “สภาพัฒน์” หั่นเป้าทั้งปีติดลบ 5-6% https://positioningmag.com/1279131 Mon, 18 May 2020 07:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279131 “สภาพัฒน์” แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2563 หดตัว -1.8% คาดทั้งปีติดลบ 5-6% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.5-2.5% มองไตรมาส 2 จะหนักที่สุด จากผลกระทบ COVID-19 ฉุดส่งออกเเละท่องเที่ยวทรุด

วันนี้ (18 พ.ค.) ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 4/2562 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล

ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ ประเมินว่าจะหดตัวอยู่ในกรอบ -5 ถึง -6% โดยมีค่าเฉลี่ยกลางที่ -5.5% เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงและกระทบปริมาณการค้าของโลก รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศลดลง

ทั้งนี้ การประเมินว่าจีทั้งปีจะติดลบ 5-6% นั้นอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 และไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2

“คาดว่าเศรษฐกิจจะติดลบหนักที่สุดในไตรมาส 2 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะทุกอย่างถูกล็อกดาวน์ เเต่หวังว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะทยอยเดินทางเข้ามาในไทยได้ในไตรมาส 3 และ 4 เเละยังหวังว่าในปี 2564 จะมีวัคซีน COVID-19 ออกมาจะช่วยให้โลกกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง”

สำหรับรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2563 ของ สศช. มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนชะลอตัวลง การผลิต ภาคเกษตรลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ภาคนอกเกษตรลดลงร้อยละ 1.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่องร้อยละ 2.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

ภาคบริการ ลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง

ส่วนสาขาบริการที่สำคัญอื่น ๆ เช่น สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สาขาอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว

การใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล

การลงทุนและการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ ลดลงร้อยละ 2.7 ร้อยละ 6.5 ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 2.2

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่ 4/2562

โดยการอุปโภคในกลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 8.8 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าไม่คงทนและกลุ่มบริการขยายตัวร้อยละ 2.8 และร้อยละ 9.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 8.5 ในไตรมาสที่ 4/2562 ตามลำดับ

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 10.4 ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 4/2562 ส่วนการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน ขยายตัวร้อยละ 10.0

การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 6.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากการลงทุนด้านการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 4.3 และการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.7 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 9.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนด้านก่อสร้างลดลงร้อยละ 13.4 โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2563

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปีเพิ่มขึ้น 133.6 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล เครื่องประดับอัญมณี เนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง และคอมพิวเตอร์ สำหรับสินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และทองคำ

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 325.1 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 253.6 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 71.5 พันล้านบาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2563 และแนวโน้มปี 2563

]]>
1279131
สภาพัฒน์ มองปีนี้เศรษฐกิจไทยยังเสี่ยง หั่นเป้าจีดีพีเหลือ 1.5-2.5% จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี https://positioningmag.com/1264670 Mon, 17 Feb 2020 04:40:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264670 สภาพัฒน์​ เผยจีดีพีปี 2562 โต 2.4% หลังไตรมาสที่ 4 ขยายตัวแค่ 1.6% ส่วนปีนี้หั่นคาดการณ์จีดีพีเหลือ 1.5-2.5% เท่านั้น จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่สี่ของปี 2562 ที่ผ่านมาว่า ขยายตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2562 ร้อยละ 0.2 (%QoQ SA)

รวมทั้งปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 2561 เเละเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยย่อตัวลงมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ได้แก่ ผลกระทบสงครามการค้าและการส่งออกที่ลดลง ขณะที่งบประมาณรายจ่ายปี 63 ล่าช้า เกิดปัญหาภัยแล้ง และเงินบาทแข็งค่า

โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 0.7 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 6.8 ของจีดีพี

หั่นเป้าจีดี​พี​ปีนี้เหลือเเค่ 1.5 – 2.5 % จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 สศช.คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 – 2.5 (หรือเฉลี่ย 2% ต่อปี) ชะลอตัวลงจากปี 2562 ตามข้อจำกัดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณ

ทั้งนี้ การประเมินจีดีพีดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสถานการณ์ไวรัสมรณะจะจบลงภาย 3 เดือน หรือราว เม.ย.-พ.ค. ทำให้มีนักท่องเที่ยว 37 ล้านคนสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.73 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจและการค้าโลกตามการลดลงของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันการค้าและความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรแบบไร้ข้อตกลง

(2) การขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ (3) แรงขับเคลื่อนจากมาตรการภาครัฐ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 – 1.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.3 ของจีดีพี

โดย สศช. เเนะประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปี 2563 ที่ควรให้ความสำคัญ ได้เเก่

(1) การประสานนโยบายการเงินการคลัง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในครึ่งปีแรก และสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวในครึ่งปีหลัง

(2) การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้สามารถกลับมาขยายตัวในครึ่งปีหลัง โดยมีจำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีไม่ต่ำกว่า 37.0 ล้านคน และ 1.73 ล้านล้านบาท ตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับ

  • การยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าปรับให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดของ ไวรัส
  • การรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
  • การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี
  • การพิจารณาวันหยุด เพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีแรก โดยไม่กระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจเเละการติดตามขับเคลื่อนมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว

3) การขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถกลับมาขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 (ไม่รวมทองคำ) โดยการขับเคลื่อนแผนการส่งออกปี 2563 ดังนี้

  • การให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัส
  • การให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตและการค้าไทย-จีน
  • การเร่งรัดการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

(4) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 งบประมาณเหลื่อมปี และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่ต่ ากว่าร้อยละ 91.2 ร้อยละ 70.0 และร้อยละ 75.0 ตามลำดับ

(5) การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยการติดตามและขับเคลื่อนมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุน การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การเร่งรัด การเจรจาความร่วมมือทางการค้าเเละการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการต่างชาติ

(6) การดูแลผู้มีรายได้น้อย ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกรที่ทำงานในภาคบริการในช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกและฤดูกาลเก็บเกี่ยว กลุ่มพนักงานในสาขาการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs การเร่งรัดเบิกจ่ายเงินชดเชย และการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำ

 

ที่มา : สภาพัฒน์

]]>
1264670