สหรัฐฯ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 15 Oct 2023 10:39:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จีนนำเข้าชิปลดลงเกือบ 15% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 ผลจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ผลิตเองในประเทศ https://positioningmag.com/1448027 Sun, 15 Oct 2023 08:50:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448027 ปริมาณการนำเข้าชิปของประเทศจีน 9 เดือนแรกของในปี 2023 นั้นลดลงเกือบ 15% สาเหตุสำคัญคือมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศที่ต้องการหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าว

South China Morning Post รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลของสำนักงานศุลกากรของจีนว่าในช่วง 9 เดือนแรกจีนมีปริมาณนำเข้าชิป 355,900 ล้านชิ้น ลดลงเกือบ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ 416,700 ล้านชิ้น

ไม่เพียงเท่านี้การนำเข้าชิปจากพันธมิตรสหรัฐฯ ของจีน ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ด้วย โดยการนำเข้าชิปจากเกาหลีใต้ลดลง 23% จากไต้หวันลดลง 20% และญี่ปุ่นลดลง 16.3%

ถ้าหากมองมูลค่าการนำเข้าชิปในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้จะพบว่าอยู่ที่ 252,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงมากถึง 19.8% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนนำเข้าสินค้าประเภทเซมิคอนดักเตอร์ลดลงนั้นมากจากมาตรการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นของเทคโนโลยีได้กลายเป็นประเด็นสำคัญของความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ความไม่แน่ใจของบริษัทเทคโนโลยีจีนจำนวนมากที่พบว่าตัวเองต้องเผชิญ แต่บริษัทเทคโนโลยีจีนหลายแห่งทั้ง Tencent และ Alibaba หรือแม้แต่ ByteDance ฯลฯ ยังคงดำเนินโครงการพัฒนาต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาด้าน AI ที่มีการนำเข้าชิปของ Nvidia ล่วงหน้าเป็นมูลค่ารวมกันมากถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัทเทคโนโลยีจีนเหล่านี้ต้องรีบนำเข้าชิปจากสหรัฐอเมริกา หรือประเทศพันธมิตร เนื่องจากกังวลถึงมาตรการที่สหรัฐเตรียมห้ามส่งออกชิปไว้สำหรับเร่งการประมวลผล เนื่องจากกังวลว่าจีนจะนำไปใช้ในการฝึก AI ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อแดนมะกันหลังจากนี้ได้

ขณะเดียวกันจีนได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นของตัวเองมากขึ้นในปี 2023 นี้ ไม่ว่าจะโรงงานผลิตชิปของ Huawei ซึ่งเป็นโครงการลับ และได้รับการสนับสนุนเม็ดเงินจากรัฐบาลจีนเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านหยวน เพื่อผลิตชิปภายในประเทศ ลดการนำเข้าและหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดีสหรัฐอเมริกาเองเตรียมที่จะออกมาตรการห้ามส่งออกเพิ่มเติม หลังจากที่บริษัทจีนหลายแห่งอาจใช้บางประเทศในตะวันออกกลางในการนำเข้าชิป โดยมาตรการล่าสุดคือทางการสหรัฐอเมริกาห้ามไม่ให้ Nvidia ส่งออกชิปประมวลผล AI ไปยังบางประเทศในตะวันออกกลางแล้ว รวมถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

]]>
1448027
บริกรปาดเหงื่อ! ผู้บริโภค “อเมริกัน” เริ่มให้ “ทิป” น้อยลง หลังค่าครองชีพสูง-เศรษฐกิจผันผวน https://positioningmag.com/1439222 Sat, 29 Jul 2023 12:21:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439222 หลังผ่านพ้นโควิด-19 ชาวอเมริกันต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจผันผวนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ 2 ใน 3 ของชาวอเมริกันเริ่มรู้สึกแย่กับการให้ “ทิป” ซึ่งเริ่มคิดในอัตราสูงขึ้นและคิดทิปในหลายธุรกิจมากขึ้น

สังคมอเมริกันเริ่มมีการคิด “ทิป” รวมไปในค่าบริการหลายโอกาสมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นบริการในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไปจนถึงแอปส่งสินค้าเดลิเวอรีต่างก็เรียกร้องให้ผู้บริโภคจ่ายทิป

แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มผันผวนและค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงเริ่มต้องการจะลดการให้ทิปลง และเริ่มหงุดหงิดใจกับการบังคับทิปมากขึ้นทุกที

Bankrate มีการสำรวจผู้บริโภคอเมริกัน และพบว่าผู้บริโภคที่ตอบว่าตนให้ทิป “ทุกครั้ง” เมื่อใช้บริการต่างๆ เริ่มมีสัดส่วนน้อยลงเมื่อเทียบกับการสำรวจปีก่อน โดยการบริการที่มีการให้ทิป เช่น ทานอาหารนอกบ้าน บริการเรียกรถ ตัดผม เดลิเวอรี แม่บ้าน ช่างซ่อมบ้าน ฯลฯ

“เงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ไม่ดีดูเหมือนจะทำให้ชาวอเมริกันประหยัดขึ้นกับการให้ทิป ในขณะเดียวกัน เราต้องเผชิญหน้ากับการเชิญชวนให้ช่วยทิปมากกว่าที่เคยเป็นมา” Ted Rossman นักวิเคราะห์อาวุโสที่ Bankrate กล่าว

NerdWallet มีการสำรวจผู้บริโภคเช่นกัน และพบว่าหลายคนรู้สึกถูก “กดดัน” ว่าต้องให้ทิปมากกว่าปีก่อน

Bankrate บอกด้วยว่า 2 ใน 3 ของชาวอเมริกันมีมุมมองเชิงลบต่อการ “ทิป” โดยเฉพาะเมื่อต้องให้ทิปผ่านระบบชำระเงินดิจิทัลซึ่งมักจะสร้างตัวเลือกการทิปมาให้อย่างชัดเจนล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องทิปเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ร้านมักจะตั้งอัตราการทิปอยู่ระหว่าง 15% ถึง 35% ของราคาสินค้า/บริการ

ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทให้ความเห็นว่าการทิปประมาณ 20% ในร้านอาหารประเภทนั่งรับประทาน มีบริกรคอยบริการภายในร้าน ยังเป็นมาตรฐานที่คนอเมริกันยอมรับร่วมกัน แต่สำหรับบริการประเภทอื่น เช่น ร้านกาแฟที่เป็น kiosk ซื้อกลับบ้าน ซึ่งไม่เคยมีการคิดทิปมาก่อนในอดีต ดูจะเป็นสิ่งที่คนอเมริกันไม่ค่อยยอมรับว่าจะต้องทิปด้วย

Toast มีการสำรวจการทิปในร้านอาหารต่างๆ พบว่าร้านอาหารประเภทฟูลเซอร์วิสยังได้รับทิปสม่ำเสมอ แต่ในร้านลักษณะฟาสต์ฟู้ดหรือที่ต้องบริการตนเอง ค่าเฉลี่ยอัตราการทิปลดลงมาเหลือ 16.7% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี

“ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความรู้สึกอ่อนล้าที่จะต้องทิป” Eric Plam ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Uptip สตาร์ทอัปจากซานฟรานซิสโกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริการช่องทางให้ทิปแบบไร้เงินสด กล่าวกับ CNBC “ในช่วงโควิด-19 ทุกคนอยู่ในช่วงช็อกและรู้สึกโอบอ้อมอารีมากกว่าปกติ”

ปัญหาก็คือ เมื่อทิปมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ก็ทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ในการทิปซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในช่วงปกติอีกต่อไป ยิ่งมีการกำหนดอัตราส่วนที่ต้องทิปไว้ให้แล้ว ยิ่งทำให้คนรู้สึกว่าเป็น “การทิปที่น่ารังเกียจ”

อย่างไรก็ตาม Plam มองในอีกมุมหนึ่งว่า การทิปยังคงสำคัญมากกับพนักงานที่ได้ค่าจ้างเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำหรือน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เช่น พนักงานร้านฟาสต์ฟู้ดแบบจ้างประจำจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย 14.34 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง ส่วนแบบพาร์ทไทม์จะได้เฉลี่ย 12.14 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง ซึ่งค่าจ้างที่ว่านี้รวม “ทิป” แล้ว (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติด้านแรงงานสหรัฐฯ)

“คนเราควรจะทราบไว้ด้วยว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนคนหนึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการทิปมากทิปน้อย” Plam กล่าว

Source

]]>
1439222
จีนเอาคืน! ห้ามนำเข้าชิปจาก ‘Micron Technology’ อ้าง “เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเครือข่ายร้ายแรง” https://positioningmag.com/1431143 Mon, 22 May 2023 04:00:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431143 ดูเหมือนความขัดแย้งระหว่าง จีนและสหรัฐอเมริกา ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น กลุ่ม G7 ก็พยายามลดการพึ่งพาจีน ล่าสุด จีนก็ได้ออกมาตอบโต้โดยการ แบนการใช้งานชิปจากสหรัฐฯ ด้วยข้อหาด้านความปลอดภัย

รัฐบาลจีน ได้เปิดประเด็นกับสหรัฐฯ ใหม่ในเรื่องเทคโนโลยีและความปลอดภัย โดยบอกกับผู้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของจีน ให้หยุดซื้อผลิตภัณฑ์จาก Micron Technology ผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เนื่องจากผลิตภัณฑ์มี “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเครือข่ายที่ร้ายแรง” ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของจีน และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

“บริษัทผู้ให้บริการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่สำคัญในจีน ควรหยุดซื้อผลิตภัณฑ์จาก Micron Technology” รัฐบาลระบุ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนย้ำว่า จีนส่งเสริมการเปิดระดับสูงสู่โลกภายนอก และตราบใดที่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจีน ก็ยินดีต้อนรับองค์กรและผลิตภัณฑ์และบริการแพลตฟอร์มต่างๆ จากนานาประเทศเข้าสู่ตลาดจีน

ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ได้กล่าวหาว่า รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามขัดขวางการพัฒนาของจีน และเขาเรียกร้องให้ประชาชน กล้าที่จะต่อสู้ ขณะที่รัฐบาลเองก็ยังคงตอบโต้อย่างช้า ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของจีนที่ประกอบสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ของโลก พวกเขานำเข้าชิปต่างประเทศมูลค่ามากกว่า 300 พันล้านเหรียญทุกปี โดยจีนเองก็กำลังจะพยายามผลิตชิปประมวลผลของตัวเอง เพื่อให้ผลกระทบไม่ตกสู่บริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีนและอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยมีการลงทุนไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น กำลังลดการเข้าถึงการผลิตชิปขั้นสูงของจีนและเทคโนโลยีอื่น ๆ เนื่องจาก จีนขู่ว่าจะโจมตีไต้หวัน และกล้าแสดงออกถึงการคุกคามที่มากขึ้นต่อญี่ปุ่นและเพื่อนบ้านอื่น ๆ ขณะที่ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้ทั่วโลกมีความกังวลว่า อาจทำให้ต้นทุนด้านสินค้าเทคโนโลยีพุ่งสูงขึ้น และอาจทำให้การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เกิดได้ช้าลง

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องความมั่นคง การปฏิบัติต่อฮ่องกงและชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมของปักกิ่ง ข้อพิพาทเรื่องดินแดน และการเกินดุลการค้าหลายพันล้านดอลลาร์ของจีน

]]>
1431143
งานวิจัยพบ “อายุคาดเฉลี่ย” ชาวอเมริกันลดฮวบ 2.3 ปี เซ่นพิษ COVID-19 https://positioningmag.com/1361284 Sat, 13 Nov 2021 14:52:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361284 เว็บไซต์ข่าวไวโอนิวส์ (WIONEWS) ของอินเดีย อ้างอิงผลการศึกษาเมื่อไม่นานนี้ ระบุว่าอายุคาดเฉลี่ยของผู้คนในสหรัฐฯ ลดลงสูงเป็นอันดับ 2 ในหมู่ประเทศและภูมิภาค 37 แห่ง ระหว่างช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เมื่อปีก่อน

ผลการศึกษาดังกล่าวที่ตีพิมพ์ในวารสารบริติช เมดิคัล เจอร์นัล (BMJ) ประเมินการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศหรือภูมิภาคที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และรายได้สูง 37 แห่ง ด้วยข้อมูลการเสียชีวิตที่น่าเชื่อถือและสมบูรณ์

อายุคาดเฉลี่ยของชาวสหรัฐฯ เพศชาย ลดลงเกือบ 2.3 ปี จากราว 76.7 ปี เหลือ 74.4 ปี ขณะอายุคาดเฉลี่ยของชาวสหรัฐฯ เพศหญิง ลดลงจากราว 81.8 ปี เหลือ 80.2 ปี โดยการลดลงเป็นผลจากการเสียชีวิตของคนหนุ่มสาวระหว่างเกิดโรคระบาดใหญ่ ซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ปกป้องคนรุ่นใหม่ดีพอ

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาระบุว่าโรคระบาดใหญ่ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้อายุคาดเฉลี่ยของสหรัฐฯ ลดลง เนื่องจากสหรัฐฯ พบการเสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรมและการเสพยาเกินขนาดเพิ่มขึ้นในปีก่อน ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยลดลง

]]>
1361284
“สหรัฐฯ” เปิดประเทศ! สายการบินฟื้น 70% “สวนสนุกดิสนีย์-ลาสเวกัส” แม่เหล็กดึงต่างชาติ https://positioningmag.com/1361016 Tue, 09 Nov 2021 07:04:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361016 ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2021 สหรัฐฯ ประกาศเปิดประเทศ อ้าแขนรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วทั้งหมด ข่าวดีนี้ทำให้ยอดจองตั๋วสายการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศฟื้น 70% เทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 “นิวยอร์ก” ที่สุดของปลายทางยอดฮิต ขณะที่ “สวนสนุกดิสนีย์” ในออร์แลนโด และเมืองคาสิโน “ลาสเวกัส” คือแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

สิ้นสุดการปิดพรมแดนกว่า 20 เดือนของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2021 นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และมีผลตรวจ COVID-19 เป็นลบภายใน 72 ชั่วโมงก่อนมาถึง สามารถเข้าสู่สหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องกักตัว

ข้อมูลจาก Travelport บริษัทเทคโนโลยีด้านการจองการท่องเที่ยว ระบุว่า เที่ยวบินทั้งภายในประเทศสหรัฐฯ และระหว่างประเทศ ถูกจองขึ้นไปถึงระดับ 70% ของที่เคยทำได้ในช่วงก่อนเกิด COVID-19 เป็นสัญญาณแห่งความหวังว่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวสหรัฐฯ จะฟื้นตัวเร็ว

โดยสมาคมการท่องเที่ยวสหรัฐฯ ให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่า มูลค่าตลาดท่องเที่ยวสหรัฐฯ มีเม็ดเงินถึง 2.33 แสนล้านเหรียญต่อปี และต้องสูญเสียรายได้ถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อสัปดาห์ ในช่วงที่ภาครัฐปิดประเทศไม่ให้ชาวแคนาดา ชาวยุโรป และชาวอังกฤษข้ามพรมแดน

นิวยอร์ก เมืองท่องเที่ยวสุดฮิตของสหรัฐฯ หลังเปิดประเทศ (Photo: Shutterstock)

การเปิดประเทศรอบล่าสุดนั้น มีจุดสำคัญคือการเปิดให้ชาวต่างชาติ 33 ประเทศเข้าได้โดยไม่ต้องกักตัว ได้แก่ 26 ประเทศเชงเก้น (ยุโรป), สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, จีน, อินเดีย, แอฟริกาใต้, อิหร่าน และบราซิล ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ อนุญาตให้เข้า 150 ประเทศแต่ไม่รวมประเทศข้างต้น ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรปและอังกฤษนั้นสำคัญมากกับเศรษฐกิจท่องเที่ยว และมีอัตราการฉีดวัคซีน-ควบคุมโรคระบาดที่ดีกว่าพื้นที่อื่นๆ ของโลก

สำหรับ 5 จุดหมายปลายทางในสหรัฐฯ ที่มีการจองมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนนี้ (นับทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ) ตามข้อมูลของ Travelport ได้แก่

1)นิวยอร์ก
2)ไมอามี
3)ออร์แลนโด
4)ลอสแอนเจลิส
5)ซานฟรานซิสโก

อย่างไรก็ตาม ถ้าวัดจุดหมายปลายทางที่มีนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติมากที่สุด และมาจากต่างประเทศมากที่สุดคือ “ลาสเวกัส” ส่วนชาติที่นิยมบินไปสหรัฐฯ มากที่สุดคือ “ชาวอังกฤษ”

กลุ่ม Top 5 จุดหมายปลายทางมีแรงดึงดูดของตนเอง เช่น “นิวยอร์ก” เป็นเมืองยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวนิยมไปฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ “ไมอามี” เป็นเมืองพักผ่อนชายทะเล ขณะที่ “ออร์แลนโด” เป็นที่ตั้งของ “ดิสนีย์ เวิลด์” (46% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จองตอนนี้คือชาวอังกฤษ!) “ลอสแอนเจลิส” กลิ่นอายแห่งฮอลลีวูดทำให้แฟนๆ ภาพยนตร์นิยมเดินทางมา “ซานฟรานซิสโก” เมืองแห่งเทคโนโลยี และมีเทศกาลที่จัดกลางแจ้งมากมายให้เข้าร่วม

Source

]]>
1361016
“รัสเซีย-สหรัฐฯ” สองประเทศที่มีคน “ปฏิเสธวัคซีน” มากที่สุด นักวิทย์เกรงเกิดไวรัสกลายพันธุ์ https://positioningmag.com/1350407 Mon, 06 Sep 2021 08:33:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350407 บริษัทวิจัยสำรวจความคิดเห็นประชากรใน 15 ประเทศ พบว่า “รัสเซีย” และ “สหรัฐฯ” คือสองประเทศที่มีคนปฏิเสธหรือลังเลที่จะเข้ารับวัคซีนป้องกัน COVID-19 สูงที่สุด นักวิทยาศาสตร์กังวล ประเทศที่ประชากรมีอัตราเข้ารับวัคซีนช้าลง และประเทศยากจนที่เข้าถึงวัคซีนได้น้อย จะเป็นแหล่งเพาะไวรัสกลายพันธุ์

Morning Consult บริษัทวิจัยและที่ปรึกษา ติดตามความคิดเห็นของประชากรใน 15 ประเทศเกี่ยวกับการรับวัคซีน โดยมีการสุ่มสอบถามทุกสัปดาห์ เก็บตัวอย่างรวมกว่า 75,000 ตัวอย่าง เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021

บริษัทมีคำถามสั้นๆ ในการเก็บข้อมูลคือ “คุณได้รับวัคซีนแล้วหรือยัง?” และมีคำตอบให้เลือก 4 ข้อคือ “ได้รับแล้ว” “ยัง แต่มีแผนจะรับวัคซีนในอนาคต” “ยัง และยังไม่แน่ใจว่าจะเข้ารับวัคซีนหรือไม่” และ “ยัง และวางแผนว่าจะไม่เข้ารับวัคซีน”

รอบการสอบถามครั้งล่าสุดคือ ระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2021 พบว่า “รัสเซีย” ยังคงเป็นประเทศอันดับ 1 ที่มีผู้ตอบว่าจะไม่รับวัคซีนและไม่แน่ใจว่าจะรับวัคซีนหรือไม่รวมกันเป็นอัตราส่วนสูงที่สุด โดยสูงถึง 43% ของกลุ่มตัวอย่าง

รองลงมาเป็นอันดับ 2 คือ “สหรัฐอเมริกา” ซึ่งมีผู้ที่จะไม่รับวัคซีนและคนที่ยังไม่แน่ใจรวมกันเป็นอัตราส่วน 27%

ผลสำรวจระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2021

ค่าเฉลี่ยของทั้ง 15 ประเทศรวมกัน สำหรับกลุ่มที่จะไม่รับวัคซีนและไม่แน่ใจอยู่ที่ 14% โดยมีประเทศที่มีคนกลุ่มนี้เกินค่าเฉลี่ย นอกจากรัสเซียกับสหรัฐฯ คือ เยอรมนี (19%) ออสเตรเลีย (18%) ญี่ปุ่น (17%) เกาหลีใต้ (16%) และแคนาดา (15%)

ส่วนประเทศที่มีคนไม่รับวัคซีนและคนที่ยังไม่แน่ใจ เท่ากับหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ ฝรั่งเศส (14%) อิตาลี (14%) สหราชอาณาจักร (12%) สเปน (9%) บราซิล (8%) เม็กซิโก (8%) อินเดีย (6%) และจีน (2%)

 

เหตุผลหลัก “กลัวผลข้างเคียง”

ที่ผ่านมาเรามักจะเข้าใจว่าคนที่ปฏิเสธวัคซีนเป็นกลุ่มต่อต้านวัคซีนทุกชนิดหรือที่เรียกว่า Anti-Vaxxer แต่การสำรวจนี้ทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วเหตุผลหลักเป็นประเด็นอื่น

อีกหนึ่งคำถามจากงานวิจัยคือถามว่ากลุ่มที่ปฏิเสธไม่รับวัคซีนหรือลังเลใจ ทำไมจึงคิดเช่นนั้น ผลปรากฏว่าเหตุผลอันดับ 1 และ 2 ของทุกประเทศ คือ “กลัวผลข้างเคียงจากวัคซีน” และ “กังวลว่าการวิจัยวัคซีนพัฒนาเร็วเกินไป”

ผลสำรวจระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2021

ส่วนเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้คนไม่รับวัคซีน เช่น มองว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ไว้ใจบริษัทผู้ผลิตวัคซีน มองว่าตนเองมีความเสี่ยงน้อยที่จะติดเชื้อโรค COVID-19

 

กลุ่มคนไม่รับวัคซีน และประเทศยากจน น่ากังวลสูง

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดกำลังกังวลกับอัตราการฉีดวัคซีนในโลกที่ช้าลง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ประชากรปฏิเสธวัคซีนเป็นอัตราสูง อย่างรัสเซียและสหรัฐฯ รวมถึงกลุ่มประเทศยากจนที่เข้าถึงวัคซีนได้ยาก โดยข้อมูลจาก Our World in Data ระบุว่าประเทศรายได้น้อย มีประชากรที่รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดสเพียง 1.8% ของประชากรทั้งหมด เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 40.3%

แม้แต่ในประเทศแถบยุโรปก็มีปัญหาซ่อนอยู่ โดย ดร.ฮานส์ คลูจ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรป องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า คนที่มีรายได้ต่ำและกลางค่อนต่ำในกลุ่มประเทศยุโรป เข้าถึงวัคซีนครบโดสแล้วเพียงแค่ 6%

ปฏิเสธวัคซีน
กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านการฉีดวัคซีนและข้อบังคับให้สวมหน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2021 ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยส์เซียนา (Photo : Shutterstock)

การไม่ได้รับวัคซีนไม่ใช่ความเสี่ยงของคนคนเดียว แต่เป็นความเสี่ยงร่วมกันของคนทั้งโลก เพราะอาจจะทำให้มีการระบาดมากขึ้น และนำไปสู่การเกิดไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น

คลูจกล่าวว่า ใน 53 ประเทศแถบยุโรป รวมรัสเซียและประเทศโดยรอบ มี 33 ประเทศที่เกิดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ภายในรอบ 14 วันที่ผ่านมา

ขณะที่สำนักข่าว CNBC ให้ข้อมูลสถานการณ์ในสหรัฐฯ ซึ่งถูกไวรัสสายพันธุ์เดลตาโจมตีเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่ารัฐที่ติดเชื้อมากคือรัฐที่มีอัตราประชากรปฏิเสธวัคซีนสูง เช่น หลุยส์เซียนา ไอดาโฮ มิสซิสซิปปี เป็นต้น

Source: Morning Consult, CNBC

]]>
1350407
สหรัฐฯ บริจาควัคซีนให้เวียดนามแล้ว 6 ล้านโดส เตรียมเปิดสนง.ศูนย์ควบคุมโรคในฮานอย https://positioningmag.com/1348854 Wed, 01 Sep 2021 14:26:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348854 วันที่ 25 ส.ค. กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่า จะจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ให้กับเวียดนามเพิ่ม 1 ล้านโดส โดยเสนอความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับประเทศที่กำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ที่พุ่งสูง และอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำ

แฮร์ริสกล่าวในที่ประชุมทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีฝ่าม มีง จีง ของเวียดนามว่า วัคซีนจะมาถึงเวียดนามใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ที่ทำให้ยอดวัคซีนที่สหรัฐฯ บริจาคให้กับเวียดนามรวมเป็น 6 ล้านโดส

นอกจากวัคซีนล็อตใหม่แล้ว สหรัฐฯ จะมอบทุน 23 ล้านดอลลาร์ในแผนช่วยเหลือชาวอเมริกัน และเงินทุนฉุกเฉินผ่านทางศูนย์ควบคุมโรค และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เพื่อช่วยเวียดนามขยายการแจกจ่าย และการเข้าถึงวัคซีน ต่อสู้กับการะบาดของ COVID-19 และเตรียมพร้อมรับภัยคุกคามจากโรคในอนาคต นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยังส่งมอบตู้แช่แข็ง 77 ตู้สำหรับจัดเก็บวัคซีนทั่วประเทศ

หลังการหารือทวิภาคี แฮร์ริสได้ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยท่ามกลางสายฝนและวางดอกไม้ยังอนุสรณ์ซึ่งเป็นจุดที่เครื่องบินของจอห์น แมคเคน ถูกกองกำลังเวียดนามเหนือยิงตกในปี 2510 เนื่องในวันครบรอบ 3 ปี การเสียชีวิตของวุฒิสมาชิกแมคเคน

ความช่วยเหลือเกี่ยวกับ COVID-19 นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศการเป็นหุ้นส่วน และการสนับสนุนเวียดนามในหลากหลายด้าน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเยือนของแฮร์ริส ระหว่างการเดินทางทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นาน 1 สัปดาห์ ซึ่งรวมทั้งการเยือนสิงคโปร์ในช่วงต้นสัปดาห์ ที่มีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพื่อต่อต้านอิทธิพลจีน

เวียดนาม
Photo : Shutterstock

การประกาศยังรวมถึงการลงทุนครั้งใหม่เพื่อช่วยเวียดนามเปลี่ยนไปสู่ระบบพลังงานสะอาด และขยายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การลดอัตราภาษีการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ และความช่วยเหลือในการกำจัดอาวุธที่ยังไม่ระเบิดที่ตกค้างจากสงครามเวียดนาม

ระหว่างการพบหารือกับประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุ้ก แฮร์ริสได้แสดงการสนับสนุนที่จะส่งเรือตรวจการณ์ของหน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ มายังเวียดนาม เพื่อช่วยป้องกันผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศในทะเลจีนใต้ และได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อการรุกล้ำของปักกิ่งในน่านน้ำพิพาท

แฮร์ริส ที่เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่เยือนเวียดนาม ได้กล่าวกับประธานาธิบดีเวียดนามว่า “ความสัมพันธ์ของเราเดินทางมาไกลมากในช่วง 25 ปี” และเธอยังประกาศเปิดสำนักงานศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสำนักงานใหม่ของ CDC นี้ เป็น 1 ใน 4 สำนักงานระดับภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งมุ่งเน้นการร่วมมือกับรัฐบาลในภูมิภาคในด้านการวิจัยและฝึกอบรมเพื่อรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสุขภาพ

การประกาศเปิดสำนักงาน CDC มีขึ้นในขณะที่เวียดนามกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในประเทศที่เป็นผลจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตา และอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำ จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ประเทศต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์นครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางธุรกิจของประเทศและเป็นศูนย์กลางของการระบาดระลอกล่าสุด

Source

]]>
1348854
สหรัฐฯ ยืนยัน! เคสฉีดวัคซีนครบแล้วติดเชื้อโควิดเสียชีวิต คิดเป็นแค่ 0.001% https://positioningmag.com/1345166 Fri, 06 Aug 2021 14:23:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345166 สำนักข่าว CNN รายงานข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) ว่า 99.99% ของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ COVID-19 (breakthrough case) ในสหรัฐฯ อาการไม่รุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

ข้อมูลดังกล่าวชี้ไปในทิศทางเดียวกับที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วสหรัฐฯ เน้นย้ำมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่า วัคซีน COVID-19 มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจาก COVID-19 และเป็นอาวุธที่ดีที่สุดของประเทศในการชะลอการแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่และหลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมานไปมากกว่านี้

CDC รายงานว่า มีเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ 6,587 รายจนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม โดยมี 6,239 คนป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพงพยาบาล และในนั้นเสียชีวิต 1,263 ราย แต่ CNN ระบุว่า ในช่วงเวลาเดียวกันมีประชาชนมากกว่า 163 ล้านคนในสหรัฐฯ ที่ฉีดวัคซีน COVID-19 ครบแล้ว

สำนักข่าว CNN รายงานว่า เมื่อแยกตามอาการของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ พบว่ามีไม่ถึง 0.004% ที่ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลและไม่ถึง 0.001% ที่เสียชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น ราว 74% ของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อทั้งหมด ยังเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวของ CNN ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทาง CDC มุ่งเน้นตรวจสอบเฉพาะเคสป่วยหนักและเสียชีวิตจาก COVID-19 ในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วเท่านั้น ไม่รวมถึงเคสอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ว่า ตัวกลายพันธุ์เดลตาก่อปริมาณไวรัสพอๆ กับในคนที่ฉีดวัคซีนแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหากพวกเขาติดเชื้อ และพวกผู้เชี่ยวชาญบอกต่อว่า แม้วัคซีนทำให้ผู้ฉีดมีความเป็นไปได้น้อยลงที่จะติดเชื้อ แต่หากคนเหล่านั้นติดเชื้อ พบว่าพวกเขามีแนวโน้มแพร่กระจายเชื้อได้แบบเดียวกับคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ผลการศึกษาดังกล่าวโน้มน้าวให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญของ CDC อัปเดตคำแนะนำด้านการสวมหน้ากากในวันอังคารที่ 3 ส.ค. แนะนำให้คนฉีดวัคซีนครบแล้วกลับมาสวมหน้ากากยามอยู่ในร่ม ตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระดับสูง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตา ส่วนคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนั้นยังคงแนะนำให้สวมหน้ากากต่อไปจนกว่าจะฉีดวัคซีนครบแล้ว

Photo : Shutterstock

CNN รายงานต่อว่า นอกเหนือจากเคสอาการรุนแรงแล้ว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของทางการโดยมูลนิธิ Kaiser Family Foundation ยังพบว่าเคสฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อในทุกกรณี ทั้งป่วยเล็กน้อย ป่วยหนัก และเสียชีวิตถือว่าเกิดขึ้นน้อยมากๆ

มีราวๆ ครึ่งหนึ่งของรัฐต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ที่รายงานเกี่ยวกับเคสฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ COVID-19 และในแต่ละรัฐดังกล่าวมีไม่ถึง 1% ที่เกิดเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ ไล่ตั้งแแต่ระดับ 0.01% ในคอนเนตทิคัต ไปจนถึง 0.9% ในโอคลาโฮมา

มูลนิธิ Kaiser Family Foundation ยังพบด้วยว่ามากกว่า 90% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ และมากกว่า 95% ของผู้ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ในนั้นหลายรัฐมีเคสผู้ติดเชื้อใหม่ที่เป็นคนยังไม่ฉีดวัคซีนคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 98% เลยทีเดียว

ผู้เชี่ยวชาญเน้นว่าแม้คนฉีดวัคซีนครบแล้วยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ แต่วัคซีนยังคงปกป้องพวกเขาได้เป็นอย่างดีจากการติดเชื้ออาการหนัก ทั้งนี้ ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากตัวกลายพันธุ์เดลตา พวกผู้นำท้องถิ่นทั่วอเมริการายงานว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ คือกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

บรรยากาศการต่อคิวเข้ารับวัคซีน COVID-19 ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

ด้วยตัวกลายพันธุ์เดลตาแพร่เชื้อได้ง่ายมาก อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรัฐฯ รายหนึ่งจึงเตือนว่าประชาชนที่ไม่ได้รับการป้องกัน ทั้งจากวัคซีนและจากการเคยติดเชื้อมาแล้ว ดูเหมือนคงไม่รอดพ้นจากการติดเชื้อ

ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเคสผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและความอันตรายของสายพันธุ์เดลตา อัตราการเข้าฉีดวัคซีนของประชาชนในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด โดยรัฐต่างๆ ที่เคยล้าหลังในโครงการฉีดวัคซีน พบเห็นจำนวนประชาชนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซีเอ็นเอ็นวิเคราะห์ข้อมูลของซีดีซี

เวลานี้ค่าเฉลี่ย 7 วัน ประชาชนรายใหม่เข้าฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ อยู่ที่ 652,084 ราย เพิ่มขึ้นจาก 3 สัปดาห์ที่แล้ว 26%

Source

]]>
1345166
“ไบเดน” ตั้งเป้าปี 2030 รถใหม่ในสหรัฐฯ 50% ต้องเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า” https://positioningmag.com/1345513 Fri, 06 Aug 2021 06:53:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345513 มุ่งสู่พลังงานสะอาด! “โจ ไบเดน” ประกาศเป้าหมายปี 2030 ผลักดันให้รถยนต์ใหม่ในสหรัฐฯ 50% เป็นยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงจะออกนโยบายกำกับมาตรฐานการปล่อยมลพิษของรถยนต์และรถบรรทุก เพื่อแก้ไขต้นเหตุปัญหาโลกร้อนที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา

ทำเนียบขาวเปิดการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2021 ถึงแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยมลพิษของยานพาหนะ โดยประธานาธิบดี “โจ ไบเดน” เตรียมเซ็นคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดให้รถยนต์และรถบรรทุกที่ออกขายใหม่อย่างน้อย 50% ต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030

ณ ทำเนียบขาวพร้อมด้วยสักขีพยานคือกลุ่มผู้ประกอบการผลิตรถยนต์และกลุ่มสหภาพแรงงาน ไบเดนได้ประกาศอนาคตของอุตสาหกรรมรถยนต์ว่าจะต้องเป็น “ยานยนต์ไฟฟ้าและไม่มีทางหวนกลับ”

“คำถามก็คือ เราจะเป็นผู้นำหรือผู้ตามในการแข่งขันสู่อนาคต” ประธานาธิบดีไบเดนกล่าว “เราเคยเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านนี้และเราสามารถกลับเป็นผู้นำได้อีกครั้ง แต่เราจะต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ส่วนอื่นของโลกได้เดินหน้าไปก่อนเราแล้ว เราจะต้องตามให้ทัน”

โจ ไบเดน ระหว่างแถงนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า 2030

นอกจากเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) และ กระทรวงคมนาคมแห่งสหรัฐฯ ยังกำหนดมาตรฐานใหม่ด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ทั้งหมดด้วย เป็นการขันน็อตมาตรฐานการปล่อยมลพิษให้แน่นขึ้นหลังจากหละหลวมไปในยุคของ “โดนัลด์ ทรัมป์” โดยตั้งแต่ปี 2023 รถยนต์ใหม่จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง 10% เทียบกับปีก่อนหน้า และจะต้องปล่อยลดลงอีก 5% ต่อปีไปจนถึงปี 2026

นโยบายนี้เกิดขึ้นจากการพูดคุยระหว่างรัฐบาลไบเดนกับกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์นานหลายเดือน โดยทำเนียบขาวหวังว่าจะเข้าคู่ลงล็อกพอดีกับกฎหมายใหม่ที่จะออกมาเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า งบประมาณใหม่นี้จะนำมาใช้ยกระดับจุดชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วสหรัฐฯ

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า บนไฮเวย์ระหว่างเมืองลอสแอนเจลิสกับลาสเวกัส (Photo : Shutterstock)

รัฐบาลไบเดนระบุว่านโยบายเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2 พันล้านตัน และประหยัดการใช้น้ำมันไป 2 แสนล้านตัน รวมถึงประหยัดค่าเชื้อเพลิงของคนขับทุกคนได้อีกหลายร้อยดอลลาร์

ปัจจุบันรถอีวีมีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในสหรัฐฯ ปี 2020 เพราะคนอเมริกันส่วนใหญ่ยังนิยมรถ SUV ขนาดใหญ่ที่กินน้ำมันสูง

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้ากำลังทำยอดขายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และบรรดาผู้ผลิตต่างแข่งขันกันออกรถอีวีรุ่นใหม่กันอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าลุยตลาดอีวี เช่น Ford เพิ่งออกรถอีวีรุ่นใหม่ F-150 ซึ่งต่อมากลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดของอเมริกานับตั้งแต่ทศวรรษ 1980s

Ford F-150 Lightning

Ford, GM และ Stellantis ยังมีแถลงการณ์ร่วมกันด้วยว่า ภายในปี 2030 บริษัทตั้งเป้าทำให้ 40-50% ของยอดขายรวมของบริษัทมาจากรถยนต์ไฟฟ้า แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า เป้าหมายนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลกลางมีแรงจูงใจให้ประชาชนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จไฟฟ้า และสนับสนุนงบการวิจัยและพัฒนา

ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมบางส่วนมองว่านโยบายของไบเดนยังคงช้าเกินไป “เราเสียเวลาดำเนินการด้านภาวะโลกร้อนไป 4 ปีแล้วในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ และเราไม่สามารถจะเสียเวลามากไปกว่านี้ได้อีก” เบคคา เอลลิสัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านนโยบายที่ Evergreen Action กล่าว “เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการต่อต้านภาวะโลกร้อนของเรา และการสร้างอนาคตที่มีมลพิษร้ายน้อยลง รวมถึงสร้างงานดีๆ มากขึ้น ประธานาธิบดีไบเดนควรจะออกนโยบายที่เร่งหนทางไปสู่การใช้รถอีวีที่เร็วกว่านี้”

ไบเดนเคยวางเป้าหมายให้อเมริกา “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” ภายในปี 2050 เป็นเป้าหมายที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเมริกาหยุดขายรถยนต์ใช้น้ำมันภายในปี 2035 การตั้งเป้า “50%” ของไบเดนจึงถูกวิจารณ์จากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเป้าที่ต่ำเกินไป

Source

]]>
1345513
“ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” กระแสใหม่ “ร้านอาหาร-บาร์” ในสหรัฐฯ ผวาเดลตาระบาด https://positioningmag.com/1345260 Wed, 04 Aug 2021 13:02:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345260 หลังไวรัสกลายพันธุ์เดลตาระบาดหนักขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้ “ร้านอาหาร-บาร์” จำนวนมากทยอยออกกฎของร้าน หากลูกค้า “ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” ก่อกระแสทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางร้านถึงกับได้รับคำข่มขู่จากกลุ่ม “ต่อต้านวัคซีน”

ข้อมูลจาก Worldometers ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของสหรัฐอเมริกาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเดือนมิถุนายน 2021 มีไม่ถึง 20,000 คนต่อวัน กลับไต่ระดับขึ้นจนล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม 2021 ทะลุ 100,000 คนต่อวันไปแล้ว เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดหนักขึ้น

แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ทะยานขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ธุรกิจ “ร้านอาหาร-บาร์” หลายแห่งในประเทศเริ่มตั้งการ์ดสูงไว้ก่อน ด้วยการออกกฎ “No Vax, No Service” หรือ “ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ”

โดยแต่ละร้านมีมาตรการหลักเหมือนกันคือตรวจหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน หากยังไม่ฉีดวัคซีนขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการ ส่วนรายละเอียดอาจปลีกย่อยอาจแตกต่างกัน เช่น บางร้านอนุญาตให้ใช้ผลตรวจ COVID-19 เป็นลบเมื่อเร็วๆ นี้แทนได้ หรือจัดโซนด้านนอกร้านไว้สำหรับผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ตัวอย่างร้านที่ออกกฎนี้แล้วหรือเตรียมออกกฎเร็วๆ นี้ เช่น Union Square Hospitality Group เจ้าของเชนร้านเบอร์เกอร์ Shake Shack ซึ่งมีกว่า 230 สาขาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในนิวยอร์ก กำลังจะออกกฎให้ลูกค้าต้องฉีดวัคซีนมาแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องการปกป้องพนักงานและลูกค้า

Shake Shack ร้านเบอร์เกอร์เชนกว่า 230 สาขาในสหรัฐฯ เตรียมออกกฎให้ลูกค้าแสดงหลักฐานฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน เพื่อปกป้องพนักงานและลูกค้า

หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่รวมตัวกันอย่าง SF Bar Owner Alliance มีบาร์ในซานฟรานซิสโกกว่า 300 ร้านเป็นสมาชิก ก็ออกนโยบายตรวจหลักฐานฉีดวัคซีนร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารที่ไม่ใช่เชนอีกจำนวนมากทยอยออกกฎตามๆ กันในหลายเมือง เช่น แอตแลนตา ซีแอตเทิล วอชิงตันดีซี ลอสแอนเจลิส บอสตัน โอ๊คแลนด์ ฯลฯ

“นี่เป็นสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลที่สุดที่ผมเคยเห็น” แดนนี่ เมเยอร์ ผู้นำบริษัท Union Square Hospitality Group กล่าว “ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์แต่ผมรู้วิธีอ่านดาต้า และสิ่งที่ผมเห็นคือ นี่เป็นวิกฤตของคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และผมรู้สึกว่าต้องร่วมรับผิดชอบอย่างแข็งขัน ในฐานะของผู้นำธุรกิจผมต้องดูแลทั้งพนักงานของร้านและลูกค้า และนั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำ”

 

มีทั้งคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และมีกฎห้ามในบางรัฐ

กระแสตอบรับของลูกค้าและคนทั่วไปมีทั้งสองด้าน ยกตัวอย่างเช่น City Winery ซึ่งเป็นเชนร้านอาหารสไตล์บาร์การแสดงสด มีทั้งหมด 12 สาขาใน 8 เมือง “ไมเคิล ดอร์ฟ” ซีอีโอของบริษัทนี้ระบุว่า เริ่มแรกร้านประกาศกฎ No Vax, No Service เฉพาะสาขาในนิวยอร์ก แต่หลังจากสำรวจความเห็นลูกค้าผ่านทางอีเมลแล้วพบว่า 75% ของกลุ่มลูกค้าเห็นด้วยกับมาตรการของร้าน ทำให้ตัดสินใจบังคับใช้มาตรการกับทุกสาขา

แต่ไม่ใช่ว่ามาตรการทำนองนี้ไม่มีแรงต้าน ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Argosy ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประกาศงดบริการคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ปรากฏว่าร้านได้รับคำขู่ทางออนไลน์จากกลุ่ม “ต่อต้านวัคซีน” (Anti-Vaxxers) และมีข้อโต้แย้งจากลูกค้าบางกลุ่มที่เห็นว่ามาตรการนี้เป็นการแบ่งแยกกีดกัน แต่เจ้าของร้านยังยืนยันมาตรการ เพราะต้องการปกป้องพนักงานของตนก่อน

ประกาศของร้าน Argosy ในแอตแลนตา

ขณะเดียวกัน มีบางร้านอาหารที่ทำในทางกลับกันด้วย เช่น ร้านอาหารอิตาเลียนแห่งหนึ่งที่ชายหาดฮันทิงตัน แคลิฟอร์เนีย ระบุว่า “กรุณาแสดงหลักฐานว่าไม่ได้ฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน”

นอกจากนี้ บางรัฐยังมีกฎหมาย “ห้ามแบนผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน” เช่น เท็กซัส ฟลอริดา ด้วย สะท้อนให้เห็นกระแสความคิดของคนที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่

 

ในทางกฎหมาย ร้านอาหารทำได้หรือไม่?

นอกจากรัฐที่มีกฎหมายห้ามแบนอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไปแล้วร้านอาหารสามารถออกกฎลักษณะนี้ได้หรือไม่?

สำนักข่าว MarketWatch รายงานข้อมูลจากทนายและบริษัทกฎหมายระบุว่า สหรัฐฯ อนุญาตให้บริษัทเอกชนตั้งกฎส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขอนามัยเช่นนี้

ร้านอาหารมีการกำหนด Dress Code ในการเข้าใช้บริการ

ที่จริงแล้ว ลองนึกดูว่าร้านอาหารหลายประเภทมีกฎเฉพาะในเรื่องที่มีความสำคัญน้อยกว่านี้ด้วยซ้ำ เช่น ร้านอาหารแบบ Fine Dining หลายแห่งออกกฎให้ผู้ชายต้องสวมสูท ผู้หญิงต้องสวมชุดกระโปรง และห้ามสวมรองเท้าแตะเข้าร้าน หรือร้านอาหารริมหาดอาจจะมีกฎให้ทุกคนต้องสวมเสื้อและรองเท้าก่อนเข้าร้าน เป็นต้น

กลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน (Anti-Vaxxer) กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐฯ เพราะอาจจะทำให้สหรัฐฯ ไปไม่ถึงเป้าการมีภูมิคุ้มกันหมู่ที่ต้องการ กล่าวคือ ต้องมีผู้รับวัคซีนครบโดสสัดส่วน 70% ขึ้นไป The New York Times รายงานว่า ปัจจุบันตัวเลขผู้ฉีดวัคซีนครบโดสอยู่ที่ 49.7% และค่าเฉลี่ยความเร็วการฉีดขณะนี้อยู่ที่ 681,000 โดสต่อวัน ซึ่งต่ำลงมากเมื่อเทียบกับที่เคยทำได้สูงสุดกว่า 3 ล้านโดสต่อวันในช่วงเดือนเมษายน 2021

ไม่แน่ว่าการใช้ข้อบังคับทางสังคมของร้านอาหารต่างๆ ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตสะดวกน้อยลง อาจทำให้กลุ่มที่ยังลังเลต่อการฉีดวัคซีนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นก็ได้

Source: MarketWatch, Forbes, Insider

]]>
1345260