สัมภาษณ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Jun 2021 09:57:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ก้าวใหม่ FWD กับ ‘เดวิด โครูนิช’ ซีอีโอสไตล์ Young At Heart เปลี่ยนภาพประกันชีวิตให้ ‘สนุก’ https://positioningmag.com/1336958 Tue, 15 Jun 2021 05:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336958 ผมวาดฝันไว้ว่า วันใดวันหนึ่งผู้คนจะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าพวกเขาควรจะมีประกัน

นี่คือหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของเดวิด โครูนิช(David Korunic) ผู้ทำงานรันวงการไฟเเนนซ์เเละประกันมายาวนานเกือบ 4 ทศวรรษ

บรรยากาศของออฟฟิศกลางใจเมืองที่พนักงานหัวเราะสนุกสนาน เเต่งตัวตามสบาย พูดคุยกับซีอีโออย่างเป็นกันเอง เป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานเเบบใหม่ที่เขาได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อสลัดภาพธุรกิจประกันที่เคร่งขรึมสู่การทำงานเเบบสตาร์ทอัพที่เน้นความสร้างสรรค์เเละเเตกต่าง

เดวิด เล่าถึงราวชีวิตคร่าวๆ ให้ฟังว่า เขาเกิดเเละเติบโตในนิวซีเเลนด์ จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจมาท่องเที่ยวพักร้อนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ เเละไม่คาดคิดว่าหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาจะได้ใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิตในเอเชีย เเละสร้างครอบครัวในประเทศไทย

เขาเริ่มทำงานด้านไฟเเนนซ์ในอินโดนีเซีย ขยับไปฮ่องกง เคยไปอยู่เกาหลีใต้ จีน ย้ายมาสิงคโปร์ บุกเบิกประกันสุขภาพโซนอาเซียนกับ ‘Allianz’ ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งขึ้นมา เเละมาอาศัยอยู่ในไทยหลายปี พร้อมขึ้นตำเเหน่งซีอีโอของกรุงไทยแอกซ่า’ โดยเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาได้ข้ามค่ายมานั่งเเท่นบิ๊กบอสของ FWD ประเทศไทย

“FWD เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 8 ปี ท่ามกลางคู่เเข่งที่อยู่มาเป็น 100 ปี นี่คือโอกาสที่เราจะปั้นเเบรนด์ให้เเตกต่าง เเละสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนี้”

มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่กับ FWD นั่นก็คือปรัชญาขององค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประกันชีวิต นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในเส้นทางอาชีพของเขา

เดิมทียุคสมัยพ่อเเม่ บริษัทประกันถูกมองว่าสร้างความกลัวให้ลูกค้า กลัวต้องตาย กลัวต้องป่วย ไร้ความเห็นอกเห็นใจ มีภาพลักษณ์ในเเง่ลบ มาวันนี้เขาต้องการเปลี่ยนภาพนั้น ด้วยการปรับธุรกิจประกันให้สื่อสารอย่างเป็นมิตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้รู้สึกว่ามีเเล้วหายห่วงเเละเป็นไปในรูปเเบบสนุกสนาน

ไม่มีใครคิดหรอกว่า ตื่นขึ้นมาเเล้วอยากซื้อประกันจังเลย เรามักซื้อประกันในยามที่จำเป็นต้องใช้ จึงนำมาสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงชีวิตผู้คน โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้สึกกดดันหรืออึดอัด ต้องสื่อสารสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้คำง่ายๆ เเต่ตรงประเด็นเเละน่าเชื่อถือ เปลี่ยน Mistrusting เป็น Trustworthy”

No More Drama

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด พฤติกรรมเเละไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้เวลาบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหาความบันเทิงในยามสถานการณ์ตึงเครียด เริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

FWD จึงจับเทรนด์ ‘Micro Moments’ มาเป็นกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ของเเบรนด์ผ่านคอนเซ็ปต์ Celebrate living ที่นำอินไซต์ของคนยุคนิวนอร์มอล มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมใช้ Entertainment Marketing ส่งต่อเรื่องราวสร้างเเรงบันดาลใจ กระตุ้นความสุข ตรงข้ามกับโฆษณา ‘เรียกน้ำตา’ ที่ทำคล้ายๆ กันมา

“If you enjoy , you remember … คนเราถ้าสนุกกับอะไร ก็จะจำสิ่งนั้นได้” เดวิดกล่าว

เขาบอกอีกว่า ‘เพลง’ เเละ ‘วิดีโอ’ เป็นสื่อบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผ่านมา FWD ใช้สิ่งนี้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร อย่างเเคมเปญโรเเมนติกคอมเมดี้อย่าง ‘น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’ เเละเพลง ‘ทุกก้าวไป’ ที่ร้องโดยตู่ ภพธร ซึ่งเป็นเพลงฟังที่ในร้านอาหารได้ ไม่ใช่เเค่ผ่านเเอดโฆษณา เเละให้ความสำคัญกับ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีเพลง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีโมเมนต์ที่ทุกคนเข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารเเบรนด์ผ่านอาหาร โดยทำ ‘รสชาติไอศกรีมของ FWD’ ร่วมกับ Guss Damn Good

“ใครจะคิดว่าจะมีรสไอติมของบริษัทประกัน…ต่อไปนี้เราจะไปอยู่ทุกที่ ให้ทุกคนเห็นเรา คุ้นเคยกับเรา ค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า”

ประกันยุคใหม่ : เสิร์ฟตามไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ ‘อายุ’ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ในช่วงวัย 35-55 ปี เเละส่วนใหญ่เป็น ‘Older Generation’ เเต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจซื้อประกันมากขึ้น

เราจะออกผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่เเค่ตัวเลขอายุ คนอายุมากอาจจะมีหัวใจวัยรุ่น ดังนั้น เราจึงโฟกัสไปที่บริการในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้”

เเม้ในช่วงล็อกดาวน์ คนจะต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอพบปะสังสรรค์ ไม่ได้ไปธนาคาร ไม่ได้เจอตัวเเทน เเต่จากการสำรวจพบว่า ลูกค้ายังอยากเจอผู้คน การซื้อประกันจึงเป็นไปแบบไฮบริดคือลูกค้าหาข้อมูลจากออนไลน์ เเต่พอจะตัดสินใจซื้อจริงๆ มักจะต้องโทรหรือวิดีโอคอล ให้เห็นหน้าเห็นตากัน

ขณะเดียวกัน จุดประสงค์การซื้อประกันก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อก่อนคนจะซื้อเพื่อลงทุน เเต่หลังโควิด-19 เริ่มดูที่การคุ้มครอง การดูเเลรักษาพยาบาลอย่างจริงจัง

โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุดตอนนี้ คือกลุ่มสุขภาพที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง ‘OPD คุ้มครบ จบหายห่วง’ เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนด้วย

เดวิด บอกว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันไม่ค่อยออกผลิตภัณฑ์คุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก) จะมีบ้างเเต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขเยอะ ข้อจำกัดเยอะ เป็นโอกาสตลาดที่ FWD จะเข้าไปเจาะลูกค้าที่มีความต้องการส่วนนี้ เพราะพวกเขาอยากได้ประกันที่ซื้ออะไรเเล้วครั้งเดียวจบ ไม่ใช่ใครขายถูกเเล้วชนะ เเต่เป็นการที่ใครบริการได้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงสถานการณ์ที่ว่าเเม้ประกันสุขภาพจะบูม เเต่คนไม่มีเงินจ่ายเบี้ย ซีอีโอ FWD มองว่า

ผมคิดว่ามันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา คนรายได้ลดลง ต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีวิตไว้ก่อน ประหยัดไว้ก่อน ดูปัจจัย 4 ไว้ก่อน เเต่ตอนนี้ประกันสุขภาพก็กำลังจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตไปเเล้ว”

โดยพื้นฐานลูกค้าประกันเเต่ละประเทศที่เคยทำงานมา จะต่างกันที่สิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เช่น อินโดฯ จะชอบลงทุน เเต่ออสเตรเลียจะไม่ค่อยซื้อประกันสุขภาพ เพราะมีระบบสาธารณสุขรองรับอยู่เเล้ว ส่วนคนไทยเเม้จะมี 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เเต่ผู้คนยังต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ก็หันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในไทยที่มีมูลค่ารวม 6 เเสนล้านบาท นั้น ‘ยากที่จะคาดการณ์ต้องดูการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เเละระยะเวลาในการเปิดประเทศ

เปลี่ยนเเปลงจาก ‘ภายใน’ 

การที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการดิสรัปต์ในบริษัทก่อน ซึ่งเดวิดยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะต้อง ‘Rebuild’ วัฒนธรรมองค์กรใหม่หลังควบรวมกับ SCBLIFE ก้าวขึ้น ‘เบอร์สอง’ ในตลาดประกัน โดยจะเน้นไปที่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ไม่ใช่เเค่ย้ายไปอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่หมายถึงการใช้ AI , Machine learning , Robotics , อัพสกิลพนักงานเเละเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่

อย่างเช่น การเทรนนิ่งพนักงานช่วงโควิด-19 ที่รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเยอะ ต้องปรับมาเทรนนิ่งออนไลน์ มีการพบปะลูกค้าเเบบ face to face ผ่านหน้าจอ เปลี่ยนการนำเสนอ อบรมเป็นกลุ่มเล็กลงฯลฯ

ขณะเดียวกัน ต้อง ‘Repurpose’ เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์เเละทำให้เเตกต่าง โดยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดไอเดียใหม่ ทำงานเเบบ  Hot- Desk เเต่งตัวได้ตามสบาย ไม่รู้สึกกดดัน อยากที่จะเปลี่ยนเเปลงเเละกล้าเเสดงความคิดเห็น รวมถึงการมีค่าตอบเเทนที่ดี สวัสดิการที่ครอบคลุมการใช้ชีวิต

เราต้องเชื่อในตัวพนักงาน เชื่อในความสามารถพวกเขา ว่ามีความรับผิดชอบเเละเป็นตัวเทนของเเบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Young At Heart อยู่เสมอ

วันว่างของเดวิด โครูนิชเขามักจะขับรถคลาสสิกไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง อย่างหัวหินที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นถึง 4 วันต่อสัปดาห์ในช่วงที่ต้อง WFH เเละงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุด…นั่นก็คือการทำอาหารลองสูตรใหม่ เมนูใหม่ตลอดเวลา

ความชอบลองอะไรใหม่ๆ สะท้อนไปถึงหลักยึดที่เขานำมาใช้ในองค์กร คือ การทำงานด้วยความสนุก “it’s okay to fail” คนเราทำผิดพลาดได้ เเต่ต้องนำกลับมาปรับปรุง เเละสิ่งสำคัญคือการ ‘Open Minds’ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ตีกรอบความคิด เชื่อในความหลากหลาย “ความเเตกต่างของคน จะทำให้เกิดความเเตกต่างในงาน

นี่คือจุดกำเนิดที่ดีที่สุดที่เขาเชื่อว่า จะสร้างสรรค์ผลงานที่เเตกต่างจากคนอื่น เพราะมาจากหลากหลายมุมมอง ไม่ได้มาจากมุมใดมุมหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องมุ่งมั่นในงานไปทางเดียวกัน ดูเเลทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ยึดติดกับตำเเหน่ง

โดยการบริหารคนที่มาจากหลายเจเนอเรชัน สิ่งที่ต้องทำคือรับฟังความคิดเห็นให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เช่น ที่ FWD เปิดให้ทุกคนเเต่งตัวได้ตามเพศสภาพ ให้มีประกันเพื่อการผ่าตัดเเปลงเพศ ให้สิทธิพาร์ตเนอร์ lgbtqia+ เหมือนคู่สมรส ฯลฯ

ผมชอบคุยกับคนรุ่นใหม่นะ ชอบใช้เเอปพลิเคชันใหม่ๆ ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องเเก่ Young At Heart อยู่เสมอ เปิดใจรับว่าโลกใหม่คิดอย่างไร หมุนตามโลกให้ทัน

 

 

 

]]>
1336958
คุยกับ I Found Something Good มัลติแบรนด์กิฟต์ช็อป รันวงการ ‘สติกเกอร์’ นักวาดไทย https://positioningmag.com/1320454 Tue, 23 Feb 2021 12:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320454 ภาพของวัยรุ่น ‘ต่อคิวยาว’ เพื่อรอซื้อ ‘สติกเกอร์’ ของนักวาดคนไทย สร้างความเเปลกใจให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาไม่น้อย สะท้อนความนิยมของตลาดได้เป็นอย่างดี

ย่างเข้าปีที่ 2 กับการเดินทางของ ‘I Found Something Good’ ร้านมัลติแบรนด์ที่รวบรวมผลงานศิลปะน่ารักกุ๊กกิ๊ก ที่เข้าไปเเล้วต้องได้ของออกมาสักชิ้น เเม้จะเริ่มทำธุรกิจมาได้ไม่นาน เเต่กลับต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่อย่าง COVID-19

จาก ‘ความชอบ’ สู่ ‘ธุรกิจทำเงิน’ ของ 4 สาวเพื่อนซี้ วัย 24-25 ปี ผู้ร่วมก่อตั้งที่หลงใหลในงานศิลปะ อย่าง เบลล์-อริยา สภานุรัตนา , นัตโตะ-ณัฐวดี กาญจนโกมล, โรล-นดี จรรยาประเสริฐ และ ร็อค-นดา จรรยาประเสริฐ

วันนี้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น พร้อมหาโอกาสใหม่ ขยายสาขาจากสยามสเเควร์ สู่ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมือง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างกว่า ‘วัยรุ่น’

Positioning จะพามารู้จัก ‘I Found Something Good’ เสพงานศิลป์ให้เป็นไลฟ์สไตล์…ให้มากขึ้นกัน 

โอกาสธุรกิจจาก ‘ความชอบ’

I Found Something Good เกิดขึ้นจากความสนใจเเละชอบสะสมงานศิลปะของทั้ง 4 คน เวลาที่พวกเขาไปงาน Art Market ก็มักจะคิดเสมอว่า อยากให้มีร้านที่สามารถเเวะมาซื้อของเหล่านี้ได้ตลอด สร้าง community เล็กๆ เพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่ง ณ ตอนนั้นกระเเสงาน Art Market ในไทยก็เพิ่งเริ่มบูมมาได้ราว 1-2 ปีเท่านั้น 

หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย ในช่วงปลายปี 2019 เริ่มคิดหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ เดิมที ‘เบลล์’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ได้เปิดร้านขายสติกเกอร์น่ารักๆ ทางออนไลน์อยู่เเล้ว จึงได้มาพูดคุยกัน เเละเห็นตรงกันว่า 

“ทุกวันนี้เมืองไทยมีนักวาด นักศิลปะรุ่นใหม่เยอะมาก ความสามารถสูงไม่เเพ้ต่างชาติ เเต่ส่วนใหญ่กระจายตัวกันตามโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง ทวิตเตอร์ เราจึงเห็นโอกาสที่จะเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้มาโชว์ผลงาน”

อย่างในญี่ปุ่นจะมีร้านรวมงานศิลปะเยอะ เเต่ในไทยไม่ค่อยมีเเละหายากมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานของต่างชาติที่นำเข้ามา 

“ตอนนั้นในตลาดเเทบจะไม่มีร้านมัลติเเบรนด์ที่รวบรวมของคนไทยเลย เป็นช่องว่างธุรกิจที่เราเห็นว่าน่าจะโตไปได้ พร้อมไปกับการได้ช่วยขับเคลื่อนวงการนี้ด้วย” 

คนรุ่นใหม่ เสพศิลปะที่ ‘จับต้องได้’ 

พอตกลงกันได้ ก็เริ่มลงมือทำทันที…ไม่รอรีให้เสียเวลา โดยทั้ง 4 คนลงขันกันเพื่อเปิดสาขาเเรก ด้วยเงินราว 4-5 เเสนบาท จากเงินเก็บสะสมของทุกคน เเละบางส่วนจากการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งยอมรับว่าต้อง ‘อธิบาย’ เกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้ผู้ใหญ่เข้าใจกันเยอะทีเดียว 

ชื่อของ I Found Something Good มีความหมายถึงการพบเจอสิ่งที่ดีๆ เเละอยากเเบ่งปันให้ผู้อื่น เปิดตัวมาด้วยการเป็นร้านเล็กๆ ในย่านวัยรุ่น อย่างสยามสเเควร์ 

โดยเริ่มหาผลงานของศิลปินเเละเหล่านักวาดไทย จากกลุ่มเพื่อนที่รู้จักกัน ช่วงเเรกๆ ต้องอาศัย ‘ความเชื่อใจ’ กันมาก เพราะที่ร้านยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ

หลังเปิดร้านได้ไม่นาน ก็ได้รับเสียงตอบรับ ‘ดีเกินคาด’ ทำให้มองเห็นโอกาสอื่นๆ ที่จะนำมาต่อยอดไปได้อีก 

“สมัยก่อน เมื่อพูดถึงงาน Craft หรือ Art คนทั่วไปมักจะมองว่าต้องเป็นงานศิลปะยิ่งใหญ่ เป็นภาพวาดอลังการ เเต่เด็กๆ รุ่นนี้เสพงานศิลปะที่หลากหลายเเละเปิดกว้างมากขึ้น เน้นจับต้องได้จริงเเละใช้ในชีวิตประจำวันได้ กลายเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของพวกเขา” 

สร้าง community รวมพลคนชอบ ‘สติกเกอร์’ 

เมื่อคนซื้ออยู่ในโลกออนไลน์ ก็ต้องโปรโมตผ่านโลกออนไลน์ I Found Something Good เลือกทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง ‘ทวิตเตอร์’ เพื่อโปรโมตร้าน 

โดยได้เเรงสนับสนุนจากศิลปิน-นักวาดที่มี ‘ฐานเเฟนคลับ’ อยู่เเล้ว ช่วยเเชร์เเละกระจายข่าว ค่อยๆ สร้าง community พูดคุยรวมกลุ่มคนที่ชอบเหมือนกันขึ้นมา ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักได้รวดเร็ว มีคนต่อคิวซื้อเเถวยาวเหยียด

จากร้านเล็กๆ ห้องเดียว ตัดสินใจย้ายร้านขึ้นมาอยู่ชั้น 3 สยามสแควร์วัน เพื่อรองรับการเติบโต จากเริ่มเเรกกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นนักเรียนมัธยม จากนั้นขยับมาเป็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้ามามากขึ้น ปรับทาร์เก็ตให้เป็นผู้คนทุกช่วงวัย 

ทุกวันนี้ I Found Something Good เปิดให้บริการมาราว 2 ปี นับว่าเป็นร้าน ‘มัลติเเบรนด์’ ที่รวมงานสติกเกอร์ของคนไทยรายเเรกๆ โดยมีสินค้าในร้านกว่า 200 เเบรนด์ จำนวนมากกว่า 1 หมื่นชิ้น 

“พวกเรามองว่านี่เป็นเเค่ก้าวเเรกเท่านั้น ถ้าถามว่าสำเร็จเเล้วหรือยัง ก็ต้องบอกว่ายังไม่ถึงจุดวางไว้ เพราะยังต้องไปต่อได้อีกเยอะ ลึกๆ รู้สึก ‘ดีใจมาก’ ที่ได้เป็นจุดเล็กๆ ที่ได้ช่วยให้ศิลปินได้เติบโต สร้าง community เเละไลฟ์สไตล์ให้คนรุ่นใหม่ เป็นกำลังใจให้พวกเราได้สู้ต่อ” 

ปัจจุบัน มีศิลปินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ I Found Something Good ราว 200 คนทั่วประเทศ โดยยังมีแผนขยายความร่วมมือไปเรื่อยๆ นักวาดคนไหนสนใจก็ติดต่อมาได้

พลิก ‘ขายออนไลน์’ พยุงรายได้ช่วง COVID-19 

เมื่อมองย้อนไปยังจุดเริ่มต้น ทุกคนยังไม่มีความรู้พื้นฐานธุรกิจ อีกทั้งยังอายุน้อย การ ‘ดีลงาน’ ก็ถือว่าเป็น ‘งานยาก’ ต้องเรียนรู้กันใหม่ โดยอาศัยการปรึกษาพ่อเเม่ ปรึกษาผู้รู้ทำธุรกิจมาก่อน เเละปรึกษากันเอง ค่อยๆ ทำเป็นระบบร้านขึ้นมา 

เเต่หลังเปิดร้านมาได้เพียง 5 เดือน ก็เจอมรุสมครั้งใหญ่ที่กระทบธุรกิจทั่วโลกอย่าง COVID-19 เเต่ในอีกมุมก็ทำให้เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้การก้าวผ่านอุปสรรค นั่นก็คือ การปรับตัวเพื่อรับมือกับ ‘วิกฤต’ 

“โชคดีที่ตอนนั้น เราเริ่มคุยกันว่าจะขยับไปทำเว็บไซต์เเละขายผ่านออนไลน์กันมากขึ้น ในวันที่ทางการประกาศล็อกดาวน์ ตรงกับวันเเรกที่เราเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว เเต่เรายังสามารถขายของได้” 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนรายได้ ที่ ‘เคยได้’ ยอมรับว่าหายไปพอสมควร เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายหน้าร้าน เเต่ก็ถือว่าได้หาช่องทางพยุงรายได้ ไม่ได้ขาดช่วงเเละช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายได้ 

สำหรับช่องทางการขายในปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นหน้าร้าน เนื่องจากมีจุดเด่นอยู่ที่ ‘การได้เห็นของจริง’ เพราะสติกเกอร์เเต่ละชิ้น จะมีรายละเอียดที่เเตกต่างกันออกไป อย่างเช่น บางอันมีลวดลายที่มีมิติ กันน้ำได้หรือไม่ได้ เป็นต้น 

ช่วงที่ขายดีที่สุดคือช่วงเทศกาลเเละวันหยุดยาว ส่วนเวลาที่ขายดีในเเต่ละวัน จะเป็นช่วงเย็นๆ หลังเลิกเรียน โดยสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้เเก่ สติกเกอร์ , โปสการ์ด , พวงกุญเเจ เเละเทียนหอม 

จากเริ่มต้นที่ต้องทำทุกอย่าง ทุกหน้าที่ เเละมีทีมที่เป็นญาติมาช่วยอีกเเค่ 2 คน มาตอนนี้บริษัทขยายทีมงานให้ใหญ่ขึ้น มีออฟฟิศเเละจ้างพนักงานดูเเลหน้าร้าน มีผู้จัดการสาขา เเละเเอดมินคอยตอบลูกค้า รวมทั้งหมด 10 คน มีการเเบ่งหน้าที่การรับผิดชอบกันเเน่ชัด สื่อสารกันตลอดเวลา 

ขยายฐานลูกค้า ให้เข้าถึง ‘ผู้ใหญ่’

จุดเด่นของ I Found Something Good  อันดับหนึ่งคือการเป็น ‘Local Brand’ ที่มีผลงานศิลปะฝีมือคนไทย 100% รองลงมาคือ ‘ราคาที่จับต้องได้’ เด็กๆ สามารถซื้อได้ในราคา ‘หลักสิบหลักร้อย’  สินค้ามีความหลากหลาย โดยมีการใช้จ่ายเฉลี่ยราว 150-200 บาทต่อคน 

ตามมาด้วย ‘บรรยากาศของร้าน’ เมื่อมาเจอลูกค้าได้มาเจอคนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน จึงมีความที่อยากซื้อไว้สะสมมากขึ้น รู้สึกเป็นพื้นที่ของเขา เป็น comfort zone ที่เดินดูของได้นานๆ

จากสาขาเเรกในสยามสเเควร์วัน ย่านวัยรุ่น สู่การขยายสาขามาที่ ‘เมกาบางนา’ ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมืองที่ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย เพื่อเจาะกลุ่มครอบครัวเเละวัยทำงาน 

โดยเหตุผลที่เลือก ‘เปิดสาขาใหม่’ ที่เมกาบางนา เพราะมองว่าเป็นศูนย์การค้าที่มีทราฟฟิกเยอะ บรรยากาศทันสมัย มีลูกค้าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ มาเป็นครอบครัวเเละกลุ่มเพื่อน อีกทั้งเมกาบางนายังมีการเติบโตต่อเนื่อง เเม้จะอยู่ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 

เมื่อถามว่า ทำไมจึงเลือกขยายสาขาในช่วงเวลานี้ เจ้าของร้าน I Found Something Good บอกว่าเป็นหนึ่งในแผนที่จะทำอยู่เเล้วในช่วงสิ้นปี 2020 โดยคิดไว้ว่าโรคระบาดน่าจะซาลงเเล้ว เเต่เมื่อต้องมาเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ จึงต้องสู้กันใหม่ หาวิธีปรับตัวกันอีก เเต่ครั้งนี้มองว่าจะรับมือ ‘ได้ดีกว่าเดิม’ เพราะผ่านประสบการณ์เเบบนี้มาเเล้ว 

กลยุทธ์หลักๆ ของปีนี้ หลังขยายสาขาที่ 2 เรียบร้อยเเล้ว จึงจะเป็นการสร้าง ‘ระบบหลังบ้าน’ ให้เเข็งเเรง เรียกได้ว่า ‘กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น’ ทำความเข้าใจปัญหาที่มีเเละเตรียมตัวต่อยอดธุรกิจต่อไป 

‘ให้คุณค่า’ คือคีย์หลักของวงการ ‘สติกเกอร์’ ไทย

หลังจากที่อยู่ในวงการสติกเกอร์ไทยนาน  มองว่าปัญหาใหญ่ๆ ที่ต้องผลักดันคือเรื่อง ‘การให้คุณค่างานศิลปะ’ เพราะหลายคนยังตั้งคำถามว่า ทำไมราคาเท่านี้ อยากให้มองว่ากว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมา 1 ชิ้น มันมี ‘ต้นทุน’ มากกว่าค่ากระดาษเเละค่าหมึกพิมพ์ ทั้งการฝึกฝน ทักษะเเละการเล่าเรียนต่างๆ ที่ต้องใช้เวลานานหลายปี 

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงปัญหาเรื่อง ‘ซัพพลายเออร์’ ที่มีในท้องตลาดจำนวนน้อย เวลาผลิตสติกเกอร์จึงไม่ค่อยมีความหลากหลายของวัตถุดิบ เนื้อสติกเกอร์ยังมีให้เลือกค่อนข้างจำกัด 

เหล่านี้เป็นปัญหาที่สอดคล้องกันว่า ถ้าสังคมให้ความสำคัญกับงานศิลปะมากขึ้น บรรดาซัพพลายเออร์ก็จะพัฒนาสินค้าให้มีมากขึ้นตามไปด้วย หาอะไรใหม่ๆ มาสู้กันบ้าง ซึ่งตอนนี้ก็มองว่าตลาดนี้เริ่มดีขึ้น มีการนำของใหม่ๆ มาให้ศิลปินมาลองใช้กัน เเต่ก็ยังถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่ให้การสนับสนุนด้านงานวาดการ์ตูนอย่างญี่ปุ่น 

ส่วนปัญหาเรื่อง ‘ลิขสิทธิ์’ ทางร้านก็พยายามคัดสรรสินค้าไม่เหมือนกัน ไม่นำของละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามาขาย โดยมีการพูดคุยข้อตกลงกับศิลปินที่เป็นพาร์ตเนอร์ด้วยอย่างจริงจัง  

“ไม่อยากให้มองว่าวงการสติกเกอร์ เป็นเเค่เทรนด์หรือกระเเสที่เกิดขึ้นชั่วคราว เเต่ให้มองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ผู้คนนำมาปรับใช้ ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นในทุกๆ วัน” 

โดยปัจจุบัน มีทั้งการนำ ‘สติกเกอร์’ ไปตกเเต่งห้อง ตกเเต่งของใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เเละเครื่องเขียนต่างๆ นำไปใช้ตอนจดตารางการทำงาน จดสรุปการเรียน ช่วยให้มีกำลังใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น ฯลฯ 

คงความเป็นตัวตน มีทีมเวิร์กเเละใส่ใจลูกค้า 

สำหรับการเเข่งขันในตลาด มองว่ามีความท้าทาย เพราะมีร้านลักษณะคล้ายกันมาเปิดมากขึ้น จากเดิมที่เคยเป็นเจ้าเเรกๆ จึงทำให้ต้องเร่งพัฒนาให้ไม่หยุดนิ่ง 

“ถ้าถามว่าจะให้ขยายสาขาไปเยอะๆ เลยเราก็ทำได้ เเต่จะไม่ได้บรรยากาศเเบบที่เราต้องการ เพราะมันจะดูเป็นธุรกิจจ๋าเกินไป จึงจะพยายามคงความเป็นตัวตนของเรา ไปพร้อมๆ กับการเติบโตที่มากขึ้น” 

หลักการทำงานที่สำคัญที่สุด ที่ทั้ง 4 คนยึดถือ นั่นก็คือ ‘ทีมเวิร์ก’ เพราะไม่มีทางที่คนคนหนึ่งจะทำงานทุกอย่างได้ตั้งเเต่ต้นยันจบ การมีทีมที่ดีทำให้เราทำสิ่งที่คิดให้เกิดขึ้นจริงได้ เเละโตไปได้ด้วยประสิทธิภาพที่มากกว่า 

ต่อมาคือ ‘การดูเเลพนักงาน’ เเม้ว่าเราจะอายุยังน้อย เเต่เมื่อพนักงานในบริษัทเเล้ว ก็ต้องให้สวัสดิการที่ดี สร้างบรรยากาศการทำงานให้พูดคุยกันได้ อาศัยการไว้ใจจากคนทำงาน สบายใจเเละเปิดใจกับเรา 

‘ความพึงพอใจของลูกค้า’ คือสิ่งสำคัญโดยจะมีเช็กฟีดเเบ็กลูกค้าตลอด มีปัญหาอะไรก็เข้าไปเเก้ทันที  ขณะที่การดูเเลศิลปินนั้น จะมีการช่วยโปรโมตผลงานให้อย่างต่อเนื่อง หาโปรโมชันทำร่วมกับศิลปิน เพื่อส่งเสริมการขายให้กันเเละกัน 

เเม้จะเต็มไปด้วยพลังที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เเต่ทุกการทำงานต้องมี ‘ความเหนื่อย’ อย่างตอนที่เช็กสินค้าในสต๊อกไม่ทัน ต้องอดหลับอดนอน เเละมีช่วงที่เเพชชั่นมันลดลง เเต่พอมาเจอลูกค้าหรือได้รับฟีดเเบ็กดีๆ ก็มีส่วนช่วยได้เยอะ 

ส่วนมุมมองของการทำ ‘ธุรกิจกับเพื่อน’ นั้น ทั้ง 4 คนมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่าการทำงาน ไม่ได้มองว่าเป็นเเค่เพื่อนร่วมงาน เเต่เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ฟังความคิดเห็นกันเเละพยายามหาโซลูชันที่พอใจกันทุกฝ่าย 

สุดท้าย I Found Something Good ฝากเเนะนำถึง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่’ ที่อยากจะลองทำธุรกิจว่า ถ้าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไร ให้สังเกตความชอบของตัวเองดีๆ เพราะการทำธุรกิจต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันจริงๆ ทำงานตลอดเวลา ต้องทุ่มเทเเละวางเป้าหมายให้เเน่ชัด การเลือกพาร์ตเนอร์ที่ไว้ใจได้เป็นสิ่งสำคัญ หาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจทั่วไปเเละเฉพาะธุรกิจของเรา ลงมือทำจริง เเละตั้งมั่นว่าจะ ‘ไม่ถอยกลางทาง’ 

 

]]>
1320454