สินค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 27 Mar 2022 04:35:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Sony ปรับขึ้นราคาสินค้าในญี่ปุ่น 3-31% หลังขาดเเคลนชิ้นส่วน ต้นทุนการผลิตพุ่ง https://positioningmag.com/1379250 Sat, 26 Mar 2022 09:53:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379250 เเบรนด์เทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง ‘Sony’ ประกาศปรับขึ้นราคาสินค้าหลายรายการในญี่ปุ่น หลังเจอปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ต้นทุนการผลิตและการจัดจำหน่ายพุ่งสูงขึ้น

โดยเว็บไซต์ทางการของ Sony Japan ระบุว่า นับตั้งแต่ 1 เมษายน 2022 เป็นต้นไป ทาง Sony Marketing Inc. จะปรับราคาขายส่งสำหรับสินค้าบางรายการในประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นประมาณ 3-31% จากราคาเดิม อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก อย่างการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ต้นทุนวัสดุ ต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ สินค้าในราคาขายปลีกจะมีการปรับราคาตามคำแนะนำของผู้ผลิต เเละยังไม่ได้เปิดเผยว่าจะมีปรับราคาสินค้าในประเทศอื่นด้วยหรือไม่

โดยกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่ที่จะปรับขึ้นราคา จะประกอบด้วยกลุ่มซาวด์บาร์, โฮมเทียร์เตอร์, หูฟัง, เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา, กล้องดิจิทัล, กล้องวิดีโอ, เครื่องเล่นบลูเรย์ดีวีดี, ลําโพงแบบมีแอมป์ในตัว, ลำโพงคล้องคอ, วิทยุ รวมถึงอุปกรณ์เสริมในกลุ่มภาพและเสียง

 

ที่มา : sony.jp 

]]>
1379250
จับตา ‘ค้าปลีก’ โค้งสุดท้ายปี 64 กลับมาฟื้นตัวเป็นบวก เเต่ผู้บริโภคยังระวังใช้จ่าย https://positioningmag.com/1356736 Fri, 15 Oct 2021 05:51:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356736 ‘ค้าปลีก’ ส่งสัญญาณฟื้นตัวช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี รับคลายล็อกดาวน์ KBANK ประเมินเศรษฐกิจไทยผ่านจุดเเย่สุดของวิกฤตโควิดมาเเล้ว กลุ่มสินค้าจำเป็น ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ ฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนกลุ่ม ‘เสื้อผ้า-รองเท้า’ ยังหดตัวต่อเนื่อง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แนะเร่งทำโปรโมชันด้านราคาจับโอกาสตลาดหลังเปิดประเทศ ธุรกิจต้องปรับตัวรับกำลังซื้อที่ไม่เเน่นอน 

เเนวโน้มค้าปลีก Q4 ฟื้นตัวเป็นบวก 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ถึง ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

โดยสถานการณ์การระบาดของโควิด และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมทั้งสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของบางธุรกิจ เช่น สถานบันเทิง สะท้อนให้เห็น ถึงโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดที่แย่ที่สุดจากการระบาดของโควิด-19 มาแล้ว

เมื่อประกอบกับจังหวะการเร่งออกแคมเปญส่งเสริมการตลาดของภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ส่งผลให้ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า

“ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 น่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ช้อปดีมีคืน ในช่วงปลายปีไว้แล้วระดับหนึ่ง แต่หากภาครัฐมีการปรับหรือเพิ่มขนาดของมาตรการ ก็อาจจะทำให้ตัวเลขค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายขยับสูงขึ้นกว่าที่คาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่หดตัว -1.2%”

การคลายมาตรการล็อกดาวน์ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเดือนธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคาดว่าบรรยากาศของเทศกาลปีใหม่ในปีนี้ น่าจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่เกิดการระบาดคลัสเตอร์สมุทรสาคร

ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีก ที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น อย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว เช่น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะในโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 64

อาหาร-เครื่องดื่มยังขายดี เสื้อผ้า-รองเท้า หดตัวต่อเนื่อง 

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับความปลอดภัย และเผชิญกับกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ยังคงเลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ยังมีความจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า รองเท้า น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายอาจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยอดขายทั้งปี 64 น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น หรือกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ประกอบการค้าปลีกกลุ่มห้างสรรพสินค้า (โซนจำหน่ายสินค้าไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า) ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าความงาม ร้านวัสดุก่อสร้าง และซ่อมแซมตกแต่งบ้าน (แม้ในบางพื้นที่อาจได้แรงหนุนบ้างจากการซ่อมแซมหลังผ่านอุทกภัย)

เร่งทำโปรโมชัน สู้ตลาดด้านราคา 

ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับรายได้ และกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการเร่งทำโปรโมชันการตลาดด้านราคาในช่วงเวลาดังกล่าว ที่เริ่มมีการเปิดประเทศภายหลังสถานการณ์โควิดส่งสัญญาณดีขึ้น

ควบคู่ไปกับการให้บริการลูกค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และสร้างความประทับใจ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องมีการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้

Photo : Shutterstock

ความไม่เเน่นอน กระทบค่าครองชีพ 

ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ต่อเนื่องถึงปี 65 ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ ทำให้การดำเนินธุรกิจยังคงยากลำบากต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ซึ่งสร้างความเสียหาย ต่อสินค้าเกษตรและส่งผลต่อราคาตามมา เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ และการขนส่งที่อาจจะล่าช้า ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับค่าครองชีพของผู้บริโภค

ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ หรือมีศักยภาพในการใช้จ่ายยังคงมีจำนวนจำกัด หรือแม้แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือเทคโนโลยีในการทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาเปลี่ยนภาพการทำธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน และเกิดผู้เล่นรายใหม่ หรือการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิม

ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว หรือรับมือกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เร็ว ก็น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจค้าปลีกก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในระยะข้างหน้า

“ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิดในประเทศในระยะข้างหน้า อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจกลับมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการใช้จ่ายของคนในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันของธุรกิจที่จำนวนผู้เล่นยังคงทยอยเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่นที่อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์” 

]]>
1356736
ธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” โตตามเทรนด์รักษ์โลก-อีคอมเมิร์ซ SCGP ทุ่ม 7.6 พันล้านเพิ่มลงทุนอาเซียน https://positioningmag.com/1264118 Wed, 12 Feb 2020 18:27:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264118 เทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลายในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือ “เเพ็กเกจจิ้ง” ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อตอบสนองให้ทันความต้องการของผู้บริโภคที่ “ยอมจ่ายเพิ่ม” เพื่อให้ได้ใช้ของที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม

หากมองภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน จะเห็นว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

SCG Packaging (SCGP) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ก็กำลังเตรียมเปิดระดมทุนในตลาดหุ้นภายในปีนี้ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) มองว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนกำลังเติบโตอย่างมากเฉลี่ย 26% ต่อปี และกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงธุรกิจเดลิเวอรี่ จากปัจจัยหนุนการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีรายได้ระดับปานกลางในไทย เวียดนาม อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดหลัก จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม ด้วยโมเดล “Packaging Solutions” ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

“ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ปกป้องสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย”

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP

ทั้งนี้ SCGP มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดกว่า 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

เเละตอนนี้ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จากพฤติกรรมบริโภคที่มีความต้องการที่หลากหลายและเติบโตเร็ว เช่น ธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast-Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ส่วนการรณรงค์ลดใช้พลาสติกนั้น ผู้บริหาร SCGP บอกว่าทำให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์เเบบ single-use “ใช้ครั้งเดียวทิ้ง” ลดลงเเละมีความต้องการบรรจุภัณฑ์เเปรรูปมากขึ้น อีกมุมที่น่าสนใจคือเมื่อคนทั่วไปไม่ได้นำถุงพลาสติกมาใช้ซ้ำเพื่อใส่ขยะในครัวเรือนเเล้ว ก็เป็นโอกาสธุรกิจของผู้ผลิต “ถุงใส่ขยะ” ที่จะทำออกมาขายมากขึ้นเช่นกัน

สำหรับ SCGP มีกำลังการผลิตแพ็กเกจจิ้งรวม 4 ล้านตัน กระดาษลูกฟูก 1.1 ล้านตันทำบรรจุภัณฑ์ให้หลายอุตสาหกรรม อย่างในซัพพลายเชนของธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจค้าปลีก เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพ เป็นต้น

“แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตน้อยลง แต่คนก็ยังต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเหมือนเดิม” 

ผู้บริหาร SCGP ยกตัวอย่างกลยุทธ์การนำ “Pain Point” ของผู้บริโภคมาต่อยอดการดีไซน์บรรจุภัณฑ์ของ “นมข้นหวานหลอดบีบ” ที่คนยอมจ่ายเเพงกว่าในปริมาณที่น้อยกว่าเเบบเดิมที่เป็น “กระป๋อง” เพราะต้องการความสะดวกสบาย ใช้ง่ายกินง่าย

โดย SCG Packaging ยังใช้กลยุทธ์ “ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางเเละมองไกลกว่ากล่องกระดาษ” โดยมีทีมวิจัยความต้องการของตลาด หาสาเหตุของปัญหาเเละพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

บรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ ทำหน้าที่ 4P

  • Protect เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องป้องกันสิ่งของที่อยู่ภายใน ไม่ให้ชำรุดหรือเสียหาย
  • Promote บรรจุภัณฑ์ต้องทำหน้าที่โฆษณาตัวเองได้ด้วย ต้องดึงดูดเเละสะดุดตาผู้ใช้เมื่ออยู่บนชั้นวาง
  • Preserve รักษาอาหารที่อยู่ข้างในให้คงสภาพได้นานที่สุด เช่นมีการนำ Polymer มาเป็นวัสดุหลักทำให้เก็บรักษาได้ 45 – 60 วัน
  • Perform มีความทันสมัยเป็น Smart Packaging ตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ผ่านคิวอาร์โค้ด เป็นต้น

“เเม้ว่ากระบวนการ Packaging Solutions จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เเต่ลูกค้าก็ยอมลงทุนเพราะมองความยั่งยืนในธุรกิจระยะยาว” วิชาญระบุ

ทุ่ม 7.6 พันล้านขยายลงทุนอาเซียน

ล่าสุด SCGP เปิดเผยผลประกอบการปี 2562 ว่ามีรายได้จากการขาย 89,070 ล้านบาท และมีกำไร 5,268 ล้านบาท (ปี 2561 ยอดรายได้อยู่ที่ 87,255 ล้านบาท) สัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่ 57% มาจากภายในประเทศ และอีก 43% มาจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน เเบ่งเป็น เวียดนาม 12% อินโดนีเซีย 10% ฟิลิปปินส์ 4% มาเลเซีย 2% และประเทศอื่นๆ 15%

“เเผนหลักของ SCGP ในปี 2563 คือต้องการเพิ่มการลงทุนไปยังอาเซียนมากขึ้น ด้วยงบลงทุนกว่า 7,600 ล้านบาท เพราะเห็นโอกาสการเติบโตสูง เช่นที่เวียดนาม บรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) กำลังได้รับความนิยมมาก” 

ปี 2562 ที่ผ่านมาควบรวมกิจการและร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาค ด้วยเงินลงทุนกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน SCG Packaging มีโรงงานกว่า 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน เเละปีนี้จะมีการลงทุน ดังนี้

  • เวียดนาม มูลค่าการลงทุน 600 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
  • ฟิลิปปินส์ มูลค่าการลงทุน 5,200 ล้านบาท ในด้านการเพิ่มเทคโนโลยีเครื่องจักร ตอนนี้กำลังการผลิตรวมกว่า 2.2 แสนตันต่อปี
  • อินโดนีเซีย มูลค่าการลงทุน 1,800 ล้านบาทในด้านการเพิ่มเทคโนโลยีเครื่องจักร ตอนนี้มีกำลังการผลิตรวม 4 แสนตันต่อปี

“ปัจจัยเสี่ยงปี 2563 เช่น ไวรัสโคโรนา (COVID-19) มองว่าเป็นความเสี่ยงระยะสั้น ส่วนภัยเเล้งที่อาจส่งผลต่อการผลิตกระดาษนั้นเห็นว่าบริษัทคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเป็นกระบวนการที่ใช้น้ำน้อย เช่นเดียวกับการแข็งค่าของเงินบาทที่บริษัทยังสามารถบริหารจัดการได้”

]]>
1264118