หนี้สาธารณะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Apr 2022 13:01:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘หนี้รัฐบาล’ ทั่วโลกพุ่งไม่หยุด โควิด-เงินเฟ้อ-สงคราม กดดันหลายประเทศต้องกู้เพิ่ม https://positioningmag.com/1380944 Thu, 07 Apr 2022 11:09:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380944 ปริมาณหนี้สาธารณะทั่วโลกปีนี้ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.5% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 71.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงาน Sovereign Debt Index ประจำปีครั้งที่ 2 โดย Janus Henderson บริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ในอังกฤษคาดการณ์ว่า ระดับหนี้ของรัฐบาลต่างๆ จะเพิ่มขึ้น 9.5% จากการกู้ยืมของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่นเเละจีนเป็นหลัก เเละประเทศอื่นๆ ก็จะมีการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ในปี 2021 รัฐบาลทั่วโลกมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 7.8% หรือราว 65.4 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่ต้นทุนภาระหนี้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.01 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเพียง 1.6%

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนภาระหนี้มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ ราว 14.5% คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ 1.16 ล้านล้านดอลลาร์

การระบาดของโควิดส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการกู้ยืมของรัฐบาล และผลกระทบจะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่โศกนาฏกรรมในยูเครนยังมีแนวโน้มที่จะกดดันรัฐบาลตะวันตกให้กู้ยืมเงินมากขึ้น เพื่อใช้เป็นทุนในการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศที่เพิ่มขึ้น Bethany Payne ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนพันธบัตรโลกของ Janus Henderson กล่าว

รัฐบาลเยอรมนี ให้คำมั่นแล้วว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศให้มากกว่า 2% ของ GDP นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน

ด้านรายงานการกู้ยืมทั่วโลกล่าสุดจาก S & P Global Ratings ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ประเมินว่า การกู้หนี้สาธารณะชุดใหม่ในปีนี้อาจจะทะลุ 10.4 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดการระบาดใหญ่เกือบหนึ่งในสาม

Karen Vartapetov นักวิเคราะห์สินเชื่อจาก S & P Global Ratings ระบุว่าเราคาดว่าการกู้ยืมจะยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้องการหมุนเวียนของหนี้ที่สูง เช่นเดียวกับความท้าทายของการดำเนินนโยบายการคลังหลังการระบาดใหญ่ อัตราเงินเฟ้อที่สูง ภูมิทัศน์ทางสังคมและการเมืองที่มีการแบ่งขั้ว

โดยผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลก คาดว่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อความต้องการเงินทุนของรัฐบาลมากขึ้น ในขณะที่เงื่อนไขทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนเงินทุนของรัฐบาลสูงขึ้นไปอีก

 

 

ที่มา : CNBC

]]>
1380944
IMF ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ ‘โตต่ำกว่า 6%’ เจอมรสุมหนี้พุ่ง เงินเฟ้อ วัคซีนไม่ทั่วถึง https://positioningmag.com/1355243 Wed, 06 Oct 2021 09:24:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355243 IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้โตต่ำกว่า 6%’ หลังเจออุสรรคหลายด้าน ทั้งหนี้สาธารณะที่พุ่งสูง เงินเฟ้อ เเละการกระจายวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในงานสัมมนาของมหาวิทยาลัย Bocconi ในอิตาลี ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2020 จะลดลงต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 6% เมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา” 

หลักๆ มาจากปัญหาความเสี่ยงเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ อัตราเงินเฟ้อ การกระจายวัคซีน และแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเเต่ละประเทศที่แตกต่างกัน จากการระบาดของโควิด-19

Georgieva บอกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แต่การระบาดใหญ่ทำให้การฟื้นตัวยังอยู่ในวงจำกัด โดยมีอุปสรรคสำคัญที่เกิดจาก ‘Great Vaccination Divide’ ความแตกต่างด้านการกระจายวัคซีน ที่ทำให้หลายประเทศเข้าถึงวัคซีนโควิด ‘น้อยเกินไป’

ในรายงานของ World Economic Outlook ที่จะมีการอัปเดตในสัปดาห์หน้า จะมีการประเมินว่า บรรดาประเทศเศรษฐกิจใหญ่จะสามารถกลับสู่ระดับปกติก่อนเกิดโรคระบาด ได้ภายในปี 2022 แต่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลา ‘อีกหลายปี’ ในการฟื้นตัว

สหรัฐฯ เเละจีน ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ส่วนอิตาลีและยุโรป ก็มีเเนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก กลับมีการเติบโตได้ช้าลงมาก

หนี้พุ่ง เงินเฟ้อยืดเยื้อ

หนี้สินที่พุ่งสูง ราคาอาหารที่เเพงขึ้น และการขาดเเคลนวัคซีนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เเละอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าล้านล้านหากประเทศเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้

ขณะเดียวกันปัญหาภาระหนี้ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 100% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของโลก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญ

Georgieva มองว่า เเม้ระดับหนี้สาธารณะของภูมิภาคยุโรป จะอยู่ในระดับสูงจ แต่เศรษฐกิจโดยรวมก็จะสามารถเติบโตได้ อีกทั้งนโยบายต่างๆ ของยุโรปก็ยังพยายามจะหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้สาธารณะที่เคยเกิดขึ้น เมื่อช่วงปี 2007-2008 ด้วย

ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อในหลายประเทศ อาจทำให้ธนาคารกลางของเเต่ละประเทศ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อไว้ ซึ่งจะกระทบต่อเเผนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤตโควิดได้ และเสี่ยงทำให้มูลค่าสินทรัพย์บางอย่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เร่งส่งมอบวัคซีนให้ประเทศยากจน 

พร้อมกันนี้ IMF ยังเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวย เพิ่มการส่งมอบวัคซีน ไปยังประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น รวมไปถึงยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19

ปัจจุบันผู้คนเกือบ 46% ทั่วโลกได้รับวัคซีนโควิดเเล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส แต่อัตราดังกล่าวคิดเป็นเพียง 2.3% ของผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ตามรายงานของ Our World in Data มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

โดยความเหลื่อมล้ำในฉีดวัคซีนระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่ยากจน อาจฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ GDP ทั่วโลกสูญเสียสะสมกว่า 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นสิ่งเเวดล้อม กรรมการผู้จัดการใหญ่ IMF ขอให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง โดยควรหันมาสนับสนุนพลังงานสะอาดพลังงานหมุนเวียน สร้างเครือข่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เเละมุ่งลดมลพิษจากคาร์บอน

แนวทางนี้จะช่วยเพิ่ม GDP ของโลกได้ราว 2% ในชาวงทศวรรษนี้ และสร้างงานได้อีกราว 30 ล้านตำแหน่งทั่วโลก

ส่วนประเด็นสกุลเงินดิจิทัลกรรมการผู้จัดการใหญ่ IMF บอกว่า สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางเป็นรูปแบบเงินดิจิทัลที่น่าเชื่อถือที่สุด ส่วนสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ อย่าง Bitcoin นั้น เป็นเรื่องยากที่จะคิดว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะเป็นเงินได้

 

ที่มา : CNA , Reuters  

]]>
1355243