หาคู่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 12 May 2022 08:39:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แอปฯ หาคู่ยอดฮิตในกลุ่มชาวเกย์ “Grindr” เตรียมเปิด IPO มูลค่า 2,100 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1385045 Thu, 12 May 2022 07:26:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1385045 Grindr แอปฯ หาคู่ยอดฮิตในกลุ่มเกย์เตรียมเปิด IPO ผ่านการควบรวมกิจการบริษัท SPAC โดยจะทำให้บริษัทมีมูลค่าขึ้นไปแตะ 2,100 ล้านเหรียญ รับเทรนด์แอปฯ หาคู่ยังเป็นช่วงขาขึ้น

บริษัท Grindr ถือว่าผ่านเส้นทางปั่นป่วนมาหลายปีในแง่ของการถือครอง เนื่องจากบริษัทเคยขายหุ้นใหญ่ให้กับบริษัท Kunlun Tech Co จากประเทศจีน และเคยมีแผนจะเปิด IPO มาแล้วเมื่อปี 2018 แต่ต่อมารัฐบาลสหรัฐฯ เพ่งเล็งแอปฯ นี้ในแง่ความมั่นคงของชาติ โดยเกรงว่าจะมีการส่งข้อมูลอ่อนไหวของประชาชนอเมริกันให้กับรัฐบาลจีน จึงบีบให้ Kunlun Tech Co ต้องลดการถือครองหุ้นเมื่อปี 2020

บริษัทที่ชนะดีลเข้าซื้อหุ้นจาก Kunlun Tech คือ San Vicente ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าจากการลงทุน 3 ฝ่าย ได้แก่ Raymond Zage ซีอีโอ Tiga Investments, James Lu อดีตกรรมการบริหาร Baidu Inc และ Michael Gearon เจ้าของร่วมทีมบาสเกตบอล Atlanta Hawks โดยดีลขณะนั้นทำให้บริษัท Grindr ถูกประเมินมูลค่าไว้ที่ 620 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,500 ล้านบาท)

แผนการเปิด IPO ของ Grindr จะใช้วิธีควบรวมกิจการกับบริษัท Tiga Investments ของ Zage เอง ซึ่งบริษัทนี้ตั้งขึ้นมาเป็นบริษัท SPAC อยู่แล้ว

มูลค่าดีลทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 73,000 ล้านบาท) ผู้ถือหุ้นเดิมจะลดสัดส่วนการถือครองเหลือ 78% และทุกคนในกลุ่ม San Vicente จะยังคงลงทุนต่อ

การเปิด IPO ครั้งนี้คาดว่าน่าจะยังต้องรอการรับรองจากคณะกรรมการด้านการลงทุนจากต่างประเทศในสหรัฐฯ (CFIUS) ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกับที่มีคำสั่งให้ Kunlun ขายหุ้นเมื่อ 2 ปีก่อน ประเด็นที่อาจจะถูกเพ่งเล็งคือ James Lu ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท Grindr ขณะนี้ ถูกสำรวจพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับที่ปรึกษาบริษัท Kunlun

Photo : Shutterstock

Grindr ระบุในเอกสารนำเสนอต่อนักลงทุนว่า บริษัทมีผู้ใช้งานเฉลี่ย 11 ล้านรายต่อเดือน และรายได้ของบริษัทเมื่อปีก่อนเติบโตขึ้น 30%

ข้อมูลจาก Refinitiv ระบุว่า EBITDA ของบริษัท Grindr เมื่อปี 2021 อยู่ที่ 77 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,700 ล้านบาท) นั่นทำให้ดีลนี้ให้ค่าบริษัทสูงกว่ารายได้ 27 เท่า หากเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน Match Group Inc (เจ้าของแอปฯ Tinder) ปัจจุบันมีมูลค่าสูงกว่า EBITDA 22 เท่า และบริษัท Bumble Inc มีมูลค่าสูงกว่า EBITDA 25 เท่า

ตลาดแอปฯ หาคู่ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยบริษัทวิจัย Grand View Research ประเมินว่า ภายในปี 2028 ตลาดแอปฯ หาคู่ทั่วโลกจะมีมูลค่าแตะ 11,030 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.83 แสนล้านบาท) โดยระหว่างปี 2021-2028 น่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 5.6% โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ระหว่างเกิดโรคระบาด มีการใช้งานแอปฯ หาคู่สูงขึ้นมากเพื่อแก้เหงาและชดเชยช่วงที่ไม่สามารถไปพบปะคนใหม่ๆ ในชีวิตออฟไลน์ได้

งานวิจัยยังคาดว่า แม้ขณะนี้ตลาดใหญ่ที่สุดของแอปฯ หาคู่จะเป็นทวีปอเมริกาเหนือ แต่อนาคตตลาดเอเชียแปซิฟิกน่าจะเติบโตแรงกว่า โดยน่าจะโต CAGR 6.0% ในรอบ 7 ปีข้างหน้า เพราะเอเชียแปซิฟิกกำลังวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ทั่วถึงมากขึ้น ทำให้จะมีผู้ใช้บริการสูงขึ้น

Source: The Economic Times, PR Newswire

]]>
1385045
คนไทยใช้ Tinder ปักหมุดไป “โซล เกาหลีใต้” มากสุด ส่วน “อินเดีย” ปักหมุดมาไทย https://positioningmag.com/1328494 Tue, 20 Apr 2021 14:51:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328494 Tinder เปิดอินไซต์ คนไทย Gen Z ปัดขวากันรัวๆ ใช้ฟีเจอร์ Passport ได้ฟรีเพื่อเสิร์ชโลเคชั่น ปักหมุด พูดคุยกับเพื่อนใหม่ และหาคู่แมตช์ได้ทั่วโลก คนไทยนิยมปักหมุดไปหาโอปป้าที่เกาหลีใต้ ส่วนคนอินเดียนิยมปักหมุดมาไทยมากที่สุด

Tinder ได้เก็บข้อมูลการใช้งานของสมาชิกอายุระหว่าง 18-25 ปีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ว่านิยมหาคู่ที่จังหวัดอะไร เมืองอะไรมากที่สุด

10 เมืองในไทยที่มีคนปักหมุดเพื่อหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ
  2. ขอนแก่น – กรุงเทพฯ
  3. ปทุมธานี – กรุงเทพฯ
  4. หาดใหญ่ – กรุงเทพฯ
  5. นครราชสีมา – กรุงเทพฯ
  6. นครปฐม – กรุงเทพฯ
  7. พัทยา – กรุงเทพฯ
  8. อุดรธานี – กรุงเทพฯ
  9. ชลบุรี – กรุงเทพฯ
  10. อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่คนไทยปักหมุดหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. โซล เกาหลีใต้
  2. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
  4. โตเกียว ญี่ปุ่น
  5. ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
  6. ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
  7. ไทเป ไต้หวัน
  8. สิงคโปร์
  9. ปารีส ฝรั่งเศส
  10. เซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่ปักหมุดมายังประเทศไทยมากที่สุด

  1. เดลี อินเดีย
  2. สิงคโปร์
  3. เกซอน ฟิลิปปินส์
  4. อิสตันบูล ตุรกี
  5. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  6. จาการ์ตา อินโดนีเซีย
  7. กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
  8. มุมไบ อินเดีย
  9. โฮจิมินห์ เวียดนาม
  10. ปารีส ฝรั่งเศส
]]>
1328494
8 เรื่องน่ารู้ อัปเดตเทรนด์หาคู่ของคน Gen Z ใน Tinder หลังล็อกดาวน์ทำคนปัดมากขึ้น https://positioningmag.com/1327673 Sun, 11 Apr 2021 16:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327673 เปิดพฤติกรรมการหาคู่ของคนชาว Gen Z (อายุระหว่าง 18-25 ปี) ที่เป็นเป็นกลุ่มใหญ่ของ Tinder จากสมาชิกทั่วโลกมากกว่าครึ่งเป็นกลุ่มคน Gen Z ได้กำหนดนิยามและรูปแบบใหม่ของการออกเดตมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่มีผู้ใช้งาน Tinder มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเรียกได้ว่าเป็นทศวรรษใหม่ของการหาคู่

ผู้คนพูดคุยกันมากขึ้นบนทินเดอร์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มคน Gen Z ใช้เวลาสนทนาบนทินเดอร์มากขึ้นกว่าเดิม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการส่งข้อความต่อวันมากขึ้น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และการพูดคุยยาวนานขึ้นกว่า 32%

คน Gen Z ได้เปลี่ยนไปคุยกันทางวิดีโอมากขึ้นโดยผู้ใช้งานเกือบครึ่งบนทินเดอร์ใช้การวิดีโอคอลกับคู่ที่แมตช์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด และ 40% จะใช้วิดีโอคอลเพื่อพูดคุยทำความรู้จักกันต่อไปแม้ว่าการแพร่ระบาดจะจบลงแล้ว การใช้งานและกิจกรรมบนทินเดอร์มียอดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดทั้งปี โดยมีการปัด (Swipe) เพิ่มขึ้น 11% และมีการแมตช์เพิ่มขึ้นถึง 42% ต่อสมาชิกหนึ่งคน

Photo : Shutterstock

กลุ่มคน Gen Z แหกกฎการหาคู่และข้อห้ามเดิมๆ และเปลี่ยนจากการออกเดตแบบค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการทำตัวลื่นไหลไปตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความคาดหวัง (ไม่คิดเยอะ เป็นไงเป็นกัน) แง่ของอารมณ์ (ซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเอง) และแง่ของประสบการณ์ (ทำกิจกรรมที่มีความหมายด้วยกันมากกว่าแค่ละลายพฤติกรรม – นี่คือความโดดเด่นของการออกเดตในยุคดิจิทัล)

สไตล์การหาคู่ของคน Gen Z นั้นมีความย้อนแย้งในตัว กล่าวคือในขณะที่พวกเขาขยายขอบเขตในการหาคู่ให้กว้างขึ้น แต่กลับคว้าคนใกล้ตัวในบริเวณเดียวกันเพื่อออกเดต และในขณะที่พวกเขาใช้เวลาอย่างเร่งรีบไปกับการพาตัวเองออกเดต ก็ไม่ลืมที่จะหาเวลาเล็กๆ น้อยๆ ให้กับโมเมนต์หวานๆ เช่นกัน

8 ท็อปเทรนด์การหาคู่

1. คนหาคู่จะมีความซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

COVID-19 ส่งผลให้หลายคนเห็นภาพ และมุมมองต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ทำให้สมาชิกทินเดอร์ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นมากกว่าเคย ทั้งในเรื่องตัวตน ภาพลักษณ์ และประสบการณ์ส่วนตัว ในช่วงการแพร่ระบาด มีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” และ “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” ในโปรไฟล์เพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” เพิ่มมากขึ้น 31% ส่วนคำว่า “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่า

Photo : Shutterstock
2. การมีขอบเขตในเรื่องต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของขอบเขตความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สมาชิกทินเดอร์ใช้โปรไฟล์ของตัวเองเพื่ออธิบายความคาดหวังของพวกเขาอย่างชัดเจน เช่น การใช้คำว่า “สวมหน้ากากอนามัย” เพิ่มขึ้นสูงถึง 100 เท่าในช่วงที่มีการระบาด

“ขอบเขต” เป็นอีกคำที่ถูกใช้มากขึ้นกว่าเดิม (มากขึ้น 19%) และคำว่า “ความยินยอม” ก็พุ่งสูงขึ้น 11% การกระทำเหล่านี้จะทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับความยินยอมเป็นเรื่องปกติและเกิดความสบายใจมากขึ้น

3. ผู้คนอยากมีความสัมพันธ์แบบ “เป็นไงเป็นกัน” มากขึ้น

ผลสำรวจล่าสุดของสมาชิกทินเดอร์ คนหาคู่จำนวนมากกำลังมองหาความสัมพันธ์แบบ “ไม่ต้องมีคำนิยาม” เพิ่มมากขึ้นเกือบ 50% ดังนั้น การแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงเป็นแรงขับให้คนยุคต่อไปที่กำลังหาคู่ มองหาความสัมพันธ์แบบเปิดที่ไม่ผูกมัดมากกว่าความต้องการที่จะแต่งงาน

4. การออกเดตออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตใหม่

ในยุคที่การพบปะแบบเจอหน้ากันมาพร้อมกับความเสี่ยง คนที่มองหาคู่จึงหันไปหาประสบการณ์เสมือนจริงเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยผลสำรวจล่าสุดของทินเดอร์พบว่า คนที่ลองออกเดตออนไลน์มองว่าการเดตแบบนี้จะมีความรู้สึกกดดันน้อยลงในการศึกษาเพื่อนใหม่ ซึ่งสมาชิกทินเดอร์วัย Gen Z จำนวน 40% กล่าวว่าพวกเขาจะยังคงออกเดตออนไลน์ต่อไป แม้ว่าสถานที่นัดพบในการออกเดตจะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้วก็ตาม

Photo : Shutterstock

5. เดตแรกในอนาคต เน้นการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างสรรค์มากกว่าเดิม

การที่บาร์ และร้านอาหารหลายแห่งปิดให้บริการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานที่ในการออกเดตแรกตามขนบแบบเดิมๆ ไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป ดังนั้นเวลานัดเจอกัน พวกเขาจะเลือกกิจกรรมของเดตแรกที่มีความสร้างสรรค์ มีความเป็นส่วนตัว และมีความสบายๆ มากขึ้นกว่าในอดีต

ดังตัวอย่างที่ทินเดอร์พบในโปรไฟล์ที่มีการใช้คำว่า “กำลังเล่นโรลเลอร์สเก็ต” เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า รวมถึงการระบุว่าอยากให้กิจกรรมของเดตแรกเป็นการก่อสร้างปราสาทด้วยกัน ไปจนถึงการปาหิมะใส่กัน

6. ก้กตัวมานาน การสัมผัสทางร่างกายกลายเป็นสิ่งจำเป็น

ผู้คนใช้โปรไฟล์ของตัวเองในการแสวงหาการแสดงออกถึงความรักใคร่ เช่น การจับมือ อ้อมกอด หรือการที่มีใครบางคนมาลูบไล้ผม โดยมีการใช้คำว่า “อ้อมกอด” เพิ่มขึ้น 23% และคำว่า “จูงมือกัน” สูงขึ้น 22% หลังจากที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมโดยไม่มีการสัมผัสกันทางร่างกายร่วมเดือน

เมื่อได้รับการสัมผัสอีกครั้งจึงทำให้คนที่กำลังหาคู่รู้สึกมีความสุขกับพฤติกรรมนั้นมากขึ้น ดังนั้นแม้ว่าการออกไปพบกันจะกลับไปเป็นเหมือนปกติแล้วก็ตาม แต่การแสดงออกทางกายภาพจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในชีวิตของคนที่ออกเดต

Photo : Shutterstock

7. ปัดขวาไปไกลได้ทั่วโลก แต่เลือกเดตกับคนที่อยู่ใกล้

ผู้คนย้ายที่อยู่ก็จะสมัครใช้งานทินเดอร์เพื่อค้นหาผู้คนใหม่ๆ ที่อยู่ในเมืองนั้นด้วยการระบุว่า “ย้ายบ้านใหม่” ในโปรไฟล์ของตัวเองสูงขึ้น 28% โดยในปี 2563 นอกจากเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้แล้ว ผู้คนยังใช้ทินเดอร์ในการหาเพื่อนใหม่ที่อาศัยอยู่ใกล้กับพวกเขาอีกด้วย

8. เรื่องดีๆ ในแบบ “ซัมเมอร์แห่งรัก” กำลังจะเกิดขึ้น

ข้อมูลในเดือนตุลาคม 2563 บอกกับเราว่า สมาชิกทินเดอร์มากกว่า 40% ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่เคยได้พบกับคู่ที่แมตช์ตัวเป็นๆ แต่โปรไฟล์ของทินเดอร์กลับบอกตรงกันข้าม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การใช้คำว่า “กำลังไปออกเดต” ในโปรไฟล์ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา

Photo : Shutterstock

และแม้ว่าการออกเดตแบบเจอกันตัวเป็นๆ ในปี 2563 จะลดน้อยลงไป (54% ของคนโสดให้ข้อมูลกับ YPulse ว่า “COVID-19 เข้ามาถ่วงเวลาชีวิตรักของพวกเขาให้ดำเนินไปช้ากว่าเดิมมาก”) แต่ถ้าได้รับวัคซีนเมื่อไรพวกเขาก็พร้อมที่จะออกนอกบ้านทันที

คำจำกัดความ: ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากโปรไฟล์บนทินเดอร์หรือการรวบรวมกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแอปพลิเคชันทินเดอร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดึงมาศึกษาตั้งแต่มกราคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2654 ข้อความ คือจำนวนข้อความโดยเฉลี่ยที่ถูกส่งออกโดยสมาชิกหนึ่งคนการอัปเดตโปรไฟล์ คือจำนวนการปรับเปลี่ยนโปรไฟล์หรือข้อมูลส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน WAV/ข้อมูลการสำรวจมาจาก **ข้อมูลอ้างอิงจากการสำรวจสมาชิกทินเดอร์ราว 5,000 คนในสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2563 และระหว่างวันที่ 14-24 สิงหาคม 2563

YPulse Finding Love Post-COVID Trend Report. ข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจคนอายุ 13-39 ปี จำนวน 1 พันคนในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2020

]]>
1327673
เตรียมแพ็กกระเป๋า! กางโผ 10 จังหวัดแห่งความรัก มีอัตราการแต่งงานสูงสุดของไทย https://positioningmag.com/1317091 Mon, 01 Feb 2021 14:15:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317091 Bangkok Matching เปิดผลสำรวจ 10 จังหวัดในประเทศไทย ที่มีอัตราการแต่งงานสูงที่สุด โดยกรุงเทพฯ เข้าวินมาเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือชลบุรี และนครราชสีมา

ในเทศกาลวันแห่งความรัก ที่กำลังจะมาถึงบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching จะมาเพิ่มโอกาสให้ได้มีโอกาสพบคู่มากขึ้นให้มีโอกาสได้แต่งงานมากขึ้น หากเราพาตัวเองไปอยู่สถานที่ถูกที่ ถูกทาง เพราะ Bangkok Matching จะมาเผยความลับอย่างหนึ่ง ที่คนโสดหาคู่ทุกคนควรทราบ นั่นก็คือ

สิ่งที่น่าสนใจคือ

  • จังหวัดระยอง เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ แต่อัตราการสมรสสูงเป็นอันดับ 6 เลยทีเดียว จึงเป็นจังหวัดที่มีการแต่งงานสูงมากที่สุด หากวัดจากสัดส่วนจำนวนประชากรทั้งหมด
  • จังหวัดปทุมธานี ที่มีจำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 18 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 8
  • จังหวัดนนทบุรี จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 16 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 10
  • จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 13 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 4
  • จังหวัดชลบุรี จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 9 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 2
แต่งงาน
Photo : Pixabay

ซึ่งนั่นแปลว่า ในจังหวัด 10 อันดับ อัตราการสมรสสูงแล้ว หากคุณยังเจาะต่อ และเลือกที่จะไปอยู่ในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า แต่อัตราการสมรสสูง นั่นแปลว่าคุณจะมีคู่แข่งขันน้อยลง อัตราการได้คู่แต่งงานของคุณก็จะมากขึ้นด้วย

สำหรับจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดอันดับ 1 ในทุกๆ ด้าน เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ว่าในกรณีนี้อัตราการสมรสสูงเป็นอันดับ 1 ก็จริง แต่หากเทียบกับจำนวนประชากรเกือบ 6 ล้านคนแล้ว ถือว่าอัตราการแต่งงานของหนุ่มสาวชาวกรุง กลายเป็นอัตราส่วนเล็กน้อยไปเลย เมื่อเทียบกับจังหวัดชลบุรี อันดับ 2 ที่มีประชากรชายหญิงรวมเพียง 1.6 ล้านคน

จากการที่ Bangkok Matching ได้สัมภาษณ์หนุ่มโสด สาวโสดจากจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย จึงขอสรุปเรื่องนี้ได้ว่า การมีตัวเลือกเยอะๆ (ในที่นี้ คือจำนวนประชากรเยอะๆ) ไม่ได้แปลว่าคุณจะมีโอกาสการแต่งงานสูงขึ้น ตามที่เห็นได้จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรมากกว่าจังหวัด Top 10 อัตราการแต่งงานสูงสุดในประเทศไทยกว่า 500% แต่มีอัตราการแต่งงานมากกว่าจังหวัดอันดับ 2 ชลบุรี เพียง 2 เท่าเท่านั้น

Photo : Pixabay

เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ เมืองที่ต้องดิ้นรน แข่งขัน และใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ การจราจรที่ติดขัด ผังเมือง รวมถึงสภาพอากาศที่ไม่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ในสังคม ทำให้คนโสดชายหญิงต่างวุ่นวาย ภารกิจรัดตัว หรือไม่ก็เหนื่อยอ่อนเกินกว่าจะใช้พลังงานหาแฟน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ ที่ทำให้คนโสดเหนื่อยหน่ายกับการสร้างครอบครัว มีลูก เพิ่มภาระ อยู่ตัวคนเดียว ปากท้องเดียวให้รับผิดชอบ อิสรเสรีมากกว่า ใช้ชีวิตตะลอนไปร้านกาแฟ ถ่ายรูปลงโซเชียล เลี้ยงหมาแมวก็พอแล้ว

อีกทั้งสังคมนิยมวัตถุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเลือกสรรในตัวคู่ครองมากขึ้น อย่างที่คนโสดชอบพูดกันโดยทั่วไปว่า “หากได้คู่ที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ก็ขออยู่คนเดียวดีกว่า”

หากเปรียบเทียบกับชีวิตในจังหวัดที่เล็กกว่า อย่างชลบุรี นครราชสีมา ชีวิตก็จะไม่กดดันเท่า เร่งรีบเท่าคนโสดในเมืองใหญ่ อารมณ์ก็เลยแจ่มใสกว่า สดชื่นกว่า มีเวลาพบปะสังสรรค์เพศตรงข้ามมากกว่า จึงมีอัตราการแต่งงานสูง

]]>
1317091
COVID-19 ทำให้คนเหงาต้องการ “หาคู่” มากขึ้น “หญิงไทย” ตั้งสเปกสูงขึ้นเพื่อความมั่นคง https://positioningmag.com/1304973 Sat, 07 Nov 2020 10:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304973
  • MeetNLunch สำรวจพบคนโสดต้องการ “หาคู่” สูงขึ้นจากความเหงาช่วงล็อกดาวน์ โดยคนโสด 38% เริ่มใช้แอปพลิเคชันหาคู่เป็นครั้งแรกในช่วงปีนี้
  • “หญิงไทย” ตั้งสเปกคู่ของตนสูงขึ้น มีผู้หญิงจำนวนน้อยลงที่ตอบว่าจะเดตกับผู้ชายที่อายุน้อยกว่า เตี้ยกว่า หรือมีรายได้ต่ำกว่า คาดว่าเกิดจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ทำให้ผู้หญิงคิดถึงความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น
  • MeetNLunch บริการจัดหาคู่ สำรวจคนโสด 3,500 คนใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฮ่องกง ระหว่างวันที่ 12-26 ตุลาคม 2563 พบว่า คนโสดมีแนวโน้มต้องการหาคู่มากขึ้นในระหว่างและหลังผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 สะท้อนจากผู้ตอบแบบสอบถาม 38% ระบุว่าตนเองเริ่มใช้แอปพลิเคชันหาคู่เป็นครั้งแรกในช่วงปีนี้

    “เมื่อเกิด COVID-19 ขึ้น คนจะเริ่มเปิดโหมดเอาตัวรอดในชีวิตและการงาน ขณะเดียวกันในช่วงล็อกดาวน์ที่ต้องอยู่กับบ้านเหงาๆ จะทำให้คนโสดเริ่มคิดถึงบั้นปลายชีวิตว่าการมีคู่เป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ต้องการออกเดตและหาคู่” ไวโอเลต ลิม ผู้ก่อตั้ง Lunch Actually เครือบริษัทเจ้าของ MeetNLunch กล่าว

    โดยเฉพาะผู้ชายนั้นมีความกระตือรือร้นในการหาคู่สูง โดยผู้ชาย 54% ตอบว่าตนเองยังคงหาคู่เดตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 และ 47% ของผู้ชายจะใช้แอปฯ หาคู่ตั้งแต่ 2 แอปฯ ขึ้นไปด้วย

     

    “หญิงไทย” ยืดหยุ่นในการหาคู่น้อยลง

    สำหรับประเทศไทยนั้น มีคนโสดที่สำรวจในเซอร์เวย์ครั้งนี้รวม 600 คน แม้ว่าจะมีแนวโน้มต้องการหาคู่มากขึ้น แต่ดูเหมือน “หญิงไทย” จะเพิ่มสเปกของตัวเองให้สูงขึ้นด้วย เพราะการสำรวจครั้งนี้พบว่า

    • 69% ของหญิงไทยรับได้ที่จะเดตกับผู้ชายอายุน้อยกว่า
    • 41% ของหญิงไทยรับได้ที่จะเดตกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า
    • 31% ของหญิงไทยรับได้ที่จะเดตกับผู้ชายที่เตี้ยกว่า
    ผลสำรวจหญิงไทยที่ยังโสดในปี 2020 เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ชายที่จะพิจารณาเป็นคู่เดต (Credit : MeetNLunch)

    ตัวเลขดังกล่าวนั้นล้วนลดลงจากการสำรวจเมื่อปี 2562 ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การเดตกับผู้ชายอายุน้อยกว่า เมื่อปี 2562 มีผู้หญิงไทยถึง 99% ที่ตอบว่ายอมรับได้ ซึ่ง MeetNLunch มองว่า ประเด็นอายุของฝ่ายชายเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความมั่นคงในชีวิตได้ และเมื่อปีนี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 อาจจะทำให้หญิงไทยพิจารณาเรื่องความมั่นคงทางการเงินสูงขึ้น

     

    Video Dating กลายเป็นช่องทางมาแรง

    ในแง่วิธีการออกเดต MeetNLunch ระบุว่าช่วง COVID-19 กลายเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ Video Dating หรือการออกเดตเสมือนจริงผ่านวิดีโอคอล กลายมาเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น และแม้การล็อกดาวน์จะผ่านพ้นไปแล้ว คนโสดสามารถออกไปเจอตัวจริงกันได้ตามปกติ แต่คนโสดกว่าครึ่งยังมองว่าการวิดีโอคอลก่อนเป็นตัวเลือกที่ดี

    Video Dating มาแรงจนปีนี้ Tinder ต้องเปิดฟีเจอร์ใหม่ Face-to-Face ให้คู่แมตช์วิดีโอคอลกันได้บนแอปฯ

    ผลสำรวจพบว่าผู้ชาย 70% และผู้หญิง 62% เคยทดลอง Video Dating มาแล้วในปีนี้ และมีผู้ชาย 56% และผู้หญิง 49% ที่คิดว่าการวิดีโอคอลแบบนี้เป็นทางเลือกที่ดีในการเดต

    ข้อดีที่คนโสดมองเห็นคือการนัดวิดีโอคอลทำได้ง่ายและสะดวกกว่า ไม่ต้องเสียเวลามาก และเพียงได้พบปะผ่านวิดีโอคอลก็คัดกรองคนได้ทันที สามารถประเมินได้ว่าคู่เดตคนนี้จะได้ไปต่อหรือไม่ ส่วนข้อเสียก็คือหลายคนยังทำตัวไม่ถูกกับการเดตผ่านวิดีโอคอล เช่น ไม่ทราบว่าต้องแต่งหน้าแต่งตัวเหมือนออกเดตจริงเลยหรือไม่เพื่อ Video Dating

    สำหรับธุรกิจ MeetNLunch ในไทยซึ่งเป็นบริการจัดหาคู่แบบมีค่าใช้จ่าย พบว่า ช่วงหลังคลายล็อกดาวน์คือช่วงที่มีสมาชิกใหม่สมัครบริการหาคู่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งคาดว่าเป็นดีมานด์ที่สะสมมาจากช่วงล็อกดาวน์ อันเป็นช่วงที่คนโสดยังสับสนถึงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง

    ]]>
    1304973
    COVID-19 ทำให้คนเห็นความ “ไม่แน่นอนในชีวิต” ดันบริการหาคู่ยังโต แม้คลายล็อกดาวน์แล้ว https://positioningmag.com/1295674 Sun, 06 Sep 2020 13:34:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295674 สรุปสถานการณ์บริการหาคู่ในช่วงไตรมาส 2 ของปี ผ่านพ้นช่วงล็อกดาวน์ กักตัวช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มาแล้ว พบว่าคนไทยยังใช้บริการหาคู่มากขึ้น ไม่แพ้ตอนล็อกดาวน์ คนโสดโปรไฟล์ดียังมากสุด แต่ระดับล่างลดลง

    ช่วงล็อกดาวน์ หาคู่โต 300%

    เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2563 บริษัทจัดหาคู่พรีเมียม Bangkok Matching ได้ทำสรุปสถานการณ์ COVID-19 กับคนโสดหาคู่ ในไตรมาสแรกของปี 2563 ว่ายังหาคู่กันอยู่หรือไม่ อย่างไร และในบทความนี้เป็นภาคต่อสรุปสถานการณ์ COVID-19 กับการหาคู่ในไทยในไตรมาส 2

    ในช่วงมีนาคม–พฤษภาคม คนส่วนใหญ่ทำงานจากบ้าน เป็นที่น่าประหลาดใจที่ในช่วง COVID-19 ที่เป็นที่วิตกกังวลไปทั่วโลก รวมถึงไทยมีการกักตัว ทำงานจากบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ การเลิกกิจการ เลิกจ้างพนักงาน รวมถึงการเคอร์ฟิว ทำให้ธุรกิจต้องหยุดประกอบการกันเป็นจำนวนมาก

    Photo : Shutterstock

    แต่ปรากฏว่าบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching กลับได้รับการติดต่อสนใจใช้บริการจัดหาคู่มากขึ้นถึงราว 300% เทียบกับช่วงเวลาปกติ แต่ผู้สนใจติดต่อใช้บริการจัดหาคู่เข้ามาในช่วงนี้ กลับมีแต่กลุ่มคนโสดโปรไฟล์ดี ฐานะดี มากขึ้นเป็นหลัก และคนโสดที่ทำงานระดับล่าง แทบจะเรียกว่าหายไปเลยก็ว่าได้ ไม่เหมือนกับช่วงปกติ ที่คนโสดที่ทำงานระดับล่างลงไป จะติดต่อเข้ามาสอบถามบริการมากกว่านี้มาก (เช่นกลุ่มหญิงชายอีสานที่ต้องการหาคู่ต่างชาติ) คือ คนโสดที่ทำงานระดับล่างลงไป หายไปแบบมีนัยสำคัญ

    สรุปสถานการณ์หาคู่ไตรมาส 2

    ในช่วงไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน–ต้นกรกฏาคม เริ่มเข้าสู่การคลายล็อกดาวน์แล้ว เพระาสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มดีขึ้น บริษัทหลายแห่งเริ่มให้กลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ แต่ก็ได้เห็นการให้ออกจากงาน การปิดกิจการอย่างต่อเนื่อง

    Bangkok Matching ได้เก็บสถิติของคนโสดที่ติดต่อเข้ามา สนใจใช้บริการจัดหาคู่ในไตรมาส 2 ของปี 2563 ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 และพบว่า

    1. คนโสดโปรไฟล์ดีในไทย ที่มีฐานะ และมีความมั่นคงจำนวนมาก ยังคงติดต่อเข้ามาใช้บริการจัดหาคู่ ของบริษัทฯ ในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาส 1

    Photo : Pixabay

    2. ในไตรมาส 2 กลุ่มคนที่อยู่นอกกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มที่รายได้น้อย การศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี ที่ตั้งใจหาแฟนต่างชาติ หรือแฟนรวยๆ เป็นหลัก เป็นต้น ประมาณ 20% เริ่มกลับมาติดต่อ Bangkok Matching เพิ่มมากกว่าไตรมาส 1 ที่กลุ่มนี้แทบจะหายไปเลยทั้งหมด คาดว่าน่าจะเริ่มปรับตัว ปรับใจได้ เลยเริ่มติดต่อสอบถามเรื่องการหาคู่

    3. คนโสดชายต่างชาติที่ไม่ได้ทำงานในไทย เริ่มติดต่อสนใจเข้าใช้บริการจัดหาคู่เข้ามาราว 30% จากไตรมาสแรก ที่แทบจะหายไปเลย แต่ชายต่างชาติเหล่านี้บางส่วนยังชะลอการสมัคร เพราะต้องการให้ช่วง COVID-19 ดีขึ้น ประเทศไทยเปิดให้เข้าประเทศก่อน จึงจะสมัครใช้บริการตอนนี้ เพียงต้องการสอบถามไว้ก่อน

    4. คนโสดโปรไฟล์ดีที่ติดต่อเข้ามาใช้บริการ เริ่มไม่พูดถึงเรื่องความวิตกกังวลว่าจะเดตอย่างไรในช่วง COVID-19 ไม่เหมือนในไตรมาสแรก ที่คนโสดมักสอบถามว่าจะมีคนสมัครหรือ จะมีคนมีอารมณ์อยากออกเดตหรือ คาดว่าคนโสดหาคู่ปรับตัว ปรับใจ จนชินแล้ว คลายวิตกในจุดนี้แล้ว

    5. Bangkok Matching ได้เพิ่มช่องทางการสมัคร ให้สมัครได้ทางออนไลน์ และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ได้ด้วย และสำหรับการทำความรู้จักกัน จากเดิมที่จะมีเพียงการออกเดต พบตัวกันจริงๆ ในครั้งแรก บริษัทได้เพิ่มช่องทาง ให้มีการแลกเปลี่ยนเบอร์โทร ไลน์ หรืออีเมล ให้คู่เดตก่อนด้วย แทนการนัดพบกันเลย สำหรับสมาชิกที่ไม่รู้สึกสบายใจในการไปที่สาธารณะในช่วงโควิด หรือสำหรับสมาชิกที่อยู่ต่างประเทศ

    Cheerful Vietnamese couple discussing business idea

    6. คนโสดที่เลือกพบตัวกันในเดตแรก มักเลือกเป็นร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเงียบๆ แทนร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าที่พลุกพล่าน ซึ่งต่างจากช่วงปกติ

    7. เป็นไปได้ว่าการล็อกดาวน์ทำให้ความรู้สึกของความไม่แน่นอนของชีวิต เพราะ COVID-19 ยิ่งช่วยกระตุ้นให้คนรู้สึกต้องการความมั่นคงในชีวิต กระตุ้นให้คนโสดหาคู่มากขึ้น สอดคล้องกับธุรกิจประเภทเดียวกันในต่างประเทศ บริษัทจัดหาคู่ทั้งในญี่ปุ่น และอเมริกา ก็มียอดผู้สมัครใช้บริการจัดหาคู่เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

    8. บริษัทจัดหาคู่ออนไลน์ในญี่ปุ่นได้แจ้งว่า ในเดือนกรกฎาคม 2563 ยอดรายได้โตขึ้นระหว่างล็อกดาวน์ บริษัทจัดหาคู่ใน Manhattan New York ให้สัมภาษณ์ว่า คนโสดสมัครใช้บริการจัดหาคู่เพิ่มมากขึ้นในช่วง COVID-19 เนื่องจากเห็นความไม่แน่นอนในชีวิต และต้นเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา Match แจ้งรายได้โตขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ส่งผลให้หุ้นของบริษัทสูงขึ้นเกือบ 12%

    แม้แต่ธุรกิจ Sex Toy ของจีน ก็ยังมียอดขายพุ่งกว่า 50% ในช่วงล็อกดาวน์ COVID-19 เช่นกัน

    ที่มา : NY1, Bloomberg, Marketwatch, Washingtonpost

    ]]>
    1295674
    กักตัวมันเหงา! COVID-19 ดันยอดบริการจัดหาคู่ในไทยเพิ่ม 300% “คนโสดโปรไฟล์ดี” มากสุด https://positioningmag.com/1276102 Wed, 29 Apr 2020 15:21:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276102 บริษัทจัดหาคู่พรีเมียม Bangkok Matching เปิดข้อมูลการใช้บริการจัดหาคู่ของคนไทยในช่วงกักตัวสถานการณ์ COVID-19 พบว่ามีการเติบโตขึ้น 300% กลุ่มคนโสดโปรไฟล์ดีใช้บริการมากสุด

    กี่มรสุม คนไทยก็อยากมีคู่

    Bangkok Matching ได้เปิดทำการมากว่า 15 ปี ได้ผ่านเหตุการณ์ไม่ปกติหลายครั้ง ทั้งในช่วงที่บ้านเมืองไม่สงบทางการเมืองหลายครั้ง ช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯ และหลายส่วนทั่วไทย จนมาถึงปัจจุบัน คือ สถานการณ์ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 จนถึงปลายเดือน เมษายน 2020 ณ ปัจจุบัน

    เป็นที่น่าประหลาดใจ กระทั่งสำหรับ Bangkok Matching เองว่า แม้ในช่วง COVID-19 ที่เป็นที่วิตกกังวลไปทั่วโลก รวมถึงไทยมีการกักตัว ทำงานจากบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ การเลิกกิจการ เลิกจ้างพนักงาน รวมถึงการเคอร์ฟิว ทำให้ธุรกิจต้องหยุดประกอบการกันเป็นจำนวนมาก

    ปรากฏว่า Bangkok Matching กลับได้รับการติดต่อสนใจใช้บริการจัดหาคู่มากขึ้นถึงราว 300% เทียบกับช่วงเวลาปกติ

     

    ผู้สนใจติดต่อใช้บริการจัดหาคู่ของ Bangkok Matching เข้ามาในช่วงนี้ กลับมีแต่กลุ่มคนโสดโปรไฟล์ดี ฐานะดี มากขึ้นเป็นหลัก และคนโสดที่ทำงานระดับล่าง แทบจะเรียกว่าหายไปเลยก็ว่าได้ ไม่เหมือนกับช่วงปกติ ที่คนโสดที่ทำงานระดับล่างลงไป จะติดต่อเข้ามาสอบถามบริการมากกว่านี้มาก (เช่นกลุ่มหญิงชายอีสานที่ต้องการหาคู่ต่างชาติ) คือ คนโสดที่ทำงานระดับล่างลงไป หายไปแบบมีนัยสำคัญ

    คนโสดโปรไฟล์ดีมากสุด

    Bangkok Matching จึงได้วิเคราะห์ดู และสรุปได้ว่า การติดต่อสนใจใช้บริการจัดหาคู่ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากของกลุ่มคนโสดโปรไฟล์ดี ฐานะดีนี้ น่าจะมาจากหลายองค์ประกอบด้วยกัน คือ

    1.   คนโสดโปรไฟล์ดีส่วนมาก ยังทำงาน แต่ทำงาน WFH เลยว่างขึ้น มีเวลาและมีพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น จึงติดต่อเข้ามาได้ง่ายขึ้น

    2.   เหงา เบื่อ หรือรู้สึกท้อแท้ จากการที่สภาวะการณ์ไม่ปกติ ทำให้รู้สึกว่า มีคู่น่าจะดีกว่าการอยู่ตัวคนเดียว ผจญเหตุการณ์ไม่แน่นอนคนเดียว

    3.   กลุ่มคนทำงานระดับล่างลงไป คงจะโดนผลกระทบเศรษฐกิจเยอะ จึงหายไปกันแทบจะทั้งหมด คือหมดแรง หมดอารมณ์ ปากท้องมาก่อน

    Young Couple Taking Selfie Photo Holding Hands In Kitchen, Asian Woman Leading Hispanic Man Modern Apartment With Big Windows Interior

    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด ก็ทำให้ผู้สนใจใช้บริการบางส่วน (แต่ไม่มากนัก) ชะลอการตัดสินใจ เนื่องจากรู้สึกว่าสถานการณ์ยังไม่แน่นอน ต้องการให้สถานการณ์นิ่งกว่านี้ก่อน

    ต่างประเทศก็หาคู่มากขึ้น

    จากเหตุการณ์ไม่ปกติหลายครั้ง จึงสรุปได้ว่า ความรักเป็นสิ่งที่คนต้องการใช้ยึดเหนี่ยวในยามที่สภาพบ้านเมืองไม่ปกติ ส่งผลให้จิตใจอ่อนไหว

    ซึ่งจากเว็บไซด์ออนไลน์เดทติ้งของต่างประเทศ ก็ต่างออกมาประกาศว่า แต่ละเว็บไซด์มียอดการส่งข้อความติดต่อกัน เพิ่มขึ้นราว 20 – 30% รวมถึงเวลาที่คุยกันก็ยาวขึ้นอีกด้วย และจำนวนผู้สมัครเป็นสมาชิกแบบจ่ายเงินใช้บริการ มีเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง COVID-19 นี้

    ยกเว้นในเมือง New York หรือประเทศอิตาลี และสเปน ที่มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก Match.com บริษัทจัดหาคู่ใหญ่ในอเมริกาแจ้งว่า ยอดในเมืองดังกล่าวจะตกลงไปในหลักสิบ แต่สำหรับเมืองอื่นๆ ในอเมริกา และประเทศอื่นๆ ยอดการสมัครเป็นสมาชิกจ่ายเงินพุ่งสูงขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญเลยทีเดียว

    อ้างอิง Cnbc, Market Watch, The Street

    ]]>
    1276102