หุ้นยุโรป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 08 Oct 2021 01:35:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โอกาสตลาดผันผวน เเนะสะสมหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรป เน้นกลุ่ม Quality growth รับโลกฟื้นตัว https://positioningmag.com/1355586 Thu, 07 Oct 2021 13:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355586 SCB CIO เเนะนักลงทุนจับโอกาสตลาดผันผวน สะสมหุ้นสหรัฐฯ -ยุโรป รับตลาด DMs ฟื้นตัวได้ดีหลังวิกฤตโควิด เน้นกลุ่ม Quality growth หุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจจากเเผนกระตุ้นจากรัฐบาลใหม่ ส่วนหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐ โซนตลาดอาเซียน เวียดนามยังเด่นมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทยยังติดลบมองเป็น slightly negative 

ในงานสัมมนา Business of the Future’ มีการวิเคราะห์เเนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ จังหวะลงทุนในช่วงตลาดผันผวน เเละโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ พร้อมประเมินอนาคต 3 ธุรกิจโลกยุคใหม่ กับทิศทาง ESG การลงทุนเพื่ออนาคต โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

ตลาด DMs ฟื้นก่อนใคร 

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจทั่วโลกว่า จะแตกต่างกันเเละจะนำไปสู่การทำนโยบายเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันด้วย

โดยการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เริ่มมีความแตกต่างมากยิ่งขึ้น โดยประเทศในกลุ่ม Developed Markets (DMs) เช่น สหรัฐฯ และ อังกฤษ ที่เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งนโยบายการเงิน โดยชะลอการเข้าซื้อพันธบัตร (QE tapering) และขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามความพร้อมของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Emerging Markets ผ่านต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและความผันผวนของกระแสเงินทุน (fund flows)

สำหรับนโยบายการคลังการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมา “มีต้นทุนสูง” สะท้อนจากหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นค่อนข้างเร็วในหลายประเทศ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงที่แม้จะเป็นปัจจัยชั่วคราว แต่น่าจะใช้เวลาพอสมควรในการชะลอลง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศในกลุ่ม DMs ในระยะข้างหน้าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง (real yields) จะยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต

“ดังนั้นผลกระทบต่อ valuation หุ้นกลุ่ม Quality growth อยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังได้รับแรงหนุนจากกระแสแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด”

ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักของหุ้นกลุ่ม  Quality growth คือ ผลกระทบจากการขึ้นภาษี และการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ภาครัฐ (Regulatory risks) แต่คาดว่าการขึ้นภาษีของภาครัฐ เช่น ในกรณีของสหรัฐฯ อาจทำได้ไม่มากเท่ากับที่ประกาศไว้ เนื่องจากการทำมาตรการโครงสร้างพื้นฐานอาจมีการลดขนาดให้เล็กลง

สำหรับหุ้นกลุ่มอื่นๆ SCB CIO เชื่อว่าการมีหุ้นในกลุ่ม Value ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการขยับขึ้นเร็ว

สะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ – ยุโรป เน้นจับกลุ่ม Quality growth 

ด้านจัดสรรการลงทุน SCB CIO ประเมินว่า กลุ่ม Developed markets  มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ดี หรือ หดตัวน้อยในช่วงวิกฤต ทำให้มีการฟื้นตัวของกำไรและความสามารถในการทำกำไรในระยะข้างหน้าของบริษัทจดทะเบียนได้ดีกว่าตามไปด้วย

“ในช่วงที่ภาวะตลาดผันผวน นับเป็นโอกาสที่ดี ในการเข้าสะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม  Quality growth ที่ยังมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง” 

นอกจากนี้ หุ้นญี่ปุ่น ก็มีความน่าสนใจ จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และราคาหุ้นไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาด DMs อื่นๆ

ส่วนการลงทุนในจีน ยังคงมุมมองตลาดหุ้น A-Share ที่ neutral จากนโยบายมุ่งเน้นเติบโตจากภายในประเทศของจีน เช่น นโยบาย  dual circulation และ common prosperity และคงมุมมองตลาดหุ้นจีน H- Share ที่ slightly negative เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐที่มีแนวโน้มยืดเยื้ออยู่ค่อนข้างมาก 

เวียดนามมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทย slightly negative

สำหรับตลาดหุ้นอาเซียน เวียดนามยังคงน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจและผลประกอบการ จะชะลอลงในช่วงไตรมาส 3/2021 แต่ตลาดหุ้นได้สะท้อนการรับรู้ไปบ้างแล้ว โดยในระยะข้างหน้า น่าจะมีการฟื้นตัวได้ของภาคการส่งออกตามเศรษฐกิจโลก และความคืบหน้าในการนำเข้าและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงต่อสายพันธุ์เดลตา ทำให้การเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาได้  

“ส่วนตลาดหุ้นไทย มองเป็น slightly negative จากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรที่เสี่ยงถูกปรับลดลง และความตึงตัวของ valuation เมื่อเทียบกับตลาดอาเซียนอื่น” 

โดยมองค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีที่ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เเละให้น้ำหนักไปทาง 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ด้านราคาน้ำมัน ปรับมุมมองเป็น Neutral จากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ซึ่งได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และแนวโน้มการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้น รวมถึงการหันมาใช้น้ำมันมากขึ้นทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ ยังมีมุมมอง slightly negative สำหรับทองคำที่จะได้รับผลกระทบจาก QE tapering และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (real yields) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสำหรับ Asian REITs ที่การปิดเมืองมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้    

หลังโควิด : 3 ธุรกิจรับโลกยุคใหม่

ด้านมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Transformation ปัจจุบันเห็นว่ามี 3 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ ที่มาพร้อมการเติบโตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

โดยศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office ให้ข้อมูลว่า 

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Fintech)

เทรนด์การลงทุนใน Fintech กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทั่วโลก ทำให้กระแสการลงทุนในบริษัท Fintech ใน Centralized และ Decentralized Finance เติบโตอย่างรวดเร็ว

SCB CIO มองว่าการขยายตัวของกระแส Fintech ที่ครอบคลุมและต่อยอดออกไปในหลายอุตสาหกรรม และการมาถึงของ Decentralized Finance การขยายตัวของบริษัทแพลตฟอร์มระดับโลกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน

“พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้รูปแบบธุรกิจการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากในอดีต และเปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Fintech และ Blockchain ได้อย่างมาก” 

ธุรกิจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบออนไลน์เป็นไปอย่างแพร่หลายในทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สำคัญ เช่น แบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า นวัตกรรม และข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งผลกระทบด้านลบจากการถูกละเมิดและการโจมตีทางไซเบอร์จะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทโดยตรง

SCB CIO มองว่า การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัทและองค์กรทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งในโอกาสการลงทุนในบริษัทที่กำลังเติบโตและเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือมัลแวร์ (Anti-Virus/Anti-Malware) การยืนยันตัวตน (Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน – รถยนต์ไฟฟ้า- การกักเก็บพลังงาน (Renewable Energy & EV & Energy Storage)

จากกระแสการลดภาวะโลกร้อนสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาป เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ทั่วโลก รวมถึงแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน แทนการใช้พลังงานจากน้ำมันและถ่านหิน ก่อให้เกิดการเติบโตในหลายอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวเนื่อง

ทั้งในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตและการกักเก็บพลังงงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งสร้างโอกาสการลงทุนอย่างมากในมุมของห่วงโซ่การผลิตในธุรกิจ EV & Energy Storage โดยเฉพาะในบริษัทที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงาน

SCB CIO มองว่า นอกจากเทรนด์การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนแล้ว เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่

ธุรกิจผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่ (Energy Storage System Integrator: ESS) สำหรับการใช้พลังงานทางเลือกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น การใช้งานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานหมุนเวียน การใช้ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบสายส่ง เป็นต้น

โรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Battery Manufacturing) เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเทรนด์การลงทุนในอนาคตที่รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยมุ่งหน้าสู่การลดการใช้ทรัพยากรและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

(Photo : Shutterstock)

ESG การลงทุนเพื่ออนาคต

การลงทุนหุ้นในกลุ่ม ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เป็นอีกธีมการลงทุนยอดนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งแกนในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่เข้าลงทุนควบคู่ไปกับ 3 เทรนด์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตข้างต้นได้เป็นอย่างดี

“ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดหุ้นค่อนข้างมาก แต่ตามสถิติ หุ้นในกลุ่ม ESG ค่อนข้างจะเผชิญความผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วไปในตลาดและมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าหลังจากผ่านพ้นช่วงตลาดปรับฐาน” 

SCB CIO มองว่า การลงทุนในบริษัทที่คำนึงถึงมาตรฐาน ESG เปรียบเสมือนการลงทุนในบริษัทที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อรักษามาตรฐานอยู่ตลอด สะท้อนการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและนักลงทุน และมีความเสี่ยงโดยรวมต่อประเด็นการผิดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างน้อย

การลงทุนที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG จึงมีแนวโน้มสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดโดยรวมได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เม็ดเงินการลงทุนหุ้นในธีม ESG มีอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

]]>
1355586
10 กลยุทธ์ลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง 2564 จาก KBANK รับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ‘หุ้นยุโรป’ โดดเด่น https://positioningmag.com/1338447 Wed, 23 Jun 2021 10:03:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338447 KBANK มองบวกเศรษฐกิจโลกปี 64 มีเเนวโน้มขาขึ้น จากเเรงหนุนฉีดวัคซีน ช่วงครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวแบบขรุขระเเนะกลยุทธ์เพิ่มน้ำหนักลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะ ‘หุ้นยุโรปที่จะโดดเด่นต่อจากสหรัฐฯ เเละสินทรัพย์ทางเลือก ปรับลดทองคำเเละพันธบัตรรัฐบาล ส่วนหุ้นไทยยังน่าสนใจ เเต่ต้องจับตาการคุมโรคระบาดรับมือโควิดกลายพันธุ์

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การเร่งฉีดวัคซีน เดินหน้าเปิดเมือง รวมถึงนโยบายการเงินและการคลังที่ยังผ่อนคลาย เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโตได้ดี

เเต่การฟื้นตัวในแต่ละภาคธุรกิจรวมถึงภูมิภาคนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ภาคบริการมีแนวโน้มนำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง หลังจากที่การค้าและการบริโภคฟื้นตัวได้ดีก่อนหน้านี้ และมีแนวโน้มถึงจุดสูงสุดแล้ว

แต่ละประเทศก็ฟื้นตัวไม่พร้อมกัน จีนได้ฟื้นตัวนำหน้าไปแล้ว ตามมาด้วยสหรัฐฯ และตอนนี้มาที่ยุโรป ส่วนประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) น่าจะฟื้นตัวในลำดับถัดไป หากคุมโควิดได้

Photo : Shutterstock

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ปรับขึ้นแบบ ‘ขรุขระ’ 

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก น่าจะขยายตัวสูงสุดในไตรมาส 3 ของปีนี้ หลังกลุ่มประเทศพัฒนาเเล้ว เริ่มขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด-19 มากขึ้น ส่วนภาพรวมการลงทุนในปีนี้ มีความแตกต่างจากปีก่อนค่อนข้างมาก

โดยทิศทางการฟื้นตัวของสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยง จึงไม่ได้เป็นลักษณะ V Shape แบบในช่วงที่ผ่านมาแล้ว แต่จะเป็นการปรับตัวขาขึ้นแบบขรุขระ ที่ต้องเผชิญกับหลุมบ่อระหว่างทาง จึงต้องปรับมุมมองการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 

  • จีน : เศรษฐกิจจีนจะยังคงแข็งแกร่งในปีนี้ แต่มาตรการทางการเงินและการคลังจะเริ่มลดลงเพื่อลดความร้อนแรง ดังนั้นเราจะเห็นเศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราที่ชะลอลง 
  • สหรัฐฯ: การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ได้รับแรงหนุนหลักจากสหรัฐฯ ซึ่งต่างจากช่วงที่ผ่านมาที่จีนเป็นส่วนสำคัญการเติบโตของเศรษฐกิจโลก 
  • ยุโรป: แม้ยุโรปจะเริ่มฉีดวัคซีนช้ากว่าสหรัฐฯ แต่ก็สามารถเร่งการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะหนุนภาคบริการที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้เศรษฐกิจยุโรป ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งวงเงิน Recovery Fund และธนาคารกลางยุโรปก็ยังคงมาตรการผ่อนคลาย 

ผู้บริหาร KBank Private Banking มองว่า การลงทุนระยะยาวผ่านการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในระยะสั้น

โดยจะยังคงเน้นการลงทุนหุ้นในธีม Winner of New Economy, Health is Wealth, Save the World และ Laggard and Cyclical Upturns ที่ล้วนมีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะ รวมไปถึงความสามารถในการคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลก จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว  

เงินเฟ้อพุ่ง เเค่ ‘ชั่วคราว’ 

ด้าน ศิริพร สุวรรณการ Managing Director – Private Banking Financial Advisory Head ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ความเสี่ยงสำคัญเป็นเรื่องการกระจายวัคซีนทั่วโลกยิ่งฉีดช้า เชื้อไวรัสยิ่งมีโอกาสกลายพันธ์สูง

อีกหนึ่งความความเสี่ยง คือ เศรษฐกิจที่เติบโตจนร้อนแรงเกินไป ทำให้ต้องถอนมาตรการทางการคลังและการเงินเร็วเกินกว่าที่ตลาดคาด

ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเป็นกาดีดตัวกลับของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในปีก่อน ที่ได้รับแรงกดดันจากการหยุดชะงักของเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมัน ราคาทองแดง และราคาเหล็ก ฯลฯ

เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น แม้ว่าเงินเฟ้อจะเริ่มปรับเพิ่มขึ้น แต่ทั่วโลกยังคงอยู่ในยุคของเงินเฟ้อต่ำ” 

ขณะที่ความกังวลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายและถอนสภาพคล่องนั้น ล่าสุดในการประชุม FOMC เดือนมิ.. Fed ได้ปรับเพิ่มประมาณการ GDP การจ้างงาน และเงินเฟ้อ สำหรับปี 2565 และ 2566 เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นการปรับให้สอดคล้องกับมุมมองของตลาดเท่านั้น

แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญจากการประชุม ได้แก่ การคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปี 2566 และการเริ่มหารือเกี่ยวกับการลดการซื้อสินทรัพย์แล้ว

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการประชุม FOMC อีกครั้งในช่วงเดือนส.. ที่จะเริ่มเห็นสัญญาณลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ลงในช่วงปี 2565 เเละจะเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตั้งแต่ต้นปลายปี 2565 เดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

คาดว่า ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงกลางปี 2566 โดยการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2566 ถือว่ามีโอกาสสูง และอยู่ในวิสัยที่เหมาะสม 

10 กลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลัง

ตรีพล ภูมิวสนะ Managing Director – Private Banking Business Head แนะนำ 10 กลยุทธ์การลงทุนสำหรับช่วงครึ่งปี จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่

  1. ลงทุนต่อเนื่องในสินทรัพย์เสี่ยง (Stay invested in risky assets) จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีในปีนี้ จะช่วยหนุนกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเพียงชั่วคราว จะยังหนุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นให้ไปต่อได้
  2. ลงทุนในหุ้นกลุ่มวัฏจักร และ Value ที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว (Capture the recovery with cyclical and value stocks) ปัจจุบันหุ้น Growth นั้นถูกซื้อขายที่ราคาสูงกว่าหุ้น Value อยู่มาก นอกจากนี้ แนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับสูงขึ้น จะเป็นแรงหนุนให้กับหุ้น Value มากกว่าหุ้น Growth
  3. อย่าพลาดการลงทุนในหุ้นยุโรป (Don’t miss Pan-European equities) เพราะหุ้นยุโรปและหุ้นอังกฤษมี ระดับ Valuation ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และมีศักยภาพการเติบโตของกำไรสูง
  4. ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับเพิ่มขึ้น (Yields to move up at a regular pace) โดยประเมินว่าผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ 2% ณ สิ้นปี 2564 และ 2.5% ในช่วงปลายปี 2565 สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของดอกเบี้ยนโยบาย Fed
  5. ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ดอกเบี้ยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในจีน (Use carry strategies to generate yield) เพราะโดยเฉลี่ยตราสารหนี้จีนให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่มีอายุเท่ากันถึง 1.5% นอกจากนั้น ตราสารหนี้จีนจะได้ประโยชน์จากทิศทางเงินหยวนที่แข็งค่าอีกด้วย
  6. คงมุมมองบวกต่อค่าเงินหยวน และหาจังหวะเข้าซื้อค่าเงินยูโร (Remain overweight RMB and look for attractive entry points on EUR) เราคาดว่าเงินหยวนจะแข็งค่าสู่ระดับ 6.22 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี หนุนโดยส่งออกและดุลการชำระเงินที่แข็งแกร่ง ขณะที่ยูโรจะแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ยูโร ภายในสิ้นปีนี้
  7. คงมุมมองว่าดอลลาร์สหรัฐ จะอ่อนค่า (Remain slightly bearish on the dollar) จากข้อมูลในอดีต ดอลลาร์สหรัฐมักอ่อนค่ากว่ามูลค่าที่เหมาะสม เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโตได้ดี ดังเช่นในปัจจุบัน
  8. ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง (Remain bearish on gold) ทองคำจะถูกกดดันจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ทั้งนี้ เราคาดว่า ณ สิ้นปีนี้ ราคาทองคำจะอยู่ที่ระดับ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
  9. มองหุ้นโครงสร้างพื้นฐานให้ผลตอบแทนโดดเด่น (Infrastructure should outperform) หนุนโดยแผนการฟื้นฟูของสหรัฐฯ และยุโรป ที่พุ่งเป้าไปยังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก เราจึงคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้จะสามารถปรับขึ้นได้ดี หนุนโดยกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าต่อเนื่อง
  10. การลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จะเป็นกุญแจสำคัญของพอร์ตแห่งอนาคต (Sustainability is a key driver of portfolio performance) บริษัทที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ เช่น บริษัทน้ำมันที่เปลี่ยนธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือระบบโซลาร์เซลล์แทน โดยในระยะยาว บริษัทเหล่านี้ถือเป็นผู้นำเทรนด์เศรษฐกิจในโลกอนาคต

สำหรับการหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มในช่วงตลาดที่หลากหลายและมีความผันผวนสูง เเนะให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน ‘สินทรัพย์ทางเลือก’ เช่น หุ้นนอกตลาดเเละ ‘กองรีท’ (REIT) ไปจนถึงกลยุทธ์การลงทุนแบบ Hedge Fund หรือ Structured Notes

ส่วนหุ้นกู้เอกชนจีน’ นั้น ดอกเบี้ยในฝั่งประเทศเกิดใหม่จะน่าสนใจกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ตลาดหุ้นกู้จีนก็ยังมี
เสถียรภาพมากขึ้น โดยการลงทุนในหุ้นกู้จีนในบริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีการเติบโตของกำไรสุทธิที่ดีคาดว่าจะช่วงพยุงพอร์ตโดยรวมได้ดี

“การคัดสรรหุ้นกู้คุณภาพมีความสำคัญ ในทางกลับกัน ก็ให้ลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพราะจะได้รับผลกระทบจากบอนด์ยีลด์ขาขึ้นที่จะทำให้ราคาปรับลง รวมถึงอัตราผลตอบแทนก็ต่ำมาก อาจไม่สามารถชดเชยกับแนวโน้มราคาที่ปรับลงได้” 

ด้านภาพรวมตลาดหุ้นไทย มองว่ายังมีความน่าสนใจ เพราะราคาไม่แพงและบริษัทจดทะเบียนยังทำกำไรได้ พร้อมปัจจัยหนุนจากฝั่งยุโรป เเต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องจับตาอย่างเรื่องการควบคุมโควิด-19 ระลอก 3 การกระจายวัคซีน และแผนการรับมือกับการกลายพันธุ์ ซึ่งหากสามารถเปิดประเทศได้ทันดีมานด์โลก ก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เเต่ถ้าไม่ทันก็จะส่งผลกระทบหนัก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวเเละบริการที่เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของไทย

 

]]>
1338447