ออกแบบอาคาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 May 2023 09:32:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “จีน” จัดอันดับ “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” ใช้กระแสสังคมกดดันให้ “เลิกสร้าง” ตึกไร้รสนิยม https://positioningmag.com/1429589 Fri, 05 May 2023 09:32:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429589 อาคารทรงแปลกประหลาดในเมือง “จีน” มักจะมีให้เห็นอยู่เสมอ ชวนสงสัยว่าคนออกแบบกำลังคิดอะไรอยู่ แต่ใช่ว่าคนจีนจะชื่นชอบอาคารไร้รสนิยมเหล่านี้ เว็บไซต์แห่งหนึ่งจึงจัดตั้งโพลออนไลน์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนโหวต “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 แล้ว มุ่งเป้าเพื่อให้ผู้จัดสร้างอาคารเลิกสร้างอาคารแปลกประหลาดขึ้นมาเสียที

เว็บไซต์ Archy.com จัดทำโพลสำรวจ “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” ในประเทศจีน ประจำปี 2022 และผลโหวตที่กำลังมาอันดับ 1 ขณะนี้ ตกเป็นของ “อาคารพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ CORPUS” ในมณฑลอันฮุย ซึ่งต้นแบบของพิพิธภัณฑ์มาจากประเทศเนเธอร์แลนด์

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ที่เนเธอร์แลนด์ออกแบบให้มีรูปปั้นมนุษย์ครึ่งซีกนั่งอยู่ติดกับอาคารกรุกระจกทรงทันสมัย ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้พิพิธภัณฑ์ที่จีนออกแบบแบบเดียวกันด้วย แต่ดูเหมือนจะสร้างมาได้ไม่เหมือนแบบเท่าไหร่ และผลตอบรับของชาวจีนไม่ค่อยดีนัก ส่วนใหญ่มองว่าอาคารแบบนี้ “แปลกประหลาด” จนถึงระดับ “น่ากลัว”

“อาคารพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ CORPUS” ในมณฑลอันฮุย

ผู้จัดโพลชิ้นนี้มีตัวเลือกเหตุผลที่นิยามคำว่า “น่าเกลียด” ของอาคารไว้หลายประการ เช่น รูปร่างประหลาดพิกล, การออกแบบไม่เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ, เลียนแบบสถาปัตยกรรมต่างประเทศจนเกินเหตุ, ลอกเลียนแบบอาคารอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว, ฟังก์ชันออกแบบการใช้งานไม่มีเหตุผลจำเป็น เป็นต้น

อาคารที่เข้ากับนิยามคำว่าน่าเกลียดจึงเรียกได้ว่ามีอยู่มากมายในประเทศจีน เป็นเหตุให้โพลนี้จัดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปีที่ 13 ที่ผ่านมามีตึกติดอันดับต้นๆ ในโพลมากมาย เช่น อาคารราชการในเมืองฟู่หยาง มณฑลอันฮุย ที่ลอกเลียนแบบทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ มาทั้งดุ้น, อาคารรูปร่างเหมือนกางเกงของสำนักข่าว CCTV ในกรุงปักกิ่ง, อาคาร Raffles City ในเมืองฉงชิ่ง ที่ดูแล้วเหมือนลอกเลียน Marina Bay Sands ในสิงคโปร์มา หรืออาคารหน้าตาเหมือนเหรียญสีทองในเมืองกวางโจว เป็นต้น

อาคารรูปร่างเหมือนกางเกงของสำนักข่าว CCTV ในกรุงปักกิ่ง (Photo: Shutterstock)

ทำไมอาคารหน้าตาน่าเกลียดจึงผุดขึ้นในจีนเต็มไปหมด? “โจว ร่ง” หนึ่งในผู้ก่อตั้งโพลนี้และเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิงหัว เคยเขียนบทความไว้เมื่อปี 2020 อธิบายว่า เป็นเพราะการพัฒนาความเป็นเมืองที่รวดเร็วอย่างยิ่งใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดการก่อสร้างตึกจำนวนมากจนเกินจำเป็น ในระหว่างนั้นการออกกฎหมายควบคุมก็ยังหละหลวม ไม่สนใจความยินยอมพร้อมใจของประชาคม จนทำให้กระบวนการออกแบบและการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมจีนล่มสลาย

ผลก็คือ เกิดอาคารที่ลอกเลียนแบบอาคารในต่างประเทศ อาคารที่จงใจแสดงออกถึงความร่ำรวย อาคารที่เน้นความแปลกเพื่อให้โด่งดังดึงดูดนักท่องเที่ยว อาคารเหล่านี้เบ่งบานไปทั่วจีนก่อนจะควบคุมได้ทัน

ศูนย์การค้า Tian An 1,000 Trees ในเซี่ยงไฮ้

หนำซ้ำ เมื่อประเทศจีนพัฒนากฎมาควบคุมอาคารแปลกๆ ไม่ทัน ที่นี่จึงเป็นสวรรค์ของสถาปนิกทั่วโลกในการทดลองไอเดียพิลึกพิลั่นต่างๆ และบางโครงการสถาปนิกต่างชาติก็มักจะลืมนึกถึงกรอบวัฒนธรรมจีน จนได้อาคารที่อาจจะสวยที่อื่นแต่แปลกที่นี่ออกมา เช่น ศูนย์การค้า Tian An 1,000 Trees ในเซี่ยงไฮ้ คอนเซปต์ของผู้ออกแบบต้องการจะให้เป็นเหมือนภูเขาที่มีต้นไม้ขึ้นบนเขา สร้างธรรมชาติในเมือง แต่ผลที่ได้นั้นดูคล้าย “ฮวงซุ้ย” สุสานของคนจีนแทน

เมื่อเริ่มมีเสียงต้านจากประชาชนมากขึ้น แม้แต่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ก็ยังต้องเอ่ยถึงเรื่องนี้บ้าง โดยในปี 2014 สีจิ้นผิงร้องขอให้ “เลิกสร้างอาคารประหลาด” ในประเทศเสียที

จนกระทั่งเมื่อปี 2022 นักวางแผนทางเศรษฐกิจเริ่มปล่อยแผนการออกแบบการขยายตัวของเมือง โดยต้องการให้เมืองในจีนสะท้อนความเป็นจีน ดังนั้น คาดว่าอาจจะมีการแบนอาคารประเภทที่ “ใหญ่เกินจำเป็น แปลก และรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้”

แต่ในระหว่างที่รัฐบาลจีนวางแผนเรื่องนี้ เทรนด์การออกแบบอาคารแปลกๆ ในประเทศก็ดูจะยังไม่หยุด

“ตอนที่เริ่มตั้งโพลครั้งแรก เราคิดว่าโพลของเราคงไม่ค่อยมีอะไรมาให้โหวตหลังผ่านไปสัก 2 ปี แต่จนถึงขณะนี้อาคารน่าเกลียดก็ยังโผล่ขึ้นมาไม่หยุดเลย” โจว ร่ง กล่าว “สิ่งที่เปลี่ยนไปมีแค่ความน่าเกลียดมันเปลี่ยนหน้าตาไปเท่านั้น”

ต้องติดตามต่อไปว่า แนวทางการบริหารของจีนที่จะควบคุมไม่ให้มีตึกที่อวดร่ำอวดรวยเกินไป และรับวัฒนธรรมต่างชาติมามากเกิน เพื่อกรุยทางไปสู่การสร้างอาคารที่มีความงามด้วยสัญลักษณ์วัฒนธรรมในแบบจีน จะเป็นไปได้เร็วแค่ไหน

]]>
1429589
เหมือนมาจากหนังไซไฟ! แบบสร้าง “ตึกวงแหวน” รอบอาคารเบิร์จ คาลิฟะใน “ดูไบ” https://positioningmag.com/1397580 Thu, 25 Aug 2022 08:38:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397580 ปัญหาประชากรล้นเมืองในหลายๆ มหานครทั่วโลกทำให้เกิดโจทย์การสร้างตึกแบบใหม่เพื่อให้รองรับคนได้ รวมถึงใน “ดูไบ” มีการทดลองออกแบบอาคารชื่อ “Downtown Circle” เป็น “ตึกวงแหวน” เส้นรอบวงถึง 3,000 เมตร โอบล้อมรอบอาคารเบิร์จ คาลิฟะ อาคารที่สูงที่สุดในโลก ภายในจะมีที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ และสวนสาธารณะ

สตูดิโอสถาปัตย์ ZN Era ได้ออกแบบตึกสูงระฟ้าแบบใหม่ในชื่อ Downtown Circle ซึ่งถ้าหากสร้างขึ้นจะอยู่โดยรอบอาคาร “เบิร์จ คาลิฟะ” ตึกที่สูงที่สุดในโลกขณะนี้ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง “ดูไบ”

การออกแบบตึกนี้จะมีความสูง 550 เมตรจากพื้นดิน และมีเส้นรอบวงถึง 3,000 เมตร แบ่งเป็นวงแหวนสองวงที่เชื่อมต่อถึงกัน ภายในวงแหวนเหล่านี้จะมีที่พักอาศัย พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่สาธารณะและวัฒนธรรม

ZN Era นิยามตึก Downtown Circle ที่ออกแบบขึ้นว่าเป็น “มหานครที่มีความต่อเนื่อง” และเชื่อว่าจะเป็นโซลูชันแบบใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองและจำนวนประชากรในดูไบได้

“โครงสร้างขนาดมหึมานี้สามารถทดแทนตึกระฟ้าที่ขึ้นอย่างโดดเดี่ยวและไม่เชื่อมต่อซึ่งกันและกันในพื้นที่มหานครได้” ZN Era อธิบาย “ด้วยเส้นรอบวง 3,000 เมตร ทำให้ฟังก์ชันแบบ Downtown Circle จะทำให้มหานครมีความต่อเนื่องกัน สร้างความยืดหยุ่นในการจัดการและมีรูปลักษ์ล้ำสมัย”

ตึกวงแหวนนี้จะซอยแบ่งออกเป็นยูนิตย่อยๆ ซึ่งจะมีทั้งกลุ่มบ้าน อพาร์ตเมนต์ ออฟฟิศ และศูนย์วิจัย รวมไปถึงจะมีพื้นที่สีเขียวอยู่ระหว่างวงแหวนทั้งสอง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “ปอดสีเขียว” ให้กับอาคาร

พื้นที่สีเขียวดังกล่าวถูกดีไซน์ให้เสมือนว่ารวมเอาธรรมชาติทั้งมวลมาไว้ในตึก ไม่ว่าจะเป็นโตรกผา ทะเลทราย หนองน้ำ และน้ำตก เพื่อจะกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งกันมากขึ้น และทำให้สุขภาพประชาชนดีขึ้น

อาคารนี้ยังออกแบบให้ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำฝนนำมาใช้งานในอาคาร และติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อหล่อเลี้ยงด้านพลังงาน รวมถึงยังฟิลเตอร์ดักจับคาร์บอนเพื่อช่วยระบบนิเวศของเมืองด้วย

อาคารที่มีเส้นรอบวงถึง 3,000 เมตรและลอยบนฟ้า จะเดินทางไปมาในอาคารได้อย่างไร? คำตอบของดีไซเนอร์คือ การทำระบบขนส่งด้วย ‘พ็อด’ เป็นเหมือนรถไฟฟ้าแบบแขวนอยู่ด้านล่างของตัววงแหวน

แนวคิดการก่อสร้างเมืองหรืออาคารแบบใหม่ที่ฉีกแนวไปจากเดิม เพื่อแก้ปัญหาประชากรล้น เมืองเติบโตเร็ว ไม่ได้มีแค่ที่ดูไบ ก่อนหน้านี้ไม่นาน “ซาอุดีอาระเบีย” เพิ่งเรียกเสียงฮือฮาจากการทดลองดีไซน์เมืองใหม่ในชื่อ “The Line”

The Line ถูกออกแบบเป็นตึกสูง 2 อาคารประกบเข้าหากัน ที่น่าสนใจคือสองอาคารนี้จะยาวถึง 170 กิโลเมตรกลางทะเลทรายยาวไปจนถึงชายฝั่งทะเลแดง และมีพื้นผิวฝั่งด้านนอกเป็นกระจกเพื่อให้ตึกดูแนบเนียนไปกับทะเลทรายโดยรอบ ซาอุฯ คาดหวังว่าโปรเจกต์นี้จะจุประชากรได้ถึง 9 ล้านคน แต่แนวคิดที่ล้ำสมัยเช่นนี้ก็กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ในทะเลทราย

ตึกวงแหวน Downtown Circle ยังไม่ได้มีการอนุมัติว่าจะก่อสร้างจริงเช่นกัน แต่การได้เห็นอนาคตสุดล้ำจากงานดีไซน์ ก็เป็นไปได้ว่ารูปแบบที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในทศวรรษหน้าอาจจะไม่เหมือนกับในวันนี้ก็ได้

Source

]]>
1397580
ชมภาพว่าที่ “ตึกสูง” อันดับ 3 ของ “เสิ่นเจิ้น” ฮับการเงินดีไซน์ล้ำจากบริษัท “ซาฮา ฮาดิด” https://positioningmag.com/1315705 Thu, 21 Jan 2021 15:57:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315705 บริษัทของ “ซาฮา ฮาดิด” สถาปนิกหญิงชื่อก้องคือผู้ชนะประกวดแบบตึก Shenzhen Bay Super Headquarters Base Tower C ศูนย์รวมบริษัทด้านการเงิน โดยตึกนี้จะมีความสูงเกือบ 400 เมตร เมื่อสร้างเสร็จจะกลายเป็นตึกสูงอันดับ 3 ของ “เสิ่นเจิ้น” ตัวอาคารออกแบบสุดล้ำ เสมือนสองอาคารเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงพืชพรรณไม้ส่วนกลาง สร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะแห่งใหม่ให้เมือง

ยุคแห่งความเจริญของประเทศจีน โดยเฉพาะ “เสิ่นเจิ้น” ซึ่งทางการจีนกำลังปั้นให้เป็นฮับการเงินและเทคโนโลยีของโลก ล่าสุดโครงการอาคาร Shenzhen Bay Super Headquarters Base Tower C กำลังจะมาเติมเต็มเส้นขอบฟ้าของเมืองให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น โดยประกาศแบบอาคารที่ชนะการประกวดจากบริษัท Zaha Hadid Architects ของสถาปนิกหญิง “ซาฮา ฮาดิด” ผู้ล่วงลับ

แบบอาคารนี้ลักษณะเหมือนตึก 2 ตึกเล่นระดับ และเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อส่วนกลาง บริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นโพเดียมหลายชั้นและมีระเบียง ภายในปลูกสวนแนวตั้งระบบเลี้ยงพืชในน้ำ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจะเชื่อมต่อกับสวนและพลาซ่าโดยรอบอาคาร ทำให้เป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเมือง

Tower C นั้นเสมือนมีสองตึกเชื่อมต่อกันด้วยโพเดียมระเบียงพืชพรรณไม้ตรงกลาง (Photo : Dezeen)

Tower C นี้เป็นส่วนหนึ่งของทั้งโครงการ Shenzhen Bay Super Headquarters Base เนื้อที่กว่า 731 ไร่ ซึ่งจะเป็นแหล่งรวมออฟฟิศโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการเงิน ปัจจุบันมีการออกแบบอาคารไปแล้ว 18 อาคาร เมื่อสร้างเสร็จทั้งหมดราวปี 2026-27 คาดว่าจะมีคนทำงานในโครงการนี้ราว 3 แสนคน

โครงการนี้ไม่ได้สร้างแค่ตึกออฟฟิศ แต่ยังมีศูนย์ประชุมและจัดนิทรรศการ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ฮับขนส่ง สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมพื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการเงินของประเทศ เปรียบได้กับย่าน Canary Wharf ของลอนดอน

บรรยากาศล้ำสมัยของอาคาร Tower C (Photo : Dezeen)

นอกจากจะมีดีไซน์ล้ำยุคแล้ว ตัวอาคารยังมีความสูงเกือบ 400 เมตร ทำให้จะกลายเป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับ 3 ของเมืองเมื่อสร้างเสร็จ (เทียบกับอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ณ ขณะนี้) โดยปัจจุบันอาคารที่สูงที่สุดของเสิ่นเจิ้นคือ Ping An Finance Centre สูง 599 เมตร และครองตำแหน่งตึกสูงอันดับ 4 ของโลกด้วย ส่วนอาคารสูงอันดับ 2 ของเสิ่นเจิ้นคือตึก KK100 ที่สูง 442 เมตร

Tower C ยังถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับธรรมชาติด้วย โดยจะมีการใช้วัสดุที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล หรือใช้วัสดุที่มีคาร์บอนฟุตปริ้นต์ต่ำ เน้นการให้แสงธรรมชาติเข้าอาคารเพื่อช่วยเรื่องการประหยัดไฟ และมีพื้นที่จอดจักรยานขนาดใหญ่พิเศษที่เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของเสิ่นเจิ้น เพื่อกระตุ้นให้ชาวเมืองใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะ

(Photo : Dezeen)

สำหรับ ซาฮา ฮาดิด นั้นเธอเป็นสถาปนิกหญิงชาวอิรัก-อังกฤษ เธอจากไปเมื่อปี 2016 ในวัย 65 ปี เคยได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกในหมวดหมู่นักคิดของนิตยสาร TIME ปี 2010 เธอยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รางวัลพริตซ์เกอร์เมื่อปี 2004 โดยรางวัลนี้เปรียบได้กับรางวัลโนเบลของแวดวงสถาปัตยกรรม

ผลงานเด่นๆ ของฮาดิดหลายงานตั้งอยู่ในจีนนี่เอง เช่น กวางโจว โอเปร่า เฮาส์, อาคาร Galaxy SOHO ปักกิ่ง, อาคาร Wangjing SOHO ปักกิ่ง ทำให้แม้ตัวเธอจะจากไปแล้ว แต่ชื่อของฮาดิดยังมีอิทธิพลเสมอ

Source
Source

]]>
1315705