ฮาคูโฮโด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 20 Mar 2024 04:06:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ต่าง Gen ก็มูต่างกัน! ล้วงลึกพฤติกรรมการ ‘มูเตลู’ ของคนไทย ที่ไม่ใช่ความงมงายแต่เป็น ‘วิถีชีวิต’ https://positioningmag.com/1466722 Tue, 19 Mar 2024 05:38:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466722 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ มูเตลู เป็นอะไรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน เพราะการมูถือเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเจนจะมูเหมือนกัน ไปดูอินไซต์การมูของคนไทยที่ศึกษาโดย สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ว่าแต่ละเจนมีความเชื่ออย่างไร และ แบรนด์ จะนำไปปรับใช้กับการทำการตลาดได้อย่างไรบ้าง

88% เชื่อเรื่องมู และมูเพื่อจะรวย

จากคำตอบของผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบกว่า 1,200 คน ทั่วประเทศไทย พบว่า กว่า 88% เชื่อเรื่องการมู และกว่า 52% มองว่า การมูเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และแม้ว่าคนไทยจะเน้นเรื่องครอบครัวเป็นศูนย์กลาง แต่ 65% ขอพรเพื่อตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่คิดถึงครอบครัว แต่อาจจะมีปัญหาบางอย่าง ความปรารถนาบางสิ่งที่ไม่สามารถบอกใครได้ เลยมาขอกับการมู

ที่น่าสนใจคือ อันดับ 1 ในการขอก็คือ เรื่องเงิน (44%) ตามด้วย เรื่องโชคลาภ (17%) ซึ่งก็ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอยู่ดี ตามด้วยการมูเรื่อง สุขภาพ (12%) ส่วนการมูเรื่อง การงาน มีเพียง 8% เท่านั้น เนื่องจากคนไทยมองว่า การทำงานเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับการนำไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงกับผู้ชายก็มีความต้องการการมูที่ต่างกัน โดยผู้ชายมีแนวโน้มที่จะต้องการผู้รับฟัง แต่ผู้หญิงต้องการการฟันธง

“พฤติกรรมการมูสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจ สังคม ความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ เขามองว่าเขาไร้ที่พึ่ง การมูเตลูจึงเป็นเสมือนครึ่งยึดยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเครื่องเสริมความมั่นใจ” กรรณ ทองศรี ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ กล่าว

ต่างเจนก็มูต่างกัน

แม้ว่าจะเชื่อเรื่องมูเหมือนกัน แต่ใช่ว่าแต่ละเจนจะใช้วิธีมูเหมือน ๆ กัน โดย Gen X #มูแบบtraditional โดยคนที่อยู่ในช่วงอายุ 43 – 58 ปี เน้นเรื่องการ สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญทำทาน โดยมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็น Booster หรือเป็นตัวช่วย Top up ความพยายาม เสริมความหวังและกำลังใจให้แก่ตนเอง และด้วยช่วงอายุที่มากขึ้น ทำให้ชาว Gen X มีการมูเตลูเพื่อ ขอเรื่องสุขภาพมากกว่า เจนอื่น ๆ เพราะการมีสุขภาพที่ดี คือการเพิ่มความมั่นใจว่าชีวิตจะไม่สะดุด สามารถลุยงานและเอ็นจอยชีวิตได้อย่างเต็มที่ และยังลดความเสี่ยงในการเป็นภาระของคนรอบข้างอีกด้วย

Gen X เติบโตในช่วงเริ่มต้นทุนนิยมในไทย เน้นการยึดหลักปฏิบัติและธรรมเนียมที่มีมาแต่รุ่นก่อน และมองว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องนี้ภูมิใจ และยืนหนึ่งเรื่องความพยายาม ทำให้การมูเป็นตัวเสริมความพยายามที่ทำ” ดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ กล่าว

Gen Y มูหมดไม่สนลูกใคร

Gen Y มีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวคือ เปิดรับ และ ปรับตัวเก่ง โดยเปิดกว้างให้กับความศรัทธาแบบไร้ขีดจำกัด ได้ทุกศาสนาและความเชื่อ ขอแค่มอบผลลัพธ์ในสิ่งที่ตัวเองต้องการแบบเฉพาะเรื่องได้ โดย Gen Y เอง ถือเป็นช่วงอายุที่เป็นวัยสร้างตัว จึงมักได้ชื่อเล่นว่าเป็น เดอะแบก มีภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่และครอบครัวของตัวเอง ดังนั้นจึงโฟกัสกับ การเงินและการงานมากกว่าเจนอื่น เพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าในชีวิต

“คนในช่วงอายุ 27 – 42 ปี เติบโตมาในช่วงจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นยุครอยต่อระหว่าง analog-to-digital จึงมีการเปิดรับและปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี” พร้อมพร สุภัทรวณิช รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลุยทธ์ กล่าว

Gen Z มูนะแต่ไม่ (ค่อย) แสดงออก

สำหรับการมูแบบ Gen Z จะเป็นการ blend in แบบเนียน ๆ จะไม่ใช่การใส่เครื่องรางของขลังแบบเด่น ๆ แต่จะอยู่ในรูปแบบของ แฟชั่นและสีสันในชีวิตประจำวัน ใช้เพื่อเป็น Gimmick ทั้งในด้านการซัพพอร์ตและฮีลใจนั้น ไม่ว่าจะเป็นการ ใส่เสื้อผ้าสีมงคล เครื่องประดับมงคลชิ้นเล็ก ๆ หรือตั้ง วอลเปเปอร์บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 11 – 26 ปี เติบโตในยุคดิจิทัลพร้อมปรับเปลี่ยน เพื่อสิ่งใหม่ ๆ และเอ็นจอยชีวิตได้ทุกสถานการณ์

โดย Gen Z จะเน้นมูไปที่ การงานและการเรียน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังอยู่ทั้งในวัยเรียนและกำลังก้าวเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการค้นหาตัวเอง เลือกทางเดินในการมีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง เพื่ออนาคตที่สดใสและชีวิตที่ดีกว่าเดิม

Gen Z เน้นมูแบบ blend in เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน มองการมูเป็น Gimmick เป็นลูกเล่น สีสัน เสริมพลังใจและใช้เป็น Topic ในการไปคุยกับเพื่อน ๆ ได้ ไม่ใช่แค่สร้างความมั่นใจแต่ยังเพิ่มเรื่อง Relationship ได้” 

แบรนด์จะทำอย่างไรมัดใจสายมู

จากผลสำรวจดังกล่าวจะเห็นว่าผู้บริโภคเปิดใจกับการมูมาก และการมูก็มีผลต่อเรื่องการตัดสินใจจะซื้อสินค้า เพราะนอกจากฟังก์ชันนอลที่ลูกค้ามองหา เรื่องมูจะเข้ามาช่วยเรื่องอีโมชันนอล ดังนั้น จะเห็นว่าแบรนด์ใหญ่ ๆ ลงมาทำการตลาดเรื่องมู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แบรนด์ก็ต้องทำให้เหมาะกับแบรนด์ และจะจับ Gen ไหนต้องชัดเจน

สำหรับ Gen X อาจจะเน้นการส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก โดยสามารถเพิ่มความน่าสนใจและคุณค่าในแง่ของความสุขทางใจ ด้วยกิจกรรมมูเตลูที่พวกเขาคุ้นเคย เช่น กิจกรรมเดิน-วิ่ง 9 วัด ให้คน Gen X ได้สวดมนต์ ทำบุญขอพรและได้ออกกำลังกายไปพร้อม ๆ กัน หรือจัดทำ Packaging บทสวดมนต์/บทอวยพรมงคล ที่ช่วยให้สามารถสวดเพิ่มกำลังใจได้ทุกที่ทุกเวลา แต่แบรนด์ควรคำนึงถึงขอบเขต และความเหมาะสมตามธรรมเนียมและวิถีปฏิบัติที่ชาว Gen X ยึดถือด้วย

ดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ (ซ้าย), กรรณ ทองศรี ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ (ตรงกลาง), พร้อมพร สุภัทรวณิช รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลุยทธ์ (ขวา)

ส่วน Gen Y มีนิสัยเปิดกว้าง ชอบลองของใหม่ ชอบโพสต์และแชร์ชีวิตแบบฮิป ๆ ของตัวเอง ดังนั้น แบรนด์อาจ recommend การมูแบบใหม่ ๆ ที่ไม่มีมาก่อน โดยยึดหลัก จุดประสงค์ชัด ประสบการณ์ใหม่ ถ่ายรูปสวย เช่น “Meet and Mu” ทริปมูเตลูที่เน้น new spot ทั้งในและนอกประเทศ พร้อมการ tie-in สินค้าหรือบริการของแบรนด์ นอกจากจะได้มูตามศรัทธาแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้เที่ยวและพบปะเพื่อนใหม่ ๆ คอเดียวกัน และยังได้รูปสวย ๆ ไปโพสต์ได้ด้วย แต่ท้ายที่สุดแบรนด์ควรระวังความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลต่าง ๆ เพราะคนเจนนี้ชอบค้นหา และแชร์ข้อมูลกับคนรอบข้าง

มูแบบมินิมอล หรือ มูแบบไม่ตะโกน คือ มอบความสนุก ความมั่นใจ ไม่ใช่ขายความเชื่อ จะถูกจริตชาว Gen Z ที่สุด แบรนด์สามารถเพิ่มโอกาสในการเชื่อมต่อกับคน Gen Z ได้ด้วยการเสริมเรื่องราวมูเตลูที่ ดูดีมีสไตล์ และ เอ็นจอยร่วมกันกับเพื่อน ๆ ให้กับสินค้าหรือบริการ เช่น จัดแพ็กสินค้าสีมงคล สำหรับทุก ๆ วัน หรือ สติกเกอร์รวมพลังเทพครบเซต อีกหรือทำสินค้าแฟชั่น/ accessories หรือกลุ่มบิวตี้ ที่มี สีมงคลพาสเทล เสริมความสนุกและความมั่นใจ ให้กับพวกเขาทั้งในชีวิตประจำวันและโลกออนไลน์

]]>
1466722
มูฟออนจากโควิด! “ฮาคูโฮโด” วิจัยพบคนไทยอยากฉลอง มู้ดการจับจ่ายพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี https://positioningmag.com/1411615 Thu, 08 Dec 2022 14:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411615 ข่าวดีรับสิ้นปีสำหรับผู้ประกอบการ “ฮาคูโฮโด” วิจัยพบคนไทยมูฟออนจากความกังวลเรื่องโควิด-19 ได้แล้ว บรรยากาศสิ้นปีส่งเสริมให้เกิดการเฉลิมฉลอง ความต้องการจับจ่ายซื้อสินค้าพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี ‘Gen X’ นำโด่งซื้อของมากที่สุด

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำการสำรวจรอบเดือนธันวาคม 2565 พบว่า ความรู้สึกของคนไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และความต้องการซื้ออยู่ในจุดที่ดีที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีซึ่งทำให้คนไทยต้องการเฉลิมฉลอง จับจ่ายซื้อของเพื่อตัวเองหรือครอบครัว จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือเตรียมเดินทางไปท่องเที่ยว/กลับภูมิลำเนา

ในภาพรวมความสนใจข่าวสารของคนไทยจะสะท้อนได้ว่า คนไทยกำลังรู้สึกอย่างไรและสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ ซึ่งในช่วงปลายปีนี้ Top 10 ข่าวสารที่คนไทยสนใจ ‘ไม่มีเรื่องโควิด-19’ ส่วนกลุ่มเรื่องที่คนไทยสนใจช่วงนี้ เช่น น้ำท่วม พายุ เศรษฐกิจ ข่าวอาชญากรรม และเรื่องที่เกี่ยวพันกับการเมือง เห็นได้ว่าจะแตกต่างจากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งข่าวไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้รับความสนใจอันดับ 1

ข่าว 10 อันดับแรกที่คนไทยสนใจ รอบเดือนธันวาคม 2565

มู้ดจับจ่ายพุ่ง เสื้อผ้าขายดี คนอยากทานอาหารนอกบ้าน

ด้านอินไซต์ความต้องการซื้อสินค้าของคนไทย พบว่า แนวโน้มความต้องการซื้อ “สูงที่สุดในรอบ 2 ปี” โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 69 คะแนน จาก 100 คะแนน (เทียบกับเมื่อเดือนเมษายนเฉลี่ยอยู่ที่ 63 คะแนน) และถ้าแยกเป็นกลุ่มเพศ “ผู้หญิง” จะมีคะแนนความต้องการจับจ่ายมากกว่าค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 70 คะแนน ซึ่งคาดว่าเกิดจากผู้หญิงมักจะนิยมซื้อของขวัญให้คนรอบข้างในช่วงสิ้นปี รวมถึงมี ‘emotional drive’ ซื้อด้วยอารมณ์อยากซื้อมากกว่า

ฮาคูโฮโดประเมินว่า ภาพรวมความต้องการซื้อที่มากขึ้นสัมพันธ์กับช่วงเทศกาลปลายปีซึ่งแบรนด์ต่างๆ จะจัดโปรโมชันสูง และบรรยากาศที่ทำให้คนไทยต้องการปลดล็อกออกมาจับจ่ายซื้อสินค้า ไม่ว่าจะให้กับตัวเองหรือเป็นของขวัญ

ในแง่สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการจะซื้อสูงสุดในช่วงสิ้นปี 5 อันดับแรก ได้แก่ อาหาร, โทรศัพท์มือถือ, ของใช้ในชีวิตประจำวัน, เสื้อผ้า และการท่องเที่ยว

แต่ถ้ามองในกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการซื้อ “เติบโตสูงสุด” ในช่วงสิ้นปี ได้แก่ เสื้อผ้า, โทรศัพท์มือถือ, การท่องเที่ยว, การทานอาหารนอกบ้าน และรถจักรยานยนต์

กลุ่มที่น่าสนใจคือการซื้อ ‘เสื้อผ้า’ ที่กลับมาเติบโตเพราะการออกนอกบ้านมากขึ้น รวมถึงการทานอาหารนอกบ้านก็กลับมาคึกคัก ทั้งหมดเพราะคนไทยไม่กังวลกับโควิด-19 แล้ว

 

Gen X ใช้จ่ายสูง ซื้อของขวัญให้คนรอบตัว

หากแยกความต้องการซื้อเป็นแต่ละช่วงวัย ผลปรากฏว่า คน Gen X คือวัยที่สนใจซื้อสินค้าเพิ่มมากที่สุดในช่วงปลายปี โดยคนวัย 40-49 ปี มีความต้องการซื้อ 72 คะแนน และวัย 50-59 ปี มีความต้องการซื้อ 74 คะแนน เห็นได้ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก

ฮาคูโฮโดพบจากการวิจัยว่า คนในวัยนี้ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีเพราะต้องการซื้อ “ของขวัญ” ให้คนรอบตัว สำหรับสานสัมพันธ์กับญาติสนิทมิตรสหายหรือให้ลูกหลาน รวมถึงเป็นกลุ่มที่นิยมหาโปรโมชันดีๆ เพื่อกักตุนสินค้าจำเป็น

อินไซต์นี้จะต่างจากคนวัย 20-29 ปี และวัย 30-39 ปี หรือกลุ่ม Gen Y จนถึง Gen Z ซึ่งจะใช้จ่ายไปกับการซื้อสินค้าเพื่อสร้าง ‘self-branding’ เช่น เสื้อผ้า ทานอาหารนอกบ้าน ไปร่วมงานอีเวนต์ เป็นสินค้าหรือกิจกรรมที่สามารถถ่ายรูปทำคอนเทนต์ลงโซเชียลได้

 

การตลาดควรเจาะมู้ด ‘เปิด’ รับสิ่งดีๆ สู่ปีใหม่ และการ ‘ให้’ ผู้อื่น

จากข้อมูลอินไซต์ข้างต้น “ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์” ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ให้แนวทางการตลาดที่ควรมีในช่วงปลายปีดังนี้

  1. คำว่า ‘เปิด’ เป็นกิมมิคที่ใช้ช่วงนี้แล้วปัง!

การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้น แบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword ‘การเปิด’ เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้าอัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว

  1. ‘ผสมผสาน’ คือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ

โควิด-19 ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไป แบรนด์จึงต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางจำหน่าย การสื่อสาร หรือการจัดกิจกรรมกับลูกค้า จะต้องมีการผสมผสานกันไป เพราะลูกค้าจะเริ่มกลับมาหน้าร้านทางกายภาพ (physical) มากขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้แบรนด์ที่เน้นออนไลน์มาก อาจจะต้องกลับมาพิจารณาออฟไลน์ด้วยเช่นกัน

 

ให้ข้อมูลโดย

]]>
1411615
คนไทย “สุขลดลง” จากปัญหาค่าครองชีพ เครียดข่าวอาชญากรรม-เศรษฐกิจมากขึ้น https://positioningmag.com/1381114 Fri, 08 Apr 2022 11:50:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381114
  • “โฮคูโฮโด” สำรวจคนไทยทุกๆ 2 เดือน รอบล่าสุดประจำเดือนเมษายน 2565 พบคนไทย “สุขลดลง” เทียบกับรอบก่อน เพราะกังวลเรื่องไวรัสผสมกับปัญหาค่าครองชีพ
  • คนไทยสนใจข่าวโอมิครอนน้อยลงแม้จะยังเป็นข่าวอันดับ 1 ข่าวแตงโมตกน้ำและสงครามรัสเซีย-ยูเครนมาแรง ข่าวอาชญากรรม การเมือง เศรษฐกิจเข้ามาอยู่ในความสนใจสูงขึ้น
  • การจับจ่ายเน้นด้านอาหาร ของใช้จำเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ลดการซื้อเสื้อผ้า เครื่องสำอาง การท่องเที่ยว
  • สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) จัดสำรวจ “ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม” (Sei-katsu-sha) ทุกๆ 2 เดือน โดยในประเทศไทยรอบล่าสุดสำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยวัย 20-59 ปีจาก 6 ภูมิภาค จำนวน 1,200 คน

    ผลสำรวจรอบนี้จัดทำเป็นรายงานประจำเดือนเมษายน 2565 ในด้าน “ความสุข” ของคนไทยอยู่ที่ 63 คะแนน ลดลง -2 คะแนน เทียบกับรายงานรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากโรค COVID-19 ยังระบาดอยู่ และมีปัจจัยความกังวลด้านเศรษฐกิจฝืดเคืองเข้ามาเสริม

    เมื่อสำรวจประเด็นข่าวที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุด 10 อันดับ จะเห็นได้ว่าคนไทยสนใจเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และอาชญากรรมสูง ส่วนไวรัสโอมิครอนแม้จะยังอยู่อันดับ 1 แต่ได้รับความสนใจลดลงมาก ดังนี้

    1. COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน 47% (-6%)
    2. แตงโมตกน้ำ (12%) (new)
    3. สงครามรัสเซีย-ยูเครน (9%) (new)
    4. การเมือง (9%) (+2%)
    5. เศรษฐกิจ (4%) (+2%)
    6. ค้ามนุษย์ (3%) (new)
    7. หลานฆ่ายายยัดถัง (2%) (new)
    8. ราคาน้ำมัน (2%) (new)
    9. คริปโตเคอร์เรนซี/บิตคอยน์ (2%) (คงเดิม)
    10. ฟุตบอล (2%) (-1%)

    คนไทยรัดเข็มขัด ใช้แต่ที่จำเป็นก่อน

    “จริงๆ แล้วคนไทยนั้นชอบช้อป แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ต่างๆ ตอนนี้ ทำให้สินค้าหลายๆ อย่างมีราคาสูงขึ้น ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค ทำให้คนไทยระมัดระวังเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และซื้อของที่ไม่จำเป็นลดลง” ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) กล่าว

    นั่นทำให้ผลสำรวจความต้องการซื้อสินค้าของคนไทย กลุ่มที่เพิ่มมากขึ้นคือ “อาหาร” มาเป็นอันดับ 1 สัดส่วน 25% และเติบโต 5% “ของใช้ในชีวิตประจำวัน” อันดับ 2 สัดส่วน 15% เติบโต 2% “ตู้เย็น/เครื่องใช้ไฟฟ้า” อันดับ 5 สัดส่วน 5% เติบโต 1% และ “รถยนต์” อันดับ 9 สัดส่วน 4% เติบโต 2%

    ส่วนสินค้าที่คนไทยลดความต้องการลงคือ “เสื้อผ้า” “ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม” “การท่องเที่ยว” และ “คอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต”

    ในมุมนักการตลาด เมื่อพบว่าคนไทยมีความสุขลดลง และเคร่งเครียดจากข่าวอาชญากรรม เศรษฐกิจ คนไทยมองหาความมั่งคั่งมากกว่างานที่มั่นคง ต้องการรายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้เป็นช่วง “สงกรานต์” ที่คนไทยยังให้ความสำคัญกับครอบครัวและยังมองหาของขวัญให้ญาติผู้ใหญ่อยู่ แม้จะรัดเข็มขัดมากก็ตาม

    พรนภัส สุลัยมณี” นักวางแผนกลยุทธ์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส (ประเทศไทย) จึงให้คำแนะนำแบรนด์ในการทำการตลาดที่ช่วยคลายเครียดและเน้นไปที่ครอบครัวเป็นหลัก ดังนี้

    1. แบรนด์ควรชวนคลายเครียดด้วยกิจกรรมใหม่ๆ เน้นเสริมความสัมพันธ์กับครอบครัวแต่ยังปลอดภัยจาก COVID-19 เพราะเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาของครอบครัว ที่แบรนด์สามารถเข้าไปเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ เปลี่ยนบรรยากาศการเฉลิมฉลองกับครอบครัว สนับสนุนการอุปโภคและบริโภคสินค้าภายในบ้านที่ดีต่อสุขภาพและจิตใจเป็นหลัก เพื่อชดเชยข้อจำกัดด้านการเดินทางท่องเที่ยว หรือ กลับบ้านไปหาครอบครัวในช่วงโอมิครอนนี้
    2. เสนอโปรโมชันช่วงซัมเมอร์ที่แปลกใหม่ พร้อมสนับสนุนการส่งความรักความห่วงใยถึงกัน เพื่อต้อนรับช่วงเวลาที่สำคัญของครอบครัว อย่างการส่งมอบความรักความห่วงใยให้กับครอบครัวหรือคนที่เรารักแม้อยู่ห่างไกลกัน

     

    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

    ]]>
    1381114
    คนภาคตะวันออก “รัดเข็มขัด” หนักสุด! โควิดรอบสามกระทบ “ความต้องการซื้อ” https://positioningmag.com/1334935 Tue, 01 Jun 2021 12:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334935 ฮาคูโฮโดสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภครอบเดือนมิถุนายน’64 พบว่า “ความต้องการซื้อ” สินค้าลดลง โดยกลุ่มที่รัดเข็มขัดมากขึ้นคือ “กลุ่มคนภาคตะวันออก” และ “คนวัย 30-39 ปี” สินค้าอาหารยังมีความต้องการสูงสุด เลี่ยงซื้อของชิ้นใหญ่ ยกเว้นมีประโยชน์กับอาชีพ

    ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยผลสำรวจทางออนไลน์ “การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย” ซึ่งเป็นการสำรวจทุกๆ 2 เดือน รอบเดือนมิถุนายน 2564 มีการสำรวจชายหญิงจำนวน 1,200 คนจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

    1.แนวโน้มความต้องการใช้จ่ายลดลงอีกครั้ง – จาก 100 คะแนน ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อเฉลี่ย 54 คะแนน ลดลงจากรอบสำรวจรอบก่อน (เดือนเม.ย.64) ที่อยู่ที่ 56 คะแนน ทั้งนี้ เพศชายมีความต้องการซื้อลดลงมากกว่าเพศหญิง

    2.ซื้อของจำเป็น – อาหาร ยังเป็นสินค้าที่คนต้องการซื้อมากที่สุด รองลงมาคือของใช้จำเป็น, เครื่องดื่ม, เสื้อผ้า, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม โดยกลุ่มบิวตี้นี้ยังมีความต้องการซื้อแม้คนออกนอกบ้านน้อยลง เพราะถือเป็นสิ่งที่ช่วยในด้านจิตใจ3.ซื้อของใหญ่น้อยลง ยกเว้นจำเป็น – ในแง่สินค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลงคือ เสื้อผ้า, การทานอาหารนอกบ้าน, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, รองเท้า-กระเป๋า สำหรับสินค้าอย่างมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้บริโภคซื้อน้อยลงเพราะมีราคาสูง ต้องการระวังการใช้จ่าย แต่กลุ่มคนที่ซื้อเพราะต้องการนำมาใช้ประกอบอาชีพ เช่น ขายของออนไลน์ ลงทุนหุ้น-บิทคอยน์

    4.คนไทยคาดว่าจะมีความสุขลดลง – จากคะแนน 100 คะแนน คนไทยให้คะแนนความสุขขณะนี้ที่ 65 คะแนน แต่อีก 3 เดือนข้างหน้า มีกลุ่มที่มองว่าจะมีความสุขลดลงเป็นสัดส่วน 11% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจรอบก่อน

    5.คนภาคตะวันออกรัดเข็มขัดหนักสุด – เมื่อแบ่งตามภูมิภาค พบว่า กลุ่มที่มีความต้องการใช้จ่ายลดลงมากและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคือ ภาคตะวันออก ซึ่งมีคะแนนเพียง 51 คะแนน โดยกลุ่มที่สำรวจให้เหตุผลว่าเพราะตนซื้อของตุนไว้เผื่อฤดูท่องเที่ยวแล้ว ทำให้ไม่ต้องการซื้อเพิ่ม และโควิดระลอกสามทำให้ไม่ได้ออกไปไหน ต้องประหยัดมากขึ้น

    6.คนวัย 30-39 ปีต้องการประหยัด – กลุ่มวัยที่มีความต้องการใช้จ่ายต่ำลงมากคือวัย 30-39 ปี และรองลงมาคือ 20-29 ปี เนื่องจากรายได้ในวัยนี้ยังไม่มั่นคง จึงมีความกังวลมากกว่า และปกติมักจะใช้จ่ายในการทานข้าวนอกบ้านกับการท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ยังต้องหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม วัยที่คาดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นกลับเป็นวัย 40-49 ปี

    7.ข่าวโควิดกลับมาแรง – จากการสำรวจรอบก่อนที่ข่าวโควิดแม้จะเป็นอันดับ 1 ที่ถูกพูดถึงแต่กระแสเริ่มซาลง มาเดือนนี้ข่าวโควิดกลับมาแรงอีกครั้ง รวมถึงเรื่องวัคซีนก็กลายเป็นข่าวเกี่ยวเนื่องที่คนสนใจมาก ขณะที่ข่าวการเมืองเริ่มซาลงไปแทน อย่างไรก็ตาม มีเทรนด์ข่าวที่คนยังสนใจต่อเนื่องจากรอบก่อนคือ “หุ้นและบิทคอยน์” ซึ่งน่าจะมาจากการหาทางใหม่ในการสร้างรายได้ยุคนี้

    ย้อนอ่านผลสำรวจรอบก่อนจากฮาคูโฮโด คลิก >> https://positioningmag.com/1326150

    ]]>
    1334935
    เจาะพฤติกรรม ‘Gen Z’ ที่มักถูก ‘เข้าใจผิด’ และ ‘แบรนด์’ จะพิชิตใจอย่างไรในยุค ‘ล่าแม่มด’ https://positioningmag.com/1326910 Wed, 07 Apr 2021 12:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326910 การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละ Gen ถือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับกลุ่ม Gen Z ที่กำลังกลายมาเป็น ‘main spender’ หรือ ‘กำลังซื้อหลัก’ ในอนาคต แต่มีหลายคนกำลัง ‘เข้าใจผิด’ เกี่ยวกับพฤติกรรมของ Gen Z  ดังนั้น ‘ฮิลล์ อาเซียน’ ที่ก่อตั้งโดย ฮาคูโฮโด อิงค์ เอเจนซีโฆษณายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ได้มาเผยถึง Insight คน Gen Z ในอาเซียนว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร รวมถึงข้อแนะนำสำหรับ ‘แบรนด์’ ที่หากอยากได้ทั้งใจและทั้งเงินจาก Gen Z

    Gen Z ไม่ได้สุดโต่งและสนแค่ตัวเอง

    Gen Z หรือกลุ่มคนที่มีอายุ 9-24 ปี (เกิด 1997 – 2012) ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาและ First Jobber โดย Gen Z ถือเป็น Gen ที่จะกลายมาเป็นกำลังซื้อหลักในอนาคต เนื่องจากมีจำนวนถึง 25% ของประชากรในอาเซียน อย่างไรก็ตาม แม้คน Gen Z จะมีช่วงอายุที่ใกล้กับคนยุค Millennials แต่ก็มีความแตกต่างกันพอสมควร

    ด้วยความที่ Gen Z เกินมาพร้อมอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ไม่ได้ผ่านยุคแอนะล็อกเหมือนกับคน Gen อื่น ๆ ทำให้มีความเปิดโลกมากขึ้น อีกทั้ง Gen Z ยังเกิดมาในสภาวะเศรษฐกิจที่ดีกว่า Gen อื่น ทำให้สถานะครอบครัวมีความมั่นคงกว่า

    อย่างไรก็ตาม Gen Z มักจะถูกมองว่าเป็น Gen ที่ ไม่ค่อยแคร์สังคม เน้นที่ความคิดตัวเองเป็นหลัก ติดมือถือชอบใช้โซเชียลตลอดเวลาโดยไม่ได้คิด ซึ่งพวกเขานั้นมองว่ากำลังถูกเข้าใจผิด

    close up woman’s hand hold mobile phone device:focus on girl work play read call text type on smartphone concept, teen people innovation technology telecommunication. teenager reply response chatting

    Gen Z นักผสานความลงตัว

    ในความเป็นจริงแล้ว Gen Z ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ที่ดูเป็นแบบนั้นเพราะ 48% รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์แบบเพื่อน ค่อนข้างสนิท เพราะพ่อแม่ไม่ชอบการเลี้ยงดูแบบยุคเก่า และ 46% ถูกสอนให้ตั้งคำถามและมีมุมมองของตัวเอง เปิดกว้างต่อความคิดเห็นต่าง ๆ ได้มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงโซเชียล ทำให้เปิดรับความเชื่อต่าง ๆ ได้มากกว่า

    ขณะที่ 63% ของ Gen Z ถูกสั่งสอนให้เคารพต่อสังคมและประเพณี และคิดถึงครอบครัวเป็นหลัก โดย 67% โดยจุดมุ่งหมายทำให้พ่อแม่ภูมิใจ อยากทำงานดี ๆ จะได้เลี้ยงดูพ่อแม่ 61% มองว่าความสุขคือการ ถูกยอมรับจากคนรอบข้าง และ 70% ต้องการมีเพื่อนจำนวนมาก แต่ไม่ได้แปลว่าจะละทิ้งความเป็นตัวเองเพื่อให้เข้ากับเพื่อน

    ในส่วนของการ ‘ให้ความสำคัญกับชีวิต’ (Life Value) ไม่น่าเชื่อว่า Gen Z ให้ความน้ำหนักกับความมั่นคง ครอบครัว และ Inner peace (ความสงบภายใน) เท่า ๆ กัน โดย Gen Z มองว่า ความสำเร็จเกิดจากความสุขของเขาและคนรอบข้าง โดย Gen Z ถือว่าเป็น Gen ที่พยายาม ‘บาลานซ์’ ความสุขของตัวเองและคนรอบข้าง

    โดย 86% เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า ชีวิตเป็นการเติมเต็มความรับผิดชอบ และ ชีวิตเป็นเรื่องของการรักตัวเอง และ 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่า ความสำเร็จ คือ การมีความสุขกับสิ่งที่เราเป็น ไม่ว่าคนอื่นจะว่าอย่างไร ชี้ให้เห็นว่า ตำแหน่งใหญ่โตและการหาเงินทองไม่ใช่สิ่งพิสูจน์ความสำเร็จสำหรับพวกเขา

    “คนชอบบอกว่า Gen Z มีความสุดโต่ง สนใจเรื่องตัวเองมากกว่าสังคม อยากได้เงิน งาน เที่ยว ครอบครัว แต่จริง ๆ แล้ว เขามองว่าความสำเร็จในชีวิตขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ แค่มีความสุขในทุกวันก็ประสบความสำเร็จแล้ว” พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้จัดการแผนกวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮิลล์ เอเชีย จำกัด กล่าว

    มี ‘แอ็คหลุม’ เพื่อแสดงตัวตนในแต่ละด้าน

    พิมพ์พิชญ์ ธีระพิทยานนท์ นักวางแผนกลยุทธ์ดิจิทัลอาวุโส บริษัท ไอ-ดีเอซี (แบงค็อก) กล่าวว่า Gen Z มีการใช้งานโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน โดยใช้ Facebook เพื่ออ่านข่าวต่าง ๆ ส่วน Instagram จะเน้นใช้แชร์เรื่องราวชีวิต โดยเฉพาะใน IG Story ด้าน Twitter เปรียบเสมือนที่ระบายคลายเหงา และเป็นแพลตฟอร์มสำหรับผลักดันเทรนด์ต่าง ๆ ส่วน TikTok ใช้เน้นคลายเครียด มีอีกสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Gen Z ชาวไทยคือ ชอบซื้อของผ่าน ‘ไลฟ์สด’ และเน้นซื้อ-ขายบน Instagram กับ Twitter

    นอกจากนี้ Gen Z มักจะมีแอคเคานต์มากกว่า 1 บัญชี แต่ไม่ได้ สร้างตัวตนปลอม แต่มีไว้ก็เพื่อ แสดงตัวตนในแต่ละแบบ โดย 82% แคร์เรื่องคาแร็กเตอร์ของตัวเอง และ 68% ต้องการแสดงตัวตนที่เป็นธรรมชาติของฉันในโซเชียลมีเดีย และนอกจากนี้ Gen Z มักใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำให้สังคมดีขึ้นและขับเคลื่อนเรื่องบางอย่าง เช่น ความเท่าเทียม, ประเด็น LGBTQ และการเมือง เป็นต้น

    Gen Z คาดหวังสูง

    จากข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วเป็นคนมีเหตุมีผล โดย Gen Z จะชอบเปรียบเทียบทุกอย่าง โดย Gen Z จะเป็น Gen ที่คาดหวังกับแบรนด์สูงกว่า Gen อื่น ๆ แต่ถ้าได้สินค้าที่ตรงตามความต้องการหรือตรงตามคาดหวังก็พร้อมจะจ่ายในราคาที่แพงขึ้น โดย 80% เต็มใจจ่ายมากขึ้นให้กับแบรนด์ที่ช่วยเหลือสังคม

    ขณะที่ Influencers ยังมีผู้มีมีอิทธิพลทำให้พวกเขารู้จักสินค้า และแม้เทรนด์เช่าใช้มาแรงแต่ 94% อยากเป็นเจ้าของเพราะเขาต้องการความมั่นคง

    “ถ้าตอบโจทย์ความคาดหวังได้นอกจากจะได้เงินยังได้ใจด้วย” วรรณรัตน์ วิศวสุขมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด (กรุงเทพ) จำกัด กล่าว

    Asian woman tourists are taking photos With a smartphone at the Wat Arun temple on vacation Bangkok Thailand.

    แบรนด์จะมัดใจอย่างไร

    • แบรนด์จะต้องให้คุณค่าทุกคนอย่างเท่าเทียม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ และเปลี่ยนจาการการนำเสนอ Unique Selling Point เป็น Unique Social Perspective หรือแสดงจุดยืนทางสังคมที่ชัดเจน แต่ต้องสะท้อนกับความต้องการของ Gen Z ในเวลาเดียวกัน และสร้างเหตุผลให้ Gen Z อยากสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์มากยิ่งขึ้น
    • กล้าที่จะสื่อสารและแสดงตัวตนที่แตกต่างกันในแต่ละช่องทาง เพื่อให้โดนใจมากขึ้น โดยข้อความที่สื่อสารจะต้องเหมือนและสอดคล้องในแต่ทุกช่องทาง
    • Co-Create กับ Gen Z เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกัน โดยแบรนด์ควรทำตัวเองให้เหมือนพันธมิตรในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ กับ Gen Z เช่น สร้างบทสนทนา การสร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มให้ Gen Z ได้แสดงตัวตนเพื่อจุดกระแส
    • สื่อสารกับเขาอย่างสื่อสัตย์และตรงไปตรงมา เพราะ Gen Z เป็นคนที่มีเหตุและผล โดยต้องการเล่าถึงประโยชน์ของสินค้าด้วยถ้วยคำที่ง่าย ชัดเจนและตรงไปตรงมาที่สุด

    “แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์มีกลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนกัน แต่สำหรับการสร้างฐานลูกค้าในระยะยาวแล้ว Gen Z ก็เป็นอีกกลุ่มที่ต้องเร่งมัดใจเพื่อให้มีความภักดีกับแบรนด์ ขณะที่ความสัมพันธ์ของ Gen Z กับคนในครอบครัวค่อนข้างมีความใกล้ชิด ดังนั้น มีโอกาสที่ Gen Z จะพูดคุยและแนะนำแบรนด์ให้กับคนในครอบครัวได้

    ข้อควรระวังที่แบรนด์ต้องรู้

    ทั้งนี้ Gen Z ในอาเซียนมีความยูนีคที่ต่างจาก Gen Z ทั่วโลกก็คือ การมีจุดยืนที่ชัดเจนเกินไป ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือปัญหาสังคมก็ตาม ถ้ามีความสุดโต่งในด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ Gen Z รู้สึกว่าการสนับสนุนเป็นเรื่องยาก เพราะกลัวว่าคนรอบข้างจะรู้สึกว่าสนับสนุนหรือมีความเห็นไปทางเดียวกับแบรนด์ ดังนั้น ควรแสดงจุดยืนในด้านของ ศีลธรรม เป็นหลัก

    “ไม่ใช่แค่ GenZ ที่ล่าแม่มด แต่น่าจะเป็นทุก Gen แต่ถ้าเกิดเราถูกต่อต้านจาก Gen Z เราควรรีบเข้าไปดูว่ามันเกิดจากอะไร และสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง โดยการสื่อสารต้องทำอย่างตรงไปตรงมาและต้องรีบทำ เพราะ Gen Z ต้องการความรวดเร็ว”

    สรุปแล้ว Gen Z ไม่ได้สุดโต่ง แต่แสวงหาความลงตัวกับทุก ๆ ด้านของชีวิต พร้อมกับแบ่งจุดประสงค์ในการใช้งานโซเชียลฯ แต่ละช่องทาง และเชื่อว่าโซเชียลฯ มีพลังในการเปลี่ยนแปลงขึ้น ดังนั้น Gen Z คือ นักผสานความลงตัว หรือ SynergiZers ที่จะสามารถผสานทุกอย่างให้มีความลงรอยและสอดคล้องกันในทุกมิติ ไม่ได้แคร์แค่ตัวเองแต่แคร์ครอบครัวและคนรอบข้าง

    ]]>
    1326910
    เปิดโผ! แนวโน้มคนไทยพร้อมเปย์ช่วงสงกรานต์! ยอมใช้จ่ายกลุ่มอาหารมากสุด https://positioningmag.com/1326150 Thu, 01 Apr 2021 15:03:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326150 สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัทในเครือฮาคูโฮโด เปิดเผยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนเมษายน 2564 พบว่าเทศกาลสงกรานต์ และวันหยุดยาวช่วยกระตุ้นความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภคไทย

    พบว่าคนไทยเตรียมตัวควักกระเป๋าเพื่อความสุขของตนเอง และครอบครัว ทั้งการซื้อเสื้อผ้า และของแต่งตัว ทานอาหารนอกบ้าน ซื้อเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อความสะดวกสบาย และการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไป และภาคตะวันออกมีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงสุด

    ทางสถาบันวิจัยฯ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มการบริโภคของคนไทยทุกๆ 2 เดือน โดยครั้งล่าสุดเป็นการสำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 17-26 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประกอบด้วยเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุ 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ

    Photo : Pixabay

    ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า

    “แม้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะยังอยู่ในชีวิตคนไทยต่อไป แต่พลังของเทศกาลวันหยุดยาวหน้าร้อนทำให้คนไทยเริ่มปลดล็อคการใช้จ่ายในหลายด้านมากขึ้น ทั้งการเตรียมตัวออกไปท่องเที่ยว การสังสรรค์นอกบ้าน และการกลับมาพบกันของครอบครัวและคนใกล้ชิด ทำให้ระดับความสุขของผู้บริโภคไทยกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง”

    จากผลสำรวจพบข้อบ่งชี้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยที่สำคัญ 2 ข้อ ได้แก่

    1. ผู้บริโภคกล้าใช้จ่ายมากขึ้นแม้ COVID-19 จะยังอยู่

    คนไทยเริ่มผ่อนคลายกับการใช้จ่ายมากขึ้น เห็นได้จากความต้องการใช้จ่ายไปกับการทานอาหารนอกบ้านหรือการซื้อเสื้อผ้าใหม่ การอยู่บ้านมากขึ้นยังทำให้เกิดวิถีใหม่ “สร้างสุขได้เองที่บ้าน” เห็นได้จากความต้องการซื้อสินค้าเครื่องใช้เพื่อความสะดวกสบายในบ้านมากขึ้น

    ในขณะที่การซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันเริ่มน้อยลงเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคอยากซื้อมากที่สุดในเดือนเมษายน 5 อันดับแรก คือ อาหาร ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน เครื่องใช้ภายในบ้าน และเสื้อผ้า อีกทั้งมีความต้องการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

    2. อานิสงส์จากเทศกาลสงกรานต์และวันหยุดยาว

    เทศกาลแห่งความสุข และวันหยุดยาวช่วงหน้าร้อนนี้เป็นตัวขับเคลื่อนการใช้จ่าย เพื่อเตรียมตัวสำหรับการพักผ่อน การรวมญาติ ทั้งยังมีเทศกาลลดราคาต่างๆ มาจูงใจ สัญญาณความสุขนี้ส่งผลต่อระดับความคาดหวังถึงความสุขในอนาคตที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยระดับความสุขในปัจจุบันอยู่ที่ 65 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 64 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อน

    ส่วนการคาดการณ์ระดับความสุขใน 3 เดือนข้างหน้า ผู้บริโภคคาดว่าจะมีความสุขเท่ากับตอนนี้ 51% เพิ่มขึ้น 2% จากการสำรวจครั้งก่อน คาดว่าจะมีความสุขมากขึ้น 43% เพิ่มขึ้น 2% และคาดว่าจะมีความสุขน้อยลง 6% ลดลง 4%

    วรีมน เบญจพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ และดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท เดลฟิส ฮาคูโฮโด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

    สำหรับแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายในเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ 56 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 54 คะแนนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยผู้บริโภคมีความต้องการใช้จ่ายไปกับการซื้อ เสื้อผ้า ทานอาหารนอกบ้าน เครื่องใช้ภายในบ้าน รองเท้า-กระเป๋า โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    เมื่อจำแนกตามภาค พบแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ภาคตะวันออกมีความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี และระยอง จากสินค้ากลุ่มอาหาร ของใช้ในชีวิตประจำวัน และเสื้อผ้า ซึ่งอาจเป็นผลจากการซื้อทดแทนของที่หมดไปในช่วงล็อกดาวน์ สำหรับการประกอบอาชีพเพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะมาถึงอีกครั้ง ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายลดลง

    เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ พบว่าแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว โดยอาจเป็นการจับจ่ายเพื่อเตรียมตัวสำหรับเทศกาล และวันหยุดยาว เช่น ซื้อของขวัญให้ครอบครัว และคนพิเศษ หรือซื้อของตามที่วางแผนไว้แล้วเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น

    สำหรับข่าวที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา แม้เรื่อง COVID-19 จะยังคงเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุด แต่ความสนใจลดฮวบเหลือ 24% จาก 81% ในการสำรวจครั้งก่อน โดยผู้บริโภคเบนความสนใจไปสู่มาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการเราชนะ เรารักกัน หรือวัคซีน

    อีกทั้งต้องการเห็นความชัดเจนเรื่องความเป็นธรรมในสังคม และความโปร่งใสของภาครัฐ จากการติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ม็อบเมียนมา ลุงพลกับคดีน้องชมพู่ หรือข่าวเมียหลวงบุกงานแต่ง สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยอยากเห็นความถูกต้องและโปร่งใส ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สื่อน้องใหม่อย่างแอปพลิเคชัน Clubhouse กลายเป็นสื่อยอดนิยมในช่วงนี้ เพราะเป็นพื้นที่ในการ

    แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเสรีและตรงไปตรงมา นอกจากนี้ผู้บริโภคยังสนใจข่าวเกี่ยวกับการหาช่องทางสร้างรายได้จากการลงทุน เช่น บิตคอยน์ หุ้นโออาร์ และทองคำ

    การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย เป็นการสำรวจทุก 2 เดือนร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัทในเครือฮาคูโฮโด เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/hakuhodohillasean

    ]]>
    1326150
    คนไทย “รัดเข็มขัด” การใช้จ่าย Top 3 สินค้าที่ยังต้องการซื้อคือ อาหาร-ของใช้-มือถือ https://positioningmag.com/1320251 Fri, 19 Feb 2021 09:56:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320251 “ฮาคูโฮโด” สำรวจผู้บริโภคไทยรอบเดือน ม.ค. – ก.พ. 64 พบว่า คนไทย “รัดเข็มขัด” กันมากขึ้นเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ โดยสินค้า Top 3 ที่ผู้บริโภคยังต้องการซื้อคือ อาหาร ของใช้ และโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน ด้านความสนใจข่าวสารของคนไทย พุ่งไปที่เรื่อง COVID-19 เป็นหลัก กลับข้างกับการสำรวจรอบก่อนที่คนไทยมุ่งความสนใจการเมือง

    “ชุติมา วิริยะมหากุล” ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจคนไทยทั้งชายและหญิง 1,200 คน อายุ 20-59 ปี โดยสำรวจผ่านทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 8-15 มกราคม 2564 ทั้งนี้ เป็นการจัดสำรวจทุกๆ 2 เดือน การสำรวจรอบนี้พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

    1) คนไทยมีแนวโน้มระวังการใช้จ่าย
    (Photo : Hakuhodo)

    ผู้ถูกสำรวจมีแนวโน้มความต้องการใช้จ่าย 54 คะแนนจากเต็ม 100 คะแนน โดยลดลงจากการสำรวจรอบเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่มีความต้องการใช้จ่าย 57 คะแนน เนื่องจากความกังวลด้านเศรษฐกิจที่มากขึ้น

    สำหรับผู้ถูกสำรวจที่ยังต้องการใช้จ่ายมากกว่าค่าเฉลี่ย ระบุเหตุผลคือ ต้องการเลี่ยงออกไปข้างนอกทำให้ใช้จ่ายไปกับการกักตุนสินค้าและซื้อผ่านเดลิเวอรี่ หรือมีการซื้อของเพื่อให้รางวัลตัวเอง/เป็นของขวัญให้คนอื่น

    ส่วนผู้ถูกสำรวจที่ต้องการใช้จ่ายน้อยกว่าค่าเฉลี่ย เหตุผลคือ รายได้ลดลงหรือว่างงานจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรัดเข็มขัดซื้อสินค้าเฉพาะเมื่อจะทดแทนของเก่าเท่านั้น

     

    2) สินค้าที่สนใจซื้อ : อาหาร ของใช้ และสมาร์ทโฟน
    (Photo : Hakuhodo)

    สินค้า 3 อันดับแรกที่คนไทยสนใจซื้อ ได้แก่ อาหาร (23%) , ของใช้ (19%) และโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน (9%) สำหรับสมาร์ทโฟนนั้นคนไทยยังสนใจซื้อมากแม้จะรัดเข็มขัด เพราะถือเป็นของจำเป็นสำหรับการเรียนออนไลน์ของลูกๆ การทำงานประจำ และใช้หารายได้เสริม

    ส่วนสินค้าในระดับรองๆ ลงมาที่คนสนใจซื้อ เช่น เสื้อผ้า (5%) , คอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต (5%), สกินแคร์/เครื่องสำอาง (5%)

    ขณะที่สินค้าที่คนไทยสนใจซื้อน้อยที่สุดคือ บริการความงาม (2%), รถมอเตอร์ไซค์ (2%), การทานอาหารนอกบ้าน (2%) และเฟอร์นิเจอร์/ตกแต่งบ้าน (2%)

     

    3) ภาคอีสานต้องการใช้จ่ายเพิ่ม วัย 20-29 ปีไม่ลดการใช้จ่าย
    (Photo : Hakuhodo)

    เมื่อแบ่งตามภูมิภาค ผู้บริโภคไทยลดการใช้จ่ายทุกภูมิภาค ยกเว้น “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีคะแนนแนวโน้มต้องการใช้จ่าย 58 คะแนน เพิ่มขึ้น 4 คะแนน โดยฮาคูโฮโดคาดว่าเกิดจากประชากรเคลื่อนย้ายจากแหล่งงานกลับภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เป็นช่วงที่มีการใช้จ่ายสูง

    ส่วนถ้าหากแบ่งตามช่วงวัย กลุ่มที่ยังไม่ลดการใช้จ่าย ทรงตัวเท่าเดิม คือวัย 20-29 ปี ขณะที่วัยที่ลดการใช้จ่ายมากที่สุดคือวัย 50-59 ปี ลดคะแนนแนวโน้มใช้จ่ายลง 5 คะแนน

     

    4) สนใจประเด็น COVID-19 มากที่สุด
    (Photo : Hakuhodo)

    ด้านอารมณ์ความรู้สึกของคน วัดจากความสนใจประเด็นข่าว พบว่า ข่าวที่ถูกพูดถึงมากที่สุด 3 อันดับคือ COVID-19 (81%), การเมือง (3%) และพิมรี่พาย (3%) ประเด็นนี้สลับกับการสำรวจรอบก่อนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเรื่องการเมืองมาแรงเป็นอันดับ 1 ที่ 57%

     

    อ่านเพิ่มเติม : เปิดอินไซต์ใช้จ่าย ‘ตรุษจีน’ 2564 เงียบเหงา เศรษฐกิจเเย่ ต้องประหยัด ของไหว้เจ้า ‘แพงขึ้น’

    ]]>
    1320251