เด็กจบใหม่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Aug 2023 08:35:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เยอะจนไม่กล้าเปิดเผย? ‘จีน’ ประกาศงดเผยแพร่สถิติการ “ว่างงานของเด็กจบใหม่” หลังตัวเลขพุ่งสูงต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1440948 Tue, 15 Aug 2023 05:31:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440948 ย้อนไปในช่วงเดือนมิถุนายน อัตราการว่างงานของเยาวชนจีนพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่  21.3% นอกจากนี้ ยังเห็นตัวเลขของ เด็กจบใหม่เกือบครึ่งที่เดินทางกลับบ้านเกิด เพราะไม่สามารถสู้ค่าครองชีพในเมืองใหญ่ ๆ ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้

หลังจากที่เปิดเผยข้อมูลของการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ ล่าสุด สำนักงานสถิติของจีน (NBS) ก็ได้ออกมาประกาศว่า นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป สำนักงานจะ ระงับการเผยแพร่ข้อมูลการว่างงานของเยาวชน (อายุ 16-24 ปี) อย่างไม่มีกำหนด โดยอ้างว่า ต้องปรับปรุงกลไกการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลใหม่

เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายบางฉบับที่ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี และการศึกษาได้รับผลกระทบ ส่งผลไปถึงการจ้างงานในจีน โดยเฉพาะเยาวชนและเด็กจบใหม่ที่มีสถิติการว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา 

ปัญหาใหม่เศรษฐกิจจีน: วัยรุ่น 1 ใน 5 คน​ “ว่างงาน” เรียนจบสูงแต่ไม่มีตำแหน่งรองรับ

โดยอัตราการว่างงานโดยรวมของจีนในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 5.3% เพิ่มขึ้นจาก 5.2% ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ อัตราการว่างงานในกลุ่มวัยรุ่นจีน ช่วงเดือนมิถุนายนสูงถึง 21.3% ถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่ โดยถือว่าเพิ่มขึ้น 0.5% จากสถิติของเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ 20.8% และเมื่อเดือนที่แล้ว ศาสตราจารย์ชาวจีนคนหนึ่ง คาดว่า อัตราว่างงานของเยาวชนที่แท้จริงในประเทศอาจเข้าใกล้ 50% ในเดือนมีนาคม

ตัวเลขที่ศาสตราจารย์คนดังกล่าวนั้นใกล้เคียงกับตัวเลขของ ผู้สำเร็จการศึกษาราว 47% กลับบ้านเกิดภายใน 6 เดือนหลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 2022 เพิ่มขึ้นจาก 43% ในปี 2021 เนื่องจากเด็กจบใหม่ที่หางานไม่ได้เดินทางออกจากเมืองใหญ่กลับสู่บ้านเกิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าครองชีพในเมืองใหญ่ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรุงปักกิ่งที่มีค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้น 5% และนครกว่างโจวและนครเซินเจิ้น ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.8%

จากการตัดสินใจของ NBS ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลการยว่างงานของเด็กจบใหม่ได้ถูกนำไปล้อเลียนและวิพากษ์วิจารณ์ทันทีบน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีน โดยแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องได้รับการดูมากกว่า 10 ล้านครั้ง 

Source

]]>
1440948
ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525
ว่างงานพุ่งไม่หยุด เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเคว้ง ‘ไม่มีงานทำ’ หนี้ครัวเรือนสูง จำใจกู้นอกระบบ https://positioningmag.com/1333573 Mon, 24 May 2021 07:50:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333573 โควิด-19 สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย ไตรมาสเเรกของปี 2564 ว่างงานพุ่ง 7.6 เเสนราย นักศึกษาจบใหม่เกือบแสนคน ‘สุดเคว้ง’ ตำแหน่งงานไม่เพียงพอ เสี่ยงตกงานยาว ด้านหนี้ครัวเรือนสูงไม่หยุด ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ประชาชนต้องควักเงินออมมาใช้ ก่อหนี้บัตรเครดิตเสี่ยงกู้นอกระบบเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนคน คิดเป็น 1.96% เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก นับตั้งแต่เดือน ม..เป็นต้นมา

โดยอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรงแต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง

เเบ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 8 หมื่นคน ในเดือน มี.. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ...คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

Photo : Shutterstock

ส่วนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

โดยกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เเละมียอดผู้มีงานทำในไทยทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวสูงขึ้น รวม 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2%

ปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเเละมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้ภาคบริการ จ้างงานลดลง 0.7% สาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0% และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 0.2%

เเต่บางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ

เด็กจบใหม่ เสี่ยงไร้งานยาว 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในปี 2564 ที่ต้องติดตามเเละเเก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้เเก่

1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน

โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจเหล่านี้อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น 

2) แรงงานในภาคท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่

ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะ รองรับนักศึกษาจบใหม่

กระทบกับการหางานของ นักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ...เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

4) เเรงงานรายได้ลดต่อเนื่อง เสี่ยงตกงานยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกันและการว่างงานเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยด้วย

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือนทะลุ 14 ล้านล้าน คนจำใจก่อหนี้บัตรเครดิตกู้นอกระบบเพิ่ม

หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยาย 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เเม้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในไตรมาส 4 ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

เเต่จากปัญหาตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น จะทำให้รายได้ของแรงงานลดลง และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น

คาดว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19”

ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ด้านความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ตอนนี้ประชาชนเริ่มนำเงินออมออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย มาไว้รองรับในระยะถัดไป

 

 

]]>
1333573
มองตลาดแรงงานไทย แข่งดุอัตรา 1 : 100 แถม ‘ต่างชาติทักษะสูง’ จ่อแย่งงาน https://positioningmag.com/1325506 Mon, 29 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325506 ปกติแล้วอัตราการว่างงานไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% แต่เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงถึง 2% โดยภาพรวมตลาดประกาศงานในไทยช่วงเดือนมกราคมหายไป 35.6% ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมหายไป 37.9% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2019 โดย ‘จ๊อบส์ ดีบี’ (JobsDB) ก็ได้ออกมาเปิดข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต COVID-19 ว่าจะฟื้นมากน้อยแค่ไหนไปดูกัน

ไตรมาสแรกส่งสัญญาณบวก

หลังจากที่ถูกพิษ COVID-19 ถล่มเศรษฐกิจซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับภาพรวมการจ้างงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ในที่สุดก็เริ่มเห็นสัญญาณบวก โดย พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 สามารถเติบโต 24.65% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคมที่การระบาดระลอก 2 ขณะที่ตลาดงานครึ่งปีแรกคาดว่าจะเติบโตได้ 5% ในกลางปี 2564 แต่จะกลับไปฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์ COVID–19 อาจต้องรอถึงต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น

กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่
  • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ (16.0%)
  • สายงานไอที (14.7%)
  • สายงานวิศวกรรม (9.8%)
กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่
  • สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ (29.7%)
  • สายงานขนส่ง (24.7%)
  • สายงานการผลิต (20.8%)

ด้านกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุด ได้แก่
  • กลุ่มธุรกิจประกันภัย (42.9%)
  • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (41.9%)
  • กลุ่มธุรกิจการผลิต (37.7%)

“กลุ่มงานขายและการผลิตแสดงให้เห็นถึงสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนสายงานไอทียังคงมีความต้องการสูงต่อเนื่อง ด้านสายงานขนส่งได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรมช้อปออนไลน์ ที่น่าห่วงคือ สายงานภาคท่องเที่ยว, โรงแรมยังติดลบ -20% เทียบไตรมาส 1 ปี 64 กับครึ่งปีหลังปี 63”

ตลาดฟื้นแต่ยังแข่งสูง

ในแต่ละเดือนพบว่ามีใบสมัครงานกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน เติบโต 20% โดยอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยหางานมากขึ้นการแข่งขันยิ่งสูง

คนไทยอยากออก ต่างชาติอยากเข้า

จากแบบสำรวจ “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 ที่จ๊อบส์ ดีบีร่วมมือกับบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) พบว่า กว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัต่างประเทศ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานในต่างประเทศเช่นกัน โดยไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018

จากปี 2018 ที่แรงงานต่างชาติที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาที่ใช้แรงงาน แต่ปี 2020 กลับเป็นชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเติบโตของบริษัทในประเทศที่ขยายมาสู่ประเทศไทย ซึ่งงานต่างชาติจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ งานข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนา งานที่พักโรงแรม และบริการด้านอาหาร งานวิทยาศาสตร์ การบริหารและการบริการ

สำหรับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. มาเลเซีย 3. จีน 4. อินโดนีเซีย 5. รัสเซีย ส่วน 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1. ออสเตรเลีย 2. ญี่ปุ่น 3. สิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบ เวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) มากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มธุรกิจที่จะหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน

“ต่างชาติพร้อมที่จะเข้ามาเพราะบริษัทต่างชาติเริ่มขยายเข้ามาในไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ต่างชาติชอบ ทั้งอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ขณะที่เด็กไทยรุ่นใหม่ก็พร้อมจะไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อความก้าวหน้า ต้องการเงินเดือนสูง แต่อนาคตก็มีโอกาสกลับมาทำงานในไทย”

ทักษะใหม่ที่มาพร้อม COVID-19

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ, ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล, ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

เด็กจบใหม่ไม่ตรงสายงาน

ปัญหาความต้องการจ้างงานที่ไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษาที่ผลิตบุคลากรสู่ตลาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยจะเห็นว่ากลุ่มไอทีสามารถผลิตออกมาได้น้อยกว่าความต้องการ ขณะที่กลุ่มของมาร์เก็ตติ้งหรือนิเทศศาสตร์กลับผลิตออกมาได้มากกว่าความต้องการ ขณะที่ปัจจุบัน ภายใน 1-2 ปีเท่านั้นที่เทรนด์การทำงานปรับเปลี่ยน เริ่มเห็นตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขณะที่การเรียนมหาวิทยาลัยใช้เวลา 4 ปี ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหานี้กำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

“ตลาดไทยมีความต้องการแรงงานทักษะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ 70% ของแรงงานอยู่ในกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ และไม่มีการเปลี่ยนเเปลงในระยะเวลาหลายสิบปี ขณะที่ต่างชาติก็พร้อมเข้ามาแย่งงานคนไทย นี่จึงเป็นอีกโจทย์ที่ต้องเร่งแก้ในตลาดแรงงานไทย”

]]>
1325506
จีนเดินหน้าช่วยบัณฑิตจบใหม่ 8.74 ล้านคนหางาน ท่ามกลางวิกฤตไวรัสระบาด https://positioningmag.com/1264396 Sat, 15 Feb 2020 11:54:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264396 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่าหน่วยงานด้านการศึกษาของจีนประกาศจะให้ความช่วยเหลือด้านการหางานแก่เหล่าบัณฑิต ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

หวังฮุย เจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการจีนระบุในการรายงานข่าวสั้นประจำวัน ณ กรุงปักกิ่ง ว่า คาดว่าจะมีนักศึกษาจบใหม่ในปี 2020 ทั้งหมด 8.74 ล้านคน สูงกว่าปีก่อน 400,000 คน

เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทางกระทรวงฯ จึงประกาศระงับการจัดกิจกรรมรับสมัครงานทางออฟไลน์ ซึ่งอาจทำให้มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก และเดินหน้าพัฒนาบริการรับสมัครงานออนไลน์ อาทิ การสัมภาษณ์และการลงนามสัญญาจ้างทางอินเทอร์เน็ต โดยทางการจะตรวจสอบข้อมูลของผู้จ้างและการรับสมัครงานออนไลน์อย่างเข้มงวด

ทั้งนี้ จีนได้ประกาศเลื่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิของทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ

หวังระบุว่าทางกระทรวงฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มนักเรียนที่ประสบความยากลำบาก อาทิ กลุ่มนักเรียนที่มีฐานะยากจน หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย นอกจากนี้ “เราจะเปิดชั้นเรียนออนไลน์ หรือสายด่วนเพื่อให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการหางาน รวมถึงให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา”

Source

]]>
1264396