เมียนมา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Jun 2024 09:11:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาล “เมียนมา” กวาดจับพ่อค้าแลกเงิน-เอเยนต์ขายคอนโดฯ ในไทย สกัดไม่ให้ “เงินจ๊าต” อ่อนค่าลงอีก https://positioningmag.com/1476521 Tue, 04 Jun 2024 09:01:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476521 รัฐบาลเผด็จการ “เมียนมา” กวาดล้างกลุ่มพ่อค้าแลกเงินซื้อขายทองในตลาดมืด และกลุ่มเอเยนต์ขายคอนโดฯ ในประเทศไทย เป็นความเคลื่อนไหวรอบล่าสุดเพื่อสกัดไม่ให้ “เงินจ๊าต” อ่อนค่าลงอีก

สื่อของรัฐในเมียนมารายงานการกวาดล้างจับกุมผู้ต้องหาด้านการเงินรวม 35 รายในรอบ 2 วันที่ผ่านมา โดยในจำนวนนี้เป็นการจับกุมผู้ต้องหาในข้อหาสั่นคลอนเสถียรภาพในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 14 ราย และข้อหาขายห้องชุดคอนโดมิเนียมในไทยซึ่งถือว่าผิดกฎหมายเมียนมา 5 ราย

ปัญหา “เงินจ๊าต” อ่อนค่านั้นเป็นปัญหาเรื้อรังที่เริ่มต้นตั้งแต่เกิดรัฐประหารในเมียนมาเมื่อปี 2021 ทำให้ความต้องการ “เงินดอลลาร์” ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเพราะประชาชนต้องการสะสมเงินในสกุลเงินที่มีเสถียรภาพมากกว่า เผื่ออาจจะใช้ในการลี้ภัยออกนอกประเทศในภายหลัง ปัจจุบันค่าเงินจ๊าตจึงอ่อนแอลงถึง 70% เทียบกับก่อนเกิดรัฐประหาร และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศ สินค้าต่างๆ ราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากการสะสมในสกุลเงินดอลลาร์แล้ว ประชาชนบางส่วนยังนิยมซื้อสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำ ไว้เพื่อเก็บออมแทนเงินจ๊าตที่ผันผวนสูง และหากเป็นคนมีฐานะก็อาจจะลงทุนใน “อสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ” โดยมี “กรุงเทพฯ” เป็นหนึ่งในจุดหมายการลงทุน ซึ่งทำให้รัฐบาลเมียนมาต้องการสกัดกั้นไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศ

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) พบว่า ผู้ซื้อจากเมียนมากลายเป็นกลุ่มผู้ซื้อมาแรงในตลาดคอนโดฯ ไทยมาตั้งแต่ปี 2565 โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ไทยรวมมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาทในปี 2565 และเพิ่มมูลค่าขึ้นเป็นกว่า 3,700 ล้านบาทเมื่อปี 2566 จนกลายเป็นสัญชาติผู้ซื้อต่างชาติที่ซื้อคอนโดฯ ไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 4 รองจากจีน รัสเซีย และสหรัฐฯ

เมื่อค่าเงินจ๊าตผันผวนจากเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้ธนาคารกลางของเมียนมาเริ่มแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงิน โดยกำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวตามที่ธนาคารกลางกำหนดคือ 2,100 จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ Reuters รายงานจากร้านรับแลกเงินตราต่างประเทศพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดไม่เป็นทางการ (ตลาดมืด) ซึ่งสะท้อนความเป็นจริงนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 4,500 จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว

“รัฐบาลกำลังทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศและการบังคับใช้กฎหมาย” หนังสือพิมพ์ Global New Light of Myanmar รายงาน “องค์กรด้านความปลอดภัยจึงมีการตอบโต้กลุ่มนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร ซึ่งขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ”

สภาวะความผันผวนทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เมียนมาซึ่งมีประชากรกว่า 55 ล้านคน มีอัตราส่วนประชากรที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเส้นความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมมีอัตราส่วน 24.8% ในปี 2017 พุ่งขึ้นมาเป็นอัตราส่วน 49.7% ในปี 2023 จากข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

ฟากรัฐบาลเงา “รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ” หรือ NUG ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ ระบุว่ารัฐบาลทหารชุดปัจจุบันมีการพิมพ์เงินจ๊าตออกมาอีกมหาศาลตั้งแต่เข้าสู่อำนาจเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายโดยกองทัพ ซึ่งทำให้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศทรุดตัวลงอีก

Source

]]>
1476521
เจาะขุมทรัพย์กำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” 6.8 ล้านคนในไทย ช่องว่างที่รอแบรนด์ทำการตลาด https://positioningmag.com/1448256 Tue, 17 Oct 2023 08:58:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448256
  • MI GROUP วิจัยกำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” อาศัยอยู่ในไทยถึง 6.8 ล้านคน คิดเป็น 10% ของประชากรไทย แต่ยังมีแบรนด์ไทยจำนวนน้อยมากที่ทำการตลาดเจาะกลุ่มนี้โดยตรง
  • ธุรกิจที่แข่งขันเพื่อคว้าตลาดกลุ่มนี้แล้วมีเพียง 2 กลุ่ม คือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” โอกาสที่เห็นชัดเพื่อเจาะตลาดแรงงานเมียนมาคือธุรกิจ “ทองคำ” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อไว้เป็นสินทรัพย์
  • ชี้เป้าทำการตลาดด้วยการทลายกำแพง “ภาษา” และเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะแรงงานเมียนมาเกือบทุกคนใช้ Facebook
  • กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI GROUP จัดทำรายงานวิจัยชุด “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” สะท้อนภาพกำลังซื้อที่แบรนด์ไทยยังมองข้าม

    ภาพรวมของแรงงานเมียนมาในไทยมีประมาณ 6.8 ล้านคน (รวมกลุ่มที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายแล้ว) ซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวนประชากรไทย ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ และหากแบรนด์สามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ ก็จะมีโอกาสการขายที่มากขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ MI GROUP ผ่านสายธุรกิจ MI BRIDGE และ MI Learn Lab จึงวิจัยผู้บริโภคเมียนมาในไทย โดยศึกษาผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 50 คน และผ่านแบบสอบถามออนไลน์อีก 212 คน ศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2566 และได้ข้อมูลอินไซต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

    แรงงานเมียนมา
    ข้อมูลจาก: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

    รู้จัก “แรงงานเมียนมา” ในไทย

    คนเมียนมาที่เข้ามาทำงานในไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี และมี “ผู้ชาย” มากกว่าด้วยสัดส่วน 74% ส่วนแรงงาน “ผู้หญิง” มี 26%

    ภาคธุรกิจหรืออาชีพหลักที่คนเมียนมาเข้ามาทำงาน ได้แก่

    • โรงงานอุตสาหกรรม 39%
    • ก่อสร้าง 18%
    • พนักงานขาย 15%
    • เกษตรกร 11%
    • รับจ้างทั่วไป 9%

    แรงงานเมียนมา

    แรงขับสำคัญที่ทำให้คนเมียนมาเลือกมาทำงานในไทย 88% ตอบว่า เป็นเพราะปัญหาการเงินทางบ้าน เนื่องจากในเมียนมาจ่ายค่าแรงต่ำเพียง 1,000-5,000 บาทต่อเดือน หรือบางคนอาจไม่มีรายได้เลย

    เป้าหมายของคนเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จึงเป็นการมาหาเงินเพื่อส่งกลับไปให้ครอบครัวได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือมาหาเงินทุนกลับบ้านไปเริ่มทำกิจการส่วนตัว

    ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้มีคนเมียนมาถึง 49% ที่ตอบว่า ตนไม่มีกำหนดกลับบ้านเกิด จะอยู่ทำงานจนกว่าจะเก็บเงินได้ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าเป็นไปได้ต้องการจะอยู่เพียง 3-5 ปี

     

    เน้นการ “ออมเงิน”

    คนเมียนมาส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตที่เน้นการทำงานเป็นหลัก พวกเขาจะทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ ทำงานเฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน (รับโอที) รายได้ที่ได้รับอยู่ที่ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าที่เคยได้ในเมียนมา 3-15 เท่า!

    แรงงานเมียนมา

    และเมื่อชีวิตมาเพื่อหาเงินกลับบ้าน คนเมียนมาจึง “ออมเงิน” สูงมาก โดยแบ่งสัดส่วนเฉลี่ย 44% ของรายได้เป็นเงินออม

    2 ใน 3 ของเงินออมนี้จะถูกส่งกลับบ้านให้ครอบครัว เหลือ 1 ใน 3 ของเงินออมที่เก็บไว้ใช้ส่วนตัวยามจำเป็น

    ส่วน 56% ที่ไว้ใช้จ่าย คนเมียนมามีค่าใช้จ่ายหลักเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าที่พักอาศัย ค่าโทรศัพท์-อินเทอร์เน็ตมือถือ

     

    ซื้อสินค้าอะไรบ้าง

    เจาะลึกสินค้าในชีวิตประจำวันที่คนเมียนมาซื้อหา MI GROUP มีการแบ่งสิ่งที่คนเมียนมาต้องการออกเป็น 3 ช่วงตามสถานการณ์ชีวิต ได้แก่

    ช่วงที่ 1 “ตั้งหลัก” ระยะที่เพิ่งมาถึงประเทศไทย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – ซิมการ์ด
    – ที่อยู่อาศัย
    – ตำแหน่งงาน
    – ของใช้จำเป็น เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภค

    ช่วงที่ 2 “ตั้งตัว” ระยะเริ่มทำงานและเริ่มมีรายได้
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บัญชีเงินฝาก
    – ใบอนุญาตทำงาน
    – โทรศัพท์มือถือ (ราคาที่เหมาะสม 4,000-13,000 บาท)
    – เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็น เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม
    – เสื้อผ้าแฟชั่น
    – สกินแคร์ เครื่องสำอาง
    – ทองคำ** (ลงทุนสะสม 16,000-80,000 บาท)

    ช่วงที่ 3 “ตั้งใจ” ระยะเตรียมตัวกลับบ้านเมื่อเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บริการการโอนเงินกลับบ้านเกิด
    – ของใช้เพื่อเป็นของฝาก เช่น ยา อาหารเสริม เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแฟชั่น

     

    รับสื่อทาง “อินเทอร์เน็ต” เป็นหลัก

    รู้จักพื้นฐานด้านรายได้และความต้องการแล้ว ในแง่ของวิถีชีวิตและการรับสื่อของคนเมียนมา MI GROUP พบว่า เนื่องด้วยการทำงานหนัก ทำให้คนเมียนมามีเวลาว่างน้อย ในวันทำงานจะว่างเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน (ช่วงก่อนเข้านอน) และวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์

    เมื่อมีเวลาน้อย กิจกรรมยามว่างจะมีเพียง 2 เรื่อง คือ เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือ กับ จับจ่ายซื้อของ

    พฤติกรรมบนอินเทอร์เน็ตก็เหมือนคนทั่วไปคือ ดูละคร ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ติดตามข่าวสาร ติดต่อญาติ/เพื่อนฝูง

    โดยโซเชียลมีเดียที่คนเมียนมาใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok, Messenger, Line, Telegram

    โดยเฉพาะ “Facebook” เป็นช่องทางที่ 98% ของคนเมียนมาใช้งาน เพราะมีไว้ใช้ทั้งติดต่อญาติมิตร ดูคอนเทนต์บันเทิง ติดตามข่าวสารความรู้ และช้อปปิ้งออนไลน์ด้วย!

    การวิจัยนี้พบว่า 74% ของคนเมียนมาในไทยมีการ “ช้อปออนไลน์” โดยช่องทางที่ใช้ช้อปมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Lazada, Facebook, Shopee, TikTok

    แม้ว่าจะมีคนเมียนมาในไทยเพียง 32% ที่มี Mobile Banking แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถเลือกเก็บเงินปลายทางได้ หรือให้เพื่อน/นายจ้างที่มีแอปฯ ช่วยโอนเงินแทน

     

    โอกาสยังเปิดกว้าง – “ทองคำ” ควรจับตามอง

    ด้วยจำนวนประชากรและวิถีชีวิตเฉพาะตัว “วิชิต คุณคงคาพันธ์” Head of International Business Development, MI GROUP ให้ความเห็นว่า แบรนด์ไทยควรหันมามองตลาดที่มีถึง 6.8 ล้านคนนี้มากขึ้น

    “ตอนนี้แบรนด์ไทยยังมองว่าลูกค้าคนเมียนมาในไทยเป็นผลพลอยได้ เพราะว่าอย่างไรเขาก็ดูละครไทย รายการไทย ทำให้ไม่ค่อยมีการทำตลาดโดยตรง” วิชิตกล่าว

    มีเพียง 2 ธุรกิจที่เจาะตลาดนี้แล้วคือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” เพราะ “ซิมการ์ด” สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต กับ “บัญชีธนาคาร” คือสิ่งจำเป็นมากของแรงงานข้ามชาติ จึงมีการแย่งชิงลูกค้าอย่างเข้มข้น บางค่ายมือถือถึงกับมีคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมาไว้รองรับ!

    ส่วนธุรกิจที่วิชิตมองว่าควรจะเร่งเข้ามาจับตลาดคือ “ทองคำ / ร้านทอง” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อทองมาก เนื่องจากเป็นสินทรัพย์มีมูลค่าสำหรับเก็บออม และยังเป็นเครื่องประดับได้ในตัว สามารถพกพาติดตัวง่าย เก็บซุกซ่อนง่าย แต่ขณะนี้ยังไม่มีแบรนด์ร้านทองหรือทองคำใดๆ ที่จับตลาดคนเมียนมาโดยเฉพาะเลย

     

    แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา”

    วิชิตกล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วการทำตลาดเพื่อคนเมียนมาโดยเฉพาะ จุดสำคัญคือการทลายกำแพงภาษา แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา” ก็พอ ทำให้แบรนด์ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงแต่ได้ใจคนกลุ่มใหญ่

    เนื่องจากแรงงานเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จะเริ่มฟังพูดภาษาไทยได้คล่องหลังอยู่อาศัยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี คนที่อ่านเขียนภาษาไทยได้ส่วนใหญ่จะอยู่มาแล้วมากกว่า 7 ปีและต้องขวนขวายที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้กำแพงภาษาคือเรื่องสำคัญในการสื่อสารไปให้ถึงคนเมียนมา

    ส่วนช่องทางการสื่อสารก็ไม่ได้แตกต่างจากคนไทยมาก เพราะเสพสื่อประเภทเดียวกัน ใช้ช่องทาง Facebook ที่บูสต์โพสต์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้เหมือนกัน

    ขอเพียงแบรนด์แสดงออกถึงความเข้าใจในชีวิตแรงงานเมียนมาที่เข้ามาเพื่อ “สู้ชีวิต” เป็นแบรนด์ที่ “เชื่อใจได้” ในการอยู่เคียงข้างการทำงานหนัก รวมถึงเป็นแบรนด์ราคาประหยัด “จับต้องได้ง่าย” ก็จะชนะใจคนเมียนมาได้ไม่ยาก

    ]]>
    1448256
    หย่าไม่ได้ ขอไปเอง! “Kirin” ถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังเจรจาเผด็จการไม่คืบ https://positioningmag.com/1373855 Mon, 14 Feb 2022 09:41:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373855 บริษัทเครื่องดื่มญี่ปุ่น Kirin Holdings เตรียมถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังจากบริษัทสรุปได้ว่า “ไม่มีความหวัง” ในการเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหากับหุ้นส่วนธุรกิจซึ่งมีกองทัพเป็นเจ้าของ การตัดสินใจของบริษัทเกิดขึ้นหลังผ่านไปกว่า 1 ปีที่กลุ่มเผด็จการเข้ายึดการปกครอง

    Nikkei Asia รายงานว่า Kirin กำลังเริ่มกระบวนการเพื่อปิดกิจการในประเทศเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทดำเนินการผ่านบริษัทร่วมทุนกับ Myanma Economic Holdings (MEHL) บริษัทนี้มีกลุ่มกองทัพทหารเมียนมาเป็นเจ้าของ

    ที่ผ่านมาบริษัทเข้าจอยต์เวนเจอร์กับบริษัทกองทัพเมียนมา 2 แห่ง คือ Myanmar Brewery บริษัทนี้ Kirin เข้าถือหุ้นเมื่อปี 2015 และเป็นผู้ผลิตเบียร์ Myanmar Beer เบียร์ที่ขายดีที่สุดของประเทศ ครองตลาด 80% และอีกแห่งหนึ่งคือ Mandalay Brewery เมื่อปี 2017 ทั้งสองบริษัทนี้ Kirin ถือหุ้นข้างมาก 51% ส่วนที่เหลือ 49% บริษัท MEHL เป็นผู้ถือหุ้น

    ขณะนี้ Kirin กำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ โดยบริษัทเริ่มกระบวนการปิดบริษัทร่วมทุนทั้งสองแห่งแล้ว แต่ก็ยังเปิดโอกาสที่จะขายหุ้นในส่วนของตนให้กับบริษัทอื่น ซึ่งต้องเป็นการขายหุ้นให้กับบริษัทอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มกองทัพทหารเมียนมา เพราะหากบริษัทยังขายให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็จะตามกดดันบริษัทต่อไป

    ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีใครสนใจซื้อหรือไม่ และบริษัทจะหาผู้ซื้อได้ตรงคุณสมบัติที่ต้องการหรือไม่ แต่บริษัทตั้งเป้าหมายแล้วว่าจะจบกระบวนการในเมียนมาให้ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

     

    พยายามเจรจา ‘หย่าขาด’ แต่ไม่เป็นผล

    Kirin พยายามจะยุติความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหาร MEHL มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่เผด็จการทหารเข้ายึดอำนาจในเมียนมา เนื่องจากเผด็จการทหารเมียนมามีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ แม้ Kirin จะมีความหวังว่า เมื่อตนตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารได้แล้ว บริษัทจะได้ทำธุรกิจเบียร์ในเมียนมาต่อ แต่สุดท้ายความพยายามของบริษัทไม่เป็นผล

    Kirin เมียนมา
    โรงเบียร์ Myanmar Brewery ในประเทศ “เมียนมา”

    บริษัทพยายามเจรจากับ MEHL แล้ว และมีการนำคดีไปขึ้นศูนย์กลางอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 แต่สุดท้ายบริษัทตัดสินใจถอนการลงทุนของตัวเองออกแทน เพราะไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นตามที่หวัง

    ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจ กำไรจากบริษัทร่วมทุนในเมียนมาคิดเป็นสัดส่วน 9% ในมูลค่ากำไรโดยรวมของบริษัท Kirin แน่นอนว่าการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นที่จะตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารย่อมยากลำบาก เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องการผลประโยชน์จากบริษัทเบียร์ที่ทำกำไร

     

    บริษัทต่างชาติทยอยถอนการลงทุน

    ตั้งแต่เมียนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ประชาธิปไตยมากขึ้นเมื่อปี 2011 บริษัทต่างชาติมากมายซึ่งรวมถึง Kirin ด้วย ต่างพุ่งการลงทุนเข้าสู่ตลาด เพราะเห็นโอกาสการเติบโตที่แข็งแรง

    แต่เมื่อเผด็จการทหารกลับยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อปีก่อน บริษัทต่างชาติต่างทยอยถอนการลงทุนไปทีละราย โดยการประกาศถอนตัวของ Kirin ถือได้ว่าเป็นบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่รายแรกที่ประกาศเช่นนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของบริษัทอื่นๆ

    บริษัทต่างชาติอื่นที่ประกาศถอนการลงทุนแล้ว เช่น TotalEnergies บริษัทด้านพลังงานฝรั่งเศสประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2022, POSCO บริษัทค้าเหล็กยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ก็พยายามจะแยกทางกับ MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนเช่นกัน

    แต่ก็ยังมีบริษัทต่างชาติที่ยังไม่ตัดสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง เช่น Fujita, Tokyo Tatemono, Yokogawa Bridge Holdings เป็นต้น

    Source

    ]]>
    1373855
    ลาแล้ว 1! “เทเลนอร์” ขายกิจการในเมียนมาให้ M1 Group มูลค่า 105 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1341445 Thu, 08 Jul 2021 15:09:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341445 เทเลนอร์ (Telenor) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ได้ขายกิจการในเมียนมาให้บริษัท M1 Group กลุ่มนักลงทุนจากเลบานอนในมูลค่า 105 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ประเทศที่ตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่การรัฐประหารในเดือน ก.พ.

    “สถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงไปอีกและการพัฒนาล่าสุดในเมียนมาเป็นมูลเหตุสำหรับการตัดสินใจขายบริษัท” เทเลนอร์ระบุในคำแถลง

    เทเลนอร์ หนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาเป็นบริษัทตะวันตกเพียงไม่กี่รายที่เสี่ยงเดิมพันกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้หลังหลุดพ้นจากการปกครองของทหารเมื่อทศวรรษก่อน

    เทเลนอร์เริ่มตัดหนี้สูญตั้งแต่เดือน พ.ค. โดยขาดทุนสุทธิ 6,500 ล้านโครน (ราว 752 ล้านดอลลาร์) หลังธุรกิจมือถือถูกจำกัดอย่างรุนแรงหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. รัฐบาลทหารได้สั่งปิดข้อมูลมือถือทั่วประเทศ เพื่อให้นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยจัดการชุมนุม และส่งข้อความสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นล้มได้ยากมากขึ้น

    ความรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ผลักดันให้ประชาชนมากกว่า 230,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง และประชาชนมากกว่า 880 คน ถูกกองกำลังความมั่นคงสังหาร และถูกควบคุมตัวอีก 5,200 คน ตามการระบุของสหประชาชาติ

    รัฐบาลทหารยังห้ามผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่เดินทางออกจากประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และกำลังกดดันพวกเขาให้ใช้เทคโนโลยีสกัดกั้น ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบผู้ใช้งานได้ ตามการระบุของแหล่งข่าวที่เปิดเผยกับรอยเตอร์เมื่อต้นสัปดาห์

    “สถานการณ์ในเมียนมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมากลายเป็นความท้าทายมากขึ้นสำหรับเทเลนอร์ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของพนักงาน กฎระเบียบ และการปฏิบัติตาม” ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทเลนอร์ กล่าว และว่า การขายกิจการให้ M1 Group จะรับประกันการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์รายนี้ดำเนินงานอยู่ในแถบนอร์ดิก รวมถึงเอเชีย โดย 95% ของลูกค้ากว่า 187 ล้านคนของบริษัท อยู่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย และมาเลเซีย รวมถึงพม่า

    บริษัทมีลูกค้าในเมียนมาอยู่ราว 18 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคนของประเทศ

    ส่วนบริษัท M1 Group ก่อตั้งขึ้นโดยนาจิบ อัซมี มิคาติ อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ที่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท MTN Group ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในแอฟริกา แต่มีการดำเนินงานในเอเชียด้วย

    อย่างไรก็ตาม บริษัท M1 อยู่ในบัญชีดำขององค์กร Burma Campaign UK ที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของบริษัทระหว่างประเทศกับกองทัพพม่า และในรายงานปี 2562 ที่ดำเนินการโดยคณะสอบสวนอิสระระหว่างประเทศที่รายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกองทัพพม่า พบว่าบริษัท M1 Group มีหุ้นส่วนในบริษัทที่ให้เช่าเสาสัญญาณมือถือกับบริษัท MEC ที่เป็นกิจการของกองทัพ

    Source

    ]]>
    1341445
    [ข่าวลือ] “เทเลนอร์” เล็งขายธุรกิจในพม่า หั่นฐานลูกค้า 18 ล้านคน เหตุความไม่มั่นคงในประเทศ https://positioningmag.com/1340600 Sun, 04 Jul 2021 14:35:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340600 สื่อต่างประเทศรายงาน “เทเลนอร์” (Telenor) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ กำลังเตรียมขายหน่วยธุรกิจในพม่า เป็นการตัดสินใจบอกลาฐานลูกค้ากว่า 18 ล้านคนเพราะปัญหาความไม่มั่นคงในพื้นที่

    สำนักข่าวทีเอ็มทีไฟแนนซ์ (TMT Finance) รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 64 ระบุว่า เทเลนอร์ได้จ้างสถาบันการเงินอย่างซิตี้ (Citi) เพื่อดำเนินการขายธุรกิจด้วยการเสนอราคาที่ไม่มีผลผูกพัน คาดว่าจะมีการประกาศดีลในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    เบื้องต้น โฆษกของเทเลนอร์ปฏิเสธไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวลือที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับ Citi ที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน

    ก่อนหน้านี้ พบว่าเทเลนอร์เริ่มตัดหนี้สูญหรือลดมูลค่าการดำเนินงานของพม่าในงบการเงินของบริษัทเมื่อเดือนพฤษภาคม เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนที่สั่นคลอนในประเทศ โดยธุรกิจโทรทัศน์เคลื่อนที่ในประเทศยังคงถูกจำกัดอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่การปฏิวัติทางทหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 64

    Sigve Brekke ประธานและซีอีโอเทเลนอร์ เคยยอมรับกับสื่อต่างประเทศว่า ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ถูกนำมาพิจารณาเมื่อมีการตัดสินใจขยายธุรกิจเข้าสู่พม่า

    ล่าสุด TMT Finance ชี้ว่า บริษัทสัญชาติจีนบางรายได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อหน่วยธุรกิจจากเทเลนอร์ เนื่องจากบริษัทจีนมีโอกาสไม่ถูกคว่ำบาตร เหมือนที่บริษัทโทรคมนาคมนานาชาติรายอื่นเผชิญอยู่ ขณะนี้มีการอ้างชื่อบริษัท “โอรีดู” (Ooredoo) สัญชาติกาตาร์ที่ประกอบการอยู่ในพม่า ว่าเป็นบริษัทที่แสดงความสนใจซื้อคู่แข่งในตลาด และกำลังมองหาที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับกระบวนการที่จะเกิดขึ้น

    ในขณะที่ Ooredoo ไม่แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม แหล่งข่าวจากรอยเตอร์ยืนยันว่ารายละเอียดของรายงาน TMT นั้นถูกต้อง ปัจจุบัน เทเลนอร์มีลูกค้าประมาณ 18 ล้านคนในพม่า โดยให้บริการ 1 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคน

    เทเลนอร์ถือเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในพม่า ซึ่งเข้ามาปักหลักธุรกิจในปี 2557 สถิติล่าสุดชี้ว่าพม่าคิดเป็น 7% ของรายได้ของเทเลนอร์ในปีที่แล้ว

    Source

    ]]>
    1340600
    สหรัฐฯ คว่ำบาตรลูกๆ “มิน อ่อง หล่าย” 2 คน พร้อมอีก 6 บริษัทเมียนมา https://positioningmag.com/1322945 Thu, 11 Mar 2021 06:47:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322945 สหรัฐฯ คว่ำบาตรบุตร 2 คนของ พล..อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่า รวมถึง 6 บริษัทที่บุคคลทั้งสองเป็นผู้บริหารกิจการเมื่อวันที่ 10 มี.. เพื่อตอบโต้การทำรัฐประหารและการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงในพม่า

    กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกคำแถลงคว่ำบาตรนาย อ่อง ปแย โซน (Aung Pyae Sone) และ .. ขิ่น ธิรี เธต โมน (Khin Thiri Thet Mon) บุตรวัยผู้ใหญ่ 2 คนของผู้นำทหารพม่า และยังคว่ำบาตรบริษัทอีก 6 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ A&M Mahar ของ อ่อง ปแย โซน ซึ่งกลุ่มนักเคลื่อนไหว Justice for Myanmar ระบุว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเวชภัณฑ์ต่างชาติสามารถขอใบอนุญาตเพื่อเข้าถึงตลาดยาในพม่า

    แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังขู่สำทับว่าอาจจะมีบทลงโทษเพิ่มเติมอีก พร้อมทั้งประณามเรื่องที่พม่าจับกุมผู้เห็นต่างกว่า 1,700 คน ตลอดจนการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 53 คน นับตั้งเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ..

    เราพร้อมที่จะใช้มาตรการตอบโต้ต่อกลุ่มบุคคลที่ใช้ความรุนแรง และกดขี่ความปรารถนาของประชาชน โดยไม่ลังเล บลิงเคน ระบุ

    กองทัพพม่าไม่ให้ความใส่ใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติ และยังคงเดินหน้าปราบปรามการชุมนุมประท้วงเหมือนเช่นที่เคยทำมาในอดีต

    ความเคลื่อนไหวล่าสุดของวอชิงตันจะทำให้บุคคล และบริษัทที่โดนแบล็กลิสต์ถูกอายัดทรัพย์สินในอเมริกา และห้ามมิให้ชาวอเมริกันทำธุรกรรมใดๆ กับคนเหล่านี้

    กลุ่ม Justice for Myanmar แถลงเมื่อเดือน ม.. ว่า นายพล มิน อ่อง หล่าย ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่ามาตั้งแต่ปี 2011 “ใช้อำนาจโดยมิชอบกอบโกยผลประโยชน์เข้าครอบครัวตัวเอง โดยอาศัยความมีอภิสิทธิ์เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของรัฐ และวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด (impunity) ของกองทัพ

    จอห์น ซิฟตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนเอเชียของฮิวแมนไรต์วอตช์ ออกมาชื่นชมบทลงโทษล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่พุ่งเป้าไปยังทรัพย์สินของ มิน อ่อง หล่าย โดยตรง แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้สหรัฐฯ ใช้มาตรการที่เด็ดขาดยิ่งกว่านี้

    สิ่งเหล่านี้ยังไม่ใช่การลงโทษที่เราเชื่อว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และขอแนะนำให้สหรัฐฯ พิจารณาแหล่งรายได้อื่นๆ ที่มีมูลค่ามหาศาลยิ่งกว่านี้ ซึ่งหากถูกปิดกั้นก็จะทำให้กองทัพพม่ารับรู้ถึงผลกระทบที่ชัดเจนขึ้นซิฟตัน ระบุ โดยอ้างถึงอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่าที่มีบริษัทเครือข่ายทหารเข้าไปควบคุมดูแลอยู่

    จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังไม่ได้มีบทลงโทษต่อ Myanmar Economic Corporation (MEC) Myanmar และ Economic Holdings Limited (MEHL) สององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพพม่า และมีอิทธิพลครอบงำระบบเศรษฐกิจของประเทศ

    Source

    ]]>
    1322945
    ‘เเบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งธนาคาร จับตาธุรกรรมน่าสงสัยกับ ‘เมียนมา’ หวั่นก่ออาชญากรรมการเงิน https://positioningmag.com/1321984 Thu, 04 Mar 2021 12:10:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321984 ธนาคารกลางสิงคโปร์ เเจ้งสถาบันการเงินภายในประเทศ จับตาธุรกรรมที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์กับเมียนมา ทั้งการโอนเงินหรือเงินหมุนเวียนของกองทุน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ หลังการทำรัฐประหารในเมียนมา

    ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ส่งหนังสือเวียน เเจ้งเตือนไปยังผู้เหล่าผู้บริหารของสถาบันการเงินทุกเเห่งในประเทศ ให้ตรวจสอบสถานะกิจการ ประเมินทรัพย์สินของบริษัท (Due Diligence) ของลูกค้ารายสำคัญด้วยความระมัดระวัง และใช้มาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง 

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา หลังกองทัพประกาศเข้ายึดอำนาจ

    MAS มองว่า สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย หรืออาจก่ออาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบในทันที

    นอกจากนี้ ยังขอให้สถาบันการเงิน ติดตามความเป็นไปในเมียนมาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาของประเทศต่างๆ ด้วย

    สิงคโปร์เเละเมียนมา มีเงินไหลเวียนข้ามพรมเเดนระหว่างกันจำนวนมาก เเละมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิด เเละสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่

    ก่อนหน้านี้ลี เซียนลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงที่ไม่ติดอาวุธ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พร้อมเสนอให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และหาทางออกกับสถานการณ์ในประเทศอย่างสันติ

     

    ที่มา : Reutersthestar 

    ]]>
    1321984
    Kirin เบียร์ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น ประกาศ “ตัดสัมพันธ์” หุ้นส่วนในเมียนมาตอบโต้ “รัฐประหาร” https://positioningmag.com/1318149 Fri, 05 Feb 2021 08:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318149 คิริน (Kirin) ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ประกาศยุติการทำธุรกิจแบบร่วมค้า (Joint Venture) กับบริษัทหุ้นส่วนในเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกองทัพ หลังเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

    การควบคุมตัวผู้นำทางการเมืองสายประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งรวมถึง “อองซานซูจี” เรียกเสียงประณามจากนานาชาติ ซึ่งทาง Kirin ระบุว่าบริษัท “มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการกระทำล่าสุดของกองทัพพม่า”

    “จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เราจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขอยุติความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิงส์ (Myanmar Economic Holdings Public Company Limited – MEHL) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการให้แก่กองทัพพม่า”

    ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาสักระยะหนึ่งแล้ว จากการเข้าไปมีสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเบียร์ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ

    เมื่อเดือน ม.ค. ทางบริษัทระบุว่า กระบวนการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 “ยังได้ข้อสรุปไม่ชัดเจน” ว่ารายได้จากการร่วมทุนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหรือไม่

    Kirin ถูกองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติกดดันให้ต้องเปิดการสอบสวน หลังมีรายงานว่าเจ้าของบริษัท MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิกของกองทัพพม่า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมสงครามอื่นๆ กับชาวมุสลิมโรฮิงญา

    ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ได้เปิดการไต่สวนกรณีกองทัพพม่ากวาดล้างชุมชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่เมื่อปี 2017 จนทำให้โรฮิงญากว่า 750,000 คน ต้องหนีตายข้ามไปยังฝั่งบังกลาเทศ ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายละเมิดอนุสัญญา ว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

    ทางการพม่ายืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาโดยตลอด

    Kirin เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งใน บริษัท เมียนมา บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท มัณฑะเลย์ บริวเวอรี จำกัด จากการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ MEHL กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีผลประโยชน์ครอบคลุมหลายภาคส่วนตั้งแต่อัญมณี ทองแดง โทรคมนาคม เสื้อผ้า และการธนาคาร

    Kirin ได้เข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ใน มัณฑะเลย์ บริวเวอรี เมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ได้ทุ่มเม็ดเงินซื้อกิจการ เมียนมา บริวเวอรี ไปด้วยวงเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2015

    เมียนมา บริวเวอรี เป็นผู้ผลิตเบียร์ขายดีที่สุดในพม่าอย่าง Myanmar Beer ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% ตามข้อมูลสถิติที่ Kirin เปิดเผยเมื่อปี 2018

    แต่ Kirin ยังไม่ระบุชัดเจนว่า การตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหุ้นส่วนรายใหญ่ครั้งนี้ จะหมายถึงการถอนตัวออกจากพม่าด้วยหรือไม่…

    Source

    ]]>
    1318149
    รัฐประหารเมียนมา : เช็ก 7 ข้อผลกระทบต่อ “เศรษฐกิจ” และ “การลงทุน” จากต่างประเทศ https://positioningmag.com/1317585 Tue, 02 Feb 2021 11:43:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317585 หลังเกิดรัฐประหารครั้งล่าสุดในเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ผลกระทบทางเศรษฐกิจเมียนมาและธุรกิจจากต่างประเทศ ทั้งโดยฉับพลันและแนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไรบ้าง เรารวบรวมมาไว้ที่นี่
    1) เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนจากต่างประเทศ

    หลังการเปิดประตูสู่ถนนประชาธิปไตยในเมียนมา เงินลงทุนจากต่างประเทศเริ่มไหลเข้าสู่เมียนมามากขึ้น โดย ธนาคารโลก ประเมินว่ารอบปีบัญชี ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 มีเม็ดเงินมูลค่าถึง 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐจากต่างประเทศเข้าลงทุน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 33% จากรอบปีก่อนหน้า

    นำโดยประเทศ “สิงคโปร์” คิดเป็นสัดส่วน 34% ของเงินลงทุนจากต่างประเทศ ตามด้วย “ฮ่องกง” คิดเป็นสัดส่วน 26% ส่วนอันดับสามคือนักลงทุน “ญี่ปุ่น” สัดส่วน 14% กลุ่มธุรกิจที่ต่างชาติมีการลงทุนมากที่สุดคือ อสังหาริมทรัพย์ และ ภาคการผลิต โดยมีสัดส่วนอย่างละ 20% เท่าๆ กัน (*ทุนญี่ปุ่นบางส่วนลงทุนผ่านบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในสิงคโปร์)

    Suzuki Motor บริษัทยานยนต์ญี่ปุ่นรายแรกที่เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาตั้งแต่ปี 2556

    Vriens & Partners ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ดูแลโครงการในเมียนมาเกี่ยวกับพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และโทรคมนาคม มูลค่ารวมกว่า 3,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มองว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะเป็น “ความเสี่ยง” ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ กลายเป็นปัจจัยลบซ้ำเติมโรคระบาด COVID-19 ที่ผลักให้บริษัทต่างชาติชะลอการลงทุนอยู่แล้ว

     

    2) ตะวันตกคว่ำบาตร ไม่มีผลเชิงการลงทุนทางตรง

    ท่าทีของสหรัฐอเมริกาตอบโต้แรงต่อการรัฐประหารครั้งนี้ โดย “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ประณามการรัฐประหาร และกล่าวว่ากำลังพิจารณา “คว่ำบาตร” เมียนมา

    แต่การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ชาติตะวันตกอาจไม่มีผลกับการลงทุนทางตรงในเมียนมาเท่าใดนัก เพราะการลงทุนส่วนใหญ่มาจากชาติในเอเชีย โดยสำนักข่าว BBC สัมภาษณ์นักธุรกิจในเมืองย่างกุ้งรายหนึ่งโดยขอไม่เปิดเผยชื่อ เขามองว่าการคว่ำบาตรจากตะวันตกอาจจะมีผลทางจิตวิทยา แต่สำหรับตัวเลขเม็ดเงินที่เข้ามาจริงๆ นั้นเมียนมาไม่เคยพึ่งพิงการลงทุนตะวันตกอยู่แล้ว

    สอดคล้องกับ Vriens & Partners ที่เชื่อว่าหากสหรัฐฯ คว่ำบาตร เมียนมาจะหันไปพึ่งพิงการลงทุนจากจีนมากขึ้นเพราะเป็นประเทศเดียวที่สามารถพึ่งได้

    โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตอบโต้ทันทีหลังกองทัพเมียนมารัฐประหาร (อ่านเพิ่มเติม คลิก)

    อย่างไรก็ตาม Fitch Solutions บริษัทข้อมูลการเงิน มองอีกมุมหนึ่งว่า สำหรับจีนแล้วการเข้าลงทุนในเมียนมาหลังรัฐประหารจะเป็น “สถานการณ์ที่ไม่น่าสบายใจ” เพราะถึงแม้ว่าเมียนมาจะเป็นหนึ่งในกุญแจของเส้นทางการลงทุน Belt and Road ของจีน แต่จีนมักจะรู้สึกกังวลทันทีที่การเมืองในประเทศที่เข้าลงทุนเกิดความไม่แน่นอนขึ้น

     

    3) แต่ถ้าสหรัฐฯ “แบน” สินค้า อาจมีผลลบทางอ้อม

    “สุพันธุ์ มงคลสุธี” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักลงทุนไทยกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าตะวันตกจะกดดันกองทัพเมียนมาด้วยการคว่ำบาตรสินค้าหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงจะมีผลเชิงลบกับนักลงทุนของไทยที่เข้าไปสร้างฐานผลิตเพื่อส่งออก จะทำให้การส่งออกไปประเทศตะวันตกลำบากมากขึ้น

    มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ-เมียนมาช่วง 11 เดือนแรกปี 2563 นั้นอยู่ที่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูลจาก U.S.Census Bureau)

    โดย Panjiva บริษัทวิจัยในเครือ S&P Global Market Intelligence ระบุว่า หากวัดจากมูลค่าสินค้านำเข้าสู่สหรัฐฯ เมียนมาจะเป็นประเทศอันดับ 84 สินค้าส่วนใหญ่ที่สหรัฐฯ นำเข้าจากเมียนมาคือกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าคิดเป็นสัดส่วน 41% รองลงมาคือกระเป๋าเดินทาง 30% สุดท้ายคือสินค้าประมง ซึ่งคิดเป็น 4% เท่านั้น

    บริษัทที่นำเข้าสินค้าผลิตจากเมียนมามากที่สุดในสหรัฐฯ เช่น Samsonite, L.L. Bean, H&M และ Adidas

    H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

    ดังนั้น ผลกระทบหนักจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อสหรัฐฯ คว่ำบาตรไม่รับสินค้าทั้งหมดที่ผลิตจากเมียนมา และผู้ที่จะได้รับผลกระทบพ่วงด้วยก็คือเหล่าซัพพลายเออร์ ทั้งที่มีเจ้าของเป็นชาวเมียนมาเอง หรือบริษัทสัญชาติอื่นที่เข้าไปลงทุนเพื่ออาศัยค่าแรงที่ถูกของเมียนมา

    ขณะเดียวกัน หากมีการแบนสินค้าจากเมียนมาจริง นักธุรกิจที่จะปวดหัวจะรวมถึง “กลุ่มผู้นำเข้าในสหรัฐฯ” ด้วย โดยเฉพาะบริษัท “เสื้อผ้าแฟชั่น” เพราะหลายปีที่ผ่านมาบริษัทต้องย้ายฐานผลิตจากจีนมาเมียนมากันหลายเจ้า เนื่องจากปัญหาสงครามการค้า ทำให้กำแพงภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีนแพงขึ้น

     

    4) บางบริษัทได้รับผลกระทบทางตรงทันที

    Grab แอปฯ เรียกรถจากสิงคโปร์เปิดเผยกับ Nikkei Asia ว่า บริการในเมียนมาไม่สามารถใช้การได้ชั่วคราวเนื่องจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีปัญหา

    ด้านบริษัทการลงทุน Yoma Strategic Holdings ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ต้องแขวนป้าย “ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว” เพราะบริษัทเน้นการลงทุนในเมียนมาเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ และบริการด้านการเงิน ทันทีที่เกิดรัฐประหาร กองทัพเมียนมามีการตัดสัญญาณโทรศัพท์จนบริษัทแม่ไม่สามารถติดต่อหาข้อมูลใดๆ ได้เลย จึงต้องห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ไปก่อน

     

    5) สำหรับการลงทุนระยะยาว ยังไม่มีผลชัดเจน

    ด้านบริษัทที่มีฐานการผลิตในเมียนมาส่วนใหญ่จะกล่าวตรงกันว่า ช่วงนี้บริษัทยังโฟกัสกับการตรวจสอบว่าทุกคนในบริษัทปลอดภัยดี โดยยังไม่มีการหยุดงานหรือเปลี่ยนแผนการลงทุนในอนาคตที่ได้วางไว้ ยกตัวอย่างเช่น H&M โฆษกบริษัทระบุว่า แบรนด์ยังไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนแหล่งผลิต แต่มีการมอนิเตอร์ติดตามสถานการณ์กับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด

    สำหรับกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา รายงานโดย Nikkei Asia บริษัท Toyota ที่กำลังจะเปิดฐานผลิตที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้ว บริษัทยังคงวางเป้าเริ่่มผลิตตามแผน

    Photo : Shutterstock

    สอดคล้องกับ Suzuki Motor บริษัทยานยนต์ของญี่ปุ่นรายแรกที่เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาตั้งแต่ปี 2556 ระบุว่ายังไม่ได้รับแจ้งผลกระทบการทำงานของฐานผลิตที่เมียนมา และแผนการตั้งโรงงานแห่งใหม่ในทวายที่จะเริ่มดำเนินการเดือนกันยายนนี้ก็จะยังเป็นไปตามแผน

    ขณะที่ Mitsubishi Corp. กล่าวว่าบริษัทยังอยู่ระหว่างมอนิเตอร์สถานการณ์ บริษัทนี้มีส่วนร่วมกับโครงการภาครัฐจำนวนมาก เช่น สัญญาตู้รถไฟเมื่อเดือนธันวาคม 2563 มีส่วนร่วมในกลุ่มผู้รับบริหารจัดการสนามบินมันฑะเลย์ รวมถึงมีส่วนในโครงการพัฒนาเมือง Yoma Central นอกจากนี้ ยังมีบริษัทย่อย Mitsui & Co. ที่จำหน่ายปุ๋ยและ
    อุปกรณ์การเกษตรในเมียนมาด้วย

     

    6) ค้าชายแดนไทยปิดด่านแค่ช่วงสั้นๆ

    ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย “ผกายมาศ เวียร์ร่า” ประธานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-เมียนมา ระบุว่าด่านชายแดนไทย-เมียนมา ที่ จ.เชียงราย ปิดเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยปิดไปเมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ ก่อนจะกลับมาเปิดอีกครั้งในเวลา 13.30 น. หลังจากกองทัพไทยเข้าเจรจากับทางเมียนมา หลังจากนั้นการค้าชายแดนและขนส่งสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

    ด่านท่าขี้เหล็ก ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สาย จ.เชียงราย (Photo : Shutterstock)

    ด้าน สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตฯ มองว่า สำหรับทุนไทยที่ได้รับสัมปทานดำเนินการต่างๆ ในเมียนมาไปแล้ว
    คาดว่ากองทัพเมียนมาไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงใบอนุญาตต่างๆ ที่ตกลงแล้ว

     

    7) สรุป รัฐประหารจะทุบซ้ำเศรษฐกิจเมียนมาจาก COVID-19

    ก่อนหน้าเกิดรัฐประหาร ธนาคารโลกมีการประเมินไว้แล้วว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตลดลงเหลือ 2% ในรอบปีบัญชีตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 และจะทำให้สัดส่วนผู้มีฐานะยากจนในเมียนมาพุ่งขึ้นเป็น 27% จากเมื่อสิ้นปี 2562 ที่มี 22.4%

    ขณะที่ Fitch Solutions เคยประเมินก่อนหน้านี้ว่าเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 จะฟื้นมาโต 6% ได้ แต่เมื่อเกิดรัฐประหาร Fitch ประเมินใหม่ทันทีว่าการเติบโตจะลดลงครึ่งหนึ่งคือเหลือเพียง 3%

    Source: BBC, Nikkei Asia, Reuters

    ]]>
    1317585
    ญี่ปุ่น เตือน ‘รัฐประหารเมียนมา’ อาจเป็นการเพิ่ม ‘อิทธิพลจีน’ ในอาเซียน https://positioningmag.com/1317611 Tue, 02 Feb 2021 11:32:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317611 กลาโหมญี่ปุ่น เตือนการตอบสนองต่อรัฐประหารเมียนมาต้องระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มอิทธิพลของจีนในอาเซียน โดยรัฐบาลโตเกียวกำลังจับตาความเคลื่อนไหวในเมียนมาอย่างใกล้ชิด

    Yasuhide Nakayama รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า ท่าทีของประเทศประชาธิปไตยเสี่ยงที่จะผลักให้เมียนมาตกไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน หากตอบสนองการทำรัฐประหาร จนกระทบต่อช่องทางสื่อสารกับเหล่านายพลผู้ทรงอิทธิพล

    หากเราไม่จัดการเรื่องนี้ให้ดี เมียนมาจะยิ่งห่างเหินกับชาติประชาธิปไตยไปมากกว่าเดิม และจะหันไปเข้าร่วมกับจีนแทน พร้อมเสริมว่า ญี่ปุ่นควรหารือยุทธศาสตร์นี้ร่วมกันกับชาติพันธมิตร

    กองทัพเมียนมา เข้ายึดอำนาจเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 ..) พร้อมประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเป็นเวลา 1 ปี และควบคุมตัวนางอองซาน ซูจีที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำประเทศคนอื่นๆ โดยอ้างเหตุผลในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ว่า เกิดจากการทุจริตเลือกตั้ง’ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางซูจี คว้าชัยชนะอย่างถล่มทลาย 

    รัฐบาลโตเกียว ระบุว่า ยังคงจับตาความเคลื่อนไหวในเมียนมาอย่างใกล้ชิด เเละวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถี่ถ้วน

    ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับเมียนมามายาวนาน ทั้งด้านการเมืองเเละการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การลงทุน ตอบโต้การัฐประหารครั้งนี้ ด้วยการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจีและสมาชิกรัฐบาลพลเรือน พร้อมขอให้ฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย

    Nakayama กล่าวอีกว่า ความเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะระงับโครงการความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับกองทัพ
    เมียนมา อาจส่งผลให้จีนมีอิทธิพลมากขึ้น เเละอาจทำลายความมั่นคงในภูมิภาค

    โดยตั้งเเต่ปี 2014 กองกำลังป้องกันประเทศของญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา ผ่านการจัดสัมมนาและโครงการฝึกอบรมทางทหารอื่น ๆ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ การบรรเทาภัยพิบัติและสอนภาษาญี่ปุ่น รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ

    ถ้าเราหยุดความสัมพันธ์นี้ กองทัพเมียนมากับกองทัพจีนก็จะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น พวกเขาจะยิ่งออกห่างจากประเทศเสรี อย่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เเละญี่ปุ่นผมคิดว่านั่นจะเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงในภูมิภาคได้

     

    ที่มา : Reuters (1) , (2)

    ]]>
    1317611