เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Jun 2023 07:25:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่านเกม ‘โรงหนังสัตว์เลี้ยง’ ของ ‘เมเจอร์ฯ’ กับการปลุกเหล่า ‘ทาส’ ออกจากบ้านเข้าโรงหนัง https://positioningmag.com/1432673 Wed, 31 May 2023 11:58:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432673 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทรนด์ สัตว์เลี้ยง เป็นอะไรที่น่าจับตามอง เพราะแค่ตลาดอาหารสัตว์ก็มีมูลค่ามากถึง 5 หมื่นล้านบาท เติบโต 10-12% ต่อปี ซึ่งถือว่าเติบโตมากกว่าตลาดโลก ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจที่ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับสัตว์เลี้ยงเลยอย่าง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็ยังหาช่องในการเปิด i-Tail Pet Cinema โรงภาพยนตร์ที่ให้เหล่าทาสพาสัตว์เลี้ยงมาร่วมรับชมภาพยนตร์ได้

อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ยังไม่ฟื้น 100%

แม้ว่าสถานการณ์ของโควิดจะคลี่คลายจนคนกลับมาใช้ชีวิตเกือบปกติแล้ว แต่อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่ได้ผลกระทบแบบเต็ม ๆ ก็ยังไม่ฟื้น 100% เนื่องจากจำนวนภาพยนตร์ที่ลดลง เพราะช่วงที่เกิดการระบาดทำให้ไม่สามารถถ่ายทำภาพยนตร์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2023 นี้ปริมาณภาพยนตร์ก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 30%

สำหรับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์เองก็คาดหวังว่าปีนี้บริษัทจะทำรายได้ให้ใกล้เคียงกับปี 2019 หรือราว 10,000 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้กับปี 2019 พบว่ารายได้กลับมาประมาณ 85% โดยสัญญาณเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งจะเห็นว่า รายได้ของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์นั้นต้องพึ่งพาหน้าหนังที่จะดึงผู้ชมเป็นหลัก แต่เมเจอร์ฯ ไม่ขออยู่เฉย โดยเลือกที่จะหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ ไม่ค่อยเข้าโรงภาพยนตร์ อย่าง เหล่าทาสที่มีสัตว์เลี้ยงต้องคอยดูแล

เติมเต็มโรงรอบเช้าด้วยโรงพิเศษ

โดยปกติแล้ว รอบฉายภาพยนตร์ในช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่มีผู้ชมน้อยสุด โดยช่วงพีคสุดจะเป็นรอบกลางวัน-เย็น โดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้น การเติมที่ว่าง ในรอบดังกล่าวนั่นหมายถึง รายได้ที่เพิ่มขึ้น 

ย้อนไปปี 2562 ทางเมเจอร์ฯ​ ก็ได้เปิดโรงภาพยนตร์ Kids Cinema ขึ้น โดยจัดรอบเช้าสุดของวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งในปีแรกที่เปิดตัวมีการขายตั๋วเด็กถึง 1 ล้านใบ รวมกับครอบครัวที่มาด้วยเป็น 3 ล้านใบ เลยทีเดียว โดยปัจจุบันโรง Kids Cinema ก็ได้เปิดไปเเล้วถึง 12 สาขา

สัตว์เลี้ยงทุกวันนี้ก็เหมือนลูก

ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมที่กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์มีเหมือนกันก็คือ ความเกรงใจ ซึ่งนั่นทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่เข้าโรงภาพยนตร์ เพราะกลัวลูก ๆ อาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้รับชมอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ที่ปัจจุบันเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไม่ต่างจากลูก โดยเหล่าทาสนั้นไม่อยากจะปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้านตัวเดียวนาน ๆ เลยเลือกที่จะอยู่แต่บ้านมากกว่าออกไปทำกิจกรรมที่ใช้เวลา ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงแทบไม่ได้เข้าโรงภาพยนตร์ ทำให้การเปิดโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้พาสัตว์เลี้ยงมารับชมได้ก็ยิ่งช่วยเติมที่ว่างในรอบฉายช่วงเช้า

จริง ๆ แล้ว การเปิดโรงภาพยนตร์ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามารับชมร่วมกับผู้เลี้ยงไม่ได้เพิ่งมี แต่ทางเมเจอร์ฯ ระบุว่า ก่อนหน้านี้เคยมีกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ได้เคยรวมตัวกันเหมาโรงภาพยนตร์แล้วพาสัตว์เลี้ยงมารับชมภาพยนตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมเจอร์ฯ จะตัดสินใจเปิด i-Tail Pet Cinema เพราะยังไงก็มีดีมานด์

“4-5 ปีที่เขาเริ่มเลี้ยงสัตว์ทำให้เขาแทบไม่ได้เข้าโรงหนังเลย เพราะอยากไปดูแต่ไม่อยากทิ้งไว้ที่บ้าน นี่ก็จะตอบโจทย์นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป กล่าว

ได้สปอนเซอร์เพิ่ม

จากความสำเร็จของ Kids Cinema ทำให้ทางเมเจอร์ได้มีพันธมิตรเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ อย่าง โคโดโม และ ลาซาด้า ซึ่งมีลูกค้าเป็นกลุ่มครอบครัวเหมือนกัน ดังนั้น การใช้ช่องทาง Kids Cinema นี้ เป็นจุดให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกันกับโรง i-Tail Pet Cinema ที่ได้ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น แบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ มาเป็นสปอนเซอร์ด้วยสัญญา 1 ปี ซึ่งมองว่าการเป็นสปอนเซอร์ให้กับเมเจอร์ฯ แบรนด์ก็จะได้พื้นที่ในการ สร้างอแวร์เนสใหม่ ๆ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ซึ่งถ้าลูกค้าได้มาลองใช้ผลิตภัณฑ์ก็อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าประจำในอนาคตด้วย

อย่างที่ระบุไปในช่วงต้นว่า เฉพาะมูลค่าตลาดอาหารสัตว์มีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นแบรนด์อาหารสัตว์ใหม่ ๆ ตบเท้าเข้ามาในตลาด อย่างล่าสุด ก็มี อาร์เอส ที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ ดังนั้น ก็ยิ่งทำให้เมเจอร์ฯ มีโอกาสที่จะหาพันธมิตรใหม่ ๆ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ได้อีก

ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ i-Tail Pet Cinema ได้นำร่องให้บริการเพียง 3 สาขา ได้แก่ เมกา ซีนีเพล็กซ์, อีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์ และเมเจอร์ ซีนีมา โรบินสันราชพฤกษ์ แต่ศูนย์การค้าที่เป็น Pet friendly ยังมีอีกมาก โดยเฉพาะศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ต่างก็เป็น Pet friendly แทบทั้งหมด และแบรนด์อาหารสัตว์ก็มีอีกเพียบ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่เมเจอร์ฯ จะขยายโรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยงในอนาคต

]]>
1432673
“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” สานต่ออีเวนต์สุดปัง! ผนึก Pepsi No Sugar เสิร์ฟความสนุกกับ Cinema in The City ครั้งที่ 4 ดูหนัง Outdoor สุดชิลล์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา https://positioningmag.com/1425555 Mon, 03 Apr 2023 10:00:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425555

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดูเหมือนว่ามีทิศทางดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันปกติ หลายธุรกิจเริ่มกลับมาคึกคัก รวมถึงมีการจัดกิจกรรม งานอีเวนต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยที่โรงภาพยนตร์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการกลับมาคึกคักเป็นปกติเหมือนช่วงก่อนที่เกิดโรคระบาดแล้ว ทั้งในแง่ของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวู้ด และภาพยนตร์ไทยที่ตบเท้าเข้าฉายตลอดทั้งปี ผู้บริโภคก็กลับมาดูหนังในโรงภาพยนตร์ เพื่อเสพบรรยากาศการดูหนังบนจอยักษ์ด้วยเช่นกัน


“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย นอกจากจะมีแผนการลงทุนในการขยายสาขาโรงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบประสบการณ์การดูหนังให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ยังได้จัดกิจกรรม Cinema in The City ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมใหญ่ที่คอหนังไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

Cinema in The City เป็นการจัดกิจกรรมดูภาพยนตร์จอใหญ่ยักษ์แบบ Outdoor หรือเรียกภาษาบ้านๆ ว่าฉายหนังกลางแปลงก็ไม่ผิด ฉายหนังวันละ 1 รอบ โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนสถานที่ และมีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกัน ในปีนี้ได้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยที่ 3 ครั้งที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามทั้งจากผู้บริโภค และพันธมิตรต่างๆ

เรียกได้ว่า Cinema in The City เป็นหนึ่งในกิจกรรมใหญ่ที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจากหลายๆ ฝ่าย เนื่องจากเทรนด์ของผู้บริโภคหลังจากยุค COVID-19 ยังคงใส่ใจเรื่องความปลอดภัย การดูหนังในสถานที่เอาท์ดอร์ที่มีอากาศถ่ายเทจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี อีกทั้งยังสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่

ในการจัดงานแต่ละครั้งจึงมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม หลักหลายพันคน นอกจากนั้นยังสามารถสร้างเอ็นเกจเมนต์ให้กับผู้บริโภคได้ถึงหลักหมื่น หลักแสนคนเลยทีเดียว จากทราฟฟิกของผู้คนที่ไปเยือนศูนย์การค้าในการจัดงานแต่ละครั้ง สร้างมูลค่าทางการตลาดได้มากมาย เรียกว่าแฮปปี้กันทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภค และพาร์ทเนอร์ที่เป็นสปอนเซอร์ของงาน

ในครั้งที่ 4 ที่จัดงานล่าสุด เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ผนึกกำลังร่วมกับ Pepsi No Sugarและ Icon Siam จัดงาน Cinema in The City ครั้งที่ 4 ชวนดูหนังคลายร้อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา

แม้ก่อนหน้านี้จะเคยมีการดูหนังริมแม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว แต่ Cinema in The City ในครั้งนี้ พาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศดูหนังสุดชิลล์รับซัมเมอร์ มีคอนเซ็ปต์แนว Street Art ผสานเข้ากับไลฟ์สไตล์การดูหนัง โดยลูกค้าสามารถรับเครื่องดื่ม PEPSI SLUSH สุดคูล พร้อมถ่ายรูปอัพลงโซเชียลได้อย่างจัดเต็มงานนี้ฉายภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ให้ชมฟรี4 วัน 4 เรื่อง ได้แก่ Jurassic World: Dominion ,Black Adam ,The Batmanและ Top Gun: Maverickตั้งแต่วันที่ 2-5 มีนาคม 2566 วันละ 1 รอบ รอบเวลา 18.30 น.เป็นต้นไป ณ ริเวอร์ พาร์ค ไอคอนสยาม

นอกจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และPepsi No Sugar จะเป็นแม่งานแล้ว ยังร่วมกับเหล่าพันธมิตรชั้นนำมากมายอย่างเมาท์สเปรย์มังคุด มายเฮอบัล มายบาซิน, Caltex Rewards และ AIS 5G มาร่วมให้ความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบจากจากบูธกิจกรรมและเครื่องดื่มที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษระหว่างรับชมภาพยนตร์ท่ามกลางวิวแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งรับอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ด้วยภาพที่คมชัดระดับ 4K พร้อมระบบเสียง Dolby มาตรฐานเดียวกับโรงภาพยนตร์

สำหรับงาน Cinema in The City ได้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 2564 ได้เนรมิตลานกลางแจ้งของ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน”ให้เป็นลานดูหนังแบบ Outdoor เพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากการดูในโรงภาพยนตร์แต่ได้อรรถรสเดียวกันเพราะเป็นการฉายภาพยนตร์บนจอขนาดยักษ์ที่ให้ความคมชัดระดับ 4K

หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการจัดงานในครั้งแรก เมเจอร์ฯ ได้สานต่องาน Cinema In The City By The River ครั้งที่ 2 เรียกได้ว่าเป็นการเปิดประสบการณ์การดูหนังจอยักษ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก ณ ริเวอร์ พาร์ค ไอคอนสยาม

สำหรับครั้งที่ 3 Cinema In The City: The City Backyardที่เพิ่งผ่านไปไม่นานมานี้ เป็นฟีลจำลองความมินิมอลสไตล์คาเฟ่ญี่ปุ่นมาอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่ลานพาร์ค พารากอน สยามพารากอน

Cinema In The City ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ไหน หรือพาร์ทเนอร์ที่สนใจร่วมกิจกรรมกับทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง Facebook : Major Group

]]>
1425555
“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” เจ้าภาพร่วมอีเวนต์วงการหนังระดับโลก “CineAsia” โอกาสทองสร้าง Soft Power จาก “หนังไทย” https://positioningmag.com/1413947 Tue, 27 Dec 2022 10:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413947

สถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายอุตสาหกรรมปั่นป่วนรวมถึงธุรกิจ “โรงภาพยนตร์” แต่หลังโรคระบาดคลี่คลาย ตัวเลขผู้ชมที่กลับสู่โรงหนังอีกครั้งเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า ‘Cinema Never Die’ โรงภาพยนตร์ยังคงเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจ และงานอีเวนต์เทรดโชว์ระดับโลกที่จะจัดในภูมิภาคเอเชียอย่าง ‘CineAsia’ ได้เลือกเป็นพาร์ทเนอร์กับ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” จัดงานอีเวนต์ในไทยสองปีต่อเนื่อง (2022-23) โอกาสครั้งสำคัญในการผลักดันภาพยนตร์ไทยเข้าสู่เครือข่ายวงการภาพยนตร์ระดับสากล

ธุรกิจ “โรงภาพยนตร์” ทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา จากโรคระบาดโควิด-19 ทำให้โรงภาพยนตร์ถูกสั่งปิดชั่วคราว ผู้ชมเริ่มหันไปหาความบันเทิงผ่านช่องทางอื่น เช่น สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม จนเกิดเป็นคำถามว่า “ถ้าโรงหนังเปิดทำการอีกครั้ง ผู้ชมจะยังกลับมาหรือไม่?”

อย่างไรก็ตาม หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้พิสูจน์ความแข็งแกร่งแล้วว่า โรงหนังยังมีความสำคัญต่อผู้ชมและศิลปะ โดยในปี 2021-2022 ซึ่งโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในโลกกลับมาเปิดทำการแล้ว มีภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ถึง 2 เรื่องที่ได้รับการตอบรับในโรงสูงจนติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดตลอดกาล ได้แก่ Spider-Man: No Way Home (ปี 2021) ขึ้นแท่นอันดับ 6 และเรื่อง Top Gun: Maverick (ปี 2022) ขึ้นไปติดอันดับ 11

กรณีประเทศไทย “วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เฉพาะรายได้จากโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ปี 2565 มีผู้ชมกลับเข้ามาแล้ว 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 และยังเปิดเผยแผนปี 2566 เตรียมลงทุน 600 ล้านบาท เปิดโรงภาพยนตร์ใหม่ถึง 13 สาขา รวม 49 โรง เป็นสัญญาณชัดเจนว่าอนาคตโรงหนังจะกลับมาสดใส

บรรยากาศงาน CineAsia 2022 ในโรงภาพยนตร์ไอคอน ซีเนคอนิค

เหตุที่โรงภาพยนตร์ยังเป็นส่วนสำคัญ และผู้ชมยังต้องการกลับมาแม้จะมีตัวเลือกอย่างสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม เป็นเพราะโรงภาพยนตร์มี “เสน่ห์” ที่หน้าจออื่นชดเชยไม่ได้ เช่น เทคโนโลยีการฉายภาพยนตร์ในระบบพิเศษต่างๆ เพื่อให้ได้อรรถรสการชมอย่างเต็มที่, บรรยากาศการชมภาพยนตร์ร่วมกับคนหมู่มาก สัมผัสถึงอารมณ์ร่วมกันทั้งโรง หรือบางอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นข้อเสียแต่จริงๆ แล้วกลายเป็นข้อดี คือ การกดหยุดระหว่างชมไม่ได้และมารยาทในโรงหนังที่ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้ผู้ชมมีสมาธิ ‘อิน’ ไปกับหนังได้มากกว่า ทั้งหมดทำให้ ‘Cinema Never Die’ โรงภาพยนตร์ยังเป็นสถานที่ที่ผู้ชมชื่นชอบ


CineAsia เลือกไทยเป็นสถานที่จัดงาน “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ร่วมเป็นเจ้าภาพ

เมื่อภาพยนตร์ยังไม่ตาย ทำให้อีเวนต์ที่เกี่ยวข้องยังคงจัดอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในผู้จัดอีเวนต์ด้านภาพยนตร์แถวหน้าของโลกอย่าง Film Expo Group” กลับมาจัดงานอีเวนต์ “CineAsia” หลังหยุดไป 3 ปีจากเหตุโควิด-19 และทั้งสองครั้งเลือก “ประเทศไทย” เป็นสถานที่จัดงานแทนเกาะฮ่องกงที่เคยเป็นเจ้าภาพ


โอกาสนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน CineAsia ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคม 2022 และ 4-7 ธันวาคม 2023 จัดขึ้น ณ โรงภาพยนตร์ไอคอน ซีเนคอนิค และ ทรูไอคอน ฮอลล์ ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานทั้งกลุ่มผู้สร้าง ผู้กำกับ นักแสดง ผู้ผลิตและจำหน่าย ค่ายหนัง ตัวแทนโรงภาพยนตร์ รวมกว่า 2,000 คนจาก 50 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

งาน CineAsia ถือเป็นงานใหญ่ของวงการ เนื่องด้วยจะมีการจัดฉายไลน์อัพภาพยนตร์ล่วงหน้าของปีถัดไป ยกตัวอย่างปี 2022 ที่ผ่านมาจะจัดฉายหนังของปี 2023 โดยมีสตูดิโอระดับโลกร่วมแนะนำภาพยนตร์ในปีหน้า เช่น 20th Century Fox, Paramount, Sony Pictures, Universal, Walt Disney, Warner Bros, ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพาร์ทเนอร์โรงภาพยนตร์ว่า ในปีถัดไปสตูดิโอใหญ่จะมีภาพยนตร์ที่น่าสนใจออกฉายอย่างต่อเนื่อง

เทรดโชว์นวัตกรรมและอุปกรณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ยังมีการนำเสนอและจัดแสดงสินค้าเทคโนโลยีและอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เห็นภาพอนาคตของวงการ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียง จอภาพยนตร์ ลำโพง เครื่องฉาย กล้องถ่ายทำ เก้าอี้โรงหนัง เครื่องจำหน่ายตั๋ว เครื่องจำหน่ายป๊อปคอร์น โดยในงาน CineAsia ปี 2022 จะเห็นได้ว่านวัตกรรมใหม่ยังคงมีการจัดแสดงภายในงาน สะท้อนภาพการพัฒนาตัวเองที่ไม่หยุดยั้งในโลกภาพยนตร์ แม้ว่าจะต้องเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ก็ตาม


โอกาส ‘Soft Power’ จากภาพยนตร์ไทย

วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอแห่ง “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ยังมองด้วยว่า โอกาสของการมีอีเวนต์เครือข่ายธุรกิจภาพยนตร์ระดับโลก CineAsia มาจัดในไทยคือ ช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะได้นำเสนอผลงานจากวงการภาพยนตร์ไทยด้วยเช่นกัน ทั้งผลงานภาพยนตร์ ผลงานการกำกับ ผลงานนักแสดง จนถึงสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ภายในประเทศไทย เหล่านี้คือโอกาสที่ไทยจะได้ประโยชน์ต่อเนื่องหลังงานอีเวนต์ลักษณะนี้

เมเจอร์ฯ เองมองว่าบริษัทต้องการช่วยผลักดันให้ไทยขึ้นแท่นเป็น King of Content Hub โดยเทียบชั้นกับ ‘เกาหลีใต้’ ซึ่งเป็นต้นแบบของการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงสู่สายตาชาวโลก เกาหลีใต้นั้นเป็น role model แห่งความสำเร็จ ทำให้เห็นว่าการผลักดัน ‘Soft Power’ นั้นมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผู้ชมเมื่อได้ซึมซับวัฒนธรรมผ่านความบันเทิงแล้ว จะนำมาซึ่งการขายสินค้าของประเทศได้หลากหลาย เช่น อาหาร เครื่องสำอาง สมาร์ทโฟน รถยนต์ การท่องเที่ยว ภาพยนตร์จึงกลายเป็นรากฐานหนึ่งในการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ

จากความมุ่งมั่นของเมเจอร์ฯ และความแข็งแกร่งในฐานะโรงภาพยนตร์อันดับ 1 ของไทย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จึงได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจาก Film Expo Group เพื่อเป็นพาร์ทเนอร์เจ้าภาพร่วมจัดงาน CineAsia ถึงสองปีซ้อนในปี 2022 และ 2023

บรรยากาศภายในงาน CineAsia 2022 ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยดี สองเจ้าภาพหลักทั้ง  วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และ Andrew Sunshine Managing Director of CineAsia ได้เนรมิตงานเลี้ยงปูพรมแดง ‘CineAsia RECEPTION PARTY’ ในบรรยากาศสุดหรู ณ นภาลัย เทอเรส ไอคอนสยาม โดยมี Dr.Man-Nang Chong Founder, Chairman & CEO ของ GDC Technology Limited ให้เกียรติเป็นประธานในงาน พร้อมผู้สนับสนุนรายใหญ่ บุญชัย อัศวฤทธิพรหม์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด อีกทั้งทีมผู้สร้าง ผู้กำกับ และนักแสดง ตบเท้าเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

ทั้งนี้ งานครั้งต่อไป CineAsia 2023” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2023 มีผู้สนับสนุนหลักในการจัดงานคือ Pepsi (เป๊ปซี่) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมร่วมกันผลักดันวงการภาพยนตร์ในประเทศไทยให้ไปสู่เวทีโลก

โดยเมเจอร์ฯ ยังคงพร้อมเปิดรับผู้สนับสนุนงาน CineAsia 2023 และกิจกรรมการตลาดเพื่อสนับสนุนภาพยนตร์ไทย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือการสร้าง ‘Soft Power’ จากภาพยนตร์ไทยให้สำเร็จ

]]>
1413947
ดาวรุ่ง! “เมเจอร์” ดันธุรกิจป๊อปคอร์นนอกโรง ฟันธงปีหน้าธุรกิจโรงหนังคัมแบ็ก https://positioningmag.com/1413797 Fri, 23 Dec 2022 08:11:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413797 “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” คาดการณ์ปีหน้า 2566 อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์คัมแบ็ก! มีรายได้เทียบเท่าช่วงก่อนสถานการณ์ COVID-19 หรือในช่วงปี 2562 เป็นปีทองของธุรกิจโรงหนัง “วิชา พูลวรลักษณ์” มองว่ากราฟจะขึ้นแบบ V (Vicha) Shape ตอนนี้ธุรกิจป๊อปคอร์นเป็นดาวรุ่ง ดันยอดขายนอกโรง เป้าสัดส่วนรายได้ 50% เทียบเท่าตั๋วหนัง

2566 ปีแห่ง Fight Back!

ธุรกิจโรงภาพยนตร์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนมองว่าจะถูกดิสรัปต์โดยเทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่ยุคของแผ่นซีดี แผ่นบลูเรย์ มาจนถึงยุคของ “สตรีมมิ่ง” โดยหลากหลายแอปพลิเคชันได้พาเหรดกันลงสู่ตลาด จนหลายคนคิดว่าจะแย่งเวลา แย่งอายส์บอลของผู้บริโภคไปได้

แต่แล้วสิ่งที่ดิสรัปต์ธุรกิจโรงภาพยนตร์มากที่สุดกลับเป็นไวรัส COVID-19 ไม่ใช่สตรีมมิ่งแต่อย่างใด กลับกลายเป็นว่าเป็นธุรกิจที่เสริมกัน เนื่องจากภาพยนตร์หลายเรื่องเมื่อออกโรงไปแล้วก็เข้าสตรีมมิ่งต่อทันทีภายใน 2-3 เดือน

เมื่อไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกเมื่อปลายปี 2562 ทำให้ธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต่างต้องหยุดชะงัก เพราะมีการล็อกดาวน์เพื่อหยุดวงจรการระบาดของโรค หลายธุรกิจต้องปรับตัวอย่างหนัก เพราะไม่สามารถเปิดหน้าร้าน เปิดสถานประกอบการ ทำให้ขาดรายได้ เป็นวิกฤตการณ์ที่ทุกธุรกิจต้องพบเจออย่างหนัก

major

ธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้รับผลกระทบอย่างรุ่นแรงเช่นกันไม่แพ้ธุรกิจสายการบิน ค้าปลีก หรือร้านอาหาร เพราะไม่สามารถเปิดให้บริการได้เลย “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” หนึ่งในผู้เล่นตลาดโรงภาพยนตร์ในไทยต้องเจอศึกหนัก เรียกว่าต้องงัดกลยุทธ์ทุกกระบวนท่าเพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านไปได้

เมื่อปี 2562 เมเจอร์เคยทำรายได้ถึง 12,000 ล้านบาท และเคยตั้งเป้าว่าภายในปี 2568 หรือแผน 5 ปีข้างหน้า (ในตอนนั้น) จะมีรายได้ถึง 20,000 ล้านบาทให้ได้ พร้อมกับมีจำนวนโรงหนัง 1,200 โรง

แต่ฝันก็ดับวูบเมื่อเจอกับเจ้าไวรัสตัวร้าย ทำให้ปี 2563 เมเจอร์ถึงกับขาดทุนนับพันล้านบาทเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทำธุรกิจมา เนื่องจากมาตรการล็อกดาว์นด้วยส่วนหนึ่ง ประกอบกับในสหรัฐอเมริกาก็มีการล็อกดาวน์ ทำให้การผลิตภาพยนตร์ก็หยุดชะงัก กลายเป็นว่าเมื่อเมืองไทยคลายล็อกดาวน์ เปิดโรงหนังได้ (แม้จะเป็นธุรกิจหลังๆ เลยก็ตาม) แต่ก็ไม่มีภาพยนตร์เด็ดๆ เข้าโรง เพราะฮอลลีวู้ดก็ไม่กล้าส่งหนังมาในสถานการณ์อย่างนี้ กลัวขาดทุนเช่นกัน

หลังจากประคองตัวมาได้ 2 ปี ในปีนี้ก็สามารถพูดได้ว่าสถานการณ์เกือบเท่าปกติในช่วงก่อน COVID-19 แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจเปิดมากขึ้น มีการทำกิจกรรมกันปกติ ประชากรได้รับวัคซีนกันทั่วถึง ผู้บริโภคกลับมาใช้จ่าย และการท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมาดีขึ้น

วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ปี 2565 นี้รายได้ของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กลับมา 70% แล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 หรือปี 2562 ที่มีรายได้ 12,000 ล้านบาท ตั้งเป้าว่าปีหน้ารายได้จะกลับมาเทียบเท่าปี 2562 ให้ได้ จะเติบโตเป็น V Shape มาจาก Vicha Shape”

วิชายังเสริมอีกว่าปีหน้ามั่นใจว่าจะดีกว่าปีนี้อีกแน่นอน เพราะภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จ่อคิวเข้าเยอะ ผู้บริโภคหลายคนมีพฤติกรรมชอบเข้าโรงภาพยนตร์มากกว่าดูสตรีมมิ่ง มีประสบการณ์ต่างกัน ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการ Fight Back ของจริง!

เดินหน้า 3 เสาหลัก

ในการ Fight Back ของปีหน้า เมเจอร์เตรียมกลยุทธ์ไว้ 3 ส่วนด้วยกัน

  1. Customer Experience สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภค ในปีที่ผ่านมามีการปรับโรงภาพยนตร์หลายแห่ง วิชาบอกว่ากลยุทธ์ก็คือ “ต้องขยับก่อน ให้ลูกค้ารู้สึกว่าการมาดูจอใหญ่แล้วสุดยอดจริงๆ”

– ระบบการฉายภาพยนตร์ IMAX ใหม่ล่าสุด กับ IMAX with Laser เป็นระบบการฉายภาพยนตร์ผสมผสานการฉายภาพด้วยเลเซอร์ระดับ 4K ด้วยระบบออปติคัลใหม่ ให้ภาพที่สว่างกว่าด้วยความละเอียดที่เพิ่มขึ้น จัดฉายที่โรงภาพยนตร์ 3 สาขา คือ พารากอน ซีนีเพล็กซ์, ไอคอน ซีเนคอนิค และจะขยายสาขาไอแมกซ์แห่งใหม่อีก 1 แห่ง พร้อมระบบการฉาย IMAX with Laser ที่ เมกา ซีนีเพล็กซ์

major

เปิดโรงภาพยนตร์ ScreenX PLF ในรูปแบบ Premium Large Format แห่งใหม่ ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ แห่งที่ 2 หลังจากได้เปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ ScreenX สาขาแรกที่โรงภาพยนตร์ ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต เมื่อปี 2558 เป็นโรงภาพยนตร์รูปแบบพิเศษครบมิติ ด้วยความโดดเด่นของมุมมองการรับชมภาพที่กว้างมากขึ้นถึง 270 องศา ด้วย 3 จอขนาดยักษ์ที่ให้ภาพกว้างรวมกันมากถึง 55 เมตร ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์แบบแรกของโลกที่ใช้ระบบการฉาย 3 ทิศทาง คือ จอด้านหน้า และจอบนกำแพงด้านซ้ายและขวา ด้วยเครื่องฉายหลายตัว (Multi-Projection System)

ลงทุนในเทคโนโลยี CAPSULE HOLOGRAM เป็นโรงภาพยนตร์รายแรกของโลกที่ซื้อ CAPSULE HOLOGRAM ของ ARHT Media Inc. มาไว้ที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ จะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์พิเศษแก่ผู้ชมที่ผสมผสานโลกแห่งความเป็นจริงและเมตาเวิร์ส ทั้งในโรงภาพยนตร์และในงานพิเศษต่างๆ

  1. การสร้าง Tollywood เน้นสร้างคอนเทนต์โลคอล ตั้งเป้าอยากให้มีหนังไทยมีมาร์เก็ตแชร์ 50% ในปีนี้ได้ลงทุนหนังไทย 11 เรื่อง จากหนังไทยรวม 40 เรื่อง วิชามองว่าในเครือเมเจอร์อยากผลิตหนังไทยเฉลี่ยเดือนละ 2 เรื่อง หรือปีละ 24 เรื่อง
  2. หารายได้จาก New Business มาจากป๊อปคอร์นเป็นหลัก วิชาเล่าว่าแต่ก่อนไม่เคยคิดจะทำ แต่พอตอน COVID-19 ต้องมาขายป๊อปคอร์นเดลิเวอรี่ ตอนนั้นทำรายได้เดือนละ 20 กว่าล้าน ค่อนข้างเซอร์ไพรส์

“ป๊อปคอร์น” ลูกรักคนใหม่

แต่ก่อนธุรกิจป๊อปคอร์นจะล้อไปกับการชมภาพยนตร์ แต่ในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา เมเจอร์ได้งัดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ป๊อปคอร์นเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ทำให้ธุรกิจในส่วนนี้มีการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะยอดขายป๊อปคอร์นนอกโรงหนัง (Out Cinema) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบันมีช่องทางการจัดจำหน่าย ดังนี้

major

  • Delivery : ผ่าน Grab, Food Panda, Line Man, Shopee Food, Robinhood, Air Asia Food
  • Kiosks & Event : ณ สิ้นปี 2565 มี Kiosks สาขานอกโรงภาพยนตร์บริการรวม 19 สาขา และในปี 2566 จะมี Kiosks บริการเพิ่มอีก 20 สาขา
  • Modern Trade : ผ่าน Convenience Store เซเว่น อีเลฟเวน, Discounted Store โลตัส บิ๊กซี และ Supermarket ได้แก่ วิลล่า มาร์เก็ท, กูร์เมต์ มาร์เก็ต และโฮม เฟรช มาร์ท, ท็อปส์ มาร์เก็ต และ ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • Major Mall

วิชามองว่า ปีหน้าอยากให้รายได้ของป๊อปคอร์นเท่าๆ กับตั๋วหนัง ถ้ามีรายได้ 12,000 ล้านบาท รายได้จากป๊อปคอร์น 6,000 ล้านบาท และรายได้จากตั๋วหนัง 6,000 ล้านบาท ในปีนี้ป๊อปคอร์นมีรายได้ 2,500 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการขายในโรง 40% และนอกโรง 60%

สำหรับในปี 2566 เมเจอร์จะขยายสาขาโรงภาพยนตร์มากที่สุดในรอบ 3 ปี ถึง 13 สาขา 49 โรง ด้วยงบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท เปิดที่ One Bangkok จับมือกับเซ็นทรัล เปิดที่ เซ็นทรัล เวสต์ วิลล์ ราชพฤกษ์ จับมือกับโรบินสัน เปิดที่ โรบินสัน ฉลอง จับมือกับโลตัส เปิดที่ นครนายก, สระแก้ว, นราธิวาส, ปัตตานี จับมือกับบิ๊กซี เปิดที่ บางบอน, สระบุรี, ยะลา เปิดกับไฮเปอร์ มาร์เก็ต 2 สาขา และ เปิดสาขาสแตนด์อโลนที่ภูเก็ต ตลอดจนขยายสาขาโบว์ลิ่งเพิ่มอีก 3 สาขา 40 เลน และคาราโอเกะ 30 ห้อง

major

ปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีสาขาโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้บริการ ณ สิ้นปี 2565 รวมทั้งสิ้น 180 สาขา 839 โรง 188,973 ที่นั่ง แยกเป็น

ในประเทศ 172 สาขา 800 โรง 180,081 ที่นั่ง

  • สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 44 สาขา 346 โรง 77,605 ที่นั่ง
  • สาขาในต่างจังหวัด 128 สาขา 454 โรง 102,919 ที่นั่ง

ต่างประเทศ 8 สาขา 39 โรง 8,449 ที่นั่ง

  • สาขาในประเทศลาว 3 สาขา 13 โรง 3,235 ที่นั่ง
  • สาขาในประเทศกัมพูชา 5 สาขา 26 โรง 5,368 ที่นั่ง

โบว์ลิ่ง บลูโอ ริธึม แอนด์ โบว์ล เปิดให้บริการ 8 สาขา 210 เลน, คาราโอเกะ 121 ห้อง, ห้องแพลตตินั่ม 9 ห้อง

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1413797
Major Cineplex x Atome มิติใหม่ของวงการหนัง “ดูก่อนจ่ายทีหลัง” แบ่งจ่ายฟินๆ แบบไร้ดอกเบี้ย https://positioningmag.com/1396867 Wed, 24 Aug 2022 10:00:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396867

ภาพรวมสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอย ธุรกิจหลายภาคส่วนเริ่มฟื้นตัวไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักอย่าง “โรงภาพยนตร์” ที่เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นเช่นกัน

ในส่วนของโรงภาพยนตร์นอกจากจะมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ตบเท้าเข้าโรงอย่างต่อเนื่องแล้ว ในเรื่องของนวัตกรรมต่างๆ ก็ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ยิ่งล่าสุดกับนวัตกรรมดูหนังแบบแบ่งจ่าย หรือที่เรียกว่าดูก่อนจ่ายทีหลังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จะเป็นอย่างไรบ้าง เราจะมาเล่าให้ฟัง


ดูหนังก่อน จ่ายทีหลังครั้งแรกในประเทศไทย

ถ้าการช้อปปิ้งสินค้าทั่วไปยังสามารถแบ่งจ่ายได้ แล้วทำไมการดูหนังจะแบ่งจ่ายไม่ได้? ก่อนหน้านี้เราได้เห็นหลายธุรกิจเริ่มมีเทรนด์ Buy Now Pay Later กันมาบ้างแล้ว หรือช้อปก่อน จ่ายทีหลัง หรือคือการแบ่งจ่ายนั่นเอง แต่เป็นการแบ่งจ่ายโดยแพลตฟอร์มที่มีตัวกลาง สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่มีสินเชื่อ หรือบัตรเครดิตได้ โดยผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดนี้ก็คือ Atome (อาโตมี่)

เมื่อไม่นานมานี้ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ได้ประกาศความร่วมมือกับ Atome ในการเริ่มให้บริการ Buy Now Pay Later เรียกว่าเป็นการสร้างมิติใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ ลูกค้าสามารถดูหนังก่อนแบบชิลล์ๆ แล้วค่อยจ่ายทีหลัง นับเป็นครั้งแรกของโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยที่ลูกค้าสามารถ “ดูหนังก่อนจ่ายทีหลัง” ไร้ดอกเบี้ยไร้ค่าบริการเพิ่มเติม

วิธีการใช้บริการนั้นสะดวกสบายอย่างมาก เพียงซื้อตั๋วหนังผ่านตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket แล้วเลือกชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น Atome แบ่งจ่ายค่าตั๋วหนังได้ 3 ครั้ง แถมดอกเบี้ย 0% ทุกเรื่องทุกรอบ สามารถแบ่งจ่ายครั้งแรกเป็น 1/3 ของยอดชำระทั้งหมด เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนและมีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ก็แบ่งจ่ายแบบชิลล์ๆ

นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กรุ้ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“เนื่องจากลูกค้าของเราเป็น Smart Shopper ฉลาดใช้ฉลาดเลือก เรามองว่า Buy Now Pay Later (BNPL) เป็นเทรนด์ใหม่ที่คนเลือกใช้ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเมเจอร์เองอยากสร้างการชำระเงินที่สะดวกสบายที่สุดให้กับลูกค้าทางเมเจอร์จึงร่วมมือกับ Atome เป็นเจ้าแรก ที่ทำเรื่อง BNPL ให้เกิดมิติใหม่แห่งการดูหนังการขยายช่องทางชำระเงินของลูกค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากที่สุดเราพยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการชำระเงินให้กับลูกค้า เพื่อให้รู้สึกว่าการมาชมภาพยนตร์เป็นการซื้อตั๋วที่สะดวกสบายที่สุดนี่คือเป้าในการจ่ายเงินแบบใหม่ต่างๆ ที่เรานำมาเสิร์ฟให้ลูกค้า”


สร้างประสบการณ์ใหม่ เพิ่มทางเลือกในการจ่ายเงิน

ความสำคัญของการร่วมมือกันครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่กลุ่มลูกค้าของเมเจอร์ ให้มีทางเลือกการชำระเงินที่หลากหลายขึ้น สะดวกขึ้น ยังเป็นโอกาสที่ดีให้การขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้ทั้งทางเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์และ Atome อีกด้วย รวมไปถึงการทำระบบ BNPL ร่วมกับทางเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็สะดวกสบาย ง่ายต่อการใช้งาน

ทางด้าน ภูมิพงษ์ ตันเจริญผล ผู้จัดการทั่วไป Atome ประจำประเทศไทย เล่าว่า

“จากสถานการณ์ช่วง COVID-19ทำให้วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ Atome เห็นว่าหลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ผู้บริโภคก็จะกลับมาใช้ชีวิต และทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้นธุรกิจบันเทิงอย่าง การดูหนัง ก็จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่ผู้บริโภคจะกลับไปทำ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ Atomeหันมาสนใจธุรกิจด้านนี้ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้น และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ให้ทั้ง 2 ฝ่ายลูกค้าจะมีตัวเลือกในการชำระเงินมากขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น”

กลุ่มลูกค้าหลักของเมเจอร์ 70% อยู่ในช่วงอายุประมาณ 15-35 ปี เป็น Gen Z มีพฤติกรรมในการใช้ BNPL อยู่แล้ว การที่เราทำโปรโมชั่นร่วมกับ Atome เป็นการดึงฐานลูกค้าของ Atome ที่มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากกว่า 350,000 ครั้งในไทย ให้มาชมภาพยนตร์มากขึ้น

ในขณะเดียวกันลูกค้าเมเจอร์ได้มีทางเลือกมากขึ้นในการชำระเงินที่หลากหลาย ซึ่งทิศทางของเมเจอร์ คือต้องการลดการใช้เงินสดที่ตู้ การมีระบบการจ่ายเงินที่หลากหลาย ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่ง BNPL ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้าชื่นชอบ

ปกติแล้วเมเจอร์มีตู้ซื้อตั๋วอัตโนมัติ หรือ E-ticket อยู่ทุกสาขา และสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ทำให้ปัจจุบันการซื้อตั๋วของลูกค้า 60% ซื้อที่ตู้ E-ticket 35% ซื้อผ่านทางออนไลน์ และอีก 5% ซื้อเงินสดที่ Box Office ในสิ้นปีนี้ทางเมเจอร์ตั้งเป้าการใช้เงินสดเหลือ 0% หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การซื้อตั๋วจะเป็น Cashless 100% ให้ได้ภายในปีนี้

การร่วมมือกับ Atome ก็เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญในการผลักดันภารกิจนี้ให้รวดเร็วขึ้น รวมถึงอาจจะขยายความร่วมมือจากการซื้อตั๋วหนังไปยังระบบ M Pass ในอนาคตอีกด้วย


สามารถซื้อได้ทุกสาขาทั่วประเทศไทย พร้อมโปรจัดเต็มลด 100 บาท

แน่นอนว่าในความร่วมมือครั้งนี้ ต้องจัดเต็มด้วยโปรโมชั่นอย่างแน่นอน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Atome ในครั้งแรก รับทันทีส่วนลดตั๋วหนัง 100 บาท เมื่อชำระค่าตั๋วหนังผ่านแอพพลิเคชั่นอาโตมี่ ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ส.ค. 65

ง่ายๆ กับ 3 ขั้นตอนรับสิทธิ์บริการ “ดูหนังก่อนจ่ายทีหลัง” ไร้ดอกเบี้ย

  • ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Atome และลงทะเบียนสมัครสมาชิก
  • ใช้บริการซื้อตั๋วหนังที่ ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket แล้วเลือกชำระค่าตั๋วหนังผ่านแอพพลิเคชั่น Atome
  • ชำระค่าตั๋วหนังเป็น 3 ครั้ง ครั้งละเท่าๆ กันเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ยสามารถซื้อตั๋วหนังได้ทุกประเภทที่นั่ง ไม่จำกัดจำนวน


จับตาเทรนด์ Buy Now Pay Later กระตุ้นยอดขายได้ 30%

เทรนด์ของ BNPL ในไทยมีศักยภาพในการเติบโตเป็นอย่างมาก จากรายงานของ FIS World Pay 2022 เผยว่าตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2025 โซลูชัน BNPL จะเป็นเทรนด์วิธีการชำระเงินที่เติบโตเร็วที่สุดทั้งช่องทางหน้าร้าน และออนไลน์

กลุ่มผู้บริโภคหลักของ BNPL คือกลุ่ม Millennial และ Gen Zซึ่ง BNPL ตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มนี้ที่อยากมี ความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายมากขึ้น และควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองได้มากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

จากประสบการณ์ของร้านค้าที่มีโซลูชั่นของ Atome พบว่าสามารถช่วยเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ และเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อบิลของลูกค้า (Basket Size) ประมาณ 30% ซึ่งก็ถือเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจได้อย่างดี เพราะผู้บริโภครู้สึกอุ่นใจในการใช้จ่าย ซื้อของได้มากขึ้น แบ่งจ่ายอย่างสบายใจ

สำหรับ Atome มาจากคำว่า Available to me เป็นธุรกิจมาจากประเทศสิงคโปร์ ผู้นำทางด้าน Buy Now Pay Later ในอาเซียน เป็นบริษัทลูกของ Advance Intelligence Group บริษัทเทคโนโลยีซีรีส์ D ซึ่งเป็นยูนิคอร์นจากสิงคโปร์

Atomeได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี 2564 มีจุดเด่นตรงที่ให้ผู้บริโภคแบ่งจ่าย 3 ครั้ง ดอกเบี้ย 0% และไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถชำระได้ผ่านทั้งทางหน้าร้าน และช่องทางออนไลน์ โมเดลการหารายได้ของ Atome ก็คือ คิดค่าธรรมเนียมกับทางพาร์ทเนอร์ ไม่ได้คิดค่าบริการกับทางลูกค้า

จุดประสงค์หลักของ Atome ก่อตั้งมาตอบโจทย์กลุ่ม Underserved และ Unbanked พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ กลุ่มที่ไม่สามารถถึงบริการ หรือผลิตภัณฑ์ของแบงค์ได้ อาจจะเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์ คนไม่มีบัตรเครดิต ขอสินเชื่อไม่ได้ คนกลุ่มนี้มีจำนวนสูงมากในอาเซียน

นอกจากความร่วมมือในด้านการชำระเงินแล้ว เราอาจจะได้เห็นเมเจอร์ และ Atome ร่วมมือกันในด้านอื่นๆ อีกอาจจะเป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์ร่วมกัน เพื่อโปรโมทภาพยนตร์ไทย หรือเอเชียรวมไปถึงมีแผนในการพัฒนาการชำระเงินของ M pass ผ่าน Atome และขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ อาจจะรวมถึงเครื่องดื่ม ป๊อบคอร์น โบว์ลิ่ง ไอซ์สเก็ต คาราโอเกะ

ต่อไปอาจจะได้เห็น กินป๊อปคอร์นก่อน แล้วแบ่งจ่ายทีหลัง ก็เป็นได้… สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://atome-th.onelink.me/SrPK/MJCATOME

]]>
1396867
โรงหนังคัมแบ็ก! “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” เดินหน้าอัปเกรดเครื่องฉาย เร่งขยายสาขา แตกไลน์ธุรกิจใหม่ https://positioningmag.com/1387279 Wed, 01 Jun 2022 10:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387279

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจอย่างแพร่หลาย หนึ่งในอุตสาหกรรมที่เจอศึกหนักที่สุดก็คือ “โรงภาพยนตร์” ทั้งเจอมาตรการล็อกดาวน์ ประกอบกับภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เลื่อนฉาย ทำให้ผู้ประกอบการต้องการกลยุทธ์ใหม่เพื่อประคับประคองธุรกิจ

“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ไม่น้อย เพราะต้องบอกว่าโรงภาพยนตร์เป็นอีกหนึ่งสถานที่ปิด และรวมคนจำนวนมาก ทำให้เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยง และอยู่ในมาตรการล็อกดาวน์ แม้จะช่วงที่คลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ก็ยังจำกัดคนเข้าใช้บริการ ไม่สามารถสร้างรายได้ได้เต็มที่

เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดการแพร่ระบาด ประเทศไทยมียอดจำหน่ายตั๋วหนังสูงที่สุดในประวัติการณ์ที่ 36.5 ล้านใบ เรียกว่าทิศทางของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่มาสะดุดเพราะโรคระบาด แม้ว่าในปี 2563 จะเจอกับวิกฤตร้ายแรง แต่เมเจอร์ก็ปรับกลยุทธ์จนสามารถกลับมาเติบโตได้ดังเดิม


“เมเจอร์” คัมแบ็ก ถึงเวลาเทิร์นอะราวด์

หลังจากเริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ในปี 2564 หลายธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดทำการตามปกติตามมาตรการควบคุมโรค พร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทยก็เริ่มคลี่คลาย ประชาชนได้กลับใช้ชีวิตได้ปกติมากขึ้น ร้านค้าต่างๆ ไม่ต้องจำกัดเวลาในการเปิด

ทำให้ได้เห็นบรรยากาศของศูนย์การค้าที่เนืองแน่นด้วยผู้คน ต่างออกมาช้อปปิ้ง ทานข้าว ดูหนังกันมากขึ้น เรียกว่าเป็นสัญญาณอันดีในการฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศกลับมาคึกคัก

ธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็เริ่มกลับมามีสีสันมากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งหนังที่เข้าโรงภาพยนตร์ก็เต็มไปด้วยหนังฟอร์มยักษ์ ถูกกระตุ้นจากทั้งฝั่งผู้ผลิตหนังเองก็อั้นจากช่วงวิกฤตหนักๆ ต้องเลื่อนการฉาย ส่วนผู้บริโภคเองก็ต้องการเสพภาพยนตร์ ความบันเทิงจากโรงหนังอยู่

ในปี 2565 ถือว่าเป็นฟ้าใหม่ของเมเจอร์ในการ “เทิร์นอะราวด์” เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ประชาชนเริ่มใช้ชีวิตร่วมกับโรคระบาดได้อย่างมีสติ หลายธุรกิจเริ่มฟื้นตัว กลับมามีผลกำไร ธุรกิจโรงภาพยนตร์เองก็เช่นกัน เริ่มเห็นสัญญาณในการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ลุ้นกลับมามีผลกำไรทุกไตรมาส เป็นการคัมแบ็กของจริง

ปัจจัยสำคัญมีทั้งธุรกิจหลักจากโรงภาพยนตร์ ที่จะได้เห็นหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลิวู้ดต่างตบเท้าเข้าโรงอย่างต่อเนื่อง เช่น The Batman, Fantastic Beasts : The Secrets of Dumbledore, Doctor Strange 2, Top Gun : Maverick, Jurassic World : Dominion (8 มิย.), Minions The Rise Of Gru (30 มิย.), Thor : Love and Thunder (6 กค.), Black Panther :Wakanda Forever (10 พย.) และไฮไลท์สุดๆ กับการสิ้นสุดการรอคอยของ Avatar The Way Of Water (15 ธค.) เตรียมทวงบัลลังก์หนังทำเงินสูงที่สุดในโลกอีกครั้ง พร้อมกับตลาดหนังไทยที่เตรียมเข้าโรงถึง 40 เรื่องเช่นกัน

ส่วนธุรกิจเสริมที่ทางเมเจอร์ไปลงทุนเพิ่มเติมทั้งการเข้าไปถือหุ้นใน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งแรงเสริมให้กับเมเจอร์

ทางด้านบล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ได้วิเคราะห์ว่า คาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2565 ของเมเจอร์จะเติบโตดีขึ้น เนื่องจากจะมีหนังฟอร์มยักษ์จากฝั่งฮอลลีวูดเข้าฉายจำนวนมากในช่วงหน้าร้อนของสหรัฐ ประกอบกับความกังวลเรื่อง COVID-19 เริ่มคลี่คลาย และผู้บริโภคออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น เชื่อว่าทั้งปีจะพลิกกลับมามีกำไร 677 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนปกติ 832 ล้านบาท

นอกจากประเทศไทยแล้ว ทิศทางของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์เริ่มมีสัญญาฟื้นทั่วโลก อย่างที่สหรัฐอเมริกาตลาดใหญ่ที่สุดของโลกก็เริ่มฟื้นตัว หลังยอดขายตั๋วหนังฟอร์มยักษ์หลายเรื่องที่เข้าโรงในช่วงไตรมาสแรกเติบโตจากปี 2564 มากกว่า 3 เท่าตัว

ทางด้านสตูดิโอค่ายหนังก็เตรียมเข็นหนังฟอร์มยักษ์ออกมาตลอดทั้งปี ทางด้านผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ก็ลงทุนในการอัพเกรดโรงหนังให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับอัดงบการตลาด เพื่อดึงดูดผู้บริโภคออกมาดูหนังในโรงกันมากขึ้น


หนังฟอร์มยักษ์จ่อคิวเข้าโรง

หนึ่งในกลไกสำคัญที่ทำให้ปีนี้ธุรกิจโรงหนังกลับมาสดใส หนีไม่พ้น “คอนเทนต์” หรือภาพยนตร์ที่จ่อคิวเข้าโรง จะเห็นได้ว่าปีนี้มีคิวหนังทั้งไทย และเทศจ่อเข้าคิวแบบเบียดเสียด ชนิดที่ว่าใครอ่อนแอก็แพ้ไป หนังไทยบางเรื่องต้องหลีกทางให้หนังฮอลลีวู้ดเข้าก่อนกันเลยทีเดียว

และที่ผ่านมาไม่นานนี้ เริ่มมีกระแส “หมอแปลกฟีเวอร์” โดยที่ภาพยนตร์ Doctor Strange In The Multiverse Of Madness หรือ Doctor Strange 2จากค่ายมาร์เวล สามารถทำรายได้รวมใน 2 สัปดาห์แรกไปกว่า 291.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (10,200 ล้านบาท) ในสหรัฐอเมริกา และทำรายได้รวมทั่วโลก อยู่ที่ 688 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (24,000 ล้านบาท)

ส่วนในประเทศไทยนั้น หมอแปลกภาค 2 ก็ได้ปลุกกระแสการดูหนังในโรงภาพยนตร์กลับมาคึกคักอีกครั้ง รายได้รวมทั่วประเทศกว่า 337.2 ล้านบาท จากการเข้าฉาย 19 วันสะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น และพร้อมที่จะเสพความบันเทิงในโรงภาพยนตร์มากขึ้นด้วย

แน่นอนเมื่อมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เข้าโรง ย่อมนำพามาด้วยการฟื้นตัวของรายได้จากภาพยนตร์ที่เป็นรายได้หลักของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นอานิสงส์ทางอ้อมก็คือ “โฆษณาในโรงภาพยนตร์” ที่มีการเติบโตไม่แพ้กัน

ข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2565 ในภาพรวมอุตสาหกรรม มีการใช้เม็ดเงินลงโฆษณาไปกับโรงภาพยนตร์ ประมาณ 1,736 ล้านบาท มีการเติบโตขึ้นถึง 43.71% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือว่าเป็นประเภทสื่อ ที่มีอัตราการฟื้นตัวและการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาสูงที่สุด

สะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าต่างๆ เริ่มกลับมาสนใจทำกิจกรรมทางการตลาด ร่วมกับโรงภาพยนตร์นั่นเอง มีความมั่นใจว่าผู้บริโภคหันกลับมาดูหนังในโรงภาพยนตร์ ประกอบกับไลน์อัพหนังที่จะช่วยดันศักยภาพได้


ลงทุนต่อเนื่อง อัพเกรด IMAX Laser

นอกจากปัจจัยภายนอกที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวแล้ว เมเจอร์เองก็ประกาศแผนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แก่ผู้บริโภค ล่าสุดได้ประกาศความร่วมมือกับ ไอแมกซ์ คอร์ปอเรชั่นหรือ IMAX นำเครื่องฉาย IMAX Laser ระบบทันสมัยที่สุดมาฉายในไทย นำร่อง 3 สาขา ได้แก่ พารากอน ซีนีเพล็กซ์,  ไอคอน ซีเนคอนิค และเปิดโรงภาพยนตร์ IMAX สาขาใหม่ที่เมกา ซีนีเพล็กซ์

สำหรับระบบฉาย IMAX Laserเป็นระบบการฉายภาพยนตร์ที่ล้ำสมัยที่สุด ผสมผสานการฉายภาพด้วยเลเซอร์ระดับ 4K ด้วยระบบออปติคัลใหม่ เลนส์ที่ออกแบบเอง และชุดเทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ ให้ภาพที่สว่างกว่าด้วยความละเอียดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นภาพขนาดใหญ่ และได้ยินเสียงที่ชัดเจนเหมือนกันทุกที่นั่ง สร้างประสบการณ์การชมภาพยนตร์ระดับพรีเมียม

พร้อมกับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เปิดโรงภาพยนตร์ Screen X เพิ่มอีก 1 แห่งที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในปี 2565 เมเจอร์มีแผนขยายโรงภาพยนตร์อีก 25-30 โรง จากปัจจุบันมีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 839 โรง ใน 170 สาขารวมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

นอกจากการลงทุนอัปเกรดเครื่องฉายสุดล้ำแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทางเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ยังเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องก็คือการขยายสาขา ล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ “จันทบุรี ซีนีเพล็กซ์” ที่เซ็นทรัล จันทบุรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 แบบสดๆ ร้อนๆ

พร้อมกับการรีโนเวตโฉมใหม่ของ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สุขุมวิท-เอกมัย” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเดินหน้าทยอยอัปเกรดเครื่องฉายเป็นระบบ Laserplex ในโรงภาพยนตร์ปกติอีกด้วย รวมถึงการเป็นเจ้าภาพงาน CineAsia 2022 ในวันที่ 5 – 8 ธันวาคม 2565 ที่ Icon Siam


ขยาย “ป๊อปคอร์น” เข้าเซเว่นฯ

อีกหนึ่งธุรกิจที่ถือว่าเป็นตัวชูโรงไม่น้อย ก็คือ “ป๊อปคอร์น” โดยปกติแล้วธุรกิจโรงหนัง ต้องคู่กับเครื่องดื่ม และป๊อปคอร์น เป็นตัวสร้างรายได้เสริมให้เมเจอร์ไม่น้อย แต่เมื่อเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ถึงแม้ว่าจะคลายล็อกดาวน์ ก็ไม่สามารถทานอาหารในโรงหนังได้

ตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤต เมเจอร์เริ่มปรับตัวจากการขายป๊อปคอร์นที่ขายหน้าโรงหนัง แล้วใช้บริการเดลิเวอรี่ส่งตามบ้าน บริการ “Major Popcorn Delivery” รวมถึงการขายผ่าน ‘Major Mall’ ใน Shopee จนได้พัฒนาเป็นป๊อปคอร์นรูปแบบใหม่ๆ ทั้งแบบ Pop To Go ป๊อปคอร์นในถุงซีปล็อก, POP STAR ป๊อปคอร์นพรีเมียมบรรจุในกระป๋อง ขนาด 60 ออนซ์ และป๊อปคอร์น พรีเมียม POPSTAR 3 รูปแบบ คือ ป๊อปสตาร์ สแน็ค ป๊อปคอร์นแบบซอง, ป๊อปสตาร์ ไมโครเวฟ และ ป๊อปสตาร์พรีเมียม ทินแคน ป๊อปคอร์นบรรจุกระป๋อง

แรกเริ่มได้ขยายสู่ช่องทางอื่นๆ อย่างซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เพื่อขยายช่องทางการขายสู่ผู้บริโภคมากขึ้น และที่น่าสนใจก็คือ เมเจอร์มีแผนที่จะนำป๊อปคอร์นเข้าจำหน่ายในเซเว่นฯ ภายในปีนี้ และเตรียมขยายไปยังโมเดิร์นเทรด และร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ในอนาคต

จะเห็นได้ว่าปีนี้น่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจโรงหนังเริ่มเห็นแสงสว่าง มีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีการประเมินว่าต้องกลับมามีกำไรจากทั้งธุรกิจหลักในการขายตั๋วหนัง พร้อมกับธุรกิจอื่นๆ ที่จะมาเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น ไม่แน่ว่าปีนี้อาจจะพลิกกลับมาเป็นปีทองของเมเจอร์อีกทีก็เป็นได้…

]]>
1387279
Major Cineplex ผนึกกำลัง Boss Coffee ฉายหนัง Outdoor กลางลานพาร์คพารากอน ตอกย้ำความสำเร็จกับ Cinema In The City ครั้งที่ 3 https://positioningmag.com/1374258 Fri, 18 Feb 2022 10:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374258

บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผนึกกำลังพันธมิตร บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้า “บอส คอฟฟี่” และ ศูนย์การค้าสยามพารากอน จัดงาน “Cinema In The City : The City Backyard” ตอกย้ำความสำเร็จกับการเปิดโรงภาพยนตร์กลางแจ้งด้วยเครื่องฉายเลเซอร์ คมชัดระดับ 4K งานนี้ได้เนรมิตลานพาร์ค พารากอน สยามพารากอน ให้กลายเป็นคาเฟ่ญี่ปุ่นแบบย่อมๆ เลยทีเดียว

หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากการจัดงาน “Cinema in The City” ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ครั้งแรกได้จัดขึ้นที่เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เรียกว่าเป็นการสร้างปรากฎการณ์ในการดูหนังแบบ Outdoor Cinema ในบรรยาการที่แปลกใหม่ แต่ยังคงอัดแน่นด้วยคุณภาพผ่านการฉายภาพยนตร์บนจอ LED ขนาดยักษ์ที่ให้ความคมชัดระดับ 4K ในครั้งนั้นได้เปิดให้ดูภาพยนตร์ฟรีถึง 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์-10 มีนาคม 2564

จากนั้นได้ตอกย้ำความสำเร็จอีกครั้งด้วยการจัดงาน Cinema In The City By The River ในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังกับพันธมิตรหลายภาคส่วน เปิดมิติใหม่ด้วยการดูหนังสุดชิลริมแม่น้ำเจ้าพระยา ดูฟรี 4 วัน 4 ตั้งแต่วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2564 ที่ไอคอนสยาม

มาถึงครั้งที่ 3 กับงาน “Cinema In The City : The City Backyard” เป็นความร่วมมือระหว่าง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป กับ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้า “บอส คอฟฟี่” กาแฟพร้อมดื่มที่ตอบโจทย์เทรนด์คนรักกาแฟ

การจัดงานแต่ละครั้งจะมีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค สำหรับคอนเซ็ปต์ของงานในครั้งเอาใจสายคาเฟ่ฮอปปิ้งโดยเฉพาะ เหมือนยกคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นมาให้เสพความชิลถึงใจกลางเมือง ตกแต่งสไตล์ Japanese Minimal ใครสายคาเฟ่ หรือสายโซเชียล สามารถอัพรูปได้สุดปังเลยทีเดียว

นอกจากจะได้ฟินกับบรรยากาศแบบโดนๆ กลิ่นอายชวนคิดถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้ดูหนังแบบ Outdoor Cinema พร้อมเครื่องฉายเลเซอร์ คมชัดระดับ 4K ณ ลานพาร์ค พารากอน ชั้น M สยามพารากอน ซึ่งงานนี้ได้ถูกจัดไปเมื่อวันที่ 4–6 กุมภาพันธ์ 2565

แล้วก็อีกเช่นเคย ชมภาพยนตร์ฟรี แต่รับจำนวนจำกัดเพียงรอบละ 86 ที่นั่ง วันละ 1 รอบฉาย ในเวลา 18.30 น. เป็นต้นไป มีภาพยนตร์ให้เลือกชมฟรี 3 เรื่อง 3 วัน ดังนี้

  • วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง Jurassic World : Fallen Kingdom
  • วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง Venom : Let there Be Carnage
  • วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง The Suicide Squad

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และ บุญชัย อัศวฤทธิพรหม์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) ฮิโรยูกิ คาวากุจิ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ซันโทรี่ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย), สรัลธร อัศเวศน์ ผู้บริหารสายงานบริหารธุรกิจศูนย์การค้า กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัดพร้อมด้วยเซเลบริตี้, ศิลปิน และนักแสดงยกทัพมาร่วมชมภาพยนตร์ เรื่อง Jurassic World : Fallen Kingdom

โดยงาน Cinema In The City กำลังจะเปิดตัวอย่างต่อเนื่องในสถานที่ใหม่ๆ และเตรียมมอบประสบการณ์สุดพิเศษสำหรับพาร์ทเนอร์ที่สนใจร่วมกิจกรรมกับทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถติดต่อได้ที่ คุณสิริการย์ 096-989-5535 หรือติดตามกิจกรรมดีๆ แบบนี้ได้ที่ Facebook : Major Group

]]>
1374258
“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ผนึก “เกรท วอลล์ มอเตอร์” สร้างปรากฏการณ์ใหม่ครั้งแรกในเมืองไทย ดูหนังสุดชิลริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเครื่องฉาย Laser4K https://positioningmag.com/1366240 Mon, 13 Dec 2021 04:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366240

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผนึกกำลังร่วมกับ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), บริษัท เฮ้าส์ โอสถสภา ฟู้ดส์ จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด และไอคอนสยาม จัดงาน Cinema In The City By The River เอาใจคอภาพยนตร์โดยเฉพาะ  เปิดมิติใหม่ด้วยการดูหนังสุดชิลริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถมยังดูฟรี 4 วัน 4 เรื่องแบบฟินๆ ตั้งแต่วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

ในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เรียกได้ว่าได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการธุรกิจมากมาย ทุกคนต้องดำรงชีวิตแบบวิถีใหม่ ภาคธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลง มีการเปิดโมเดลใหม่ หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

ในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์เองก็ถือว่าได้รับผลกระทบหนักหน่วงไม่แพ้อุตสาหกรรมอื่นโดยทีเดียว แต่ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ผู้นำในตลาดโรงภาพยนตร์ในไทย ก็ยังยืนหยัด พร้อมกับเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ๆ บริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้อาจจะเคยเห็นดูหนังแบบ Drive-in กันมาบ้างแล้ว งานนี้เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ ด้วยการดูหนังริมแม่น้ำเจ้าพระยา รับประสบการณ์ใหม่ๆ แบบสุดฟิน แถมยังอินกับบรรยากาศดีๆ ในช่วงปลายปีอีกด้วย

งานนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตร เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), และ บริษัท เฮ้าส์ โอสถสภา ฟู้ดส์ จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด และ ไอคอนสยาม จัดงาน “Cinema In The City By The River” ณ ริเวอร์ พาร์ค ไอคอนสยาม

เป็นการชมภาพยนตร์ในรูปแบบ Outdoor Cinema อย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกในเมืองไทย พิเศษด้วยการชมภาพยนตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกันนี้ยังได้สัมผัสกับคุณภาพแสง สี เสียงอย่างจัดเต็ม เพราะใช้เครื่องฉาย Laser คมชัดระดับ 4K มาตรฐานเดียวกับในโรงภาพยนตร์

เมเจอร์ฯ ไม่ได้จัดเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น แต่โรงภาพยนตร์กลางแจ้งนี้ได้ให้คอหนังเลือกชม 4 ภาพยนตร์ระดับ Blockbuster ‘Godzilla vs. Kong, Mortal Kombat, Suicide Squadและ The Conjuring : The Devil Made Me Do It ดูฟรีถึง 4 เรื่อง 4 วันกันแบบฟินๆ ตั้งแต่วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

ภายในวันเปิดตัว ยังได้รับเกียรติจากทีมผู้บริหารจากทั้งของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และพันธมิตร นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงานร่วมกับ ไกรสร ไชยชนะ Experience Center Deputy Manager เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), มิซึรุ โดเคะ ผู้จัดการอาวุโส การวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้า บริษัท เฮ้าส์ โอสถสภา ฟู้ดส์ จำกัด, ร.อ.ภักดี ผ่องใส ผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด

รวมไปถึง เซเลบริตี้ ,ศิลปิน และนักแสดง ยกทัพมาร่วมงานอย่างคับคั่ง พร้อมกับชมภาพยนตร์เรื่อง Godzilla vs. Kong ในรูปแบบ Outdoor Cinema ด้วยภาพคมชัดระดับ 4K และเสียงรอบทิศทาง มาตรฐานเดียวกับโรงภาพยนตร์

การผนึกความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของประสบการณ์ความบันเทิงในการชมภาพยนตร์ แถมยังสร้างสีสัน สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค เรียกว่าเป็นการส่งความสุขในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ได้อย่างดี

อีกทั้งยังป็นการมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า Haval ,C-Vitt ,AIS ,Meiji และแทนคำขอบคุณในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 27 ของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ทั้งนี้ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ความบันเทิงใหม่ๆ ให้กับลูกค้าอยู่เสมอ และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าผ่านกิจกรรมดีๆ มากมายตลอดทั้งปี

โดยงาน Cinema In The City ในปี 2022 กำลังจะเปิดตัวอีกครั้งในสถานที่ใหม่ๆ และเตรียมมอบประสบการณ์เซอร์ไพรส์สุดพิเศษ สำหรับพารท์เนอร์ที่สนใจร่วมกิจกรรมกับทางเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถติดต่อได้ที่ คุณสิริการย์ 096-9895535 หรือติดตามกิจกรรมดีๆ แบบนี้ได้ที่ Facebook : MajorGroup

]]>
1366240
เปิดสาเหตุ ‘เมเจอร์’ ขอเกาะกระแสคริปโตฯ ให้ใช้ ‘Bitcoin’ แลกตั๋วหนัง https://positioningmag.com/1322010 Thu, 04 Mar 2021 16:07:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322010 หากพูดถึง ‘Bitcoin’ (บิตคอยน์) หลายคนคงรู้จักในนามของ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ที่เน้นเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรมากกว่าจะเอาไปใช้จ่ายในชีวิตจริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Bitcoin สามารถนำไปใช้จ่ายได้ อย่างในญี่ปุ่นก็มี Rakuten Pay’ ระบบอีเพย์เมนต์เจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น อนุมัติให้ลูกค้าชำระเงินด้วยเงินคริปโตฯ ได้ ส่วนในไทยเองก็มีร้านที่รับ Bitcoin ถึงหลักร้อยร้านค้าเลยทีเดียว และล่าสุดก็คือ ‘เมเจอร์ ซินีเพล็กซ์’

จับเทรนด์ Bitcoin

ถือเป็นเรื่องฮือฮาอยู่เหมือนกันที่เมเจอร์เปิดโครงการ ‘ทดลองรับแลกตั๋วหนังด้วยสกุลเงินดิจิทัล’ แต่กว่าจะให้บริการก็ต้องใช้เวลาศึกษาถึง 1 ปีเลยทีเดียว โดยทางเมเจอร์ได้จับมือกับพาร์ตเนอร์ 2 ราย ได้แก่ ‘ซิปเม็กซ์’ (Zipmex) แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล และ ‘แรพิดซ์’ (Rapidz) ผู้ให้บริการระบบบริหารการรับแลกสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

หลักการคือ แรพิดซ์จะเป็นเหมือน E-Wallet ให้ฝาก Bitcoin ไว้ที่แอปฯ RapidzPay’ โดยลูกค้าสามารถแลกรับตั๋วหนังได้ที่ตู้จำหน่ายตั๋วหนังอัตโนมัติ โดยเลือกภาพยนตร์และตำแหน่งที่นั่งที่ต้องการ แล้วเลือกใช้ E-Wallet ของแรพิดซ์ในการชำระ โดยจะมี QR Code ขึ้นเพื่อให้สแกนใช้ Bitcoin แลกตั๋วหนัง

ระบบคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน Bitcoin ในเวลาปัจจุบันว่าต้องใช้เท่าไหร่ในการแลกตั๋ว เช่น ตั๋วหนังราคา 250 บาท ก็จะใช้ 0.00016667 เหรียญ (ขึ้นอยู่กับมูลค่า Bitcoin ในแต่ละวัน) โดย ‘ซิปเม็กซ์’ จะทำหน้าที่เป็นผู้เปลี่ยน Bitcoin ให้เป็นเงินบาทโอนให้กับเมเจอร์ ดังนั้น มเจอร์จะไม่ได้เป็นผู้รับ Bitcoin จึงไม่มีความเสี่ยงต่อความผันผวน แต่เป็นแรพิดซ์ที่รับความเสี่ยงแทน

เมเจอร์ยังเปิดรับแค่ Bitcoin เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ยังไม่เปิดรับสกุลเงินดิจิทัลอื่น เนื่องจาก Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสุด และปัจจุบันเพิ่งเปิดให้บริการแค่ที่สาขา ‘รัชโยธิน’ เพียงสาขาเดียว เนื่องจากเป็น Top 3 ของสาขาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด แต่เมเจอร์ตั้งเป้าจะขยายให้รับครบทุกสาขาภายในสิ้นปีนี้

ดันฐานใช้แอปฯ ขยายฐานลูกค้า

สำหรับเป้าหมายของการนำเอา Bitcoin มาใช้แลกตั๋วหนังในครั้งนี้ นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ได้ให้เหตุผลว่า จะช่วยให้เมเจอร์ ขยายฐานลูกค้า เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้คริปโตฯ จะเป็นคนรุ่นใหม่และนักลงทุน ขณะที่ปัจจุบัน ซิปเม็กซ์มีลูกค้าราว 1 แสนราย ส่วนแรพิดซ์มีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ Rapidzpay ราว 4,000-5,000 ราย ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานคริปโตในไทยคาดว่าอยู่ที่ 5 แสนถึง 1 ล้านราย

“เราไม่ได้คาดหวังว่าจะมีผู้ใช้มาก แค่เดือนละหลักพันถึงหลักหมื่นก็ดีแล้ว และอีกจุดประสงค์ของเราก็คือ ทำให้ลูกค้าสะดวกที่สุด และกระตุ้นสังคมไร้เงินสด”

จุดประสงค์จริง ๆ ของเมเจอร์น่าจะเป็นการผลักดันการใช้ ‘แอป Major Cineplex’ ที่ทางเมเจอร์ปลุกปั้นมาเป็น 10 ปี และที่ผ่านมาเมเจอร์ยกเครื่องระบบจ่ายเงินมาโดยตลอด เพราะนุตม์ยอมรับว่า การชำระเงิน เป็นอีกอุปสรรคที่ทำให้ลูกค้ายังไม่ซื้อตั๋วผ่านแอปฯ แม้ว่าจะพยายามทำให้ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น อนาคตมีโอกาสที่เมเจอร์จะสกุลเงินดิจิทัลโดยตรงได้ รวมถึงขยายไปสู่บริการอย่างอื่น เช่น ป๊อปคอร์น และโบว์ลิ่ง

“คนไทยไม่ได้มีบัตรเครดิตทุกคน และเขาก็ไม่อยากคอยเติมเงินเพื่อซื้อตั๋วผ่านแอปฯ ดังนั้นเราจึงต้องเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้มากที่สุด รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ที่แอปฯ ยังไม่ครอบคลุม 100% ซึ่งทางเมเจอร์ก็จะทำให้ได้ 100% เพื่อลดช่องว่าง”

ปัจจุบัน มีการซื้อตั๋วผ่านตู้คีออส 80% ผ่านแอปฯ 10% และหน้าเคาน์เตอร์ 10% โดยเมเจอร์ตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนให้ซื้อตั๋วผ่านแอปฯ ให้ถึง 20% ภายในปีนี้ และเป็น 70% ให้เร็วที่สุด ซึ่งหากทำได้ นอกจากจะกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมาดูหนังบ่อยขึ้นเนื่องจากซื้อตั๋วได้ง่ายแล้ว ยังช่วยให้เมเจอร์ลดต้นทุนได้ด้วย

เพราะที่ผ่านมาเคยใช้พนักงานประจำเคาน์เตอร์ขายตั๋วประมาณ 10 คน ปัจจุบันลดเหลือ 1-2 คน ขณะที่สาขาใหม่ ๆ ของเมเจอร์จะไม่มีเคาน์เตอร์ขายตั๋วแล้ว มีแต่ตู้ E-Ticket

“อย่างในจีนมีการซื้อตั๋วหนังผ่านแอปฯ ประมาณ 70-80% ซึ่งเราต้องการไปให้ถึงระดับนั้นให้เร็วที่สุด”

ทั้งนี้ แรพิดซ์นั้นจะไม่คิดค่าธรรมเนียมเป็นเวลา 1 ปี และปัจจุบันกำลังพูดคุยกับ วอริกซ์ สำหรับการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้จ่าย

]]>
1322010
“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” กางมาตรการพร้อมเปิดโรงหนัง นั่งแถวเว้นแถว มีฉากกั้นทุก 4 ที่นั่ง https://positioningmag.com/1281202 Fri, 29 May 2020 09:25:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281202 หลังประกาศคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 3 มีการอนุญาตให้กลุ่มธุรกิจโรงหนังเปิดให้บริการได้ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป”  พร้อมเปิดให้บริการ 1 มิถุนายนนี้ กาง 5 มาตรการหลัก เพื่อรับกับวิถีชีวิตใหม่ของคนไทย 

5 มาตรการ รับ New Nomal

มาตรการ New Normal ของโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป หลังคลายล็อกดาวน์ ก่อนหน้าที่จะมีการล็อกดาวน์ ได้มีมาตรการจำกัดคนเข้าไปแล้วรอบหนึ่ง

1. Screening การคัดกรองอย่างเข้มงวด

  • ตรวจวัดอุณหภูมิ ลูกค้า พนักงาน และร้านค้าผู้ให้บริการทุกคน ก่อนเข้าพื้นที่ ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด 37.5◦C ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย และล้างทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าใช้บริการ
  • พนักงานต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย, Face Shield และสวมใส่ถุงมือในจุดให้บริการใกล้ชิดลูกค้าตลอดเวลา
  • บริการจุดจำหน่ายหน้ากากอนามัยให้กับลูกค้า เพื่อให้สวมใส่ทุกคน

2. Social Distancing การเว้นระยะห่างลดความเสี่ยง

  • กำหนดการเว้นระยะห่าง Social Distancing ตั้งแต่การเข้าแถวรอคิวทุกจุดที่เข้าใช้บริการในระยะห่าง 1 เมตร บันไดเลื่อน เว้น 3 ขั้น ลิฟต์โดยสารให้ใช้บริการได้ครั้งละไม่เกิน 4 คน และหันหน้าเข้าผนัง
  • มี Counter Shield กั้นแยกส่วนพื้นที่ระหว่างพนักงานให้บริการและลูกค้าทุกจุดเคาน์เตอร์บริการ
  • ให้บริการจำหน่ายตั๋วที่ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket แบบตู้เว้นตู้
  • กำหนดระยะห่าง 1 เมตรสำหรับพื้นที่นั่งรอของลูกค้าก่อนเข้าชมภาพยนตร์
  • ภายในโรงภาพยนตร์มีการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง ทุก 2 ที่นั่ง ในแถวเดียวกัน และแถวเว้นแถว โดยจัดนั่งระหว่างระหว่างแถวแบบสลับฟันปลา
  • เพิ่มมาตรการพิเศษด้วยฉากกั้นระหว่างที่นั่งภายในโรงภาพยนตร์ทุก 4 ที่นั่ง

3. Cleaning การทำความสะอาดทุกจุดพื้นที่

  • เช็ดทำความสะอาดทุกเคาน์เตอร์บริการ อาทิ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์, ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket, เสาคิวไลน์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุก 1 ชั่วโมง, เคาน์เตอร์จำหน่ายเครื่องดื่มและป๊อปคอร์น ทุก 30 นาที และฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวันหลังปิดให้บริการ
  • มีเจลแอลกอฮอล์บริการทุกเคาน์เตอร์บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
  • เช็ดทำความสะอาดเก้าอี้โซฟาที่นั่งรอของลูกค้าและภายในเลาจน์รับรอง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 1 ชั่วโมง และฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวันหลังปิดให้บริการ
  • อบโอโซนภายในห้องเครื่องระบบปรับอากาศ AHU ก่อนเปิดให้บริการ และหลังการปิดให้บริการทุกวัน รวมทั้ง ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศหลังปิดให้บริการทุกวัน
  • ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในห้องระบบระบายอากาศก่อนเปิดให้บริการ และหลังการปิดให้บริการทุกวัน
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์และจุดสัมผัสต่าง ๆ ภายในโรงภาพยนตร์ อาทิ มือจับประตู ราวบันได เก้าอี้ พนักพิง ที่พักแขน ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกรอบก่อนให้บริการ

  • อบโอโซนและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในโรงภาพยนตร์ทุกโรงก่อนเปิดให้บริการ และหลังจบการฉายภาพยนตร์ในแต่ละรอบ รวมทั้งหลังปิดให้บริการทุกวัน
  • ทำความสะอาดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสภายในโรงภาพยนตร์ด้วยเครื่องฆ่าเชื้อระบบแสง UVC หลังการปิดให้บริการทุกวัน
  • ทำความสะอาด หมอน ผ้าห่ม รองเท้าสลิปเปอร์ สำหรับโรงภาพยนตร์ VIP ทุกครั้งหลังการใช้งาน พร้อมอบฆ่าเชื้อและบรรจุในถุงเปลี่ยนใหม่ให้ลูกค้า
  • โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก Kids Cinema ทำความสะอาด เครื่องเล่น บ่อบอล ล้างลูกบอลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังจบรอบฉายแต่ละรอบ
  • ทำความสะอาดเครื่องเล่นต่าง ๆ หน้าโรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก Kids Cinema ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทุก 1 ชั่วโมง และฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเปิดให้บริการ และหลังปิดให้บริการทุกวัน
  • บริการเจลแอลกอฮอล์ให้ลูกค้าเมื่อออกจากโรงภาพยนตร์หลังชมภาพยนตร์จบ
  • ทำความสะอาดห้องน้ำทุกวันก่อนเปิดให้บริการและหลังปิดให้บริการ
  • ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในห้องน้ำทุก 2 ชั่วโมง
  • ภายในห้องน้ำให้บริการสบู่เหลวล้างมือและกระดาษเช็ดมืออย่างเพียงพอ ทำความสะอาดจุดสัมผัสต่าง ๆ อาทิ กระจก ราวจับประตูห้องน้ำ ที่กดชักโครก

4. Cashless ลดการสัมผัส

  • ส่งเสริมให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าและบริการด้วยระบบ Cashless และช่องทาง E-Payment แทนการใช้เงินสดในทุกจุดบริการ
  • แนะนำการเข้าสู่โรงภาพยนตร์ด้วยระบบสแกน QR Code ที่จุดทางเข้าโรงภาพยนตร์

5. Tracking ติดตามและตรวจสอบได้

  • มีการเช็กอิน-เช็กเอาต์ เพื่อสะดวกในการติดตาม
  • มีการติดตามข้อมูลสุขภาพและการเดินทางของพนักงานย้อนหลัง 14 วันก่อนเปิดบริการ และทุกวันก่อนเริ่มงาน
  • มีการลงบันทึกตรวจวัดอุณหภูมิของพนักงานก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกวัน
  • กำหนดจุดพนักงานเข้า-ออกในการปฏิบัติงานเส้นทางเดียว
  • จัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ถึงวิธีการป้องกันและปฏิบัติให้พนักงานเข้าใจและรับทราบเพื่อปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง
]]>
1281202