เศรษฐีไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 20 May 2021 23:56:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จัดการเงิน ‘กงสี’ ยุคใหม่อย่างไร ? KBank ปรับทิศทางบริหารพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน  https://positioningmag.com/1333029 Thu, 20 May 2021 13:28:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333029 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไทย ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจครอบครัวหรือที่เรามักเรียกว่า ‘ธุรกิจกงสีคิดเป็นรายได้กว่า 80% ของจีดีพี มูลค่ารวมกว่า 3 เเสนล้านบาท

ปัจจัยเร่งจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคระบาด ทำให้ครอบครัวผู้มีสินทรัพย์สูง เริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนรับมืออย่างเป็นระบบเเละให้ทายาทรุ่นถัดไปเข้ามาจัดการธุรกิจเร็วขึ้น 

เหล่านี้ ทำให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ได้รับความสนใจจากลูกค้ามั่งคั่ง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กว่า 3 ใน 4 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นธุรกิจครอบครัว

จากสถิติพบว่า 75% เป็นธุรกิจครอบครัวไทย ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 2 และมีเพียง 4% เท่านั้น ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังจัดตั้งมาไม่นานและกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในการเริ่มวางแผนเพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

จากผลสำรวจของ Lombard Odier พบว่า 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวมีความสนใจที่จะเริ่มวางแผนบริหารทรัพย์สินครอบครัวในอนาคต 

ขณะเดียวกัน PWC Family Business Survey 2019 พบว่า 64% ของธุรกิจครอบครัวยังไม่ได้เตรียมการรับมือกับการวางแผนการส่งต่อธุรกิจ รวมทั้งเรื่อง Technology Disruption

หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ทำให้ต้องเร่งปรับตัวเข้ากับ ‘New Economy’ ที่จะเปลี่ยนเเปลงไปหลังผ่านวิกฤต เป็นความท้าทายครั้งสำคัญที่จะต้องเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เเละผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ เข้ามา โดยไม่ต้องรอให้ถึงการส่งต่อสู่รุ่นที่ 3-4

Photo : Shutterstock

ความท้าทายของ ‘กงสี’ ในธุรกิจยุคใหม่ 

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Chief – Wealth Planning, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ให้ข้อมูลว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังคงเน้นไปที่การขยายธุรกิจมากกว่าการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบ

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการล่มสลายของธุรกิจครอบครัว มาจากหลายสาเหตุ เช่น ความขัดเเย้งของสมาชิก การบริหารที่ไม่เป็นระบบ การไม่มีเเผนส่งต่อธุรกิจให้ทายาท

ธุรกิจครอบครัวไทย จึงมีความท้าทายและมีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1) มองหาความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความเสี่ยง จากการดำเนินธุรกิจและการถือครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะการวางแผนด้านภาษีเเละต้นทุนทางภาษีที่ต้องแบกรับ

ปัจจัยเร่งสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อการเก็บภาษีที่เข้มงวดขึ้น อย่างกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) ของสหรัฐอเมริกา หรือระบบ Common Reporting Standard 

2) บริหารจัดการระบบกงสีแบบดั้งเดิมมีความท้าทายมากขึ้นในบริบทปัจจุบัน

ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมในการตัดสินใจเป็นหลัก หลายครอบครัวจึงเร่งปรับกติกาของกงสีให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ของครอบครัว เช่น การจัดตั้งโครงสร้างที่เป็นระบบโดยใช้กลุ่มบริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว หรือการใช้ทรัสต์ที่จัดตั้งในต่างประเทศ เพื่อจัดเก็บและบริหารจัดการกงสีอย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งวางแผนการด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน เช่น ในกรณีที่สมาชิกคนใดประสบปัญหาด้านการเงินส่วนตัว ยังมีทรัพย์ที่ได้รับจากกองทรัสต์ เพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวต่อไป รวมถึงระบบสวัสดิการสำหรับสมาชิกในครอบครัวได้อีก

3) ทัศนคติและเป้าหมายที่แตกต่างกันของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะทายาทรุ่นที่ 2 และ 3 ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศ แนวความคิดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านได้

สิ่งที่สำคัญที่แนะนำแก่ลูกค้าคือ การเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่และการเปิดให้พวกเขามีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องสำคัญ ส่วนการวางกติกาครอบครัวที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทุกรุ่น ก็มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยคนกลางที่มีประสบการณ์ในการวางแผนอย่างมีระบบ

จับทางพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน 

ปัจจุบัน KBank Private Banking ให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวแก่ลูกค้ามาเเล้วทั้งสิ้น 3,600 ราย คิดเป็น 720 ครอบครัว ครอบคลุมทรัพย์สินครอบครัว มีธุรกิจและที่ดินรวมมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท ชี้ให้เห็นโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก

เราตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะให้บริการแก่ลูกค้าอย่างน้อย 6,000 ครอบครัว หรือประมาณ 50% ของพอร์ตจากตอนนี้ที่ให้บริการลูกค้า Family Wealth Planning ไปแล้วประมาณ 32%” 

ปัจจุบัน KBank Private Banking มีจำนวนลูกค้ารวมประมาณ 12,000 ราย สินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั้งหมดประมาณ 8 แสนล้านบาท

KBank Private Banking วางกลยุทธ์ใหม่เพื่อยกระดับบริการทั้งในด้านกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบติดตามผล ช่วยให้ครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารสินทรัพย์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

ต้องมีเตรียมเสริมบริการในด้านการทำสาธารณกุศลของครอบครัว และการอำนวยความสะดวกในเรื่องบริการสำนักงานครอบครัวด้วย

โดยปัจจุบันมีบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ 

  • การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures)  
  • การบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management)
  • การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจ อย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning)  
  • การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer)  
  • การทำสาธารณกุศล (Philanthropy)
  • การทำหน้าที่เป็นสำนักงานของครอบครัว (Family Office)  

โดยความยากง่ายของบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของครอบครัวนั้นๆ รวมไปถึงโครงสร้างของธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ด้วย

ในช่วงที่ผ่านมา ครอบครัวระดับมหาเศรษฐีที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตโควิด-19 อย่างกลุ่มโรงแรมท่องเที่ยว ยังมีสายป่านยาวพอจะประคับประคองธุรกิจไปได้ ในบางธุรกิจก็ใช้ช่วงนี้กลับมาปรับปรุง เปลี่ยนเเปลงเเละหันมาดูแลระบบโครงสร้างภายในของธุรกิจตนเองมากขึ้น

บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ต้องใช้เวลาและความละเอียดในการกำหนดแผนการและข้อกำหนดของแต่ละครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกคน เห็นพ้องต้องกัน

 

]]>
1333029
ตลาด Wealth โตพุ่ง SCB ปั้น Private Banking สู่เป้าพอร์ต 1 ล้านล้านบาท โอกาสทองจับ ‘เศรษฐีไทย’  https://positioningmag.com/1321958 Fri, 05 Mar 2021 13:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321958 สถาบันการเงิน เร่งเครื่องดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เเย่งลูกค้าเศรษฐีกันดุเดือด ด้วยความที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการออกสินเชื่อ เเถมยังมีการเติบโตสูง สร้างรายได้ดี เเม้จะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ

SCB เป็นอีกหนึ่งเจ้าใหญ่ในไทยที่ประกาศจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาด Private Banking โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาทให้ได้

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ธุรกิจ Wealth Management ดูเเลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าผู้มั่งคั่งเติบโตขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางโรคระบาด

ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาดทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก การออมเงินฝากหรือพันธบัตร ไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องหาทางลงทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะความผันผวนในตลาดสูง

โดยกลุ่มผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ HNWIs (มีสินทรัพย์ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป) มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำเเนะนำการดูเเลพอร์ตมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Private Banking ขยายตัวตามไปด้วย

ตลาด Wealth โตพุ่ง โอกาสจับ ‘เศรษฐีไทย’ 

SCB ประเมินว่า ภาพรวม Wealth ทั่วโลกในปี 2024 จะเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยจะขยายตัวมากที่สุดในจีน เเละเอเชียแปซิฟิก

สำหรับตลาด Wealth ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโต 5% สูงกว่า GDP ไทยถึง 2 เท่า โดยจำนวนลูกค้า Wealth ทั้งหมดในไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 8.86 แสนคน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2018 ที่อยู่ราว 7.1 แสนคน

ประชากร 1% ของคนไทย ถือครองทรัพย์สิน 80% ของทั้งประเทศ

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-10 ‘เศรษฐีหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย เเละล่าสุด HSBC จากอังกฤษ ก็เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย

ข้อมูลจาก HSBC ระบุว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะเพิ่มขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

นี่จึงเป็นโอกาสทอง เเละการเเข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ ทำให้ธุรกิจ Private Banking ต้องงัดหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพื่อครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

บริหารความมั่งคั่ง คือ New S-Curve 

ปัจจุบันธุรกิจ Wealth ของไทยพาณิชย์ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 8.5 แสนล้านบาท เเละในปี 2024 ตั้งเป้าจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK

โดยมีฐานลูกค้า Wealth จำนวนกว่า 3 เเสนราย (จากราว 7 เเสนรายทั้งประเทศ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ลูกค้า SCB Prime มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB First มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB Private Banking มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

ธนาคารได้เริ่มแผน Wealth Transformation มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปีนั้นสร้างรายได้ให้ธนาคารคิดเป็น 7% ของรายได้รวม และ 31% ของรายได้ค่าธรรมเนียม จากนั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 สามารถทำรายได้ถึง 15% ของรายได้รวม และ 56% ของรายได้ค่าธรรมเนียม

ธุรกิจ Wealth Management จึงกลายมาเป็น New S Curve ของไทยพาณิชย์

โดยคาดว่า AUM ลูกค้ากลุ่ม Wealth ของไทยพาณิชย์จะโตเฉลี่ยปีละ 10-12% และปี 2566 คาดว่าจะมี AUM 1 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเติบโตได้ในอัตราสองหลัก 

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ธนาคารได้เฟ้นหาพนักงานหัวกะทิที่โดดเด่นที่สุดของสาขา 1,100 คน มาร่วมทีม Wealth Management โดยมีการจัดเทรนนิ่งอย่างเข้มข้น จนตอนนี้ธนาคารมี RM (Relationship Manager) ที่มีใบรับรองมากที่สุดในไทย

หลักๆ จะเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ ‘Operating Model’ พัฒนาโซลูชันด้านการลงทุนเเบบ Open Architecture คือการมีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกลงทุนจากบริษัทพันธมิตรเเละประกัน (ตอนนี้มีอยู่ 35 แห่ง) ไม่ได้มีเเค่ผลิตภัณฑ์ของ SCB เท่านั้น รวมทั้งมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพอร์ต สร้างเเพลตฟอร์มเฉพาะมาบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นการลงทุนของตัวเองชัดเจนขึ้น

โดยทิศทางของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2021 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซ็กเมนต์ Private Banking เพื่อจับลูกค้าใหม่ที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้า Wealth ของไทยพาณิชย์ เมื่อดู Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท จาก AUM ทั้งหมดที่ 8.5 แสนบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 .. – 31 .. 2020) 

มธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยในปี 2021 นี้ SCB Private Banking จะดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  • Investment Solutions for Wealth Preservation ต่อยอดความมั่งคั่งให้ลูกค้า โดยจะมีลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ทั้ง Public assets หรือ Private assets
  • Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เปิดโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ เช่น สินเชื่อ SCB Property Backed Loan ที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ให้ลูกค้านำไปเพิ่มกระแสเงินสด
  • SCB Financial Business Group ประสานกับธุรกิจส่วนต่างๆ ทั้งหมดในธนาคารไทยพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

สำหรับข้อเเนะนำในการลงทุนในปีนี้ ผู้บริหาร SCB บอกว่า ควรจะกระจายความเสี่ยงในต่างประเทศ โดยเน้นธุรกิจที่เติบโตในยุค New Normal อย่าง อีคอมเมิร์ซ การขนส่งเเละธุรกิจคลาวด์

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงุทนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม พลังงานหมุนเวียน ตามที่จะเห็นรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ต่างออกนโนบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนี้

ขณะเดียวกันภาวะดอกเบี้ยต่ำที่จะดำเนินต่อเนื่องผู้ลงทุนก็ต้องมองหาผลตอบแทนที่มากกว่า เช่น ตราสารหนี้ , หุ้น เป็นต้น

โดยในปีนี้เเนะนำแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 60% ลงทุนในหุ้น และ 40% ลงทุนในตราสารหนี้ เเละช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ให้ปรับตราสารหนี้เป็น 50-60% เเละเมื่อการกระจายวัคซีนได้ผลดีจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ได้เเล้ว เเนะให้ถือตราสารหนี้ลดลงเหลือ 30% พร้อมกับการติดตามข่าวสารเเละนโนบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

]]>
1321958
HSBC รุกหาเศรษฐีเอเชีย เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย เป็นแห่งที่ 2 ของอาเซียน https://positioningmag.com/1317535 Tue, 02 Feb 2021 06:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317535 เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ ‘ลูกค้ามั่งคั่ง’ ยังเนื้อหอม ล่าสุดสถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง HSBC เตรียมเข้ามาเปิดธุรกิจ Private Banking ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นแห่งที่ 2 ของภูมิภาคต่อจากสิงคโปร์ เพื่อขยายฐานเศรษฐีในอาเซียน

Reuters รายงานว่า HSBC มองว่า ตลาดในไทยมีกลุ่มมั่งคั่งที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยตั้งเป้านำพาลูกค้าให้เข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลก ผ่านการใช้เครื่องมือเเละประสบการณ์ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนของ HSBC ในเอเชีย

HSBC สถาบันการเงินใหญ่จากอังกฤษ เริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจในเอเชียมากขึ้น ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยรวมธุรกิจ Private Banking และ Retail Wealth เข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่เพื่อบริหารทรัพย์สินของลูกค้าเศรษฐี ที่มีมูลค่ามากกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละเป็นที่น่าสนใจว่ากว่า 40% มาจากลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย

ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง เริ่มหันมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย 

ต้องรอดูว่าการเข้ามาของ HSBC จะทำให้ศึกธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในไทยกำลังระอุขึ้นไปอีกเเค่ไหน

Photo : Shutterstock

HSBC คาดว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

ส่วนสินทรัพย์ของนักลงทุน HNW ของไทย คาดว่าจะเติบโตขึ้น 12.4% เป็น 5.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 เเละมีบุคคลใน HNW มากกว่า 100,000 คน ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่ยังมีความผันผวน เเต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งระดับ ‘สูงมาก’ ของเมืองไทย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs / High Net Worth Individuals – HNWIs

สำหรับผู้มีความมั่งคั่งตามนิยามของ SCB Julius Baer ที่จะมาเป็นลูกค้าได้นั้นจะต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (ไม่รวมบัญชีเงินฝากและที่อยู่อาศัยประจำเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท หรือราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป 

รายงานของ Wealth Report Thailand 2019 เปิดเผยภาพรวมตลาด HNWIs และ UHNWIs ในเมืองไทย มี 13,000 – 14,000 ครอบครัว ถือครองสินทรัพย์รวมกว่า 10 ล้านล้านบาท 

อ่านเพิ่มเติม : SCB Julius Baer เรื่องน่ารู้ธุรกิจดูแลพอร์ตลงทุน “เศรษฐีไทย” เข้าได้ต้องมี 100 ล้าน

 

ที่มา : Reuters , Businesstimes

]]>
1317535
เปิดบ้าน SCB Julius Baer เรื่องน่ารู้ธุรกิจดูแลพอร์ตลงทุน “เศรษฐีไทย” เข้าได้ต้องมี 100 ล้าน https://positioningmag.com/1294675 Mon, 31 Aug 2020 14:17:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294675 ในช่วงวิกฤต COVID-19 จะเจอมรสุมเศรษฐกิจหนักหนาสาหัส เเต่ตลาดกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งยังเนื้อหอมเสมอ

ภาพรวมธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของไทย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป มีการเติบโตในอัตราสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากรายงานปี 2019 มูลค่าความมั่งคั่งของกลุ่มนี้มีถึง 10 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 9.9% จึงเป็นโอกาสของธุรกิจ Wealth Management หรือ Private Banking จะเข้ามาเจาะใจลูกค้ากระเป๋าหนัก ที่กำลังมองหาโอกาสการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ได้ผลตอบเเทนมากกว่าในไทย

ล่าสุดกับการจับมือของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ดำเนินธุรกิจใน 20 ประเทศทั่วโลก เปิดตัว บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) ด้วยทุนจดทะเบียน 1,800 ล้านบาท โดย SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วนจูเลียส แบร์ ถือหุ้น 40% ได้รับใบอนุญาตจาก ก...ในการประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล มาตั้งเเต่ช่วงกลางปี 2019 เพื่อดูเเลการลงทุนของเหล่าเศรษฐีเมืองไทย

ส่วนตอนนี้หากใครเเวะเวียนไปเเถวถนนสุขุมวิท ก็จะได้เห็นอาคารที่ตกเเต่งด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สไตล์ยูเรเชียตั้งอยู่โดดเด่น ซึ่งคือสำนักงานแห่งแรกในเมืองไทยของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ หรือ SCB Julius Baer นั่นเอง โดยเปิดให้บริการลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว หลังต้องชะลอการเปิดไปเมื่อช่วงต้นปี เพราะสถานการณ์ COVID-19

วันนี้เราจะมารู้จัก SCB Julius Baer ให้มากขึ้นกับ ลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ทั้งเรื่องกลยุทธ์เจาะลูกค้ามั่งคั่งระดับไฮเอนด์และแผนธุรกิจต่อไป รวมถึงพาชมบรรยากาศภายในเเบบเอ็กซ์คลูซีฟ

เจาะเศรษฐีไทย สินทรัพย์เริ่มต้น 100 ล้าน

เราจะเห็นว่าคนรวยในโลกเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ คนรวยจะลดลงราว 6-8% แต่ก็จะเห็นว่ามีคนบางกลุ่มที่รวยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝั่งเอเชียที่แนวโน้มจะมีกลุ่มลูกค้าความมั่งคั่งระดับสูงจะเพิ่มมากขึ้นซีอีโอ SCB Julius Baer กล่าว

ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่ยังมีความผันผวน เเต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งระดับสูงของเมืองไทย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs / High Net Worth Individuals – HNWIs

สำหรับผู้มีความมั่งคั่งตามนิยามของ SCB Julius Baer ที่จะมาเป็นลูกค้าได้นั้นจะต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (ไม่รวมบัญชีเงินฝากและที่อยู่อาศัยประจำ) เริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท หรือราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป นับว่าเป็นขยายต่อยอดมาจากฐานลูกค้าของ SCB Private Banking ที่เป็นกลุ่มที่มีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน 50 ล้านบาทขึ้นไป เเต่ SCB Julius Baer จะเน้นไปที่การลงทุนในต่างประเทศเพื่อไม่ให้มีการบริการทับซ้อนกัน

จากรายงานของ Wealth Report Thailand 2019 เปิดเผยภาพรวมตตลาด HNWIs และ UHNWIs ในเมืองไทย มีราย 13,000 – 14,000 ครอบครัว ถือครองสินทรัพย์รวมกว่า 10 ล้านล้านบาท 

ลลิตภัทร ธรณวิกรัย – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด

ลงทุนต่างประเทศ 100% มุ่งเเนว Next Generation

SCB Julius Baer จะให้บริการบริหารพอร์ตการลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนต่างประเทศ 100% รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

มุมมองการลงทุน ซีอีโอ SCB Julius Baer ชี้ว่า หุ้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีโดยเน้นไปที่ สหรัฐฯ กับจีน เป็นหลักซึ่งการลงทุนในจีนเหมือนเป็นการบาลานซ์พอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นไปตามต้องการของลูกค้าว่าจะเลือกตลาดไหน

โดยสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำ คือ หุ้น 51% พันธบัตร 40% ตลาดเงิน 5% และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน 4%  

สำหรับการลงทุนในช่วงนี้ SCB Julius Baer เเนะนำว่าควรจะมุ่งเน้นไปในเเนว Next Generation จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรี่ ความบันเทิงบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ ส่วนภาคธุรกิจที่ควรหลีกเลี่ยง คือการท่องเที่ยว โรงเเรมเเละการบิน เพราะจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด

สำหรับธุรกิจการลงทุน Wealth Management นั้นตอนนี้มีการเเข่งขันสูงมาก เพราะแต่ละปีจะมีปีที่ดีและไม่ดี ถ้าหากจะดูการบริหาร จะดูที่ค่ากลาง 5-7 ปี หรือ 10 ปีดูพอร์ตการลงทุนลูกค้าระยะยาว

ขณะที่ภาพรวมการลงทุนและเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ยังคงเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับนักลงทุน เเต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในไตรมาส และคาดว่า GDP โลกในปี 2021 จะฟื้นตัวขึ้นได้ที่ระดับ 6.5% จากเดิมที่น่าจะติดลบประมาณ 3% ในปีนี้

“เรามองว่าตลาดตราสารทุนมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดสินทรัพย์ปลอดภัย โดยภูมิภาคที่เราเน้นการลงทุน คือ สหรัฐฯ และจีน”

ยึด 3 กลยุทธ์ลุย Wealth Management

กลยุทธ์การดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของไทยนั้น SCB Julius Baer ชู 3 ข้อหลักๆ ได้แก่

  • Expert Advisory การมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีความรู้ เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ รวมถึงบริการอันหลากหลายและความสามารถด้านการบริหารความมั่งคั่งที่ได้มาตรฐานของจูเลียส แบร์
  • Personal Touch บริการที่เข้าใจกลุ่มลูกค้าคนไทยอย่างแท้จริง ด้วย ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์  Relationship Manager (RM) คนไทยที่มีความรู้ ความเข้าใจตลาดเมืองไทย เข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งในเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิตและแนวคิดของคนไทยด้วยกัน พร้อมที่จะให้บริการได้ทันทีเนื่องจากประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในประเทศไทย
  • Seamless Access การให้บริการผ่าน Open Product Platform ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถลงทุนได้ทั่วโลกอย่างอิสระ และสามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

ปั้น RM เสริมทัพใหม่ ดูเเลลูกค้าวีไอพี 

ทีม Relationship Manager ที่จะมาดูแลพอร์ตการลงทุนของลูกค้าของ SCB Julius Baer จะต้องมีประสบการณ์เเละผ่านการเทรนนิ่งมาอย่างน้อย 6-12 เดือน ทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจ และแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม โดยดูจากความต้องการผลตอบแทนการลงทุนของลูกค้า ซึ่งในช่วงปีแรกบริษัทมี RM ราว 10 คน เเละปีนี้จะขยายทีมเพิ่มเป็น 30 คน โดย 1 คนจะดูแลลูกค้า 30 คน

นอกจากนี้ SCB Julius Baer มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลลูกค้าแบบใหม่ที่เรียกว่า New Operating Rhythm – Single Relationship Manager แม้ว่า SCB Julius Baer จะเน้นการลงทุนต่างประเทศให้ลูกค้า แต่ถ้าลูกค้ามีความต้องการที่จะลงทุนในประเทศไทยด้วยทาง Relationship Manager ก็สามารถดูแลลูกค้าได้

ตั้งเป้า 5 ปีมีสินทรัพย์ดูแล 1 ล้านล้านบาท

สำหรับแผนธุรกิจ 5 ปี (2020-2024) ของ SCB Julius Baer วางเป้าหมายว่า จะมีฐานมีลูกค้า 1,000 ครอบครัว บริหารพอร์ตสินทรัพย์ลงทุน 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของกลุ่มบุคคลผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของประเทศไทย โดยถึงสิ้นปีนี้คาดว่าจะทำได้ราว 20,000-24,000 ล้านบาท

โดยกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งคนไทย ปกติจะมีการลงทุนที่หลากหลายทั้งในไทยเเละต่างชาติ ขึ้นอยู่ว่าจะเลือกใช้บริการกับเจ้าใดในด้านไหน ซึ่งซีอีโอ SCB Julius Baer บอกว่า จุดเด่นที่จะทำให้ดึงดูดให้ลูกค้าไว้วางใจที่นี่ ก็คือมาตรฐานการทำงาน ความน่าเชื่อถือของเเบรนด์ เเละผลตอบเเทนที่คุ้มค่า

“SCB Julius Baer ยังมีจุดเด่นด้านการให้คำแนะนำการวางแผนจัดการลงทุนสินทรัพย์ และแผนการส่งต่อของครอบครัวไปยังทายาท ซึ่งคาดว่าจะตอบโจทย์ความต้องการของเศรษฐีเมืองไทยได้เป็นอย่างดี

เปิดบ้าน : สำนักงานเเห่งแรกในไทย คอนเซ็ปต์ Private Luxx

ด้านบรรยากาศภายในของสำนักงานแห่งแรกในเมืองไทย SCB Julius Baer ที่เพิ่งเปิดไปหมาดๆ ใจกลางถนนสุขุมวิท นับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในประเทศไทยที่ตัวอาคารก่อสร้าง ด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัยสไตล์ยูเรเชีย จากเดิมเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้างใหม่ ผสมผสานความโดดเด่นของ ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย และสำนักงานจูเลียส แบร์ ณ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้าไว้ด้วยกัน 

จุดเด่นอยู่ที่ความหรูหราเเละเป็นส่วนตัว ภายใต้คอนเซ็ปต์ Private Luxx” มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้มีลักษณะกึ่งเรสซิเดนท์ เเละตั้งชื่อห้องประชุมตามเมืองที่เป็นสาขาของจูเลียส แบร์ทั่วโลก ซึ่งจะมีการตกเเต่งที่เเตกต่างกันไปตามสถานที่นั้นๆ โดยลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อพูดคุยธุรกิจ หรือเเวะมาพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย 

สำนักงานของ SCB Julius Baer เเห่งนี้ จะไม่มีประตูทางเข้าด้านหน้าเหมือนสาขาทั่วไป เเต่จะมีประตูเเละลิฟต์พิเศษเพื่อบริการลูกค้าโดยเฉพาะ เเละต้องทำการนัดหมายก่อน โดยจะมี RM เป็นผู้ดูแล ซึ่งเเน่นอนไม่ใช่ใครจะเข้ามาก็ได้ เเต่ต้องลูกค้าวีไอพี ผู้มีความมั่งคั่งถือสินทรัพย์ระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไปนั่นเอง

]]>
1294675