เเพ้วัคซีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Nov 2021 12:40:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชาวออสเตรเลียกว่าหมื่นคน จี้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชย หลังเจอ ‘ผลข้างเคียง’ จากวัคซีนโควิด https://positioningmag.com/1362413 Tue, 16 Nov 2021 11:46:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362413 รัฐบาลออสเตรเลีย อาจต้องจ่ายเงินชดเชยกว่า 1.2 พันล้านบาท ให้กับประชาชนนับหมื่นคนที่ได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัควีนโควิด-19

ตอนนี้ ชาวออสเตรเลียมากกว่า 10,000 คน ได้ลงทะเบียนขอรับเงินชดเชยจากการสูญเสียรายได้หลังต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จากผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

สื่อท้องถิ่นอย่าง Sydney Morning Herald รายงานว่า เงินชดเชยในกรณีดังกล่าว จะเริ่มต้นที่คนละ 5,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 1.2 เเสนบาท) หมายความว่า รัฐบาลออสเตรเลียอาจจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับประชาชนทั้งหมด อย่างน้อย 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 1.2 พันล้านบาท) หากคำขอของพวกเขาครั้งนี้ได้รับการอนุมัติ

ด้านเว็บไซต์ Therapeutic Goods Administration (TGA) ของออสเตรเลีย ได้รับรายงานอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เกือบ 79,000 รายการ จากยอดฉีดวัคซีนโควิดทั้งหมด 3.68 ล้านโดส โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เจ็บแขน ปวดหัว มีไข้ และหนาวสั่น

ในจำนวนนี้มี 288 รายการ ที่ถูกประเมินว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนของ Pfizer รวมถึง 160 รายการ ที่มีอาการเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน AstraZeneca

TGA ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 9 รายที่เชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน เเละส่วนใหญ่มักมีอายุ 65 ปีขึ้นไป

ออสเตรเลียกำลังเร่งฉีดวัคซีนโควิดในช่วงครึ่งหลังของปีหลังสายพันธุ์เดลตาทำให้เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างซิดนีย์และเมลเบิร์นต้องล็อกดาวน์นานหลายเดือน โดยเริ่มมีการคลายข้อจำกัดต่างๆ ลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอัตราการกระจายวัคซีนเพิ่มขึ้น

ล่าสุด ชาวออสเตรเลียประมาณ 17.9 ล้านคน หรือคิดเป็นกว่า 69.6% ของประชากรทั้งหมดได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว นับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม มีประชาชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันประท้วงรัฐบาล เพื่อต่อต้านคำสั่ง ‘บังคับฉีดวัคซีน’ สอดคล้องกับการประท้วงที่เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ

โดยกฎที่ห้ามให้ผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนโควิด เข้าบาร์เเละร้านอาหารต่างๆ เพื่อควบคุมโรคเเละกระตุ้นการกระจายวัคซีนนั้น ในอีกมุมหนึ่งก็ทำให้มีการขาย ‘ใบรับรองฉีดวัคซีนโควิดปลอม’ เพิ่มขึ้นในตลาดมืดทางออนไลน์ด้วย

 

ที่มา : Bloomberg , Sydney Morning Herald

]]>
1362413
“มาเลเซีย” แยกศูนย์ฉีด “AstraZeneca” ไม่รวมในวัคซีนโครงการหลัก แก้ปัญหาความกังวล https://positioningmag.com/1329914 Thu, 29 Apr 2021 07:32:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329914 “มาเลเซีย” เร่งแก้ปัญหาความวิตกกังวลของประชาชนหลังมีข่าวผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจ “แยก” วัคซีนยี่ห้อนี้ออกจากโครงการหลัก มีศูนย์ฉีดให้โดยเฉพาะสำหรับประชาชนที่พิจารณาข้อดีข้อเสียแล้วและสมัครใจฉีด AstraZeneca

สำนักข่าว Channel News Asia รายงานจากเวทีแถลงข่าวของรัฐบาลมาเลเซีย ประกอบด้วย “ไครี จามาลุดดิน” รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมด้วย “อัดฮัม บาบา” รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โดยไครีกล่าวว่า วัคซีน AstraZeneca จะไม่ถูกใช้งานในโครงการวัคซีนหลักของชาติ

ไครีระบุว่า แม้ผู้เชี่ยวชาญจะพบว่าประโยชน์ของการใช้วัคซีน AstraZeneca จะมีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตันก็ตาม แต่รัฐบาลก็รับฟังความกังวลและความคลางแคลงใจของสังคมที่มีต่อวัคซีนยี่ห้อนี้

“ต่อประเด็นนี้ ผมและดร.อัดฮัมได้หารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการใช้งานวัคซีน AstraZeneca เราไม่ต้องการจะปล่อยให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เราเข้าใจดีว่าในขณะนี้วิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริงไม่อาจเอาชนะความกลัวและข่าวปลอมที่แพร่กระจายไปทั่วแล้ว” ไครีอธิบาย

“จากการหารือของเรา เราตัดสินใจว่าจะยังคงใช้วัคซีน AstraZeneca ต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็รับมือกับความกลัวและความกังวลของประชาชนที่มีต่อ AstraZeneca แม้จริงๆ แล้วจะไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม”

Photo : Shutterstock

ดังนั้น รัฐบาลมาเลย์จะมีศูนย์ฉีดวัคซีนพิเศษที่ใช้วัคซีน AstraZeneca เท่านั้น และวัคซีนยี่ห้อนี้จะไม่รวมอยู่ในโครงการวัคซีนหลักของรัฐ

“เราจะเปิดศูนย์นี้สำหรับผู้ที่สมัครใจฉีด หลังจากบุคคลนั้นได้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ AstraZeneca แล้วและต้องการจะลงทะเบียนในศูนย์พิเศษเพื่อรับวัคซีนตัวนี้” ไครีกล่าว

ทั้งนี้ The Strait Times รายงานว่า ปัจจุบันมาเลเซียเริ่มใช้วัคซีนแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ Pfizer-BioNTech และ Sinovac ส่วนวัคซีน AstraZeneca เพิ่งส่งมอบ ขณะที่วัคซีน CanSino จากจีนอยู่ระหว่างพิจารณารับรอง และเป็นวัคซีนความหวังสำหรับพื้นที่ชนบทห่างไกล เพราะฉีดเพียงแค่โดสเดียวก็เพียงพอ

แทนที่จะเสียวัคซีนนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 268,600 โดส วัคซีนชุดนี้จะถูกนำไปกระจายในรัฐสลังงอร์และเขตปกครองกัวลาลัมเปอร์แทน โดยวัคซีนชุดนี้เป็นลอตแรกที่รัฐบาลมาเลย์ได้มาจากการซื้อผ่านโครงการ COVAX และลอตต่อไปจะมาถึงในเดือนพฤษภาคมนี้

ไครียังย้ำอีกครั้งว่า อัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีด AstraZeneca มีเพียง 4 เคสต่อ 1 ล้านโดสเท่านั้น เปรียบเทียบกับคนที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันเนื่องจากติดเชื้อโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้น 165,000 คนต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน หรือเกิดขึ้นกับคนที่สูบบุหรี่ 1,763 คนต่อผู้สูบบุหรี่ 1 ล้านคน

มาเลเซียวางเป้าจะฉีดวัคซีนให้ถึง 80% ของประชาชนภายในสิ้นปีนี้ นั่นหมายถึงจะต้องฉีดวัคซีนให้คนอย่างน้อย 26.7 ล้านคน แต่ขณะนี้รัฐบาลกำลังวิตกเพราะมีชาวมาเลย์ลงทะเบียนต่อคิวรับการฉีดเพียง 1 ใน 4 ของประชากร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัคซีนยังมีซัพพลายเข้ามาน้อยกว่าดีมานด์ รัฐบาลจึงยังรอดูสถานการณ์ต่อไปก่อน

Source: CNA, The Strait Times

]]>
1329914
‘คนอังกฤษ’ เมินฉีดวัคซีน ‘แอสตราเซเนกา’ เพิ่มขึ้น กังวลความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน https://positioningmag.com/1329842 Wed, 28 Apr 2021 14:04:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329842 ผลสำรวจพบ ความนิยมของวัคซีนแอสตราเซเนกา’ (AstraZeneca) ในหมู่คนอังกฤษลดลงอย่างมาก หลังมีรายงานผลข้างเคียงหลังฉีด ที่เชื่อมโยงกับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

จากผลสำรวจความเห็นของประชาชนเกือบ 5,000 คนในสหราชอาณาจักร ช่วงเดือนเมษายน พบว่า ประชาชนมีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา เเละมีและความเชื่อว่าจะทำให้เลือดภาวะอุดตันลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น

ผลการศึกษาทางวิชาการของอังกฤษ พบว่า กลุ่มคนที่เคยประสงค์จะฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่มีอยู่ราว 24% ในเดือนมีนาคม ลดลงเหลือเพียง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนเมษายนเท่านั้น

ขณะที่ 23% เชื่อว่าวัคซีนของแอสตราเซนเนกานั้น ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กลับมีเพิ่มขึ้นจากระดับ 13% ในเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษอีก 39% ยังคงเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ เเละอีก 38% ระบุว่า พวกเขายังไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

Photo : Shutterstock

โดยผลการศึกษานี้ ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยบริสทอล คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ร่วมกับสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ (NIHR) จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 1-16 เมษายน

ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลังได้รับข่าวสารใหม่ เมื่อทางการอังกฤษประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา จะเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากจากนั้นมีชาติในยุโรปอย่างเดนมาร์กตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนนี้

ขณะท่ี่ผลการทดลองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่าวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ‘แอสตราเซเนกา’ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพ 79% ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยและได้ผล 100% ในการป้องกันโรครุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ 80%

อย่างไรก็ตาม เเม้ข้อกังขาในผลข้างเคียงของวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น เเต่ก็เกิดขึ้นเฉพาะยี่ห้อเท่านั้น เนื่องจากความพึงพอใจการในการควบคุมวิกฤตโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนโดยรวมนั้นมีมากขึ้น

โดยกว่า 81% มองว่า วัคซีนมีความปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากระดับ 73% ในช่วงปลายปี 2020 เเละชาวอังกฤษกว่า 86% เชื่อว่าการทำงานของวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นจากระดับ 79% ในช่วงเดือนพฤศจิกายนธันวาคมของปีที่เเล้ว

 

ที่มา : CNBC , Reuters 

]]>
1329842
รวมมิตร 8 ประกันภัย คุ้มครองผลกระทบจากการ ‘แพ้วัคซีนโควิด-19’ https://positioningmag.com/1329128 Wed, 28 Apr 2021 11:20:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329128 วัคซีนโควิดเป็นความหวังของคนทั่วโลกที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง การกระจายวัคซีนที่รวดเร็ว จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระตุ้นความเชื่อมั่น เเละรักษาชีวิตของประชาชน

เเต่จากการที่วัคซีนโควิด มีการคิดค้นเเละทำวิจัยอย่างเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์คับขันเช่นนี้ อาจทำให้มีผลข้างเคียงต่างๆ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งอาการเเพ้วัคซีนนั้นส่งผลต่อสุขภาพ เเละหากเเพ้รุนเเรงเเละไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น รัฐจึงควรจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนที่ออกมาฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ในเร็ววัน

ท่ามกลางความกังวลนี้ บรรดาบริษัทประกันทั้งหลาย จึงเริ่มเสนอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการแพ้วัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ รวมไปถึงประกันโควิด-19 ที่ครอบคลุมอาการแพ้วัคซีน ออกมาจับตลาดผู้บริโภคในทันที วันนี้ Positioning รวมรวบข้อมูลเปรียบเทียบเบี้ยประกันเเละความคุ้มครองต่างๆ ‘เบื้องต้น’ ดังนี้

ทั้งนี้ ก่อนจะเลือกซื้อประกันใดๆ ศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ ความคุ้มครองเเละ ‘เงื่อนไข’ ของแต่ละบริษัทให้รอบคอบเเละครบถ้วน ตรวจสอบอีกครั้งกับทางบริษัทประกันโดยตรงหรือโบรกเกอร์ที่ให้บริการ

ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ 

เป็นประกันที่ออกมาเพื่อเจอกรณี ‘เเพ้วัคซีน’ มีผลข้างเคียงขึ้นมาหลังฉีด มักจะมาในรูปเเบบการชดเชยด้วยเงินค่าปลอบขวัญ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ให้เงินชดเชยกรณีเกิดอาการโคม่าและเสียชีวิต ตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนด

1.กรุงเทพประกันภัย

นำเสนอประกันที่คุ้มครองการแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล รับเงินปลอบขวัญเมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พร้อมรองรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

โดยมี 3 เเผนให้เลือก เบี้ยประกันต่อปี เริ่มต้นที่ 99 บาท 489 บาท และ 859 บาท ส่วนผู้ที่มีประกันโควิด-19 ของบริษัทอยู่แล้ว จะได้รับ ‘ราคาพิเศษ’ คือ เริ่มต้นที่ 79 บาท 389 บาท และ 679 บาท ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความคุ้มครองและวงเงินที่จะได้รับ

เงื่อนไขการรับประกันภัย 

  • รับประกันภัยสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-100 ปี
  • รับประกันภัยบุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
  • รับประกันภัยทุกอาชีพ
  • ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้คนละ 1 ฉบับ
  • แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : bangkokinsurance
สอบถามเพิ่มเติม : ทีมพัฒนาลูกค้ารายย่อยกรุงเทพประกันภัย โทร 0-2285-8585

2. เทเวศประกันภัย ร่วมกับ SCB 

เป็นประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับวัคซีน มีทั้งสิ้น 4 แผนด้วยกัน เบี้ยประกัน เริ่มต้นที่ 88 – 1,340 บาท คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท สำหรับการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า มีค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยใน เงินชดเชยรายได้สูงสุดวันละ 2,000 บาท นำเสนอประกันเเละซื้อได้ผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : SCB 
สอบถามเพิ่มเติม : เทเวศประกันภัย โทร. 1291 จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00–18.00 น., เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 19.00 น. หรือ www.deves.co.th

3. Tip Insure 

เป็นประกันภัยวัคซีนโควิด-19 ในเครือทิพยประกันภัย สมัครได้ทั้งลูกค้าทิพยฯ ที่ต้องการซื้อเพิ่มหรือลูกค้าทั่วไป มีให้เลือก 2 แผน ราคาเบี้ยประกันต่อปี 70 บาท และ 120 บาท เน้นคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า อันเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง จากการฉีดวัคซีนโควิดสูงสุด 1 ล้านบาท เเละการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน สูงสุด 1 เเสนบาทต่อปี เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : Tip Insure
หรือโทร. 1736

4. สินมั่นคงประกันภัย

ประกันภัยการแพ้วัคซีนของสินมั่นคงประกันภัย สามารถซื้อได้แม้ไม่เคยมีประกันภัยการติดเชื้อโควิด ราคาเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 30-390 บาท มีให้เลือกทั้งสิ้น 6 เเผน ครอบคลุมทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน ค่าปลอบขวัญ หากต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 5 วัน หรือหากกรณีมีอาการรุนแรงถึงขั้นโคม่า รับเงินช่วยเหลือเพิ่ม รวมความคุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : SMK
หรือโทร. 1596

ประกันโควิด-19 ที่รวมการ ‘แพ้วัคซีน’ 

นอกจากประกันกรณีการเเพ้วัคซีนโควิด-19 ที่ลูกค้าต้องการซื้อเพิ่มโดยเฉพาะเเล้ว ยังมีการ ‘ขยายรูปแบบ’ เป็นประกันโรคโควิด-19 ที่ครอบคลุมการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนด้วย จะเน้นไปที่การชดเชยค่าชดเชยจากการติดโควิด-19 (เจอจ่ายจบ) เเละค่ารักษาพยาบาลเมื่อติดโรคเป็นหลัก โดยพ่วงค่าชดเชยการเเพ้วัคซีนเข้าไปเป็นตัวเสริม 

5. ไทยประกันภัย

เปิดตัวแผนประกัน ‘TIC Covid-19 Plus’ ที่ขยายความคุ้มครองครอบคลุมถึงกรณีแพ้วัคซีนโควิด มีให้เลือก 3 เเผน ราคาเบี้ยประกันต่อปี 359 บาท 579 บาท และ 689 บาท

กรณีมีอาการแทรกซ้อนจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (IPD) สูงสุด 20,000 บาท และความคุ้มครองจากการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า หรือการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย หรือโรคร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือมาจากการแพ้วัคซีนโควิด-19 สูงสุด 3 เเสนบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

รายละเอียดแผนประกันภัย TIC Covid-19 Plus ของ TIC ไทยประกันภัย แบ่งเป็น 3 แผนดังนี้

  • แผน 1 จ่ายเบี้ยประกันภัยคนละ 359 บาท/ปี กรณีตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 50,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 10,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 150,000 บาท
  • แผน 2 จ่ายเบี้ยประกันภัย คนละ 579 บาท/ปี กรณีตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 75,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 15,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 225,000 บาท
  • แผน 3 จ่ายเบี้ยประกันภัยรายละ 689 บาท/ปี กรณีที่ตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 100,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 20,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 300,000 บาท

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : thaiins
หรือโทร. 02-613-0123

6. เมืองไทยประกันชีวิต

ประกันโควิด-19 ของเมืองไทยประกันชีวิต มี 2 รูปแบบที่ครอบคลุมอาการแพ้วัคซีน ราคาเบี้ยประกันที่ 900 บาทต่อปี และ 1,200 บาทต่อปี เสนอค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ เเละให้วงเงินค่ารักษากรณีแพ้วัคซีนที่ 50,000 บาทเท่ากัน หากมีภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จะมีความคุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

อ่านรายละเอียดได้ที่ : muangthaiinsurance 

นอกจากนี้ เมืองไทยประกันชีวิต ยังมี ‘ประกันเเพ้วัคซีน’ ที่สามารถซื้อเเยกได้โดยเฉพาะ ราคาเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 99-699 บาท ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีน เงินชดเชยรายวันจากการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือหากมีภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีนจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 1.5 ล้านบาท

อ่านรายละเอียดได้ที่ : muangthaiinsurance 
หรือโทร. 1484

7. ทิพยประกันภัย

ประกันภัยโควิด-19 แบบจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ ราคาเบี้ยประกัน ตั้งเเต่ 450- 1,250 บาท ครอบคลุมการรักษากรณีแพ้วัคซีนสูงสุด 1 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

อ่านรายละเอียดได้ที่ : TQM
หรือโทร. 1737 กด 4

8. สินทรัพย์ประกันภัย 

มีประกันโควิด-19 ทั้งแบบเจอจ่ายจบเเละจ่ายค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันต่อปี 499-999 บาท ครอบคลุมกรณีแพ้วัคซีนทั้งหมด โดยหากมีภาวะโคม่าจากการป่วยโรคโควิดจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท เเละหากมีภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีนจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 2 เเสนบาท

อ่านรายละเอียดได้ที่ : TQM
หรือโทร. 1729

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 64

*แผนประกันที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลารอคอย 14 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้เป็นครั้งแรก

*โปรดทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

 

]]>
1329128