แกร็บ (Grab) – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Sep 2023 11:42:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “GrabAds” ไลน์ธุรกิจ “โฆษณา” ของแกร็บ เดินหน้ารุกกลุ่มลูกค้า FMCG-ยานยนต์-การเงิน https://positioningmag.com/1443745 Thu, 07 Sep 2023 11:10:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443745 จากป้ายโฆษณาในรถแท็กซี่ สู่ไลน์ธุรกิจโฆษณาแบบครบวงจร GrabAds” ไลน์ธุรกิจใหม่ของ “แกร็บ” วางเป้าบุกอุตสาหกรรม FMCG-ยานยนต์การเงิน ชี้จุดขายสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก (Retail Media Network) เจาะลูกค้าได้ตรงเป้ามากกว่าด้วยอินไซต์ข้อมูลภายใน (First-Party Data Insights)

“แกร็บ” อยู่ในประเทศไทยมานาน 10 ปี ขยายธุรกิจจนปัจจุบันมีขาหลักคือ ขนส่ง, เดลิเวอรี และการเงิน ล่าสุดแกร็บตั้งอีกหนึ่งไลน์ธุรกิจขึ้นมาเป็นขาสำคัญคือ “GrabAds” หรือธุรกิจโฆษณาของแกร็บ

ไลน์ธุรกิจนี้เริ่มขึ้นในระดับภูมิภาคมาตั้งแต่ปี 2561 และเริ่มนำเข้ามาใช้ในไทยเมื่อปี 2562 โดยเริ่มจากการติดป้ายโฆษณาในรถแท็กซี่/แกร็บคาร์ เพื่อแบ่งปันรายได้ให้กับคนขับ ก่อนจะขยายมาถึงโฆษณาภายในแอปพลิเคชัน ให้ร้านอาหารต่างๆ สามารถลงโฆษณาเพื่อ ‘ดัน’ ร้านของตนเองขึ้นมาด้านบนและเห็นเด่นชัดขึ้น

ในที่สุด แกร็บปรับตัวเองมาเป็นธุรกิจโฆษณาเต็มรูปแบบเมื่อ 6 เดือนก่อน ในฐานะ “สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก” (Retail Media Network: RMN) เป็นพื้นที่ให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคผ่านทุกช่องทางของแกร็บเอง ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ มีพื้นที่โฆษณาครบลูปตั้งแต่ป้ายบนรถแท็กซี่ แจกสินค้าตัวอย่าง (sampling) พ่วงไปกับฟู้ดเดลิเวอรี จนถึงแบนเนอร์บนแอปพลิเคชัน

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย แบ่งปันกรณีตัวอย่างลูกค้าที่ไม่ใช่ร้านอาหาร (non-restaurant) ที่เคยใช้บริการโฆษณากับ GrabAds เช่น

  • อายิโนะโมะโต๊ะ – ต้องการเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รู้จักแบรนด์มากขึ้น จึงผนึกกับแกร็บ แจกสินค้าตัวอย่างผ่านคำสั่งซื้อเดลิเวอรีร้านส้มตำชื่อดัง เช่น แซ่บวัน รัชดา, เจ๊แดง สามย่าน เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์และเลือกซื้อในอนาคต
  • เป๊ปซี่ – ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “เป๊ปซี่ ไลม์” จึงต้องการโปรโมตในฐานะเครื่องดื่มคู่กับมื้ออาหาร โดยลงโฆษณากับแกร็บแบบครบลูป ทั้งโฆษณาแบนเนอร์ในแอปฯ ป้ายโฆษณาบนกล่องส่งอาหารของไรเดอร์ และแรปรอบคันรถแกร็บคาร์
  • Xiaomi – ออกสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ต้องการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ จึงเลือกลงโฆษณาในแอปฯ ซึ่งผู้ใช้มีลักษณะ ‘Tech savvy’ สนใจเทคโนโลยีสูง
GrabAds
ตัวอย่างการใช้งาน GrabAds ของเป๊ปซี่

 

GrabAds ชูจุดขาย “อินไซต์” จากการซื้อจริง

จันต์สุดากล่าวว่า สื่อโฆษณาแบบ RMN ถือว่าค่อนข้างใหม่ในไทย แต่ข้อมูลจาก Group M ประเมินว่า RMN จะเป็นคลื่นลูกใหม่ในวงการโฆษณา เม็ดเงินโฆษณาทั่วโลกของ RMN จะแซงหน้าเม็ดเงินในกลุ่มโฆษณาโทรทัศน์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

เหตุที่ RMN จะได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะโฆษณาที่อยู่บนแพลตฟอร์มของค้าปลีกเจ้านั้นๆ เป็นผู้ดูแลแบบครบลูปทั้งหมด มีจุดแข็งหลายประการ เช่น

1.อินไซต์ผู้บริโภคชัดเจนและแม่นยำกว่า

ในโลกที่การเก็บ ‘cookies’ ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์ยุ่งยากขึ้นเพราะกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนตัว ทำให้การลงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายในโซเชียลเน็ตเวิร์กค่อนข้างจะยาก

ในทางกลับกัน RMN มีข้อมูลผู้บริโภคจากการใช้ซื้อสินค้าและบริการจริงกับตัวแพลตฟอร์มเอง (First-Party Data Insights) ซึ่งทำให้เข้าใจพฤติกรรม ความชอบ ไลฟ์สไตล์ ที่ชัดเจนและแม่นยำมากกว่า

แกร็บ สามารถจัดประเภทลูกค้า (Persona) ได้จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการใช้แกร็บคาร์ เช่น คุณอุ้ม มักจะสั่งสินค้าทีละมากๆ และมีการนั่งรถไป-กลับโรงเรียนทุกเช้าเย็นวันธรรมดา สะท้อนว่าคุณอุ้มน่าจะเป็นคุณแม่ที่คอยดูแลครัวเรือนและเป็นครอบครัวที่มีลูกแล้ว หรือ คุณวา มักจะสั่งซื้อเฉพาะอาหารคลีน สินค้าสุขภาพ และมีการนั่งรถไปฟิตเนสบ่อยๆ สะท้อนว่าคุณวาเป็นคนรักสุขภาพ

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้แบรนด์สามารถส่งแคมเปญไปถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มมากกว่า และไม่ใช่แค่ความน่าจะเป็นบนโซเชียลมีเดีย แต่ลูกค้าเหล่านี้มีการซื้อจริง

 

2.ผู้บริโภคไม่รู้สึกถูกขัดจังหวะ

ผู้บริโภคที่เข้ามาในแอปฯ ค้าปลีก มักจะต้องการหาซื้ออะไรบางอย่างอยู่แล้ว การเห็นโฆษณาในแอปฯ เหล่านี้จึงไม่รู้สึก ‘ถูกขัดจังหวะ’ ต่างจากการเห็นโฆษณาระหว่างชมคอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย รวมถึงแอปฯ ค้าปลีกมีโอกาสปิดการขายได้ทันทีด้วยเพราะเป็นพื้นที่ขายสินค้าอยู่แล้ว

 

3.ความน่าเชื่อถือสูง

เนื่องจากเป็นระบบปิดภายในแพลตฟอร์มเท่านั้น ทำให้แบรนด์ปลอดภัยกว่า โดยจากการวิจัยพบว่าผู้บริโภค 84% มองว่าโฆษณาที่ปรากฏกับ GrabAds มีความน่าเชื่อถือ

 

แน่นอนว่า ข้อเสียของ GrabAds ก็มีเช่นกัน นั่นคือข้อจำกัดบางประการ เช่น ระยะเวลาที่ผู้ใช้ใช้เวลาบนแอปฯ แกร็บจะอยู่ที่เฉลี่ย 17 นาที น้อยกว่ากลุ่มโซเชียลมีเดียมาก การเข้าถึง (reach) จึงอาจจะไม่สูง แต่แกร็บต้องการชูจุดขายการโฆษณาให้ตรงเป้าหมาย

รวมถึงโปรไฟล์ของผู้ใช้แกร็บ จะมีลักษณะเป็น “คนเมือง” “คนรุ่นใหม่ Gen Y – Gen Z” “รายได้ระดับกลางถึงบน” ดังนั้น ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ตรงกับโปรไฟล์ผู้ใช้ เช่น สินค้าสำหรับคนชนบท, สินค้าสำหรับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์, สินค้าระดับกลางล่าง เหล่านี้อาจจะไม่คุ้มค่าในการลงโฆษณาใน GrabAds

 

บุกกลุ่มธุรกิจ FMCG-ยานยนต์-การเงิน

จันต์สุดากล่าวต่อไปว่า จากฐานลูกค้าเดิมของ GrabAds ที่ได้จากกลุ่มร้านอาหารอยู่แล้วนั้น ต่อจากนี้จะบุกอุตสาหกรรมที่ขยายวงโคจรออกจากแอปฯ มากขึ้น โดยวัดจากแนวโน้มการใช้เม็ดเงินโฆษณาในปี 2566 แล้ว บริษัทจะเน้นใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG), กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มสถาบันการเงินและธนาคาร

GrabAds
ตัวอย่างการลงโฆษณาของกลุ่มยานยนต์กับกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ในกลุ่ม FMCG อาจจะพอนึกภาพความเชื่อมโยงได้ เพราะแกร็บมีฟังก์ชัน “GrabMart” ลูกค้าเห็นโฆษณาแล้วสามารถจูงใจให้เพิ่มสินค้านั้นลงตะกร้าได้ทันที

แต่ในสินค้าอย่าง “ยานยนต์” หรือ “การเงิน” จันต์สุดายอมรับว่าบริษัทจะต้องให้ข้อมูลเพิ่มอีกมาก ถือเป็นความท้าทายที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับแบรนด์ว่า GrabAds จะตอบสนองไปถึงอุตสาหกรรมเหล่านั้นได้อย่างไร

ทั้งนี้ เชื่อว่าบริษัทสามารถสร้างแรงจูงใจได้ โดยที่ผ่านมามีลูกค้าแบรนด์ที่เคยทำแคมเปญร่วมกันมาแล้ว เช่น Volvo, Mercedes-Benz, MG, KBank, Kept by Krungsri, AIA เป็นต้น

]]>
1443745
COO ของ Grab ยืนยันไม่ปลดพนักงานจำนวนมาก แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1401654 Sun, 25 Sep 2022 06:17:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401654 Alex Hungate ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Grab ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทาง Reuters ครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เขากล่าวว่าบริษัทจะไม่มีการปลดพนักงานจำนวนมากเหมือนกับบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งได้ทำ ขณะเดียวกันเขาก็ยังพูดถึงการปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเน้นทำกำไรมากขึ้น รวมถึงหาลู่ทางใหม่ๆ ให้กับบริษัทด้วย

ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Grab ได้กล่าวกับ Reuters ถึงความกังวลของบริษัทในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคือเรื่องสภาวะเศรษฐกิจและทำให้บริษัทรอบคอบในการจ้างพนักงาน ขณะที่ในช่วงกลางปีนั้นบริษัทได้ปรับรูปแบบองค์กร แต่เขาเองก็รู้ว่าบริษัทอื่นๆ เริ่มที่จะมีการปลดพนักงานจำนวนมาก แต่เขารู้ว่าที่ Grab นั้นไม่ใช่บริษัทประเภทเหล่านั้น

เขายังชี้ว่าถ้าหากบริษัทมีการสำรองเงินทุนไว้แล้ว เรื่องของการจ้างงานก็จะไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด

ในช่วงที่ผ่านมา Grab เองก็ยังมาเน้นธุรกิจในด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกสินเชื่อ หรือประกันภัย ให้กับคนขับหรือร้านค้าต่างๆ ซึ่งประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Grab ได้กล่าวว่าบริษัทได้กำลังมุ่งสู่ธุรกิจที่มีอัตรากำไรเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้เขายังกล่าวว่าในช่วงเวลาเช่นนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับบริษัทในการพิจารณาในการวางแผนการเงินของบริษัทว่าจะทำเช่นไร ซึ่งเขาเน้นย้ำว่าบริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินถึง 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องดีที่สุดบริษัทหนึ่ง 

]]>
1401654
3 ปีที่รอคอยกับ “กม. แอปเรียกรถ” ถูกกฎหมาย จับตาโค้งสุดท้ายก่อนใช้จริง https://positioningmag.com/1333971 Thu, 27 May 2021 06:44:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333971 เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้พยายามผลักดันให้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถนำมาให้บริการรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย

จนกระทั่งถึง “โค้งสุดท้าย” ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เมื่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เผยว่า ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ .. …. ดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยหลังจากนี้จะจัดทำประกาศตามกฎกระทรวงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

คาดว่าประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน หรือไม่เกินเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะกับภาครัฐเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม

รู้จักบริการ และร่างกฎหมายแอปเรียกรถ

ในยุคสมัยที่ชีวิตของผู้คนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทั้งการเข้าถึงสมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตที่ง่ายและสะดวกสบาย ประกอบกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีและดิจิทัลที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว และการเติบโตของสังคมเมือง รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น

ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงบริการ เรียกรถผ่านแอป (Ride-hailing) มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลาง เพื่อเชื่อมต่อผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการให้สามารถเจอกับผู้ขับขี่ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้กฎหมายไทยยังไม่ได้เปิดกว้างหรือรองรับให้สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการสาธารณะได้ โดยเน้นให้ความสำคัญไปกับรถรับจ้างอย่างแท็กซี่เท่านั้น

กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก จึงได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่จะทำให้ประชาชนสามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเป็น “รถยนต์รับจ้าง” กับกรมการขนส่งทางบกเพื่อนำไปให้บริการสาธารณะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หรือแอปพลิเคชัน) ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถหลายราย ไม่ว่าจะเป็น แกร็บ (Grab), โบลท์ (Bolt), ไลน์แมน แท็กซี่ (LINE MAN Taxi), โกเจ็ก (Gojek), ทรูไรด์ (True Ryde) และบอนกุ (Bonku)

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวยังครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดขนาด กำลังขับเคลื่อน (กิโลวัตต์) หรือประเภทของรถที่จะสามารถนำมาให้บริการ การต้องติดเครื่องหมายบนตัวรถว่าเป็นรถที่ให้บริการผ่านแอป การกำหนดอายุการใช้งานของรถที่ต้องไม่เกิน 9 ปี และต้องตรวจสภาพรถตามหลักเกณฑ์ของกระทรวง รวมไปถึงการกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพ

ขณะที่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต้องมีระบบการลงทะเบียนคนขับ การกำหนดให้ต้องมีการแสดงตัวตนของคนขับ เลขทะเบียนรถ ระยะทาง ระบบติดตาม-ตรวจสอบเวลา สถานที่รับส่ง ระบบคิดอัตราค่าโดยสารล่วงหน้า ตลอดจนระบบแจ้งข้อร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือ เป็นต้น

เมื่อถูกกฎหมาย ใครบ้างที่ได้ประโยชน์

  • ผู้โดยสาร

หรือประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะจะได้รับความสะดวกสบายในการสัญจรเดินทาง ซึ่งเพิ่มทางเลือกให้สามารถใช้บริการได้ทั้งการโบกรถแท็กซี่แบบเดิม หรือเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้มารับได้ถึงที่โดยไม่ต้องรอนาน สามารถคาดการณ์ระยะเวลาการเดินทางได้ ทั้งยังมีการแสดงราคาที่โปร่งใสให้ทราบก่อนการเดินทางทุกครั้ง

และยังสามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะด้วยเงินสดหรือตัดบัญชีผ่านแอปพลิเคชันได้เลย  ที่สำคัญคือ มาตรฐานด้านความปลอดภัย เพราะมีระบบติดตามการเดินทางแบบเรียลไทม์ มีฐานข้อมูลของคนขับที่สามารถตรวจสอบได้หากมีเหตุฉุกเฉิน และมีระบบร้องเรียนหรือระบบให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา

  • ผู้ขับขี่

สามารถหารายได้เสริม และสร้างประโยชน์จากทรัพย์สินอย่างรถยนต์ที่มีอยู่เพื่อก่อให้เกิดรายได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องโดนดำเนินคดีทางกฎหมายเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันหลายรายยังมอบสิทธิประโยชน์ให้กับคนขับเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นประกันอุบัติเหตุในขณะให้บริการ ระบบหรือเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้คนขับ รวมไปถึงบางรายอาจมีผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอย่างสินเชื่อ หรือการผ่อนชำระสินค้าเพื่อสนับสนุนหรือแบ่งเบาภาระให้กับคนขับด้วย

  • แพลตฟอร์ม หรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน

ถือเป็นโอกาสในการพัฒนา และขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเมื่อเปิดให้มีการแข่งอย่างเสรี ย่อมส่งผลให้เกิดการยกระดับของทั้งอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านมาตรฐานการบริการที่ดียิ่งขึ้น ราคาในการให้บริการที่สมเหตุสมผล  ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง

  • คนขับรถแท็กซี่

ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าบริการเหล่านี้จะมาแย่งอาชีพหรือแย่งผู้โดยสาร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาครัฐพยายามสร้างความสมดุลเพื่อให้อุตสาหกรรมบริการเดินทางขนส่งสาธารณะ เกิดการพัฒนาและเดินหน้าได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ในหลายมิติ เช่น การขยายอายุรถแท็กซี่จาก 9 เป็น 12 ปี การลดภาระต้นทุนติดตั้งอุปกรณ์ส่วนตัว โดยสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันเข้ามาแทนที่

ปัจจุบัน คนขับแท็กซี่หลายหมื่นรายหันมาหารายได้จากการรับงานผ่านแอปเรียกรถเหล่านี้อยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสในการหารายได้ได้สองช่องทาง ทั้งจากการรับงานแบบดั้งเดิมที่ผู้โดยสารโบกเรียกตามท้องถนน และการรับผู้โดยสารจากแอปเรียกรถที่จะช่วยประหยัดเวลาในการวนหาลูกค้า

  • ผลประโยชน์ที่เกิดกับประเทศ

การที่แอปเรียกรถถูกกฎหมายถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งในการสนับสนุนนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” (Thailand 4.0) ของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนของรายได้ในระบบเศรษฐกิจมหภาค ยกระดับมาตรฐานในด้านการเดินทางและขนส่ง

รวมไปถึงช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คุ้นชินกับการเรียกรถผ่านแอป รวมทั้งการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในเมืองรอง ซึ่งไม่มีระบบขนส่งสาธารณะรองรับ ที่สำคัญ การทำให้แอปเรียกรถถูกกฎหมาย ยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันและเป็นอีกก้าวสำคัญในการผลักดัน และพัฒนากฎหมายรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับบริบทของธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบันต่อไปในอนาคต

ปัจจุบันมีการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการรับส่งคนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ นับหลายหมื่นคัน ยังไม่นับรวมคนขับแท็กซี่จำนวนมากที่หันมารับงานจากแอปเรียกรถเหล่านี้ ฝันของประชาชนคนไทยที่จะสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวมาประกอบอาชีพได้อย่างถูกกฎหมายไม่ใช่เรื่องลมๆ แล้งๆ อีกต่อไป แม้จะตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือเวียดนาม แต่ก็ยังไม่สายเกินไป… อดใจอีกนิด ไม่นานเกินรอ

]]>
1333971