แคนาดา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Jan 2024 11:42:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แคนาดา” ปรับลดโควตา “นักเรียนต่างชาติ” หลังเกิดปัญหา “ที่อยู่อาศัย” ไม่พอให้คนท้องถิ่น https://positioningmag.com/1459948 Tue, 23 Jan 2024 09:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459948 “แคนาดา” ประกาศลดโควตา “นักเรียนต่างชาติ” เป็นเวลา 2 ปี หลังจำนวนนักเรียนพุ่งทะยานขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนเกิดปัญหา “ที่อยู่อาศัย” ไม่เพียงพอสำหรับคนท้องถิ่น

เมื่อปี 2023 แคนาดาอนุมัติวีซ่านักเรียนไปเกือบ 1 ล้านราย มากกว่าค่าเฉลี่ยที่เคยอนุมัติเมื่อทศวรรษก่อนถึง 3 เท่า ส่วนนโยบายการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาตินี้จะปรับลดจากที่เคยให้เมื่อปีก่อนไปประมาณ 1 ใน 3

มาร์ค มิลเลอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการอพยพย้ายถิ่นฐานของแคนาดา ประกาศว่า รัฐบาลแคนาดามีนโยบายจะจำกัดโควตานักเรียนต่างชาติต่อเนื่อง 2 ปี ทำให้ปี 2024 นี้จะมีวีซ่านักเรียนที่ไม่ได้รับอนุมัติประมาณ 364,000 ราย

นโยบายใหม่นี้ยังจะจำกัดจำนวนใบอนุญาตทำงาน (work permit) ที่จะให้กับนักเรียนต่างชาติด้วย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเลือกกลับประเทศบ้านเกิดหลังเรียนจบ ทั้งนี้ ใบอนุญาตทำงานนี้ปกติมักจะถูกมองว่าเป็นเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการได้สถานะผู้พำนักอาศัยถาวร (permanent residency)

นอกจากนี้ แคนาดายังจะจำกัดการให้วีซ่าผู้ติดตามแก่คู่สมรสของนักเรียนในระดับวิทยาลัยและระดับปริญญาตรีด้วย

ระยะที่ผ่านมานี้แคนาดาถือเป็นจุดหมายปลายทางด้านการศึกษาที่นิยมมากในหมู่นักเรียนต่างชาติ เพราะเป็นประเทศที่ให้ใบอนุญาตทำงานง่ายหลังเรียนจบ

อย่างไรก็ตาม จำนวนนักเรียนต่างชาติที่ทะยานขึ้นในช่วงหลังกลับมีผลกระทบในเชิงลบต่อ “ที่อยู่อาศัย” เพราะอะพาร์ตเมนต์เพื่อเช่าเริ่มขาดแคลนและราคาเช่าสูงขึ้น ข้อมูลจาก Statscan ระบุว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2023 ราคาเช่าทั่วประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

ไม่เพียงแต่วิกฤตขาดแคลนที่อยู่อาศัยให้คนท้องถิ่นเท่านั้น แต่รัฐบาลแคนาดายังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพด้านการศึกษาของสถาบันการศึกษาบางแห่งด้วย

ปกติแล้วนักเรียนต่างชาติในแคนาดาส่วนใหญ่ 40% มาจากประเทศอินเดีย รองลงมา 12% มาจากประเทศจีน ตามข้อมูลภาครัฐเมื่อปี 2022

นักเรียนต่างชาติถือเป็นแหล่งเงินสำคัญเข้าประเทศแคนาดา โดยคิดเป็นเม็ดเงินปีละกว่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 5.83 แสนล้านบาท) การจำกัดโควตานักเรียนต่างชาติจึงเป็นผลเสียต่อสถาบันการศึกษาซึ่งขยายการลงทุนแคมปัสสถานศึกษาไปแล้ว

รวมถึงจะมีผลกระทบต่อจำนวนแรงงานชั่วคราวในภาครีเทลและร้านอาหารด้วย โดยสำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากล็อบบี้ยิสต์พบว่านักเรียนต่างชาติมีสัดส่วน 4.6% ในจำนวนแรงงาน 1.1 ล้านคนในภาคบริการร้านอาหารเมื่อปี 2023

Source

]]>
1459948
‘กูเกิล’ ยอมจ่าย 2.5 พันล้านบาท/ปี ให้ ‘สื่อแคนาดา’ หลังรัฐบาลออกกฎหมายให้จ่าย ‘ค่าข่าว’ บนแพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1453911 Thu, 30 Nov 2023 02:44:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453911 หลังจากที่ กูเกิล (Google) เสิร์ชเอนจิ้นรายใหญ่ของโลกได้ประกาศว่าจะ ถอดลิงก์ข่าวสำหรับผู้ใช้ในแคนาดา ออกจากบริการในเครือได้แก่ Search, News, Discover หลังกฎหมายฉบับใหม่ Online News Act (Bill C-18) ที่แพลตฟอร์มต้องจ่ายเงินให้สื่อโดยตรง มีผลบังคับใช้

ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กฎหมาย Bill C-18 ของแคนาดา เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้บริษัท แพลตฟอร์มออนไลน์แบ่งรายได้จากโฆษณาให้กับสื่อมวลชน ซึ่งหลังจากที่แคนาดาประกาศเรื่องกฎหมายกังกล่าว ทำให้ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram เลือกจะถอดลิงก์ข่าวออกจากแพลตฟอร์ม

เช่นเดียวกับทาง Google ที่เคยมีแผนจะถอดลิงก์ข่าวออกจากแพลตฟอร์มหากมีการบังคับใช้ พร้อมกับระบุว่า Google ได้เจรจากับสื่อในแคนาดา 150 ราย ให้เข้าโครงการ Google News Showcase เพื่อนำพาดหัวข่าวไปแสดงในแอปต่าง ๆ ของ Google และสร้างทราฟฟิกคนเข้าไปอ่านต่อในเว็บไซต์ ซึ่งสื่อสามารถหารายได้จากโฆษณาบนเว็บของตัวเองหรือผ่านการสมัครสมาชิก

แต่ล่าสุด Google ก็ยอมตกลงกับรัฐบาลแคนาดา โดยบริษัทจะบริจาคเงิน 100 ล้านดอลลาร์แคนาดาต่อปี (ราว 2,500 ล้านบาท) ให้กับอุตสาหกรรมข่าวของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ของแคนาดาที่กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจ่ายเงินให้กับสื่อ เพื่อสนับสนุนธุรกิจข่าว

“Google ได้ตกลงที่จะสนับสนุนนักข่าวอย่างเหมาะสม รวมถึงการสื่อสารมวลชนในท้องถิ่น น่าเสียดายที่ Meta ยังคงสละความรับผิดชอบต่อสถาบันประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง” Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าว

เพื่อเป็นการตอบโต้ Meta ที่ถอดลิงก์ข่าว ทางรัฐบาลแคนาดาได้ระบุว่าจะหยุดโฆษณาบน Facebook และ Instagram เพื่อตอบสนองต่อจุดยืนของ Meta

ทั้งนี้ แคนาดาไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายลักษณะนี้ เพราะมีออสเตรเลียเริ่มทำมาก่อน และผ่านกฎหมายแบบนี้สำเร็จในปี 2021 แต่จะมีความผ่อนปรนมากกว่าของแคนาดา และ Meta เองก็มีการบล็อกข่าวจากแพลตฟอร์มในออสเตรเลียในช่วงสั้น ๆ หลังจากที่ประเทศผ่านกฎหมายที่จะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีจ่ายเงินให้ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ใช้เรื่องราวข่าวของตน และต่อมาได้ทำข้อตกลงกับผู้จัดพิมพ์ชาวออสเตรเลีย

]]>
1453911
“ทรูโด” เดือดจัด! Facebook บล็อกการเผยแพร่ “ข่าว” บนแพลตฟอร์ม ท่ามกลางวิกฤตไฟป่า “แคนาดา” https://positioningmag.com/1441873 Tue, 22 Aug 2023 04:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441873 “แคนาดา” เกิดวิกฤตไฟป่าขึ้น แต่ประชาชนไม่สามารถติดตามข่าวผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ได้สะดวก เหตุเพราะ Meta สั่งบล็อกการเผยแพร่ “ข่าว” ต่างๆ บนแพลตฟอร์มนี้ หลังรัฐบาลแคนาดาออกกฎหมายไล่บี้ให้บริษัท “แบ่งกำไร” กับสำนักข่าว ร้อนถึงนายกรัฐมนตรี “จัสติน ทรูโด” ออกโรงวิจารณ์ Meta “เห็นกำไรเหนือกว่าความปลอดภัยของประชาชน”

Facebook และ Instagram เริ่มบล็อกการเข้าถึงลิงก์ “ข่าว” บนแพลตฟอร์มของตนเองใน “แคนาดา” ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2023 โดยผู้ใช้แพลตฟอร์มหากเลื่อนเจอลิงก์คอนเทนต์ข่าว จะปรากฏข้อความขึ้นว่า “ผู้ใช้ในแคนาดาจะมองไม่เห็นคอนเทนต์นี้ เพื่อตอบสนองการออกกฎหมายของรัฐบาลแคนาดา คอนเทนต์ข่าวจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแคนาดา”

Meta ทำเช่นนี้เพื่อตอบโต้รัฐบาลแคนาดาซึ่งเริ่มออก “กฎหมายข่าวออนไลน์” มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023 กฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Google, Meta ต้องเจรจาสัญญา “แบ่งกำไร” ให้กับสำนักข่าวต่างๆ ที่นำข่าวมาลงเผยแพร่ในแพลตฟอร์ม เห็นได้ว่าการบล็อกการเผยแพร่ลิงก์ข่าวบน Facebook – Instagram นั้นทำไปเพื่อที่บริษัท Meta จะได้ไม่ต้องแบ่งกำไรให้กับสำนักข่าวต่างๆ ตามกฎหมายกำหนด

Facebook บล็อก ข่าว
ข้อความที่ปรากฏบน Facebook แคนาดา หากมีการโพสต์ลิงก์ข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 3 วันที่ผ่านมา แคนาดาเกิดวิกฤตไฟป่ารุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ไฟป่าแพร่กระจายเป็นวงกว้างและปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งการเข้าถึงข่าวสารได้อย่างรวดเร็วจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนอพยพหนีไฟป่าได้ทันเวลา แต่เมื่อ Facebook เลือกบล็อกข่าวบนแพลตฟอร์มไปก่อนหน้านี้ ทำให้ผู้อพยพหนีไฟป่าต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเข้าถึงข่าวสารได้ช้าลง

กลุ่มผู้อพยพในเขต Northwest Territories ซึ่งเสี่ยงต่อภัยไฟป่าที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวเมือง Yellowknife ในระยะเพียง 15 กิโลเมตร บอกว่า การบล็อกข่าวบน Facebook ทำให้พวกเขาแชร์ข้อมูลที่สำคัญต่อการปกป้องชีวิตได้ช้าลง พวกเขาไม่สามารถแชร์วิดีโอการแถลงข่าวจากทางราชการหรือข่าวแจ้งเตือนการอพยพลงบน Facebook เพื่อให้คนในชุมชนของตนทราบได้เลย

ก่อนหน้านี้เคยมีข้อมูลว่า 77% ของชาวแคนาดามีการใช้งาน Facebook และ 1 ใน 4 ของชาวแคนาดาใช้ Facebook เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ แพลตฟอร์มนี้จึงถือเป็นช่องทางสำคัญในการรับทราบข้อมูล

เหตุนี้ “จัสติน ทรูโด” นายกรัฐมนตรีแคนาดา จึงเดือดจัดจากการตัดสินใจของ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook

ในช่วงการแถลงข่าวผ่านทางโทรทัศน์เมื่อวานนี้ (21 สิงหาคม 2023) ทรูโดจึงวิจารณ์ Meta ว่าตัดสินใจแบบที่ “เหลือจะเชื่อ” และกล่าวหาว่า Facebook “เห็นกำไรเหนือกว่าความปลอดภัยของประชาชน”

ขณะที่ “พาสคาล เซนต์อองจ์” รัฐมนตรีกระทรวงมรดกแห่งแคนาดา ระบุในโพสต์บนโซเชียลมีเดียของเธอว่า บริษัทนี้กำลังบล็อก “ข้อมูลที่สำคัญยิ่ง” ต่อผู้ใช้งาน และยังบอกด้วยว่า Meta เริ่มบล็อกข่าวทันทีทั้งที่กฎหมาย C-18 หรือกฎหมายข่าวออนไลน์ฉบับที่ว่านี้ ยังไม่ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ด้วยซ้ำ เธอจึงเรียกการกระทำของ Meta ว่า “ไร้ความรับผิดชอบ”

ฟาก Meta ออกมาตอบโต้ว่า กฎหมายฉบับนี้ “ตราขึ้นโดยมีปัญหาตั้งแต่เรื่องพื้นฐานเพราะละเลยความเป็นจริงในวิธีการทำงานของแพลตฟอร์มของเรา”

ในถ้อยแถลงของบริษัทที่ส่งให้สำนักข่าว BBC นั้น Meta ระบุว่า กฎหมายฉบับนี้ ‘บังคับ’ ให้บริษัท “ต้องหยุดการเข้าถึงคอนเทนต์ข่าว เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมาย”

Meta ยังเสริมด้วยว่า บริษัทมีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ “Safety Check” บนแพลตฟอร์มแล้ว เพื่อให้ผู้อพยพสามารถระบุบนโซเชียลมีเดียได้ว่าตัวเองปลอดภัย และเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลจากหน่วยงานราชการได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีคนเข้าไปใช้ฟีเจอร์นี้แล้วกว่า 300,000 ราย

ความเห็นของชาวแคนาดาต่อเหตุการณ์ทั้งหมดนี้แยกเป็นหลายฝ่าย บางกลุ่มมองว่าเป็นความผิดของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการบล็อกข่าวบน Facebook และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในเวลาต่อมา แต่บางกลุ่มก็มองว่าเป็นความรับผิดชอบของ Meta เองที่เลือกผลกำไรบริษัทมากกว่าจะทำตามกฎหมาย

Source

]]>
1441873
“แคนาดา” รับผู้อพยพปีละ 5 แสนคน แก้ปัญหาแรงงานขาด สายสุขภาพ-ก่อสร้างต้องการด่วน https://positioningmag.com/1406493 Thu, 03 Nov 2022 04:50:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406493 อยากย้ายประเทศเช็กคุณสมบัติได้เลย! “แคนาดา” วางแผนรับผู้อพยพย้ายประเทศต่อเนื่องระหว่างปี 2023-2025 สูงสุดปีละ 500,000 คน แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน ตำแหน่งงานว่างกว่า 1 ล้านตำแหน่ง โดยสายงานที่ขาดแคลนมากที่สุดคืองานสาธารณสุขและงานก่อสร้าง

Sean Fraser รัฐมนตรีกระทรวงผู้อพยพเข้าเมือง เปิดเผยนโยบายใหม่ของรัฐบาลแคนาดาที่ต้องการรับผู้อพยพเข้ามาเป็นผู้อาศัยอยู่ถาวร (Permanent Residents) มากขึ้น โดยเน้นรับผู้ที่มีทักษะและประสบการณ์ที่ประเทศต้องการ นอกจากนี้ จะเปิดรับสมาชิกครอบครัวของผู้อพยพและกลุ่มผู้ลี้ภัยมากขึ้นด้วย

แผนใหม่นี้จะเปิดรับผู้อพยพ 465,000 คนภายในปี 2023 และเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได ในปี 2025 คาดจะเปิดรับ 500,000 คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาก ถ้าเทียบกับปี 2021 ที่แคนาดารับผู้อยู่อาศัยถาวรเป็นจำนวน 405,000 คน

ตามแผนใหม่ที่จะเปิดรับ ส่วนใหญ่แล้วจะรับกลุ่ม “ผู้อพยพเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจ” เพราะต้องการให้มาเติมเต็มแรงงานที่ขาดแคลนอยู่กว่า 1 ล้านตำแหน่งขณะนี้ และรัฐบาลแคนาดามองว่าถ้าหากไม่รับผู้อพยพมากกว่านี้ ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้เร็วขึ้น

ใน 1 ล้านตำแหน่งที่ขาดแคลนแรงงานอยู่นั้นกระจายกันไปในหลายภาคอุตสาหกรรม แต่กลุ่มที่ขาดแคลนมากที่สุดและแคนาดาจะเร่งเปิดรับคือสายงานสาธารณสุข รวมถึงสายงานก่อสร้างด้วย ปัจจุบันแคนาดาประสบปัญหาที่อยู่อาศัยมีไม่เพียงพอเพราะก่อสร้างไม่ทันความต้องการ

ผู้อพยพถือเป็นส่วนสำคัญในการเติมแรงงานในระบบของแคนาดา เพราะตั้งแต่ทศวรรษ 2010s เป็นต้นมา ผู้อพยพคิดเป็นสัดส่วนถึง 84% ของกลุ่มแรงงานในประเทศ

อย่างไรก็ตาม อีกปัญหาหนึ่งที่แคนาดาจะพยายามเข้าจัดการในแผนรับผู้อพยพใหม่นี้ คือ “การใช้ประโยชน์จากแรงงานมีทักษะให้เต็มศักยภาพ” เพราะที่ผ่านมาผู้อพยพที่มีการศึกษาถึงระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลับมีเพียง 38% ที่ได้ทำงานในตำแหน่งที่ต้องการใบปริญญา ที่เหลือยอมลดระดับลงมาทำงานแรงงานทั่วไปเพื่อ ‘ขอให้ได้ข้ามพรมแดนมาก่อน’ ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียศักยภาพที่ควรจะมีต่อระบบเศรษฐกิจ

นอกจากแผนรับผู้อพยพที่มีทักษะตรงความต้องการแล้ว แคนาดาจะเปิดโควตาให้สมาชิกครอบครัวของผู้อพยพเข้ามาด้วย ตลอดจนกลุ่มผู้ลี้ภัยสงคราม โดยมีเป้าหมายรับคนกลุ่มนี้ 76,000 คนในปี 2023 และ 73,000 คนในปี 2025

ทั้งนี้ แคนาดาถือเป็นประเทศที่รับผู้ลี้ภัยสูงมาก 1 ใน 3 ของผู้ลี้ภัยสงครามทั่วโลกได้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งในแคนาดานี้เอง ตัวอย่างเช่น ชาวอัฟกานิสถานกว่า 40,000 คนจะได้รับอนุญาตเสร็จสิ้นให้อาศัยในแคนาดาได้ภายในปีหน้า

ที่มา: The Economic Times, Financial Post

]]>
1406493
“ไม่ฉีด? เจอเก็บภาษีเพิ่ม” นโยบายใหม่รัฐควิเบก แคนาดา แก้ปัญหากลุ่ม “ปฏิเสธวัคซีน” https://positioningmag.com/1370129 Wed, 12 Jan 2022 07:35:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370129 รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา กำลังเสนอนโยบายใหม่เพื่อแก้ปัญหากลุ่ม “ปฏิเสธวัคซีน” หากประชาชนวัยผู้ใหญ่ไม่รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยไม่มีเหตุจำเป็นทางสุขภาพ จะถูกเรียกเก็บภาษีพิเศษ เนื่องจากสถิติพบว่าผู้ป่วยหนักในขณะนี้ 50% เป็นผู้ที่ปฏิเสธวัคซีน

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐควิเบก แคนาดา กำลังพิจารณานโยบายที่น่าจะก่อให้เกิดการถกเถียงระหว่าง “สิทธิส่วนบุคคล” กับ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” เพราะควิเบกกำลังจะมีนโยบาย “เก็บภาษีผู้ที่ปฏิเสธรับวัคซีน”

Francois Legault นายกเทศมนตรีรัฐควิเบก กล่าวว่ารายละเอียดกฎหมายกำลังพิจารณากันอยู่ แต่แน่นอนว่าผู้ที่มีปัญหาสุขภาพทำให้รับวัคซีนไม่ได้ จะได้รับการยกเว้น

เหตุผลที่ควิเบกมองคือ ผู้ที่ไม่รับวัคซีนเป็นภาระทางงบประมาณสาธารณสุขแก่ผู้อื่น ทำให้จะมีการเก็บภาษีเพิ่มสำหรับคนกลุ่มนี้ โดยคาดว่าจะเก็บเพิ่มไม่ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 2,660 บาท)

แม้ว่ารัฐบาลทั่วโลกจะมีมาตรการกดดันผู้ที่ไม่รับวัคซีนหลากหลาย เช่น ห้ามเข้าร้านอาหาร แต่การเก็บภาษีเพิ่มเช่นนี้ไม่ค่อยมีแนวปฏิบัติกันมากนัก เพราะน่าจะก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์สูง

อย่างไรก็ตาม เหตุผลของควิเบกก็คือจำนวนเคสที่สูงขึ้นระหว่างการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน จนขณะนี้มีประชากรนับหมื่นคนที่ต้องอยู่ในสถานกักตัว และเป็นภาระของระบบสาธารณสุข แม้กระทั่งบุคลากรการแพทย์เองก็รับภาระหนัก จนต้องกลับมาทำงานทั้งที่ยังไม่หายดีจากการติดเชื้อโรค COVID-19

“วัคซีนเป็นกุญแจสำคัญในการสู้กับไวรัส นี่จึงเป็นเหตุที่เราต้องการเงินสบทบงบสาธารณสุขจากผู้ใหญ่ที่ปฏิเสธการรับวัคซีน ทั้งที่ไม่มีเหตุผลด้านสุขภาพส่วนตัว” Legault กล่าว

Legault เปิดเผยข้อมูลว่า แม้ว่ารัฐควิเบกจะมีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนประมาณ 10% เท่านั้น แต่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ป่วยหนักมีถึง 50% ที่เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีน

สำหรับการจัดสรรวัคซีนของทั้งประเทศแคนาดา Justin Trudeau นายกรัฐมนตรี ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า แคนาดามีปริมาณวัคซีนเพียงพอสำหรับเข็มบูสเตอร์เข็ม 3 และเข็ม 4 เรียบร้อยแล้ว

Source

]]>
1370129
‘แคนาดา’ ประกาศอัดงบ ‘7.7 หมื่นล้าน’ เยียวยาประชาชน หลัง COVID-19 รอบ 2 ระบาดหนักกว่ารอบแรก https://positioningmag.com/1308621 Wed, 02 Dec 2020 07:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308621 ประเทศแคนาดากำลังเผชิญการระบาดของ COVID-19 รอบ 2 ที่มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากกำลังเข้าใกล้ฤดูหนาว โดยทั่วประเทศมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยวันละเกือบ 5,000 คน ซึ่งสูงกว่าช่วงการระบาดระลอกแรก และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะชะลอลง

นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ยอมรับว่าการระบาดรอบ 2 ของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแคนาดา และให้คำมั่นว่าจะอัดงบกว่า 7.7 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับเรียกร้องให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่ระบาด พร้อมกับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง โดยได้ขยายมาตรการจำกัดการเดินทางของพลเมืองสหรัฐฯ ที่เดินทางเข้าแคนาดาไปจนถึงวันที่ 21 ธันวาคมปีนี้ ส่วนการใช้มาตรการจำกัดการเดินทางของพลเมืองประเทศอื่น ๆ จะขยายเวลาออกไปจนถึงวันที่ 21 มกราคมปีหน้า

“นี่จะเป็นการลงทุนครั้งสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจของเรากลับมาเดินหน้าได้ และเป็นการลงทุนที่จะทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และการอัดงบกระตุ้นครั้งประวัติศาสตร์นี้จะมากกว่า 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยจะเน้นความสำคัญไปที่ครอบครัว, เด็ก และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ”

นายกรัฐมนตรีแคนาดา Justin Trudeau

การตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นกว่า 7% โดยผู้เชี่ยวชาญเตือนด้วยว่า แคนาดาอาจมีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึงวันละ 20,000 คนได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม และหากประชาชนยังไม่ลดการพบปะกับผู้อื่นตัวเลขอาจสูงถึงวันละ 60,000 คนได้ ขณะที่ปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 384,000 ราย และเสียชีวิต 12,203 ราย ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์

Source

]]>
1308621
หมัดต่อหมัด! “แคนาดา” จ่อเรียกภาษีสินค้าสหรัฐฯ กลับ ตอบโต้ถูกเก็บภาษีอะลูมิเนียม 10% https://positioningmag.com/1291694 Sat, 08 Aug 2020 07:54:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291694 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คริสเทีย ฟรีแลนด์ รองนายกรัฐมนตรีแคนาดา เผยว่าแคนาดาจะเรียกเก็บภาษี 3.6 พันล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 8.4 หมื่นล้านบาท) สำหรับสินค้าของสหรัฐฯ เป็นการตอบโต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีอะลูมิเนียมของแคนาดา 10% อีกครั้ง

ฟรีแลนด์กล่าวในการแถลงข่าวว่ามาตรการภาษีตอบโต้ดังกล่าวจะมีผลใน 30 วันหลังจากรัฐบาลแคนาดาขอความเห็นจากชาวแคนาดาอย่างละเอียดว่าจะกำหนดเป้าหมายที่ผลิตภัณฑ์ใดของสหรัฐฯ และเสริมว่า “แคนาดาจะตอบโต้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง”

เมื่อบ่ายวันพฤหัสบดีที่ 6 ส.ค. ทรัมป์ประกาศว่าจะกำหนดอัตราภาษีใหม่สำหรับอะลูมิเนียมดิบนำเข้าของแคนาดาตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. เป็นต้นไป โดยอ้างถึงความกังวลด้านความมั่นคงของชาติ

ฟรีแลนด์กล่าวว่าข้อคิดเห็นที่ว่าอะลูมิเนียมของแคนาดาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ นั้น “เป็นความคิดที่น่าหัวเราะ”

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา

เธอกล่าวว่าสหรัฐฯ เลือกที่จะจุดประเด็นความขัดแย้งทางการค้าครั้งใหม่ด้วยการเรียกเก็บภาษีอะลูมิเนียมของแคนาดา “ซึ่งรังแต่จะทำร้ายการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย”

ฟรีแลนด์เสริมว่ารัฐบาลทรัมป์เป็น “ฝ่ายบริหารที่กีดกันการค้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ”

ทั้งนี้ เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ 6 ส.ค. จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ให้คำมั่นว่าจะดำเนินมาตรการตอบโต้หลังจากทรัมป์ประกาศการตัดสินใจกำหนดอัตราภาษีนำเข้าอะลูมิเนียมของแคนาดาอีกครั้ง ”เราจะยืนหยัดเคียงข้างแรงงานอะลูมิเนียมของเราดังเช่นตอนปี 2018 เราจะต่อสู้เพื่อพวกเขาอีกครั้ง”

ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ได้กำหนดอัตราภาษี 10% สำหรับอะลูมิเนียมของแคนาดาในเดือนมีนาคม 2018 และจากนั้นแคนาดาก็ตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้าของสหรัฐฯ จำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่อมาทางสหรัฐฯ ก็ยกเลิกกฎเกณฑ์ดังกล่าวตามข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือฉบับใหม่

]]>
1291694
“แคนาดา-ออสเตรเลีย” ถอนตัวลุยโอลิมปิก 2020 เสนอเลื่อนจัดไปอีก 1 ปีข้างหน้าดีกว่า https://positioningmag.com/1269377 Mon, 23 Mar 2020 06:49:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269377 ทีมชาติแคนาดาออกมาประกาศถอนตัวไม่เข้าร่วมโอลิมปิกเกมส์ 2020 แล้ว ด้านออสเตรเลียส่อถอนตัวหนี COVID-19 เช่นกัน พร้อมสั่งนักกีฬาห้ามเดินทางออกนอกประเทศ

แม้จะยังไม่มีการฟันธงชัดเจนว่าประเทศญี่ปุ่นจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนมหกรรมโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ที่จะมีกำหนดจัดขึ้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ แต่ท่ามกลางการระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้หลายประเทศเริ่มไม่มั่นใจในความปลอดภัย

ล่าสุดคณะกรรมการโอลิมปิกแคนาดา และคณะกรรมการพาราลิมปิกแคนาดา ประกาศจะไม่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมเสนอให้มีกการเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 1 ปี เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของนักกีฬา

ขณะที่คณะกรรมการโอลิมปิก ออสเตรเลีย ได้ชี้แจงกับนักกีฬาว่ามีการเปลี่ยนแผนเพื่อเตรียมลงแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ที่คาดว่าจะเลื่อนไปเป็นปี 2021

อย่างไรก็ตาม สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ยืนยันหนักแน่นว่าไม่อนุญาติให้นักกีฬาเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่โตเกียวเด็ดขาด

“เราไม่อนุญาตให้มีการเดินทางไปยังที่ไหนก็ตามในโลก คำแนะนำของสมาร์ตทราเวลเลอร์ และกระทรวงต่างประเทศและการค้าของเราชัดเจนอยู่แล้ว สุขภาพของชาวออสเตรเลียเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด”

Source

]]>
1269377