โครงการรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Dec 2022 11:21:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนไทยใกล้ได้ใช้งาน! รวม 4 โครงการก่อสร้างภาครัฐที่น่าสนใจ กำหนดเสร็จในปี 2566 https://positioningmag.com/1414121 Tue, 27 Dec 2022 10:22:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414121 ใกล้ความจริงแล้วกับ 4 โครงการภาครัฐเหล่านี้ที่มีกำหนดก่อสร้างเสร็จภายในปี 2566 โดยมีทั้งโครงการรถไฟฟ้า รถไฟ สะพาน ไปดูกันว่ามีอะไรที่คนไทยใกล้จะได้ใช้งานเร็วๆ นี้

 

ภาพจากการทดสอบเดินรถเดือนตุลาคม 2565
1.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองมีระยะทางรวม 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี กำลังจะก่อสร้างเสร็จและพร้อมทดสอบเดินรถ โดยคาดว่าจะให้บริการจริงเต็มรูปแบบได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566

รถไฟฟ้าสายนี้จะเริ่มวิ่งตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว วิ่งมาตามแนวถนนลาดพร้าวไปจนถึงแยกบางกะปิ จากนั้นจะเลี้ยวเข้าถนนศรีนครินทร์ ตรงไปผ่านแยกลำสาลี แยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นเลี้ยวเข้าถนนเทพารักษ์ วิ่งไปจนสิ้นสุดที่แยกเทพารักษ์ตัดสุขุมวิท

สายสีเหลืองจะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายที่ให้บริการแล้ว ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (เชื่อมต่อที่สถานีลาดพร้าว), สายแอร์พอร์ตลิงก์หรือ ARL (เชื่อมต่อที่สถานีหัวหมาก *ไม่มีสกายวอล์กเชื่อมต่อ) และ สายสีเขียว (เชื่อมต่อที่สถานีสำโรง)

นอกจากนี้จะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าในอนาคต คือ สายสีส้มตะวันออก จุดตัดบริเวณแยกลำสาลี และ สายสีเทา บริเวณแยกฉลองรัช ด้วย โดยสายสีส้มตะวันออก ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2568

สถานที่สำคัญที่ผ่าน: ตลาดโชคชัย 4, เดอะมอลล์ บางกะปิ, ธัญญาพาร์ค, วิทยาลัยดุสิตธานี, ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์, พาราไดซ์ พาร์ค

 

โครงการก่อสร้างภาครัฐ
ภาพจากการทดสอบเดินรถเดือนพฤศจิกายน 2565
2.รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร รวม 30 สถานี เป็นอีกหนึ่งสายรถไฟฟ้าที่จะสร้างเสร็จต่อเนื่อง โดยคาดว่าพร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบได้เดือนสิงหาคม 2566 และอาจจะมีการเปิดบริการได้บางส่วนช่วงต้นปี 2566

สายนี้จะวิ่งตั้งแต่แยกแครายขึ้นไปทางถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด จากนั้นจะเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ตรงไปผ่านแยกหลักสี่ วงเวียนวัดพระศรีฯ เข้าสู่ถนนรามอินทรา ตรงผ่านแยกลาดปลาเค้า แยกรามอินทรากม.8 จนถึงตลาดมีนบุรี และเลี้ยวขวาไปสิ้นสุดที่ถนนรามคำแหง

จุดตัดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่ให้บริการแล้ว ได้แก่ สายสีม่วง (เชื่อมต่อที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี), สายสีแดง (เชื่อมต่อที่สถานีหลักสี่), สายสีเขียว (เชื่อมต่อที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ)

และในอนาคตเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกสร้างเสร็จ จะมีจุดเชื่อมต่อที่ปลายทางสถานีมีนบุรี รวมถึงมีแนวจุดตัดกับสายสีเทาที่สถานีวัชรพล

สายสีชมพูยังมีจุดที่น่าสนใจคือ การเพิ่มส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี 3 สถานี คือ สถานีอิมแพ็ค สถานีเมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี ที่คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2568

สถานที่สำคัญที่ผ่าน: ศูนย์ราชการนนทบุรี, เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ, TOT, ไอทีสแควร์, ม.ราชภัฏพระนคร, เซ็นทรัล รามอินทรา, สนามกอล์ฟ กองทัพบก, ตลาดลาดปลาเค้า, ตลาดนัดเลียบด่วนฯ, แฟชั่นไอส์แลนด์, ตลาดมีนบุรี

 

โครงการก่อสร้างภาครัฐ
สะพานขึงใหม่อยู่ทางขวามือของสะพานพระราม 9 (อยู่ระหว่างขอพระราชทานชื่อ)
3.สะพานขึงคู่ขนานพระราม 9

สะพานแห่งนี้เมื่อสร้างเสร็จจะเป็นสะพานที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยความกว้างกลางสะพาน 450 เมตร มีทางวิ่ง 8 ช่องจราจร และยังเป็นสะพานขึงที่มีความสวยงาม ว่าที่แลนด์มาร์กแห่งใหม่

สะพานขึงแห่งนี้ตั้งอยู่คู่ขนานกับสะพานพระราม 9 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อจากทางด่วนศรีรัชและทางด่วนเฉลิมมหานคร เข้าสู่ทางด่วนใหม่วิ่งไปตามทางยกระดับเหนือถนนพระราม 2 เพื่อให้การจราจรของรถเข้าออกระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคใต้คล่องตัวขึ้น ลดการติดขัดบนถนนพระราม 2 อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565

สำหรับตัวสะพานขึงซึ่งเป็นไฮไลต์ของทางด่วนใหม่นั้นจะมีทางขึ้นลงบนถนนสุขสวัสดิ์ เมื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสู่เขตกรุงเทพฯ แล้วจะเชื่อมต่อกับทางด่วนศรีรัชและทางด่วนเฉลิมมหานครที่แยกบางโคล่ จึงช่วยลดการติดขัดบนสะพานพระราม 9 ได้สำหรับรถฝั่งธนบุรี-พระประแดงที่ต้องการขึ้นทางด่วนเข้า-ออกกรุงเทพฯ

ทางด่วนทั้งสายนั้นคาดว่าจะเสร็จปี 2567-68 แต่สะพานขึงนั้นคาดว่าจะสร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ก่อนภายในปี 2566 ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างขอพระราชทานชื่อสะพานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

 

อุโมงค์รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ
4.รถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง สายใต้ สายเหนือ สายอีสาน

โครงการรถไฟทางคู่เป็นส่วนสำคัญที่จะยกระดับการเดินขนส่งทางรางไปทั่วประเทศ เพราะเมื่อมีทางคู่จะทำให้รถไฟไม่ต้องรอสับหลีก สามารถแล่นสวนกันได้เลย และยังทำให้ทำความเร็วได้เร็วขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 120 กม./ชม. ทั้งหมดทำให้รถไฟไทยจะวิ่งได้ตรงเวลามากขึ้นและสะดวกรวดเร็ว

รัฐบาลมีการวางแผนและก่อสร้างรถไฟทางคู่ 15 เส้นทาง แบ่งเป็นเฟส 1 ทั้งหมด 7 เส้นทาง และเฟส 2 อีก 8 เส้นทาง ในเฟสแรกนั้น ปี 2566 เราจะได้เห็น 3 เส้นทางที่สร้างเสร็จ ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเสร็จสิ้น ได้แก่

  • สายใต้ นครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คาดเสร็จมกราคม 2566
  • สายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) คาดเสร็จเมษายน 2566
  • สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (สระบุรี-โคราช) คาดเสร็จเดือนตุลาคม 2566

แผนงานรถไฟทางคู่เมื่อเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 2 เฟส จะทำให้รถไฟสายเหนือมีทางคู่วิ่งไปจนถึงเชียงใหม่ เชียงราย เชียงของ ขณะที่สายใต้จะลงสุดชายแดนที่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และสายอีสานจะไปถึงอุบลราชธานี นครพนม และหนองคาย

ปี 2566 น่าจะเป็นปีที่ดีสำหรับการคมนาคมของเมืองไทย เพราะจะมีทั้งรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการ 2 เส้นทางใหม่ สะพานข้ามแม่น้ำที่ช่วยลดจราจรติดขัด รวมถึงรถไฟทางคู่ที่ขยายไปครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

]]>
1414121
ครัวเรือนไทย กังวลรายได้ลด-ไร้งานทำ เเบกหนี้หนัก ค่าครองชีพพุ่ง เข้าไม่ถึงโครงการรัฐ https://positioningmag.com/1346077 Tue, 10 Aug 2021 10:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346077 ล็อกดาวน์โควิดระลอก 3 ซัดหนัก ประชาชนกังวลรายได้ลด-ไม่มีงานทำ เเบกหนี้หนักเเถมค่าครองชีพพุ่ง ดัชนี KR-ECI ลดฮวบ ‘ต่ำกว่าล็อกดาวน์ทั่วประเทศ’ เมื่อปีที่เเล้ว ท่องเที่ยวเจ็บยาว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์น้อยกว่าเป้า คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการช่วยเหลือของรัฐ 

ครัวเรือนไทย ‘วิตกกังวล’ ต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพต่อเนื่อง จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังรุนเเรง จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ในระดับสูง และยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ประจำเดือนก.ค. 64 ปรับลงต่อเนื่องอยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็น ระดับต่ำกว่าช่วงเดือนเม.ย. 63 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ที่ 35.1 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 36.6 จาก 38.9 ในเดือนมิ.ย.

เเบกหนี้หนัก ราคาอาหารสดเเพงขึ้น 

ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ ระดับราคาสินค้า โดยในเดือนก.ค.ดัชนีปรับลดลงอยู่ที่ 31.5 จาก 37.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทย ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 0.45% ซึ่งหากไม่รวมผลจากมาตรการภาครัฐในเรื่องของการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำค่าไฟ ระดับอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.8%

“ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ นอกจากราคาน้ำมันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์” 

ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากความเปราะบางของฐานะการเงินที่สะสมมาจากการแพร่ระบาดในปีก่อนและปัจจุบัน ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้สะท้อนผ่านหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงที่ 90.5% ของจีดีพีในไตรมาสแรกของปี 2564 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้และจ้างงานเพิ่มขึ้น 

รายได้ลด ไร้งานทำ ท่องเที่ยวไม่ฟื้น 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล็อกดาวน์ใน 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงพบว่า 64.2 % ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ (64.2%) มีรายได้จากการจ้างงานลดลง

ขณะที่บางส่วน (14.3%) ธุรกิจปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมตลาดแรงงานที่มีภาวะเปราะบาง

ล่าสุด ในไตรมาส 2/2564 จำนวนผู้ว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7.3 แสนคน โดยทิศทางการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังมีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน

โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในภาคท่องเที่ยว ที่แม้ในเดือนก.ค. 64 จะมีการนำร่องเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ได้ต้องกักตัวตามเงื่อนไข

แต่สถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ในเดือนก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภูเก็ต 14,055 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,400 บาท (ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน) ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ภาครัฐเคยประเมินไว้ (ไตรมาส 3 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1 แสนคน)

ขณะนี้ในภูเก็ตก็ได้มีมาตรการคุมเข้มการระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรม รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถเปิดได้เต็มที่

Photo : Shutterstock

คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการรัฐ 

ด้านมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากภาครัฐ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาช่วยประคับประคองการดำรงชีพของครัวเรือน ซึ่งช่วงที่สำรวจภาครัฐได้มี 2 โครงการคือ โครงการคนละครึ่งระยะที่สาม และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมมาตรการพบว่า มีครัวเรือนถึง 30.6% ที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งสองโครงการ เนื่องจากมองว่าขั้นตอนการสมัครมีความยุ่งยาก อีกทั้งโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีเงินออมมีผู้เข้าร่วมเพียง 2.9%

ทั้งนี้ โครงการทั้งสองโครงการได้ออกมาในช่วงก่อนที่สถานการณ์การระบาดจะเผชิญความรุนแรงและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดไม่ได้รุนแรงมาก อาจทำให้โครงการต่าง ๆ จูงใจประชาชนให้เข้าร่วมได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุดภาครัฐได้มีมาตรการเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพใน 13 พื้นที่เสี่ยงที่ถูกล็อกดาวน์ ซึ่งน่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้บางส่วน

“ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง สถานการณ์การระบาดที่ยืดเยื้อและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดแรงงานต่อเนื่อง ไปจนถึงกำลังซื้อของภาคครัวเรือน” 

ดังนั้น ภาครัฐควรออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดหา จัดสรร และแจกจ่ายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเร่งควบคุมสถานการณ์ เช่น การตรวจเชิงรุกเพราะทุกเวลาที่ผ่านไปคือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชนและประเทศ

สรุป :

ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (ก.ค. 64) และ 3 เดือนข้างหน้าบ่งชี้ถึงความกังวลของครัวเรือนต่อรายได้และการจ้างงาน ขณะที่ในเดือนส.ค.มีมาตรการล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์ รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง

 

]]>
1346077