นายแพทย์พอล เบอร์ตัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโมเดอร์นา ได้กล่าวกับ เดอะการ์เดียน ว่า ภายในปี 2030 โลกจะมีวัคซีนรักษามะเร็ง โรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่น ๆ และมีความเป็นไปได้ที่โมเดอร์นาจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวได้ภายใน 5 ปีจากนี้ เนื่องจากความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีน COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่านักวิจัยสามารถพัฒนาวัคซีนได้เร็วขึ้น หลังจากที่เคยใช้องค์ความรู้งานวิจัย 15 ปีมาพัฒนาวัคซีนภายในเวลาเพียง 12-18 เดือน
ด้วยความเร็วในการพัฒนาดังกล่าว นายแพทย์พอล เบอร์ตัน จึงมั่นใจว่าโลกจะได้เห็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะช่วยสามารถช่วยชีวิตคนได้หลายล้านคน ทั้งนี้ โมเดอร์นาเองก็กำลังพัฒนาวัคซีนมะเร็งที่พุ่งเป้าไปยังเนื้องอกประเภทต่าง ๆ
“ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือ เทคโนโลยี mRNA ไม่ได้ใช้ได้กับแค่โรคติดเชื้อหรือกับโควิดเท่านั้น แต่มันใช้ได้กับทุกพื้นที่ของโรค ทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคหายาก”
ก่อนหน้านี้ การผลิตวัคซีนจะใช้โปรตีนของไวรัสหรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอ ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน แต่สำหรับเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA จะเป็นการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ใช้การฉีดสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA หรือ mRNA molecule เข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัส แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขึ้นมา และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับไวรัสต่อไป
ส่วนในกรณีของวัคซีน mRNA ที่ใช้ต้านมะเร็ง จะเป็นการฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยเพื่อไปกระตุ้นเซลล์ให้สร้างโปรตีนชนิดที่ร่างกายต้องการให้ระบบภูมิต้านทานสร้างขึ้นมา และสามารถโจมตี-ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วยได้โดยไม่ทำลายเซลล์ที่แข็งแรง
โดยในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้กำหนดให้วัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคลของโมเดอร์นา เป็นการบำบัดแบบก้าวหน้าร่วมกับยา Keytruda ซึ่งเป็นยาภูมิคุ้มกันบำบัดของเมอร์คสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่เรียกว่าเมลาโนมา เนื่องจากพบว่า เมื่อใช้วัคซีนร่วมกับ Keytruda สามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งผิวหนังได้ถึง 44%
นายแพทย์พอล เบอร์ตัน ย้ำว่า ความสามารถของ RNA จะช่วยให้สามารถรับมือกับโรคหายากที่ยังไม่มีการรักษา การบำบัดด้วย mRNA รวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหลายระบบในอนาคตจะสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวหรือเพียงเข็มเดียว ไม่ว่าจะเป็น COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ และไวรัสทางเดินหายใจ (RSV) โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนหลายตัวอีกต่อไป
“ผมคิดว่าเราจะมีการบำบัดด้วย mRNA สำหรับโรคหายากที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถรักษาได้ และผมคิดว่า 10 ปีนับจากนี้ เราจะเข้าใกล้โลกที่สามารถระบุสาเหตุโรคทางพันธุกรรมได้อย่างแท้จริง ด้วยการใช้เทคโนโลยี mRNA ที่ไปแก้ไขและซ่อมแซม”
]]>โดยกำหนดการเปิดจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในรูปแบบองค์กร นิติบุคคล และโรงพยาบาลเท่านั้น (ยังไม่มีการเปิดรอบบุคคลทั่วไป)
วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) อัตราเข็มละ 550 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)
-แนะนำเป็นเข็มกระตุ้นภูมิ (เข็มที่ 3) สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ ครบ 2 เข็มมาแล้ว 3-6 เดือน
-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินเต็มจำนวน รวมจำนวนวัคซีนบริจาค 10% ภายใน 5 วันทำการเมื่อได้รับการแจ้งจัดสรรวัคซีน
-กำหนดเริ่มฉีดเข็มกระตุ้นภูมิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ
ขอให้ท่านติดตามการจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับการจัดสรรวัคซีนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และให้บริการฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่เปิดรับจองในรูปแบบบุคคลทั่วไปในการจัดสรรครั้งนี้
หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มรอบบุคคลธรรมดากับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุณารอ SMS เพื่อแจ้งกำหนดการเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้วัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์มเป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยชำระเงิน ณ วันเข้ารับวัคซีน (สำหรับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรุณารอการติดต่อทาง sms หรือให้ผู้ประสานงานทำหนังสือถึงเลขาธิการเพื่อรอการจัดสรร)
วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โมเดอร์นา (Moderna) 50 ไมโครกรัม อัตราเข็มละ 555 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)
-แนะนำใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปี 2565 (โดยฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ 4) โดยฉีดห่างจากวัคซีนเข็มล่าสุด 3-6 เดือน (แล้วแต่ชนิดวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านั้น)
-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดส จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และโอนเงินมัดจำ 400 บาทต่อโดสตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และชำระเงินส่วนที่เหลือเต็มตามจำนวน เมื่อได้รับการจัดสรรวัคซีน พร้อมจำนวนที่บริจาคอีก 10%
กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ
จัดสรรวัคซีนในเดือนมีนาคม ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อน และจัดสรรต่อทุก 3 เดือน หรือเมื่อได้รับวัคซีนจากต่างประเทศจนได้รับวัคซีนครบตามจำนวน
1.การสั่งจองและขอรับจัดสรรวัคซีนทางเลือกนี้ เมื่อยืนยันการจองและโอนเงินแล้ว ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่คืนเงิน และไม่รับการขอลดจำนวนวัคซีนในทุกกรณี หากไม่โอนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะนำเงินจองจำนวนดังกล่าว หรือวัคซีนไปจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบางของประเทศต่อไป
2. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะจัดสรรวัคซีนให้ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อนกับวัคซีนที่จะทยอยมาจากต่างประเทศ
3. องค์กรสามารถยื่นขอรับจัดสรรวัคซีนได้ทั้ง 2 ชนิด โดยแจ้งระบุจำนวนคนตามยี่ห้อวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิที่ประสงค์จะขอรับจัดสรร
4. องค์กรจะได้รับอีเมลแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบผ่านเมนู “ลงทะเบียนองค์กรผู้ได้รับการจัดสรรวัคซีน” เพื่อยืนยันยอดจำนวนวัคซีนที่ขอรับการจัดสรร และวิธีการโอนเงิน โดยโอนเต็มจำนวนสำหรับวัคซีนซิโนฟาร์ม และโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดสสำหรับวัคซีนโมเดอร์นา
5. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการส่งรายงานมูลค่าบริจาควัคซีน 10% ขององค์กรเข้าระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (E-Donation) ของทางกรมสรรพากรตามเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคลที่ยื่นความประสงค์เข้ามา เมื่อได้รับการโอนเงินชำระค่าวัคซีนจากองค์กรเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
6. สำหรับโรงพยาบาลที่ขอรับการจัดสรรวัคซีนทางเลือกใดๆ จากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อนำไปจัดสรรต่อให้กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการของโรงพยาบาล สามารถกำหนดอัตราค่าวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามความเหมาะสมโดยให้คำนึงถึงการเข้าถึงวัคซีนของส่วนรวมเป็นสำคัญ
7. อัตราค่าวัคซีนทางเลือกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รวมประกันในการรักษาอาการข้างเคียงทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (โดยเริ่มคุ้มครองเมื่อองค์กรอัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเข้าระบบ หรือโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนได้ส่งชื่อผู้รับบริการเข้าระบบให้ทางราชวิทยาลัยและประกัน หากเกิดอาการแทรกซ้อนนก่อนหน้านั้น ทางโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนจะเป็นผู้ดูแล)
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
]]>โดยจะมีการต่อยอดไปพัฒนาวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ (RSV) และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะเป็นการฉีดวัคซีนเพียง ‘เข็มเดียวต่อปี’
Stephane Bancel ซีอีโอของโมเดอร์นา บอกว่า โอกาสที่ยิ่งใหญ่มากๆ กำลังรออยู่ข้างหน้า หากสามารถนำวัคซีนป้องกันไวรัสทางเดินหายใจที่มีประสิทธิภาพสูง เเละฉีดเพียงเข็มเดียวต่อปี ออกสู่ตลาดได้ “เราเชื่อว่าโมเดอร์นา จะเป็นเจ้าแรกที่ทำตลาดวัคซีนชนิดใหม่นี้”
ทั้งนี้ โมเดอร์นา เริ่มทำการทดลองวัคซีน RSV ทางคลินิกกับอาสาสมัครกลุ่มผู้สูงอายุเเล้ว
นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ผู้ผลิตวัคซีนชนิด mRNA ทั้งโมเดอร์นา เเละไฟเซอร์/ไบออนเทค จะทำรายได้หลายพันล้านดอลลาร์จากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นเข็มที่ 3 หรือ Booster Shots หลังมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ดี
โดยการรวมวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกันนั้น จะช่วยเพิ่มผลกำไรของบริษัทเหล่านี้ให้มากขึ้นไปอีก
ด้านคู่เเข่งหน้าใหม่ที่ต้องจับตามองอย่าง ‘Novavax’ ซึ่งใช้เทคโนโลยี ‘โปรตีนเบส’ (Protein-nanoparticle Vaccine) ในการผลิตวัคซีน เเต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากอย.สหรัฐฯ สำหรับวัคซีนโควิด ก็ประกาศว่า บริษัทได้เริ่มการศึกษาในระยะเริ่มต้นเพื่อทดสอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่และโควิดร่วมกันเเล้ว
วัคซีนต้านโควิดของโมเดอร์นานั้น ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบให้ใช้ในวัยรุ่น ส่วนวัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์/ไบออนเทค ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้กับผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไปเเล้ว
ที่มา : Reuters
]]>ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ ผศ.นพ.วิชัย เตชะสาธิต แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ และผู้อำนวยการ ศูนย์บัญชาการสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงการเปิดรับจองวัคซีน “โมเดอร์นา” (Moderna) ดังนี้
รพ.บำรุงราษฎร์จะเปิดจองวัคซีน “โมเดอร์นา” วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ ในราคาเข็มละ 1,650 บาท วางเงื่อนไขรับเฉพาะ 2 กลุ่มหลักก่อน คือ
ขั้นตอนการจอง เปิดจองผ่านเว็บไซต์ https://www.bumrungrad.com/ เท่านั้นจะมีการจำกัดโควตาการจองต่อวัน เมื่อกรอกข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลการฉีดวัคซีนของท่านว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่และตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับท่านที่จองไม่ทันสามารถลงทะเบียนในวันถัดๆ ไปได้จนกว่าโควตาจะหมด (รพ.บำรุงราษฎร์ขอไม่เปิดเผยจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรร)
นอกจากนี้ รพ.บำรุงราษฎร์ขอชี้แจงในหลายๆ ข้อสงสัย ดังนี้
เหตุผลที่ขออนุญาตไม่รับจองสำหรับผู้ที่ได้รับ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) แล้วนั้น ผศ.นพ.วิชัย อธิบายข้อมูลเชิงวิชาการว่า เนื่องจากผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ส่วนใหญ่ในไทยจะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เป็นต้นไป ขณะที่วัคซีนโมเดอร์นาจะนำเข้ามาในไทยช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 จนถึง มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับวัคซีน AstraZeneca จะยังสูงพอสำหรับป้องกันความรุนแรงของโรคได้ จึงยังไม่จำเป็นต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยเข็มที่ 3
ขณะที่กลุ่มที่รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มในไทยส่วนใหญ่จะเป็นบุคลากรการแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับครบ 2 เข็มไปนานมากกว่า 3 เดือนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันกำลังลดลงตามธรรมชาติของวัคซีน และบุคลากรด่านหน้าเป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควรป้องกันความเสี่ยงทั้งตนเองและผู้มารับการรักษา เป้าหมายของโรงพยาบาลจึงต้องการให้วัคซีนบูสเตอร์กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน รวมถึงประชาชนที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบแล้ว
ภญ.อาทิรัตน์ ชี้แจงด้วยว่า ขณะนี้ทุกโรงพยาบาลได้รับการจัดสรรวัคซีนโมเดอร์นาต่ำกว่าที่ได้ยื่นขอจัดสรรไป ทำให้เงื่อนไขการรับจองต้องจำกัดให้ผู้ที่จำเป็นก่อน โดยเป้าหมายรพ.บำรุงราษฎร์ต้องการช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศไทย วัคซีนจำนวนนี้จึงต้องการให้กับผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนใดๆ เป็นหลัก เพื่อให้วัคซีนทั่วถึงทุกคน
ผศ.นพ.วิชัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนาวัคซีน ปัจจุบันวัคซีนหลายๆ ชนิดกำลังพัฒนา “เจน 2” เพื่อป้องกัน COVID-19 ได้หลายสายพันธุ์ (multi-variants) ซึ่งคาดว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจนราวปลายปีนี้ และอาจจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาส 1/65 จึงอยากให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนชุดแรกไปเมื่อเร็วๆ นี้ รอการฉีดบูสเตอร์โดสเป็นวัคซีนเจน 2 มากกว่า
]]>รายงานระดับชาติว่าด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่ถูกนำมาใช้งานจริง บันทึกข้อมูลตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่อิตาลีเริ่มโครงการฉีดวัคซีนในประเทศจนถึงวันที่ 3 พ.ค.
รายงานระบุว่าความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับโรค COVID-19 เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนครั้งแรก ทั้งยังรายงานสถิติ “การติดเชื้อลดลง 80% การรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลง 90% และการเสียชีวิตลดลง 95%” หลังการฉีดวัคซีนโดสแรก 35 วัน โดยแนวโน้มรูปแบบดังกล่าวพบได้ในกลุ่มคนทุกเพศ และช่วงอายุ
“ข้อมูลข้างต้นยืนยันถึงประสิทธิภาพของโครงการฉีดวัคซีน และความจำเป็นในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรจำนวนมากโดยเร็วเพื่อยุติภาวะฉุกเฉิน” ซิลวิโอ บรูซาเฟอร์โร ประธานสถาบันฯ กล่าว
ผลลัพธ์ที่ชัดเจนหลังการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) หรือโมเดอร์นา (Moderna) โดสแรกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตวัคซีนระบุว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนโดสที่สองตามหลัง 3-12 สัปดาห์ (ระยะห่างขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน) เพื่อให้วัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ถูกกำหนดให้ฉีดเพียง 1 โดสก็มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ อิตาลีดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19ให้ประชาชนทั่วประเทศกว่า 26.6 ล้านโดสแล้ว โดยมีประชาชน 8.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.1% ที่ได้รับวัคซีนครบโดส เมื่อนับถึงวันเสาร์ที่ 15 พ.ค.
]]>โดยจะเริ่มประเมินความปลอดภัยเเละประสิทธิภาพของวัคซีน ที่มีชื่อว่า “mRNA-1273” เเละวางเเผนทดลองวัคซีนในเด็กทั้งหมด 6,750 คนในอเมริกาและแคนาดา ซึ่งจะต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน
Moderna ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตยารายเเรกของสหรัฐฯ ที่จะทดลองวัคซีน COVID-19 ในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุไม่เกิน 11 ปี โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ทำการทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี ไปเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา
วัคซีนของ Moderna ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ในสหรัฐฯ เเละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และอังกฤษ ในช่วงปลายปี 2020 โดยมีประสิทธิภาพสูงถึง 94.5% และมีความสามารถในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาที่กลายพันธุ์จากอังกฤษเเละบราซิล
Stephane Bancel ซีอีโอของ Moderna กล่าวในงาน JPMorgan Healthcare Conference ตอนหนึ่งว่า ‘ผู้คนทั่วโลกอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป มันจะไม่หายไปไหน’
สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดหลายคนที่มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ COVID-19 จะกลายเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ ที่สามารถพบได้ตลอดเวลา แม้ว่าตอนนี้มีอัตราการระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม
สำหรับการกระจายวัคซีนให้ประชาชนที่เป็น ‘เด็กทารก–เด็กเล็ก’ นั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิด ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ หรือ Herd Immunity ได้เร็วขึ้น เเม้ว่าผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีความเสี่ยงที่จะอาการหนักน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่เเละผู้สูงอายุเเต่เด็กก็มีโอกาสเเพร่เชื้อไปสู่ผู้ใหญ่ได้เเละการติดต่อในหมู่วัยรุ่นก็รวดเร็วกว่าจากกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ใกล้ชิดกันต่างๆ
]]>