ไฮบริด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 04 Oct 2023 06:10:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดบทเรียนการทำงานกับ “ยูนิลีเวอร์” เข้าออฟฟิศ 40% ไม่มีสแกนนิ้ว ลดห้องประชุม เพิ่มโซนพักผ่อน แต่ประสิทธิภาพการทำงานยังเหมือนเดิม https://positioningmag.com/1445759 Wed, 27 Sep 2023 08:09:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445759 ในยุคปัจจุบันนอกจากจะต้องแข่งขันในเรื่องธุรกิจแล้ว ในเรื่องของ “คน” ก็มีการแข่งขันสูงไม่แพ้กัน หลายองค์กรต้องต่อสู้เพื่อแย่งชิงบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมถึงการรักษาคนให้อยู่ยาวนานด้วย หลายองค์กรจึงให้ความสำคัญในเรื่อง Workforce กันมากขึ้น ใส่ใจในเรื่องการทำงาน สวัสดิการ และสถานที่ทำงาน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดในการทำงานอย่างมาก

Positioning มีโอกาสได้พูดคุยกับ “ภูธัต เนตรสุวรรณ” ผู้อำนวยการฝ่ายประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการดูแลพนักงานของยูนิลีเวอร์ หลังจากที่ได้ทดลองการทำงานแบบไฮบริดสอดรับกับวิถีการทำงานของคนรุ่นใหม่ และรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

unilever

ยูนิลีเวอร์เป็นองค์กรระดับโลก มีการทำตลาดใน 190 ประเทศ มีพนักงานรวมกว่า 190,000 คน ส่วนในประเทศไทย ยูนิลีเวอร์ได้เข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2475 หรือ 90 ปีมาแล้ว มีพนักงานรวมกว่า 3,300 ราย แบ่งเป็น 1 ออฟฟิศสำนักงานใหญ่ หรือ Unilever House ถนนพระราม 9 มีพนักงาน 892 คน โรงงานมีนบุรี 2,600 คน และโรงงาน Gateway ฉะเชิงเทรา มีพนักงาน 500 คน

นำร่อง “ไฮบริด” มาก่อนกาล เข้าออฟฟิศ 40%

หลังจากที่ทั่วโลกได้เจอสถานการณ์ COVID-19 หลายคนได้คุ้นเคยกับการทำงานแบบ Work from Home บ้าง ทำงานแบบไฮบริดบ้าง ซึ่งโรคระบาดเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนวิถีชีวิตในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว หลังจากที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย หลายบริษัทก็ไม่ได้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% ก็มี เพราะหลายคนคุ้นชินกับการทำงานที่บ้านไปแล้ว

แต่สำหรับยูนิลีเวอร์ได้ลองใช้นโยบายการทำงานแบบ “ไฮบริด” มาตั้งแต่ปี 2562 เป็นช่วงก่อนเกิด COVID-19 เป็นนโยบายในระดับโกลบอล เนื่องจากเริ่มเห็นเทรนด์ของพนักงานว่าอยากทำงานแบบ Work from Home พอเริ่มมี COVID-19 ก็เริ่มกำหนดทิศทางมากขึ้นเป็นระบบ 2+2+1 ก็คือ ทำงานที่บ้าน 2 วัน ที่ออฟฟิศ 2 วัน และอีก 1 วันทำที่ไหนก็ได้

unilever

หลังจากได้ทดลองมาระยะหนึ่ง ก็เริ่มกำหนดเป็นนโยบายชัดเจนว่าขอให้พนักงานมาทำงานที่ออฟฟิศ 40% หรือ 2 วัน/สัปดาห์ แต่เป็นการตกลงกันในทีมของตัวเองว่าจะเข้ามากันทุกวันไหน ภูธัตบอกว่า ส่วนใหญ่จะเลือกกันเข้าวันอังคาร, พุธ, พฤหัสบดี เลี่ยงๆ วันจันทร์ กับศุกร์

ภูธัตเสริมอีกว่า เหตุผลที่ยังต้องมีการเข้าออฟฟิศอยู่ เพราะการทำงานยังต้องมีการปฏิสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การเจอหน้ากันจะทำให้มีไฟในการทำงานมากขึ้น รวมไปถึงออฟฟิศยังส่งเสริมวาระสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันครบรอบการทำงาน ได้รับรางวัล คนในองค์กร คนในทีมยังต้องการโมเมนต์ในการฉลองร่วมกันอยู่

ถ้าถามว่าการทำงานแบบไฮบริดแล้ว พนักงานยังทำงานได้ตาม KPI หรือไม่ ภูธัตบอกว่า หลังจากที่ทดลองการทำงานแบบใหม่ก็พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ลดลง อัตราการออกก็ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในตลาด ของยูนิลีเวอร์อยู่ที่ 12% แต่ในตลาดอยู่ที่ 15% รวมไปถึงการเข้าออฟฟิศก็ไม่มีระบบสแกนนิ้ว แต่ทุกคนก็รู้หน้าที่ของตัวเองดี

unilever

นอกจากการทำงานแบบไฮบริดแล้ว ยังมีรูปแบบการจ้างงานที่ไม่เหมือนเดิมด้วย เนื่องจากบางคนอาจติดเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ตัวอยู่เชียงใหม่ ไม่ได้อยากเป็นพนักงานประจำ ก็รับงานเป็นโปรเจกต์ไปได้ ทำให้เปิดรับคนได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น สอดรับเทรนด์คนรับงานฟรีแลนซ์มากขึ้น

ตอนนี้ยูนิลีเวอร์ทั่วโลกได้ขานรับนโยบายการทำงานแบบไฮบริดแล้วราวๆ 30-40% โดยเริ่มจากโซนยุโรปมาก่อนที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้อยู่แล้ว ในสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 70% ที่ทำงานแบบไฮบริด ทางเอเชียเริ่มรับเทรนด์นี้มาเรื่อยๆ เริ่มจาก สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บางประเทศอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังติดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ยังมีวัฒนธรรมที่เข้าออฟฟิศอยู่

ยุบเหลือ 2 ชั้น ลดห้องประชุม เพิ่มโซนพักผ่อน

ยูนิลีเวอร์ได้เปิดออฟฟิศแห่งใหม่ หรือที่เรียกว่า U-House เมื่อปี 2560 เป็นตึกขนาดใหญ่ย่านถนนพระราม 9 พื้นที่รวม 36,000 ตารางเมตร มี 12 ชั้น แรกเริ่มจะมีส่วนของพื้นที่ค้าปลีก 2 ชั้น ลานจอดรถ 4 ชั้น และ 6 ชั้นเป็นออฟฟิศของยูนิลีเวอร์ ซึ่งในตอนนั้นมีพนักงานรวม 1,150 คน

แต่หลังจากมีนโยบายการทำงานแบบไฮบริด รวมถึงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง มีการขายธุรกิจบางส่วนออก จึงทำให้จำนวนพนักงานลดลง ในปี 2563 ยูนิลีเวอร์ได้ปล่อยพื้นที่ 2 ชั้นให้กับ “แฟลช เอ็กซ์เพรส” เช่า ในตอนนี้ก็กำลังรอเช่าคนใหม่เข้ามาเติมอีก 2 ชั้นเช่นกัน

unilever

เท่ากับว่ายูนิลีเวอร์ได้หั่นพื้นที่ทำงานเหลือ 2 ชั้น จากเดิม 6 ชั้น และทำการรีโนเวตใหม่เป็น U-House 2.0 ด้วยงบลงทุน 30 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่ทำงาน 50% ห้องประชุม 40% และพื้นที่พักผ่อน 10%

หลักๆ มีการดีไซน์ใหม่ ให้สอดรับกับการทำงานรูปแบบใหม่ ห้องทำงานเป็นเหมือน Co-Working Space ไม่มีที่นั่งตายตัว เพราะทุกคนไม่ได้เข้าทำงานพร้อมกัน ให้พนักงานมีส่วนช่วยในการออกแบบ เลือกเฟอร์นิเจอร์ เลือกเกมที่ใช้ในโซนพักผ่อน ตั้งชื่อห้องประชุม และเสริมเทคโนโลยีมากขึ้น หลักๆ แบ่งเป็น 5 โซน

  • Focus Zone มุมที่ต้องการความเป็นส่วนตัว มีโต๊ะเดี่ยวๆ หรือเป็นโฟนบูธ
  • Collaboration Zone มีโต๊ะยาวที่ทำงานเป็นทีมได้
  • Connect Zone มีการลดห้องประชุมขนาดใหญ่ เพิ่มห้องเล็กมากขึ้น
  • Vitality Zone โซน U Rest มุมพักผ่อน มุมกินขนม เล่นเกม ดูหนัง โซน Wellness Area มีเก้าอี้กึ่งนอนได้ มีผ้าปิดตา ที่อุดหู
  • Special Zone มีคลินิกสำหรับผู้ป่วย มีห้องปั๊มนมได้ มีทีมซัพพอร์ต ทีมไอที Business Support Centre

unilever

สวัสดิการแบบยืดหยุ่น ไฮบริดยังให้เพิ่มอีก

โดยปกติแล้วยูนิลีเวอร์มีสวัสดิการที่คุ้มครองพนักงานอยู่แล้ว หลักๆ จะมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพ ส่วนอื่นๆ จะเป็นแบบ Flexible ยืดหยุ่นได้ แล้วแต่ความชอบแต่ละบุคคล จะมีวงเงินประจำปี แต่ในช่วงการทำงานแบบไฮบริด ก็มีสวัสดิการเพิ่มเติมเข้าไป จะเรียกว่าเป็นพอยท์ บางคนอาจจะไปใช้ส่งเสริมทักษะตัวเอง หรือไปใช้ในการดูแลสุขภาพร่างกายก็ได้

อีกหนึ่งสวัสดิการสำคัญก็คือ พนักงานสามารถซื้อสินค้าของยูนิลีเวอร์ได้ส่วนลด 30% ด้วย แต่ภูธัตบอกว่าสวัสดิการนี้เริ่มสู้ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ได้แล้ว บางเจ้ามี 1 แถม 1

unilever
ห้องพระ

ถ้าถามว่า ในยุคนี้คนทำงานต้องการสวัสดิการอะไรมากที่สุด หรือพนักงานที่จะเข้าใหม่ต้องการอะไร ภูธัตบอกว่า สวัสดิการด้านสุขภาพยังคงเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องรูปแบบการทำงาน และการส่งเสริมตัวเอง แต่สวัสดิการต่างๆ ต้องยืดหยุ่น ปรับตามความชอบส่วนตัวได้

ภูธัตบอกว่า ตำแหน่งที่หายากที่สุดของยูนิลีเวอร์ประเทศไทยคือ การตลาด ในตลาดแรงงานก็หายาก และหาที่ฟิตกับองค์กรยากด้วย

ปัจจุบันยูนิลีเวอร์มีพนักงานระดับกลางกว่า 66% และผู้บริหารระดับอาวุโสกว่า 75% เป็นผู้หญิง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยูนิลีเวอร์กำหนดไว้ว่าต้องมีบุคลากรเพศหญิง 50% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการสิทธิลาคลอดสูงสุดถึง 16 สัปดาห์ และมีวันลา 15 วันสำหรับคุณพ่อ และยังมีสวัสดิการครอบคลุมสำหรับคู่สมรสเพศเดียวกัน

]]>
1445759
เทคโนโลยีจะช่วยปิดช่องว่างความคาดหวังระหว่างพนักงานกับหัวหน้าในการทำงานแบบ “ไฮบริด” กับ “ยืดหยุ่น” ได้หรือไม่? https://positioningmag.com/1399205 Thu, 08 Sep 2022 04:00:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399205

เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลงและออฟฟิศหลายแห่งได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง หัวหน้าองค์กรธุรกิจจึงรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ต้อนรับพนักงานกลับเข้ามายังออฟฟิศ แต่พนักงานจำนวนมากส่วนหนึ่งยังคงอยากทำงานรูปแบบทางไกลต่อไป และพวกเขาจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับนโยบายของบริษัทเพื่อทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้

‘การทำงานแบบไฮบริด’ และ ‘การทำงานแบบยืดหยุ่น’ ได้เข้ามามีบทบาทในช่วงการระบาดของโรค และกำลังกลายเป็นตัวเลือกสำหรับนายจ้างในการจัดการพนักงานของตน แม้ว่าแนวคิดทั้งสองจะดูคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่ชัดเจน การทำงานแบบไฮบริดนั้น พนักงานจะทำงานทั้งที่ออฟฟิศและที่บ้านร่วมกัน ซึ่งยังคงมอบความยืดหยุ่นมากขึ้นผ่านการทำงานทางไกลในช่วงที่เกิดโรคระบาด ในทางกลับกัน การทำงานแบบยืดหยุ่นจะเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นในการทำงานและชั่วโมงการทำงาน โดยพนักงานไม่ต้องเคร่งเรื่องเวลาเข้างาน และสามารถกำหนดเวลาเข้างานในออฟฟิศตามที่ตนเองสะดวก

จากการศึกษาเรื่อง การทำงานในอนาคต ของ Lenovo พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ปรับตัวได้ดีกับการทำงานทางไกลในช่วงการระบาดของโรค โดย 70% บอกว่าพวกเขาพึงพอใจกับการทำงานมากขึ้นเมื่อได้รับความยืดหยุ่น พนักงานจำนวนมากชอบความยืดหยุ่นในการทำงานทางไกล และความรู้สึกนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นในหมู่พนักงานในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลก เพราะพนักงานในบริษัทขนาดใหญ่มักจะทำงานร่วมกับทีมงานอื่น ๆ ที่อยู่คนละทวีปและโซนเวลา ทำให้ตัวออฟฟิศมีความสำคัญลดลงในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวดีก็คือปัจจุบันมีโซลูชันด้านเทคโนโลยีมากมายที่ถูกนำมาใช้งานและปรับปรุงในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถช่วยลดช่องว่างนี้ได้


การออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้แก่พนักงานผ่านเทคโนโลยี

ไม่ว่าพนักงานจะทำงานแบบไฮบริดหรือแบบยืดหยุ่น ปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ก็อยู่ในสถานะที่ดีมากขึ้นในการจัดหาเครื่องมือให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสมและทั่วถึงเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งจากที่บ้านและในออฟฟิศ

การออกแบบสถานที่ทำงานต้องเริ่มต้นด้วยการสนับสนุนพนักงานเป็นหลัก ซึ่งอาจหมายถึงการคิดทบทวนบทบาทของออฟฟิศและเครื่องมือที่จะช่วยให้พนักงานจัดเตรียมงานผ่านทางเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น Lenovo Workplace Solutions จะช่วยให้พนักงานสามารถจัดตารางและจองพื้นที่ทำงานในออฟฟิศได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจองห้องประชุมเพื่อต้อนรับแขกได้อย่างสะดวก บริการนี้ยังประกอบไปด้วย Smart Locker ที่ช่วยให้พนักงานสามารถจัดเก็บ รับ และส่งของและอุปกรณ์ได้ตลอดเวลาพร้อมความสะดวกสบายไร้ความยุ่งยากและมีความปลอดภัยสูง

หัวหน้างานจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าพนักงานมีเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานทางไกลอย่างสะดวกสบาย ทำให้เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นและแพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริงอย่าง Microsoft Teams, Zoom และ Google Meet ได้เข้ามามีบทบาท

โซลูชันที่สามารถช่วยธุรกิจได้มีมากมาย แต่เคล็ดลับคือการได้เครื่องมือที่เหมาะสมกับความต้องการของพนักงาน ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมนี้ หัวหน้าองค์กรจะสามารถเปลี่ยนทั้งการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานแบบยืดหยุ่นให้กลายเป็นการทำงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพได้


การรักษาความผูกพันกับพนักงานในระยะยาว

นอกจากเทคโนโลยีที่เหมาะสมแล้ว องค์กรต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมือและผลกระทบต่อประสบการณ์ที่ดีของพนักงาน ด้วย Lenovo Workplace Solutions หัวหน้างานจะสามารถจัดการทรัพยากรในออฟฟิศได้ดียิ่งขึ้นผ่านการติดตามสถานที่ทำงานและการใช้เครื่องมือ IT เพื่อให้พวกเขาสามารถวางแผนได้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องมือด้วย

หัวหน้างานจะต้องร่วมมือกับทีมทรัพยากรบุคคลและหัวหน้าแผนกอื่น ๆ เพื่อติดตามความเป็นอยู่และผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วย

การลงชื่อเข้างานง่าย ๆ ในช่วงเวลาปกติจะช่วยให้หัวหน้างานมอบความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการของพนักงาน พร้อมเว้นช่องว่างไว้เพื่อใช้มาตรการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับพนักงานที่เสี่ยงต่อความเหนื่อยล้าและ/หรือภาวะหมดไฟ การใช้ข้อมูลเชิงลึกทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หัวหน้างานจะสามารถปรับการทำงานและนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงานและรักษาการความผูกพันในระยะยาวได้

อนาคตของการทำงานอาจเป็นแบบไฮบริดหรือแบบยืดหยุ่น หรือทั้งสองอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานให้กับทั้งองค์กรธุรกิจและพนักงาน

]]>
1399205
จับตา ‘BYD’ ยอดขายพุ่ง ครองตลาดรถยนต์ไฟฟ้า-ไฮบริดในจีน แซง ‘Tesla’ https://positioningmag.com/1375120 Wed, 23 Feb 2022 13:38:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375120 ‘BYD’ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ขึ้นเเซงเเบรนด์ดังอย่าง ’Tesla’ ทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเเละรถยนต์ไฮบริดใน ‘ตลาดจีน’ ได้มากกว่าในปีที่ผ่านมา ด้วยการเติบโตที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งเป้ายอดขายในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น ‘2 เท่า’

Nikkei Asia รายงานว่า โมเดลรถยนต์ของ BYD ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด คือรุ่น ปลั๊กอินไฮบริด Song Plus DM-i ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ด้วยราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 150,000 หยวน (ราว 7.6 เเสนบาท)

ตัวแทนจำหน่ายในฮุ่ยโจว เมืองทางตอนใต้ของจีน บอกว่า “Song Plus DM-i เป็นที่นิยมอย่างมาก จนผู้ซื้อต้องรอนาน 3-6 เดือนถึงจะได้รับรถ”

นักวิเคราะห์จาก Zheshang Securities มองว่าการที่รถโมเดลรุ่นนี้ขายดีเพราะว่า “ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินของเเบรนด์คู่แข่งที่อยู่ในช่วงเรตราคาเดียวกัน”

‘BYD’ ก่อตั้งในปี 1995 ในฐานะผู้ผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้และเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2003 พร้อมผลิตสมาร์ทโฟนด้วย

โดยเป็นเเบรนด์ที่สร้างชื่อเสียงมาจากรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด ซึ่งในจีนนิยามว่าเป็นหนึ่งใน “รถยนต์พลังงานใหม่” เเต่กลุ่มรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ก็ยังครองสัดส่วนยอดขายส่วนใหญ่มาจนถึงปี 2020

ต่อมาบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่เเละ ‘หันหลัง’ ให้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ตั้งเเต่ปีที่แล้ว โดยยอดขายในหมวดดังกล่าวลดลงกว่า 40% มาอยู่ที่ 130,000 คัน ขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดกลับเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า เป็น 270,000 คัน

ส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 320,000 คัน โดยยอดขายโดยรวมพุ่งขึ้น 70% ในปี 2021 และ BYD ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็น 1.5 ล้านคันในปีนี้

ข้อมลจาก Marklines บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาด ระบุว่า ยอดขายของ Tesla ในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเป็น 473,000 คัน ตามกระเเสความนิยม แต่ BYD ยังคงเป็นผู้นำในตลาด หากรวมยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเเละปลั๊กอินไฮบริดไว้ด้วยกัน

รถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดของ BYD หลายรุ่นมีราคาอยู่ระหว่าง 100,000 หยวนถึง 200,000 หยวน ซึ่งต่ำกว่ารถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla’ ที่เริ่มต้นที่ 300,000 หยวน พร้อมมุ่งเจาะตลาดต่างจังหวัดในจีนเเละคนหนุ่มสา

นอกจากนี้ จะมีเเผนจะขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ โดย BYD เริ่มส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าไปยังยุโรป เเละเริ่มมีโมเดลวางจำหน่ายในออสเตรเลีย

ปัจจุบัน กำลังการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ BYD อยู่ที่ 600,000 คัน ณ สิ้นปี 2020 คาดว่าปริมาณรถยนต์จะเกิน 3 ล้านคันได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่อย่างหนึ่งของ BYD คือ ความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง แม้ว่ายอดขายรถยนต์จะเพิ่มขึ้น แต่กำไรสุทธิยังต่ำกว่าตัวเลขของปีก่อนในช่วงไตรมาสที่สองและสามของปีที่แล้ว หลักๆ มาจากต้นทุนการผลิตที่สูง ทั้งแบตเตอรี่ ชิป และส่วนประกอบอื่นๆ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เเละยังประเด็นที่น่ากังวลอีกอย่างคือ การขาด ‘โมเดลพรีเมียม’ ที่สามารถทำกำไรสูงกว่า เนื่องจาก BYD มีรถเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่มีราคาสูงกว่า 200,000 หยวน และแทบไม่มีรถในช่วงราคา 300,000 หยวนเลย ซึ่ง Tesla ก็ครองตลาดนี้อยู่

นอกจากนี้ การแข่งขันจากผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติรายใหญ่อย่าง Volkswagen เเละ Honda Motor ก็รุนเเรงขึ้นเรื่อยๆ โดยกำลังจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ในช่วงราคา 200,000-300,000 หยวนในเร็วๆ นี้

 

ที่มา : Nikkei Asia

]]>
1375120
มองอนาคตงาน ‘Mobile Expo’ กับความเป็นไปได้ที่จะเห็น ‘กองคาราวาน’ รถบ้านขายมือถือ https://positioningmag.com/1287745 Tue, 14 Jul 2020 14:07:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287745 ผ่านไปเเล้วสำหรับงาน Thailand Mobile Expo ครั้งที่ 2 ของปี ซึ่งก็ถือว่าเป็น ‘งานอีเวนต์ใหญ่’ ครั้งแรกของไทยเลยก็ว่าได้ และแถมยังเป็นครั้งเเรกที่ผสมระหว่างงาน ออฟไลน์ และ ออนไลน์ โดยจับมือกับ Shopee และ Lazada เพื่อขยายฐานลูกค้าเพื่อเป็นแผนสำรองหากลูกค้าไม่กล้าออกมาเดินงาน

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์กลับทำได้ดีเกินกว่าที่คาดเอาไว้มาก โดยคุณ โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MVP ผู้จัดงานได้อัพเดทให้ฟังว่า ผลตอบรับของงานครั้งที่ 2 หากเทียบกับครั้งต้นปี (30 ม.ค.- 2 ก.พ.) ที่ Covid-19 พึ่งเริ่มระบาด

แม้ว่าจำนวนผู้เข้าชมงานจะลดลงจาก 4 แสน เหลือ 1 แสนคน เเต่ก็เป็นเพราะข้อจำกัดของมาตรการ Social Distancing ซึ่งต้องจำกัดผู้เข้าชมที่ 4,000 คนต่อรอบ รอบละ 2 ชั่วโมง อีกทั้งพื้นที่จัดงานจากที่เคยใช้ได้เต็ม 20,000 ตารางเมตร ก็สามารถใช้ได้เพียง 14,000 ตารางเมตร หายไป 30% เพื่อลดความแออัด ดังนั้นบูธที่ออกจึงลดเหลือ 158 บูธ ลดลง 30% เช่นกัน แต่สินค้าบางบูธขายหมดตั้งเเต่วันเสาร์ สะท้อนให้เห็นว่าคนที่มาแม้จะน้อย แต่ล้วนตั้งใจมาซื้อสินค้า

“เราเห็นคนยอมต่อเเถวเพื่อรอเข้างานจำนวนมาก บางคนต้องรอ 2 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความต้องการที่จะมางานจริง ๆ และเราเเฮปปี้ที่ลูกค้ามีของไม่พอขาย เเละไม่หั่นราคากัน”

ในส่วนของยอดเงินสะพัดครั้งนี้อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ถือว่าน่าพอใจ แม้ว่ายอดเงินสะพัดปกติจะอยู่ที่ 2-3 พันล้านบาท แต่เป็นเพราะแบรนด์จ้างดีลเลอร์มาออกบูธ เมื่อจบงานดีลเลอร์จะเหมาเครื่องไปขายต่อหลังจบงาน แต่ครั้งนี้ดีลเลอร์มาออกบูธเองทั้งหมด ดังนั้นยอดขายในงานจึงเป็นยอดขายเฉพาะของลูกค้าที่มาเดินในงานเท่านั้น ขณะที่สินค้าขายดีครั้งนี้เป็นคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และเเท็บเลต ต่างจากครั้งก่อนที่เป็นสมาร์ทโฟน โดยคาดว่าเป็นเพราะกระเเส Work From Home

อย่างไรก็ตาม ยอดขายจากฝั่งออนไลน์มีสัดส่วนเพียง 20% แม้ว่าจะมียอดวิวออนไลน์ที่ 30 ล้านวิว แสดงให้เห็นว่าออนไลน์ยังมา ทดแทน ออฟไลน์ไม่ได้ เพราะลูกค้ายังไม่มั่นใจ 100% โดยเฉพาะเครื่องราคาเกิน 2 หมื่นบาทขึ้นไป ผู้บริโภคยังต้องการที่จะ สัมผัส เครื่องก่อน

ดังนั้น งาน Thailand Mobile Expo ครั้งที่ 3 ช่วงสิ้นปียังไม่มีทางที่จะจัด ออนไลน์เต็มตัว ยังคงจัดแบบ Hybrid แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะจัดที่ไบเทค บางนาเหมือนเดิมหรือจะมีการปรับเปลี่ยนเป็น ‘กองคาราวาน Mini Thailand Mobile Expo’ ที่จัดขบวนรถบ้านขายเข้าหาลูกค้าถึงที่

“เพราะสถานการณ์ที่ยังไม่เเน่นอนเเบบนี้ เราคงยังการวางเเผนระยะยาวต้องรอดูเมื่อใกล้ถึงเวลา เเต่ถ้ามีการระบาดรอบ 2 จริง คงได้เห็นกองคาราวาน Thailand Mobile Expo แน่นอน ถ้าไม่มีรอบ 2 ก็ยังคงจัดที่ไบเทคตามเดิม”

]]>
1287745
เทียบฟอร์มงาน ‘Thailand Mobile Expo’ ก่อน-หลัง COVID-19 https://positioningmag.com/1287729 Tue, 14 Jul 2020 11:29:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287729 1287729 ‘Thailand Mobile Expo’ ชิมลางจัดแบบ ‘ไฮบริด’ ไม่หวั่นคู่แข่ง ‘ออนไลน์’ มั่นใจ ‘ทดแทน’ ออฟไลน์ไม่ได้ https://positioningmag.com/1286281 Thu, 02 Jul 2020 09:22:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286281 จัดงานครั้งแรกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ Covid-19 กำลังระบาดพอดี และสำหรับงาน Thailand Mobile Expo ครั้งที่ 2 นี้ ก็ได้เลื่อนจากที่เคยจัดประมาณปลายเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายน แต่ครั้งนี้เลื่อนมาจัดต้นเดือนกรกฎาคมแทน เพราะสถานการณ์เพิ่งจะดีขึ้น และถือว่าเป็น ‘งานอีเวนต์ใหญ่’ ครั้งแรกของไทยเลยก็ว่าได้

โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MVP กล่าวว่า การจัดงาน Thailand Mobile Expo ครั้งนี้จะเป็นแบบ ‘ไฮบริด’ โดยมีการขายออนไลน์โดยจับมือกับ Shopee และ Lazada ซึ่งข้อดีคือ ทำให้ตลาดกว้างขึ้นเพราะสามารถขายได้ทั้งประเทศ โดยไม่ต้องกระจายไปจากงานตามจังหวัดอื่น ๆ ขณะที่การจัดงานครั้งนี้ต้องจำกัดผู้เข้าชมที่ 4,000 คนต่อรอบ รอบละ 2 ชั่วโมง ขณะที่พื้นที่การจัดงานก็ลดลง 30%

ดังนั้น คาดว่าผู้เข้าชมงานปีนี้อาจจะมีเพียง 3 แสนราย ลดลงครึ่งหนึ่งจากปกติ ขณะที่ยอดเงินสะพัดอาจหายไป 30% จากปกติที่มียอดราว 2-3 พันล้านบาท ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องรอดูยอด-ขายฝั่งออนไลน์ก่อน โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนราว 30% ของยอดขายทั้งหมด

“ตอนแรกเราลังเลว่าจะจัดดีไหม สุดท้ายเราตัดสินใจจัดโดยใช้เวลาเตรียมจัด 2 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งก็เพื่อซ้อมการจัดแบบไฮบริด เพราะเราไม่รู้ว่าช่วงปลายปีจะจัดได้ไหม การระบาดจะมาอีกรึเปล่า เราไม่สามารถประเมินได้เลย แต่อย่างน้อยเราทำออนไลน์ได้ นั่นแปลว่าเรารอดแล้ว”

สำหรับงาน Thailand Mobile Expo ในครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิม เพราะด้วยสภาวะเศรษฐกิจและข้อกำหนดต่าง ๆ ทำให้แต่ละบูธไม่มีการจัดกิจกรรมและไม่ทำบูธใหญ่ และเป็นดีลเลอร์ที่เข้ามาขายของแทน ดังนั้นจึงทุ่มไปที่ส่วนลดแทน ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคก็ไม่ได้เน้นเดิมชมงาน แต่มาเพื่อซื้อและกลับทันที ดังนั้นการที่ผู้บริโภคซื้อเร็วกลับเร็ว ก็เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเปิดงานวันแรก มีจำนวนผู้ชมเยอะกว่าครั้งต้นปีที่ Covid-19 กำลังระบาด ดังนั้นมองว่าผู้บริโภคอั้นการจับจ่ายมานาน และถือเป็นส่วนพิสูจน์ว่า งานแบบออฟไลน์จะไม่หายไป แม้ว่าปัจจุบันจะเริ่มเห็นงานแบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากงานออฟไลน์และออนไลน์ให้อารมณ์และความรู้สึกต่างกัน

“การแข่งขันที่มากขึ้นจากออนไลน์เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในอนาคต เราเองก็ต้องดิสรัปต์ตัวเอง ต้องมีออนไลน์ควบคู่ แต่สิ่งสำคัญคือ แบรนดิ้งที่เราเคยเป็นที่ที่ให้ทุกคนเข้ามาชิงอันดับ 1 เป็นเหมือนลีกที่ให้แบรนด์มาแข่งขัน”

สำหรับภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงครึ่งปีหลังยังประเมินยาก เพราะปัจจุบันผู้บริโภคใช้เวลานานกว่าจะเปลี่ยนเครื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 18-24 เดือน เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากระตุ้นให้เปลี่ยน ส่วนเทคโนโลยี 5G เชื่อว่าจะยังไม่มาเร็ว ๆ นี้ อาจต้องรอประมาณช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า เพราะเทรนด์ของไทยจะตามหลังจีนประมาณ 2 ปี

ทั้งนี้ งาน Thailand Mobile Expo 2020 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่าง 10.00 – 20.00 น. หรือเลือกซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ทั้ง Lazada และ Shopee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

]]>
1286281