บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทย่อย บมจ. ซีพีเอฟ โกลบอลฟู้ด โซลูชั่น ได้ยื่นไฟลิ่งกับ ก.ล.ต. เพื่อที่จะนำ ซีพีเอฟ โกลบอลฟู้ด โซลูชั่น เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะนำหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 30% ออกจำหน่ายให้กับประชาชนครั้งแรก
สำหรับธุรกิจของ CPFGS นั้นเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของ CPF ภายในประเทศไทยและจำหน่ายไปยั
แบรนด์สินค้าที่ CPFGS จัดจำหน่ายอยู่ เช่น CP Butcher BKP Super Chef Meat Zero เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังมีธุรกิจร้
สำหรับผลประกอบการในปี 2022 ที่ผ่านมา CPFGS มีรายได้รวมทั้งสิ้น 170,830 ล้านบาท และมีกำไรสำหรับปีจำนวน 6,173 ล้านบาท
]]>บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองห์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CPF เข้าซื้อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ “FIVE STAR” ที่จดทะเบียนใน 12 ประเทศ จากบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CPG) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารภายใต้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าว
ซึ่งดีลนี้นั้น CPF จะใช้เงินทั้งสิ้น 317.09 ล้านบาทในการทำธุรกรรมดังกล่าว ขณะที่แหล่งที่มาของเงินทุนนั้นบริษัทได้ชี้แจงว่ามาจากกระแสเงินสดภายในบริษัทเอง
สำหรับแบรนด์ FIVE STAR ในประเทศไทยนั้นจากเดิมได้ใช้ชื่อว่า “ไก่ย่าง 5 ดาว” ซึ่งแบรนด์ดังกล่าวเริ่มก่อตั้งในปี 2528 แต่ได้มีการรีแบรนด์ไปใหม่ในช่วงปี 2562 โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้นมาสาขาของแบรนด์ไก่ย่างชื่อดังนี้มีมากกว่า 6,000 สาขาทั่วประเทศไทย
ขณะที่สาขาในต่างประเทศนั้นแบรนด์ FIVE STAR มีสาขาราวๆ 1,600 สาขาในต่างประเทศ
CPF คาดว่าระยะเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ “FIVE STAR” จากเครือเจริญโภคภัณฑ์ในแต่ละประเทศนั้นอาจใช้เวลาอยู่ในช่วง 3-18 เดือนแล้วแต่ประเทศขึ้นอยู่อยู่กับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
]]>สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) พิจารณาที่จะนำธุรกิจอาหารสัตว์ รวมถึงธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืช มา IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังจากที่ทางกลุ่มนั้นกำลังปรับโครงสร้างทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
แหล่งข่าวของสำนักข่าวรายดังกล่าวยังกล่าวว่า CP Group เริ่มมีการพูดคุยกับทางที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับแผนการดังกล่าวบ้างแล้ว
การนำ 2 ธุรกิจดังกล่าวออกมา IPO คาดว่าอาจระดมทุนได้สูงสุดถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 34,443 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเม็ดเงินที่จะระดมทุนได้นั้นแหล่งข่าวของสื่อธุรกิจรายดังกล่าวชี้ว่าขึ้นกับสภาพของตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้น
แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวคาดว่าธุรกิจดังกล่าวจะสามารถ IPO ได้ในช่วงปีหน้า อย่างไรก็ดีทางตัวแทนของ CPF ได้ออกมาปฏิเสธกับ Bloomberg ว่าไม่มีการนำธุรกิจดังกล่าวมา IPO แต่อย่างใด ขณะที่ตัวแทนของ CP Group ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว
]]>จากการผสมข้ามสายพันธุ์ของหมูพันธุ์เบอร์คเชียร์, หมูสยาม และหมูจีน ที่ราชวงศ์อังกฤษเลี้ยงในพระราชวังวินเซอร์ และส่งมอบให้เป็นของขวัญแก่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และผ่านการปรับปรุงสายพันธุ์มาจนกลายเป็น หมูดำ คูโรบูตะ เนื้อหมูคุณภาพดีมีความนุ่มชุ่มฉ่ำที่สุดในปัจจุบัน และสายพันธุ์ชั้นดีก็ถูกปรับปรุงอีกทอดโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาดกลาง ซีพีเอฟ ได้อธิบายถึงความพรีเมียมของ หมูดำซีพี-คูโรบูตะ ว่าได้ถูกการันตีจากจากงานวิจัยกับเชฟมืออาชีพ 100 คน แล้วว่า อร่อยกว่าหมูทั่วไป เนื่องจากมีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัว ทั้งเนื้อสีเข้มสวย มีความฉ่ำวาว เนื้อนุ่มกว่าหมูทั่วไปจากเส้นใยกล้ามเนื้อที่ละเอียด ความชุ่มฉ่ำสูง และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื่องจากถูกเลี้ยงดูอย่างพิถีพิถันภายในฟาร์มระบบปิดมาตรฐานระดับโลก
มีการควบคุมอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้หมูสุขภาพดี แข็งแรง ปราศจากโรค ปลอดสารเร่งเนื้อแดง ปลอดภัยต่อการบริโภค พร้อมทั้งให้อาหารสูตรพิเศษที่เป็นธัญพืช 100% ไม่มีโปรตีนจากสัตว์ทำให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม หอม นุ่ม ฉ่ำ จนเป็นเอกลักษณ์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ร้านอาหารและเชฟจะมั่นใจในการเลือกใช้หมูดำซีพี-คูโรบูตะเป็นวัตถุดิบ และสำหรับคนที่อยากอร่อย หอม นุ่ม ฉ่ำกับหมูดำง่ายๆ ที่บ้าน CP แนะนำเมนูใหม่ ! หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ หมักซอสบูลโกกิ พร้อมปรุง ที่แค่แกะซองก็อร่อยง่ายได้เลย แถมยังมีอีก 4 เมนูไม่ว่าจะเป็น หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ หมูน้ำมันงา , หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ ตับหมูน้ำมันงา , หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ สันนอกหมูซอสซีอิ๊วญี่ปุ่น และ หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ สันนอกหมูโคชูจัง
นับตั้งแต่วางจำหน่ายตั้งแต่ต้นปี 2553 ปัจจุบัน หมูดำซีพี-คูโรบูตะก็อยู่คู่ไทยมาเป็นเวลากว่า 10 ปี และภายในงานฉลองครบรอบปีที่ 10 CP Kurobuta Festival (ซีพี-คูโรบูตะ เฟสติวัล) ทางซีพีเอฟก็ได้จับมือกับ LINE MAN Wongnai ร่วมกันรังสรรค์งาน CP x Wongnai Savour Sensation Hunting พร้อมกับเปิด ลายแทงสุดยอดเมนูหมูดำ
และภายในอีเวนท์ดังกล่าวยังได้ ‘เชฟนิค-ณัฏฐพล ภวไพบูลย์’ Executive Chef และ Co-Founder แห่ง Wanghinghoi Food Group หรือ ร้านอาหารวังหิ่งห้อย มารังสรรค์ 10 เมนูหมูดำ เพื่อสะท้อนถึงความ พรีเมียม ของวัตถุดิบ พร้อมปลุก ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และ เนื้อสัมผัสของหมูดำซีพี-คูโรบูตะ
ด้วยบรรยากาศร้านวังหิ่งห้อยที่มีคอนเซปต์เสมือน ยกป่าและธรรมชาติ มาไว้กลางเมือง พร้อมกับมี หิ่งห้อย จริง ๆ ให้ได้สัมผัสระหว่างรับประทานอาหาร ดังนั้น บรรยากาศภายในห้องทานอาหารจึงมีเพียงแสงไฟสลัว ๆ ทำให้ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของอาหารพร้อมปลุกประสาทสัมผัสทั้ง 5 แบบเต็ม ๆ
สำหรับ 10 เมนู Chef’s Table ของเชฟนิคนั้นมีคอนเซปต์จากการนำอาหารขึ้นชื่อของแต่ละเชื้อชาติมาสร้างสรรค์ความอร่อยที่แตกต่างเริ่มต้นด้วย 3 เมนูแรก เชฟนิคเลือกเสิร์ฟเพื่อเปิดประสาทสัมผัสกลิ่นและความนุ่มของเนื้อหมูดำ ได้แก่
เมนู ชาชู ซันเดย์ ที่เลือกใช้ชิ้นส่วนสามชั้นมาปรุงแบบไร้มัน ราดกับน้ำซุปที่เคียวจากกระดูก Back Bone กินคู่กับหมี่เย็นโฮมเมด ตามด้วยเมนู พูลพอร์คทาโก้ เอาไขมันจากสามชั้นของหมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ มาผัดกับเนื้อหมูส่วนสะโพกที่ปรุงแบบ Slow Cook แล้วนำมา shred ให้เนื้อสัมผัสที่นุ่มและฉ่ำ ใส่ในแผ่น Taco เสิร์ฟแบบ slam on บนลูกเดือยกรุบกรอบ ปิดด้วย ซีพี-คูโรบูตะ มาเหนือ ที่เชฟนิคเลือกใช้ ไหล่หมู เป็นวัตถุดิบ พร้อมหมักกับเครื่องเทศไทย นำไปอบ แล้วย่าง จากนั้นนำมาซูวี (Sous Vide) แล้วนำมาปรุงด้วยรูปแบบ deconstructed ที่ดึงเอาเสน่ห์รสชาติแบบลาบเหนือดั้งเดิม มา Twist ในรูปแบบ Modern เสิร์ฟแบบ FineDining เพื่อเปิดสัมผัสด้านกลิ่น
ส่วน Main Course จะประกอบด้วยเมนู สะเต๊ะซี่โครงหมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ โดยนำซี่โครงมาซูวีแล้วค่อยนำไปย่างบนหินชาโคล และราดด้วยน้ำสะเต๊ะที่ทำจากมันหมูดำ ทานคู่กับอาจาดเยลลี่ซ่อนพริก ต่อด้วย ราวิโอลี่ทรัฟเฟิล ซีพี-คูโรบูตะ ที่ใช้เนื้อสันนอก Dice เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเต๋าเล็ก ๆ ปรุงรสเผ็ดเบา ๆ พร้อมเคี่ยวกับน้ำมะเขือเทศ และ Italian Herbs ห่อด้วยแป้งพาสต้า Ravioli โฮมเมดที่ทำจากฟักทอง โรยด้วยทรัฟเฟิล ต่อมาเป็นเมนู หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะบูลโกกิ ที่ใช้เนื้อหมูดำส่วนสันในนำมาสไลซ์บาง 2 มม. นำมาผัดกับซอสบูลโกกิ ที่ทำจากน้ำต้มกระดูกหมูดำ เสิร์ฟพร้อมข้าวเกาหลี กิมจิ และหอมหัวใหญ่ร่อนไฟ
ตามด้วยเมนู หมูฮ้อง เมนูท้องถิ่นของภูเก็ต โดยเชฟนิคใช้ชิ้นส่วน เนื้อหมูสามชั้นติดหนัง (Skin on) ที่ตุ๋นกับเครื่องเทศไทยที่ปั่นรวมกัน ต้มแบบขลุกขลิกจนน้ำมันของหมูออกมา แล้วตุ๋นต่อด้วยน้ำมันของหมู เปิดสัมผัสความนุ่มแบบละลายในปาก เสิร์ฟพร้อมต้นผักชีเทมปุระ ครีมชีส และมันบด อีกเมนูคือ ต้มแซ่บคูโรบูตะสองใจ โดยใช้ส่วนสันนอกผสมกับไขกระดูก นำมาปรุงให้ได้รสชาตินุ่มฉ่ำ เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปใสที่เคี่ยวจากกระดูก Back Bone นานเกือบ 3 วัน
อีกเมนูไฮไลท์ คือ หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะกระเพราไข่ดาว กับการรังสรรค์เมนูสามัญของคนไทยให้พิเศษยิ่งขึ้นพร้อมปลุกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการ เขย่าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ซึ่งจะได้ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสอย่างแท้จริง และปิดท้ายด้วย เมนูของหวาน โดยเชฟเลือกรังสรรค์ ไอติมกะทิมันหมู เบคอน โดยไอติมกะทิเคลือบด้านบนด้วยมันหมูแทนซอสรสชาติต่าง ๆ ชูความหอมแบบ Delicious Aroma ของมันหมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ บวกกับเบคอนรีดน้ำมันกรุบกรอบ ส่งให้ความหวานหอมละมุนของไอติมกะทิ
“หมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ เป็นวัตถุดิบที่สามารถใช้ได้ทั้งหมดโดยไม่เสียเปล่า อีกทั้งยังเปิดประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของเรา ตั้งแต่การมองเห็นผ่านเนื้อสีเข้มฉ่ำวาว เมื่อนำมาปรุง เนื้อหมูสามารถดูดซับเครื่องปรุงได้ดี ใช้เวลาหมักน้อย ตอนที่รับประทาน สัมผัสแรกคือ ความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ตามด้วยความนุ่มและชุ่มฉ่ำที่แตกต่างจากหมูทั่วไป เหมาะแก่การทำอาหารทั้งคาวและหวาน ไม่ว่าจะเลือกชิ้นส่วนไหน” เชฟนิค-ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ ทิ้งท้าย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี บริษัทฯ จัดกิจกรรมให้ลูกค้าได้ร่วมสนุกผ่านร้านอาหารลุ้นรับโปรโมชั่นพิเศษและของที่ระลึกสุดพรีเมียม รวมทั้งผู้ที่จับจ่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อาทิ Lotus’s, Makro, The mall, Foodhall, Villa, Foodland, Big C, ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยร่วมจับสลากผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงซื้อหมูดำ ซีพี-คูโรบูตะครบ 350 บาท รับ 1 สิทธิ์ ลุ้นรับ credit voucher LINE MAN จำนวน 100 รางวัล สูงสุดมูลค่า 50,000 บาท สำหรับสั่ง delivery บน LINE MAN จากร้านค้าที่มีเมนูหมูดำจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 6-31 ตุลาคม 2565 และประกาศผลในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2565
]]>บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ในกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัว ‘Chick Cargo’ (ชิคคาร์โก้) ร้านอาหารใหม่สไตล์เกาหลี 3 สาขา ได้แก่ โลตัส สุขาภิบาล 3, บิ๊กซี สุขสวัสดิ์ และ ไบเทค บางนา
ต่อยอดเทรนด์ และอิทธิพลของอาหารเกาหลีจากซีรีส์ต่างๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย จึงคิดค้นเมนูไก่ทอดที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ในปีนี้เชสเตอร์ตั้งเป้าขยายร้าน Chick Cargo มากขึ้นทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
ร้าน Chick Cargo ทั้ง 3 สาขา เป็นรูปแบบ Stand Alone เหมาะกับการนั่งรับประทานคนเดียว ครอบครัว หรือรวมพลเพื่อนๆ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. สาขาโลตัส สุขาภิบาล 3 และสาขาบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ส่วนสาขาไบเทค บางนา ตั้งอยู่ชั้น G โซน SAMA Foodtory
โดยมีเมนูหลากหลายให้เลือกรับประทาน ทั้งเมนูข้าว ซุป และรามยอนสไตล์เกาหลี รวมถึงสแน็กของทานเล่นที่อร่อยลงตัว สำหรับเมนูไฮไลต์ คือ ไก่ทอด ที่มีซอสให้เลือก 3 รสชาติ ได้แก่ ออริจินัล รสซีอิ้วเกาหลี, รสโคเรียนฮันนี่ และรสโคเรียนสไปซี่
และยังมีเมนูอินเทรนด์ สโนว์ออเนี่ยน ไก่ทอดพร้อมซอสสโนว์ออเนี่ยน หอมหวานมัน เสิร์ฟคู่กับหัวหอมสไลด์บางและมะนาว เมนูรามยอน เมนูเส้นสไตล์เกาหลีก็มีให้เลือก ทั้งรามยอนน้ำและแบบแห้ง พร้อมออกแบบเมนูข้าวเอาใจคนไทย โดยมี 3 สไตล์ อาทิ ข้าวผัดกิมจิ ข้าวหน้าหมูบูลโกกิ และข้าวหน้าหมูผัดกิมจิ
]]>ตลาดสตรีทฟู้ดร้อนแรงขนาดนี้ มีหรือที่ “เชสเตอร์” จะพลาดขบวนในการจับตลาดนี้ด้วย แบรนด์ “ตะหลิว” นี้ จะเป็นเหมือนแบรนด์ลูกในเครือของเชสเตอร์ ต่อยอดจากจุดเด่นของแบรนด์คือข้าว และพริกน้ำปลา
ตะหลิวได้วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท
เชสเตอร์ได้นำร่องเปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เลือกโลเคชั่นเป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช และล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง
ถ้าถามถึงที่มาที่ไป “รุ่งทิพย์ พรหมชาติ” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด เล่าให้ฟังว่า
“จุดเด่นของเชสเตอร์คือ เรื่องข้าว และพริกน้ำปลา เลยมองว่าจะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง อีกทั้งตลาดสตรีทฟู้ดเป็นฐานใหญ่มากของตลาดร้านอาหารในไทย คิดเป็นสัดส่วน 50% เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ หรือโลคอลข้างทาง แต่ก็มีลูกค้าเยอะตลอด เราเลยมาปรับรูปแบบให้ร้านแบบนี้ขึ้นห้าง ปรับเมนูให้โดดเด่น เอามาผสมกับจุดเด่นของเรา”
รุ่งทิพย์เสริมอีกว่า แผนการขยายสาขาของตะหลิวในปีนี้ยังอยู่ช่วงทดลองตลาด ดูว่าโลเคชั่นไหนเหมาะ และการตอบรับของผู้บริโภค แรกเริ่มจะเป็นบริษัทลงทุนเองก่อน มองว่าจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ร้านเล็กๆ ในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่ง และ Cloud Kitchen ที่เน้นเดลิเวอรี่ โดยจะใช้ครัวของเชสเตอร์เป็นหลัก
ซึ่งถ้าผลตอบรับดี จะเริ่มขยายแฟรนไชส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปีหน้า จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการหารายได้เพิ่ม และยังช่วยขยายสาขาได้เร็วขึ้นด้วย
เทรนด์ของสตรีทฟู้ดเริ่มเห็นมาได้ 1-2 ปีแล้ว แรกเริ่มกลุ่ม ZEN ได้นำร่องเปิดตลาดด้วยแบรนด์ “เขียง” เป็นสไตล์อาหารตามสั่งยอดนิยม ปัจจุบันได้กลายเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของกลุ่ม มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่ได้มากอีกด้วย
ในส่วนของกลุ่ม CRG ก็ร่วมวงด้วยการเปิดตัวแบรนด์ “อร่อยดี” เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 สาขา และยังเตีรยมขยายแฟรนไชส์ในเร็วๆ นี้ด้วย
เชสเตอร์เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ไม่พลาดขบวน แม้จะมาช้า แต่ก็ยังไม่หลุดขบวนเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคยังตอบรับกับเซ็กเมนต์นี้ เนื่องจากเป็นอาหารจานด่วน และเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกวัน เมื่อเทียบกับเชนร้านอาหารแล้ว จะมีราคาย่อมเยากว่าด้วย
ต้องจับตาต่อไปว่า จะมีเชนร้านอาหารแบรนด์ไหน ลงมาจับตลาด แต่เชื่อว่าตลาดต้องร้อนแรงอย่างแน่นอน
]]>ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “รุ่งทิพย์ พรหมชาติ” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด จะมาเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังสรุปได้ 5 ข้อ ดังนี้
แรกเริ่มต้องเกริ่นถึงที่มาที่ไปของร้านเชสเตอร์ เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในเครือของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้เริ่มเปิดสาขาแรกในปี 2531 ที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง ตอนแรกใช้ชื่อแบรนด์ว่า “เชสเตอร์ กริลล์ ชิคเก้น” เน้นเมนูไก่ย่าง
ต่อมาในปี 2534 ได้รีแบรนด์ให้เหลือเพียงแค่ “เชสเตอร์ กริลล์” เพื่อเปิดกว้างสำหรับรายการอาหารที่หลากหลายยิ่งขึ้น และในปี 2556 ได้ปรับชื่อร้านให้สั้นลงอีก เหลือเพียง “เชสเตอร์” ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน
รุ่งทิพย์บอกว่า จากที่ในตอนแรกเน้นขายเมนูไก่ย่าง ก็เริ่มปรับให้เข้ากับคนไทยมากขึ้นด้วยการพัฒนา “เมนูข้าว” เมนูแรกที่จำหน่ายคือ “ข้าวอบไก่ย่าง” ตอนนี้ก็เป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่ขายดีที่สุด เมนูนี้จะมีซอสหวานๆ เหมือนซอสสไตล์ญี่ปุ่น พอทานไปเรื่อยๆ หลายคนจะรู้สึกเลี่ยน
ทางผู้ใหญ่ของบริษัทเลยแนะนำว่าน่าจะมี “ซอสพริกน้ำปลา” เพื่อมาตัดเลี่ยน จึงได้พัฒนาพริกน้ำปลาในสูตรของเชสเตอร์ อยู่คู่กับร้านมาแล้ว
ในตอนแรกพริกน้ำปลาอาจจะเป็นแค่ตัวประกอบที่เอามาตัดกับเมนูข้าว ตอนนี้ถ้าพูดในภาษากีฬา หรือเกมอาจจะต้องบอกว่าเป็น MVP ก็ได้ หรือ Most Valuable Player เป็นผู้เล่นทรงคุณค่า หรือเป็นตัวละครโดดเด่นประจำร้านเชสเตอร์ไปแล้ว เพราะหลายคนนึกถึงเชสเตอร์ จะนึกถึงพริกน้ำปลาเป็นอันดับต้นๆ
เคล็ดลับของพริกน้ำปลาเชสเตอร์จะทำสดใหม่วันต่อวัน แต่ละสาขาจะต้องลงมือทำเอง ไม่มีการทำจากครัวกลางแล้วส่งตามสาขาเด็ดขาด และจะไม่ทำค้างคืน
ส่วนผสมทั้งหมดจะต้องหั่น และผสมในวันนั้นๆ ผสมสดๆ เพราะถ้าค้างคืนรสชาติจะเปลี่ยนทันที น้ำปลาจะเค็มขึ้น เมื่อน้ำปลาผสมกับมะนาว พอข้ามวันจะมีรสชาติขม กระเทียมจะช้ำ และพริกจะดำ
รุ่งทิพย์บอกว่า บางสาขาที่ขายดีอย่างเช่น สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ ต้องใช้พริกวันละ 1 กิโลกรัมเลยทีเดียว
เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งนอกจากต้องทำวันต่อวันแล้ว ส่วนผสมทุกอย่างต้องหั่นด้วย “มือ” ทั้งหมด ไม่ว่าจะพริก กระเทียม ต้องมีขนาดเท่าๆ กัน เคยใช้เครื่องหั่นทำให้พริกแตก และทำให้สูตรเพี้ยน เผ็ดไปบ้าง ลูกค้าจะไม่ชอบ
แต่ละสาขาจะมี “มือหั่น” ที่ชำนาญในการหั่นพริก กระเทียมอย่างดี ต้องมีการฝึกฝน
รุ่งทิพย์ เล่าว่า ถ้าวันไหนร้านหั่นพริกไม่ได้ขนาด จะมีลูกค้าประจำที่มาทานบ่อยๆ จะรู้ทันที จะเข้ามาแซว มาคอมเมนต์ว่าร้านนี้หั่นพริกใหญ่จัง ทำให้ต้องรักษามาตรฐานตลอด
กระแสความนิยมของพริกน้ำปลาเชสเตอร์เป็นที่พูดถึงมากบนโลกออนไลน์ มีหลายคนถึงกับแกะสูตรในการทำพริกน้ำปลาเชสเตอร์ทานเองให้ได้
เมื่อถามถึงโอกาสในการจำหน่ายพริกน้ำปลาแยกเป็นขวดๆ รุ่งทิพย์บอกว่า เรื่องนี้มีคนถามเข้ามาเยอะ แต่ทำค่อนข้างยาก เพราะอย่างที่บอกว่าต้องทำสดใหม่แบบวันต่อวัน ทำค้างคืนไม่ได้ รสชาติจะเปลี่ยนทันที
ที่สำคัญอยากดึงให้ลูกค้ามาทานที่ร้านมากกว่าด้วย ให้เป็นไอเท็มที่หาทานที่อื่นไม่ได้
แม้เชสเตอร์จะเริ่มต้นมาจากเมนูไก่ย่าง แต่ในปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของเมนูข้าวมีมากถึง 40% ที่เหลือเป็นอาหารทานเล่น 20% ไก่ย่าง 15% และอื่นๆ 25%
ซึ่งอย่างไรแล้วคนไทยก็ยังชื่นชอบเมนูข้าว ไม่ว่าร้าน QSR จะมาจากต่างประทเศ ก็ยังต้องมีเมนูโลคอลที่เป็นเมนูข้าวมาเสริม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าคนไทย
รุ่งทิพย์บอกว่าแม้ในตอนนี้จะมีเมนูใหม่ๆ ที่เป็นเมนูแซ่บๆ ลูกค้าก็ชอบทานคู่กับพริกน้ำปลาอยู่ดี กลายเป็นไอเท็มที่ทานได้กับทุกเมนูไปแล้ว
ปัจจุบันเชสเตอร์มีสาขารวมทั้งหมด 200 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทลงทุนเอง 50% และแฟรนไชส์ 50% ในปีนี้มีแผนขยาย 20 สาขา ยังคงเป็นไปตามแผนเดิม
]]>ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า “โครงการ CPF ส่งอาหารจากใจร่วมต้านภัย COVID-19” โดยการสนับสนุนอาหารสำหรับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเฝ้าระวัง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ
บริษัทฯจะใช้วิธีบริหารจัดการโดย
1.) ขอให้บุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 แจ้งความประสงค์รับการสนับสนุนอาหารจากซีพีเอฟ โดยลงทะเบียนได้ที่ LINE CPFRESHMART >> http://bit.ly/2PFFcyB
2.) บริษัทฯ จะนำรายชื่อที่ลงทะเบียน ตรวจสอบกลับไปยังกรมควบคุมโรค
3.) เมื่อผู้ป่วยฯ ได้รับการยืนยันผ่าน SMS แล้ว “ทีมซีพีเฟรชมาร์ทเดลิเวอรี่” จะนำผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทจากจุดกระจายสินค้า 109 สาขาทั่วประเทศ (กทม. 59 สาขา) ส่งตรงถึงบ้านผู้ป่วยฯ
4.) สำหรับโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ สามารถแจ้งความประสงค์รับการสนับสนุนอาหาร ผ่านฮอตไลน์ซีพีเฟรชมาร์ท โทร.1788
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร CP ที่จะส่งมอบ มีให้เลือกถึง 3 ชุด 34 รายการ ได้แก่ 1.) ชุดอาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) อาทิ ข้าวกะเพราไก่ สปาเก็ตตี้คาโบนารา เกี๊ยวกุ้ง ฯลฯ ที่กลุ่มเสี่ยงสามารถนำเข้าไมโครเวฟเพื่ออุ่นร้อนและรับประทานได้ทันที 2.) ชุดข้าวแกงถุง ที่สามารถแกะถุงรับประทานได้ทันที และ 3.) ชุดอาหารสด เนื้อไก่ เนื้อหมู ที่สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆได้ตามต้องการ และได้เริ่มดำเนินการจัดส่งตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
]]>กลายเป็นเทรนด์ระดับโลกที่แบรนด์ใหญ่ๆ ต่างให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังล้นโลก ต่างมีนโยบายลดถุงพลาสติก และแพ็กเกจจิ้งจากพลาสติกกันมากมาย และมีการใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“เครือเจริญโภคภัณฑ์” CP ได้เริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เตรียมใช้นโยบายด้านแพ็กเกจจิ้งตามหลักการ ‘5Rs’ คือ การสร้างความตระหนักรู้ เพื่อให้ผู้บริโภคลดการสร้างของเสีย (Re-educate), การลดใช้พลาสติก (Reduce), การรีไซเคิลพลาสติก (Recycle), การใช้วัสดุทดแทน (Replace) และการค้นคว้าวิจัยและนวัตกรรม (Reinvent)
CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำถาดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพ PLA (Polylactic acid) ซึ่งเป็นถาดอาหารชีวภาพที่ผลิตจากพืช (Renewable resource) และสามารถย่อยสลายได้ 100% ทดแทนการใช้ถาดพลาสติกใส PET (Polyethylene terephthalate) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียมและไม่สามารถย่อยสลายเองได้ทางชีวภาพ
ซึ่ง CPF มีลดการใช้พลาสติกในกระบวนการผลิตด้วยการลงทุนมาต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันสามารถลดการใช้พลาสติกได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปี เช่น ในปี 2556 โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของ CPF ใช้ Bulk feed tank ทดแทนการใช้ถุงพลาสติกบรรจุอาหารสัตว์
และในปี 2560 สามารถลดการใช้พลาสติกได้ 60% ของการใช้พลาสติกในกระบวนการผลิต หรือคิดเป็นพลาสติกมากกว่า 8,000 ตัน เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 17,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วยังได้ขยายผลไปยังกิจการต่างประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และรัสเซีย
และในธุรกิจสัตว์น้ำได้นำ Q-pass tank มาใช้ที่ฟาร์มสัตว์น้ำเพื่อทดแทนการใช้ถุงพลาสติกบรรจุลูกกุ้ง ลดพลาสติกได้มากกว่า 1,600 ตัน เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 3,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ในขณะที่ 7-11 ภายใต้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายลดเลิกการใช้พลาสติก ภายใต้โครงการ “7 Go Green” เป็น 4 ระยะ คือ 1. ลดการใช้ถุงพลาสติก 2. ร้านประหยัดพลังงาน 3. Green Logistic และ 4. Green Product (สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
โดยโครงการ ‘ลดวันละถุง คุณทำได้’ ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดง สร้างแรงกระเพื่อมในการปฏิเสธไม่รับถุงอย่างได้ผล ด้วยการ ‘เปลี่ยนถุงเป็นเงิน’ นั่นคือ เมื่อลูกค้าปฏิเสธการรับถุง 1 ครั้ง เซเว่นฯ จะเปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 20 สตางค์ ซึ่งจะรวบรวมเพื่อสมทบทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ มอบให้อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา โรงพยาบาลศิริราช
นอกจากนี้ ซีพี ออลล์ ยังได้ร่วมกับเครือเอสซีจี และกลุ่มบริษัท ดาวเคมิคอล ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ 7 Go Green Recycled Plastic Road เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นถนน นำร่องพื้นที่ลานจอดรถหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาสายไหม เป็นสาขาต้นแบบอีกด้วย
สำหรับ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่างๆ ของทรูคอฟฟี่แบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยระบบการจัดซื้อจัดจ้างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดใช้พลาสติกทุกเมนู เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ไบโอพลาสติก (PLA) จนถึงการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม
และเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่จำหน่ายภายในร้านทั้งหมดเป็นกล่องน้ำกระดาษ True Coffee ขนาด 330 มิลลิลิตร โดยจะนำร่องวางจำหน่ายให้บริการแก่ลูกค้า ณ ร้านทรูคอฟฟี่ 15 สาขา ก่อนขยายทุกสาขาทั่วประเทศต่อไป
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธนาคารโลกเมื่อปี 2561 พบว่า ประชากรโลกได้สร้างขยะปีละมากกว่า 2,000 ล้านตัน ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที โลกของเราจะต้องเผชิญกับของเสียเพิ่มขึ้น 70% หรือ 3,400 ล้านตันภายในปี 2593 ซึ่งขยะที่มีมากที่สุด 3 ประเภทแรก คือ อาหาร 44% กระดาษและกระดาษแข็ง 17% และพลาสติก 12% โดย 60% ของขยะทั่วโลกมาจากเอเชียและยุโรป
]]>ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2562 กล่าวว่า แผนธุรกิจ 5 ปี (2562 – 2566) จะโฟกัสการขยายธุรกิจอาหาร (Food) มากขึ้น ครอบคลุมการผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โออีเอ็ม อาหารปรุงสุกและอาหารพร้อมรับประทาน ปัจจุบันธุรกิจอาหารคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 17% ของซีพีเอฟ
ภายใน 5 ปีนี้ ธุรกิจอาหารจะขยับขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ เป็นการปรับพอร์ตให้ทั้ง 3 ธุรกิจหลักเท่ากัน จากปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์ 42% และธุรกิจเลี้ยงสัตว์ 41%
เครือซีพีอายุเกือบ 100 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจต้นน้ำ อาหารสัตว์ และธุรกิจเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันขยายครอบคลุมทุกด้านแล้วทั้งสัตว์บกและทะเล ด้วยเป้าหมาย “ครัวของโลก” จึงต้องมุ่งขยายการลงทุนธุรกิจอาหารมากขึ้น ซึ่งจะมีทั้งการซื้อกิจการ (M&A) การร่วมทุน และการสร้างแบรนด์เอง การลงทุนธุรกิจอาหารที่เป็นธุรกิจปลายน้ำ จะช่วยสร้างมูลค่าและทำ “กำไร” ได้ดีกว่าธุรกิจอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์
กลุ่มธุรกิจอาหารปัจจุบันมีทั้งการผลิต แปรรูป โออีเอ็มให้กับคู่ค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เคเอฟซี ที่ผลิตไก่สดส่งให้ 10 ประเทศ เช่นเดียวกับในไทยที่มีทั้งแปรรูปและพร้อมรับประทาน ตัวอย่างล่าสุด ไก่เบญจา แบรนด์ยู-ฟาร์ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารสุขภาพ เริ่มจากเนื้อไก่แปรรูป ปลายปีนี้จะเปิดตัวสินค้าพร้อมทาน ตอบโจทย์เทรนด์สะดวกซื้อ
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสินค้าในกลุ่ม Smart เช่น อาหารเพื่อผู้ป่วยและผู้สูงวัยอย่าง Smart Soup, อาหารมังสวิรัติ Smart Meal และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ Smart Drink
สำหรับเทรนด์ธุรกิจอาหารระดับโลกปัจจุบันมี 9 เทรนด์ คือ อาหารปลอดภัย แหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน บริการด้านฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารเพื่อสุขภาพ ระบบการผลิตอัตโนมัติ อาหารเฉพาะบุคคล เช่น สูงวัย ผู้ป่วย วัตถุดิบและส่วนผสมจากธรรมชาติ และอาหารพรีเมียม แนวทางธุรกิจอาหารของซีพีเอฟก็จะสอดคล้องกับเทรนด์ตลาดโลก
ปีที่ผ่านมา CPF มีรายได้ 5.67 แสนล้านบาท กำไร 15,531 ล้านบาท สัดส่วนรายได้มาจากตลาดในประเทศและส่งออก 33% และรายได้จากต่างประเทศที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุน 16 ประเทศ สัดส่วน 67%
แผนธุรกิจ 5 ปีนี้จะใช้เงินลงทุนปีละ 30,000 ล้านบาทต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป้าหมายเติบโตปีละ 10% โดยวางเป้าหมาย 5 ปีจากนี้รายได้แตะ 8 แสนล้านบาท โดยสัดส่วน 75% มาจากธุรกิจต่างประเทศ และอีก 25% ธุรกิจในไทยและส่งออก
“ซีพีเอฟ จะใช้โมเดลธุรกิจไทยที่มี 3 ธุรกิจเข้าไปลงทุนในต่างประเทศทั้ง 16 ประเทศ ปีที่ผ่านมาธุรกิจไทยมีรายได้ 1.5 แสนล้านบาท นั่นหมายถึงการทำให้ทุกประเทศมีรายได้เหมือนไทย ปัจจุบันจีนทำรายได้แสนล้านบาทแล้ว เวียดนาม อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท”
นอกจากนี้กลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรยุค 4.0 ได้นำแนวคิดนวัตกรรมเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและทุกผลิตภัณฑ์ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คลาวด์ (Cloud Computing) บิ๊กดาต้า ไอโอที (Internet of Thing : IOT) ตลอดจนระบบอัตโนมัติ มาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการ
ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ ระบบการตลาดดิจิทัลและช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีคอมเมิร์ซ เพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D Center) โดยใช้งบลงทุนราว 1,000 – 2,000 ล้านบาท
“การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่องค์กร 4.0 เป็นสิ่งที่ต้องทำทุกด้าน ไม่สามารถทำเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งได้”
ข่าวเกี่ยวเนื่อง
]]>