DANONE – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 30 Jun 2024 11:09:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บริษัทอาหารหลายแห่งปรับกลยุทธ์หลังยอดขายตก จากเทรนด์การใช้ปากกาลดน้ำหนัก ออกสินค้าใหม่เน้นโปรตีนสูงและแคลอรี่ต่ำ https://positioningmag.com/1480386 Sun, 30 Jun 2024 11:07:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480386 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอาหารหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Danone ผู้ผลิตอาหารจากฝรั่งเศส หรือแม้แต่ Nestle จากสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาหลายราย ได้เตรียมออกผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ โดยจะเน้นไปที่การเพิ่มสารอาหาร หลังจาก Ozempic หรือปากกาลดน้ำหนักได้รับความนิยม

การใช้ปากกาลดน้ำหนักถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขล่าสุดนั้นชาวอเมริกันได้ใช้ปากกาลดน้ำหนักมากถึง 30 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศ

ปากกาลดน้ำหนัก หรือ Ozempic ใช้งานโดยฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งตัวยานั้นมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนคล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่หิว และทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวได้รับอนุมัติจากหน่วยงานด้านสุขภาพในหลายประเทศ

ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตอาหารหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Kraft Heinz หรืออีกหลายแบรด์ได้ถูกนักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรที่จะลดลงเนื่องจากผู้บริโภคที่ใช้ปากกาลดน้ำหนักนั้นลดการบริโภคอาหารลง หรือแม้แต่ขนมขบเคี้ยว ซึ่งผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ของบริษัทเหล่านี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายแบรนด์ผู้ผลิตอาหารทั่วโลกต้องปรับตัวในสภาวะเช่นนี้

Danone ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่จากฝรั่งเศส เตรียมที่จะออกโยเกิร์ตเพื่อสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า – ภาพจาก Shutterstock

อย่างไรก็ดี Danone ผู้ผลิตอาหารจากฝรั่งเศสด้กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมา ยอดขายโยเกิร์ตของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะโยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ และโยเกิร์ตประเภทโปรตีนสูง

ขณะเดียวกันหน่วยงานกำกับดูแลด้านอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA ได้ออกมารับรองการบริโภคโยเกิร์ตเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงที่ลดลงของโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยิ่งส่งผลทำให้โยเกิร์ตนั้นขายดีเพิ่มมากขึ้น

Juergen Esser รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของ Danone ได้กล่าวถึงสถานการณ์ว่าบริษัทมีโยเกิร์ตประเภทโปรตีนสูงหลายแบบซึ่งกำลังจะหมดจากชั้นวาง โดยเขามองว่าสาเหตุสำคัญคือผู้บริโภคที่กำลังอยู่ในการใช้ปากกาลดน้ำหนักนั้นต้องการให้สุขภาพของตนดูดีมากขึ้น

ขณะที่ผู้ผลิตอาหารอีกรายอย่าง Nestle นั้น บริษัทได้เปิดตัวเว็บไซต์ด้านโภชนาการสำหรับผู้ที่กำลังใช้ปากกาลดน้ำหนัก โดยสามารถที่จะพูดคุยกับนักโภชนาการได้ นอกจากนี้ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการขายสินค้าของบริษัท เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโปรตีนสูงและควบคุมน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย อาหารเสริมวิตามิน รวมถึงไบโอติน ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ผมร่วง ฯลฯ

ไม่เพียงเท่านี้ผู้ผลิตรายดังกล่าวยังเตรียมออกผลิตภัณฑ์อย่างพาสต้าและพิซซ่าที่อุดมด้วยโปรตีน รวมถึง Vital Pursuits ซึ่งประกอบด้วยอาหารแช่แข็งควบคุมสัดส่วนด้านโภชนาการจำนวน 12 รายการ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเน้นโปรตีนและเส้นใยอาหารที่สูง ไว้สำหรับเจาะลูกค้ากลุ่มนี้

Nestle เป็นอีกบริษัทที่ได้รับผลจากปากกาลดน้ำหนัก จนต้องแก้เกมธุรกิจ  – ภาพจาก Shutterstock

Mark Schneider ซึ่งเป็น CEO ของ Nestle เคยกล่าวว่ายอดขายสินค้าของบริษัทนั้นอาจลดลง เนื่องจากผลของปากกาลดน้ำหนัก ทำให้ความอยากอาหารของผู้บริโภคลดลง โดยสินค้าของบริษัทที่ได้รับผลกระทบคือ อาหารแช่แข็ง ขนมหวาน และไอศกรีม

หรือแม้แต่ Conagra Brands แบรนด์ผลิตอาหารสำเร็จรูปในสหรัฐอเมริกาเองมองว่าบริษัทจะมียอดขายสินค้าในส่วนอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าเดิม ขณะที่ผู้ผลิตอาหารอีกรายในสหรัฐฯ อย่าง General Mills ก็ต้องแก้เกมด้วยการออกผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มนี้

โดยผลการศึกษาที่ The Telegraph ได้อ้างอิงนั้นพบว่า ปากกาลดน้ำหนักนั้นทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคอาหารลดลง 30% เมื่อวัดจากจำนวนแคลอรี่

ผู้ผลิตอาหารที่ได้รับผลกระทบทั้งในแง่บวก รวมถึงในแง่ลบ หลายอุตสาหกรรมเองก็ได้รับผลกระทบในแง่ดี ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น เมื่อปากกาดังกล่าวได้สร้างผลกระทบทำให้ผู้หญิงหลายคนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายหรือการเช่าเสื้อผ้าในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีปากกาลดน้ำหนักอาจใช้ไม่ได้ผลสำหรับบางคน และอาจมีผลข้างเคียงในการใช้ นอกจากนี้การใช้งานอาจต้องมีการปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ที่เกี่ยวข้อง โดยราคาของปากกาลดน้ำหนักมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นบาทขึ้นไป 

ที่มา – The Telegraph, Bloomberg, Reuters

]]>
1480386
ออกอีกราย! Danone บริษัทนมฝรั่งเศสเตรียมถอนตัวจาก “รัสเซีย” ขายกิจการ 1 พันล้านยูโร https://positioningmag.com/1404537 Tue, 18 Oct 2022 07:58:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404537 Danone บริษัทผลิตภัณฑ์นมสัญชาติฝรั่งเศส เตรียมตัวถอนทุนออกจาก “รัสเซีย” โดยคาดว่ามูลค่าการขายกิจการอาจไปแตะ 1,000 ล้านยูโร แต่ยังไม่แน่ชัดว่าใครจะเป็นผู้ซื้อกิจการต่อ ขณะที่บริษัทตะวันตกบางรายยังคงดำเนินธุรกิจในรัสเซียต่อไป เช่น Nestle, P&G

บริษัท Danone จะขายกิจการกลุ่มผลิตภัณฑ์นมในรัสเซีย ด้วยมูลค่าดีลที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1,000 ล้านยูโร (ประมาณ 37,480 ล้านบาท) ถือเป็นบริษัทล่าสุดที่ตัดสินใจยอมถอนตัวออกจากรัสเซียหลังเกิดสงคราม

โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์นมนี้คิดเป็นสัดส่วน 90% ของกิจการทั้งหมดที่บริษัทมีอยู่ในรัสเซีย จะเหลือแค่เพียงหน่วยธุรกิจอาหารทารกเท่านั้นที่บริษัทจะยังคงดำเนินกิจการต่อ สำหรับรายได้จากรัสเซีย คิดเป็นประมาณ 5% ของยอดขายรวมของทั้งเครือในช่วง 9 เดือนแรกปี 2022

แหล่งข่าววงในเปิดเผยกับ Reuters ว่า การขายกิจการครั้งนี้ Danone อาจจะยังเหลือสัดส่วนหุ้นไว้บ้างในบริษัท แต่จะเป็นสัดส่วนที่ไม่สามารถมีอำนาจบริหาร ไม่ได้ควบคุมกิจการเองอีกต่อไป และจะถือว่าไม่ใช่บริษัทในเครือ

ขณะนี้บริษัทยังไม่ระบุว่าใครจะเข้าซื้อกิจการ โดย Mikhail Mishchenko หัวหน้าศูนย์วิจัยตลาดผลิตภัณฑ์นมรัสเซีย เชื่อว่าจะมีหลายรายที่ยื่นข้อเสนอ โดยมี 3 บริษัทท้องถิ่นรัสเซียที่มีศักยภาพ คือ Econiva, Komos และ Molvest แต่เขามองว่า Econiva มีภาษีดีที่สุดเพราะเป็นซัพพลายเออร์นมสดก่อนพาสเจอไรซ์รายใหญ่ที่สุดในประเทศอยู่แล้ว และน่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย แต่ก็เป็นไปได้ด้วยว่า ธุรกิจอาจจะถูกแยกส่วนและขายให้ผู้เล่นหลายราย

ตัวอย่างสินค้าโยเกิร์ตแบรนด์ Activia (แบรนด์นี้เคยมีขายในไทยด้วยนะ)

Danone เป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม, ผลิตภัณฑ์ Plant-based, อาหารทารก ไปจนถึงน้ำแร่ แบรนด์ภายใต้บริษัทนี้ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดี คือ “Dumex ดูโกร” และ “Hi-Q1 Plus” รวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำแร่ “Evian” และ “Volvic”

แม้บริษัทตะวันตกมากมายได้ถอนทุนออกจากรัสเซียไปแล้ว แต่บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่บางรายก็ยังอยู่ เช่น Nestle, Procter & Gamble (P&G) ยังคงขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเวชภัณฑ์อยู่ในรัสเซีย แต่ก็ต้องเผชิญแรงกดดันจากผู้บริโภคและนักกิจกรรมในประเทศบ้านเกิดให้เลิกทำธุรกิจกับรัสเซีย

บริษัทใหญ่รายล่าสุดที่ถอนทุนไปก่อนหน้า Danone นั้นไม่ใช่บริษัทตะวันตก แต่เป็น Nissan บริษัทรถญี่ปุ่นที่ยอมขายสินทรัพย์ออกจากรัสเซีย ซึ่งจะทำให้บริษัทขาดทุนราวๆ 687 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 26,000 ล้านบาท)

 

กิจการกำไรต่ำ สมควรถอนทุน

หลังประกาศถอนทุน หุ้นของ Danone ขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 1% เพราะนักวิเคราะห์มองว่า การเปลี่ยนแปลงจุดหมายการลงทุนออกจากรัสเซียไปที่อื่นๆ จะเป็นเรื่องที่ดีกับบริษัทมากกว่า

Pierre Tegner นักวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ Oddo BHF มองว่าการตัดสินใจถอนทุนนั้นถูกต้องเพราะรัสเซียเป็นตลาดที่ได้กำไรน้อยและการเติบโตก็ต่ำ

น้ำแร่ Evian อีกหนึ่งแบรนด์ในเครือ

Antoine de Saint-Affrique ซีอีโอคนใหม่ของ Danone ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน 2021 ประกาศวิสัยทัศน์ไว้อยู่แล้วว่าบริษัทจะเลิกกิจการที่ไม่ได้กำไร เพื่อจะเทิร์นอะราวด์รายได้ให้ได้ภายในปี 2022

จากวิสัยทัศน์นี้ Tegner คาดว่าธุรกิจที่บริษัทอาจจะพิจารณาว่า ‘ไม่ใช่ธุรกิจหลัก’ อีกต่อไป ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมในบราซิล อาร์เจนติน่า เม็กซิโก และโมรอคโก รวมไปถึงผลิตภัณฑ์นมออแกนิกในสหรัฐฯ , อาหารทารกในฝรั่งเศสและอิตาลี ตลอดจนธุรกิจน้ำดื่มที่มีอยู่ในสเปนและโปแลนด์

แม้ว่าจะเพิ่งตัดสินใจขายกิจการในรัสเซียตอนนี้ แต่จริงๆ Danone เริ่มกระบวนการตัดสัมพันธ์มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยไม่มีการลงทุนเพิ่ม และไม่รับเงินปันผลหรือกำไรคืนมาจากหน่วยธุรกิจที่อยู่ในรัสเซีย

Source

]]>
1404537
เจาะผู้บริโภคยุคนี้แค่ “Need” ไม่พอ ต้อง “Unmet Need” กรณีศึกษา “Danone” ร่วมทุน “Sappe” https://positioningmag.com/1218656 Fri, 08 Mar 2019 05:18:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218656 พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของผู้บริโภค ก่อให้เกิด “Disruption” ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับแวดวงเทคโนโลยีและธนาคาร ที่กำลังตื่นตัวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากในบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วคลื่นลูกนี้มีพลังมากกว่าที่เห็น และสร้างผลกระทบแล้วกับของกินที่ไม่คาดคิดว่าจะโดนกับเขาด้วย

เพราะวันนี้วัฏจักรของสินค้าได้ลดลงเหลือเพียง 3 ปีเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้แม้แต่บริษัทระดับโลกอย่าง “Danone group” ซึ่งมีอายุ 100 กว่าปี วางขายสินค้ากว่า 120 ประเทศ มีรายได้กว่า 24.7 พันล้านยูโร หรือราว 8.8 ล้านล้านบาทในปี 2017 ซึ่งคนไทยน่าจะคุ้นเคยกับ น้ําแร่เอเวียง, โยเกิร์ตแอคทีเวีย และนมดูเม็กซ์ ยังต้องออกมาปรับตัว

ฟลอริส เวสเซลลิ่ง” รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ดานอน วอเทอร์ส อธิบายว่า สถานการณ์เช่นนี้ถือเป็น “Big Disruption” ที่ไม่ใช่แค่ของ Danone เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทระดับโลกอื่นๆ ด้วย สิ่งที่ต้องปรับตัวรับมือกับพฤติกรรมเช่นนี้ คือการหาทางตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถรอ “Need” แล้วค่อยออกสินค้าไปรองรับ

แต่ต้องเป็น “Unmet Need” ออกสินค้าที่ไปจุดความต้องการที่ซ่อนเร้น ซึ่งผู้บริโภคจะไม่ได้แสดงออกมาตรงๆ แต่มักจะเป็นความต้องการเรื่องความรู้สึก เสียมากกว่า

ดังนั้นทุกแบรนด์จึงพยายาม Create เซ็กเมนต์ใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิด “Unmet Need” ดังที่กล่าวไป สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปจึงจะเห็นแบรนด์เล็กๆ ย่อยๆ เกิดขึ้นเต็มไปหมด เพราะแม้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยน แต่ไม่ได้เปลี่ยนสินค้าที่เคยดื่ม เพียงแต่พวกเขาจะไม่สนและยึดติดกับสินค้าของแบรนด์ระดับโลก กลับสนใจกับแบรนด์หรือสินค้าที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่มากกว่า

ทางออกของ Danone จึงต้องเข้าไปผนึกกำลังของบริษัทในประเทศนั้นๆ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมกับผู้บริโภคในแต่ละแห่งให้ลึกซึ้ง จึงเป็นที่มาของดีลร่วมทุนกับ “Sappe” ก่อตั้งบริษัท ดานอนเซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจส จำกัดทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท Danone ถือหุ้น 75% Sappe 25%

(“เซ็ปเป้” ร่วมทุน “ดานอน” เจ้าของโยเกิร์ต “แอคทีเวีย” บุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 8.6 หมื่นล้าน)

ทำไมต้องเป็นเมืองไทย ? เพราะตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ในไทยนั้นถือว่าเป็นตลาดใหญ่ ด้วยมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท โตประมาณ 3-5% ต่อปี อีกทั้งเป็นตลาดที่มีอัตราการบริโภคต่อหัวสูงสุดในเอเชีย ไม่นับจีนและญี่ปุ่น โดยปีที่ผ่านมากลุ่มของเครื่องดื่มทำรายได้ประมาณ 8.6-8.7 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40% ของยอดขายในเอเชียแปซิฟิก Danone ต้องการให้ไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักต่อไป

ส่วนทำไมต้องเป็น “Sappe” ? นั้น เพราะ Sappe ค่อนข้างแข็งแรงในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล สิ่งที่ Danone จะได้จากดีลในครั้งนี้คืออินไซด์ของคนไทย ซึ่ง Danone วางวัตถุประสงค์ของการร่วมทุนในครั้งนี้ 2 ข้อ ได้แก่ 1.นำสินค้าของ Danone ที่ขายในต่างประเทศเข้ามาสู่ไทย และ 2.ร่วมกันพัฒนาสินค้าใหม่ในกลุ่มเครื่องดื่ม

“ฟลอริส เวสเซลลิ่ง” รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ดานอน วอเทอร์ส

แม้เมืองไทยจะมีการแข่งขันที่สูง ผู้เล่นในระดับโลกต่างบุกเข้ามาหมดแล้ว ยังไม่รวมแบรนด์ในประเทศที่มีเยอะแยะไปหมด แต่ Danone กลับมองว่ามีเสน่ห์และศักยภาพที่สามารถหาข่องทางการโตได้

ผู้บริหารจาก Danone บอกว่า หนึ่งในความน่าสนใจของพฤติกรรมคนไทยในตอนนี้ คือ อยากได้เครื่องดื่มที่ทั้งรสชาติดี มีรสหวาน และดีต่อสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นสินค้าตัวแรกที่ผลิตและจำหน่ายภายใต้บริษัทร่วมทุนตัวแรกคือ “B’lue” (บลู)

วางตัวเองเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ให้ความรู้สึกสดชื่นและเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติ มีน้ำตาลน้อย โดยอยู่ตรงกลางระหว่างน้ำเปล่า และเครื่องดื่มผสมวิตามิน ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่ยังไม่สามารถหามูลค่าตลาดได้

โดยจะเข้าไปแทรกด้วยการเป็นน้ำสีใสที่มีรสชาติ ในช่วงเวลาที่อยากกินน้ำเปล่า แต่ต้องการความสดชื่น ซึ่งความท้าทายอยู่ที่การสื่อสารในเรื่องนี้ เจาะกลุ่ม iGen ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รักการออกกำลังกายและใส่ใจในสุขภาพ นักสำรวจที่ค้นหาเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ วัยรุ่นที่จริงจังกับกิจกรรมวันพักผ่อน มีให้เลือก 3 รสชาติ จำหน่ายในราคา 25 บาท

จริงๆ แล้ว “B’lue” เป็นเครื่องดื่มที่เกิดขึ้นมาประมาณ 10 ปีที่แล้ว วางจำหน่ายทั้งใน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ้งใช้ชื่อแบรนด์ “Mizone” (มายโซน) ปีที่ผ่านมาทำรายได้สูงถึง 35,000 ล้านบาทในตลาดเอเชียแปซิฟิก ส่วนชื่อ “B’lue” จะใช้ในเมืองไทยและวางแผนบุกไปในประเทศ กัมพูชา ลาว และพม่าต่อไป

ขณะเดียวกัน “B’lue” ถือเป็นสินค้าตัวแรกของ Sappe ในการบุกเข้าสู่ตลาดแมส จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงค์มาตลอด ทั้ง เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ หรือ เพรียว คอฟฟี่ปิยจิต รักอริยะพงศ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลที่ต้องร่วมทุนในการบุกตลาดแมส เพราะหากทำเองต้องใช้เวลาในการศึกษา และเงินทุนค่อนข้างสูงในการวิจัยสินค้าใหม่ๆ

แต่นี่ได้ Know-how จากบริษัทระดับโลกมาเลย ซึ่งมี R&D ที่แข็งแรงมาก ทำให้การขยายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญยังได้เรียนรู้วิธีการทำตลาดของแบรนด์ จากประสบการณ์ที่เคยทำมาทั่วโลก มาปรับใช้กับ Sappe เองด้วย

“ปิยจิต รักอริยะพงศ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)

ในอนาคตทั้งคู่วางแผนจะเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้ามาอีก โดยวางแผน 3-5 ปี ดานอนเซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจสจะสร้างรายได้ 3,000 – 3,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทร่วมทุนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ของ Danone ในการจับมือกับบริษัทไทย ก่อนหน้านี้ได้ร่วมทุนกับเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้เครือของเจ้าสัวเจริญในการนำโยเกิร์ตแอคทีเวียยี่ห้อโยเกิร์ตที่ใหญ่ที่สุดของ Danone มีจำหน่ายกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เข้ามาขายในไทยในปี 2007 ก่อนที่จะยกธงออกจากตลาดไปในปี 2016″

ฟลอริสบอกว่า วันนี้ยังไม่มีแผนนำแอคทีเวียกลับมาทำตลาดใหม่ แต่อนาคตยังไม่แน่นอน ต้องศึกษาตลาดและความพร้อมเสียก่อน

]]>
1218656
“เซ็ปเป้” ร่วมทุน “ดานอน” เจ้าของโยเกิร์ต “แอคทีเวีย” บุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 8.6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1211651 Fri, 01 Feb 2019 00:57:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1211651 Thanakit

ตราบใดที่คนไทยยังอินกระแสรักสุขภาพไม่สร่างซา ตราบนั้น ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมูลค่า 86,700 ล้านบาท ก็ยังเติบได้อีกเรื่อยๆ อยู่ที่ว่าใครจะหาช่องว่างแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ได้

กลิ่นที่หอมหวนเกินห้ามใจทำให้ล่าสุด เซ็ปเป้ซึ่งมีเครื่องดื่มในมือ 4 กลุ่มสินค้า 12 แบรนด์อยู่แล้ว อดไม่ไหวตัดสินใจร่วมทุน ดานอน ยักษ์ใหญ่ด้านตลาดผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม (Dairy Products) โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตของโลก สัญชาติฝรั่งเศส เพื่อร่วมกันพัฒนา ผลิต ทำการตลาด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในประเทศไทย

ถ้าเอ่ยชื่อ ดานอน แน่นอนว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อแบรนด์ แอคทีเวีย คนไทยต้องรู้จักอย่างแน่นอน แม้วันนี้จะไม่มีขายแล้วก็ตาม นอกจากนี้ดานอนยังมีชื่อเสียงจากการเป็นเจ้าของแบรนด์ น้ำแร่เอเวียง (Evian)” แบรนด์น้ำแร่ระดับพรีเมียม

ดีลนี้ได้ให้ บริษัท เซ็ปเป้ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเซ็ปเป้ถือหุ้น 100% จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ MYEN PTE.LTD. หรือ Danone ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ Danone SA ถือหุ้น 100% โดยบริษัทร่วมทุนนี้มีทุนจดทะเบียนประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งชำระเป็น 3 งวด ภายในระยะเวลา 2 ปี

โดย เซ็ปเป้ โฮลดิ้ง จะถือหุ้นในสัดส่วน 25% ผ่านการใช้กระแสเงินสดภายในเป็นแหล่งเงินทุน ขณะที่ Danone ถือหุ้นในสัดส่วน 75% คาดว่าการดำเนินงานจะเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2019

ปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

ดานอนมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาการผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส่วนเซ็ปเป้ความเข้าใจเชิงลึกในตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ในประเทศไทย รวมทั้งมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย จึงเป็นการผสานจุดแข็งของทั้งคู่ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสำเร็จแน่นอน

นอกจากการตั้งบริษัทร่วมทุนแล้ว เซ็ปเป้ยังได้เข้าถือหุ้นเพิ่มใน บริษัท ออล โคโค จำกัด ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมะพร้าวน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ขนมจากน้ำมะพร้าวน้ำหอม เพิ่มเป็น 51% จากเดิมที่ถือหุ้น 40% โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท 

ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ส่งผลให้ เซ็ปเป้ ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ออล โคโค ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2019.

]]>
1211651