GET – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Sep 2020 11:05:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’ https://positioningmag.com/1297514 Thu, 17 Sep 2020 08:59:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297514 เข้ามารุกตลาดไทยด้วยชื่อ ‘GET’ ไปเมื่อต้นปี 2019 ในที่สุดก็ถึงเวลากลับมาใช้ชื่อเดิม หรือ ‘Gojek’ ซึ่งหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย แต่ทำไมถึงไม่ใช่ชื่อ Gojek ตั้งแต่แรก และทำไมถึงมารีแบรนด์เอาตอนนี้ รวมถึงเป้าหมายต่อจากนี้ คุณภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย จะมาอธิบายให้ฟังกัน

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย

รู้จัก Gojek

อย่างที่รู้ว่า Gojek เป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย แต่จุดเริ่มนั้นไม่ได้เริ่มจากการเป็นแอปพลิเคชัน แต่เริ่มจากเป็น Call Center เรียกวินมอเตอร์ไซค์ในปี 2010 และเริ่มทำแอปฯ Gojek ในปี 2015 พร้อมกับขยายบริการไปสู่ บริการส่งอาหาร ส่งสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูหนังหรือใช้บริการทางการเงินได้อีกด้วย ซึ่งรวม ๆ แล้ว ปัจจุบัน Gojek มีบริการให้ใช้งานกว่า 20 บริการ จากเดิมที่ใช้แค่เรียกรถมอเตอร์ไซค์และรถแท็กซี่ พูดง่าย ๆ ว่าเป็น ‘ซูเปอร์แอปฯ’ แบบที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น

หลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนมียอดการดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 190 ล้านครั้ง มีพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 2 ล้านคน และมีการใช้งานกว่า 100 ล้านครั้ง/เดือน แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวสามารถดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้มากมายไม่ว่าจะเป็น Google กับ Facebook จากฝั่งอเมริกา และ Tencent จากจีน และยังไม่รวมอื่น ๆ อีกเพียบ จนในที่สุดปี 2019 Gojek ก็ได้ขยับตัวออกจากแค่อินโดนีเซีย โดยขยายธุรกิจมายังเวียดนามในชื่อ ‘Go-Viet’ ส่วนไทยใช้ชื่อ ‘Get’ และสิงคโปร์ใช้ชื่อ Gojek เหมือนเดิม

ทำไมต้องเป็น ‘Get’ ก่อน

จะมีใครเข้าใจถึงปัญหาและรู้ถึงพฤติกรรมคนในประเทศได้ดีเท่าคนในประเทศเองจริงไหม? ดังนั้น หลักการบริหารของ Gojek คือ จะเลือกให้คนในประเทศนั้น ๆ บริหารเอง เพื่อทำให้บริการเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในประเทศนั้น รวมถึงเป็นการ ‘ทดลอง’ ตลาดก่อนว่าสามารถไปได้ดีแค่ไหน ซึ่งไทยเองก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ เพราะในช่วงเวลาปีครึ่ง Get ได้ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 5 หมื่นราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 3 หมื่นร้าน

และในที่สุดก็ถึงเวลาที่ Get จะรีแบรนด์กลับไปเป็น Gojek เหมือนเดิม และไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น Go-Viet ของเวียดนามก็รีแบรนด์กลับเป็น Gojek ด้วยเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า พร้อมแล้วที่ Gojek จะลุยตลาดโลกอย่างเต็มตัว พร้อมกับตั้งเป้าที่จะ บาลานซ์สัดส่วนรายได้ จากตลาดอินโดนีเซียและต่างประเทศให้ได้ 50-50 ซึ่งปัจจุบันตลาดไทยและเวียดนามถือเป็นตลาดนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุด

“ประโยชน์ของความเป็น Global คือ ทุกฟีเจอร์และเทคโนโลยีจะเป็นระดับโลก ดังนั้นในทุกประเทศจะได้ใช้งานแอปที่มีคุณภาพเหมือนกัน แต่การบริหารยังต้องเป็น Local เพื่อให้เข้าใจตลาดอยู่”

ย้ำเป็นแบรนด์ไทย เเม้ใช้ชื่อ Gojek ก็ตาม

แม้จะเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Gojek แต่บริษัทยังย้ำว่าเป็นของ ‘ไทย’ แน่นอน และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ที่ต้องหันไปใช้ ‘สีเขียว’ ที่แทบจะเหมือนกับคู่เเข่งในตลาด จากที่เคยใช้ สีเขียวสะท้อนแสง ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่ทาง คุณภิญญา ก็มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่สับสน เพราะเชื่อว่าชื่อ Gojek เป็นที่รู้จักอยู่เเล้ว และมั่นใจว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ในการที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เพราะแค่ระยะเวลา 15 วัน ยอดดาวน์โหลดแอปฯ Gojek ก็ทะยานไปหลัก แสนครั้ง เรียบร้อย จากเดิมที่ Get มีผู้ดาวน์โหลด 3 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รีแบรนด์ไป ทาง Gojek เองก็ได้ทุ่มงบการตลาดมหาศาล แม้จะไม่สามารถเปิดเผยเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถรับรู้ได้ผ่านแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ อาทิ มอบคูปองส่วนลดมูลค่าสูงสุดถึง 2,500 บาทให้กับผู้ใช้งานใหม่ พร้อมดีลส่วนลดค่าอาหารสุดคุ้ม ลดสูงสุดถึง 50%, คูปองส่วนลดมูลค่า 12 บาทในส่วนของบริการเรียกรถจักรยานยนต์จำนวน 5 ครั้ง และแจกฟรีโดนัท Krispy Kreme แก่ผู้ใช้บริการ 10,000 ราย วันที่ 17 กันยายน ตั้งแต่ช่วงเที่ยงวันไปจนถึง 6 โมงเย็น

33% ของผู้บริโภคไทยต้องการความหลากหลาย 27% ชอบโปรโมชัน 13% ต้องการความเร็วในการจัดส่ง และ 10% ต้องการความง่ายในการใช้งาน ดังนั้น เรายังคงลงทุนในไทยต่อเนื่อง ทั้งโปรโมชัน การเพิ่มพาร์ตเนอร์ร้านอาหารและพาร์ตเนอร์ผู้ขับ”

วางเป้าโต 10 เท่า พร้อมก้าวเป็น Super Apps

หลังจากรีแบรนด์เป็น Gojek ส่งผลให้ชื่อของบริการต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนตาม ได้แก่ ‘GoFood’ บริการส่งอาหาร ‘GoRide’ บริการเรียกรถจักรยานยนต์ ‘GoSend’ บริการรับส่งพัสดุ และ ‘GoPay’ บริการอีวอลเล็ต และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 2 ฟีเจอร์ ได้แก่ GoFood Pickup บริการสั่งอาหารล่วงหน้า แล้วไปเองที่ร้าน โดยสาเหตุที่ออกฟีเจอร์นี้ก็เพราะพบว่าผู้ใช้งานในเมืองกว่า 55% เข้าถึงบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ในขณะที่กว่า 75% นิยมการไปซื้ออาหารที่ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารกว่า 500 แห่งในกรุงเทพฯ เข้าร่วม

และอีกฟีเจอร์ที่เป็นเหมือน ‘ก้าวต่อไป’ ที่ทำให้ Gojek เข้าใกล้คำว่าซูเปอร์แอปก็คือฟีเจอร์ ‘แชท’ โดยผู้ใช้สามารถพูดคุยกับเพื่อนรวมถึงแชร์ข้อมูลร้านอาหารที่ชื่นชอบร่วมกันได้ หรือจะสร้าง Wishlist สำหรับบันทึกร้านอาหาร หรือเมนูที่ชื่นชอบเอาไว้สำหรับการสั่งอาหารในครั้งต่อไป โดยคุณภิญญาอธิบายว่า เมื่อมีแชทให้ใช้สื่อสาร ผู้บริโภคก็ไม่ต้องออกจากแอปไปคุยเรื่องอาหารกันอีกต่อไป แถมยังช่วยให้อยู่ในแอปฯ นานขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูว่าจะมีฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ เข้ามาอีก เพราะหากพิจารณาจากบริษัทเเม่ที่มีฟีเจอร์กว่า 20 รายการ Gojek ในไทยก็ถือว่ายังห่างไกล

ทั้งนี้ เป้าหมายหลังจากที่รีแบรนด์เป็น Gojek ก็คือ เติบโตให้ได้ 10 เท่า ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นรายได้, ผู้ใช้งาน, จำนวนผู้ขับ, จำนวนร้านอาหาร โดยใช้จุดแข็งก็คือ ‘เทคโนโลยี’ และ ‘Passion’ ที่กระหายความสำเร็จซึ่งเปรียบเหมือนวัฒนธรรมขององค์กร และเร็ว ๆ นี้ Gojek ได้เตรียมที่จะขยายตลาดสู่พื้นที่ต่างจังหวัด จากที่ให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเตรียมผุด ‘คลาวด์ คิทเช่น’ ไว้อัดกับคู่แข่งแน่นอน

]]>
1297514
GET เตรียมรีแบรนด์สู่จักรวาล Gojek ภายในเดือนส.ค. ใช้ความเป็นโกลบอลสู้ศึกเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1286416 Fri, 03 Jul 2020 06:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286416 GET แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ได้ประกาศว่าจะทำการรวมแอปพลิเคชัน และแบรนด์ GET เข้าภายใต้ Gojek และจะดำเนินงานในนาม Gojek เป็นก้าวสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัท

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ GET จะเปิดตัวแอปพลิเคชัน Gojek ในประเทศไทย โดยที่แอปพลิเคชัน Gojek ได้รับการพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีระดับโลก และเปิดให้สามารถใช้บริการได้ทั้งในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้แบรนด์ GoViet ในประเทศเวียดนามจะได้รับการอัพเกรดเป็นแบรนด์ Gojek เช่นกัน

ในประเทศไทย GET ได้รับการตอบรับอย่างดี ได้เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนมิถุนายน 2563 GET ได้ให้บริการไปแล้วกว่า 20 ล้านออเดอร์

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย กล่าวว่า

“เราตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงเป็นประเทศยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจของ Gojek นับตั้งแต่การเปิดตัว GET ในปี 2562 เราประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง และพัฒนาหนึ่งในแพลตฟอร์มออนดีมานด์ชั้นนำของประเทศ ผ่าน 4 บริการ ทีมบริหารชุดเดิมของไทยที่ได้พัฒนาและก่อตั้ง GET จะยังคงนำทีมบริหาร และดำเนินธุรกิจของ Gojek ในประเทศไทยต่อไป โดยขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำจุดแข็งและศักยภาพของ Gojek มาขับเคลื่อนให้เราสามารถขยายธุรกิจและคงจุดยืนในฐานะบริษัทชั้นนำต่อไป”

Gojek เป็นกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้บุกเบิกคอนเซ็ปต์ “ซูเปอร์แอป” รวมถึงโมเดลอีโค่ซิสเต็มที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับที่อยู่ในระบบกว่า 2 ล้านคน และพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร GoFood อีกกว่า 500,000 ราย ในกว่า 200 เมืองทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GET ก่อตั้งขึ้นด้วยพันธกิจเดียวกับ Gojek ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตของผู้ใช้บริการ โดย GET ได้เชื่อมผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯ เข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 50,000 คน และร้านอาหารอีกกว่า 30,000 แห่ง ที่กว่า 80% เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อยขนาดย่อม

แอนดรูว์ ลี ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ (Group Head of International) ของ Gojek กล่าวว่า

“GET ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในระยะเวลาอันสั้น และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นบันไดนำเราไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขึ้น การรวมแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของเราเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในระยะยาว เพื่อให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ใช้งานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของ Gojek ต่อธุรกิจเราในตลาดต่างประเทศ ผ่านการเปิดตัวแบรนด์ของเราสู่ฐานผู้ใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับคนทั่วทั้งภูมิภาค”

ผู้ใช้บริการยังสามารถใช้บริการเดิม ทั้งบริการส่งอาหาร บริการเรียกรถจักรยานยนต์ บริการรับ-ส่งพัสดุ และบริการอีวอลเล็ต ผู้ใช้งาน GET ในปัจจุบัน รวมทั้งคนขับและร้านพาร์ตเนอร์ต่างๆ ยังคงสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน GET ได้ตามปกติ

]]>
1286416
‘Location Platform’ และ ‘หุ่นส่งของ’ อนาคตใหม่ของ ‘Delivery’ ที่ปลอดภัยทั้งคนรับ-ส่ง https://positioningmag.com/1271314 Thu, 02 Apr 2020 05:42:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271314 เพราะโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ทำให้เกิดกระบวนการเร่งหรือก้าวกระโดดของการใช้ชีวิตดิจิทัล รวมถึง On-Demand-Delivery โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาของธุรกิจ delivery มีการเติบโตอย่างมาก ทั้ง GrabFood, LINE Man, Get หรือ FoodPanda ฯลฯ ได้เพิ่มจำนวนคนขับอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงแรงงานเผยว่าตลาดต้องการแรงงานจัดส่งสินค้ามากถึง 20,500 อัตรา อย่าง LINE Man ปัจจุบันมีพนักงานส่งของ 50,000 คน รองรับออเดอร์จากกว่า 100,000 ร้านในเครือ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท และในช่วงวันที่ 5 – 15 มี.ค. ETDA เผยถึงเหตุผลของการสั่งอาหารออนไลน์ เหตุผลแรกคือ ไม่อยากไปนั่งที่ร้านอาหาร ตามด้วยไม่อยากต่อคิว, มี promo code แจกในแอป, และสั่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่น Covid-19 โดย 87.85% เป็นการสั่งทานที่บ้าน 46.11% ผู้สั่งทานที่ทำงาน

เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ที่ต่างกังวลเรื่องไวรัส พนักงานส่งของจึงเริ่มใช้วิธีดรอปสินค้าที่หน้าบ้านก่อนถึงเวลานัดจริง มากกว่าจะยื่นส่งสินค้ากันตามปกติ รวมถึงแบรนด์เดลิเวอรีก็ออกกฎต่าง ๆ เพื่อปกป้องความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและพนักงาน ทั้งยืนห่างจากลูกค้า 2 เมตรในการรับส่งสินค้า และผลักดันการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ต ทำให้มูลค่าการจัดส่งสินค้าแบบไม่สัมผัสกับลูกค้าปลายทางเติบโตขึ้นถึง 20%

สถานการณ์จะยิ่งผลักดันให้ผู้คนเข้าหาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เมื่อมี 5G ที่จะช่วยภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ยิ่งมีโอกาสเติบโตหรือรถอัตโนมัติที่นำทางด้วยแผนที่ภายใต้ระบบอัลกอริทึมของ Location platform โดยคาดว่าจะทำรายได้ 4.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

และด้วยระบบ Open Location Platform จะยิ่งตอบโจทย์ on-demand economy ที่แข่งขันกันที่ความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า เนื่องจากช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโลเคชั่นต้นทางถึงปลายทาง และถูก localize ให้เข้ากับพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีตรอก ซอก ซอย อย่าง Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน

Open Location Platform จะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface – API) ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายล์ซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits – mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ แก่คนขับ

#Grab #Get #Foodpanda #Lineman #Fooddelivery #HereTechnologies #Covid19 #Positioningmag

]]>
1271314
GET เปิดให้ร้านอาหารลงทะเบียนออนไลน์แบบฟาสต์แทรค เสริมช่องทางเดลิเวอรี่ช่วงวิกฤต https://positioningmag.com/1269373 Mon, 23 Mar 2020 05:47:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269373 GET เปิดระบบสมัครร้านค้าพาร์ตเนอร์แบบออนไลน์แบบฟาสต์แทรค เริ่มใช้งานเดลิเวอรี่ได้ภายใน 7-10 วัน เพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 

ท่ามกลางสถานการณ์การปิดเมืองจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในตอนนี้ ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบ แม้แต่ร้านอาหารก็ต้องปิดให้บริการแบบนั่งทานในร้าน แล้วปรับรูปแบบเป็นแบบซื้อกลับบ้าน

ช่องทางเดลิเวอรี่จึงเป็นคำตอบที่ใช่ในช่วงเวลานี้ที่สุด นอกจากจะสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคให้ไม่ต้องออกจากบ้านแล้ว ยังช่วยให้ร้านอาหารมีช่องทางในการขายมากขึ้น

ล่าสุด GET ได้เปิดรับร้านอาหารเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์กับด้วยระบบออนไลน์ในการรับสมัครร้านพาร์ตเนอร์ใหม่ เพื่อความรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น เป้นการช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารในกรุงเทพฯ ที่ต้องการเปิดบริการเดลิเวอรี่

ระบบรับสมัครร้านค้าพาร์ตเนอร์ออนไลน์ใหม่ของ GET มีขั้นตอนที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารให้สามารถเปิดบริการเดลิเวอรี่ได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ โดยร้านอาหารสามารถสมัครเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ รวมถึงส่งเอกสารที่จำเป็นได้ง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถเริ่มให้บริการเดลิเวอรี่ผ่านแพลตฟอร์มของ GET ได้ภายในระยะเวลาเพียง 7-10 วัน

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอปพลิเคชัน GET กล่าวว่า

“ทีมงานทุกคนของ GET ต่างทำงานกันอย่างหนักตลอดเวลาเพื่อสนับสนุนธุรกิจอาหารในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ เราอยากจะเป็นอีกแรงที่ช่วยเหลือร้านค้าพาร์ตเนอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้สำหรับเราคือความปลอดภัยของทุกคน รวมถึงการเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนให้สังคมยังสามารถดำเนินต่อไปได้ ถ้าทุกคนในธุรกิจนี้ร่วมแรงร่วมใจกัน เราเชื่อว่าเราจะสามารถผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้แน่นอน”

เจ้าของร้านอาหารที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ GET สามารถลงทะเบียนสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.getthailand.com/merchant ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 15:00 น. เป็นต้นไป

]]>
1269373
หมดเวลาเผาเงินทุน GET วางเป้าปี 2563 ดูดผู้ใช้ให้ติดแอปฯ ปั้นกำไรอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1257415 Tue, 17 Dec 2019 11:13:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257415
  • GET ประเมินปีหน้าสงครามราคาของแอปฯ บริการร่วมขับขี่ (Ride-hailing) น่าจะผ่อนคลายลง บริษัทต่างมุ่งหน้าหารายได้และกำไรที่ยั่งยืน
  • GET เองก็เช่นกัน โจทย์ใหญ่ของการไปสู่กำไร คือการเพิ่มผู้ใช้และจำนวนครั้งการใช้ รวมถึงหารายได้เสริมอื่นๆ เช่น เปิดพื้นที่ทำการตลาดของร้านอาหาร เป็นตัวกลางด้านดาต้าสำหรับปล่อยสินเชื่อธนาคาร
  • ครึ่งปีแรก 2563 เตรียมเปิด GET Pay สำหรับร้านอาหาร, GET Runner คนเดินส่งอาหาร, แอปฯ สำหรับให้ร้านอาหาร (merchants) ใช้งาน และปรับหน้าตาแอปฯ คนขับ (driver) โฉมใหม่
  • GET ยังไม่สนใจบริการแท็กซี่/รถยนต์ 4 ล้อ แต่หากกฎหมายมีการแก้ไขอาจพิจารณา
  • ธุรกิจบริการร่วมขับขี่ (Ride-hailing) ขนส่งคน ของ อาหาร ยิ่งดุเดือดขึ้นในปีนี้เมื่อมีหน้าใหม่อย่าง GET เข้ามาลุยตลาดช่วงต้นปี โดยเฉพาะบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ที่กลายเป็นกระแสยอดฮิตในหมู่ผู้ใช้ชาวไทย เราจึงได้เห็นสงครามราคาลดค่าขนส่งเหลือเริ่มต้น 10 บาททั้ง GET และ Grab Food ก่อนจะค่อยๆ หาทางปรับราคาขึ้นบ้างทั้งสองเจ้าในช่วงปลายปี

    “ภิญญา นิตยาเกษรวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET เปิดเผยว่ามูลค่าตลาดบริการร่วมขับขี่ในปีนี้เติบโตขึ้นถึง 6 เท่าจากปีก่อน ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะ GET เริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มีส่วนร่วมทำให้ตลาดโตขึ้น ส่วนในปี 2563 คาดว่าตลาดจะโตขึ้น 2 เท่า แม้อัตราการเติบโตจะน้อยลงแต่เกิดจากฐานตลาดปีนี้ใหญ่ขึ้นมากแล้ว

    ทีมผู้บริหาร GET: (จากซ้าย) “ภิญญา นิตยาเกษรวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, “วงศ์ทิพพา วิเศษเกษม” ผู้อำนวยการฝ่ายแพลตฟอร์มโอเปอเรชั่น และ ก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด

    อย่างไรก็ตาม ภิญญามองว่าปีหน้าเรื่องสงครามราคาอาจจะผ่อนคลายลง เพราะแหล่งเงินที่บริษัทสตาร์ทอัพมาใช้อัดโปรโมชันต่างก็มาจากผู้ลงทุนและย่อมมีวันหมด

    “จากเหตุการณ์ของ WeWork ทำให้ VC ทุกแห่งคำนึงถึงความยั่งยืนในธุรกิจของบริษัทที่เขาลงทุนด้วย” ภิญญากล่าว “เราต้องแสดงให้เห็นความสามารถในการทำกำไร ไม่ใช่เผาเงินทุนของเขาไปเรื่อยๆ”

     

    โจทย์ 2563: ทำให้คนใช้ GET เป็นแอปฯ หลักมากขึ้น

    จากประเด็นดังกล่าว โจทย์ปี 2563 ของ GET ก็เช่นเดียวกับทุกเจ้าคือ “การหากำไร” โดย GET จะใช้ 2 แนวทางเพื่อทำกำไรคือ

    1.สเกลตัวให้ใหญ่ขึ้น – แปลว่า GET ต้องมีผู้ใช้มากขึ้นและใช้แอปฯ ถี่ขึ้น โดยภิญญากล่าวว่า GET มีผู้ใช้งานเฉลี่ย 6 แสนคนต่อเดือน (ข้อมูลเดือนกันยายน 2562) และมากกว่าครึ่งหนึ่งของฐานลูกค้าใช้แอปฯ GET เป็นหลัก วัดจากพฤติกรรมการใช้เฉลี่ย 6-7 ครั้งต่อคนต่อเดือน ส่วนที่เหลือนั้น เป็นลูกค้าที่อ่อนไหวต่อโปรโมชั่น จะสลับการใช้แอปฯ ต่างๆ ตามโปรโมชั่นที่ได้ ปีหน้าบริษัทจะมุ่งเพิ่มจำนวนลูกค้าและทำให้ลูกค้าใช้แอปฯ GET เป็นหลักมากยิ่งขึ้น

    2.หาช่องทางทำรายได้เพิ่ม – จากดาต้าลูกค้าที่ GET ได้มาสามารถนำไปต่อยอด เช่น ปัจจุบันแอปฯ ร่วมเป็นพันธมิตรกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารใช้ดาต้าของ GET สำหรับปล่อยกู้ระดับไมโครไฟแนนซ์ โดยวัดเครดิตของลูกค้าจากดาต้าพ้อยต์ของคนขับหรือร้านอาหารที่ GET มีให้ หรือยกตัวอย่างการจัดแพ็กเกจโฆษณาการตลาดให้กับร้านอาหารแบบเจาะกลุ่ม เพื่อให้การโฆษณากลายเป็นยอดสั่งซื้อจริงให้มากที่สุด

     

    สร้างคุณภาพคนขับ-ร้านอาหาร ลดการทุ่มโปรฯ

    มีเป้าแล้วจะทำอย่างไร? ภิญญาตอบว่าการทำให้ลูกค้า “ติดแอปฯ” คือต้องทำให้บริการ “มีคุณภาพ” และ “ราคาพื้นฐาน” แข่งขันได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องใช้โปรโมชันช่วย

    ทั้งนี้ 80% ของทริปขนส่งในแอปฯ GET เป็นกลุ่มฟู้ดเดลิเวอรี่ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการจึงขึ้นอยู่กับสองส่วน นั่นคือ “คนขับ” ที่ GET จะพัฒนาอบรมให้บริการดียิ่งขึ้นและให้แรงจูงใจ (incentive) เป็นสวัสดิการสำหรับคนขับที่ทำได้ตามเกณฑ์ อีกส่วนคือ “ร้านอาหาร” จะเน้นความหลากหลายของประเภทร้านในพื้นที่หนึ่งๆ ให้ลูกค้าเปิดแอปฯ มาเจอร้านทุกประเภทที่อยากทาน และเน้นร้านท้องถิ่นที่ไม่ใช่เชนหลายสาขาเพราะราคาอาหารในร้านจะตรงกลุ่มลูกค้ามากกว่า

    “ปีนี้คือการสร้างการรับรู้ (raise awareness) แต่จากนี้ไปคือการเติบโตอย่างยั่งยืน” ก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด GET กล่าวเสริม “ตอนนี้เรายังขาดทุน แต่เราเห็นโอกาสการทำกำไร”

    “จริงๆ เรามีกำไรต่อเที่ยวการขนส่งแล้วนะครับ แต่จะคุ้มทุนทั้งหมดที่ลงไปเมื่อไหร่คงยังบอกไม่ได้ ต้องใช้เวลา” ภิญญากล่าว

     

    ฟีเจอร์ 2563 จะมีอะไรใหม่?

    ส่วนฟีเจอร์ใหม่ๆ ปี 2563 นั้น ภิญญาแจกแจงมาทั้งหมด 4 อย่างที่จะปล่อยในช่วงครึ่งปีแรก คือ

    1.GET Pay – จะเพิ่มฟังก์ชันให้ใช้กับร้านอาหารได้ แก้โจทย์คนขับไม่มีเงินทอน หรือลูกค้าให้ฝากอาหารไว้ที่ล็อบบี้อาคาร

    2.GET Runner – คนเดินส่งอาหาร ปัจจุบันทดลองตลาดแล้วพบว่าไปส่งได้ด้วยความเร็วเฉลี่ย 19 นาที

    3.Merchants App – แอปฯ ฝั่งร้านอาหารเปิดใช้งาน เมื่อมีคนสั่งอาหาร ออร์เดอร์จะยิงตรงไปที่ร้านเพื่อเริ่มเตรียมอาหารได้เลย ไม่ต้องรอคนขับไปสั่ง และมีระบบ PIN 4 หลัก ให้คนขับกรอกยืนยัน ลูกค้าจะมั่นใจได้ว่ารับออร์เดอร์ถูกร้านแน่นอน ไม่มั่ว

    4.Drivers App – แอปฯ ฝั่งคนขับจะปรับ UX/UI ใหม่ ใช้งานง่ายกว่าเดิม เติม Heat Maps ดูจุดที่ลูกค้าอยู่เยอะ มีตารางรวมผลรายได้ประจำวันและคาดการณ์รายเดือน

     

    รอฟังผลกฎหมายใหม่ “เปิดเสรี” รถร่วมขับขี่

    นอกจากนี้ภิญญายังตอบคำถามคาใจหลายๆ คนว่า “ทำไม GET ยังไม่มีบริการรถสี่ล้อเสียที” โดยเขาชี้แจงว่าบริษัทเห็นว่ารถยนต์หรือแท็กซี่ทั้งตลาดมีจำนวนเที่ยวเรียกต่อวันน้อยเกินไป อยู่ที่ 6.5 แสนเที่ยวต่อวัน เทียบกับกลุ่มสองล้อที่มีการเรียก 1.5-2 ล้านเที่ยวต่อวันเพราะสามารถใช้ขนส่งของและอาหารได้ รวมถึงรถยนต์ธรรมดายังไม่ถูกกฎหมายถ้าจะนำมาให้บริการด้วย

    แต่เมื่อภาครัฐมีแนวคิดที่จะให้ไฟเขียวกลุ่มรถยนต์ทั่วไปเข้ามาให้บริการได้ถูกต้อง GET ก็อาจพิจารณาตลาดนี้ใหม่อีกครั้ง (ภาครัฐอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาออกกฎหมาย โดยตั้งธงให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือนมีนาคม 2563)

    ส่วนเรื่องการเปิดเสรีวินมอเตอร์ไซค์ GET เป็นแอปฯ ที่อนุญาตเฉพาะวินมอเตอร์ไซค์ถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาร่วมรับส่ง “คน” อยู่แล้ว

    ดังนั้นภิญญาจึงมองว่ากฎหมายเปิดเสรีวินมอเตอร์ไซค์ที่อาจจะพิจารณาเป็นฉบับต่อไป ขอแค่เพียงแก้ไขให้พี่วินเสื้อส้มไปรับคนตรงไหนก็ได้โดยไม่ต้องมีสังกัดประจำก็เพียงพอ

     

    ]]>
    1257415
    บิ๊กดีลเขย่าวงการสตาร์ทอัป จับตา Amazon เจรจาซื้อหุ้น Gojek https://positioningmag.com/1244486 Fri, 30 Aug 2019 10:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244486 เป็นอีกดีลที่ต้องจับตา เมื่อสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า อะเมซอนดอทคอม (Amazon.com Inc) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับโกเจ็ก (Gojek) พันธมิตรหลักของบริการเก็ท (Get) ในประเทศไทย

    รายงานระบุว่า Amazon ต้องการซื้อหุ้นใน Gojek สตาร์ทอัปแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทางสัญชาติอินโดนีเซียที่ขยายบริการจนหลากหลายและครอบคลุมหลายด้าน หรือผู้ให้บริการ platform on demand เบื้องต้นยังไม่มีการยืนยันรายละเอียด แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกับที่ลือกันในรายงานก่อนหน้านี้

    ในขณะที่ทั้ง Amazon และ Gojek ไม่ออกมาให้ความคิดเห็น สื่อมองว่าหากข่าวลือนี้เป็นจริง ยูนิคอร์นอย่าง Gojek จะยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบันที่ถูกยกเป็นยูนิคอร์น เพราะฐานะบริษัทเอกชนที่เพิ่งก่อตั้งแต่มีตัวเลขประเมินมูลค่าบริษัทราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือมากกว่า คาดว่า Gojek จะขยายธุรกิจได้เต็มที่หากมีเงินทุนเพิ่มอีก

    นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Amazon มีข่าวเกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริการรถร่วมเดินทางและแอปพลิเคชันออนดีมานด์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Amazon ตัดสินใจซื้อหุ้นในบริษัทส่งอาหารออนไลน์สัญชาติอังกฤษชื่อ เดลิเวอรู (Deliveroo) ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับอูเบอร์อีตส์ (Uber Eats) ในเครือ Uber Technologies Inc โดยทั้ง 2 ค่ายแข่งขันกันดุเดือดในหลายประเทศเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดซื้ออาหารกลับบ้านให้ได้มากที่สุด

    นอกจากนี้ Amazon ยังส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอื่นที่หลากหลาย ตั้งแต่การพัฒนาเสมือนจริง ไปจนถึงการสร้างรถไร้คนขับ ซึ่ง Amazon ประกาศลงทุนจริงจังตั้งแต่กรกฎาคมที่ผ่านมา

    สำหรับไทย ชื่อ Gojek เป็นที่คุ้นหูเพราะบริการอย่าง Get ที่อาสาเป็นผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีจาก Gojek มาสู่แดนสยาม โดย Get จะได้รับเงินทุนจาก Gojek มาบริหารและจัดการธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงบลงทุนรวมกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 16,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย (ตัวเลขกลางปี 2018)           

    ปัจจุบัน Gojek ได้รับเงินทุนจากยักษ์ใหญ่อย่างอัลฟาเบ็ต (Alphabet Inc) ต้นสังกัดกูเกิล อาลีบาบา (Alibaba Group Holdings) เทนเซ็นต์ (Tencent Holdings) และวีซ่า (Visa Inc) การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดในกลางปีที่ผ่านมาทำให้บริษัทมีมูลค่าตลาดสูงทะลุ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐไปเรียบร้อย.

    Source

    ]]>
    1244486
    เปิดบ้าน “Get” ชู 4 แนวคิดวัฒนธรรม “ดูแลพนักงาน-คนขับ” https://positioningmag.com/1243778 Sat, 24 Aug 2019 06:57:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243778 ภาพ : facebook.com/pg/getthailandofficial

    ถือเป็นผู้เล่นรายล่าสุดที่เข้ามาสร้างสีสัน เติมการแข่งขันในตลาด Food Delivery และ Ride-Hailing แม้ว่า เก็ท (Get) ผู้ให้บริการแอปเรียกรถมอเตอร์ไซค์วินและบริการส่งอาหาร เพิ่งเริ่มทำตลาดในไทยอย่างเป็นทางการมา 6 เดือน แต่มีการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการมานานกว่า 1 ปี

    ล่าสุด “เปิดบ้าน” เล่าถึงแนวคิดในการทำงานที่ดูแลตั้งแต่พนักงาน จนถึงผู้ขับเพื่อส่งต่อวัฒนธรรมองค์กรในแบบครอบครัวถึงผู้ใช้

    ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เก็ท กล่าวว่า จากวันที่ที่เก็ทมีพนักงาน 6 คน ปัจจุบันมีพนักงานเพิ่มขึ้นมาเป็น 200 คนแล้ว ทำให้บริษัทต้องมีการขยายสำนักงานเพื่อให้รองรับทั้งพนักงานประจำ และผู้ขับที่หมุนเวียนเข้ามาอบรม เพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมขององค์กร ในการส่งต่อบริการที่ดีไปยังผู้บริโภค

    “ทีมงานของเก็ทมีตั้งแต่อายุ 20 ต้นๆ ถึงเกือบ 50 ปี องค์กรค่อนข้างมีความหลากหลาย แต่ในเก็ทเราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ ในแนวทางของสตาร์ทอัปที่ต้องเร็ว เพื่อที่จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้”

    ชู 4 แนวคิดวัฒนธรรมองค์กร Get

    ก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Get ให้ข้อมูลว่าการออกแบบสำนักงานของเก็ท ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของพนักงาน ใน 4 แนวคิด ประกอบด้วย

    1. Collaboration เนื่องจากการทำงานในรูปแบบสตาร์ทอัป การทำงานร่วมกันถือเป็นหัวใจสำคัญ ทำให้มีการจัดพื้นที่ประชุม รวมถึงพื้นที่ส่วนกลาง หลากหลายมุมไว้ให้เกิดการประชุม ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2. Concentration เนื่องจากพนักงานจำนวนมากยังเคยชินและต้องการมีโต๊ะทำงาน ดังนั้น เก็ท จึงมีพื้นที่ทำงานส่วนตัวให้กับพนักงานทุกคน และเพิ่มพื้นที่เงียบ หรือ Quiet Corner สำหรับคนที่ต้องการทำงานที่ใช้สมาธิ และจัดห้องสำหรับคุยโทรศัพท์แยกต่างหาก

    3. Community ให้พนักงานสามารถผ่อนคลายในระหว่างการทำงานหรือหลังเลิกงาน ที่เก็ท จึงมีทั้งโต๊ะปิงปอง ห้องเกม และห้องนอน โดยทุกคนสามารถเข้ามาใช้เมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ เพราะบริษัทฯ เข้าใจดีว่าการ Work & Play โดยไม่เครียดมากเกินไป จะช่วยผลักดันความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจในการทำงานได้ดีกว่า

    4. Mobility & Freedom พนักงานทุกคนสามารถนั่งทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมุมโซฟา นั่งดูวิวเมือง หรือนั่งทำงานที่บริเวณห้องอาหาร โดยสามารถยกคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของตัวเองไปอยู่ในที่ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ ห้องประชุมยังเป็นการต่อจอแบบไร้สาย ด้วยระบบ Zoom ที่คอมพิวเตอร์ของพนักงานสามารถ cast content ขึ้นจอได้ทันที

    สำหรับพื้นที่ของสำนักงานเก็ท จะมีทั้งส่วนของพนักงานประจำที่มีพื้นที่กว่า 1,400 ตารางเมตร และยังมีพื้นที่ส่วนเสริมสำหรับเป็นพื้นที่ให้คนขับเข้ามาลงทะเบียน หรืออบรมการทำงานต่างๆ หรือใช้เป็นพื้นที่ดูแลพนักงานขับที่เข้าร่วมกับทางเก็ท.

    source

    ]]>
    1243778
    เจาะกลยุทธ์ GET บนสังเวียน Food Delivery : ได้เวลาน้องใหม่อัพสกิลเจาะ “ตลาดแมส” https://positioningmag.com/1241574 Tue, 06 Aug 2019 23:05:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241574 ปฏิเสธไม่ได้ว่า Food Delivery เป็นเทรนด์แรงที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เฉพาะ 6 เดือนแรกของปีนี้เติบโตกว่า 6 เท่า อันเป็นผลมาจากความสะดวกสบายที่ผู้บริโภคได้รับไม่ต้องไปผจญรถติดต่อคิวนานๆ ก็ได้กินอาหารร้านดังมาส่งให้ถึงที่

    GET FOOD บริการเรือธงของ “GET” ออนดีมานด์แอปพลิเคชั่นที่ได้รับเงินลงทุนจาก “GO-JEK” ยักษ์ออนดีมานด์จากอินโดนีเซีย ได้เข้ามาเป็นน้องใหม่รายล่าสุดของศึก Food Delivery ได้ราว 6 เดือนแล้ว โดยช่วงไตรมาส 2 เติบโตจากไตรมาส 1 คิดเป็นตัวเลข 168%

    GET ระบุว่าตัวเองนั้นมีจุดเด่นใน 3 เรื่อง ได้แก่ หนึ่ง “Street Food” ซึ่งยอดจากสั่งซื้อ 45% และจำนวนร้านอาหารกว่า 70% จากจำนวนร้านทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบตอนนี้ 20,000 ร้านค้าก็เป็น Street Food แม้ตัวเลขนี้จะยืนพื้นมาตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ แต่ GET ยืนยันว่าร้านทั้งหมดเพียงพอสำหรับเป็นตัวเลือกให้แก่ลูกค้ายังไม่ต้องรีบเพิ่มตอนนี้

    อีกทั้งยังเชื่อว่าตัวเองนั้นมีจำนวนร้านอาหารที่ Active หรือมียอดสั่งอาหารอย่าน้อย 1 ครั้งต่อเดือน มากที่สุดในบรรดา Food Delivery โดยร้านที่ขายดีจะมียอดสั่งซื้อไม่น้อยกว่า “1 แสนครั้งต่อเดือน

    สองค่าส่ง 10 บาทบางช่วงลงไปเหลือ 5 บาท ซึ่งแม้ตัวเลขนี้จะไม่ได้สะท้อนตัวเลขต้นทุนที่แท้จริง ด้วยอยู่ในช่วงทำโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งจากการสำรวจพฤตติกรรมพบว่าราคามักจะเป็นตัวเลือกแรกที่ลูกค้าจะนึกถึงเวลาจะสั่ง Food Delivery สักราย รองลงมาคือความวาไรตี้ของร้านอาหาร แต่ GET ยังยืนยันจะใช้ราคานี้ต่อไป

    ขณะเดียวกัน GET ก็ยอมรับว่า แม้ Food Delivery จะเติบโตหวือหวาก็จริง แต่ปัญหาใหญ่มากที่สุดคือราคาค่าส่งที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น เวียดนามหรืออินโดนีเซียซึ่งพบว่า คนขับของไทยมีรายได้มากกว่า 3 เท่าตัว

    สามเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ GET ใช้ “Data” มาเป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจ ทั้งใส่ส่วนของลูกค้าที่มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาทั้งระะบบฟิวเตอร์ที่จะช่วยให้สามารถเสิร์ชหาร้านหรือเมนูที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ฟีเจอร์ OMAKASE ที่จะแนะนำเมนูอาหารที่ Personalized ให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย ฟีเจอร์การแสดงส่วนลดแบบใหม่

    คนขับซึ่งระบบจำคำนวณว่า ชอบรับงานประเภทไหน ส่งคน ส่งอาหาร หรือ ส่งของ ชอบรับช่วงเวลาไหน ส่งใกล้หรือไกล โดยจะนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเวลาที่ลูกค้ามีคำสั่งเข้ามา จะได้มอบงานที่เหมาะกับคน

    ขณะนี้กำลังเตรียมเพิ่มทางเลือกให้กับการส่งสินค้าซึ่งจะไม่ได้มีแค่รถมอเตอร์ไซค์อีกต่อไป GET ไม่ปฏิเสธว่า ตัวเลือกการส่งที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นรถจักรยานหรือสกูตเตอร์ไฟฟ้า

    แต่ที่แน่ๆ การเดินส่ง” ในระยะ 1 กิโลเมตรอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก เพราะอากาศและถนนในเมืองไทยยังไม่เอื้ออำนวย สุดท้ายร้านค้า เตรียมทำแอปแยกที่จะแจ้งร้านค่ามีคำสั่งซื้อเข้ามา

    เรียงจากซ้ายมาขวา : ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET, วงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการธุรกิจ GET FOOD และ ก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด GET

    ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET กล่าวว่า ในช่วงแรกของการให้บริการความท้าทายของ GET คือทำให้บริการนิ่ง การส่งต้องอยู่ภายในครึ่งชั่วโมง และมีเมนูอาหารที่ไม่ด้อยไปกว่ารายอื่นๆ ซึ่งตอนนี้ทำได้แล้ว

    ความท้าทายต่อจากนี้ของ GET ไม่ใช่สู้กับ Food Delivery แต่เป็นการดึงให้ผู้บริโภคหันมาสั่งมากขึ้นแทนที่จะไปซื้อที่ร้านเอง ซึ่งแม้ว่าตัวเลขตลาดจะเติบโต 6 เท่าก็จริง แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ยังเติบโตได้อีกมาก ปัญหาที่พบคือ ถึงจะมีความต้องการกินก็จริง แต่ไม่ได้สั่งผ่าน Food Delivery ทั้งหมด

    เป้าหมายต่อจากนี้ของ GET คือการขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มแมสอายุ 18-45 ปี จากเดิมอยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานต่อเนื่อง (Active User) อยู่ที่ 5 แสนคนต่อเดือน และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    • Explorers 58% รู้ว่าอยากกินอะไรร้านไหนในแอป เข้ามาแล้วชอบเสิร์ชชื่อร้าน ชื่อเมนู โดยยอดนิยมที่ถูกเสิร์ช คือ ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ส้มตำ
    • Chillaxer 18% กลุ่มนี้รู้ว่าหิวแต่ไม่รู้เมนูที่ต้องการสั่ง GET นำเสนอเมนูต่างๆ แก่ลูกค้า เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา เช่น ช่วงเช้าจะแนะนำ โจ๊ก ปาท่องโก๋ กาแฟ เป็นต้น
    • Routine Lover 16% กลุ่มนี้รู้อยู่แล้วว่าชอบอะไรต้องการสั่งอะไร และมักจะสั่งเมนูเดิมๆ GET จึงออกฟีเจอร์ช่วยให้ง่ายสั่งได้ใน 3 คลิก คือ เลือกร้าน เลือกเมนูประจำ และกดสั่งได้เลย

    การบุกแมสในครั้งนี้ของ GET เลือกที่จะจัดแคมเปญใหญ่ อยากกินอะไร สั่ง GET เลย ที่มาพร้อมกับการดึงนนท์ ธนนท์มาเป็นพีเซ็นเตอร์คนแรกของ GET ซึ่งเลือกเพราะมีคาแร็กเตอร์ที่เข้าถึงได้ง่าย จะให้หล่อหรือตลกก็ได้เหมือนกับ GET มีสัญญา 1 ปี

    โดยจะมีการใช้สื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อมๆ กับการออกสินค้าในคอลเลกชั่น “Only At GET เรื่องกินต้องเก็ท ที่เปิดโอกาสให้สั่งอาหาร 7 เมนู ที่ทำโดย 4 เชฟชื่อดัง ได้แก่ เชฟต้น เจ้าของร้านอาหารบ้าน (Bann) เชฟกิ๊ก เจ้าของร้านอาหารเลิศทิพย์ เชฟเปเปอร์ แห่งร้าน ICI และเฮียเก๊า แห่งร้านเจ๊โอว โดยจำกัดระยะเวลาขาย 1 เดือน

    ]]>
    1241574
    Next Step “SCB” รับมือ Digital Disruption! ประกาศลงทุน Series F แพลตฟอร์มเดินทาง Go-Jek พร้อมร่วมมือ GET ขยายบริการทางการเงิน https://positioningmag.com/1238812 Thu, 11 Jul 2019 11:19:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238812 1 กรกฎาคม 2019 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพิ่งประกาศดีลใหญ่ ขายธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมดในบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ SCB Life ซึ่ง SCB ถือหุ้น 99% ให้กลุ่มเอฟดับบลิวดี (FWD Group Financial Services Pte. Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตระดับเอเชีย ด้วยมูลค่า 92,700 ล้านบาท ถือเป็นดีลการซื้อขายธุรกิจประกันชีวิตที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    SCB ระบุในงานแถลงข่าวครั้งนั้นว่า เงินที่ได้จากการขยายหุ้น SCB Life จะทำให้ SCB มีศักยภาพลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจของธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับ Digital Disruption

    อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

    การจะทำอะไรก็ตาม SCB จะคิดจากลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แต่ถ้าอันไหนที่ทำไม่ได้ก็พร้อมจะพาร์ตเนอร์กับรายอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์ลูกค้าแล้ว ยังทำเป็นการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ SCB ด้วย

    ลงทุนในรอบ Series F ให้กับ “Go-Jek”

    คล้อยหลังจากประกาศดีลใหญ่ได้ราว 10 วัน SCB ก็เริ่มสเต็ปนี้ทันที โดยประกาศเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนในรอบ Series F ให้กับ “Go-Jek” สตาร์ทอัพระดับ Decacorn จากอินโดนีเซีย

    ชื่อนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูสำหรับคนไทยมากนัก แต่นี่คือบริการแบบออนดีมานด์รายใหญ่ด้วย 21 บริการ ที่มีฐานผู้ใช้และคนขับกว่า 2 ล้านคน และมีมูลค่าบริษัทกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 300,000 ล้านบาท

    เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ทันทีว่า SCB ลงทุนให้กับ “Go-Jek” เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพราะการระดุมทุนในรอบนี้ยังไม่สิ้นสุด แต่ที่แน่ๆ จะอยู่ในรอบการลงทุนร่วมกับ Mitsubishi Motors Corp. , Mitsubishi Corp. และ Mitsubishi UFJ Lease & Finance Co. ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 30,000 ล้านบาท

    ก่อนหน้านี้ในเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Bloomberg ได้ออกรายงานว่า Google, JD.com Inc. และ Alphabet Holdings ของ Google Inc. ด้ร่วมลงทุนใน Series F ครั้งที่ 1 เป็นเงินกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่นเดียวกัน

    รูป : Facebook Go-Jek

    จับมือ GET เพิ่มโซลูชั่นการชำระเงิน ขยายฐานลูกค้าระหว่างกัน

    แน่นอนทุกการลงทุนย่อนหวังผลตอบแทนแต่ด้วยความที่ “Go-Jek” ไม่ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในเมืองไทยตรงๆ ดังนั้นจึงมีดีล 2 เกิดขึ้น โดย SCB จะเข้าไปกับมือเป็น Strategic Partnership กับ “GET” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีทางการเงินจาก Go-Jek

    โดยผ่านนานกลุ่มคนขับ (GET driver) ร้านค้า (แม่มณีมีร้านอาหารราว 4,000 – 5,000 ร้านและ GET FOOD) และผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน (SCB EASY และ GET)

    อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า การร่วมมือกับ GET ยังเป็นการขยายเพิ่มโซลูชั่นการชำระเงิน ที่ออกมาใน 3 รูปแบบได้แก่

    1.กลุ่มคนขับ (GET driver) สามารถให้สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ได้ทันที ด้วยธนาคารสามารถเห็น Statement ได้ทันทีที่ เนื่องจากคนขับต้องเปิดบัญชีกับ SCB อยู่แล้ว เพื่อนำไปเชื่อมต่อกับ GET PAY ซึ่งเป็น e-Wallet ที่ทาง GET จะโอนเงินให้กับคนขับผ่านช่องทางนี้

    อีกอย่างคือสามารถการนำเงินออกจาก GET PAY เพื่อเข้าบัญชีไทยพาณิชย์แบบฟรีค่าธรรมเนียม และใช้งานผ่าน SCB EASY ได้ทันที

    2.กลุ่มร้านค้า (Merchant) กลุ่มร้านค้าก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับกลุ่มคนขับ สุดท้ายคือ กลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน (End Consumer) จะสามารถใช้โซลูชันด้านการชำระเงินต่างๆ โดยจะคาดว่าจะใช้งานได้ภายในไตรมาส 3 นี้

    อย่างไรก็ตามแม้ GET PAY และ SCB EASY จะมีลักษณะการใช้งานที่ไม่แตกต่างกันมากนั้น แต่อภิพันธ์มองว่าจะไม่ทับซ้อนกัน เพราะ GET PAY จะใช้งานภายใน GET ส่วน SCB EASY ก็ใช้งานในร้านค้าข้างนอกซึ่งจะช่วยขยายฐานผู้ใช้งานระหว่างกันมากกว่า

    แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะมาช่วยสร้างความแตกต่างทางธุรกิจของความร่วมมือกับ GET ในครั้งนี้ คือ การต่อยอดและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร (Key Business Partnership) ของธนาคารที่หลากหลายในกลุ่มต่างๆ

    อาทิ รีเทล ค้าปลีก ค้าส่ง โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล เช่นที่การจับมือกับ Google my Business ไปก่อนหน้านี้ ก็สามารถนำไปเชื่อมโยงได้ทันที

    GET ตั้งเป้าโตไม่น้อยกว่า 2 ดิจิ

    สำหรับ GET เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ให้มี 4 บริการหลัก ได้แก่ GET WIN บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, GET DELIVERY บริการรับส่งพัสดุ, GET FOOD บริการส่งอาหาร และ GET PAY ที่อยู่ในช่วงทดลองให้บริการ

    ช่วงที่ผ่านมา GET เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 1,000,000 ครั้ง เติบโต 230% มีคนขับในระบบกว่า 20,000 คน ทั้งมอเตอร์ไซค์วิน และคนขับส่งของ เติบโต 100% และร้านอาหารในระบบอีก 20,000 ร้าน

    ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET กล่าวว่า

    “GET ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเพราะเมื่อเทียบกับประชากรในกรุงเทพฯยังมีสัดส่วนการใช้บริการเรียกรถและบริการออนไลน์ฟู้ดเดลิเวอรี่เพียง 2-3% เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับบริการทั้งคู่แล้ว ดังนั้นปีนี้ GET จึงตั้งเป้าโตไม่น้อยกว่า 2 ดิจิ

    Source

    ]]>
    1238812
    เมื่อ GET หนีวงล้อม Food Delivery แข่งดุ แล้วทำไม “Street Food” ถึงเป็นสเต็ปแรก สร้างยอดสั่งซื้อ https://positioningmag.com/1234511 Thu, 13 Jun 2019 23:05:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234511 เมื่อ 3 เดือนก่อนในสงคราม Food Delivery อันร้อนแรง ได้มีน้องใหม่เกิดขึ้นมาท่ามกลางวงล้อมของพี่ๆ ผู้มาก่อน ทั้ง Grab Food – LINE MAN – Foodpanda ซึ่งน้องใหม่ที่ว่านี้คือ “GET”

    วงษ์ทิพพา วิเศษเกษม Food Business Director กล่าวกับ Positioning ว่าการเข้ามา GET ไม่ได้ตั้งใจมาแข่งกับรายอื่นๆ แต่มองว่าการเข้ามาทำให้ตลาดคึกคักมากขึ้น เนื่องจากเข้ามาสร้าง Awareness ให้กับผู้บริโภคและทางเลือกที่มากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีรายใหญ่ที่กินตลาดออฟไลน์มากที่สุด

    ข้อมูลจากยูโรมอเตอร์ระบุว่า ตลาดออฟไลน์ซึ่งหมายถึงการเดินเข้าไปกินที่ร้านหรือซื้อกลับบ้าน ยังคิดเป็นสัดส่วน 80% มีค่าใช้จ่ายราว 5-6 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้งหรือราว 150 – 180 บาท ในขณะที่เหลือมาจากออฟไลน์ทั้งคอลเซ็นเตอร์และแฟลตฟอร์ม O2O (Online to Offline) จึงยังมีโอกาสอีกมากสำหรับ GET โดยที่ไม่ต้องเข้าไปแข่งกับคนอื่นๆ

    ตั้งแต่เปิดมายอดการสั่งซื้อเติบโตแล้ว 980% ถ้าในเชิงผู้ใช้บริการเติบโต 230% ยอด Downloads 650,000 ครั้ง มีร้านอาหารในระบบมากกว่า 20,000 ร้าน คนขับมากกว่า 10,000 คน มีผู้ใช้ประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถึง 70% หลักๆ อายุ 18 – 40% เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนิดหน่อย

    จากตัวเลขดังกล่าว GET เชื่อมั่นว่าวันนี้ตัวเองเป็น 1 ใน 3 Food Delivery ที่คนกรุงเทพฯ ชอบใช้ โดยเฉพาะอาหาร Street Food ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ 1 เพราะผู้ใช้บริการเทความสนใจและสั่งซื้อจำนวนมาก

    ความมั่นใจนี้มาจากข้อมูลในระบบของ GET ที่พบว่ายอดจากสั่งซื้อ 45% มาจาก “Street Food” ซึ่งคิดเป็น 70% ของจำนวนร้านค้าทั้งหมดในระบบ อีกทั้งที่ผ่านมาจากรีเสิร์ชพบพฤติกรรมของผู้บริโภคบางครั้งยังไม่รู้จะกินอะไร หรือมีเมนูที่อยากกินแต่ไม่รู้จักร้าน

    GET จึงอุดช่องนี้ด้วยการเน้นรูปและนำเสนออาหารที่เป็น Street Food ให้ผู้บริโภคได้เห็น โดยเมนูเด่นได้แก่ข้าวหมูทอด มียอดการสั่งซื้อกว่า 16,000 ครั้งในเดือนที่ผ่านมา

    รองลงมา 40% เป็นเครื่องดื่มเมนูเด่นที่เดาได้ไม่ยากคือชาไข่มุกเดือนที่ผ่านมายอดการส่งเครื่องดื่ม 300,000 แก้ว ในจำนวนนั้นเป็นชาไข่มุกกว่า 80,000 แก้ว GET เคยพบมากที่สุดสั่งพร้อมกัน 4,000 ออเดอร์ใน 1 ชั่วโมง คนที่กินคือผู้หญิงอายุ 15 – 40 ปี ส่วนใหญ่จะสั่งในวันหยุด

    ที่เหลืออีก 15% มาจากร้านดัง เช่น เฮียอ้วนหมูปิ้ง ขนมปังเตาถ่านเยาราชเท็กซัส ชิคเก้น เป็นต้น แต่ถ้ารวมๆ 6 อันดับเมนูยอดนิยมได้แก่ 1. ชานมไข่มุก 2.ข้าวหมูทอด 3.โจ๊ก 4. ขนมปัง (ไส้เนยนมจากขนมปังเยาวราช) 5.โกโก้ และ 6.ข้าวมันไก่

    ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา วงษ์ทิพพา บอกว่าทุกอย่างเป็นไปตามความคาดหมาย ซึ่งความสำเร็จมาจาก 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1.Localization ที่มีเทคโนโลยีเรื่อง Search ที่ไม่ได้ค้นหาแค่ร้านแต่สามารถค้นหาเมนูแล้วโชว์ร้านที่มีขายได้

    2.ฟีเจอร์ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามา Re-Order ผู้บริโภคบางคนชอบความเร็ว ชอบสั่งเมนูเดิมร้านเดิม ฟีเจอร์นี้จะทำให้สามารถสั่งได้ทันที

    3.การออกโปรโมชั่น Flash deals ได้รับผลการตอบที่ดีเพราะเป็นโปรที่เข้าใจง่าย ทั้งส่วนลด 50% หรือซื้อ 1 แถม 1 โดยราคาอาหารจะตรงกับหน้าร้านไม่มีบวกเพิ่ม ส่วนค่าส่งหากอยู่ในโปรจะมีส่งฟรี 5 กิโลแรก หากช่วงเวลาปรกติคิด 10 บาท ช่วง 5 กิโมเมตรแรก ส่วนที่เหลือคิด 10 บาท/กิโลเมตร ไม่ได้กำกัดระยะเวลาส่ง

    การทำโปรฯ นี้นอกจากช่วยกระตุ้นยอดขายของร้านค้าแล้ว GET ยังได้ทดลองเพิ่มความถี่ในช่วงเวลากลางวัน จากปรกติที่การสั่งจะเน้นในช่วงเที่ยงและเย็น ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเลือก Food Delivery จากความหลากหลายของร้านอาหาร ราคาค่าส่งและค่าอาหาร สุดท้ายระยะทางเพราะมีผลต่อความหิว

    สเต็ปต่อไปของ GET ต้องขยายตลาดทั้งพื้นที่ให้บริการ ร้านค้า ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ร้านอาหารในกรุงเทพฯ ที่พร้อมจะทำ Food Delivery มีจำนวนกว่า 40,000 – 60,000 ร้าน คนขับ และผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานออฟไลน์ที่ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่การสั่งอาหารของออนไลน์

    GET คาดหวังที่จะเข้าไปกินสัดส่วน 5% ก็พอใจแล้วในปีนี้ แต่ที่มากกว่านั้นคือ GET ต้องขยายจำนวนทีมงานเสียก่อน เพราะ 90 คนที่มีในปัจจุบันไม่เพียงพอเสียแล้ว

    จะว่าไปการเลือกเจาะ Street Food ก็มีที่มา เพราะคู่แข่งในตลาด LINE MAN ก็มีการจับกับวงใน เว็บไซต์และแอปแนะนำร้านอาหารรายใหญ่ ทำให้มีร้านอาหารชื่อดังอยู่ในมือจำนวนมาก ส่วน Grab Food ก็มีข้อได้เปรียบในเรื่องของแบรนด์เป็นที่รู้จัก

    ยิ่งหลังควบรวม UberEats เข้ามา ทำให้มีฐานร้านอาหาร คนขับขี่ ลูกค้าเป็นทุนเดิม บวกกับการเดินเกมรุก ทำโปรโมชั่น ร่วมมือกับเพจเรื่องกินเรื่องใหญ่ เพื่อเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และยังมีพรีเซ็นเตอร์อย่าง BNK48 ในการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่

    อีกทั้งช่วงหลัง Grab เร่งเพิ่มร้านค้า และผู้ส่งอาหาร เพื่อทำยอด โดยทำยอดสั่งซื้อในช่วง 4 เดือนแรกในปีนี้ ถึง 4 ล้านออเดอร์ ทำให้ Get จึงต้องเลือกจับมือกับ “Street Food ร้านอาหารรายย่อยริมทางแทนที่จะเป็นร้านดัง ที่ยังพอมีช่องว่างและแก้โจทย์ที่เป็นจุดอ่อนของตลาด

    สำหรับ Get ถึงจะมีผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเป็นคนไทยทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วมี Go-Jek (โกเจ็ก) หนึ่งในเทคยูนิคอร์นที่น่าจับตามองในแถบเอเชียจากอินโดนีเซีย แถมมีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย ทั้งกูเกิล เทนเซ็นต์ และเหม่ยถวนเตี้ยนผิง ร่วมลงทุนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินและ Know-how ในด้านเทคโนโลยี

    ปัจจุบันมี 3 บริการหลักซึ่งสามารถแบ่งสัดส่วนการใช้งาน ได้แก่ GET FOOD 57%, GET WIN 37% และ GET DELIVERY 6% 

    ]]>
    1234511