Go-Jek – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 30 Aug 2019 09:52:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บิ๊กดีลเขย่าวงการสตาร์ทอัป จับตา Amazon เจรจาซื้อหุ้น Gojek https://positioningmag.com/1244486 Fri, 30 Aug 2019 10:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244486 เป็นอีกดีลที่ต้องจับตา เมื่อสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า อะเมซอนดอทคอม (Amazon.com Inc) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับโกเจ็ก (Gojek) พันธมิตรหลักของบริการเก็ท (Get) ในประเทศไทย

รายงานระบุว่า Amazon ต้องการซื้อหุ้นใน Gojek สตาร์ทอัปแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทางสัญชาติอินโดนีเซียที่ขยายบริการจนหลากหลายและครอบคลุมหลายด้าน หรือผู้ให้บริการ platform on demand เบื้องต้นยังไม่มีการยืนยันรายละเอียด แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกับที่ลือกันในรายงานก่อนหน้านี้

ในขณะที่ทั้ง Amazon และ Gojek ไม่ออกมาให้ความคิดเห็น สื่อมองว่าหากข่าวลือนี้เป็นจริง ยูนิคอร์นอย่าง Gojek จะยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบันที่ถูกยกเป็นยูนิคอร์น เพราะฐานะบริษัทเอกชนที่เพิ่งก่อตั้งแต่มีตัวเลขประเมินมูลค่าบริษัทราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือมากกว่า คาดว่า Gojek จะขยายธุรกิจได้เต็มที่หากมีเงินทุนเพิ่มอีก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Amazon มีข่าวเกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริการรถร่วมเดินทางและแอปพลิเคชันออนดีมานด์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Amazon ตัดสินใจซื้อหุ้นในบริษัทส่งอาหารออนไลน์สัญชาติอังกฤษชื่อ เดลิเวอรู (Deliveroo) ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับอูเบอร์อีตส์ (Uber Eats) ในเครือ Uber Technologies Inc โดยทั้ง 2 ค่ายแข่งขันกันดุเดือดในหลายประเทศเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดซื้ออาหารกลับบ้านให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ Amazon ยังส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอื่นที่หลากหลาย ตั้งแต่การพัฒนาเสมือนจริง ไปจนถึงการสร้างรถไร้คนขับ ซึ่ง Amazon ประกาศลงทุนจริงจังตั้งแต่กรกฎาคมที่ผ่านมา

สำหรับไทย ชื่อ Gojek เป็นที่คุ้นหูเพราะบริการอย่าง Get ที่อาสาเป็นผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีจาก Gojek มาสู่แดนสยาม โดย Get จะได้รับเงินทุนจาก Gojek มาบริหารและจัดการธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงบลงทุนรวมกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 16,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย (ตัวเลขกลางปี 2018)           

ปัจจุบัน Gojek ได้รับเงินทุนจากยักษ์ใหญ่อย่างอัลฟาเบ็ต (Alphabet Inc) ต้นสังกัดกูเกิล อาลีบาบา (Alibaba Group Holdings) เทนเซ็นต์ (Tencent Holdings) และวีซ่า (Visa Inc) การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดในกลางปีที่ผ่านมาทำให้บริษัทมีมูลค่าตลาดสูงทะลุ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐไปเรียบร้อย.

Source

]]>
1244486
Next Step “SCB” รับมือ Digital Disruption! ประกาศลงทุน Series F แพลตฟอร์มเดินทาง Go-Jek พร้อมร่วมมือ GET ขยายบริการทางการเงิน https://positioningmag.com/1238812 Thu, 11 Jul 2019 11:19:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238812 1 กรกฎาคม 2019 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพิ่งประกาศดีลใหญ่ ขายธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมดในบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ SCB Life ซึ่ง SCB ถือหุ้น 99% ให้กลุ่มเอฟดับบลิวดี (FWD Group Financial Services Pte. Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตระดับเอเชีย ด้วยมูลค่า 92,700 ล้านบาท ถือเป็นดีลการซื้อขายธุรกิจประกันชีวิตที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

SCB ระบุในงานแถลงข่าวครั้งนั้นว่า เงินที่ได้จากการขยายหุ้น SCB Life จะทำให้ SCB มีศักยภาพลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจของธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับ Digital Disruption

อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

การจะทำอะไรก็ตาม SCB จะคิดจากลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แต่ถ้าอันไหนที่ทำไม่ได้ก็พร้อมจะพาร์ตเนอร์กับรายอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์ลูกค้าแล้ว ยังทำเป็นการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ SCB ด้วย

ลงทุนในรอบ Series F ให้กับ “Go-Jek”

คล้อยหลังจากประกาศดีลใหญ่ได้ราว 10 วัน SCB ก็เริ่มสเต็ปนี้ทันที โดยประกาศเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนในรอบ Series F ให้กับ “Go-Jek” สตาร์ทอัพระดับ Decacorn จากอินโดนีเซีย

ชื่อนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูสำหรับคนไทยมากนัก แต่นี่คือบริการแบบออนดีมานด์รายใหญ่ด้วย 21 บริการ ที่มีฐานผู้ใช้และคนขับกว่า 2 ล้านคน และมีมูลค่าบริษัทกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 300,000 ล้านบาท

เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ทันทีว่า SCB ลงทุนให้กับ “Go-Jek” เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพราะการระดุมทุนในรอบนี้ยังไม่สิ้นสุด แต่ที่แน่ๆ จะอยู่ในรอบการลงทุนร่วมกับ Mitsubishi Motors Corp. , Mitsubishi Corp. และ Mitsubishi UFJ Lease & Finance Co. ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 30,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ในเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Bloomberg ได้ออกรายงานว่า Google, JD.com Inc. และ Alphabet Holdings ของ Google Inc. ด้ร่วมลงทุนใน Series F ครั้งที่ 1 เป็นเงินกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่นเดียวกัน

รูป : Facebook Go-Jek

จับมือ GET เพิ่มโซลูชั่นการชำระเงิน ขยายฐานลูกค้าระหว่างกัน

แน่นอนทุกการลงทุนย่อนหวังผลตอบแทนแต่ด้วยความที่ “Go-Jek” ไม่ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในเมืองไทยตรงๆ ดังนั้นจึงมีดีล 2 เกิดขึ้น โดย SCB จะเข้าไปกับมือเป็น Strategic Partnership กับ “GET” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีทางการเงินจาก Go-Jek

โดยผ่านนานกลุ่มคนขับ (GET driver) ร้านค้า (แม่มณีมีร้านอาหารราว 4,000 – 5,000 ร้านและ GET FOOD) และผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน (SCB EASY และ GET)

อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า การร่วมมือกับ GET ยังเป็นการขยายเพิ่มโซลูชั่นการชำระเงิน ที่ออกมาใน 3 รูปแบบได้แก่

1.กลุ่มคนขับ (GET driver) สามารถให้สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ได้ทันที ด้วยธนาคารสามารถเห็น Statement ได้ทันทีที่ เนื่องจากคนขับต้องเปิดบัญชีกับ SCB อยู่แล้ว เพื่อนำไปเชื่อมต่อกับ GET PAY ซึ่งเป็น e-Wallet ที่ทาง GET จะโอนเงินให้กับคนขับผ่านช่องทางนี้

อีกอย่างคือสามารถการนำเงินออกจาก GET PAY เพื่อเข้าบัญชีไทยพาณิชย์แบบฟรีค่าธรรมเนียม และใช้งานผ่าน SCB EASY ได้ทันที

2.กลุ่มร้านค้า (Merchant) กลุ่มร้านค้าก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับกลุ่มคนขับ สุดท้ายคือ กลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน (End Consumer) จะสามารถใช้โซลูชันด้านการชำระเงินต่างๆ โดยจะคาดว่าจะใช้งานได้ภายในไตรมาส 3 นี้

อย่างไรก็ตามแม้ GET PAY และ SCB EASY จะมีลักษณะการใช้งานที่ไม่แตกต่างกันมากนั้น แต่อภิพันธ์มองว่าจะไม่ทับซ้อนกัน เพราะ GET PAY จะใช้งานภายใน GET ส่วน SCB EASY ก็ใช้งานในร้านค้าข้างนอกซึ่งจะช่วยขยายฐานผู้ใช้งานระหว่างกันมากกว่า

แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะมาช่วยสร้างความแตกต่างทางธุรกิจของความร่วมมือกับ GET ในครั้งนี้ คือ การต่อยอดและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร (Key Business Partnership) ของธนาคารที่หลากหลายในกลุ่มต่างๆ

อาทิ รีเทล ค้าปลีก ค้าส่ง โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล เช่นที่การจับมือกับ Google my Business ไปก่อนหน้านี้ ก็สามารถนำไปเชื่อมโยงได้ทันที

GET ตั้งเป้าโตไม่น้อยกว่า 2 ดิจิ

สำหรับ GET เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ให้มี 4 บริการหลัก ได้แก่ GET WIN บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, GET DELIVERY บริการรับส่งพัสดุ, GET FOOD บริการส่งอาหาร และ GET PAY ที่อยู่ในช่วงทดลองให้บริการ

ช่วงที่ผ่านมา GET เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 1,000,000 ครั้ง เติบโต 230% มีคนขับในระบบกว่า 20,000 คน ทั้งมอเตอร์ไซค์วิน และคนขับส่งของ เติบโต 100% และร้านอาหารในระบบอีก 20,000 ร้าน

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET กล่าวว่า

“GET ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเพราะเมื่อเทียบกับประชากรในกรุงเทพฯยังมีสัดส่วนการใช้บริการเรียกรถและบริการออนไลน์ฟู้ดเดลิเวอรี่เพียง 2-3% เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับบริการทั้งคู่แล้ว ดังนั้นปีนี้ GET จึงตั้งเป้าโตไม่น้อยกว่า 2 ดิจิ

Source

]]>
1238812
จับตา! GET ควง “Go-Jek” ลุยสังเวียนแอปฯ เรียกรถไทย ประเดิม 3 บริการ วินมอเตอร์ไซค์-ส่งพัสดุ-ส่งอาหาร คาด 1 ปีลูกค้า 1 ล้านราย https://positioningmag.com/1216797 Thu, 28 Feb 2019 00:57:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216797 เมื่อ 2 เดือนก่อนสังเวียนแอปพลิเคชั่นเรียกรถ หรือ Ride-Hailing Application กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ “GET!” (เก็ท) ประกาศทดลองให้บริการฟรีรัศมี 6 กิโลเมตรใน 3 เขตลาดพร้าว วังทองหลาง และจตุจักร

จากนั้น Get ทยอยขยายพื้นที่ให้บริการมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้ GET มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 80% ของกรุงเทพฯ พร้อมกับอ้างสถิติมีการใช้งานกว่า 2 ล้านครั้ง คิดเป็นระยะทางกว่า 3 ล้านกิโลเมตร หรือไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบ

บริเวณที่ใช้บริการจำนวนมากอยู่ในย่าน CBD เช่น สาทรและบางรัก ยอดดาวน์โหลดแอป 2 แสนครั้ง และมีพี่วินมอเตอร์ไซค์ลงทะเบียนในระบบ 10,000 คน จากจำนวนที่ลงทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทั้งสิ้น 80,000 คน

การที่ Get ถูกจับตามองอย่างมาก เพราะมี Backup ที่ไม่ธรรมมา อย่าง Go-Jek (โกเจ็ก) หนึ่งในเทคยูนิคอร์นที่น่าจับตามองในแถบเอเชีย จากอินโดนีเซีย แถมมีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย ทั้งกูเกิล เทนเซ็นต์ และเหม่ยถวนเตี้ยนผิง ร่วมลงทุนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินและ Know-how ในด้านเทคโนโลยี

Get นั้น ไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมทุน ของ Go-Jek แต่อยู่ในลักษณะพาร์ตเนอร์ชิพโดยมีอำนาจในการบริการและตัดสินใจเอง ผู้บริหารและพนักงาน 100 กว่าคนเป็นคนไทยทั้งหมด และมีบางส่วน เช่น วิศวกรรมดูแลระบบที่ Go-Jek ส่งมาช่วยดูเท่านั้น

Go-Jek ได้เปิดตัวด้วยบริการรับส่งคนและพัสดุด้วยรถจักรยานยนต์เมื่อปี 2010 จนถึงตอนนี้มี 19 บริการ ตั้งแต่บริการขนส่ง รับส่งอาหาร ร้านค้าบริการนวด บริการทำความสะอาดบ้านโลจิสติกส์ รวมถึงบริการอีมันนี่ และโรยัลตี้โปรแกรม มียอดดาวน์มากกว่า 130 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้งานกว่า 2 ล้านคนต่อวัน

ในอินโดนีเซียให้บริการ 200 เมือง/เขต และได้ประกาศการขยายสู่นานาชาติไปยัง 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (ให้บริการเฉพาะเรียกมอเตอร์ไซค์) ใช้ชื่อ โกเหวียด” (Go-Viet) สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ (ให้บริการเฉพาะอีมันนี่เพราะเข้าไปซื้อบริษัทท้องถิ่นมา) ใช้ชื่อบริการ Go-Jek แต่ให้บริการทีหลังไทย

โดยไทยเป็นประเทศที่ 4 ที่ Go-Jek เข้ามาทำตลาด แต่ใช้ชื่อ GET! จะให้บริการ 3 บริการ คือ 1.บริการ เรียกมอเตอร์ไซค์ หรือ GET Win โดยจะมีแต่รถป้ายเหลืองที่ถูกกฎหมายเท่านั้น 2. GET Delivery บริการส่งพัสดุต่างๆ และ GET Food บริการซื้ออาหารที่มีร้านในระบบ 2 หมื่นร้าน ตั้งแต่ร้านสตรีทฟู้ดจนถึงร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ จะให้ป้ายขาววิ่งรับส่งได้

นาดีม มาคาริม ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ โกเจ็ก Go-Jek ให้เหตุผลที่สนใจตลาดเมืองไทยเพราะภาพรวมมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน ทั้งการคุ้นชินกับการนั่งมอเตอร์ไซค์ ชื่นชอบอาหาร และนิยมใช้แอปพลิเคชั่นผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงได้สนใจเข้ามาก่อนจะเจอกับทีมงานของ GET ที่เข้าใจตลาดเมืองไทยเป็นอย่างดี

ทีมงานที่ว่านี้คือ ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และรั้งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการ O2O (Online-to-Offline) เมืองไทย เพราะเคยเป็นผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งไลน์แมน (LINE Man) จนเป็นที่รู้จักในเมืองไทย ในด้านผู้ให้บริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) รวมถึงสร้างไลน์แท็กซี่ (LINE Taxi) ขึ้นมาเป็นในฐานะอีกบริการหนึ่งของไลน์แมน

ช่วงบุกเบิก ไลน์แมน เขาได้ดึงพาร์ตเนอร์ใหญ่ๆ เข้ามาเสริมทัพได้มากมายไม่ว่าจะเป็นวงใน (Wongnai) หรือลาล่ามูฟ (Lalamove) และก่อนหน้านั้นภิญญาได้เคยทำงานกับบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำอย่าง PCUBED ในฮ่องกง และแอคเซนเจอร์ (Accenture) ในไทยพร้อมประสบการณ์ในวงการเทคโนโลยี

ภิญญาบอกว่าสังเวียน Ride-Hailing Application ยังถือว่าเป็น “Blue Ocean” เพราะถึงจะมีผู้ให้บริการรายใหญ่อยู่ แต่สัดส่วนของคนที่ใช้บริการยังเป็นตัวเลขหลักเดียว แสดงว่ายังมีโอกาสในตลาดอีกมาก ซึ่งการจะเจาะเข้าไปได้จะต้องเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภค

จากผลรองรับในช่วงทดลองชี้ให้เห็นว่า GET สอบผ่านได้ดีด้วย 3 เหตุผล เรื่องแรกการเป็นแบรนด์ของไทยเอง เพราะชื่อ “GET!” (เก็ท) เป็นชื่อที่สั้นและสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ต่อมาการใช้งานที่ง่าย และส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจริงๆ

ความท้าทายที่สุดของ GET ในตอนนี้คือเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้คุ้นชินการเรียกพี่วินมอเตอร์ไซค์ให้เร็วที่สุด

GET ย้ำตัวเองเป็นบริการที่ถูกกฎหมาย เพราะตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้เข้าไปหารือกับทางภาครัฐตลอด เพื่อให้บริการถูกต้องตามกฎหมาย

เบื้องต้นใน GET Win จะคิดค่าบริการตามที่กฎหมายกำหนด ช่วงนี้ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดอยู่ มีอัตราระยะเวลาเรียกรถ 10 วินาที ส่วน GET Food และ GET Delivery คิดค่าบริการตามจริง ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม โดยต่อไปได้วางแผนเพิ่มบริการอีมันนี่เข้ามา แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะเปิดให้บริการในช่วงไหน ส่วนพื้นที่ให้บริการคาดครอบคลุมภายกรุงเทพฯภายในไตรมาสแรกนี้

เป้าหมายภายในปีนี้ของ GET ก็ไม่มากไม่มายแค่อยากให้มีคนไทยที่ใช้บริการ “1 ล้านคนเท่านั้นเอง.

]]>
1216797
Grab ว่าไง! “Get!” ซับแบรนด์ “Go-Jek” จากอินโด เปิดให้ทดลองใช้ในกรุงเทพฯ 3 จุด https://positioningmag.com/1202049 Tue, 11 Dec 2018 01:08:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1202049 เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินข่าวที่ “Get!” (เก็จ) แอปพลิเคชั่นเรียกรถสาธารณะแบบออนดีมานด์ เตรียมเปิดให้บริการในกรุงเทพมหานคร และหลังจากปล่อยให้รอเกือบครึ่งปีในที่สุด “Get!” ก็เริ่มออกให้บริการแล้ว

เบื้องต้นจะเริ่มเปิดทดสอบให้แก่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้รับอีเมล พร้อมกับลิงก์สำหรับดาวน์โหลด เพื่อใช้บริการเรียกวินมอเตอร์ไซค์ (GET WIN) และส่งของ (GET DELIVERY) ฟรี ตลอดช่วงเบต้า

สำหรับบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์จะใช้เฉพาะพี่วินที่ถูกกฎหมายเท่านั้น เมื่อเข้าไปในแอปจะเห็นว่าสามารถใช้บริการได้ฟรีภายในระยะทาง 6 กิโลเมตร ใน 3 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว วังทองหลาง และจตุจักร ทั้งนี้ เมื่อสอบถามไปยัง “Get!” ระบุว่า ในช่วงเบต้า จะเปิดให้บริการแค่ใน 3 เขตนี้เท่านั้น และโซนอื่นจะเปิดทดลองให้บริการในอนาคต ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี เนื่องจากในประเทศไทยเกิดการผูกขาดจากผู้ให้บริการรายเดียวอยู่ในปัจจุบัน

แน่นอนการเข้ามาของ Get! ต้องการทำให้วงการแอปพลิเคชั่นเรียกรถสาธารณะในไทยต้องถูกจับตามองอีกครั้ง เพราะวันนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแชริ่งอีโคโนมี (Sharing Economy) ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก เมื่อเทียบกับหลายประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม มาเลเซีย ที่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมอย่างเป็นรูปธรรม แม้จะผู้ให้บริการหลายรายจะย้ำเสมอว่า ได้คุยกับกรมการขนส่งทางบกอย่างใกล้ชิดแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกัน Get! ต้องเตรียมรับน้องให้ดีกับเจ้าถิ่นทั้งบริการเรียกวินมอเตอร์ไซค์ที่มี “Grab” ผูกขาดเป็นผู้ให้บริการรายเดียวอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่งประกาศดึง BNK48 มานั่งแทนแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่แรกของภูมิภาคอีกด้วย

ส่วนบริการส่งของก็มี “LINE MAN” ที่เพิ่งประกาศครบรอบ 2 ปีเติบโตกว่า 500% หรือจะเป็นลาล่ามูฟที่บุกเข้าไทย 4 ปีแล้ว และมีคนขับอยู่ในระบบกว่า 800,000 ราย

Get! คงประเมินแล้วว่า แม้จะมีเจ้าถิ่นที่แข็งเกร่ง แต่โอกาสในเมืองไทยยังมีให้กอบโกยอีกเยอะ เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว “Google” ได้ออกมาเปิดเผยถึงมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย จะพุ่งขึ้นเป็น 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว1.4 ล้านล้านบาท) โดยบริการร่วมเดินทาง (Ride Hailing)” จะเติบโตขึ้นไปอีกจากมูลค่าตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025

สำหรับ “Get!” เป็นซับแบรนด์ที่เอาไว้ใช้ในเมืองไทยของ “Go-Jek” แพลตฟอร์มให้บริการแบบออนดีมานด์จากประเทศอินโดนีเซีย โดยการเจาะเข้าสู่เมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของการแถลงงบลงทุนรวมกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 16,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนพฤษภาคม เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย

โดยการประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ “Go-Jek” ได้ทำการเพิ่มทุน โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำต่างๆ อาทิ กูเกิล (Google), วอร์เบิร์ก พินคัส (Warburg Pincus), เคเคอาร์ (KKR), เทนเซ็นต์ (Tencent) และเหม่ยถวนเตี้ยนผิง (Meituan-Dianping).

Source

]]>
1202049
‘Go-Jek’ มาแล้ว! ใช้แบรนด์ ‘GET’ ลุยตลาดบริการเรียกรถสาธารณะในไทย https://positioningmag.com/1175904 Tue, 26 Jun 2018 04:00:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1175904 หลังจากที่โกเจ็ก (Go-Jek) เลือกไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศ (เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในการบุกขยายบริการแอปพลิเคชันเรียกรถร่วมเดินทาง

ล่าสุด โกเจ็ก ได้ตั้งชื่อบริการขึ้นมาใหม่เก็ท (GET) ชื่อเรียกแอปพลิเคชันเรียกรถสาธารณะแบบออนดีมานด์ ที่จะเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก่อนที่จะขยายไปสู่บริการอื่น ๆ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของ โกเจ็ก (Go-Jek) ที่ขยายตลาดเข้าสู่ประเทศไทย

การเข้ามาทำตลาดในไทย โกเจ็ก พัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เหมาะกับตลาดไทย และบริหารจัดการโดยทีมผู้ก่อตั้งคนไทยที่มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านเทคโนโลยี และมีความเข้าใจในความต้องการของทั้งผู้บริโภค คนขับ รวมถึงหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ

เป้าหมายของเก็ท คือ การเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคคนไทยที่จะมาใช้บริการ โดยให้ความสำคัญกับคนขับในเรื่องการเพิ่มรายได้ และพาร์ตเนอร์ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐ

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนก่อนโกเจ็กได้แถลงงบลงทุนรวมกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 16,000 ล้านบาท) เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่โกเจ็กได้ทำการเพิ่มทุน โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ อาทิ กูเกิล (Google), วอร์เบิร์ก พินคัส (Warburg Pincus), เคเคอาร์ (KKR), เทนเซ็นต์ (Tencent) และเหม่ยถวนเตี้ยนผิง (Meituan-Dianping)

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของเก็ทกล่าวว่า โกเจ็ก ก้าวขึ้นเป็นยูนิคอร์นบริษัทแรกของอินโดนีเซียได้สำเร็จ เพราะโกเจ็กเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในประเทศได้

เก็ทเองได้รับแรงบันดาลใจมาจากโกเจ็ก ที่เริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นทุกวันจนชินตาให้กลับกลายเป็นโอกาสที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหลายล้านคนในประเทศได้ ทีมงานของเก็ท ทุกคนต่างมีความเชื่อและความตั้งใจเดียวกันที่ต้องการจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับประเทศ

ในฐานะคนไทยที่เกิดและโตในประเทศไทย เราจึงเข้าใจในมุมมองของผู้บริโภคเป็นอย่างดี และด้วยประสบการณ์ทำงานในธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ผ่านมาเป็นระยะเวลาหลายปี ทำให้เรามองเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค คนขับรถสาธารณะ รวมถึงธุรกิจรายย่อย

โดยโกเจ็กถือเป็นแพลตฟอร์มให้บริการแบบออนดีมานด์ด้วยบริการที่หลากหลาย อันดับหนึ่งจากประเทศอินโดนีเซีย และยังประสบความสำเร็จในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพาร์ตเนอร์คนขับกว่าหนึ่งล้านคน รวมถึงพาร์ตเนอร์ธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 150,000 ราย

นาดีม มาคาริม ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของโกเจ็กกล่าวว่า รูปแบบธุรกิจของเราเป็นที่ยอมรับว่าประสบความสำเร็จในอินโดนีเซีย เพราะการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและพาร์ตเนอร์คนขับ เชื่อว่ารูปแบบธุรกิจนี้จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศอื่น ๆ ได้จริงเช่นกัน

โดยขณะนี้เก็ทได้เริ่มมีการพูดคุยกับหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ กลุ่มคนขับ และผู้บริโภค เพื่อนำมาพัฒนาให้พร้อมสำหรับการเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า.

Source

]]>
1175904
วินมอเตอร์ไซค์-Grabไบค์ว่าไง! Go-Jek ประกาศชิงแชร์ตลาดไทย https://positioningmag.com/1171443 Fri, 25 May 2018 04:22:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1171443 เมื่อโกเจ็ก (Go-Jek) บริการแอปพลิเคชันเรียกรถร่วมเดินทาง ประเภทเดียวกับแกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber) ประกาศว่าจะบุกหนัก 4 ตลาดใหม่ เวียดนามไทยสิงคโปร์ฟิลิปปินส์ บนงบลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ที่เตรียมไว้แล้ว 

สำหรับ Go-Jek ไม่ใช่บริษัทธรรมดา เพราะ Go-Jek เป็นบริษัทดาวรุ่งที่มีหลายกลุ่มทุนอัดฉีดให้เต็มไม้เต็มมือ เชื่อว่างานนี้ Grab กำลังมีคู่แข่งที่น่ากลัว ทำให้การครองตลาดไทยอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด

***จัดเต็ม 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

Go-Jek เป็นบริษัทสัญชาติอินโดนีเซีย ล่าสุด Go-Jek เพิ่งแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดี 24 .. ว่าจะเข้าสู่ตลาดเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในช่วงปีนี้ และเม็ดเงินลงทุนในโครงการขยายธุรกิจระหว่างประเทศถูกจัดเตรียมไว้จำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 16,018 ล้านบาท

การย้ายเข้าสู่ 4 ตลาดใหม่ Go-Jek ระบุว่าจะเริ่มต้นด้วยการให้บริการร่วมเดินทาง แต่ Go-Jek ก็หวังหยิบบริการอื่นที่ประสบความสำเร็จในอินโดนีเซียมาให้บริการในตลาดใหม่

ความสำเร็จของ Go-Jek เห็นได้ชัดจากการเป็นสตาร์ทอัประดับยูนิคอร์น (มูลค่าตลาดเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) รายแรกและรายเดียวของแดนอิเหนา ผู้ก่อตั้ง Go-Jek คือ นาเดียม มาคาริม (Nadiem Makarim) ผู้ต้องการแก้ปัญหารถติดในจาการ์ตา และก่อตั้งธุรกิจขึ้นในปี 2010

ข้อมูลระบุว่า Go-Jek เริ่มต้นจากการเป็นบริการ call center ให้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จากบริการที่มีฐานผู้รับจ้างขับเพียง 20 คนและเน้นให้บริการเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัว และคนรู้จักเท่านั้น Go-Jek พัฒนามาเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานสะดวกบนราคาสมเหตุสมผล เพียง 7 ปี Go-Jek ขยายธุรกิจไปยัง 25 เมืองใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อกลางปีที่แล้ว Go-Jek ยืนยันว่ายังไม่มีแผนให้บริการในพื้นที่นอกอินโดนีเซีย

แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป นักลงทุนเชื่อว่า Go-Jek มีพร้อม เพราะขยับขยายไปให้บริการแท็กซี่ บริการชอปปิ้ง บริการส่งของ (เอกสาร อาหาร และอื่นๆ) บริการทำความสะอาดบ้าน แม้แต่บริการนวดแบบส่งตรงถึงบ้าน ล่าสุด คือ บริการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนว่า Go-Jek มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับ Grab ได้สบายในวันที่ไร้ Uber

*** อาเซียนตลาดใหญ่มากตัวเลือกยังน้อย

ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Go-Jek ยืนยันว่า ตลาดบริการแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทางของประเทศไทย และอีก 3 ประเทศใหญ่อาเซียน ยังมีช่องว่างสำหรับผู้เล่นใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภครู้สึกว่ามีตัวเลือกน้อยเกินไป

ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นเมื่อ Uber ขายกิจการในอาเซียนให้กับคู่แข่งอย่าง Grab ทันทีที่ Uber หายไป คนไทย และหลายคนในอาเซียน รู้สึกว่า วงการแอปพลิเคชันร่วมเดินทางกำลังขาดการแข่งขันเท่าที่ควร 

สิ่งที่ Go-Jek มองนั้น ตรงกับผลสำรวจของกูเกิล (Google) และเทมาเสก (Temasek) ที่ประเมินแล้วว่า ตลาดบริการแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทาง จะเป็นส่วนหนึ่งในแรงผลักดันให้เศรษฐกิจออนไลน์ของภูมิภาคเติบโตเป็น 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือปี 2025 โดยนอกจากบริการรถร่วมเดินทาง จะมีบริการด้านท่องเที่ยว สื่อ และอีคอมเมิร์ซ เป็นแรงผลักดันหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

Source

]]>
1171443
สะเทือนแน่! กูเกิลประกาศลงทุนใน “โก-เจ็ก” สตาร์ทอัปร่วมเดินทางอินโดนีเซีย เป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ https://positioningmag.com/1154973 Tue, 30 Jan 2018 03:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154973 กูเกิล (Google) ออกมายอมรับแล้วว่า บริษัทมีการลงทุนในธุรกิจของโก-เจ็ก (Go-Jek) สตาร์ทอัปด้านบริการร่วมเดินทางของอินโดนีเซีย โดยถือเป็นครั้งแรกของกูเกิลที่ได้ลงทุนในธุรกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขในการลงทุนแต่อย่างใด มีเพียงรายงานจากรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ว่าอาจมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,145 ล้านบาทเลยทีเดียว

เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้ธุรกิจร่วมเดินทางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดีเลยทีเดียว เพราะคู่แข่งอย่างแกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber) ต่างก็มีนายทุนให้การสนับสนุนแล้ว นั่นก็คือ ค่ายซอฟท์แบงค์ (Softbank) ส่วนโก-เจ็กนั้น ก่อนหน้านี้ก็มีนายทุนอย่างเท็นเซนต์ (Tencent) และ JD.com เป็นแบ็กให้เช่นกัน

แต่การประกาศอย่างเป็นทางการของกูเกิลในครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่ได้ลงทุนอย่างเป็นทางการ มีเพียงสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวระบุว่า มีมูลค่าที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่านั้น

การลงทุนรอบนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมลงทุนกับโก-เจ็ก ทั้งสิ้นสามบริษัท ได้แก่ เทมาเส็ก (Temasek) จากสิงคโปร์ Meituan-Dianping จากจีนแผ่นดินใหญ่ และกูเกิล จากสหรัฐอเมริกา ทำให้มูลค่าของโก-เจ็ก พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับตลาดอินโดนีเซีย ตามการรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 133 ล้านคน และถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลกในแง่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่ที่น่าสนใจ คือ ตัวเลข 133 ล้านคนนี้ เป็นตัวเลขแค่ครึ่งประเทศเท่านั้น ยังมีอีกครึ่งประเทศที่ประชากรยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และหากทำได้ก็หมายความถึงตัวเลขมหาศาล

บริการของโก-เจ็กนั้น มีตั้งแต่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริการด้านเดลิเวอรีอาหาร ไปจนถึงการให้บริการนวด ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดสามารถเรียกใช้ได้ผ่านแอปพลิเคชันทั้งสิ้น

สำหรับจุดเด่นของโก-เจ็ก ตามการวิเคราะห์ของกูเกิล พบว่ามีหลายด้าน ตั้งแต่ทีมบริหารที่แข็งแกร่ง และตัวแอปพลิเคชันที่พบว่าสามารถช่วยให้ชีวิตของคนอินโดนีเซียสะดวกสบายได้มากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้เคยมีซีอีโอของอูเบอร์ อย่าง Dara Khosrowshahi ออกมากล่าวว่า ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นตลาดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ แต่ก็น่าประหลาดใจที่ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายด้าน รวมถึงเรื่องของการลงทุนด้วย เฉพาะบริการร่วมเดินทางนั้น ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าจะมูลค่าถึง 20,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 และตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ อินโดนีเซีย นี่เอง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000009569

]]>
1154973