ไลน์แมน (LINE MAN) บริการส่งคน ส่งของ เกิดมาได้แค่ 2 ปี ใต้ร่มไลน์ ประเทศไทย ที่คิดค้นขึ้นมา จนเวลานี้กลายเป็นธุรกิจลูกรักไปแล้ว เมื่อพบว่าทำอัตราการเติบโตได้สูงถึง 489% มีลูกค้าสะสมที่ใช้บริการไลน์แมนในบริการต่าง ๆ เพิ่มเป็น 1 ล้านรายต่อเดือน
เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจหากจะเห็นบุรุษมอเตอร์ไซค์เสื้อเขียววิ่งไปมาเต็มเมืองภายใต้การให้บริการที่หลากหลายตามคอนเซ็ปต์ของของไลน์แมนที่เริ่มต้นจากการเน้นให้บริการ 3 อย่าง คือส่งพัสดุ ส่งอาหาร และส่งสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ หรือรวม ๆ แล้วคือการเสนอบริการจัดส่งครอบคลุมทุกอย่างที่ลูกค้าอยากให้ส่ง รวมทั้งขยายบทบาททำหน้าที่ผู้ส่งสินค้าที่เชื่อมต่อโลกออฟไลน์กับออนไลน์ หรือ O2O มาแล้วระยะหนึ่ง
ยิ่งให้บริการลูกค้ายิ่งติดกับความสะดวกมากขึ้นและนั่นคือเหตุปัจจัยของการเติบโตที่ดีที่สุดของไลน์แมนและทำให้ไลน์แมนสามารถขยายการให้บริการครอบคลุมออกไปได้กว้างและไกลขึ้นทั้งด้วยบริการเดิมที่มีอยู่และการร่วมจับมือกับพันธมิตรใหม่ๆ
ดังนั้นธุรกิจไลน์แมนจึงไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจทั้งหมดจากศูนย์คิดคอนเซ็ปต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคให้ได้จากนั้นก็ดึงระบบต่างๆของพันธมิตรมาร่วมกันพัฒนาให้บริการลูกค้าจนเป็นผลให้ได้รับการตอบรับที่ดีเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย ก็ยังไม่ขอพูดเรื่องรายได้จากไลน์แมนเพราะบอกว่า
“บริการหลักของไลน์ ประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก กลุ่มที่ทำให้รายได้ให้บริษัทคือ เกมและสติ๊กเกอร์ ส่วนกลุ่มที่สองคือไลน์แมน ซึ่งยังถือเป็นช่วงของการลงทุนขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักก่อน หลัก ๆ คือการลงทุนเรื่องการตลาด จัดโปรโมชั่นต่าง ๆ พอถึงจุดหนึ่งที่เริ่มทำรายได้ เชื่อว่าก็จะเป็นอีกบริการที่เป็นตัวทำรายได้หลักของไลน์เช่นกัน เพราะตอนนี้ทุกบริการที่มีอยู่ของไลน์แมนทั้ง 5 บริการค่อนข้างมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกัน”
เป้าหมายธุรกิจไลน์แมนต้องการเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมออนไลน์กับออฟไลน์ (O2O) เข้าหากันอย่างแท้จริง โดยมีฐานข้อมูลของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นแชตของไลน์กว่า 42 ล้านคนที่ไลน์ต้องการเชื่อมโยงไปสู่ธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีอยู่ในประเทศตั้งแต่ธุรกิจร้านอาหารพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนขับแท็กซี่ร้านสะดวกซื้อธุรกิจขนาดเล็กอื่นๆเป็นต้น
นั่นคือทำให้ผู้บริโภคสะดวกประหยัดเวลาบริโภคหรือใช้บริการได้ถึงหน้าบ้านส่วนธุรกิจก็เติบโตขึ้นรวมทั้งพัฒนาคนไทยสู่ยุคดิจิทัลไปพร้อมกัน
บริการหลักของไลน์แมนที่สร้างการเติบโตมาจากให้บริการส่งพัสดุส่งอาหารส่งสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในช่วงต้นขยายเป็น 5 บริการ โดยมีบริการแมสเซนเจอร์ (เอกสาร สิ่งของ ส่งภายในวันเดียวในเขตกรุงเทพฯ) และไลน์แท็กซี่ที่เพิ่มเข้ามาขณะเดียวกันพันธมิตรในการให้บริการก็เพิ่มขึ้น
พันธมิตรของไลน์แมนที่มีอยู่ตอนนี้ได้แก่ Lalamove ซึ่งไลน์แมนใช้คนขับขี่มอเตอร์ไซด์จัดส่งของลาลามูฟเป็นหลักกว่า 5,000 คน โดยทุกๆ ยอดการส่งก็จะเป็นรายได้ให้แก่ผู้ขับ
Wongnai ร้านอาหารที่มากกว่า 40,000 ร้าน ทางไลน์แมนก็ดึงออกมาจากระบบของวงในและให้วงในไปติดต่อกับร้านต่างๆ ภายในกรุงเทพ Alpha ดูแลไลน์แมนในเรื่องของการส่งของและส่งพัสดุต่างๆ Ninja Van พันธมิตรอีกรายที่ไลน์แมนให้ช่วยดูแลเรื่องการส่งของเช่นกัน สาคร แท็กซี่ ที่ร่วมขับกับไลน์แมนกว่า 2 ใน 3 ของแท็กซี่ในสังกัดที่มีอยู่กว่า 90,000 คน ในกรุงเทพและปริมณฑล
“การทำงานของพาร์ทเนอร์แต่ละเจ้าถือเป็นส่วนหนึ่งของไลน์แมน ซึ่งไลน์แมนและพาร์ทเนอร์เชื่อว่าทั้งตัวเองและพาร์ทเนอร์มีจุดแข็งต่างกัน เช่น ฐานข้อมูลของเขาแต่ระบบบริการของเรา แยกกันไปทำหน้าที่โดยมีจุดประสงค์เดียวกันจึงทำให้ไลน์แมนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว”
นอกจากจะขยายธุรกิจให้กว้างขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสบริการไลน์แมนไปยังตลาดต่างจังหวัดด้วย จากเดิมมีบริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น
รูปแบบธุรกิจระหว่างไลน์แมนกับพันธมิตรแต่ละรายก็ไม่มีอะไรซับซ้อนทุกบริการใช้วิธีแบ่งรายได้กันใช้วิธีโฆษณาหลักในแคมเปญกับแบรนด์หรือโฆษณาในพื้นที่บริการของไลน์แมน
ส่วนกรณีที่จัดโปรโมชั่นจะเน้นผล 2 แบบคือแบบที่มุ่งกระตุ้นให้ลูกค้าเดิมเกิดการใช้ซ้ำและแบบที่ทำเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ตัวอย่างเช่นโปรโมชั่นในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่เปิดบริการให้ชำระค่าบริการผ่านแรบบิทไลน์เพย์ได้ก็เพื่อขยายวงไปยังร้านอาหารที่สามารถจ่ายด้วยแรบบิทไลน์เพย์เพิ่มเป็นต้น
การเติบโตของไลน์แมนนั้น ส่วนหนึ่งมาพฤติกรรมของคนไทยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น บริการดีลิเวอรีอาหาร จากผลการสำรวจของธนาคารกสิกรไทยพบว่า ปี 2560 บริการส่งอาหารมีสัดส่วนเพียง 7% ของตลาดร้านอาหารทั้งหมดที่มีประมาณ 397,000 ล้านบาท
“ไลน์แมนเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นร้านสตรีทฟูดและร้านอาหารดังๆ แตกต่างจากคู่แข่งที่มักเน้นเป็นเชนรายใหญ่ ขณะนี้เรามีฐานพันธมิตรถึง 40,000 กว่าร้านค้าจากวงในที่มีรวมกว่า 200,000 ร้านค้าในไทย ซึ่งไลน์แมนมีจำนวนร้านอาหารมากกว่าคู่แข่งที่มีเพียง 4,000 ร้านค้าเท่านั้น
ที่ผ่านมา “กินซ่าเกี๊ยวซ่า” มียอดผู้ซื้อผ่านทางไลน์แมนมากกว่า 2 ล้านชิ้นแล้วซึ่งจากนี้คงไม่เน้นเพิ่มปริมาณร้านอาหารมากนักแต่จะเน้นเพิ่มยอดออเดอร์การซื้อ
“กินซ่าเกี๊ยวซ่า” มียอดผู้ซื้อผ่านทางไลน์แมนมากกว่า 2 ล้านชิ้นแล้ว ซึ่งจากนี้คงไม่เน้นเพิ่มปริมาณร้านอาหารมากนัก แต่จะเน้นเพิ่มยอดออเดอร์การซื้อ.