IBM – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 May 2023 05:51:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ IBM เผย “บริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI สามารถทดแทนได้” https://positioningmag.com/1429348 Wed, 03 May 2023 02:03:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429348 ผู้บริหารสูงสุดของ IBM ได้กล่าวว่าบริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI และระบบอัตโนมัติ สามารถทดแทนได้ภายในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งงานบางตำแหน่งในสำนักงานที่มีความเสี่ยงมากที่สุด 

Arvind Krishna ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ IBM ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Bloomberg โดยกล่าวว่าบริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI สามารถทดแทนได้ภายในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ คาดว่าตำแหน่งงานที่อาจได้รับผลกระทบในระยะใกล้นี้จะกระทบมากถึง 7,800 ตำแหน่ง

CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่าภายใน 5 ปีหลังจากนี้ พนักงานมากถึง 30% โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นงานด้านทรัพยากรบุคคล ไปจนถึงงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้านั้นอาจกระทบกับพนักงานสูงถึง 26,000 ตำแหน่ง

ความสามารถแชทบอทระบบ AI ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT ยังแสดงความสามารถในการช่วยทำงานในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้านการเขียน ไปจนถึงการตรวจสอบการเขียนโปรแกรม ฯลฯ ทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงเรื่องตำแหน่งงานของมนุษย์ในอนาคตเช่นกัน

สอดคล้องกับคาดการณ์จาก World Economic Forum (WEF) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากบริษัทชั้นนำกว่า 800 แห่งทั่วโลกพบว่าเมื่อบริษัทต่างๆ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจทำให้ตำแหน่งงานทั่วโลกสั่นคลอนในอีก 5 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน IBM มีพนักงานจำนวนมากถึง 260,000 ราย ซึ่งมีทั้งตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไปจนถึงพนักงานด้านการขาย CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่าปัจจุบันการหาพนักงานใหม่นั้นถือเป็นเรื่องที่ง่ายลง เมื่อเทียบกับช่วง 1 ปีก่อนหน้านี้ หลังจากบริษัทต่างๆ เริ่มมีการปลดพนักงานออกมาจากแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ

อย่างไรก็ดี CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่า จะมีการย้ายพนักงานระหว่างแผนกเกิดขึ้น นอกจากนี้งานในองค์กรบางอย่าง เช่น การประเมินองค์กรในเรื่องของกำลังคนรวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายด้านทรัพยากรบุคคลนั้นอาจจะไม่ถูก AI แทนที่ในทศวรรษหน้า

]]>
1429348
‘IBM’ ฟ้องอดีตผู้บริหารประเทศไทยเรียก ‘โบนัส’ มูลค่า 15 ล้านบาทคืน เหตุย้ายไปอยู่กับคู่แข่ง https://positioningmag.com/1419176 Tue, 14 Feb 2023 06:52:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419176 หากพูดถึงชื่อหญิงแกร่งของวงการไอทีไทย ชื่อของ ปฐมา จันทรักษ์ ต้องขึ้นมาเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน เพราะคร่ำวอดอยู่ในวงการมานานกว่า 30 ปี ได้ร่วมงานกับทั้ง ไมโครซอฟท์, IBM และล่าสุด Accenture แต่เพราะการย้ายไปร่วมงานกับ Accenture ก็ทำให้เกิดเรื่องราวฟ้องร้อง เนื่องจากถือเป็นบริษัทคู่แข่งของ IBM

IBM (ไอบีเอ็ม) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกกำลัง ฟ้องร้อง ปฐมา จันทรักษ์ อดีตผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย โดย IBM ต้องการเรียกคืนโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 15 ล้านบาท เนื่องจากเธอนั้นทำผิดสัญญา โดยย้ายไปทำงานกับบริษัท Accenture ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ IBM โดยตรง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นคู่แข่งรายใหญ่ที่สุด

“หน่วยงานของ IBM และ Accenture แข่งขันกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านข้อมูล การช่วยทรานส์ฟอร์มองค์กรให้เป็นดิจิทัล และการให้คำปรึกษา ทั้งในระดับโลกและภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” ทนายความของ IBM เขียนไว้ในคำฟ้อง

สำหรับ ปฐมา จันทรักษ์ ได้ร่วมงานกับ IBM ตั้งแต่ปี 2018 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั่วไป หรือ MD ของบริษัท และลาออกในช่วงต้นปี 2022 และหลังจากที่ลาออกไปได้ 1 เดือน ปฐมาก็ได้ร่วมงานกับ Accenture ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยในเดือน เม.ย. 2022

ซึ่งการที่ปฐมาลาออกไปร่วมงานกับ Accenture ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญาของ IBM เนื่องจากโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐนั้น ถือเป็น เงินพิเศษเพื่อไม่ให้เธอเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัท และห้ามไม่ให้ไปมีส่วนร่วมกับองค์กรคู่แข่งจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด โดยทาง IBM ระบุว่า บริษัทได้เจรจาขอเงินคืนจากปฐมาแล้ว แต่เธอเลือกปฏิเสธที่จะคืนเงิน จนนำไปสู่การฟ้องร้องดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ทางปฐมา และ Accenture ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ

Source

]]>
1419176
Forbes จัดอันดับบริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 “การบินไทย” ติดโผ https://positioningmag.com/1356400 Thu, 14 Oct 2021 04:45:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356400 นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 750 บริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 แชมป์ตกเป็นของ “Samsung” จากเกาหลีใต้ ส่วนประเทศที่มีบริษัทนายจ้างที่ดีที่สุดจำนวนมาก ได้แก่ สหรัฐฯ เยอรมนี และจีน ประเทศไทยไม่น้อยหน้ามี 5 บริษัทติดอันดับ “การบินไทย” ติดโผในอันดับที่ 318

Forbes ร่วมกับ Statista สำรวจความคิดเห็นพนักงานทั้งแบบประจำและพาร์ตไทม์จำนวน 150,000 คนจาก 58 ประเทศ ที่ทำงานอยู่ในบริษัทระดับนานาชาติ

โดยผู้ได้รับการสำรวจจะถูกสอบถามว่า ต้องการแนะนำให้เพื่อนหรือครอบครัวเข้ามาร่วมงานในบริษัทเดียวกันหรือไม่ รวมถึงให้คะแนนบริษัทของตนในแง่มุมต่างๆ เช่น ภาพลักษณ์องค์กร, อิทธิพลต่อเศรษฐกิจ, การพัฒนาความสามารถพนักงาน, ความเท่าเทียมทางเพศ และความรับผิดชอบต่อสังคม โดย 750 บริษัทที่ได้รับคะแนนมากที่สุดจะเข้ามาอยู่ในการจัดอันดับนี้

10 อันดับแรกบริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 มีดังนี้

อันดับ 1 Samsung Electronics – ธุรกิจหลากหลาย – เกาหลีใต้
อันดับ 2 IBM – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 3 Microsoft – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 4 Amazon – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 5 Apple – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 6 Alphabet – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 7 Dell Technologies – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 8 Huawei – บริการด้านโทรคมนาคม ซัพพลายเออร์เคเบิล – จีน
อันดับ 9 Adobe – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 10 BMW Group – ยานยนต์ – เยอรมนี

IBM ครองอันดับ 2 ของโลกและดีที่สุดในสหรัฐฯ สำหรับการเป็น “นายจ้าง” ที่พนักงานชื่นชอบ (Photo by Spencer Platt/Getty Images)

ปีนี้สัญชาติบริษัทที่เข้ามาติดโผมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 236 บริษัท เยอรมนี 91 บริษัท และจีน 57 บริษัท บริษัทเยอรมันนอกจาก BMW Group แล้ว มีบริษัทอื่นๆ ที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน เช่น Adidas, Siemens, Dr.Oetker (จำหน่ายสินค้ากลุ่มแป้งทำขนมเบเกอรี) ส่วนบริษัทจีนที่ติดโผนอกจาก Huawei เช่น Tencent Holdings, JD.com, China Life Insurance (บริษัทประกัน)

ด้านบริษัท “ไทย” นั้นมีติดอันดับ 5 แห่ง ดังนี้

อันดับ 315 ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี
อันดับ 318 การบินไทย – คมนาคมและโลจิสติกส์
อันดับ 497 กลุ่มมิตรผล – วัตถุดิบอาหาร
อันดับ 585 กลุ่ม ปตท. – เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์
อันดับ 642 ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล – ท่องเที่ยวและพักผ่อน

ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ เป็นบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ปัจจุบันมีโรงงานในไทย จีน สหรัฐฯ และกัมพูชา มีพนักงานกว่า 10,000 คน

Forbes รายงานถึงสถานการณ์การจ้างงานในรอบปีที่ผ่านมาว่ามีความท้าทายต่อนายจ้างอย่างมาก เพราะการระบาดของ COVID-19 ทำให้นายจ้างต้องปรับการทำงานเป็นแบบออนไลน์หรือไฮบริดมากขึ้น ต้องมีมาตรการใหม่ๆ ในการดูแลพนักงาน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ พบว่าลูกจ้างมีอัตราลาออกสูงขึ้น ทำให้บริษัทต้องหาแรงจูงใจและแข่งขันกันเพื่อดึงพนักงาน ส่วนใหญ่มักจะเสนอสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการศึกษา

Source

]]>
1356400
รายแรกของโลก! ‘IBM’ เปิดตัวชิปขนาด 2 นาโนเมตรที่แรงขึ้น 45% แต่ใช้พลังงานน้อยลง 75% https://positioningmag.com/1331184 Sun, 09 May 2021 07:40:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331184 สิ่งที่ท้าทายของอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ หรือ ‘ไมโครชิป’ คือการทำให้ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้พลังงานลดลงไปพร้อม ๆ กัน แต่ล่าสุด ‘ไอบีเอ็ม’ (IBM) ประกาศว่าได้สร้างชิปขนาด 2 นาโนเมตรซึ่งเป็นไมโครชิปที่เล็กที่สุดและทรงพลังที่สุดที่พัฒนาขึ้น

ปกติชิปคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีการผลิต 10 หรือ 7 นาโนเมตร ขณะที่เทคโนโลยีล่าสุดยังติดอยู่แค่ 5 นาโนเมตรเท่านั้น ดังนั้น ชิปใหม่ของไอบีเอ็มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 2 นาโนเมตรจึงเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

วิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของชิปคือ การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ประมวลผลข้อมูล โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดโดยรวม โดยชิป 2 นาโนเมตรใหม่มีขนาดประมาณเท่าเล็บมือและมีทรานซิสเตอร์ 5 หมื่นล้านตัว ซึ่งแต่ละตัวมีขนาดประมาณดีเอ็นเอสองเส้นตามที่ Mukesh Khare รองประธานฝ่ายวิจัยระบบคลาวด์แบบไฮบริดของ IBM ระบุ

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

ชิปรุ่นใหม่นี้คาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น 45% และการใช้พลังงานลดลงประมาณ 75% เมื่อเทียบกับชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ด้วยชิปขนาด 2 นาโนเมตร แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือจะสามารถใช้งานได้นานขึ้นถึง 4 เท่า แล็ปท็อปสามารถทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของศูนย์ข้อมูลอาจลดลง เนื่องจากพวกเขาพึ่งพาชิปที่ประหยัดพลังงานมากกว่า

ทั้งนี้ ชิป 2 นาโนเมตรคาดว่าจะเริ่มผลิตในปลายปี 2567 หรือ 2568 ซึ่งแน่นอนว่าไม่เร็วพอที่จะมาอุดช่องว่างให้กับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในปัจจุบัน

Source

]]>
1331184
‘IBM’ วางเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1319965 Thu, 18 Feb 2021 07:24:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319965 เรื่อง Sustainable กลายเป็นเทรนด์ขององค์กรทั่วโลก เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มแคร์เรื่องโลกมากขึ้น ล่าสุด ‘IBM’ (ไอบีเอ็ม) ยักษ์สีฟ้าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2030 เพื่อแก้วิกฤตโลกร้อน

“วิกฤตโลกร้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดในยุคของเรา และการปฏิญาณตั้งคำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำในเรื่องสภาวะอากาศมาอย่างยาวนานของเรา ซึ่งถือเป็นก้าวที่รุดไปไกลกว่าเป้าหมายที่ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) ได้กำหนดไว้” อาร์วินด์ กฤษณะ ประธานและซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไอบีเอ็มจะเริ่มเดินหน้าลดการปล่อยมลพิษ วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานที่มีอยู่ใน 175 ประเทศ โดยภายในปี 2025 IBM ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 65% เมื่อเทียบกับปี 2010 โดยบริษัทจะจัดหา 75% ของพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทต้องใช้ในสำนักงานทั่วโลกจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2025 และ 90% ภายในปี 2030 นอกจากนี้จะใช้เทคโนโลยีที่อย่างการจับคาร์บอนภายในปี 2025 เพื่อลดปริมาณการปล่อยมลพิษในปริมาณที่เท่ากับหรือมากกว่าระดับมลพิษที่เหลือค้างอยู่

“บริษัทฯ จะมีการคำนวณและรายงานการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างโปร่งใส เช่น เป้าหมายของไอบีเอ็มกำหนดขึ้นจากปริมาณพลังงานที่บริษัทบริโภคจริง ไม่ใช่การซื้อใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือแยกส่วนออกไป”

NEW YORK, NY – JUNE 16: SVP and Director at IBM Research Arvind Krishna speaks on stage during the 2016 Wired Business Conference on June 16, 2016 in New York City. (Photo by Brian Ach/Getty Images for Wired)

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัย IBM ได้เปิดตัวโครงการ Future of Climate ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการวิจัยพัฒนาโซลูชันที่จะช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผนวกความสามารถของ AI ไฮบริดคลาวด์ และ ควอนตัมคอมพิวติ้ง รวมถึงวิทยาศาสตร์เพื่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่มีความซับซ้อน อาทิ การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากเวิร์คโหลดจากระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก วิธีการที่จะกำหนดโมเดลและประเมินความเสี่ยงของแพทเทิร์นสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หรือการพัฒนาโพลิเมอร์ เยื่อบุผิว และวัสดุใหม่ ๆ ที่สามารถจับและดูดซับคาร์บอนโดยตรงจากจุดที่มีการปล่อยมลพิษ เป็นต้น

ทั้งนี้ IBM นับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ นับตั้งแต่การประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นครั้งแรกในปี 1917 และตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา IBM ได้เริ่มเผยแพร่ผลการบริหารจัดการขยะ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน การลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ รวมถึงการพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปีขององค์กร (Corporate Environmental Report)

Source

]]>
1319965
องค์กรทั่วโลกทุ่มเงินพัฒนา AI กว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ แต่ปัจจุบันมีเพียง 10% ที่ได้ผลจริง https://positioningmag.com/1302665 Wed, 21 Oct 2020 10:30:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302665 MIT ประเมินปี 2020 องค์กรต่างๆ ทั่วโลกลงทุนใน AI เกิน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปัจจุบันมีเพียง 10% ขององค์กรที่สำรวจที่ตอบว่าตนได้ประโยชน์ทางการเงินแล้วจากการลงทุน AI หลายบริษัทพบว่าโครงการ AI พัฒนาให้สำเร็จได้ยากกว่าที่คาด

MIT Sloan Management Review ร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) จัดสำรวจบริษัท 3,000 แห่งเกี่ยวกับการลงทุนใน AI หรือ Artificial Intelligence พบว่า ปีนี้คาดว่าจะมีการลงทุนใน AI รวมกันกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม มีเพียง 10% ของบริษัทที่สำรวจที่กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้รับผลประโยชน์ทางการเงินแล้วจากการลงทุนใน AI

“เราเห็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการลงทุนในเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่มากขึ้นด้วย” Shervin Khodabandeh หัวหน้าร่วมของฝ่ายธุรกิจ AI ภูมิภาคอเมริกาเหนือ BCG กล่าว “แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก”

ที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ มีการลงทุนใช้ AI ด้วยเม็ดเงินที่สูงและอันตรายมาก โดยพยายามจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับทุกอย่าง ตั้งแต่การจัดการสัญญาไปจนถึงผู้ช่วยภายในบ้าน แม้กระทั่งรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดย IDC คาดการณ์ว่าปี 2020 นี้จะมีการลงทุนใน AI ด้วยเม็ดเงินมากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับปี 2019 ที่มีการลงทุน 3.75 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ด้วยว่าการลงทุนจะมากขึ้นต่อเนื่อง จนปี 2024 คาดว่าจะมีการลงทุนใน AI ถึง 1.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

 

การพัฒนา AI ให้สำเร็จ…ยากกว่าที่คาดคิด

แม้ว่าจะมีเงินลงทุนหลายพันล้านในเทคโนโลยี AI แต่โครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เริ่มมีผลต่อการลงทุนมากขึ้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น IBM ที่เริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Watson น้อยลง หลังจากเทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้กับโครงการด้านเนื้องอกวิทยา มีผู้ลงทุนรวมกันกว่า 62 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับกลายเป็นว่า Watson แนะนำการรักษาโรคมะเร็งที่ไม่แม่นยำ

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ Amazon มีการยกเลิกการพัฒนาเครื่องมือรับสมัครงานโครงการหนึ่งไปแล้ว หลังจากโครงการนี้แสดงผลว่า AI มีอคติทางเพศ นอกจากนี้ บริษัทขนาดเล็กกว่าอื่นๆ ต่างพบว่าการนำ AI มาใช้ในโครงการต่างๆ นั้นยากเย็นกว่าที่คาด แม้จะนำมาใช้ในงานที่ไม่ซับซ้อนมากอย่างการเป็นผู้ช่วยเสมือนจริงทำการนัดหมายลงปฏิทิน ทำให้ต้องกลับไปใช้คนกันอีกครั้ง

Khodabandeh กล่าวว่า เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทพัฒนาโครงการ AI ไม่สำเร็จ เป็นเพราะบริษัททุ่มเงินไปกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ข้อมูล แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินธุรกิจให้รับประโยชน์จาก AI

ยกตัวอย่าง Uber เดือนก่อนนี้กลุ่มวิศวกรของบริษัทพบว่า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของพวกเขาเดินทางไปได้ไม่เกินครึ่งไมล์ก็จะต้องพบปัญหาเข้าสักอย่างหนึ่ง โปรแกรม AI ของพาหนะนี้ “ยังคงพยายามเรียนรู้ขั้นตอนและคู่มือง่ายๆ” โดยมีรายงานเหตุผลความผิดพลาดภายในบริษัทว่า เป็นเพราะทีมก็ยังแข่งขันกันเองภายในว่าจะนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับรถยนต์อย่างไร

แต่ด้วยความหวังจาก AI ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขนานใหญ่ในธุรกิจ ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่มีแนวโน้มจะหยุดลงทุนในเทคโนโลยีในเร็วๆ นี้ โดยผลสำรวจของ MIT และ BCG พบว่า บริษัทถึง 57% มีการเริ่มทดลองนำร่องโครงการ AI ของตัวเองแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 44% ในปี 2018

Khodabandeh แนะนำว่า เหล่าผู้รับเอาเทคโนโลยี AI ไปใช้งาน ต้องคิดใหม่ทำใหม่ว่าจะนำเทคโนโลยีนี้ปรับใช้เข้ากับธุรกิจตัวเองให้เหมาะสมได้อย่างไร จึงจะทำให้โครงการที่อุตส่าห์ทุ่มเม็ดเงินลงไปสำเร็จได้จริง

Source

]]>
1302665
การเดิมพันครั้งใหญ่ของ ‘IBM’ กับการเจาะ ‘อุตสาหกรรมน้ำมัน’ ด้วย ‘ไฮบริดคลาวด์’ https://positioningmag.com/1296070 Wed, 09 Sep 2020 08:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296070 ในช่วงวิกฤติการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การเดินทางทั่วโลกชะงักลง ส่งผลให้ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ได้รับผลกกระทบในทางอ้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่การ ‘ประหยัดต้นทุน’ ที่จำเป็นและหาหนทางสู่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น และนั่นคือโอกาสที่ ‘IBM’ บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลกมองเห็น

ด้วยความร่วมมือกับ Schlumberger ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการบ่อน้ำมัน IBM จะสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่บริษัทน้ำมันและก๊าซสามารถเข้าถึงข้อมูลและซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์ทำให้พวกเขาได้เปรียบในการแข่งขัน โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะจัดวางชุดแอปของ Schlumberger ที่เรียกว่า DELFI เข้ากับเทคโนโลยีของ IBM เพื่อจัดหาเครื่องมือดิจิทัลให้กับบริษัทน้ำมันและก๊าซ ซึ่งซอฟต์แวร์ของ IBM สามารถช่วยตรวจสอบว่าดินและภูมิทัศน์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเหมาะสำหรับการขุดเจาะหรือไม่ รวมถึงหามุมที่ดีที่สุดในการเจาะเพื่อเข้าถึงน้ำมันมากที่สุด

“ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมของเรา ทั้งอุตสาหกรรมตระหนักดีว่านี่คือสิ่งที่สามารถปลดล็อกประสิทธิภาพประสิทธิผลและประสิทธิภาพในระดับต่อไป” Olivier Le Peuch ซีอีโอของ Schlumberger กล่าว

ความร่วมมือของ Schlumberger เป็นส่วนหนึ่งของการเดิมพันครั้งใหญ่ของ IBM ใน ‘ไฮบริดคลาวด์’ ซึ่งเป็นการตั้งค่าทางเทคนิคที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดการข้อมูลโดยใช้คลาวด์หลายตัวนอกเหนือจากเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรของตนเอง และด้วยการย้ายเครื่องมือไปยังแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์ของ IBM ซอฟต์แวร์ของ Schlumberger จะพร้อมใช้งานสำหรับบริษัทน้ำมันและก๊าซทุกแห่งทั่วโลก ไม่ว่าพวกเขาจะจัดเก็บข้อมูลอย่างไร โดยอาศัยซอฟต์แวร์จาก Red Hat ซึ่ง IBM ได้มาด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 34,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2019 ทำให้ง่ายต่อการย้ายข้อมูล

“เราคิดว่าวิธีการแบบผสมผสานจะช่วยปลดล็อกมูลค่าให้กับลูกค้าของเราได้มากกว่าแนวทางปกติบนคลาวด์เพียงอย่างเดียว” Arvind Krishna ซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

Arvind Krishna ซีอีโอของไอบีเอ็ม

ความสามารถของระบบคลาวด์แบบไฮบริดเป็นกุญแจสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือของ Schlumberger ที่สร้างขึ้นจากแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์บนคลาวด์ซึ่งมีความสามารถในตัวในด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ การร่วมมือดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์’ ที่ IBM ประกาศเมื่อเดือนที่แล้ว โดย IBM จะลงทุนในผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บุคคลที่สามเพื่อขยายระบบนิเวศของบริษัทที่ทำงานบนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริด

Source

]]>
1296070
‘IBM’ ปลดพนักงานทั่วสหรัฐฯ เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลง -3.4% เพราะ COVID-19 https://positioningmag.com/1280308 Sun, 24 May 2020 04:03:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280308 IBM บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก ที่มีอายุถึงง 110 ปี ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 352,600 คนทั่วโลก แต่เพราะวิกฤติ COVID-19 จึงทำให้ผลประกอบการไตรมาสแรกลดลง ส่งผลให้ Arvind Krishna CEO คนใหม่ต้องปลดพนักงานบางส่วน

IBM กล่าวกับ Wall Street Journal ว่า มีการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมากทั่วสหรัฐอเมริกา แต่ไม่สามารถเปิดเผยจำนวนที่แน่ชัดได้ แต่คาดการณ์ว่าอย่างน้อยเป็นหลักพันคน ขณะที่ Arvind Krishna ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของ IBM ได้เคยระบุว่า พนักงาน IBM กว่า 95% ทั่วโลกทำงานจากที่บ้าน

Arvind Krishna CEO IBM

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า Arvind Krishna กำลังดิ้นรนเตือนผู้ลงทุนในเดือนที่ผ่านมา ถึงความไม่แน่นอนที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 พร้อมกับถอนการคาดการณ์รายได้ในช่วงปี 2020 อย่างไรก็ตาม บริษัท Armonk ในนิวยอร์กคาดว่า รายรับของ IBM ลดลง 3.4% ในไตรมาสแรกของปี (มกราคม – มีนาคม) เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2019 โดยโทษว่าเป็นเพราะผลกระทบจาก COVID-19

สิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ครั้งแรกของ IBM ภายใต้การดำเนินการของ Arvind Krishna CEO คนใหม่ ที่มาแทนที่ Ginni Rometty Rometty เมื่อวันที่ 6 เมษายน โดย Arvind Krishna ได้กล่าวว่า บริษัทจะกำจัดซอฟต์แวร์และบริการที่ไม่สอดคล้องกับสองจุดสำคัญของ IBM ซึ่งก็คือ บริการคลาวด์และ AI เพื่อการเติบโต

“มันเป็นตัวอย่างล่าสุดของการระบาดใหญ่ที่กระทบอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แม้ว่าความต้องการบริการออนไลน์จะเพิ่มขี้น เพราะคนทำงานที่บ้าน อย่างบริษัท Hewlett Packard Enterprise ก็ได้ประกาศลดเงินเดือนพนักงานบริษัทลงเช่นกัน”

Source

]]>
1280308
สุดอึ้ง! IBM ไล่ “พนักงานสูงวัย” นับแสนคนออกไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ “ดูเด็กและทันสมัย” เหมือน Google – Amazon https://positioningmag.com/1241201 Fri, 02 Aug 2019 01:01:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241201 แค่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทคอมพิวเตอร์ IBM ไล่พนักงานออกไปแล้วถึง 100,000 คนในความพยายามที่จะปรับภาพลักษณ์ดึงดูดคนรุ่นใหม่ชาวมิลเลนเนียลส์ทั้งหลาย และต้องการให้บริษัทที่มีอายุร่วม 108 ปีมีภาพลักษณ์ดูทันสมัยและสุดเจ๋งเหมือน Amazon หรือไม่ก็ Google อ้างอิงจากอดีตรองประธานบริษัทด้านทรัพยากรมนุษย์ในคดีการกีดกันทางอายุที่กำลังดำเนินอยู่ในชั้นศาล 

Bloomberg ได้ออกรายงานว่า บริษัทคอมพิวเตอร์ชื่อดังของสหรัฐฯ IBM ในเวลานี้กำลังประสบปัญหาคดีทางกฎหมายจำนวนหนึ่งที่ทาง IBM ถูกกล่าวหาว่าได้ไล่พนักงานออกอย่างไม่เป็นธรรมเนื่องจากปัญหาสูงวัยเป็นเหตุ ซึ่งรวมไปถึงคดีที่มีโจทก์เป็นคณะ (class-action lawsuit) เกิดขึ้นในแมนแฮตตันและคดีฟ้องร้องทางแพ่งส่วนบุคคลที่รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐเพนซิลเวเนีย และรัฐเทกซัสในปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้พบว่ายักษ์ใหญ่สีน้ำเงินนั้นประสบปัญหาอย่างหนักในการหดตัวของรายได้เกือบ 7 ปีติดต่อกัน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า บริษัท IBM ได้ไล่พนักงานออกจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ และแคนาดา และในระดับตำแหน่งเงินเดือนสูงอื่นๆ ในความพยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงองค์กร หลังจากที่ทางบริษัทมาช้าทั้งในระบบคอมพิวเตอร์คลาวด์และการปฎิวัติของเทคโนโลยีเคลื่อนที่ 

ตัวเลขของจำนวนพนักงาน IBM พบต่ำสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งมีจำนวนพนักงานทั่วโลกอยู่ที่ 350,600 คนในสิ้นปี 2018 ลดลงไป 19% นับตั้งแต่ปี 2013 

ในการเป็นพยานในคดีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีฟ้องร้องทางแพ่ง อลัน ไวลด์ ( Alan Wild) อดีตรองประธานด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท IBM เขากล่าวว่า “IBM ได้เลิกจ้างพนักงานระหว่าง 50,000 – 100,000 คนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากคำฟ้องที่ยื่นต่อศาลรัฐเทกซัสในวันพฤหัสบดี

บริษัทที่มีอายุร่วม 108 ปีประสบปัญหาในการจ้างงาน และมีความมุ่งมั่นว่า ต้องการแสดงให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่าชาวมิลเลนเนียลส์ทั้งหลายไม่มองว่าบริษัท IBM นั้นเก่าแก่ตกยุคที่ยังอยู่ในรุ่นพ่อ ต้องการให้บริษัทดูมีความทันสมัย และสุดเจ๋งเหมือนเช่น กูเกิลของบริษัทแอลฟาเบธ อิงก์ หรือไม่ก็ แอมะซอน อ้างอิงจากคำฟ้อง

และในการที่จะให้ไปสู่จุดนั้น ทาง IBM ตัดสินใจหั่นตัวเลขพนักงานจำนวนมากที่มีอยู่ในกลุ่มที่มีอายุในช่วงเวลาไม่กี่ปี่ และยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายรวมไปถึงโจทก์ผู้ฟ้อง “โจนาธาน แลงลีย์” ( Jonathan Langley) วัย 61 ปีอาศัยในรัฐเทกซัส ซึ่งแลงลีย์ได้กล่าวหา IBM ว่าได้ไล่เขาออกเนื่องมาจากอายุเป็นปัจจัยหลังจากที่ทำงานมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 24 ปี 

อย่างไรก็ตามทางบริษัท IBM ได้ยื่นเรื่องต่อศาลขอให้ยกคำฟ้องของแลงลีย์ ซึ่งในวันอังคาร (30 .) ทีมทนายความของแลงลีย์ได้ยื่นคำคัดค้านต่อการยื่นของทาง IBM 

การค้านรวมไปถึงความเห็นจากไวลด์ซึ่งได้มาจากการให้การใต้คำสาบานที่ยังคงเป็นความลับ ทั้งนี้ไวลด์ทำงานให้กับ IBM มาเกือบ 8 ปีและพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว อ้างอิงจาก LinkedIn ไวลด์กล่าวว่า เขาไม่สามารถให้ความเห็นได้ในเรื่องนี้ 

ทั้งนี้พบว่าทางบริษัทยักษ์ใหญ่สีน้ำเงินเริ่มต้นนโยบายปรับปรุงการที่มีพนักงานกลุ่มสูงวัยผสมอยู่ตั้งแต่ปี 2014 อ้างอิงจากคำฟ้องที่มีโจทก์เป็นกลุ่มคณะถูกยื่นขึ้นที่นิวยอร์ก 

โดยทาง IBM เริ่มต้นไล่พนักงานกลุ่มสูงวัยออก และแทนที่ด้วยกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่มีอายุน้อย คนในแผนกที่ปรึกษาของ IBM กล่าวว่า คนเหล่านี้เป็นพวกมีความสร้างสรรค์และมีการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีได้ดีกว่ากลุ่มยุคเบบี้บูม

เดือนที่ผ่านมาที่อาร์มองค์ (Armonk) ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท IBM ในนิวยอร์ก พบว่าได้มีการสั่งปรับลดพนักงานไป 2,000 คน โดยในเวลานั้นทางบริษัทได้กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่าทางเรายังคงอยู่ในระหว่างการปรับสถานะทีมของเราเพื่อให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายของเราในกลุ่มที่มีมูลค่าสูงของตลาด IT ในขณะเดียวกันยังคงเปิดรับสมัครงานอย่างมากในพื้นที่ใหม่ที่สำคัญที่จะมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและบริษัท IBM” 

นอกจากนี้ในเดือนมีนาคมล่าสุด โปรพับลิกา(ProPublica) เผยแพร่การสอบสวนสำคัญที่พบว่า *** IBM ที่ผ่านมาได้เลิกว่าจ้างพนักงานอเมริกันจำนวน 20,000 คนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในรอบ 5 ปีล่าสุด***

Bloomberg ได้รายงานอีกว่า เมื่อปี 2015 บริษัทยักษ์ใหญ่ทางคอมพวเตอร์ของสหรัฐฯได้ออกมาปฎิเสธการรายงานของนิตยสารฟ็อบส์ที่ว่า ทาง IBM จะทำการเลิกจ้างพนักงานร่วม 100,000 คน หรือราว 1 ใน 4 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบริษัทในไม่กี่ปีข้างหน้า โดยทาง IBM กล่าวอ้างในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ว่าเป็นเรื่องไร้สาระและไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

Source

]]>
1241201
IBM เผย Gen Z ชอบซื้อของหน้าร้านมากกว่าออนไลน์ https://positioningmag.com/1113734 Wed, 18 Jan 2017 04:01:32 +0000 http://positioningmag.com/?p=1113734 ผลการศึกษาโดยไอบีเอ็มและสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federation: NRF) ของสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาว Gen Z เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ชื่นชอบการซื้อสินค้าในร้านค้ามากกว่าการซื้อออนไลน์ โดย 66% จะเลือกร้านที่มีผลิตภัณฑ์คุณภาพและมีของพร้อมขายเสมอ ขณะที่ 65% ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าที่ได้รับ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า 52% ของผู้บริโภค Gen Z พร้อมจะเปลี่ยนความจงรักภักดีจากแบรนด์หนึ่งไปอีกแบรนด์หนึ่งหากคุณภาพของแบรนด์ไม่ได้มาตรฐาน

การศึกษา “Uniquely Gen Z” โดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBM Institute of Business Value) เป็นการสำรวจกลุ่มเจน Z ช่วงอายุ 13-21 ปี มากกว่า 15,000 คน ใน 16 ประเทศ โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้เกิดในช่วงกลางทศวรรษ 1990 และ 2000 ถือเป็นกลุ่มที่ “เกิดในยุคดิจิทัล” และเติบโตขึ้นมาโดยไม่เคยรู้จักกับโลกในยุคก่อนที่จะมีโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ

กลุ่มคนเจน Z มีกำลังซื้อถึง 154,000 ล้านบาท โดย 75% ของเจน Z ใช้จ่ายเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินที่มีในแต่ละเดือน ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าประชากรเจน Z ทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 2.6 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 2020

74% ของผู้ตอบใช้เวลาว่างบนโลกออนไลน์ โดย 25% ออนไลน์อย่างน้อยห้าชั่วโมงในแต่ละวัน และ 66% มักใช้อุปกรณ์สื่อสารพกพามากกว่าหนึ่งเครื่อง

72

73% เจน Z ที่สำรวจ ใช้อุปกรณ์สื่อสารพกพาเพื่อส่งข้อความและแชทกับครอบครัวและเพื่อนๆ เป็นหลัก แต่ก็เต็มใจที่จะสนทนากับแบรนด์ต่างๆ โดย 42% มีแนวโน้มร่วมเล่นเกมออนไลน์ในแคมเปญต่างๆ 43% มีแนวโน้มในการร่วมรีวิวผลิตภัณฑ์ ขณะที่ 36% มีแนวโน้มที่จะสร้างเนื้อหาดิจิทัลสำหรับแบรนด์

42

เจน Z ไม่มีความอดทนต่อเทคโนโลยีที่ใช้งานยาก และต้องการประสบการณ์การใช้งานโมบายล์-ดิจิทัลแบบไร้รอยต่อ

โดยเจน Z 62% จะไม่ใช้แอพหรือเว็บไซต์ที่ใช้งานยากหรือโหลดช้า

62

เจน Z ทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่มีค่าต่อแบรนด์ ดังนั้นจึงต้องการทราบว่าแบรนด์จะนำข้อมูลไปใช้อย่างไรและมีวิธีการคุ้มครองข้อมูลอย่างไร

โดยมีเจน Z เพียง 21% ที่เต็มใจแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสุขภาพ ตำแหน่งที่อยู่ ชีวิตส่วนตัว หรือข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงิน ขณะที่ 61% จะรู้สึกเต็มใจมากขึ้นที่จะแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าพวกเขาทราบว่าข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองและจัดเก็บอย่างปลอดภัย

30

“เจน Z เป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่แบรนด์ต้องเตรียมรับมือ เหมือนกับเมื่อครั้งกลุ่มมิลเลนเนียลเข้ามาแทนที่เจน X หากแต่เจน Z มีขนาดใหญ่กว่าและซับซ้อนมากกว่า ผู้ซื้อกลุ่มนี้เรียนรู้ที่จะ “คลิก” ก่อนที่จะเดินหรือพูดด้วยซ้ำ แต่พวกเขากลับยังพอใจกับประสบการณ์การซื้อสินค้าในร้านค้า แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แต่นิสัยการชอปปิ้งบางอย่างยังคงเหมือนเดิม ดังนั้น แบรนด์ต่างๆ ต้องว่องไวและคล่องตัวมากพอสำหรับการให้บริการทั้งสองรูปแบบ” นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว

word_icon

เจเนอเรชั่น Z คาดหวังถึงเทคโนโลยีที่ใช้ง่าย ตอบโจทย์ความต้องการ และน่าสนใจ เหล่านี้เป็นความท้าทายให้ธุรกิจค้าปลีกและแบรนด์ต้องดึงความก้าวล้ำทางดิจิทัลมาช่วยสร้างการปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล คือพร้อมที่จะทดลองวิธีใหม่ๆ เพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลง แต่ก็ต้องตอบโจทย์เจเนอเรชั่นต่างๆ ได้ในขณะเดียวกัน

word_icon2

การศึกษาพบว่าผู้บริโภคเจเนอเรชั่น Z ชอบการมีส่วนร่วมแบบออนไลน์กับแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแบรนด์ที่สร้างสภาพแวดล้อมแบบมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และเอื้อให้ลูกค้าสามารถกำหนดรูปแบบประสบการณ์ของตนเองได้ โดยธุรกิจที่สามารถพัฒนารูปแบบการปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวได้ ย่อมสามารถเข้าถึงไอเดียน่าสนใจของชาวเจน Z และอาจนำสู่ผลิตภัณฑ์ บริการ แนวทางการสร้างความผูกพัน ตลอดจนประสบการณ์การซื้อสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ เพราะเป็นที่รู้กันว่าเจเนอเรชั่น Z เป็นลูกค้าระดับแนวหน้าของแบรนด์ต่างๆ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบรนด์รับรู้และให้คุณค่าต่อความคิดเห็นของพวกเขา

59

]]>
1113734