IPSOS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 25 Jul 2023 09:27:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจ Ipsos เผยคนไทย 72% มองเศรษฐกิจถดถอยแล้ว กังวลปัญหาเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยที่อาจเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1438934 Tue, 25 Jul 2023 08:12:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438934 ผลสำรวจจากอิปซอสส์ (Ipsos) ได้สำรวจผู้บริโภคของไทยพบว่ามุมมองต่อเศรษฐกิจนั้น 79% มองว่าเศรษฐกิจนั้นกำลังอยู่ในสภาวะถดถอย ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ขณะเดียวกันก็กังวลในปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง ปัญหาเงินเฟ้อ หรือแม้แต่ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงมากขึ้น

อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Ipsos) ได้เปิดเผยถึงผลรายงานการวิจัย “What wories the world and Wories Thailand” ซึ่งสำรวจมุมมองผู้บริโภคโดยตรง 23,039 คนจาก 29 ประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยที่ได้สำรวจผู้บริโภคจำนวน 1,000 คนที่มีอายุ 18 ปีถึง 65 ปี

กรรมการผู้จัดการของ Ipsos ประเทศไทยได้กล่าวถึงผลสำรวจล่าสุดว่าผู้บริโภคยังกังวลเรื่องของเงินเฟ้อ จากผลของรัสเซียบุกยูเครน ซึ่งมีความขัดแย้งกันจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ประเด็นรองลงมาคือเรื่องความยากจน-ความไม่เท่าเทียม ขณะที่เรื่องของโควิดลดลงไปแล้ว

สำหรับผลสำรวจในประเทศไทย ผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องสังคมการเมืองเป็นอันดับ 1 ขณะที่อันดับ 2 คือเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม อันดับ 3 การจับจ่ายใช้สอยจากปัญหาเงินเฟ้อ อันดับ 4 คือเรื่องของการว่างงานซึ่งกลับมาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อุษณาได้ให้เหตุผลว่าข่าวการเข้ามาของเทคโนโลยี AI นั้นส่งผลในผลสำรวจนี้อย่างมาก

ขณะที่เรื่องของอาชญากรรมปัญหาความรุนแรงถือว่าต่ำสุดในผลสำรวจล่าสุดนี้ โดยผู้บริหารของ Ipsos มองจากผลสำรวจว่าถ้าหากรัฐใช้กลไกกฎหมายที่ดี และเรื่องของปัจจัยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็อาจทำให้ปัจจัยดังกล่าวนี้ดีขึ้นกว่านี้ได้

นอกจากนี้ในผลสำรวจได้กล่าวถึงความไม่เท่าเทียมด้านโอกาสถือเป็นเรื่องที่คนไทยเริ่มพูดถึงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยหลักๆ มาจากเรื่องของความพิการ หรือแม้แต่เรื่องอื่นๆ อย่างเช่น ความผิดปกติทางสมอง คนที่มีปัญหาเรื่องสภาวะจิตใจ หรือแม้แต่เรื่องของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับโอกาส

ในผลการวิจัยของ Ipsos ชี้ว่าปัญหาสังคมที่ควรแก้นั้นผู้ที่ควรรับผิดชอบคือรัฐบาล รองลงมาคือสื่อสารมวลชน หรือแม้แต่การเริ่มแก้ปัญหาในองค์กรก็สามารถทำได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านี้ผลสำรวจคนไทย 61% ชี้ว่าต้องสร้างงานหรือแม้แต่เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการเข้ามาดูแลในเรื่องสุขภาพจิตสุขภาพกาย เป็นต้น

ข้อมูลจาก Ipsos

เรื่องเศรษฐกิจไทย

ผลการวิจัยล่าสุดของ Ipsos ยังชี้ว่า 72% ของผลสำรวจมองว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่สภาวะถดถอย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงสุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างสิงคโปร์อยู่ที่ 37% อินโดนีเซียอยู่ที่ 47% เท่านั้น ขณะค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่บริษัทได้ทำการสำรวจผู้บริโภคใน 29 ประเทศนั้นอยู่ที่ 49% เท่านั้น

ขณะเดียวกัน 25% ของผู้สำรวจยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเงินในกระเป๋า ซึ่งเรื่องใหญ่นั้นมาจากเรื่องของค่าใช้จ่าย เช่นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าอาหาร ซึ่งผลสำรวจนั้นใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกราวๆ 60-70% และมุมมองของคนไทยมองว่า 6 เดือนหลังจากนี้มากกว่า 64% มองว่าค่าใช้จ่ายข้างต้นจะเพิ่มขึ้น

สำหรับมุมมองปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นผลสำรวจชาวไทยนั้นให้มุมมองว่าเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 81% รองลงมาคือนโยบายของรัฐบาล และผลของอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ

ไม่เพียงเท่านี้ผลสำรวจของคนไทยยังมองว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้มากถึง 56% แม้ว่าสัญญาณเงินเฟ้อจะลดลงในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นผลสำรวจชี้ว่า 54% มีโอกาสน่าจะขึ้น แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

อย่างไรก็ดีมุมมองของคนไทย 61% ที่ทำแบบสำรวจมองว่า 6 เดือนหลังจากนี้ทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ เพิ่มขึ้นจาก 56% จากผลวิจัยล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ 67% ยังมองว่าประเทศไทยนั้นเดินมาถูกทางแล้ว ตัวเลขดังกล่าวนี้มากที่สุดในรอบ 6 เดือนของผลสำรวจ

ขณะที่ภาพรวมอื่นๆ ผลสำรวจมองว่าเรื่องของอัตราว่างงานของไทย การใช้เงินภาษีของรัฐบาลน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้ แต่เรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังถือเป็นเรื่องท้ายๆ โดย 19% มองว่าดีขึ้น แต่ยังมากกว่าผลวิจัยในเดือนพฤศจิกายนของปี 2022 ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 12% เท่านั้น

กรรมการผู้จัดการของ Ipsos ประเทศไทย ยังได้ทิ้งท้ายว่า ในช่วงเวลาเช่นนี้แบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคต่างๆ ควรจะดูแลลูกค้าที่มีความ Loyalty เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เนื่องจากลูกค้าจะไม่ค่อยเปลี่ยนการใช้สินค้าในช่วงเวลานี้มากเท่าไหร่นัก

]]>
1438934
2023 ปีที่คนทั่วโลกมองเชิง ‘ลบ’ มากที่สุดในรอบทศวรรษ เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อมวิกฤตหนัก https://positioningmag.com/1423936 Mon, 20 Mar 2023 10:46:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423936
  • งานวิจัย Ipsos Global Trend 2023 สำรวจความเห็นผู้บริโภคใน 50 ประเทศ พบว่าคนเพียง 65% ที่เชื่อว่าปี 2023 จะเป็นปีที่ดีกว่าปีก่อน ซึ่งถือเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบสิบปี
  • ความกังวลหลักคือเรื่อง “เศรษฐกิจ” และ “สิ่งแวดล้อม” มองภาพปีนี้เป็นเหมือน ‘เคราะห์ซ้ำกรรมซัด’ หลังจากช่วงโควิด-19
  • คนไทยมองในทิศทางเดียวกับทั้งโลก 27% เห็นว่าตนเองยากลำบากทางเศรษฐกิจ และ 86% มองว่าไทยกำลังเผชิญวิกฤตภูมิอากาศ
  • แนะนำแบรนด์ไทยคว้าโอกาส ชวนคนไทยใช้ของไทยซึ่งถูกกว่าสินค้านำเข้า และเน้นหนักการแก้ปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ
  • “อุษณา จันทร์กล่ำ” กรรมการผู้จัดการ และ “พิมพ์ทัย สุวรรณศุข” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท อิปซอสส์ จำกัด เปิดรายงานการวิจัย Ipsos Global Trend 2023 ซึ่งครั้งนี้บริษัทสำรวจใน 50 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกทวีป มีผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ 48,000 คน รวมถึงมีการสำรวจในประเทศไทยด้วย (*เฉพาะในไทยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน)

    การวิจัยนี้ Ipsos มีการสำรวจทั้งหมด 12 หัวข้อที่เป็นเทรนด์ในระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวเลือกการดูแลสุขภาพ มิติทางเทคโนโลยี จุดเปลี่ยนของทุนนิยม เป็นต้น

    12 หัวข้อที่สำรวจในงานวิจัย

    หลังจากสำรวจแล้วพบว่ามุมมองความคิดเห็นของผู้บริโภคในปี 2023 นั้นอยู่ภายใต้มุมมองของ ‘A New World Disorder’ เพราะเห็นว่าปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่โลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวนไร้ระเบียบ

    65% ของประชากรโลกมองว่าปี 2023 จะเป็นปีที่ดีกว่าปีก่อน ตัวเลขนี้ถือว่าต่ำสุดในรอบสิบปี เพราะโลกเราตกอยู่ภายใต้ความกังวลหลายประการ ตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จนถึงเรื่องสงคราม

     

    เศรษฐกิจตกสะเก็ด เงินเฟ้อพุ่ง

    เทรนด์สำคัญที่ Ipsos พบว่าเป็นมุมมองร่วมกันของคนทั้งโลก คือ ความกังวลด้านเศรษฐกิจ นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ดีขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนทั่วโลก

    โดยค่าเฉลี่ยประชากรโลกมี 34% ที่มองว่าตนเองตกอยู่ในภาวะยากลำบากถึงลำบากมากในเชิงเศรษฐกิจ ส่วนชาวไทยที่อยู่ในภาวะนี้มี 27%

    27% ของคนไทยรู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในภาวะยากลำบากถึงลำบากมากในเชิงเศรษฐกิจ

    ตัวเลขหากเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกถือว่าดีกว่า เพราะทวีปที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักและเรื้อรังมาตลอดคือประเทศแถบละตินอเมริกากับแอฟริกา แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ปรากฏว่าคนไทยรู้สึกลำบากทางเศรษฐกิจสูงที่สุด (*ประเทศแถบ SEA ที่ Ipsos สำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์)

    ความกังวลของคนไทยในด้านการเงินมี 2 ปัจจัยหลัก คือ 53% กังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และ 48% กังวลเรื่องเงินที่ใช้จับจ่ายประจำวัน แม้แต่คนในระดับฐานะปานกลางก็กังวลทางเศรษฐกิจแล้ว เพราะสินค้าบริการทุกอย่างมีราคาสูงขึ้น

     

    สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องฉุกเฉิน

    ประเด็นถัดมาที่ Ipsos พบว่าทั่วโลกมองในทางเดียวกันคือ “สิ่งแวดล้อม” ประชากรโลก 80% เชื่อว่าโลกเรากำลังมุ่งไปสู่หายนะทางสิ่งแวดล้อม หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ทั้งนี้ การวิจัยพบว่าประเทศแถบทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์) มีความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งน่าจะเกิดจากประเทศในแถบนี้คือผู้รับผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสูงที่สุด และมีการแก้ไขรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมช้ากว่าประเทศทางตะวันตก รวมถึงบางครั้งเป็นเหยื่อรับภาระขยะพิษจากตะวันตกนำมาฝังกลบในเอเชีย ทำให้รู้สึกกังวลสูงกว่า

    การวิจัยพบว่าประเทศแถบทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์) มีความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าค่าเฉลี่ยโลก

    สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน คนไทย 86% เชื่อว่าเรากำลังเผชิญหายนะทางสิ่งแวดล้อม ประเด็นเชิงสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด หนีไม่พ้นเรื่องฝุ่น PM2.5 เพราะเป็นปัญหาร้อนที่เราเผชิญมาหลายปี รองลงมาคือความผันผวนของสภาพอากาศจนเกิดภัยพิบัติแล้งจัดสลับน้ำท่วมอยู่เสมอ

     

    แนะนำ “แบรนด์ไทย” คว้าโอกาส

    จากทัศนคติของคนไทยต่อวิกฤตของปี 2023 ในอีกแง่มุมจะเป็นโอกาสของแบรนด์ที่เข้าใจคนไทยและสามารถปรับตัวได้ โดย Ipsos มีคำแนะนำดังนี้

    1.โอกาสสินค้าไทยทดแทนสินค้านำเข้า

    เมื่อเงินในกระเป๋ามีมูลค่าลดลงเพราะเงินเฟ้อ ทำให้คนไทยเริ่มหันมามองสินค้าไทยที่มีราคาถูกกว่าสินค้านำเข้า โดยผลสำรวจพบว่า คนไทย 73% เลือกซื้อของไทยมากกว่าต่างชาติ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับการทำการตลาดของแบรนด์ไทยที่จะสะท้อนถึงคุณภาพที่ดีทดแทนการนำเข้าได้

    คนไทย 73% เลือกซื้อของไทยมากกว่าต่างชาติ เป็นโอกาสของแบรนด์ไทย

    2.แบรนด์/ธุรกิจควรเน้นหนักการดูแลสังคม-สิ่งแวดล้อม

    ทัศนคติของคนไทย 80% กังวลว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในอนาคต และมีคนไทยเพียง 36% เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลวางแผนในระยะยาวไว้อย่างดีแล้วเพื่อดูแลประชาชน

    เมื่อคนไทยไม่มั่นใจในรัฐบาล กลายเป็นว่า 81% ของคนไทยเชื่อว่าเป็นไปได้ที่แบรนด์/ธุรกิจสามารถดูแลสังคมได้ไปพร้อมๆ กับการทำกำไร และ 71% ของคนไทยยอมที่จะจ่ายเงินแพงกว่าถ้าจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์ที่ดูแลรับผิดชอบสังคม ความคาดหวังของคนไทยเช่นนี้ทำให้แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ควรหันมาใส่ใจการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

    81% ของคนไทยเชื่อว่าเป็นไปได้ที่แบรนด์/ธุรกิจสามารถดูแลสังคมได้ไปพร้อมๆ กับการทำกำไร

    อย่างไรก็ตาม 53% ของคนไทยไม่เชื่อใจผู้นำทางธุรกิจว่าจริงใจกับผู้บริโภค ดังนั้น แบรนด์ที่จะสร้างฐานลูกค้าจากประเด็นนี้จึงต้องเริ่มสร้างความเชื่อใจกับคนไทยให้ได้ก่อน

    โดยสรุปมุมมองความคิดของคนไทยปีนี้สอดคล้องกับความคิดของคนทั่วโลก เพราะคนไทยมีการเสพข่าวสารในระดับโลก และเห็นชัดเจนว่าวิกฤตในอีกมุมหนึ่งของโลกจะส่งผลมาถึงไทยด้วย ทำให้เกิดความกังวลที่ไม่แตกต่างกัน ปี 2023 จึงเป็นจุดเปลี่ยนความกังวลของไทยที่เปลี่ยนจากเรื่องสุขภาพในช่วงโควิด-19 มาเป็นเรื่อง ‘ปากท้อง’ นั่นเอง

    หมายเหตุ: Ipsos เปิดสัมมนาออนไลน์ ฟรี “Global Trends–Thailand Webinar” วันที่ 30 มีนาคม 2566 ลงทะเบียนได้ที่ https://www.ipsos.com/en-th/ipsos-global-trends-2023-thailand-webinar 

    Ipsos

    ]]>
    1423936
    “เงินเฟ้อ” ปัจจัยลบแรงแทนที่ “โควิด-19” คนไทยรัดเข็มขัด “ท่องเที่ยว-บันเทิง” กระทบก่อน https://positioningmag.com/1405567 Wed, 26 Oct 2022 10:59:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405567
  • IPSOS จัดการสำรวจผู้บริโภค 6 ประเทศใน SEA รวมไทย ช่วงหลังโควิด-19 ระลอกที่ 6 พบว่า ปัจจัย “เงินเฟ้อ” กลายเป็นความกังวลสูงสุดแทนที่สถานการณ์โรคระบาด
  • ผลกระทบทางการเงินทำให้สินค้า-บริการบางกลุ่มถูกตัดหรือชะลอการใช้จ่าย ที่หนักที่สุด คือ การท่องเที่ยว กิจกรรมบันเทิง เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้า
  • เพราะต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกตัดสินใจซื้อตาม “ผู้เชี่ยวชาญ” ในสินค้าหมวดนั้นๆ มากกว่าอินฟลูเอนเซอร์ทั่วไป
  • สถานการณ์โควิด-19 ไม่ใช่ปัจจัยลบสูงสุดอย่างที่เคยเป็นอีกแล้ว สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือภาวะ “เงินเฟ้อ” ที่ทำให้ผู้บริโภคกังวลกับการใช้จ่าย

    “ภาคี เจริญชนาพร” ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด บริษัท อิปซอสส์ จำกัด (Ipsos Ltd.) เสนอข้อมูลจากการวิจัยชุด “SEA AHEAD Wave 6” เป็นการสำรวจผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคหลังผ่านโควิด-19 ซึ่งครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 6 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565 จัดสำรวจใน 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมกลุ่มตัวอย่าง 3,000 คน

    ข้อมูลวิจัยทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้บริโภคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้

     

    โควิด-19 ไม่กังวลเท่าไหร่ ความท้าทายใหม่คือ “เงินเฟ้อ”

    จากการสำรวจเฉลี่ยรวม 6 ประเทศ พบว่า 71% เชื่อมั่นกับการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 แต่ถ้าแยกเป็นประเทศๆ ไปแล้ว “ไทย” จะเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือมีเพียง 55% ที่มั่นใจกับการจัดการโควิด-19 (อาจเกิดจากประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการช้ากว่า ในช่วงที่สำรวจยังไม่มีการยกเลิกการสวมหน้ากากอนามัย)

    อย่างไรก็ตาม ภาคีให้ความเห็นว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ไปจนถึงสิ้นปี ความกังวลของคนไทยต่อโควิด-19 น่าจะลดน้อยลงตามลำดับ ดูจากจำนวนคนที่เข้าร่วมงานอีเวนต์สาธารณะต่างๆ ที่มีคนหนาแน่น เช่น งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ปี 2565

    เงินเฟ้อ
    ความกังวลที่สวนทางระหว่างโควิด-19 กับ เงินเฟ้อ

    แม้โควิด-19 ดูจะผ่อนคลายลงแล้ว แต่ปัจจัยใหม่ที่เข้ามาสร้างความกังวลต่อการใช้จ่ายแทนที่คือ “ปัจจัยทางเศรษฐกิจ”

    73% ของคนไทยมองว่าขณะนี้ “เศรษฐกิจไม่ดี” ซึ่งสาเหตุมาจาก “เงินเฟ้อ” ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก และมีถึง 95% ที่รู้สึกได้ว่าเงินเฟ้อ “มีผลกระทบ” บางส่วนหรืออย่างมากต่อราคาสินค้าที่จ่ายไป

    เงินเฟ้อจึงไม่ใช่แค่ตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจ แต่ผู้บริโภครู้สึกได้จริง และจะมีผลต่อการควบคุมการใช้จ่ายส่วนตัว

     

    “ท่องเที่ยว-บันเทิง” กระทบก่อน

    เมื่อถามต่อว่า สินค้าอะไรที่รู้สึกได้ว่าราคาสูงขึ้นเพราะเงินเฟ้อ สำหรับคนไทย 3 อันดับแรกที่ขึ้นราคาสูง คือ 1.อาหารและพลังงาน 2.ของใช้ส่วนตัว 3.เครื่องดื่ม

    ส่วนสินค้าที่รู้สึกว่าราคาขึ้นน้อยที่สุดสำหรับคนไทย คือ 1.การศึกษา (ค่าเทอม) 2.ท่องเที่ยว 3.ยาสูบ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อสินค้าที่ราคาปรับขึ้นสูงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต ทำให้สินค้าที่ผู้บริโภคเริ่ม “รัดเข็มขัด” ใช้จ่ายน้อยลงแล้วเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2565 ได้แก่ 1.ท่องเที่ยวต่างประเทศ 2.ท่องเที่ยวในประเทศ 3.กิจกรรมบันเทิง-วัฒนธรรม 4.เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ 5.เสื้อผ้าแฟชั่น

    เห็นได้ว่าสินค้าที่กระทบก่อนเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นน้อยกว่าในชีวิตประจำวัน หรือเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ราคาสูงที่ผู้บริโภคทั่วไปไม่พร้อมจ่ายเงินก้อนในยามนี้

    ภาคีกล่าวว่า สินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้มีการจัดโปรโมชันลด แลก แจก แถม กันมาระยะหนึ่งแล้ว และดูเหมือนว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะทำให้ต้องจัดโปรฯ กันอย่างต่อเนื่อง

     

    นักการตลาดต้องทำอย่างไร?

    IPSOS แนะนำให้พิจารณาสินค้าของแบรนด์นั้นๆ ก่อนว่าเป็นอย่างไรในภูมิทัศน์เหล่านี้

    1.สินค้าของคุณจำเป็นต้องมีในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคไหม
    2.สินค้าคุณทดแทนได้ด้วยสินค้าอื่นหรือแบรนด์อื่นไหม
    3.สินค้าในหมวดเดียวกับคุณมีการขึ้นราคากันทั้งอุตสาหกรรมไหม

    หากพบว่าสินค้าของคุณมีความเสี่ยงจาก “เงินเฟ้อ” เป็นสินค้าที่ไม่ใช่ของจำเป็น และยังมีคู่แข่งจำนวนมากอีก เพื่อจะชิงกำลังซื้อให้ได้ จำเป็นต้องมีความแตกต่าง

    โดยงานวิจัยพบว่าความต่างที่จะดึงกำลังซื้อคือ “คุณค่า” และ “ภาพลักษณ์” เพราะ 74% ของคนไทยมักจะซื้อสินค้าแบรนด์ที่สะท้อนคุณค่าส่วนบุคคลของตนเอง และ 71% ของคนไทยจะยอมจ่ายมากกว่าเพื่อแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ดึงดูดใจพวกเขา

     

    เลือกอินฟลูฯ เฉพาะทางให้เหมาะกับสินค้า

    นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังพบความเปลี่ยนแปลงในด้านการรับข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อด้วย โดย 69% ของคนไทยต้องการ “ผู้เชี่ยวชาญ” มาบอกว่าควรจะซื้ออะไร

    ภาคีอธิบายว่า การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ในยุคนี้ไม่ควรจะเลือกจาก ‘ตัวเลข’ ยอดผู้ติดตามหรือยอดเข้าชมเท่านั้น แต่ควรลงลึกว่าผู้บริโภคให้ความเชื่อถืออินฟลูเอนเซอร์คนนั้นมากแค่ไหน ความเชี่ยวชาญของอินฟลูฯ ตรงกับสินค้าของบริษัทไหม

    ปัจจุบันวงการอินฟลูฯ มีการแยกย่อยไปในหมวดที่ถนัดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์ควรจะคัดสรรให้ตรงจุด เช่น ผลิตภัณฑ์การเงิน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ควรจะเลือกอินฟลูฯ ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ

     

    คนไทยมอง “อนาคต” ในเชิงบวก

    ข่าวดีเรื่องหนึ่งจากการวิจัยครั้งนี้คือ มุมมองต่ออนาคต 6 เดือนข้างหน้าของคนไทยที่ดูจะไปในทางบวกหรือทรงตัว จากตัวเลขเหล่านี้

    47% มองว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น
    31% มองว่าเศรษฐกิจน่าจะทรงตัว
    23% เชื่อว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงกว่าเดิม

    ถ้าถามเจาะจงถึงการเงินส่วนบุคคล สถานะการเงินภายในครอบครัว คนไทยมองว่าอีก 6 เดือนข้างหน้า…

    51% เชื่อมั่นว่าจะดีขึ้น
    32% มองว่าน่าจะทรงตัว
    17% เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าเดิม

    เห็นได้ว่าขณะนี้สถานการณ์อาจจะดูไม่ค่อยดี และทำให้คนไทยรัดเข็มขัด ไม่กล้าตัดสินใจซื้อของชิ้นใหญ่ แต่คนไทยก็ยังมองอนาคตในแง่ดีเป็นส่วนใหญ่ ภาคียังกล่าวด้วยว่า ด้วยหน้าเทศกาลช่วงปลายปีนี้ และการท่องเที่ยวไทยที่ฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ก็น่าจะทำให้มู้ดผู้บริโภคเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้นได้

    ]]>
    1405567
    Plant-Based Food สมรภูมิที่พึ่งเริ่มต้น https://positioningmag.com/1353413 Sun, 26 Sep 2021 07:27:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353413
    ดูเหมือนว่ากระแสของ Plant-Based Food ในเมืองไทยกำลังค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ถึงความนิยมอาจจะยังไม่มากเท่าในประเทศฝั่งอเมริกาหรือยุโรป แต่หากอ้างอิงจากผลสำรวจในปีนี้ของบริษัท Ipsos ปัจจุบันเกินครึ่งของคนไทยหรือราว 58% ระบุว่ารู้จัก หรืออย่างน้อยๆ ก็เคยได้ยินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่นี้มา

    น่าสนใจนะครับว่า Plant-Based Food จะเป็นแค่กระแสระยะสั้นๆ เหมือนหลายๆ กระแสที่เกิดขึ้นและดับลงในบ้านเรา หรือ Plant-Based Food จะสามารถกลายเป็นกระแสหลักที่คนไทยส่วนมากจะบริโภคในเร็ววันนี้ได้?

    จากผลสำรวจ 58% ของคนไทยในช่วงอายุ 18-29 ปีระบุว่า เคยลองรับประทานผลิคภัณฑ์ Plant-Based Food นี้แล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เยอะมากสำหรับอาหารรูปแบบใหม่ที่ผู้บริโภคจำนวนมากยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ด้วยซ้ำ อาจเพราะความเป็นไปได้ในตลาดใหม่นี้ ทำให้ ณ ปัจจุบันมีหลากหลายบริษัทที่ได้ตัดสินใจกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้

    หากดูกระแสจากโลก Online ผ่านแพลตฟอร์ม Social Intelligence อย่าง Synthesio จะพบได้ว่าแบรนด์ที่ถูก Mention เยอะที่สุดในบ้านเราในรอบปีที่ผ่านมา คือ Beyond Meat ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำจากประเทศอเมริกา อย่างไรก็ตาม หากดูจาก Social Interaction แล้วก็น่าดีใจว่า Meat Zero ที่มีน้องนาย ณภัทร เป็นพรีเซ็นเตอร์ และเป็นแบรนด์จากบริษัทของไทยเราอย่าง CPF มีสัดส่วน Interaction สูงที่สุดในบรรดาทุกแบรนด์

    Source: Synthesio, *Tracking period: Sep’20 – Sep’21

    ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องบอกว่า Social Interaction ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นของ Meat Zero ดูเหมือนจะมาจาก Interaction ผ่าน KOL และ Influencer เป็นหลัก และ Mention ส่วนมากของแบรนด์ยังมาจากช่องทางสื่อ เช่น News เป็นส่วนมาก

    ในขณะที่ Beyond Meat ที่แม้จะได้ Interaction ต่ำกว่า แต่ก็ได้ Mention เป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่ยังมาจากช่องทางอย่าง Twitter ซึ่งเป็นช่องทางที่มี ‘เสียงจริง’ ของผู้บริโภคมากกว่าช่องทางสื่อหลักอย่างมีนัยสำคัญ

    Source: Synthesio, *Tracking period: Sep’20 – Sep’21

    ในความเป็นจริงไม่ได้แปลว่า Beyond Meat หรือ Meat Zero เป็นผู้ชนะในตลาด เพราะการแข่งขันในตลาด Plant-Based Food นี้เรียกว่าพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น อีกหลากหลายแบรนด์ อาทิ Harvest Gourmet หรือ Meat Avatar ก็สร้างแรงกระเพื่อมได้อยู่ไม่น้อย

    จริงๆ แล้ว ‘กระแส’ หรือ ‘การลองทาน’ จำนวนมากในช่วงแรกนี้ไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จของตลาด Plant-Based Food ในบ้านเรา เพราะสิ่งที่ต้องคำนึง คือถึงแม้มีคนไทยจำนวนมากระบุว่าได้ ‘ลอง’ ทาน Plant-Based Food นี้แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะ ‘กลับมา’ รับประทานซ้ำ

    เพราะหากลองดู Feedback ของคนที่ได้ลองซื้อรับประทาน ส่วนใหญ่ก็ยังกล่าวว่ารสชาติของผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food ยังสู้รสชาติของเนื้อสัตว์จริงๆ ไม่ได้ ทำให้มีผู้บริโภคจำนวนวนมากไม่กลับไปซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ซ้ำ

     

    ในระยะยาวไม่เพียงปัจจัยเรื่องรสชาติที่มีผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ แต่การเข้าถึงสินค้า ที่หมายถึงจำนวนและประเภทของช่องทางร้านค้าที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อสินค้าได้ ราคาต่อมื้ออาหาร ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงการโปรโมตและสนับสนุนจากองค์กรและห้างร้านต่างๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินความสำเร็จของตลาดและผู้เล่นในสมรภูมินี้ได้

    น่าสนใจนะครับว่าสุดท้ายแล้วแบรนด์ใด บริษัทใดจะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในตลาดนี้ ที่แน่ๆ ตลาด Plant-Based Food ของบ้านเรากำลังจะร้อนระอุขึ้นในไม่ช้า เพราะ 66% ของคนไทยระบุว่าอยากลองผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food นี้ในอีก 3 – 6 เดือนข้างหน้า แปลว่าเรากำลังจะได้เห็นการแข่งขัน และกระแสที่ทวีคูณความดุเดือดและรุนแรงขึ้นในอีกไม่ข้านี้

    ]]>
    1353413
    หรือระบบกำลังมีปัญหา? https://positioningmag.com/1348507 Sat, 28 Aug 2021 14:00:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348507
    มีทฤษฎีมากมายที่พยายามจะหาว่า ‘ปัจจัย’ อะไร ที่ทำให้ประเทศๆ หนึ่งเจริญก้าวหน้าได้ ตั้งแต่สถานที่ตั้งของประเทศ สภาพอากาศ ชาติพันธ์ุ วัฒนธรรม หรือ กระทั่งศาสนา ในปี 2012 หนังสือชื่อ ‘Why Nations Fail’ ได้ถูกตีพิมพ์ออกมา โดยหนังสือเล่มนี้ได้สรุปว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำให้ประเทศๆหนึ่ งเจริญได้คือ ‘ระบบสถาบันการเมือง’ เพราะการมีระบบการเมืองที่ดีก็จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ดีอีกทอดหนึ่ง

    หากมองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่แทบจะไม่มีทรัพยากรใดๆ แต่ ‘ลีกวนยู กลับสามารถสร้างชาติสิงคโปร์ให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศพัฒนาแล้วเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถทำทั้งหมดนี้ได้เพียงแค่ในหนึ่งช่วงอายุคนเท่านั้น

    สิ่งที่ลีกวนยูให้ความสำคัญที่สุดก็คือการสร้างชาติผ่านระบบการเมืองที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ การมองภาพรวม และการวางแผนระยะยาว ทำให้ทฤษฎีที่ว่าชาติจะเจริญได้ต้องมี ‘ระบบการเมือง ที่ดี ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลยไปนัก

    ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาทั้งในแง่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความขัดแย้งทางด้านการเมือง ในมุมหนึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ ได้เปิดโปงให้เห็นถึงหลากหลายปัญหาทั้งในด้านบุคคล และระบบ แตกต่างจากความขัดแย้งครั้งก่อนๆ ที่ปัญหามักจะถูกเชื่อมโยงที่ตัวบุคคลเป็นหลัก จริงๆ แล้วไม่เพียงแค่ในประเทศไทยแต่ในหลากหลายประเทศทั่วโลกประชาชนก็กำลังรู้สึกว่า ‘ระบบ’ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศตัวเองกำลังมีปัญหา

    Source: Ipsos

    ใน 25 ประเทศและกว่า 19,000 คน ที่ Ipsos ได้ทำการสำรวจพบว่า

    • 71% เห็นด้วยว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศตัวเองเอื้อประโยชน์ต่อคนรวย และคนที่มีอำนาจ
    • ในขณะที่ 68% เห็นด้วยว่า พรรคการเมือง และนักการเมืองไม่ได้ใส่ใจประชาชนทั่วๆ ไป

    พูดง่ายๆ ว่าคนในหลายประเทศเหล่านี้รู้สึกว่า ‘ระบบมีปัญหา’ ถึงแม้ผลสำรวจนี้ไม่ได้มีการจัดทำขึ้นในประเทศไทย แต่เชื่อว่าผลลัพธ์ก็น่าจะออกมาในทิศทางเดียวกัน

    ประเด็นที่น่าสนใจคือมีการเอา ดัชนี ‘ระบบมีปัญหา’ นี้ มาพลอตกราฟหาความสัมพันธ์เทียบกับ ‘ความพัฒนาของสังคม’ ซึ่งเป็นข้อมูลจากองค์กร Social Progress พบว่าดัชนี ‘ระบบมีปัญหา’ นั้นมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับดัชนี ‘ความพัฒนาของสังคม’

    หรืออธิบายอย่างง่ายๆ คือ ในประเทศที่ระบบการเมืองมีปัญหามาก ระดับการพัฒนาของสังคมนั้นๆ ก็จะแย่กว่าประเทศที่มีระบบการเมืองที่มีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าประเทศโลกที่สามอย่าง เปรู โคลัมเบีย อยู่ค่อนไปทางซ้ายของกราฟ ที่แปลว่าระบบมีปัญหาค่อนข้างสูง และความพัฒนาของสังคมค่อนข้างต่ำ

    ในขณะที่ประเทศโลกที่หนึ่งหรือประเทศที่เจริญแล้วอย่าง เยอรมัน สวีเดน หรือ แคนนาดา จะอยู่ไปทางขวาล่างของกราฟ ซึ่งแปลว่าเป็นประเทศที่ระบบการเมืองมีปัญหาน้อย และมีความเจริญก้าวหน้าทางสังคมสูง

    Source: Ipsos & Socialprogress.org

    หากให้คาดการณ์ประเทศไทยเราก็… น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับมาเลเซียในกราฟนี้ ก็ได้แต่หวังว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นตัวเร่งให้เห็นถึงหลากหลายปัญหา และความขัดแย้งทางการเมืองในรอบนี้ จะทำให้เกิดการตกผลึกทางด้านความคิด และอุดมการณ์ ที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ระบบการเมืองที่มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนรวม

    ที่สุดแล้วเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวผ่านกับดับประเทศรายได้ปานกลาง และช่วยให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นได้

    ]]>
    1348507
    ไทยเที่ยวไทยกันยาวๆ! เปิดผลสำรวจคนไทยอยาก “เที่ยวในประเทศ” จนถึงปี’64 https://positioningmag.com/1289258 Thu, 23 Jul 2020 10:05:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289258 COVID-19 ไม่อาจห้ามคนไทยไม่ให้ไปเที่ยวได้ เพียงแต่ส่วนใหญ่ต้องการเที่ยวในประเทศแทนเพื่อความปลอดภัย และมองว่าจะยังเที่ยวในประเทศเป็นหลักกันจนถึงปี 2564 รวมถึงเน้นใช้รถยนต์เดินทางเป็นหลัก แต่คนไทยยังชื่นชอบการพักผ่อนในโรงแรมมากกว่าเช่าที่พักส่วนตัว

    Europ Assitstance ร่วมกับ IPSOS จัดทำผลสำรวจ “อนาคตการท่องเที่ยว” (Future of Travel) สำรวจระหว่างวันที่ 5-26 มิถุนายน 2563 ทำแบบสอบถามนักท่องเที่ยวใน 11 ประเทศ ประเทศละ 1,000 คน ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย เบลเยียม สเปน อิตาลี โปแลนด์ สหราชอาณาจักร จีน ไทย และสหรัฐอเมริกา

    สำหรับ “ประเทศไทย” ข้อมูลที่ผลงานวิจัยนี้ค้นพบมีดังนี้

    • 8 ใน 10 ของคนไทยต้องการเดินทางท่องเที่ยว
    • 75% ต้องการท่องเที่ยวในประเทศในปี 2563
    • 75% ยังคงต้องการท่องเที่ยวในประเทศในปี 2564
    • 36% ของคนไทยเริ่มจองทริปท่องเที่ยวแล้ว
    • ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุด โดยวิธีการของคนไทย 86% คือจะหลีกเลี่ยงไปที่ที่มีคนหนาแน่น
    • 74% ของคนไทยจะเลือกเดินทางด้วยรถยนต์
    • 71% เลือกที่พักในโรงแรมหรือรีสอร์ต
    • 70% ของนักท่องเที่ยวไทยระบุว่าจะทำประกันการเดินทาง

    ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับนักท่องเที่ยวประเทศอื่น ผู้จัดทำการสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวไทยยังเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศแม้เข้าสู่ปี 2564 แตกต่างจากชาวต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่ตอบว่าจะออกเที่ยวต่างประเทศแล้วในปีหน้า

    นอกจากนี้ คนไทยถึง 71% เลือกที่พักเป็นโรงแรมหรือรีสอร์ต มากกว่าค่าเฉลี่ยรวม 11 ประเทศที่เลือกโรงแรมหรือรีสอร์ต 58% และเลือกเช่าที่พักส่วนตัว (บ้านเช่า/คอนโดฯ) สูงถึง 42%

    นักท่องเที่ยวไทยยังมีความห่วงกังวลถึงความปลอดภัยสูงกว่า ด้วย เพราะมีคนไทยที่ต้องการทำประกันการเดินทางสูงถึง 70% ส่วนค่าเฉลี่ยรวม 11 ประเทศตอบว่าจะทำประกันเพียง 54% เท่านั้น

    จากผลสำรวจเหล่านี้สะท้อนภาพว่าการท่องเที่ยวและโรงแรมในไทยมีโอกาสสูงมากหากจับกลุ่มคนไทย เน้นนักท่องเที่ยวจังหวัดใกล้เคียงที่ขับรถสะดวก และใช้จุดขายเรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่พลุกพล่าน น่าจะได้ผลดีที่สุด

    ]]>
    1289258