อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI ได้กล่าวถึงแผนธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่าบริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวมเติบโต 12.1% ถือว่าเติบโตเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม แม้ว่าในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจะเติบโตแค่ 4.1% ก็ตาม
ผลการดำเนินงานของกรุงเทพประกันภัยในปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 29,915.7 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิ 3,043.8 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นกำไรสูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเป็นต้นมา
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2024 สมาคมประกันวินาศภัยไทยประเมินว่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเติบโต 5-6% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ผ่านมา
สาเหตุสำคัญมาจากประกันภัยสุขภาพที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นักท่องเที่ยวต่างชาติ และชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
ในส่วนของประกันภัยภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้เปิดโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้สูงมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการถูกปฏิเสธสินเชื่อน้อยกว่า ทำให้มูลค่าที่อยู่อาศัยต่อหน่วยที่เข้าสู่ระบบประกันภัยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเนื่องไปยังเบี้ยประกันอัคคีภัย แม้ว่าตลาดอสังหาฯ จะได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจนส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคก็ตาม
ทางด้านประกันภัยรถยนต์นั้น แม้ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่โดยรวมจะมีแนวโน้มหดตัวลงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งรถยนต์ EV มีอัตราเบี้ยประกันภัยโดยเฉลี่ยที่สูงกว่ารถยนต์ใช้เชื้อเพลิง ส่งผลให้ปริมาณเบี้ยประกันภัยรถยนต์โดยรวมน่าจะยังคงเติบโตได้ อย่างไรก็ดีผู้บริหารสูงสุดของ BKI กล่าวว่าเบี้ยประกันภัย EV ของบริษัทยังถือว่าสูงเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นๆ
ขณะที่การเติบโตของเบี้ยประกันภัยของกรุงเทพประกันชีวิตนั้นคาดว่าจะเติบโตได้ 8% ในปีนี้ ประธานคณะผู้บริหารของ BKI ชี้ว่าบริษัทจะต้องคิดเรื่องเติบโตควบคู่กับความสามารถในการทำประกันภัยด้วย และมองว่าเป้าตัวเลขดังกล่าวถือว่าเติบโตพอประมาณ
โดยบริษัทเตรียมที่จะส่งประกันภัย 5 รูปแบบออกสู่ท้องตลาด ได้แก่
อภิสิทธิ์ ได้กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ประกันข้างต้นที่จะมีการเปิดตัวในปีนี้นั้นได้พัฒนาจากปัญหาที่เกิดขึ้นของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป ขณะเดียวกันในกรณีของธุรกิจประกันภัยนั้นจะมองแต่เรื่องกำไรอย่างเดียวไม่ได้ เพราะความเสี่ยงนั้นเกิดเมื่อไหร่ก็ได้
สำหรับการปรับโครงสร้างบริษัทไปเป็น ‘โฮลดิ้ง คอมพานี’ นั้นเขามองว่าการขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และดูว่าลงทุนอะไรนั้นคุ้มค่าหรือไม่
เป้าหมายการเติบโตในปี 2024 นี้กรุงเทพประกันภัยวางเป้าเบี้ยประกันอยู่ที่ 32,500 ล้านบาท
]]>ลาร์ส ไฮบุทสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ได้กล่าวถึงผลประกอบการของกลุ่มอลิอันซ์นั้นมีกำไรมากถึง 14,700 ล้านยูโร เติบโต 6.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ขณะที่ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย มีมูลค่าเบี้ยประกันภัยรั
เขายังกล่าวว่า การเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทประกันภัยคือ การบริหารพอร์ตอย่างสมดุล และการควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่ใช่การลดราคาเบี้ยประกัน หรือให้ค่าคอมมิชชั่นกับตัวแทนมากๆ เพราะระยะยาวเขามองว่าไม่ยั่งยืน
ปัจจุบันสัดส่วนพอร์ตประกันภัยของบริษัท ประกอบไปด้วย ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ รวมถึงประกันสุขภาพ อย่างละ 1 ใน 3 ของพอร์ต ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย มองว่ามีความสมดุล
สำหรับกลยุทธ์ในปี 2024 ของ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ประกอบไปด้วย
สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ต้องการเจาะตลาดในปีนี้ คือ ลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โครงการสาธารณูปโภคระดับชาติ ประกันภัยทางทะเล ประกันภัยความรับผิดบุคคลภายนอก เป็นต้น โดยบริษัทมองว่ากลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นตลาดที่มีความเชี่ยวชาญ
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเตรียมเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไปมากขึ้นคือประกันสุขภาพ โดยมองว่าหลังจากการซื้อกิจการของ AETNA ในประเทศไทยจะทำให้บริษัทสามารถออกผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น
โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ตั้งเป้าเบี้ยรับรวมแตะ 1.2 หมื่นล้านภายในสิ้นปี 2024 นี้ รวมถึงเป้าหมายอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ประกันรับสุทธิหรือ Combined Ratio ต่ำกว่า 95%
]]>สำหรับแบรนด์ ‘กรุงเทพประกันชีวิต’ หลายคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปอาจได้ยินชื่อเสียงของบริษัทประกันชีวิตรายนี้มาบ้าง ซึ่งแบรนด์ดังกล่าวก่อตั้งในปี 1951 (หรือ พ.ศ. 2494) ซึ่งปัจจุบันวัยรุ่นหลายคนอาจไม่รู้จักแบรนด์นี้แล้ว หรืออาจลืมไปแล้วบ้าง
Positioning ได้พูดคุยกับ อรนาฎ นชะพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จะมาเปิดเผยกลยุทธ์ของกรุงเทพประกันชีวิตหลังจากนี้ว่าอะไรคือจุดเปลี่ยนของแบรนด์ที่หันมาเจาะกลุ่มวัยรุ่น และกลยุทธ์การตลาดในการเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ลูกค้านึกถึง
จุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท
อรนาฎ ได้เล่าถึงการที่ต้องเจาะกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากการทำสำรวจของบริษัทพบว่าในมุมมองของคนทั่วไปนั้นแบรนด์ กรุงเทพประกันชีวิต มีความมั่นคง แต่อาจมีเรื่องความเข้าถึงยาก ทำให้มีช่องว่างในการเข้าถึงยาก และแบรนด์นั้นยังดูไม่กันเองมากพอ
เธอยังได้เล่าว่าเมื่ออดีต บริษัทได้ทำเรื่องแบรนด์ดิ้ง แต่เวลาผ่านไปอาจทำให้คนลืมแบรนด์ กรุงเทพประกันชีวิต หรือแม้แต่ลูกค้าที่เข้าธนาคารกรุงเทพเอง ได้เห็นแบรนด์บ้าง แต่ก็ไม่ได้นึกถึงแบรนด์มากนัก และการปรับตัวครั้งนี้เพื่อที่จะปิดช่องว่างที่ลูกค้ามองว่าแบรนด์เข้าถึงยากด้วย
นอกจากนี้ยังรวมถึงเสียงตอบรับจากช่องทางตัวแทนขาย ที่หาทีมงานเพิ่มเติม นั้นต้องการวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น เลยทำให้บริษัทเลยตัดสินใจที่จะปรับตัวเอง
Refresh แบรนด์ด้วย นาย ณภัทร
ผู้บริหารหญิงของกรุงเทพประกันชีวิต ได้เล่าว่าก่อนหน้าที่กรุงเทพประกันชีวิตได้เลือก ‘นาย’ ณภัทร เสียงสมบุญ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในช่วงปี 2019 ซึ่งทำให้มุมมองของลูกค้ากับแบรนด์นั้นดีขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ยังทำให้แบรนด์กรุงเทพประกันชีวิตนั้นดูเด็กลงด้วย
เธอยังกล่าวว่าการเลือก ‘นาย’ ยังส่งผลทำให้แบรนด์เข้าถึงมากขึ้น และยังทำให้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กรุงเทพประกันชีวิตเจาะตลาดวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย
ไม่เพียงเท่านี้การเลือกนาย ณภัทร เองยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มธนาคารกรุงเทพได้เลือกเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อีกด้วย
ทำไมถึงต้องเจาะกลุ่มวัยรุ่น
ผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ยังได้เล่าว่า การที่เจาะกลุ่มวัยรุ่นเนื่องจากมีมูลค่า (Lifetime value) ที่ยาวกว่า เมื่อเทียบกับวัยกลางคน นอกจากนี้หลังจากการเป็นวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น การมีครอบครัว หรือแม้แต่การงานที่ดีขึ้น ย่อมทำให้ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์
ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโควิดเองนั้นยังทำให้มุมมองทัศนคติของวัยรุ่นเปลี่ยนไปว่าประกันสุขภาพสำคัญกับชีวิตของเขามาก ขณะเดียวกันวัยรุ่นอายุ 25 ปีขึ้นมานั้นต้องการประกันบ้างแล้ว ซึ่งบริษัทมองว่าถ้าหากเจาะตลาดด้วยการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ก่อน ก็สามารถที่จะอยู่ในใจลูกค้าด้วย
และยังมีเรื่องของการลดหย่อนภาษี เนื่องจากการซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงด้วย
มองแบรนด์แข็งแกร่ง เจาะลูกค้าวัยรุ่นได้
อรนาฎ ยังกล่าวถึงการซื้อประกันชีวิต หรือแม้แต่ประกันสุขภาพ ปัจจัยที่ทำให้คนเลือกแบรนด์นั้นๆ คือความน่าเชื่อถือคือสิ่งสำคัญ แล้วก็สิ่งที่ได้มาคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปไหม นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลมประกันนั้นทำได้สะดวก ง่าย หรือไม่
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญก็คือช่องทางตัวแทนขาย ถ้าหากหาคนไว้ใจได้แล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยน เนื่องจากการหาตัวแทนขายคนใหม่นั้นถือว่าเป็นความเสี่ยงไม่น้อยว่าจะไว้ใจได้หรือไม่
เธอยังกล่าวว่า แม้วัยรุ่นเองจะสามารถเปลี่ยนไปใช้แบรนด์สินค้าอื่นๆ ได้ง่าย แต่สำหรับประกันถ้าหากซื้อกรมธรรม์แล้วการเปลี่ยนประกันนั้นมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะเรื่องของคำถามสุขภาพ เบี้ยประกัน ฯลฯ ทำให้ถ้าหากแบรนด์สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้แล้ว ยากที่จะมีการเปลี่ยน
การตลาดนำโดย KOL เน้นเรื่องจริง
ผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ยังกล่าวว่า การทำการตลาดในการที่จะเจาะกลุ่มวัยรุ่นก็คือจะต้องเน้นที่เรื่องเกิดขึ้นจริง เนื่องจากวิธีการเข้าถึงหรือเสพสื่อของแต่ละวัยนั้นแตกต่างกัน อย่างวัยรุ่นเองส่วนใหญ่นั้นจะเป็นช่องทางออนไลน์
ทางบริษัทจะใช้ Key Opinion Leader หรือ KOL มาบอกเล่าถึงแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถเจาะเข้าถึงวัยรุ่นได้มากขึ้น
กรุงเทพประกันชีวิตยังมีการใช้ลูกค้าของบริษัทมาเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ และสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์มากขึ้น และทำให้เกิด Impact แบบ Organic โดยเธอได้กล่าวว่าแคมเปญนี้น่าจะเปิดตัวได้ในช่วงเดือนมิถุนายน
เธอยังกล่าวว่าปัจจุบันวัยรุ่นเองได้ทำการบ้านในการหากรมธรรม์ที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งทำให้มีข้อเปรียบเทียบได้หลายอย่าง ซึ่งบริษัทเองก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับวัยรุ่นออกมาเพิ่มด้วย
ขณะที่ช่องทางผ่านตัวแทนจำหน่ายที่เป็นวัยรุ่นจะเน้นไปยังเรื่องจริง และใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกประกันชีวิตที่ดีควรจะเลือกคุณสมบัติอะไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกับการขายให้กับลูกค้าวัยอื่นๆ เนื่องจากการพูดคุยนั้นในวัยเดียวกันย่อมที่จะเข้าใจกันมากกว่า
นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำ CRM เข้ามาดูแลลูกค้า รวมถึงทำสิทธิประโยชน์ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม
ตั้งเป้าเป็น Top Of Mind 1 ใน 5
ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้ากรุงเทพประกันชีวิต มากถึง 51% นั้นมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี ขณะที่วัยรุ่นต่ำกว่า 25 ปีลงมานั้นอยู่ที่ 19.5% เท่านั้น ทำให้หลังจากบริษัทปรับกลยุทธ์นั้นคาดหวังว่าลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นมาเป็น 25% ให้ได้
โดยผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ตั้งเป้าว่ากรุงเทพประกันชีวิตจะเป็น 1 ใน 5 ของแบรนด์ประกันฯ ที่ลูกค้าจดจำได้ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
]]>อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. กรุงเทพประกันภัย ได้กล่าวถึงสาเหตุของการปรับโครงสร้างบริษัทว่า BKI มีแผนที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและดำเนินธุรกิจตามทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็ต้องการที่จะเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจของบริษัทมากขึ้น
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของ BKI ได้กล่าวเสริมว่าหลายบริษัทในอุตสาหกรรมประกันภัย ได้เปลี่ยนโครงสร้างบริษัทเช่นกัน หรือแม้แต่ธนาคารรายใหญ่ก็เช่นกัน ทำให้ BKI ได้ปรับโครงสร้างโดยตั้งโฮลดิ้ง คอมพานี อย่าง BKIH ขึ้นมา
สำหรับการปรับโครงสร้างครั้งนี้คือผู้ถือหุ้นของ BKI จะได้รับหุ้น BKIH ในสัดส่วน 1:1 ซึ่งแผนดังกล่าวจะต้องได้รับไฟเขียวจากผู้ถือหุ้นรวมถึงทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าแผนการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ของปี 2024 และจะมีการนำ BKI ออกจากการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยหลังแล้วเสร็จธุรกรรมดังกล่าว
การดำเนินธุรกิจภายหลังการปรับโครงสร้างแล้วนั้น บริษัทวางแผนจะดำเนินธุรกิจผ่าน 2 กลุ่มธุรกิจ ประกอบไปด้วย
ปัจจุบัน BKIH กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาในธุรกิจต่างๆ ที่มีศักยภาพเพื่อเป็นแนวทางการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ อาทิ การเข้าไปลงทุนด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมประกันภัย หรือแม้แต่การลงทุนในศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์
Note: ในรูปภาพด้านซ้าย อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. กรุงเทพประกันภัย ขณะที่ด้านขวาคือ ชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ บมจ. กรุงเทพประกันภัย
]]>ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ได้กล่าวว่า LINE BK ตั้งเป้าที่จะเข้ามาทำให้เรื่
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ LINE BK มองถึงตลาดประกันฯ ก็คือ ประกันฯ เป็นหนึ่งผลิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LINE BK มองว่า ขณะเดียวกันก็มองว่าธุรกิจประกันชีวิต ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประชาชนเริ่มให้ความสำคั
สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถื
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมืองไทยประกันชีวิต ยังได้กล่าวเสริมว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์กับ LINE BK ยังมองว่าสามารถเจาะตลาดใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งเขาเห็นโอกาสจากข้อมูลที่ว่าวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี เริ่มสนใจในการซื้อประกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างกับอดีต โดยมีปัจจัยเรื่องของราคาเข้ามาด้วย
ในเบื้องต้น LINE BK ได้นำ 5 ผลิตภัณฑ์ ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กับแพ็กเกจประกันชีวิตและสุขภาพมานำเสนอบนช่องทาง LINE BK ดังนี้
สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์สามารถดูรายละเอียดได้จาก LINE BK ได้ ซึ่งในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีค่าเบี้ยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน โดยทุกแบบประกันสามารถสมัครได้
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิ
ธนา ยังได้กล่าวว่า การส่งประกันออกมานั้นต้องการที่จะเจาะลูกค้าของ LINE BK ซึ่งเขายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ แค่อยากรู้ว่าผู้บริโภคสนใจเข้ามาดูผลิตภัณฑ์มากแค่ไหนแล้วค่อยมาปรับแผนธุรกิจอีกที เหมือนเป็นการทดลอง และถ้าหากแก้ปัญหา Pain Point ของคนตัวเล็กได้ ก็สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปได้มากขึ้น
]]>นิโคลัส ฟาร์เกต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้
เขาได้กล่าวว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รู้ใจ ได้ระดมทุนรอบ Series B ซึ่งมีผู้ลงทุนนำโดย HDI International ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยระหว่
รู้ใจได้เม็ดเงินลงทุน Series B ทั้งสิ้น 42 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทย 1,509 ล้านบาท ทำให้บริษัทนำเม็ดเงินส่วนหนึ่งมาซื้อกิจการ FWDGI และเอาไปขยายธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียที่กำลังเติบโต
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ของรู้ใจ ยังได้กล่าวถึงผลประกอบการบริษัทในงบประจำปี 2022/2023 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า บริษัทมีผู้ถือกรมธรรม์มีทั้งหมด 149,248 ราย เติบโต 15% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทางด้านที่เบี้ยประกัน (Premium) นั้นอยู่ที่ 1329.6 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เบี้ยประกันมาจากประกันประเภทยานยนต์ถึง 95% ที่เหลือคือมาจากประกันประเภทอื่นๆ
กลยุทธ์หลังจากปิดดีลซื้อกิจการ FWDGI สำเร็จ
หลังจากที่เข้าซื้อกิจการ FWDGI นั้น นิโคลัสกล่าวว่าจะใช้กระบวนการเปลี่ยนผ่าน 1-2 ปี จากนายหน้าประกันภัยซึ่งบริษัทได้เป็นพาร์ตเนอร์กับกรุงไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน จะเปลี่ยนไปเป็นรู้ใจประกันภัย เขากล่าวว่ากรมธรรม์ที่มาจากรู้ใจประกันภัยจะเริ่มเห็นได้ช่วงต้นปี 2024 ทันที
การที่บริษัทได้เข้าซื้อ FWDGI เป็นเพราะว่าต้องการควบคุมตั้งแต่การออกผลิตภัณฑ์อย่างกรมธรรม์ ไปจนถึงปลายน้ำอย่างช่องทางขาย หรือแม้แต่การบริการลูกค้า เมื่อการออกกรมธรรม์ได้โดยตรงยังมีข้อดีอีกเรื่องคือบริษัทมีมาร์จิ้นดีมากขึ้น
นอกจากนี้หลังจากที่ปิดดีลกับ FWDGI ก็จะมีการจัดพอร์ตกรมธรรม์ใหม่ โดยกรมธรรม์ที่ไม่ใช่จุดแข็งของบริษัทอย่าง กรมธรรม์ประกันมือถือ กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ก็จะยกเลิกไป แต่จะไปเน้นจุดแข็งของรู้ใจที่ขายกรมธรรม์ที่เน้นด้านยานยนต์ หรือสิ่งที่บริษัทถนัด
ขณะเดียวกันเขาก็ยืนยันว่าการเปลี่ยนผ่านลูกค้าของบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และจะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด ถ้าหากมีอะไรก็จะแจ้งลูกค้าให้ทราบ ทางด้านของนายหน้าประกันภัยเขาชี้ว่าใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ของทางบริษัท จะทำให้นายหน้าหรือโบรกเกอร์รายอื่นขายประกันได้สะดวกมากขึ้น
นิโคลัส ชี้ว่าปัจจุบันลูกค้าของรู้ใจตอนนี้มาจากจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร ทำให้บริษัทมองว่ามีโอกาสที่จะเจาะลูกค้าตามจังหวัดอื่นๆ สูงมาก โดยคาดว่า 40% ของโอกาสทางธุรกิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ของรู้ใจยังได้กล่าวว่าหลังจากนี้จะมีกรมธรรม์ใหม่ๆ และเจาะกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เช่น ประกันภัยบ้าน หรือ ประกันที่เกี่ยวกับ SME
ตั้งเป้า IPO ภายใน 5 ปี
สำหรับการทำกำไรในเครือรู้ใจ นิโคลัส ได้กล่าวว่าในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนั้นบริษัทมีกำไรแล้ว ทางด้านประเทศอินโดนีเซียนั้นตอนนี้บริษัทได้เป็นพันธมิตรกับ Sompo ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้กล่าวว่าถ้าหากจะทำให้กิจการที่อินโดนีเซียเติบโตนั้นจะต้องใช้เวลา 4-5 ปี
อย่างไรก็ดีสำหรับกำไรของทั้งกิจการเขาเองได้กล่าวว่ายังไม่ทราบ แต่มองถึงการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ ในมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม หรือแม้แต่ ไต้หวัน มากกว่า
สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจนั้น “รู้ใจ” ได้วางเป้าหมายเป็นผู้เล่น 1 ใน 10 ของประกันภัยด้านยานยนต์ ยานพาหนะ ในปี 2024 และจะเป็นผู้เล่น Top 3 ภายในอีก 5 ปีหลังจากนี้
ไม่เพียงเท่านี้ รู้ใจยังมีแผน IPO ภายใน 5 ปี ตั้งเป้าว่าจะมีเบี้ยประกันภัยแตะที่ 10,000 ล้านบาท นิโคลัสกล่าวว่าอาจดูตลาดหุ้นหลายที่ ซึ่งรวมถึงในประเทศไทย และพิจารณาเงื่อนไขทั้งการนำบริษัทในแต่ละประเทศเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แต่ละประเทศ หรือแม้แต่นำทั้งกลุ่มบริษัทเข้าระดมทุน รวมถึงอาจไประดมทุนที่ต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดีเขากล่าวว่ายังเป็นเรื่องของอนาคต
]]>บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ได้เปิดเผยผลประกอบการของธุรกิจว่า แม้ว่าแนวโน้มของเศรษฐกิ
ขณะเดียวกันเขาได้ชี้ถึงช่องทางดิจิทัลเป็นอีกช่องทางที่มียอดเบี้ยประกันเติบโต เช่นกัน ในปี 2022 มียอดเติบโตมากถึง 445% ขณะที่ตลาดโตแค่ 20% เขาชี้ว่าเนื่องจากลูกค้าต้องการที่จะหากรมธรรม์ที่เหมาะสมกับตัวลูกค้าเอง
ผู้บริหารสูงสุดของพรูเด็นเชียล ประเทศไทย ยังได้กล่าวว่าบริษัทได้ปรับปรุงบริการเกี่ยวกับลูกค้าอย่างมาก เช่น การให้ความสำคัญกับบริการของ Call Center เนื่องจากลูกค้าบางคนใช้ช่องทางดิจิทัลไม่ได้ ความสำคัญอีกข้อคือต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าไว้ใจ ผลที่ตามมาจะทำให้เกิดการบอกต่อในกลุ่มลูกค้า
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ของปี 2023 นั้นมีลูกค้าใหม่เข้ามา 105,000 คน โดยลูกค้าส่วนใหญ่ในไตรมาสนี้มาจากการขายประกันยผ่านธนาคาร (Bancassurance) ทำให้ลูกค้าทั้งหมดตอนนี้อยู่ที่ 1.93 ล้านราย
เขายังกล่าวว่าเบี้ยประกันภัยรับปีแรกในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 1,984 ล้านบาท และทำให้ล่าสุดบริษัทเป็น Top 6 ของตลาด เมื่อรวมกับทุกช่องทางการขาย
เตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่
ขณะเดียวกัน พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ได้จับมือกับ ทีทีบี ได้เปิดตัวแผนประกันสุขภาพล่าสุด ประกันชีวิตและสุขภาพ ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส สำหรับครอบครัว ประกันกองกลาง สำหรับครอบครัวทุกรูปแบบ โดยแชร์วงเงินค่ารักษาพยาบาลร่วมกั
นอกจากนี้บริษัทยังได้เตรียมออกแผนประกันด้านต่างๆ ที่ตอบโจทย์ลู
แผนธุรกิจในปีนี้
บัณฑิต ยังได้กล่าวว่า แผนธุรกิจในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างมาก โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพทั้งช่องทางการขายและช่องทางการให้สนับสนุนกับลูกค้า ขณะเดียวกันเขาก็ชี้ว่าวัฒนธรรมขององค์กรก็เป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องดังกล่าว เขาได้ยกตัวอย่างว่าถ้าองค์กรเน้นการทำงานร่วมกัน ไม่เกี่ยงเรื่องหน่วยงาน โดยมองที่เรื่องทำยังไงให้รวดเร็ว และทำงานที่เน้นลูกค้าได้ประโยชน์มากสุด
เขาชี้ว่าผลลัพธ์ขององค์กรที่ดีนั้นจะส่งผลทำให้มีผลประกอบการมีกำไร องค์กรมีความเข้มแข็ง เพื่อที่จะดูแลคนที่อ่อนแอหรือสังคมได้
เขายังได้ทิ้งท้ายว่าจุดแข็งของแบรนด์พรูเด็นเชียลคือ ความมั่นคงทางการเงิน ความเข้มแข็งในการทำธุรกิจ การดูแลสังคม หรือแม้แต่การปรับตัวให้เข้ากับสังคม เช่น การปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัล หรือแม้แต่การใส่ใจกับพนักงาน ไปจนถึง การยอมรั
ปรมาศิริ มโนลม้าย รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB Protect) ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของบริษัทว่า SCB Protect ได้เริ่มธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด เริ่มขายกรมธรรม์ประกันประเภทต่างๆ รวมถึงประกันชีวิตด้วย
อย่างไรก็ดีในปี 2021 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ไม่เปิดให้ขอใบอนุญาตได้ ซึ่ง คปภ. ได้เปิดให้ขอใบอนุญาตอีกครั้งในปี 2022 โดยถือว่าเป็นปีแรกที่ดำเนินการธุรกิจ และมีการขยายธุรกิจเป็นอย่างที่น่าพอใจ
ในปีที่ผ่านมา SCB Protect มีเบี้ยรับรวม 1,700 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 800 ล้านบาท และฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 แสนราย โดยมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 77% เบี้ยรับรวมเพิ่มขึ้น 145% รายได้รวมเพิ่มขึ้น 139% ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ยังได้กล่าวว่าตอนนี้บริษัทมีกำไรแล้วด้วย
เน้น 3 กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
ปรมาศิริ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการรุกหาลูกค้ารายใหม่ว่าตอนนี้เน้นทีมขายแบบเจอหน้า (Face to face) ซึ่งเธอมองเห็นโอกาสในต่างจังหวัด แม้ว่าการทำงานช่วงโควิดจะทำให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปก็ตาม ทำให้บริษัทตั้ง SCB Protect Online ด้วย การเข้าถึงลูกค้าอีกทางคือช่องทางออนไลน์ มีเปรียบเทียบกรมธรรม์ สามารถดูได้จากต้นจนซื้อกรมธรรม์จนจบ
แต่จุดแข็งที่มีคือการติดต่อลูกค้าผ่านพนักงาน Telesales และมีบริการสนับสนุนผ่าน Teleservices เช่น ลูกค้าคนไหนกดเข้าไปดูกรมธรรม์แล้วสนใจ ก็จะมีทีมงานติดต่อเข้าไป และในตอนนี้บริษัทกำลังเทรนให้พนักงานสามารถออกไปขายประกันด้านนอกได้
ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ยังได้ชูกลยุทธ์สำคัญในปีนี้ได้แก่
1.Omni Channel บริการไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์ หรือบริการการขายแบบเจอหน้า รวมถึงมีบริการ Call Center
2.นำ AI มาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เช่น การนำเสนอโปรโมชัน หรือแม้แต่การใช้ช่องทางที่ติดต่อลูกค้าแบบเหมาะสม ไปจนถึงค่าเบี้ยที่เหมาะสมกับแต่ละคน
3.ขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาค โดยบริษัทได้เตรียมขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาค เน้นการใช้คนในท้องที่ เพื่อที่จะเสนอกรมธรรม์ให้กับลูกค้าได้ดี
เปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคแห่งแรกที่เชียงใหม่
ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ได้กล่าวถึงการเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาค โดยเลือกที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมา ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดกลับมา นอกจากนี้ภาคเหนือซึ่งรวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแรงงานคืนถิ่นที่สูงมาก
ขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่ยังมีสาขาของ SCB พร้อมเปลี่ยนเป็นสำนักงานของ SCB Protect ทำให้มาเปิดสาขาที่นี่ก่อนเป็นที่แรก ซึ่งในช่วงการเปิดสำนักงานเพื่อให้ผู้ที่สนใจในตำแหน่งงานนั้นมีคนมาสมัครมากถึง 100 ตำแหน่ง ทำให้สร้างความมั่นใจในการเปิดสำนักงานที่นี่
การรุกศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคของ SCB Protect ได้รุกตลาดประกันภัยกลุ่ม ประกันพื้นฐานความคุ้มครองสำหรับความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับทุกวัย โดยสามารถทำได้ทั้งพนักงานองค์กร สมาชิกในองค์กรและครอบครัวของคนในองค์กร และอาชีพอิสระสามารถมีประกันปกป้องได้ ซึ่งราคาเริ่มต้นปีละ 225 บาท
หลังจากการเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคที่เชียงใหม่แล้ว เป้าหมายต่อไปของ SCB Protect คือขอนแก่น ล่าสุดบริษัทได้เปิดรับพนักงานมากถึง 300 ตำแหน่ง หลังจากนี้เธอได้เปรยว่าอาจขยายไปยังภาคใต้หรือไม่ก็ภาคตะวันออก
ปรมาศิริยังมองตลาดประกันนั้นน่าจะโตดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคพยายามเริ่มมองหาประกันมากขึ้น ตั้งแต่วัยรุ่นที่เริ่มทำงานนั้นเริ่มหาประกันคุ้มครองบ้างแล้ว เธอได้ยกตัวอย่างง่ายสุดคือประกันเดินทางกลายเป็นกลุ่มวัยรุ่นได้ซื้อมากขึ้นและยังมองว่าเห็นความสำคัญ ขณะเดียวกันเธอก็มองว่าอัตราการทำประกันของคนไทยยังต่ำ ซึ่งยังเป็นโอกาสของบริษัทอีกด้วย
นอกจากนี้เธอมองว่าลูกค้าไม่ควรทำประกันเกินค่าเบี้ย ทำเท่าที่ความสามารถของแต่ละคนที่สามารถจ่ายได้ และเธอได้แนะนำว่าฝ่ายขายว่าไม่ควรขายประกันจนลูกค้าไม่สามารถจ่ายเบี้ยได้
ปัจจุบัน SCB Protect มีรายได้จากภูมิภาคตอนนี้ 10-20% ปีหน้าจะอยู่ที่ราวๆ 30% หลังจากนี้ 3 ปีผ่านไปสัดส่วนกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดจะอยู่ที่ 40% และ 60% ตามลำดับ โดยปี 2023 นี้บริษัทคาดหวังรายได้รวมจะเติบโตมากถึง 1,600-1,700 ล้านบาท
]]>Asahi Shimbun สื่อในประเทศญี่ปุ่นรายงานข่าวว่า บริษัทประกันภัยของญี่ปุ่นหลายแห่งได้ออกกรมธรรม์คุ้มครองเด็กที่ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง หลังจากประเด็นดังกล่าวกลายเป็นปัญหาสังคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือแม้แต่ในอินเทอร์เน็ต
บริษัทประกันไม่ว่าจะเป็น Tokio Marine & Nichido Fire Insurance วางแผนที่จะขายกรมธรรม์ดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่เด็กๆ ต้องเผชิญ ถ้าหากเด็กถูกรังแก คุกคาม หรือโดนสะกดรอยตาม
กรมธรรม์ของ Tokio Marine & Nichido Fire Insurance จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการให้คำปรึกษาและรายการที่เกี่ยวข้องกับการย้ายโรงเรียนใหม่ เช่น ค่าลงทะเบียน ชุดเครื่องแบบใหม่ และอุปกรณ์การเรียน โดยมีวงเงินคุ้มครองมากถึง 200,000 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 49,874 บาท
นอกจากนี้บริษัทยังมีกรมธรรม์เพิ่มเติมจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 120 เยน ซึ่งครอบคลุมการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยของเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งและคุกคาม รวมถึงผลประโยชน์พิเศษที่ชดเชยค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย โดยการเคลมประกันนั้นจะต้องมีหลักฐานจากสถานีตำรวจด้วย
ขณะที่ AIG General Insurance ก็มีการเสนอกรมธรรม์ที่คุ้มครองเด็กที่ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งมาตั้งแต่ปี 2022 ที่ผ่านมา โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาและการย้ายโรงเรียนเมื่อเด็กถูกรังแกหรือคุกคามที่โรงเรียนหรือบนโซเชียลมีเดีย เช่นเดียวกัน แต่ไม่ต้องใช้หลักฐานจากสถานีตำรวจ
สื่อของญี่ปุ่นได้รายงานตัวเลขจากการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนกรณีการกลั่นแกล้งในโรงเรียนประถม มัธยมต้น และโรงเรียนอื่นๆ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่มากกว่า 610,000 กรณีในปีการศึกษา 2021 ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2022 นั้นเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่านับตั้งแต่ปีการศึกษา 2016
โดยสาเหตุดังกล่าวคาดว่า นักเรียนกำลังประสบปัญหาสุขภาพจิตและร่างกาย รวมถึงความเครียด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19
]]>ในไฟลิ่งดังกล่าวนั้นบริษัทประกันรายนี้ได้ใช้ที่ปรึกษาการเงินอย่าง HSBC รวมถึงผู้จัดจำหน่ายหุ้น เช่น สถาบันการเงินจีนอย่าง China Merchant Bank และสถาบันการเงินจากสหรัฐอเมริกาเช่น Morgan Stanley J.P. Morgan และ Goldman Sachs ด้วย
สื่อธุรกิจอย่าง Bloomberg ได้อ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า FWD นั้นคาดว่าจะระดมทุนมากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 34,650 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าบริษัทจะเข้าตลาดหุ้นของฮ่องกงได้ในช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ แต่ก็มีการเลื่อนการเข้าตลาดหลายครั้ง เนื่องจากสภาวะตลาดไม่เป็นใจ
ซึ่งเป้าในการระดมทุนของ FWD ถือว่าต่ำกว่าเป้าที่บริษัทเคยที่จะระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ที่ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่จะ IPO ในตลาดสหรัฐอเมริกา แต่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนเพิ่มมาขึ้น นอกจากนี้บริษัทประกันรายดังกล่าวต้องการที่จะเจาะตลาดประเทศจีน จึงทำให้พับแผนการเข้าตลาดหุ้นสหรัฐเพื่อระดมทุนลง
ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทประกันรายนี้ใช้วิธีระดมทุนนอกตลาดหลักทรัพย์จนได้เม็ดเงินมากถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีผู้ลงทุนหลายราย รวมถึง SCBX ที่ได้ลงทุนในบริษัทประกันรายนี้ หลังจากที่ได้ขายธุรกิจประกันชีวิตให้กับ FWD ไปด้วยมูลค่าสูงถึง 92,700 ล้านบาท
เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ บริษัทประกันรายดังกล่าวจะนำไปขยายธุรกิจต่อ ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา FWD ได้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่ใน Gibraltar BSN Life กิจการประกันชีวิตในประเทศมาเลเซีย
แหล่งข่าวของ Bloomberg ยังคาดว่าบริษัทประกันรายนี้อาจได้เข้าซื้อขายหุ้นในตลาดฮ่องกงได้ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้
]]>