MITSUBISHI – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Sep 2023 12:42:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่ไหวไม่ฝืน ‘มิตซูบิชิ มอเตอร์ส’ เล็งยุติการผลิตรถใน ‘จีน’ หลังยอดขายหดตัวหนักเพราะผู้บริโภคหันไปใช้รถอีวี https://positioningmag.com/1446245 Fri, 29 Sep 2023 10:36:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446245 หลังจากที่ จีน พยายามจะผลักดันประเทศไปใช้งาน รถอีวี หรือ รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งนั่นก็ทำให้ค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นเจ้าตลาดรถยนต์เครื่องสันดาปมียอดขายลดลงอย่างมาก รวมไปถึง บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ป ที่กำลังพิจารณาถอนการผลิตรถยนต์ในจีน เนื่องจากยอดขายที่ตกต่ำลง

ย้อนไปในช่วงเดือนธันวาคม 2022 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้พยายามที่จะพลิกยอดขายที่ซบเซาในตลาดจีนให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง โดยได้เปิดตัวรถยนต์อเนกประสงค์รุ่นเรือธง Outlander ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นไฮบริด อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้รถอีวี 100% อย่างรวดเร็วกว่าที่คาดไว้

ทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์สได้ หยุดสายการผลิตรถยนต์ในจีนตั้งแต่เดือนมีนาคม เนื่องจากยอดขายลดลง ขณะที่ค่ายรถอีวีในประเทศจีนกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น มิตซูบิชิจึงวางแผนที่จะมุ่งเน้นทรัพยากรของตนไปที่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน โดยกำลังเจรจากับบริษัทจีนเกี่ยวกับโรงงาน

ที่ผ่านมา มิตซูบิชิได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์สันดาปในมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวในจีนของบริษัท โดยโรงงานดังกล่าวเกิดภายใต้การร่วมทุนกับ Guangzhou Automobile Group

ทั้งนี้ มิตซูบิชิไม่ใช่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นเพียงรายเดียวที่ต้องดิ้นรนกับยอดขายที่ซบเซาในจีนแต่ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด ก็ปรับลดแนวโน้มยอดขายในจีนในปีงบประมาณ 2023 เหลือ 800,000 คัน จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 1.13 ล้านคัน ขณะที่ผู้ผลิตรถบรรทุก ฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด วางแผนที่จะรวบรวมมาตรการเพื่อปรับปรุงยอดขายในประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้

ส่วน มาสด้า มอเตอร์ คอร์ป ระบุเมื่อเดือนที่แล้วว่า ยอดขายของบริษัทในจีนในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ลดลง 17% จากปีก่อนหน้า แต่บริษัทยืนยันว่ายังไม่ได้พิจารณาที่จะถอนตัวออกจากตลาด

Source

]]>
1446245
สู้ไม่ไหว! รถยนต์ “Mitsubishi” ถอนโรงงานใน “จีน” หลังกระแสรถอีวีจีนเบียดจนยอดขายร่วง 60% https://positioningmag.com/1445862 Wed, 27 Sep 2023 14:25:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445862 “Mitsubishi Motors” ตัดสินใจถอนโรงงานผลิตรถในประเทศ “จีน” หลังยอดขายปี 2022 ร่วงลงถึง 60% เนื่องจากชาวจีนหันไปนิยมรถอีวีแบรนด์จีนมากขึ้น หลังจากนี้คาดว่า GAC พาร์ทเนอร์ร่วมทุนสัญชาติจีนของโรงงานนี้ จะทำการแปลงโรงงานไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทแทน

Nikkei Asia รายงานกระแสข่าวโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข่าวว่า ยอดขายของ Mitsubishi Motors ในจีนชะลอตัวลงมาพักใหญ่หลังจากชาวจีนหันไปนิยมรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์แบรนด์จีนมากขึ้น และไม่ได้มีเพียง Mitsubishi Motors เท่านั้นที่ประสบปัญหา แต่รถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นอื่นๆ ก็กำลังเผชิญปัญหาแบบเดียวกันในจีน

โรงงานของ Mitsubishi Motors ในจีนเป็นการร่วมทุนกับ Guangzhou Automobile Group (GAC) ลงทุนฝั่งละ 50% ตัวโรงงานตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน และมีข่าวการหยุดดำเนินการผลิตเพิ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานนี้เป็นโรงงานเดียวที่ Mitsubishi Motors มีในประเทศจีน

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานต่อไปว่า หลังฝั่งญี่ปุ่นถอนหุ้นออกไป คาดว่า GAC ที่ยังถือครองโรงงานแห่งนี้ จะเปลี่ยนโรงงานมาผลิตรถยนต์อีวีของบริษัท และจะพยายามรักษาการจ้างงานไว้ให้ได้มากที่สุด

สถานการณ์ของ Mitsubishi Motors แย่ลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2022 บริษัทมีการจำหน่ายรถยนต์ในจีนได้เพียง 38,550 คัน ต่ำลง 60% เมื่อเทียบกับปี 2021

ในช่วงปลายปีที่แล้ว บริษัทพยายามต่อสู้ในตลาดด้วยการส่งรถเอสยูวีรุ่น ‘Outlander’ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฮบริดลงสนามแข่งขัน แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบรับที่ดี จนนำมาสู่การถอนโรงงานออกจากจีน

หลังจากนี้ คาดว่าบริษัทจะหันมาทุ่มทรัพยากรทั้งหมดกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียแทน เพราะภูมิภาคนี้ถือเป็นภูมิภาคทำเงินให้กับ Mitsubishi Motors ได้ถึง 1 ใน 3 ของยอดรวมบริษัท

จากข้อมูลของ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งประเทศจีน ยอดขายรถอีวีในจีนเมื่อปี 2022 ขายได้ถึง 5.36 ล้านคัน พุ่งทะยานขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในจีนเมื่อปีก่อน ทั้งนี้ Mitsubishi Motors ไม่ได้ถือสิทธิบัตรการพัฒนารถอีวีในประเทศจีน เนื่องจากจะทับซ้อนตลาดกับ GAC

ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดรถยนต์จีน แบรนด์ต่างชาติจะต้องแข่งกับแบรนด์ท้องถิ่น MarkLines บริษัทวิจัย ประเมินว่า ในจำนวนรถยนต์ที่ขายได้ในจีน 23.56 ล้านคันเมื่อปี 2022 มีถึง 50.7% ที่เป็นแบรนด์จีนเอง สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเร็วมาก จากปี 2021 รถจีนยังมีสัดส่วนในตลาดที่ 45.5%

ส่วนรถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นก็กำลังถูกตีตลาด เมื่อปี 2022 รถญี่ปุ่นมีสัดส่วนในจีน 18.3% เทียบกับปี 2021 ที่เคยมีสัดส่วน 21.1%

มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและซีอีโอของ Nissan Motor เคยพูดถึงสถานการณ์ในจีนไว้ว่า “เรามาถึงจุดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ เพราะการแข่งขันลดราคาที่สาหัสในตลาด” เขากล่าว “เรากำลังพิจารณาตัวเลือกที่มี ซึ่งรวมถึงการพิจารณากลยุทธ์ในจีนกันใหม่ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบริษัทอื่น”

Mitsubishi Motors เริ่มการส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปยังประเทศจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1970s และเริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศตั้งแต่ปี 2006 ส่วนการตั้งบริษัทร่วมทุน GAC Mitsubishi Motors เริ่มต้นในปี 2012 โรงงานแห่งนี้เคยผลิตและจำหน่ายรถยนต์ได้สูงสุด 140,000 คันเมื่อปี 2018

สำหรับประเทศไทย GAC ก็เริ่มเข้ามาทำตลาดครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้เอง โดยส่งรถคอมแพ็คครอสโอเวอร์ AION Y Plus เข้ามาชิมลางในราคาเริ่มต้น 1,069,900 บาท และมีแผนจะมาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ใน จ.ระยอง เพื่อใช้ส่งออกไปในภูมิภาคนี้ด้วย

Source

]]>
1445862
ส่อง 21 บริษัทข้ามชาติใน ‘รัสเซีย’ ที่อาจ ‘ขาดทุน’ หนักจากวิกฤตสงคราม https://positioningmag.com/1375726 Mon, 28 Feb 2022 11:06:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375726 รัสเซีย กำลังถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ตลาดหุ้นและสกุลเงินของประเทศได้พังทลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า บริษัทระหว่างประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจในรัสเซีย ต้องติดร่างแห่ไปด้วย ดังนั้น ไปดูกันว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีสถานะสำคัญในตลาดรัสเซีย

1. CoCa-Cola

CoCa-Cola จดทะเบียนในลอนดอนเพื่อจำหน่ายสินค้าใน รัสเซีย ยูเครน และส่วนใหญ่ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่ง รัสเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุด ของบริษัทและมีพนักงานราว 7,000 คนในรัสเซีย

2. BASF

ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์สัญชาติเยอรมัน BASF (BASFY) ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งมีบริษัท Wintershall Dea เป็นเจ้าของร่วมกับกลุ่มนักลงทุน LetterOne ของ Mikhail Fridman เศรษฐีชาวรัสเซีย และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนทางการเงินของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่ถูกระงับ

3. BP

บริษัทน้ำมันของอังกฤษ BP เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยถือหุ้น 19.75% ใน Rosneft บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศ นอกจากนี้ยังถือหุ้นในโครงการน้ำมันและก๊าซอื่น ๆ อีกหลายโครงการในรัสเซีย

4. Danone

Danone ผู้ผลิตโยเกิร์ตสัญชาติฝรั่งเศส และเป็นผู้ควบคุมแบรนด์ผลิตภัณฑ์นม Prostokvanhino ของรัสเซีย ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 6% จากประเทศรัสเซีย

5. Engie

บริษัทสาธารณูปโภคด้านก๊าซของฝรั่งเศส ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมลงทุนของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ของ Gazprom

6. Metro

บริษัทค้าปลีกสัญชาติเยอรมัน ซึ่งมีพนักงานประมาณ 10,000 คนในรัสเซีย ปัจจุบันให้บริการลูกค้าประมาณ 2.5 ล้านคน

7. Nestle

เนสท์เล่ บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคของสวิส ปัจจุบันมี โรงงาน 6 แห่งในรัสเซีย ซึ่งรวมถึงโรงงานที่ทำขนมและเครื่องดื่ม ตามเว็บไซต์ของบริษัท ในปี 2020 ที่ผ่านมา เนสท์เล่มียอดขายจากรัสเซียประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์

8. Renault

เรโนลต์ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศสถือหุ้น 69% ในบริษัทร่วมทุน Avtovaz ของรัสเซีย ซึ่งอยู่เบื้องหลังแบรนด์รถยนต์ Lada และจำหน่ายรถยนต์ได้มากกว่า 90% ในประเทศ

9. Rolls-Royce

โรลส์-รอยซ์ ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ให้กับเครื่องบิน แม้จะระบุว่าตลาดรัสเซียมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 2% จากรายได้รวมทั้งหมด แต่ 20% ของการนำเข้าไททาเนียมซึ่งใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องยนต์และล้อลงจอดสำหรับเครื่องบินโดยสารระยะไกลมาจากประเทศรัสเซีย

10. Shell

บริษัทน้ำมันของเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าของ 27.5% ของโครงการก๊าซธรรมชาติ Sakhali-2 ซึ่งมีกำลังการผลิต 10.9 ล้านตันต่อปีและดำเนินการโดย Gazprom นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมทุนของ Nord Stream 2

11. Safran

บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นของฝรั่งเศส ซึ่ง มีรัสเซียเป็นซัพพลายเออร์ไทเทเนียมรายเดียวที่ใหญ่ที่สุด ของบริษัท แม้ว่าบริษัทในฝรั่งเศสจะระบุว่า รัสเซียนั้นจัดหาซัพพลายให้น้อยกว่าครึ่งของความต้องการทั้งหมด

12. TotalEnergies

บริษัทน้ำมันของฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยถือหุ้น 19.4% ใน Novatek ของรัสเซีย ดอกเบี้ย 20% ในการร่วมทุน Yamal LNG, 21.6% ของ Arctic LNG 2 ถือหุ้น 20% ในแหล่งน้ำมัน Kharyaga และการถือครองต่าง ๆ ในภาคธุรกิจหมุนเวียน การกลั่น และเคมีภัณฑ์ของประเทศ

13. Uniper

โครงการสาธารณูปโภคของเยอรมันได้รับเงินลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์จาก Nord Stream 2 พร้อมด้วยโรงไฟฟ้า 5 แห่งในรัสเซียซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 11.2 กิกะวัตต์ ซึ่งให้พลังงานประมาณ 5% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของรัสเซีย นอกจากนี้ยัง นำเข้าก๊าซธรรมชาติของรัสเซียไปยังยุโรป

St. Petersburg, Russia – Shell Oil Truck

14. McDonald’s

แมคโดนัลด์ เครือร้านเบอร์เกอร์ได้จัดให้ประเทศรัสเซียเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงและยังคงเปิดสาขาที่นั่นตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา

15. Mondelez

มอนเดลีซ ผู้ผลิตขนม โอริโอ้ และเจ้าของ Cadbury กลายเป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตชั้นนำในรัสเซียตั้งแต่ปี 2018

16. ExxonMobil

เอ็กซอนโมบิล ยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันของอเมริกามีพนักงานมากกว่า 1,000 คนในรัสเซีย และอยู่ในประเทศนี้มากว่า 25 ปี บริษัทในเครือ Exxon Neftegas Limited (ENL) ถือหุ้น 30% ใน Sakhalin-1 ซึ่งเป็นโครงการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเกาะ Sakhalin ใน Russian Far East ซึ่งดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2538

17. Toyota

โตโยต้า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกมีโรงงานในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ Camry และ Rav4 นอกจากนี้ยังมีสำนักงานขายในกรุงมอสโก มีพนักงานประมาณ 2,600 คน รวมทั้งชาวญี่ปุ่น 26 คนในสำนักงานเหล่านั้น

18. Mitsubishi

มิตซูบิชิ บริษัทจัดจำหน่ายรถยนต์ผ่านตัวแทนจำหน่าย 141 แห่งในรัสเซีย และถือหุ้นในโครงการพัฒนาก๊าซและน้ำมัน Sakhalin 2 ซึ่งจัดหาก๊าซธรรมชาติให้ญี่ปุ่นและซื้อขายถ่านหิน อะลูมิเนียม นิกเกิล ถ่านหิน เมทานอล พลาสติก และวัสดุอื่น ๆ นอกจากนี้ยังจัดหาอุปกรณ์โรงไฟฟ้าและเครื่องจักรอื่น ๆ ให้กับรัสเซียอีกด้วย

19. Japan Tobacco

JTI ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบระหว่างประเทศชั้นนำของญี่ปุ่นเจ้าของบุหรี่ Winston มีพนักงานประมาณ 4,000 คนในโรงงานที่รัสเซีย โดยในปี 2020 บริษัทได้ชำระภาษีคิดเป็น 1.4% ของงบประมาณของรัฐสหพันธรัฐรัสเซีย โดยปริมาณกำไรประมาณ 1 ใน 5 ของบริษัทมาจากเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระรวมถึงรัสเซียและเบลารุส

20. Marubeni

เทรดดิ้งเฮาส์สัญชาติญี่ปุ่นมีสำนักงาน 4 แห่งในรัสเซีย ซึ่งขายยางล้อสำหรับอุปกรณ์ขุดและบริหารจัดการศูนย์ตรวจสุขภาพ

21. SBI Holdings

SBI Bank ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว โดยให้บริการสินเชื่อแก่บริษัทญี่ปุ่นที่กำลังขยายการดำเนินงานในรัสเซีย

Source

]]>
1375726
ส่อง 5 แบรนด์รถ EV ยอดขายสูงสุดในโลก ที่แสดงให้เห็นว่า ‘Tesla’ มีโอกาสถูกโค่นแชมป์ https://positioningmag.com/1318588 Tue, 09 Feb 2021 06:45:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318588 เปิดปี 2021 มาก็เจอแต่ข่าวเกี่ยว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือที่เราชอบเรียกกันว่า ‘รถ EV’ แต่รู้หรือไม่ว่าในปี 2020 รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายเท่าไหร่ ซึ่งจากข้อมูลของ EV Sales Blog พบว่าปี 2020 มีการขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 3,124,793 คัน โดยกว่า 68% เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ ‘Battery Electric Vehicle’ (BEV) หรือ ‘ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว’ ที่เหลือเป็นแบบ ‘ปลั๊กอินไฮบริด’ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)

โดย 5 อันดับแบรนด์รถยนต์ที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด (รวมทั้ง BEV และ PHEV) ได้แก่

Tesla ยอดขาย 499,535 คัน ส่วนแบ่งตลาด 16% *(Tesla มีเฉพาะรถ BEV)

Volkswagen Group ยอดขาย 421,591 คัน ส่วนแบ่งตลาด 13%

SAIC ยอดขาย 272,210 คัน ส่วนแบ่งตลาด 9%

Renault-Nissan-Mitsubishi Alliance ยอดขาย 226,975 คัน ส่วนแบ่งตลาด 7%

BMW Group ยอดขาย 195,979 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6%

Tesla Roadster 2020

เมื่อรวมยอดขายของแบรนด์ 5 อันดับแรกคิดเป็นสัดส่วน 51.7% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก และที่น่าสนใจคือ ‘Volkswagen Group’ แบรนด์ที่เคยอยู่อันดับ 6 ในปี 2019 แต่ภายในปีเดียวสามารถขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ของตลาดได้ แถมในในไตรมาสที่ 4 Volkswagen Group มียอดขายเป็นที่ 1 สามารถแซง Tesla ได้ โดยมียอดขาย 191,000 คัน ส่วน Tesla มี 183,000 คัน

คำถามคือปี 2021 Tesla จะสามารถรักษาแชมป์ได้หรือไม่ เพราะจากการเติบโตที่ก้าวกระโดดของ Volkswagen Group ที่หายใจรดต้นคอ Tesla ในปี 2020 ก็น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ความท้าทายที่ Tesla ต้องเผชิญได้แล้ว ขณะที่ Volkswagen ก็เริ่มรุกตลาดอย่างเต็มที่ โดยระบุว่ามีแผนจะลงทุน 35,000 ล้านยูโร (4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2025 พร้อมกับมีแผนจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าบริสุทธิ์ประมาณ 70 รุ่นภายในปี 2030 เพื่อแข่งขันกับ Tesla

จับตา ‘Volkswagen’ ในศึก ‘รถ EV’ เตรียมทุ่มเงิน 4.3 หมื่นล้านเหรียญงัดข้อกับ ‘Tesla’

ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายเริ่มเห็นโอกาสจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และพร้อมที่จะเข้ามาในสงครามนี้ ที่จะเห็นได้ชัดก็คือ ‘Apple’ ที่กำลังจะปิดดีลกับบริษัทรถยนต์ เช่น Hyundai หรือ KIA เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ Apple ออกแบบ นอกจากนี้ Peter Rawlinson อดีตหัวหน้าวิศวกรที่เคยคลุกคลีกับ Elon Musk กำลังสร้างรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในนาม Lucid Motors ที่การันตีว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าระยะไกลที่แล่นได้เร็วและไกลที่สุดในโลกมาแข่ง ดังนั้นคงต้องจับตาดูกันยาว ๆ ว่าอาณาจักรมูลค่า 8 แสนล้านดอลลาร์ของ Tesla จะมีไม้เด็ดอะไรมางัดกับคู่แข่งที่กำลังเกิดใหม่มาเรื่อย ๆ นี้

Peter Rawlinson อดีตลูกน้อง Elon Musk สร้างรถใหม่บนจุดขาย “ดีกว่า Tesla”

Source

]]>
1318588
ตลาดเดือดปุด ขายแอร์ยุคใหม่ต้องใช้พรีเซ็นเตอร์ https://positioningmag.com/1162041 Sat, 17 Mar 2018 07:52:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162041 เทคโนโลยีแอร์ล้ำยุค พูดไปก็เท่านั้น หาพรีเซ็นเตอร์เด็ดให้คนจำแบรนด์ได้ดีกว่า น่าจะเป็นคำตอบที่ตรงที่สุดของเครื่องปรับอากาศแทบทุกแบรนด์ในตลาดไทย ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเมืองร้อนแบบประเทศไทยเรานี้ ทั้งที่ควรจริงเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ควรจะขายได้ด้วยตัวเองมันเอง แต่หลาย ๆ แบรนด์ก็เลือกที่จะใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นดารา นักร้อง หรือคนดังที่เป็นที่นิยมในระดับต้น ๆ ณ ช่วงเวลาที่ปล่อยโฆษณาออกมา ซึ่งพรีเซ็นเตอร์นั้นก็ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศบางแบรนด์ประสบผลสำเร็จสมกับที่ทุ่มทุนใช้พรีเซ็นเตอร์เลยทีเดียว

เรามาเริ่มย้อนดูกันก่อนว่าแต่ละแบรนด์ของเครื่องปรับอากาศไทย ใช้พรีเซ็นเตอร์คนไหนกันมาแล้วบ้าง

Mitsubishi มิตซูบิชิ

  • ครอบครัวโกสิยพงษ์ พ.ศ. 2551
  • โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ พ.ศ. 2558-2561

Samsung ซัมซุง

  • อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ พ.ศ. 2553
  • แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ สงกรานต์ เตชะณรงค์ พ.ศ. 2556
  • ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต พ.ศ. 2560

LG แอลจี

  • ชาคริต แย้มนาม และ วุ้นเส้น วิริฒิพา ภักดีประสงค์ พ.ศ. 2557
  • ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ พ.ศ. 2560

Daikin ไดกิ้น

  • ณเดชณ์ คูกิมิยะ พ.ศ. 2558

Panasonic พานาโซนิค

  • ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ พ.ศ. 2555
  • แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และ นาย ณภัทร เสียงสมบุญ พ.ศ. 2560

Sharp ชาร์ป

  • เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา พ.ศ. 2557

Haier ไฮเออร์

  • บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ พ.ศ. 2561

Carrier แคเรียร์

  • ชาคริต แย้มนาม พ.ศ. 2554
  • อิศรา กิจนิตย์ชีว์ หรือ ทอม Room39 พ.ศ. 2561

จากแต่ก่อนที่ทางตลาดเครื่องปรับอากาศต่างห้ำหั่นกันผ่านลูกเล่นของตัวผลิตภัณฑ์เอง เช่น ดักจับฝุ่นละอองในอากาศ สั่งงานด้วยเสียง เป็นต้น

ตอนนี้พร้อมใจกันหันมาใช้พรีเซ็นเตอร์ เป็นตัวแทนส่งไปในสนามรบเพิ่ม อย่างเครื่องปรับอากาศของ Haier (ไฮเออร์) คว้าตัว บอย ปกรณ์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับทางเครื่องปรับอากาศเป็นครั้งแรกเนื่องจากอยากใช้กระแสการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ ควบคู่กับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่จาก Haier (ไฮเออร์)

บางแบรนด์ยังคงเลือกไว้วางใจใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดิมอย่างต่อเนื่องหลายปีติดกัน เพราะได้ผลตอบรับในด้านยอดขายที่ดีจากการใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดิม อย่าง Daikin (ไดกิ้น) ที่พรีเซ็นเตอร์ยังเป็นพระเอกดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ และ Mitsubichi (มิตซูบิชิ) ที่มีพรีเซ็นเตอร์เป็นพระเอกดังจากทางช่องเดียวกันอย่าง โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ซึ่งดูเหมือนว่านอกจากเครื่องปรับอากาศและโฆษณาที่นำโดยพรีเซ็นเตอร์จะทำงานร่วมกันในการช่วยขายผลิตภัณฑ์ให้แต่แบรนด์แล้ว กระแสของตัวพรีเซ็นเตอร์เองในช่วงเวลาที่โฆษณาออนแอร์อยู่ก็เป็นหนึ่งภาพจำ ทำให้ผู้คนจำภาพเครื่องปรับอากาศนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

เห็นได้ชัดว่า เหตุผลที่ต้องเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเป็นอีกหนึ่งนักรบหลักในการต่อสู้ทางการตลาดกับแบรนด์คู่แข่ง มีด้วยกันหลายเหตุผล เพราะตัวพรีเซ็นเตอร์นั้นจะช่วยชูโรงและอธิบายลูกเล่นข้อดีต่าง ๆ ของตัวเครื่องปรับอากาศได้ดียิ่งขึ้น เรียกง่าย ๆ ว่าเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้านั่นเอง

อีกทั้งตัวพรีเซ็นเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็จะส่งผลไปยังผลิตภัณฑ์และแบรนด์ให้มีความเชื่อถือด้วย

นอกจากนี้นอกจากฝ่ายแบรนด์จะได้ผลประโยชน์หลักในการขายสินค้าของตนแล้ว ตัวพรีเซ็นเตอร์เอง ก็มีพื้นที่สื่อให้ผู้คนได้เห็นตลอดเหมือนกัน

เรียกได้ว่าได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย อย่างเช่น มิตซูบิชิ ที่มี โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เป็นพรีเซ็นเตอร์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ก็เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของแบรนด์เครื่องปรับอากาศที่เลือกใช้พรีเซ็นเตอร์และเป็นพรีเซ็นเตอร์ที่เหมาะสมกับหลาย ๆ ด้าน

ยิ่งตอนนี้อย่างตอนนี้กระแสท่านหมื่นจากละครดังบุพเพสันนิวาสก็ส่งผลให้คนไทยให้ความสนใจกับ โป๊ป ธนวรรธน์ มากขึ้น ตัวโฆษณาของ Mitsubichi (มิตซูบิชิ) เองที่มีโป๊ปแสดงนำก็ทำให้ผู้คนให้ความสนใจเข้าชมเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น

ช่วงเบรกโฆษณาของละครดังสะเทือนอโยธยาอย่าง บุพเพสันนิวาส ตอนนี้ ไม่ใช่แคร์ มิตซูบิชิ ส่งโฆษณาของที่ โป๊ป หรือ พี่หมื่นคนดัง มาออกอากาศอย่างถี่ยิบ และไม่ได้จำกัดแค่เครื่องปรับอากาศ แต่รวมถึงสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่โป๊ปรับเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับทั้งแบรนด์ภายใต้แนวคิด เราคิดจากชีวิตคุณ

หรือแม้กระทั่ง Panasonic (พานาโซนิค) ที่ใช้นางเอกเรตติ้งดีอย่าง แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ ร่วมกับพระเอกดาวรุ่งอย่าง นาย ณภัทร เสียงสมบุญ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คู่กัน ก็เพื่อดึงดูดให้ผู้คนมาสนใจชมสินค้ามากขึ้น แต่ก็ดูเหมือนว่าจะได้ผลในช่วงแรก เพราะกระแสละครของทั้งคู่จบไปค่อนข้างเร็วจึงเหลือแค่บางกลุ่มเท่านั้นที่ติดตามอยู่

ฉะนั้นจังหวะหรือทิศทางของกระแสก่อนจะเลือกพรีเซ็นเตอร์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เรียกง่าย ๆ ว่าพรีเซ็นเตอร์เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไปเลยก็ได้

เพราะเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ที่เมื่อแบรนด์ตัดสินใจเลือกใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์แล้ว ภาพลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์จึงเท่ากับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ด้วย.

]]>
1162041
นิสสันซื้อหุ้นมิตซูบิชิ มอเตอร์ส หลังเผชิญวิกฤตหลอกลวงผู้บริโภค https://positioningmag.com/1091738 Fri, 13 May 2016 08:33:51 +0000 http://positioningmag.com/?p=1091738 นิสสัน มอเตอร์ ได้ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นใหญ่ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่ประสบปัญหาหนักหลังถูกพบว่าหลอกลวงผู้บริโภคในเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิงของยานยนต์

นิสสันจะซื้อหุ้นมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในสัดส่วนร้อยละ 34 ด้วยเงิน 237,300 ล้านเยน หรือราว 76,900 ล้านบาท และจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส จำนวนหุ้นที่นิสสันจะถือครองมากกว่าจำนวนหุ้นที่บริษัทในเครือมิตซูบิชิ 3 บริษัทถือครองรวมกัน

นิสสันกับมิตซูบิชิกล่าวว่าทั้งสองจะรวบรวมแผนหุ้นส่วนภายในวันที่ 25 พฤษภาคม

บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ทั้ง 2 บริษัทได้ตั้งบริษัทร่วมทุนเมื่อ 5 ปีก่อนเพื่อพัฒนายานพาหนะขนาดเล็ก แต่เมื่อเดือนที่แล้วบริษัทมิตซูบิชิได้เกิดเหตุอื้อฉาวเมื่อคณะเจ้าหน้าที่ของบริษัทได้ยอมรับว่าให้ข้อมูลเกินจริงในเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิงของยานยนต์ 4 รุ่น มีรถยนต์มิตซูบิชิ 600,000 คันที่ได้รับผลกระทบ จนบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์สถูกประเมินว่าหมดสิ้นอนาคตในการทำตลาดยนต์ในประเทศญี่ปุ่นอีกต่อไป

การเข้าซื้อกิจการของมิตซูบิชิ ทำให้แม้แต่นายโยะชิฮิเดะ ซุงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยังแสดงความหวังว่า ข้อตกลงระหว่างนิสสัน มอเตอร์และมิตซูบิชิ มอเตอร์สจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น

นายซุงะกล่าวแสดงความหวังว่าการเป็นพันธมิตรระหว่างทั้ง 2 บริษัทจะช่วยให้มิตซูบิชิสร้างระบบที่ไว้วางใจได้ในการป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดเพิ่มเติมอีก

ที่มา: http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000048114

]]>
1091738