Oishi – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 12 Mar 2023 12:23:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยเบฟฯ เตรียมถอดหุ้นโออิชิออกจากตลาดฯ หลังประกาศรับซื้อหุ้นสัดส่วนทั้งหมด 20.34% https://positioningmag.com/1422882 Sat, 11 Mar 2023 15:09:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422882 บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ประกาศซื้อหุ้นที่เหลือใน บมจ. โออิชิ กรุ๊ป สัดส่วน 20.34% และจะเตรียมนำบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังผู้ถือหุ้นของบริษัทได้โหวตไฟเขียว ซึ่งถือเป็นการปิดฉากหุ้นของโออิชิในตลาดหุ้นไทย

บมจ. โออิชิ กรุ๊ป (OISHI) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทคือ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ได้ประกาศรับซื้อหุ้นที่เหลือในจำนวน 76,279,602 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 20.34% โดยราคาเสนอซื้อหุ้นอยู่ที่ 59 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะทำให้ บมจ. ไทยเบฟฯ ใช้เงินราวๆ 4,500 ล้านบาท

เหตุผลที่ทำให้มีการนำหุ้นของ OISHI ออกจากตลาดนั้นได้แก่ เรื่องของปริมาณซื้อขายหุ้นนั้นไม่ได้สูงมากนัก และยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเป็นบริษัทจดทะเบียน และยังรวมถึงความเป็นไปได้ในแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟฯ หลังจากนี้

นอกจากนี้บริษัทได้ชี้ถึงความคล่องตัวในการบริการรวมถึงการจัดโครงสร้างของทางไทยเบฟฯ หลังจากนี้

สำหรับไทยเบฟฯ ได้ซื้อหุ้นของ OISHI เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ด้วยดีลมูลค่าเกือบ 7 พันล้านบาท จาก ตัน ภาสกรนที ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเจ้าของกิจการในเวลานั้น เนื่องจากส่วนแบ่งทางการตลาดของชาเขียวโออิชิในช่วงเวลาดังกล่าวสูงถึง 63% รวมถึงกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นในเวลานั้นก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 50% เสริมพอร์ตกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ของไทยเบฟฯ

ก่อนในท้ายที่สุด ตัน ภาสกรนที จะกลับมาสู่แวดวงเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปอีกครั้ง

หลังจากนี้บริษัทจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว และจะต้องได้รับเสียงโหวตไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมดของบริษัท และยังถือเป็นการปิดฉากหุ้นโออิชิในตลาดหุ้นไทยอย่างเป็นทางการ

]]>
1422882
“โออิชิ” แตกไลน์ “เครื่องปรุงรส” ส่งน้ำจิ้ม/ซอสญี่ปุ่นบุกครัว สร้างรายได้นอกร้าน https://positioningmag.com/1320679 Wed, 24 Feb 2021 07:56:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320679 “โออิชิ” ลุยตลาดเครื่องปรุงรสเป็นครั้งแรก เปิดตัวน้ำจิ้ม และซอสปรุงรสสไตล์ญี่ปุ่น หรือซอสโออิชิ ประเดิม 3 สูตรแรก น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ซอสเทอริยากิ และซอสโชยุ ตอบโจทย์คนรักการทำอาหารกินเองที่บ้าน

ส่งซอสปรุงรส บุกครัวผู้บริโภค

อย่างที่ทราบกันว่าว่าวิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลต่อธุรกิจร้านอาหารอย่างหนักหน่วง ยิ่งการแพร่ระบาดในระลอก 2 ยิ่งซ้ำเติมแผลให้หนักมากขึ้นไปอีก หลายแบรนด์บอกว่าอาจจะหนักยิ่งกว่ารอบแรกอีกด้วยซ้ำ เพราะผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อแล้ว

ร้านอาหารเองจำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง งัดกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการสร้างรายได้นอกร้าน โดยที่ “โออิชิ” ได้แตกไลน์สินค้ากลุ่ม “เครื่องปรุงรส” เป็นสินค้าล่าสุด โดยจับกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมทำอาหารอยู่บ้าน เพราะตอนนี้ผู้บริโภคทานอาหารนอกบ้านลดลง

น้ำจิ้ม และซอสปรุงรสสไตล์ญี่ปุ่น ตราโออิชิ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ซอสโออิชิ” ได้พัฒนา และต่อยอดจากน้ำจิ้ม และซอสปรุงรสต่างๆ ที่มีให้บริการภายในร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ นำมาบรรจุลงในขวดแก้วแบบพาสเจอไรซ์ประเดิมด้วย 3 สูตรแรก ได้แก่

  • น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ขนาด 330 กรัม ราคาขายขวดละ 65 บาท
  • ซอสเทอริยากิ ขนาด 200 มิลลิลิตร ราคาขายขวดละ 67 บาท
  • ซอสโชยุ ขนาด 200 มิลลิลิตร ราคาขายขวดละ 67 บาท

เมขลา เนติโพธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ โออิชิ เปิดเผยว่า

“ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และการปิดเมือง กระทั่งการแพร่ระบาดระรอกใหม่นี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ นิสัยการกิน-ดื่ม หรืออาจกล่าวได้ว่า ผู้บริโภครับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง และส่วนใหญ่พอมีเวลาว่าง จึงสนใจหันมาเข้าครัวเตรียมอาหารและปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้านบ่อยขึ้น”

Oishi Group

วางขายร้านในเครือก่อน

เบื้องต้นกำหนดวางจำหน่ายผ่านร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิมากกว่า 200 สาขา ประกอบด้วย โออิชิ แกรนด์, โออิชิ อีทเทอเรียม, โออิชิ บุฟเฟต์, นิกุยะ, ชาบูชิ, โออิชิ ราเมน, คาคาชิ, รวมทั้ง โฮว ยู เป็นช่องทางขายหลัก พร้อมกับบริการ โออิชิ เดลิเวอรี่ ตั้งเป้าขยายช่องทางขายเข้าสู่ทั้งโมเดิร์นเทรดและคอนวีเนียนสโตร์ชั้นนำในเร็วๆ นี้

]]>
1320679
กางแผน “โออิชิ กรุ๊ป” 2020 : เครื่องดื่ม อาหาร RTE ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภค https://positioningmag.com/1261940 Sun, 26 Jan 2020 17:51:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261940 โออิชิ กรุ๊ปเปิดกลยุทธ์ปี 2020 บุกตลาดทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม อาหาร และแพ็กเกจจิ้งฟู้ด เดินหน้าด้วยนวัตกรรม แตกไลน์สินค้าพรีเมียม ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน ดันแพ็กเกจจิ้งฟู้ดเป็นธุรกิจหลักขาที่ 3 สร้างการเติบโต

เดินเกมหลักด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ

ต้องบอกว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ หลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ กันทั้งสิ้น เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต่างมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่จะมาเติมเต็มการใช้ชีวิตให้ดีมากยิ่งขึ้น แม้แต่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มเองต่างต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มัดใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา

ในปี 2019 ที่ผ่านมา “โออิชิ กรุ๊ป” ได้ครบรอบ 20 ปีพอดิบพอดี ในอดีตมีเพียง 2 ธุรกิจหลักเท่านั้น ได้แก่ ธุรกิจเครื่องดื่ม นั่นก็คือชาเขียว และธุรกิจอาหาร เป็นตระกูลร้านอาหารญี่ปุ่น แต่ในช่วงปีที่ผานมาได้ปัดฝุ่นกลุ่ม “อาหารพร้อมทาน” หรือแพ็กเกจจิ้งฟู้ดให้เป็นอีก 1 ธุรกิจหลัก รีแบรนด์ในชื่อ “โออิชิ อีทโตะ” รับเทรนด์ผู้บริโภคยุคอิ่มสะดวก

ในช่วงหลายปีที่ผานมาโออิชิ กรุ๊ปได้จับเทรนด์ของผู้บริโภคมาพัฒนาสินค้า และบริการอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ผู้สูงอายุ เทรนด์ดูแลสุขภาพ เทรนด์เรื่องความสะดวกสบาย หรือแม้แต่ทุกวันนี้ต้องเป็นเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม

เพราะฉะนั้นหัวใจหลักของการพัฒนาสินค้า และบริการจึงอยู่ที่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ต้องแตกต่างจากในตลาด และแตกต่างจากเดิม เทรนด์ดูแลสุขภาพมาแรง ต้องมีสินค้าที่ทานแล้วบำรุงร่างกายจริงๆ อย่างที่ล่าสุดได้เปิดตัว “โออิชิ โกลด์” เป็นไลน์เครื่องดื่มชาเขียวระดับพรีเมียม ซึ่งตลาดนี้มีการเติบโตสูง รับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ ทานน้ำตาลน้อยลง

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บอกว่า

“ปัจจุบันต้องยอมรับว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจถูก Disrupt จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านสุขภาพ ความสะดวกสบาย ความพรีเมียม ทั้งยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของ โออิชิ กรุ๊ป ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น ที่จะต้องก้าวตามให้ทัน พร้อมพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค”

“เครื่องดื่ม”  ขยายฐานผู้ดื่ม รุกพรีเมียม – เพิ่มส่งออก

สำหรับธุรกิจใหญ่อย่างเครื่องดื่มนั้น แม้ภาพรวมตลาดชาเขียวเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น และโออิชิยังครองตลาดเป็นเบอร์ 1 อย่างต่อเนื่อง แต่โจทย์หลักของปีนี้ก็คือต้องเป็นหนึ่งอย่างยั่งยืนให้ได้

เจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มเริ่มพลิกฟื้นหลังจากได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีสรรพสามิต แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคยังไม่กลับสู่ระดับเดิมเมื่อเทียบกับปี 2560 ดังนั้นกลยุทธ์ในการกระตุ้นการบริโภคด้วย 3 กลยุทธ์หลักดังนี้

  1. ขยายฐานผู้ดื่ม โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานผู้บริโภคใหม่เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น โดยใช้แพลตฟอร์มเกมผ่านแคมเปญ OISHI x ROV ซึ่งได้ทำให้ฐานผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในช่วงอายุ 13-24 ปี เพิ่มขึ้น
  2. ขยายฐานพรีเมียม ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ และผู้บริโภคที่เห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าจากธรรมชาติพร้อมยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด เปิดตัว “โออิชิ โกลด์ เกียวคุโระ” ชาเขียวที่ได้รับการยกย่องจากชาวญี่ปุ่นว่าเป็นหนึ่งในชาที่หายาก และให้รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ทำจากยอดอ่อนใบชาแท้นำเข้าจากไร่ชารางวัลจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่น
  3. ขยายตลาดส่งออก จากเดิมส่งออกเพียง 13 ประเทศ ปัจจุบันสามารถขยายการส่งออก 33 ประเทศทั่วโลก โดยสร้างความแข็งแกร่งในตลาดหลักคือกัมพูชาและลาว รวมถึงสร้างความเป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ ขยายตลาดในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและขายในระดับภูมิภาคด้วย

“ร้านอาหาร” เติมแบรนด์ใหม่ เสริมแกร่งพอร์ต

ในส่วนของธุรกิจร้านอาหาร ยังคงตอกย้ำจุดยืน “เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น” (King of Japanese Food) ในปีนี้ยังคงขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และเปิดแบรนด์ใหม่ที่จะเข้ามาเติมพอรืตให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยว่า

สำหรับ 4 กลยุทธ์หลักของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น โออิชิ ประกอบด้วย

  1. Growth Engine : สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ผ่านผลิตภัณฑ์ และเมนูใหม่ๆ การสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ น่าสนใจ และการขยายสาขาต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงและขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ (เพิ่มเติมจากการสั่งซื้อผ่านทางโทร. 1773) ผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง ซึ่งได้แก่ oishidelivery.com และ Food Delivery อย่าง GrabFood, LINE MAN และ foodpanda
  2. Re-engineering Brand’s Business Model : ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย เช่น รูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ ชาบูชิ “บริการ 24 ชั่วโมง” รับวิถีคนเมือง “สังคมคนนอนดึก”
  3. Reinvented Customers Experience : สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคผ่านสินค้า และบริการใหม่ๆ
  4. Spin-off Brands : พัฒนาและเปิดตัวแบรนด์ใหม่ ทั้งร้านอาหาร และร้านขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่น ได้แก่ โฮว ยู (HOU YUU), ซากาเอะ (SAKAE) จับกลุ่มลูกค้าระดับบน และ โอโยกิ (OYOKI) ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ซึ่งเป็นแบรนด์ร้านขนมหวานแบรนด์แรกของโออิชิ

Diversify สู่อาหารพร้อมทาน รีแบรนด์สู่ “โออิชิ อีทโตะ”

เทรนด์อาหารสำเร็จรูปมาแรงและโตต่อเนื่อง ในปี 2019 ที่ผ่านมาตลาดมีมูลค่า 40,000 ล้านบาท เติบโต 7-8% เป็นอาหารที่อยู่ในตู้เย็น กับอาหารแช่แข็ง หรือเรียกว่า RTE (Ready to Eat)

เมขลา เนติโพธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดอาหารอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง พร้อมทาน ได้เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคนในชุมชนเมืองมากขึ้น เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีคุณภาพ มีความสะดวกในการบริโภค และมีความหลากหลายของประเภทอาหาร”

ในปี 2019 โออิชิจึงทำการรีแบรนด์กลุ่มอาหารพร้อมทานอยู่ภายใต้แบรนด์ “โออิชิ อีทโตะ” ทั้งหมด เพื่อทำการตลาด และการสื่อสารที่ง่าย และเป็นการใช้จุดแข็งของแบรนด์โออชิในการทำตลาดด้วย

“เรามองเห็นโอกาสในตลาดมากมาย มองว่าเป็นโอกาสที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าโออิชิมีอาหารพร้อมทาน ตอนนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนมาก แต่ต้องทำให้เติบโตเรื่อยๆ ให้อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั้งวันตั้งแต่อาหารเช้า กลางวัน เย็น และอาหารว่างให้ได้ การมีอีกหนึ่งธุรกิจจะช่วยสร้างคความแข็งแรงมากขึ้น เราสามารถรู้ข้อมูลว่าลูกค้ามีความชอบอะไร แล้วมาพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ”

สำหรับผลประกอบการของ “โออิชิ กรุ๊ป” รอบปีงบประมาณ 2562 (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562) โดยมียอดรายได้รวม 13,631 ล้านบาท เติบโต 8.2% และผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท

  • ธุรกิจเครื่องดื่ม 6,501 ล้านบาท เติบโต 8.6%
  • ธุรกิจอาหาร 7,130 ล้านบาท เติบโต 7.9%
  • กำไรสุทธิรวมของบริษัท 1,229 ล้านบาท เติบโต 21.9%
  • กำไรจากธุรกิจเครื่องดื่ม 869 ล้านบาท เติบโต 12.6%
  • กำไรจากธุรกิจอาหาร 360 ล้านบาท เติบโต 52.4%

อ่านเพิ่มเติม เปิดผลประกอบการ “โออิชิ กรุ๊ป” ปี 62 ฟาด 13,000 ล้าน จ่ายปันผลสูงสุดเป็นประวัติการณ์!

]]>
1261940
“โออิชิ” แท็กทีม “ฟู้ดแพนด้า” เสิร์ฟเมนูดงบุริ – ราเมน อร่อยหลากหลาย ถึงหน้าประตูบ้าน https://positioningmag.com/1254846 Tue, 26 Nov 2019 07:30:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254846 อำนวยความสะดวกนักกินสุด ๆ !!! สำหรับ “โออิชิ” เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น ล่าสุดแท็กทีมร่วมกับ “ฟู้ดแพนด้า” (foodpanda) ผู้ให้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นชั้นนำของไทย พร้อมเสิร์ฟเมนูอาหารญี่ปุ่นอร่อยหลากหลาย ทั้งเมนูดงบุริ ข้าวหน้าล้น เพิ่มเนื้อ X2 และเมนูราเมน อร่อยเส้น อร่อยซุป จาก 2 ร้านดัง คาคาชิ และโออิชิ ราเมน ถึงหน้าประตูบ้านแล้ววันนี้

อิ่ม ฟิน กับอาหารญี่ปุ่นอร่อยหลากหลาย เลือกได้ตามชอบตั้งแต่เมนูดงบุริจากร้าน คาคาชิ (KAKASHI By OISHI) นำเสนอในคอนเซ็ป “ข้าวหน้าล้น เพิ่มเนื้อ X2” โดยเมนูไฮไลท์ อาทิ “ข้าวหน้าล้นหมูสไปซี่ไข่ออนเซ็น” เลือกใช้เนื้อหมูเฉพาะส่วนสันคอหมูและสามชั้นมาสไลซ์ก่อนผัดคลุกเคล้ากับซอสสไปซี่จนเข้าเนื้อ ให้รสชาติจัดจ้านสะใจ ครั้นพอจะเสิร์ฟก็ท็อปด้วยไข่ออนเซ็นเยิ้มๆ อร่อยถูกปากสุดๆ ไปเลย “ข้าวหน้าล้นเบคอนย่าง” นำเบคอนสไลซ์ชิ้นหนามาย่างบนเปลวไฟอ่อนๆ ให้สุกแต่พอเกรียม พร้อมจัดวางบนข้าวสวยญี่ปุ่นร้อนๆ จนล้นชาม เพิ่มความพิเศษด้วยการท็อปไข่มุกพอนสึก่อนเสิร์ฟ อร่อยแปลกใหม่…ต้องลอง ! และ “ข้าวหน้าล้นไก่กรอบซอสมาโย” เนื้อสะโพก 2 ชิ้นใหญ่ ๆ นำมาผสมกับผงสไปซี่คลุกเคล้าให้เข้าเนื้อ ก่อนจะนำไปชุบแป้งทอด ราดด้วยซอสมาโย สูตรเฉพาะทางร้าน กรอบนอกนุ่มใน ให้รสสัมผัสเปรี้ยว หวาน เผ็ด อย่างลงตัว

ไปจนถึงเมนูราเมนจากร้าน โออิชิ ราเมน (OISHI Ramen) นำเสนอในคอนเซ็ปต์ “อร่อยเส้น อร่อยซุป” โดยเมนูไฮไลท์ อาทิ “ทงคตสึ ชาชู ราเมน” ราเมนต้นตำรับแท้จากฟุกุโอกะ หมูชาชูหมักเข้าเนื้อย่างไฟยิ่งหอมอร่อย มาในน้ำซุปทงคตสึเข้มข้นและเส้นเหนียวนุ่ม ที่ซึมซับซุปไว้ให้อินกับรสราเมนแท้ ๆ จากแดนอาทิตย์อุทัย “มิโซะ แซลมอน ราเมน” แซลมอนสด ๆ ชิ้นใหญ่ ย่างไฟให้ยิ่งหอม เคียงคู่กับซุปมิโซะ และสาหร่ายวากาเมะ ให้รสทั้งทะเลฮอกไกโด และ “โชยุ คาคุนิ ราเมน” หมูสามชั้นตุ๋นนุ่มละลาย ในซุปโชยุราเมนหอมสดชื่น สาหร่ายแผ่นกรอบชิ้นใหญ่และหน่อไม้ ให้รสชาติราเมนญี่ปุ่นอร่อยเลิศแบบต้นตำรับ ซึ่งน้ำซุปที่นำมาใช้นั้นไม่ว่าจะเป็น น้ำซุปทงคตสึ น้ำซุปมิโซะ และ น้ำซุปโชยุ ล้วนเป็นน้ำซุปราเมนสูตรดั้งเดิมที่สั่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น

พร้อมส่งตรงอาหารญี่ปุ่นอร่อยหลากหลาย ทั้งดงบุริล้นๆ และราเมนร้อนๆ จัดเต็มรวมกว่า 80 รายการ จากร้าน คาคาชิ และโออิชิ ราเมน ถึงหน้าประตูบ้าน ผ่านบริการจัดส่งที่รวดเร็วทันใจของ‘ฟู้ดแพนด้า’แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

]]>
1254846
กลยุทธ์ Collaboration อาหาร+เครื่องดื่ม เห็นผล ครึ่งปีแรก 2019 “โออิชิ” กำไรโต 33.9% ประกาศปันผล 1.10 บาทต่อหุ้น https://positioningmag.com/1232015 Wed, 29 May 2019 07:39:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232015 ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ เข้ามากดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งเครื่องดื่มและอาหารสไตล์ญี่ปุ่นยังมีมากมายให้เลือกในท้องตลาด แต่โออิชิยังสามารถทำผลประกอบการครึ่งปีแรก 2019 ได้อย่างน่าพอใจ

จากการฟื้นตัวของตลาดเครื่องดื่ม ประกอบกับการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอาหาร และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการควบคุมค่าใช้จ่ายโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะการจัดรายการส่งเสริมการขายช่วงฤดูร้อนคร้ังล่าสุดได้อย่างดีขึ้น ภาพรวมต้นทุนจึงลดลง 32 ล้านบาท

ส่งผลให้ภาพรวมผลประกอบการครึ่งปีแรกของรอบบัญชีเป็นที่น่าพอใจ (ตุลาคม 2018 – มีนาคม 2019) โออิชิ มีรายได้รวม 6,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 568 ล้านบาท คิดเป็น 9% และมีกำไรสุทธิ 723 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 183 ล้านบาท คิดเป็น 33.9% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

เฉพาะไตรมาสสอง (มกราคมมีนาคม 2019) มีรายได้รวม 3,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 360 ล้านบาท คิดเป็น 11.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขณะที่กำไรสุทธิ 397 ล้านบาท  ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 153 ล้านบาทคิดเป็น 62.7% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

เมื่อแยกแต่ละส่วนของธุรกิจนงนุช บูรณะเศรษฐกุลกรรมการผู้จัดการบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับธุรกิจเครื่องดื่ม มีรายได้ 3,303 ล้านบาท เพิ่มข้ึนจำนวน 245 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8%

การเติบโตได้อานิสงส์จากการเติบโตของเครื่องดื่มภายในประเทศ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่การกลับมาของสายการผลิตเครื่องดื่ม UHT ที่สำคัญโปรโมชั่นหน้าร้อนที่ประสบความสำเร็จ ผ่านกลยุทธ์ Collaboration ระหว่างธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร อีกทั้งการส่งออกเครื่องดื่มเติบโตต่อเนื่อง โดยเติบโต 17% ในช่วงไตรมาสที่ 2 

ด้านธุรกิจอาหารมีรายได้ 3,546 ล้านบาท เพิ่มข้ึนจำนวน 323ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% โดยมีสาเหตุหลักจากการขยายสาขาร้านอาหารใหม่และการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม

ผลงานที่ดีนี้เองทำให้โออิชิประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีแรกในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 206,250,000 บาท มีกำหนดจ่าย 31 พฤษภาคม 2019

]]>
1232015
กางแผน “โออิชิ 2019” ลุยชาเขียวพรีเมียมรับเทรนด์สุขภาพ ปรับร้านอาหารไซส์เล็กเจาะเมืองรอง https://positioningmag.com/1203470 Mon, 17 Dec 2018 13:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203470 เรื่อง : Thanatkit

ธุรกิจอาหารและเครื่องดืมกำลังเผชิญ “ความท้าทาย” มากขึ้นทุกขณะ เพราะต้องยอมรับว่าตลาดมีการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองไปทางรายใหญ่กำลังแข่งกัน “เบ่ง” พอร์ตโฟลิโอ มีอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ ส่วนหน้าใหม่ “รายเล็ก” เข้ามาขอแบ่งพื้นที่ในท้องผู้บริโภค Share of Stomach ทำให้ “พี่เบิ้ม” ต้องหาทางรักษา “บัลลังก์” ของธุรกิจให้เหนียวแน่น

ปีที่ผ่านมา “โออิชิ” หนึ่งในยักษ์ใหญ่วงการอาหารและเครื่องดื่มมีการขยับตัวที่น่าสนใจหลายอย่าง ทั้งลุยตลาดชาเขียวบุกประเทศเพื่อนบ้าน อาหารขยายพอร์ตโฟลิโอให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งกิน “ในร้าน” และ “ในบ้าน” ส่วนปีนี้ทิศทางจะไปอย่างไร Positioning ขอพาไปผ่าแผน “โออิชิ” แบบเจาะลึกกัน

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้นิยามปี 2018 เป็นปีแห่ง “การเรียนรู้เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย” เพราะหลังบ้านมีการทดลองหลายๆ อย่างเพื่อหาช่องทางในการลุยเข้าหาผู้บริโภค ก่อนส่งต่อให้ปี 2019 ไม่ต้องมาลองผิดลองถูกแล้ว ทุกทัพสามารถวิ่งได้เลย โดยใช้งบลงทุน 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปรกติที่จะใช้ราว 800 ล้านบาทเท่านั้น

ต้องอย่าคิดว่าตัวเองอยู่ภายใต้บริษัทใหญ่ แต่ต้องคิดว่านี่คือบริษัทของตัวเอง ที่ต้องสร้างการเติบโตร่วมกัน

แม่ทัพใหญ่ตั้งความหวังถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในปี 2019 จำนวน 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1.ตอกย้ำความเป็นผู้นำ พร้อมเพิ่มช่องทางให้แบรนด์อื่นๆ ไม่สามารถตามทัน, 2.ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเครื่องดื่ม และ 3.เรื่องคนที่ต้องสร้างวัฒนธรรมแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะต่างคนต่างทำ

ลุยชาเขียว “พรีเมียม” รับเทรนด์สุขภาพ

เริ่มต้นด้วย “ธุรกิจชาพร้อมดื่ม” ซึ่งปีที่ผ่านมายังคงเผชิญโจทย์ใหญ่ ภาพรวมของตลาดที่ “หดตัว” ต่อเนื่อง

ข้อมูลจากนีลเส็นระบุปี 2016 “ตลาดชาพร้อมดื่ม” มีมูลค่า 14,886 ล้านบาท ปีถัดมา 2017 ลดลง 11% เหลือ 13,279 ล้านบาท และปี 2018 ตัวเลขเดือนกันยายนหดตัวไปแล้ว 9% เหลือ 12,026 ล้านบาท ที่สำคัญมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เพราะภาษีสรรพสามิตที่เพิ่งประกาศใหม่ ทำราคาขายต่อขวดปรับเพิ่มประมาณ 25% ขณะเดียวกันอัตราการเข้าถึงได้ลดลงจาก 58% เหลือ 54%

เพราะแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของชาเขียวอยู่ที่ “โปรโมชั่น ชิงโชค ที่ทั้ง “โออิชิ” และ “อิชิตัน” 2 ผู้เล่นหลักนำมาใช้เพื่อสร้างยอดขาย แต่เมื่อแรงจูงใจไม่ร้อนแรงเหมือนเคย สิ่งที่เหลืออยู่จึงเริ่มเป็นผู้บริโภคตัวจริง ดังนั้นสิ่งที่โออิชิต้องทำ อยู่ที่การเดินเข้าไปหา โดยกลุ่มที่มีโอกาสในตอนนี้คือ กลุ่มชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มาพร้อมกับอำนาจซื้ออันล้นเหลือ เพียงแต่พวกเขากลุ่มนี้หันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพมากขึ้น จึงต้องการบริโภคชาที่มีน้ำตาลน้อย

จึงเป็นที่มาของการที่โออิชิจึงตัดสินใจรีลอนซ์  โออิชิ คาบูเซฉะ” ที่ทำตลาดมาได้ราว 5 ปี ให้มาอยู่ภายใต้ซับแบรนด์โออิชิ โกลด์” ที่ตั้งขึ้นเพื่อเจาะ “กลุ่มชาพรีเมียม” โดยเฉพาะ มีการเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ ปรับขนาดลดลง และเพิ่มราคาจาก 25 บาท เป็น 30 บาท พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มอีก 2 รสชาติใหม่คือ “เก็นไมฉะ” สูตรไม่มีน้ำตาลและน้ำตาลน้อย เริ่มวางขายตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีการตั้ง “เป๊ก ผลิตโชค” เป็นพรีเซ็นเตอร์

เจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม กล่าวว่า ถึงกลุ่มชาพร้อมดื่มพรีเมียม จะมีสัดส่วนยังไม่ถึง 10% ในตลาดรวม แต่ว่ามีโอกาสเติบโตได้สูง จากเทรนด์ผู้บริโภคที่หันมาสนใจบริโภคมากขึ้น โออิชิจึงไม่พลาดคว้าโอกาสนี้”

ขณะเดียวกัน “เจษฎากร” บอกว่า ปีนี้ได้หันกลับมาดูหลังบ้านแล้วพบว่ารสชาติยอดนิยมที่คิดเป็นสัดส่วนยอดขายกว่า 60% คือ “ฮันนี่เลมอน” จึงตัดสินใจนำรสชาตินี้มาสร้างความแข็งเกร่งและแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ พร้อมกับตีตลาดคนรุ่นใหม่ที่โออิชิพยายามทำ มาทำตลาดผ่านการทำแคมเปญที่ดึง BNK48 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เน้นสร้างแบรนด์อะแวร์เนส มีการปรับฉลากใหม่ที่ชูความเป็นฮันนี่เลมอนให้มากขึ้น

ด้านตลาดต่างประเทศ ในภาพรวมมีสัดส่วนยอดขาย 25% ซึ่งต้องบอกว่าต่างประเทศมีส่วนสำคัญที่เข้ามาโอบอุ้มตลาดในประเทศ เพราะปีที่ผ่านมาเติบโตกว่า 59% โดยโออิชิวางเป้าหมายที่ต้องการเป็น “แบรนด์ระดับ  Regional” โดยขณะนี้ได้นำสินค้าเข้าไปวางขายแล้ว 34 ประเทศ

โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ โดยกลุ่มแรกเป็นตลาดที่ทางแบรนด์ส่งทีมการตลาดเข้าไปดูแล มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เมียนมา ส่วนที่เหลืออยู่ในลักษณะเทรดดิ้ง ซื้อมาขายไป โดยปีนี้เตรียมขยายตลาดในยุโรปตะวันออกมาจีน และเกาหลีใต้

สิ่งที่แม่ทัพใหญ่โออิชิต้องการเห็นจาก “ธุรกิจชาพร้อมดื่ม” คืออยากเห็นการ Rebound กลับมาให้ได้ ถึง Volume จะไม่กลับมาเท่าเดิม แต่อย่างน้อยอยากให้สามารถดึงรายได้และผลกำไรให้กลับคืนมาอีกครั้ง

ปรับไซส์ร้านอาหารให้ “เล็ก” เจาะ “เมืองรอง”

ด้าน “ธุรกิจร้านอาหาร” โออิชิเชื่อว่าเทรนด์ของร้านอาหารญี่ปุ่นยังไปได้อีกไกล ซึ่งวันนี้เห็นได้จากรายเล็กๆ ที่เกิดขึ้นมาเต็มไปหมด แต่โออิชิเข้าไปเก็บไม่ทันจึงเป็นที่มาของการ ”ปรับเกมรบ” ใหม่

จากเดิมที่สาขาใหม่จะต้องมีพื้นที่จำนวน 250 – 300 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในทำเลพื้นที่เทียร์ 1 – 2 ที่มีประชาชนจำนวนมาก และการขยายสาขาก็มักจะไปกับไฮเปอร์มาร์เก็ต

เมื่อในระยะหลังการขยายไฮเปอร์มาร์เก็ตมีน้อยลง จึงเป็นอุปสรรคในการขยายสาขา

โออิชิเลยมองว่า การขยายตัวต่อจากนี้จะไม่ผูกกับไฮเปอร์มาร์เก็ต จึงปรับสาขาให้เล็กลงเหลือ 150 – 180 ตารางเมตร เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น สามารถเข้าอยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ที่มีเจ้าของเป็นคนในพื้นที แต่แข็งแรงเพราะเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดนั้นๆ

วิธีการนี้โออิชิเชื่อว่าจะตอบโจทย์ทั้งลูกค้าที่ต้องการเข้าร้านโออิชิ ขณะเดียวกันโออิชิก็ไม่กังวลด้านต้นทุน เพราะใช้งบลงทุนน้อย ทราฟฟิกวันละ 300 คนก็เพียพอที่จะคุ้มทุน ไม่เหมือนสาขาใหญ่ ที่อย่างน้อยต้องมีวันละ 500 คน เหมาะกับจังหวัดเล็กที่คนไม่ได้เยอะเหมือนกรุงเทพฯ ทำให้โออิชิสามารถเข้าถึงได้เร็วมากขึ้น

ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บอกว่า ขนาดที่เล็กลงทำให้จากนี้โออิชิสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ตามอำเภอหรือจังหวัดขนาดเล็กได้ ตัวอย่างร้านที่เปิดแล้ว เช่น อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น หรือจังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถทำให้โออิชิสามารถขยายระยะเวลาขายได้มากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องไปผูกติดกับเวลาการเปิดของห้าง เปิดร้านได้เร็วขึ้น โดยไตรมาสแรกเปิดไปแล้ว 8-9 สาขา ซึ่งปรกติแล้วกว่าจะได้เปิดร้านต้องไตรมาส 2 เพราะขนาดเดิมกว่าจะก่อสร้างเสร็จต้องใช้เวลา 2-3 เดือน

ในส่วนของร้านยังได้มีการเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป ทั้งตู้สั่งอาหารจากหน้าร้าน หรือจ่ายเงินและสั่งอาหารได้ที่โต๊ะเลย ผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

ภาพรวมของการขยายสาขาในปี 2019 จะมีทั้งหมด 19 สาขา มากที่สุดในรอบ 3-4 ปีที่มักจะขยายประมาณ 10-15 สาขาต่อปี โดยหลักๆ จะเป็นร้านชาบูชิประมาณ 10 สาขา อีก 5 สาขา เป็นอีทเทอเรียม ที่เหลือเป็นร้านอื่นๆ โดยปีที่ผ่านมาโออิชิมีสาขาทั้งหมด 525 สาขา เปิดร้านใหม่ไปราว 15 สาขา

นอกจากนี้จะให้ความสำคัญกับ “เดลิเวอรี เพราะเทรนด์ของคนเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในเรื่องของอาหาร แผนปีหน้าจึงต้องขยายช่องทาง สั่งผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นได้แล้ว ยังขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุม จาก 60% เป็น 80% ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล วางแผนลดระยะเวลาส่งสินค้าจาก 45 นาที ให้เหลือ 30 นาที

“สร้างแบรนด์” ให้ “อาหารสำเร็จรูป”

กลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Packaged Food) เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะเป็นขาหลักของโออิชิ แม้ว่าสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 10% ก็ตาม แต่ตลาดนี้มีโอกาสเติบโตอีกมาก จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เป็นครอบครัวเล็กลง ต้องการความสะดวกสบาย และประหยัดต้นทุนในการทำอาหาร

ปี 2018 จึงเป็นปีแรกที่แยกตัวธุรกิจออกมาอย่างชัดเจน มีการกำหนดกลยุทธ์และทิศทางที่แบรนด์กำลังจะเดินไป ส่งผลให้ปี 2019 สามารถเดินได้เต็มสูบ โดย “เมขลา เนติโพธิ์”  รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป บอกว่า ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังรู้จักแบรนด์อาหารสำเร็จรูปโออิชิน้อยมาก

ดังนั้นแผนปีหน้าโออิชิต้องการสร้างแบรนด์อาหารสำเร็จรูปให้แข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักมากขึ้น โออิชิจึงต้องแก้เกมด้วยการใช้ ‘One Brand’ โดยรวมอาหารทุกกลุ่ม เช่น แซนด์วิชและเกี๊ยวซ่ามาใช้ชื่อเดียวกันหมด เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค และป้องกันการสับสันกับแบรนด์อื่นๆ โดยจะประกาศชื่ออย่างเป็นทางการภายในไตรมาส 2

ขณะเดียวกันได้วางเกมขยายช่องทางใหม่ๆ และการกระจายสินค้าเชิงรุกผ่านการผนึกกำลังกับพันธมิตรกลุ่มธุรกิจในเครือ โดยตั้งเป้าเพิ่มยอดขายทั้งในช่องทางหลักซึ่งได้แก่ร้านสะดวกซื้อ และมุ่งเน้นเจาะตลาดใหม่ ได้แก่ OMT (Other Modern Trade) และ Food Service อีกด้วย

โดยเตรียมเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ HORECA ด้วยเห็นว่าเดี๋ยวนี้ร้านอาหารญี่ปุ่นเล็กๆ เกิดขึ้นเยอะมาก แต่ยังไม่มีร้านไหนขายวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องเช่นเส้นหรือเครื่องปรุง จึงเป็นช่องว่างให้โออิชิสามารถเข้าแทรกตัวได้

สำหรับผลประกอบการในรอบบัญชีปี 2018 (ตุลาคม 2017 – กันยายน 2018) “โออิชิ” ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า มีรายได้รวมทั้งสิ้น 12,596 ล้านบาท ลดลง 7.0% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม 15.1% ในขณะที่รายได้จากธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้น 1.7% ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,088 ล้านบาท ลดลง 30.1%

]]>
1203470
ซัมเมอร์ระอุ สงครามชาเขียวปะทุ “เป๊ก ผลิตโชค” จากโออิชิ ปะทะ “กันต์แมน” แห่งอิชิตัน แคมเปญใครปัง ! https://positioningmag.com/1159896 Mon, 05 Mar 2018 00:15:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159896 ซัมเมอร์นี้ ตลาดเครื่องดื่ม “ชาเขียว” แข่งขันกันหนักมาก ระหว่าง เจ้าใหญ่ “โออิชิ” และ “อิชิตัน” และตลาดในปีนี้ “มวยรอง” อย่าง “อิชิตัน” เปลี่ยนรูปเกมใหม่เมื่อการเปิดตัวแคมเปญ “อิชิตัน รหัสรวยเปรี้ยง ฝาเดียว คัน ขับมันส์กันทั้งบ้าน” ได้ใช้ “กันต์ กันตถาวร” พิธีกรจากรายการ The Mask Singer มาทำหน้าที่เป็น “กันต์แมน” แทน “ตันแมน” ที่เดิมอดีตเจ้าพ่อชาเขียว “ตัน ภาสกรนที” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่ตอกย้ำรับรู้แบรนด์ชาเขียว และเจาะกลุ่มเป้าหมายด้วยตัวเอง

การใช้กันต์ เพราะแบรนด์ต้องการเสนอความสดใหม่ เพื่อสร้างสีสันให้ตลาดชาเขียว ขณะเดียวกันยังเป็นการเอาใจกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เพราะกันต์เคยเป็นนักแสดงระดับ “พระเอก” มีละครทางช่อง ซึ่งคนดูรู้จักจำนวนมาก เมื่อเปลี่ยนมาทำหน้าที่พิธีกร ความดังยังขยายไปในหมู่สาว ๆ คนรุ่นใหม่ เพราะช่วงที่รายการดังกล่าวดังมาก ๆ ถึงขั้นตั้งฉายาให้เป็น “สามีแห่งชาติ”  

แม้แบรนด์ต้องการปลุกแบรนด์ให้มีความสดใหม่ แต่ลุคของกันต์ ทั้งการสวมเสื้อผ้า สวมหมวกคล้ายกับที่ตันทำมาตลาด รวมถึงการใช้กิมมิกในการเรียกกันต์แมน สัญลักษณ์ของชาเขียวอิชิตันนั่นเอง

ส่วนโฆษณาแบรนด์ยังคงเน้นเรื่องราวความสนุกสนาน แต่ด้วยแคมเปญหน้าร้อน เป็นการมอบโชคให้กับคนทั้งบ้าน จึงสื่อสารความเป็น “ครอบครัว” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง

“หน้าร้อนคือช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจเครื่องดื่ม ทุกค่ายต่างจัดหนักกิจกรรมทางการตลาด เพื่อสร้างยอดขายในช่วงเวลาสำคัญ ซึ่งอิติชันได้ทุ่มงบ 33 ล้านบาท จัดแคมเปญใหญ่ และการแจกของรางวัลใหญ่ปีนี้ เกิดจากการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคอิชิตันอยากได้ความสดใหม่ ใหญ่ จากแบรนด์” ตัน กล่าว

นับเป็นการพยายามแก้เกมการทำตลาดของแบรนด์ หลังเผชิญส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2560 มาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ระดับ 34%

ที่มา : บมจ.โออิชิ กรุ๊ป

ส่วนเบอร์ อย่าง “โออิชิ” ทุ่มงบ 300 ล้านบาท จัดเต็มกับแคมเปญ “โออิชิ โอทั้งคู่ ยูเลือกได้ ด้วยการเปิดทางให้ผู้บริโภคลือกของรางวัลได้ ระหว่างติดหนึบกับ เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร พรีเซ็นเตอร์ที่ใช้ติดต่อกันเป็นปีที่ เพื่อล่องทริปบนเรือสำราญ 50 รางวัล และอีกช้อยส์คือเลือกโตโยต้า ยาริส 100 คัน

สำหรับแคมเปญที่เปิดทางให้ “ผู้บริโภคเลือก” ของรางวัลที่อยากได้ อาจเป็นแคมเปญแรกของโออิชิ แต่ก่อนหน้านี้ “เจษฎากร โคชส์” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป เคยนำไปใช้กับการทำตลาดน้ำอัดลม “เอส” มาแล้ว ภายใต้บทบาทของเธอที่เป็นแม่ทัพดูแลการทำตลาดให้กับ “ไทยดริ้งค์” นั่นเอง

การทำแคมเปญแบบนี้ จะ “ได้ใจ” ผู้บริโภค กลุ่ม กลุ่มแรกคือแฟนคลับของเป๊ก ซึ่งก็คือ “นุชเชส” ที่มีจำนวนมหาศาล โดยคนเหล่านี้ยอมทุ่มเททุกวิถีทางเพื่อให้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจอยทริปกับศิลปินคนโปรด อีกกลุ่มคือ “คนชอบเที่ยว” จะได้ลุ้นไปเอ็นจอยกับทริปเรือสำราญ ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือผู้บริโภคตลาดแมส ที่ตั้งตารอจะถูก “หวยชาเขียว” บ้างนั่นเอง

นอกจากนี้ โออิชิ พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ด้วยการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สร้างเซอร์ไพรส์ มาทำให้ผู้บริโภคตื่นเต้น สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ตลอดจนการสร้าง Engagement เพื่อขยายฐานสู่การเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครัก (Brand love) จากปี 2560 แบรนด์มีคะแนนเพิ่มทุก ๆ ด้าน เช่น เป็นแบรนด์สำหรับวัยรุ่น มีความสนุกสนาน เป็นต้น

แบรนด์โออิชิ มีคะแนนเติบโตขึ้นทุกข้อ มุ่งสู่การเป็น Brand love ในใจผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการ “แลกหมัด” ซัดกันบนเวทีชาเขียวของ ค่ายนี้ คือการเลือกใช้ “พรีเซ็นเตอร์” ซึ่งทั้งคู่ “กันต์-เป๊ก” เป็นศิลปินแจ้งเกิดอีกครั้ง ดังรอบใหม่จากเวที The Mask Singer ซีซั่น และครองความนิยมในหมู่คนดู ผู้บริโภคได้อย่างยาวนาน ต่างฝ่ายต่างมี “ฐานแฟนคลับ” เป็นของตัวเอง ซึ่งการใช้ “ซุปตาร์ มาร์เก็ตติ้ง” ครั้งนี้จึงเป็นการวัดพลังเพื่อแย่งยอดขายในซัมเมอร์นี้ให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย

สำหรับภาพรวมตลาดขาเชียวในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยช่วง 9 เดือนแรก ตลาดติดลบ 6% โดยโออิชมีมีส่วนแบ่งการตลาด 46.4% ในประเทศ (ข้อมูลจาก Nielsen : ต.ค. – ธ.ค. 2560) โดยเฉพาะในช่องทางร้านค้าปลีก (Traditional Trade) มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 54.7% หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 4.6%

]]>
1159896
ผ่าแนวรบใหม่ “โออิชิ” ลุยร้านหรู-แพ็กเกจฟู้ด ตอบโจทย์กินที่ร้าน-ซื้อกลับบ้าน https://positioningmag.com/1153724 Wed, 17 Jan 2018 07:30:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153724 เมื่อบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ปักหมุด ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในระดับภูมิภาค (Regional) ภายในปี 2563 ภาระนี้จึงตกเป็นของบริษัทในเครือ “บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” ที่จะเป็นอีกหนึ่งในจิ๊กซอว์” สำคัญทางด้านนี้ 

“นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ควบหมวกใหญ่อีกใบที่คือกุมบังเหียน ธุรกิจอาหาร” ให้กับ ไทยเบฟ เล่าว่า พอร์ตโฟลิโอธุรกิจอาหารของเครือไทยเบฟมีตั้งแต่สตรีทฟู้ด ไปจนถึงร้านหรู (Fine dining) และอาหารมีครบทั้งไทย จีน อาเซียน ตะวันตก รวมทั้งเครือมีประมาณ 18 แบรนด์ เช่น โออิชิ, โซอาเซียน, Hyde&Seek

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล

ล่าสุด ได้นำบ้านเก่าสมัยรัชการที่ 5 ตั้งอยู่ในย่านสุรวงศ์ เปิดเป็นร้านอาหารบ้านสุริยาศัย (Baansuriyasai) ซึ่งเป็น Super Fine-Dining Restaurant เจาะคนมีกำลังซื้อสูงมากขึ้น รองรับนักท่องเที่ยว

ไทยเบฟทำหน้าที่บุกธุรกิจอาหารที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น (Non-Japanese food) ส่วนโออิชิมุ่งไปที่ร้านอาหารญี่ปุ่นทุกประเภท โดยหมากรบปี 2561 ของโออิชิที่น่าสนใจคือการโฟกัสธุรกิจอาหารไปยัง “ตลาดพรีเมียมและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป หรือ Packaged food” มาเสริมแนวรบชิงขุมทรัพย์แสนล้านมากขึ้น

ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมอาหารใหม่ๆ ส่วนธุรกิจเครื่องดื่ม “การโกอินเตอร์” ลุยตลาดอาเซียน จะใช้กลยุทธ์การเร่งสปีดเพื่อเป็น “เบอร์ 1” ให้ได้ตามเป้าหมายตามวิชั่น 2020

++กระแสมิชลินสตาร์มาแรง 

ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยปี 2560 มูลค่าตลาดรวมประมาณ 4 แสนล้านบาท เติบโต 2-4% เทรนด์ที่มาแรงในปีนี้ มี 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1.อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยพยายามมองหาสิ่งที่ดี มีประโยชน์ตอบการบริโภคของตัวเองมากขึ้น 2.บริการเดลิเวอรี่ โตเยอะ จากปัจจัยเทคโนโลยี ทำให้เกิดแพลตฟอร์มการส่งสินค้าที่ช่วยขยายตลาดเช่น ไลน์แมน ฟู้ดแพนด้า ส่งอาหารถึงที่ สนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคได้มากขึ้น

3.ทางเลือกในการบริโภคอาหารมีมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันมีตั้งแต่ร้านริมทาง (Street food) ร้านอาหารบริการด่วน (QSR) ไปจนถึงร้านหรู (Fine dining) ให้คนเลือกบริโภคตามกำลังเงินในกระเป๋า แต่ปีที่ผ่านมา “อาหารที่มีแวลู่” หรือ ราคาสูงคุ้มค่า กลายเป็นช้อยส์ที่ลูกค้าจ่ายมากขึ้น

จึงทำให้โออิชิมองการขยาย “ร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ใหม่” เพื่อเจาะตลาดไลฟ์สไตล์ Fin dining หรือพรีเมียมขึ้นนั่นเอง โดยแบรนด์และโมเดลร้าน บริษัทจะพัฒนาขึ้นเองมากกว่าการดึงเชนร้านดังมาเปิด

“ถ้าดูตลาดร้านอาหารในเมืองไทย เซ็กเมนต์พรีเมียมน่าสนใจ เห็นได้จากการมีมิชลินสตาร์ เชฟกระทะเหล็ก เข้ามา ร้านหรูดังๆ เข้ามา ทั้ง Burger & Lobster โฟร์ซีซั่น ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคชาวไทยก็สนใจและปรับตัวบริโภคอาหารพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่แพง แต่เราจ่ายแล้วคุ้มค่า กลุ่มนี้ยังมีมูลค่ามหาศาล คนพร้อมจ่ายมีเยอะ เราจึงสนใจร้านอาหารญี่ปุ่นพรีเมียมในรูปแบบการกินอาหารสดๆ เหมือนอยู่ที่ญี่ปุ่น” ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร ฉายภาพ

ไพศาล อ่าวสถาพร

ปัจจุบันโออิชิมีแบรนด์ร้านอาหารในพอร์ต 9 แบรนด์ เช่น โออิชิ บุฟเฟต์, ชาบูชิ, โออิชิ ราเมน, โออิชิ เดลิเวอรี่, อีทเทอเรียม และโออิชิแกรนด์ เป็นต้น ในจำนวนนี้ ร้านพรีเมียมมีเพียง “โออิชิแกรนด์” ที่เปิดให้บริการเพียง 1 สาขาเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาโออิชิเองก็พยายามยกระดับบางแบรนด์ให้พรีเมียมขึ้น เช่น อีทเทอเรียม นิกุยะ เป็นต้น

แม้ปีนี้จะโฟกัสร้านหรู แต่บริษัทยังขยายร้านโออิชิต่อเนื่อง โดยเตรียมทุ่มงบ 400 ล้านบาท เปิด 20 สาขาใหม่ จากปัจจุบันมี 244 สาขา และอีก 200 ล้านบาทจะใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหาร

+++ลุยอาหารสำเร็จรูป

ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เป็นครอบครัวเล็กลง ต้องการความสะดวกสบาย และประหยัดต้นทุนในการทำอาหาร ส่งผลให้เกิด “เทรนด์ใหญ่” อย่างการบริโภคอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อ หรือ Packed food ทั่วโลกมีการเติบโตขึ้นมาก และหากเทียบการบริโภคจะพบว่าคนออสเตรเลียรับประทานอาหารสำเร็จรูปสูงสุดในโลก เฉลี่ย 3 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ส่วนคนไทยเฉลี่ย 700 กรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าตลาดยัง “ขยายตัว” ได้มหาศาล

นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าปี 2563 ตลาดอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อของไทยจะเติบโตเป็นอัตรา 10% ต่อเนื่อง และจะมีขนาดตลาดราว 60,000 ตัน มูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท จากขนาดตลาด 50,000 ตัน มูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาทโดยผู้เล่นเจ้าตลาดได้แก่ ซีพี เอสแอนด์พี ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป เป็นต้น

เพื่อเข้าไปแบ่งเค้กตลาดอาหารสำเร็จรูป ปีที่ผ่านมา โออิชิ มีการเพิ่มทุนในบริษัทย่อย โออิชิ เซอร์วิส เกือบ 1,000 ล้านบาท เพื่อผลิตอาหารสำเร็จรูป จากปัจจุบัน โออิชิ เทรดดิ้ง ที่บ้านบึง จ.ชลบุรี ผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งประเภททานเล่น เช่น เกี๊ยวซ่า อาหารว่าง เช่น แซนด์วิช อาหารจานหลัก เช่น ข้าวหน้าต่างๆ และราเมน เพื่อทำตลาดผ่านร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ อยู่แล้ว

“เรามีร้านอาหารญี่ปุ่นที่สามารถไปทานที่ร้านแล้ว ก็ต้องการให้ผู้บริโภคซื้อกลับไปทานที่บ้านด้วย และสินค้าที่เราจับตลาดก็จะเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค มีตั้งแต่สแนคหรืออาหารทานเล่นเบาๆ ทานเมื่อไหร่ก็ได้ มีเกี๊ยวซ่า ที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการขายด้วยการนำไปผสมกับซุปได้ มีแซนด์วิชอุ่นร้อนทานได้ทุกวัน และอาหารพร้อมทานเช่นข้าว ราเมน ตอบโจทย์คนไทยที่รับประทาน 7 มื้อต่อวัน เช้า สาย เที่ยว บ่าย เย็น” กชกร อรรถรังสรรค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาหาร โออิชิ กรุ๊ป กล่าว

นอกจากตลาดในประเทศ บริษัทยังกระจายความเสี่ยงด้วยการส่งออกไปยังประเทศในอาเซียน ยุโรป สหรัฐฯ

++เครื่องดื่มซีนเนอร์ยีไทยเบฟ ผงาดเบอร์ 1 อาเซียน

กินอาหาร ต้องดื่มน้ำตาม แต่กลุ่มเครื่องดื่มปีนี้โออิชิขอ “สปีด” โตนอกบ้าน โดยจะซีนเนอร์ยี กับกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น (ทีซีซี กรุ๊ป) และไทยเบฟ ในการนำสินค้าไปกระจายและทำตลาดในประเทศเวียดนาม และเมียนมาเชิงรุกมากขึ้น จากที่ผ่านมา นำชาเขียวโออิชิไปขายและทำตลาดที่ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จนขึ้นเป็นเบอร์ 1 เรียบร้อยแล้ว

สำหรับเวียดนาม ทีซีซีฯ มีภูไท ไทคอร์ป ที่มีจุดเด่นด้านการกระจายสินค้าจากเวียดนามเหนือจรดเวียดนามใต้ได้ มีร้านสะดวกซื้อบีส์มาร์ท และร้านค้าปลีกแบบชำระเงินสด (แคชแอนด์แครี่) เอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เก็ต เป็นช่องทางขายที่สำคัญ ไม่เพียงเท่านี้ การที่ไทยเบฟได้ SABECO ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มในเวียดนามมา อาจได้เห็นการซีนเนอร์ยีในอนาคตด้วย

ส่วนการทำตลาดในเมียนมา จะอาศัยขุมข่ายการกระจายสินค้าของเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) เพื่อบุกตลาด จากก่อนหน้านี้ “ฮันเดรดพลัส” นำร่องขายสินค้ามา 4-5 ปีแล้ว

“ในลาว กัมพูชา โออิชิเป็นเบอร์ 1 แล้ว กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือการนำสินค้าที่ผู้บริโภคท้องถิ่นชื่นชอบไปทำตลาด เช่น เขมรชาเขียวทับทิม ขายดีเป็นอันดับ 2 รองจากเลมอน มีการเล่นขนาดสินค้า 500 มิลลิลิตร (มล.) 380 มล. เป็นต้น รวมถึงการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ ผู้บริโภคให้การตอบรับแบรนด์ดีมาก ส่วนลาวบริษัทได้ยึดประเพณีท้องถิ่น เช่น ไหลเรือ แข่งเรือยาว เพื่อสร้างแบรนด์ การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเข้าถึงผู้บริโภคปัจจุบันตลาดต่างประเทศโออิชิมียอดขายประมาณ 700 ล้านบาท หรือสัดส่วน 12% จาก 5 ปีก่อน ยอดขายไม่ถึง 100 ล้านบาท และตอนนี้เราต้องการสปีดเข้าสู่ตลาดภูมิภาคให้เร็วสุด มีการตั้งทีมงาน International commercial team รุกตลาดต่างประเทศเต็มที่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเบอร์ 1 ในอาเซียน”  เจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม โออิชิ กรุ๊ป บอก

เจษฎากร โคชส์

ส่วนตลาดในประเทศ ชาเขียวโออิชิยังเติบโตทั้งยอดขายและแบรนด์ โดยปีที่ผ่านมาตลาดรวมชาเขียวมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ตลาดติดลบ 6% แต่โออิชิเติบโต 5% ขณะที่คู่แข่งอิชิตันยอดตก 25%

ส่วนแบ่งตลาดชาเชียว

ผลประกอบการปี 2560 (1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560)

  • รายได้จากการขายรวม 13,551 ล้านบาท ลดลง 0.6% จากปี 59
  • รายได้จากธุรกิจอาหาร 6,497 ล้านบาท หดตัว 0.8%
  • ธุรกิจเครื่องดื่มมีรายได้  7,054 ล้านบาท หดตัว 0.4% 
  • กำไรสุทธิรวม 1,443 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.5% จากปีก่อน
  • กำไรจากธุรกิจอาหาร 210 ล้านบาท เติบโต 76.5% เนื่องจากการปรับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกและการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ธุรกิจเครื่องดื่มมีกำไรสุทธิ 1,233 ล้านบาท เติบโต 22.8%

]]>
1153724
เมื่อเจ้าสัวขายเบียร์มาขายไก่ทอด จิ๊กซอว์ต่อยอดธุรกิจอาหาร “ไทยเบฟ” ยิ่งน่าจับตา https://positioningmag.com/1135672 Wed, 09 Aug 2017 21:55:34 +0000 http://positioningmag.com/?p=1135672 หลัง “ดีล” ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มท็อป 5 เอเชียชื่อ “ไทยเบฟ” ซื้อกิจการร้าน “เคเอฟซี” มูลค่า 1.13 หมื่นล้านบาท อะไรจะตามมา

ค่ำวันที่ 8 .. มีข่าวฮอต! สะเทือนธุรกิจอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant : QSR) หลังบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศซื้อกิจการร้านเคเอฟซีกว่า 240 สาขาที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันและที่กำลังสร้างใหม่ในประเทศไทย จากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

โดย “ดีล” ครั้งนี้ดำเนินการผ่านบริษัทลูกของไทยเบฟคือบริษัท เดอะคิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (คิวเอสเอ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออีกทอดหนึ่งของไทยเบฟ คือบริษัทฟู้ด ออฟ เอเชีย จำกัด อันเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบธุรกิจอาหารให้กับเครือไทยเบฟนั่นเอง

คำถามความเห็นจำนวนมากเกิดหลังดีลว่าหมากรบเกมนี้ของไทยเบฟจะรุกอย่างไร ลองวิเคราะห์!

ไทยเบฟมียอดขายจากธุรกิจเครื่องดื่มมากกว่า 1.6 แสนล้านบาทต่อปี ธุรกิจอาหารมีเพียง โออิชิ ที่เป็นหัวหอกในการขับเคลื่อน มียอดขายไม่สูงมากนักประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท ส่วนกำไรอยู่ระดับหลัก 40 ล้านบาท

แต่ธุรกิจ อาหาร” ต้องคู่กับ เครื่องดื่ม” เพื่อให้ธุรกิจมีความครบเครื่องสมบูรณ์ การเติมเต็มด้วย “จิ๊กซอว์” ใหม่ๆ จึงสำคัญ และการเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) เป็นกลยุทธ์ของพ่อค้าเลือดมังกรอย่าง เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ราชันย์น้ำเมาผู้ครองอาณาจักรไทยเบฟ

ในแต่ละปีไทยเบฟทำยอดขายเหล้าเบียร์มากกว่า 1.6 แสนล้านบาท กำไรหลัก หมื่นล้านบาท ควักเงิน 1.13 หมื่นล้านบาท จิ๊บๆ เพื่อแลกกับ ขุมทรัพย์” ทางธุรกิจ จากยอดขายและความแข็งแกร่งของ KFC เบอร์ 1 ไก่ทอด แถมนำมาต่อยอดให้กับธุรกิจเครื่องดื่มในสเต็ปต่อไปได้ จะเป็นน้ำอัดลม น้ำเปล่า ครันเชอร์ โกโก้ กาแฟ ไอศกรีม ล้วนมีความน่าสนใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เพราะไม่มีใครทราบได้ว่า “เบื้องหลัง” และ “รายละเอียด” ของดีล และเคเอฟซีจะยังคงเป็นมาตรฐานการจำหน่ายสินค้าแบรนด์เดิม คงความต้นตำรับฉบับ KFC หรือเปล่า

แต่แน่ๆ ไทยเบฟและพ่วงบริษัทในเครือเช่นเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) มีทั้งน้ำอัดลมเอส ชาเขียวโออิชิ ไอศกรีม และอีกมากมาย ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นที่พร้อมจะ เสียบแทน” สินค้าเดิมได้อยู่แล้ว อีกทั้งโครงสร้างราคาเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้านอาหารก็จะมี “ราคาสูง” กว่าจำหน่ายในช่องทางร้านขายปลีกทั่วไป เช่น น้ำอัดลมเป๊ปซี่ ขนาด 550 มิลลิลิตร (มล.) ราคาจะเริ่มต้นที่ 25 บาท แน่นอนว่า “แพง” กว่าร้านข้างนอก จะด้วยค่าเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าย่านชุมชน ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนต่างๆ ที่สูงกว่าก็ตาม

อีกนัยหนึ่งที่ไทยเบฟจะได้หลังซื้อกิจการร้าน KFC คือ ฐานผู้บริโภค” ได้เรียนรู้และเข้าใจความต้องการลูกค้าเชิงลึก (Insight) อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ในการบริโภคอาหาร QSR ที่ไทยเบฟยังไม่เคยเข้าถึง ซึ่งนั่นสอดคล้องกับเอกสารเผยแพร่ข่าวที่ไทยเบฟร่อนออกมาชี้แจงเหตุผลถึงการซื้อกิจการครั้งนี้ว่า

จะช่วยไทยเบฟขยายสู่ธุรกิจอาหารและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันของผู้บริโภคในกลุ่มร้านอาหารบริการด่วนได้

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล

และ นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) ของไทยเบฟ ก็กล่าวว่า การเข้าซื้อร้านสาขาเคเอฟซีเป็นมากกว่าโอกาสในการขยายธุรกิจอาหารของไทยเบฟ”

เพราะด้วยเครือข่ายอันกว้างขวางของ KFC ในประเทศไทย จะทำให้กลุ่มไทยเบฟสามารถ เข้าถึงลูกค้าจำนวนมากทั่วประเทศได้โดยตรง” เรียกว่า “ยิงกระสุนการตลาดไป” ก็คงจะตรง “เป้าหมาย” มากยิ่งขึ้น ไม่พอ เธอยังบอกว่า KFC จะทำทำให้เข้าถึงกระแสนิยมต่างๆ และอยู่ระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมนี้ได้ และเป็นปัจจัยสำคัญมากในการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ด้าน QSA ซึ่งยกจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร จะช่วยทำให้กลับเข้ามารุกร้านอาหาร QSR อย่าง KFC อยู่ในจุดได้เปรียบในการเร่งขยายสาขาในประเทศเพิ่ม ข้อนี้ไม่ใช่แค่ความเชี่ยวชาญของ QSA แต่บริษัทแม่อย่างไทยเบฟก็มี ทุนมหาศาล” ที่จะตอบโจทย์การลงทุนขยายสาขา ไหนจะย้อนไปดูความพร้อมของบริษัทแม่ของไทยเบฟอีกขั้น ทีซีซี กรุ๊ป” ก็ครบครันทั้งธุรกิจห้างค้าปลีก บิ๊กซี, พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า, เกตเวย์ฯ ตลอดจนอาคารสำนักงานที่มี “พื้นที่” ให้ KFC สามารถไปเปิดสาขาได้

เราหวังว่าการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และจะไม่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มฝ่ายปฏิบัติการเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้วย

นงนุชกล่าว

การพัฒนา “ทรัพยากรบุคคล” มีความน่าสนใจตั้งแต่ตัว นงนุช” ที่เป็นอดีตผู้บริหาร ยัม เรสเทอรองตส์ฯ  เป็น ขุนพลการตลาด” แบรนด์พิซซ่า ฮัท มาก่อน วางกลยุทธ์รุกธุรกิจอาหารเป็นเวลานาน การทำงานร่วมกันระหว่างบ้านหลังใหม่กับหลังเก่า คงมีการ เรียนรู้” ยกระดับการทำงานระดับอินเตอร์ไปอีกขั้น

ก่อนที่นงนุชจะเข้ามานั่งเก้าอี้ กรรมการผู้จัดการ” บมจ.โออิชิ กรุ๊ป เธอได้รับหน้าที่จาก เจ้าสัวน้อย ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ให้ซุ่มปลุกปั้นธุรกิจอาหารอยู่ระยะหนึ่ง เช่น ร้านโซอาเซียน ร้านอาหารหม่าน ฟู่ หยวน ฯลฯ  รวมถึงเป็น แม่ทัพ” ของ FOA ด้วย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของฐาปนในการขยายธุรกิจอาหารที่ไม่ได้จำกัดแค่ “อาหารญี่ปุ่น” อีกต่อไป

ปี 2559 ที่ผ่านมา FOA ในเครือไทยเบฟ ยังร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท แม็กซิม กรุ๊ป ฮ่อง เปิดร้านเบเกอรี๋เบอร์ 1 จากฮ่องกง แบรนด์ “แม็ก เค้ก แอนด์ เบเกอรี” (mx cakes & bakery) ที่สยามพารากอน เป็นการเข้าสู่ตลาดเบเกอรี่มีมูลค่าตลาด 2.8 หมื่นล้านบาท

จิ๊กซอว์ เครื่องดื่มแสนล้าน” แกร่งครึ่งทางวิชั่นไทยเบฟ 2020 จิ๊กซอว์ตัวใหม่คือการเอาจริงกับ อาหารการกิน” แสนล้านบาทบ้าง

กินดื่ม ไปด้วยกันเป็นแพ็กเกจ ความมั่งคั่งจะไปไหนเสีย! ถ้าไม่อยู่ในมือเสี่ยเจริญ ผู้มีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท.

]]>
1135672
ชั่วโมงนี้ต้อง “เป๊ก ผลิตโชค” โออิชิ ดึงเป็นพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ “ชาเขียว” https://positioningmag.com/1134248 Wed, 26 Jul 2017 11:26:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134248 จากกระแสความดัง และแฟนคลับขาประจำติดตามมากมาย สร้างกระแสในโซเชียลมีเดียต่อเนื่อง ของเป๊ก ผลิตโชค โด่งดังมาจาก หน้ากากจิงโจ้ ในรายการ The Mask Singer ซีซั่นแรก ทำให้โออิชิ กรุ๊ปไม่รอช้า ต้องคว้าตัวมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ให้กับโออิชิกรีนที

โดยจะเริ่มประเดิมงานแรก ในหนังโฆษณาชุดใหม่ โออิชิ กลิ่นองุ่นเคียวโฮ” ในคอนเซ็ปต์ “เคี้ยวหนึบโดนใจ” ซึ่งโออิชิกลิ่นองุ่นเคียวโฮที่ถือเป็นสินค้าดาวรุ่งของโออิชิ สร้างรายได้เป็นอันดับต้นๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น โดยจะเริ่มออนแอร์ตั้งแต่วันนี้ (26 กรกฎาคม) เป็นต้นไป

หนังโฆษณาชุดนี้ ยังได้ดึงเอาเหล่าทีมกรรมการจาก The Mask Singer ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี อย่าง ดีเจนุ้ยซาร่า, ป๋าเต็ด ยุทธนา และหนึ่ง จักรวาล มาร่วมแสดงด้วย เพื่อสื่อสาร และสร้างการจดจำให้มากยิ่งขึ้น

เป๊ก ผลิตโชค ถือเป็นอีกหนึ่งนักร้องดังที่กลับมาแจ้งเกิดอีกครั้งในรายการ The Mask Singer เขายังมีแฟนคลับที่คอยติดตามอย่างเหนียวแน่น ผ่านการใช้โซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์ จนกลายเจ้าของฉายา ตั้งแต่สามีแห่งชาติไปจนถึงเรือนคุณหลวงที่แฟนคลับตั้งให้ในทวิตเตอร์ และยังสร้างปรากฏการณ์ห้างแตก ได้เกือบทุกครั้งที่ปรากฏตัว จนเป็นที่ต้องการของแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ เช่น ค่ายโอเปอเรเตอร์มือถือ อย่างเอไอเอส ที่ดึงไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ คู่กับ ทอม Room 39 เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นกลุ่มแมส

เช่นเดียวกับชาเขียวโออิชิที่วางจุดยืนในการสร้างแบรนด์เพื่อจับกลุ่มวัยรุ่นมาตลอดหลายปี จึงเลือกพรีเซ็นเตอร์คนในกลุ่มเหล่านี้ โดยเมื่อปีที่แล้ว โออิชิ ได้ดึงเอา ดีเจพุฒิ เกษตรสิน มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โปรโมตชาเชียวมาแล้ว 

สำหรับสถานการณ์ ชาพร้อมดื่มนั้น ไม่ได้สดใสเหมือนกับในอดีต ตลาดติดลบทุกปี แต่โออิชิยังทำยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นได้ หนึ่งในสินค้าสำคัญ คือ โออิชิองุ่น เคียวโฮ ที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จทั้งในแง่ยอดขายและภาพลักษณ์ โดยเน้นการทำการตลาดและการสื่อสาร ผ่านช่องทางที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นวัยรุ่น

]]>
1134248