ปัจจุบัน เอเชียแปซิฟิกคิดเป็น 51% ของบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2019 บ็อกซ์ออฟฟิศของเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 78% ของโลก เนื่องจากโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่เปิดให้บริการอีกครั้ง โดยญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองมาก เนื่องจากญี่ปุ่นมีประชากรมากกว่า 126 ล้านคน แต่ผู้ติดเชื้อ COVID-19 น้อยกว่า 300,000 ราย ขณะรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศลดลงแค่ 46% ที่ 1.27 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับอเมริกาที่ยอดหดถึง 80% ทำรายได้เพียง 2.28 พันล้านดอลลาร์เนื่องจากอเมริกามีผู้ติดเชื้อถึง 21.6 ล้านรายนับตั้งแต่การแพร่ระบาด
นอกจากนี้ ภาพยนตร์แอนิเมชันที่สร้างจากมังงะยอดนิยม ‘ดาบพิฆาตอสูร’ ยังกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศทำลายสถิติของ ‘Spirited Away’ ของ Hayao Miyazaki โดยมียอดขายตั๋วมากกว่า 322 ล้านเหรียญ
“ญี่ปุ่นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของโลกที่สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดี และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนจีน, ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ก็มีผู้ติดเชื้อลดต่ำลงอย่างมากทำให้บ็อกซ์ออฟฟิศฟื้นตัวและเติบโตได้ดี”
ในปี 2019 บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาคิดเป็น 30% ของยอดขายตั๋วทั่วโลก แต่ในปี 2020 ส่วนแบ่งการตลาดนั้นลดลงเหลือเพียง 18% ขณะที่เอเชียแปซิฟิกมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นในปี 2020 คิดเป็น 51% ของยอดขายตั๋วเมื่อเทียบกับปี 2019 ที่มี 41% ตามข้อมูลจาก Comscore และการวิเคราะห์จาก Gower Street
อีกปัจจัยที่นอกจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ทำให้ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่มีโอกาสเข้าชมภาพยนตร์ ซึ่งทำให้โรงภาพนตร์กลับมาเปิดได้อีกครั้งก็คือ มี ‘ภาพยนตร์ใหม่’ ที่ไม่ใช่หนังฮอลลีวูดเข้าฉาย เพราะอย่างในอเมริกา แม้โรงภาพยนตร์จะกลับมาเปิดอีกครั้งแต่ก็ไม่มีภาพยนตร์ใหม่ ๆ
“จีนมีภาพยนตร์สองเรื่องที่สร้างรายได้มากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในบ็อกซ์ออฟฟิศท้องถิ่น ได้แก่ The Eight Hundred และ My People, My Homeland ส่วนญี่ปุ่นก็มีดาบพิฆาตอสูร The Movie ที่ขึ้นแท่นภาพยนตร์ทำรายได้อันดับ 1 ของประเทศ” Paul Dergarabedian นักวิเคราะห์สื่ออาวุโสของ Comscore กล่าว
จากแนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การจะกลับไปสู่สถานการณ์ปกติจะต้องใช้เวลาและความอดทนสูงมาก ถ้ามีการบริหารจัดการ COVID-19 ที่ดี และภาพยนตร์ใหม่ที่น่าสนใจ จะสามารถร่วมกันจุดประกายเพื่อจุดชนวนความเจริญรุ่งเรืองของบ็อกซ์ออฟฟิศในปัจจุบันและอนาคตได้
]]>สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แน่นอนว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ปีนี้วิกฤตหนักจาก COVID-19 เพราะไม่ใช่แค่ต้องปิดให้บริการ เพราะแม้จะคลายล็อกดาวน์แต่โรงหนังก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มที่ และปัจจัยสำคัญเลยก็คือ ‘หน้าหนัง’ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่จะดึงดูดคนให้มาชมที่โรงภาพยนตร์ อย่างปีที่ผ่านมามีหนังอย่าง ‘Avengers : Endgame’ ขณะที่ปีนี้หนังฟอร์มยักษ์เลื่อนฉายไปปีหน้าถึง 10-20 เรื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์จึงต้องอาศัยคอนเทนต์หนังไทยมากขึ้น ส่งผลให้ปีนี้จะเป็นปีที่หนังไทยทำเงินสัดส่วนมากกว่า จากปกติหนังฮอลลีวูดจะครองสัดส่วนมากถึง 80%”
“เราไม่ได้ตกใจที่สุดท้ายแล้วหนังเลื่อนเยอะ เพราะเราเข้าใจคนทำที่เขาฉายได้ครั้งเดียว ซึ่งเราเองก็คิดไว้หลายแผนเพื่อรองรับ ขณะที่ฝั่งเอเชียเองยังไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่ายุโรปที่มีบริษัทล้มละลาย แต่ที่น่าสนใจคือ หนังไทยสามารถสร้างกระแสดึงคนกลับเข้ามาโรงภาพยนตร์ได้ดี อย่าง อีเรียมซิ่ง หรือ อ้ายคนหล่อลวง ก็น่าจะได้รับการตอบรับที่ดี”
ส่องอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์สหรัฐฯ’ 4.95 แสนล้าน ที่ยังไม่เห็น ‘แสงสว่าง’ ปลายอุโมงค์
ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทพยายามฟื้นธุรกิจโรงหนัง มีการปรับกลยุทธ์การตลาดมากมาย เช่น การส่งป๊อปคอร์นเดลิเวอรี่ การเปิดช็อปจำหน่ายสินค้าจากหนังยอดนิยม การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบโจทย์คอหนังให้จองได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างประสบการณ์ดูหนังในรถยนต์ การใช้พื้นที่จัดทอล์กโชว์ต่าง ๆ และล่าสุดได้ทุ่มงบ 50 ล้านบาทเปิดตัวโรง ‘The Bed Cinema by Omazz’ ที่นำเตียงนอนมาใช้รับชมภาพยนตร์
SF x Omazz ดึงเตียงน้อนเข้าโรงหนัง เปิดตัว “The Bed Experience by Omazz®”
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งที่ SF ไม่ได้ตั้งเป้าในด้านยอดขาย แต่ต้องการเน้นเพิ่มประสบการณ์ใหม่ในการดูหนัง และเพื่อให้คนได้ยินคำว่าโรงหนัง อยากให้คนนึกถึงโรงหนัง เพราะต้องยอมรับว่าตอนนี้ ‘คอนเทนต์’ เรา ‘อ่อน’ ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักอันดับ 1 มาจากการขายตั๋ว รองลงมาคือโฆษณา และการขายป๊อปคอร์น ที่เหลือคืออื่น ๆ อาทิ ช็อปขายของพรีเมียม การจัดงานอีเวนต์
“ตอนนี้เราพยายามใช้งานโรงภาพยนตร์ให้เต็มที่เพราะต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ปีนี้ไม่พร้อม เช่น จัดงานอีเวนต์ต่าง ๆ แม้บางอย่างก็ไม่ได้ทำรายได้มากมายแต่คนยังนึกถึงโรงหนัง อย่างการนำหนังเก่ามาฉายเราก็เน้นเอาหนังเก่าหาดูยาก ซึ่งก็จะช่วยดึงคนที่ไม่ได้ดูหนังในโรงมานานกลับมาดูอีกครั้ง” พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม
จริง ๆ ปี 2020 ถูกวางไว้เป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะโมเมนตั้มกำลังมาจากปี 2019 ที่ขึ้นพีคเพราะภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะ ‘Avenger Endgame’ อีกทั้งไลน์อัพหนังที่น่าสนใจ และเมื่อไลน์อัพหนังถูกเลื่อนไปปีหน้า ดังนั้นจึงคาดว่าปี 2021 จะเป็นปีทองของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ เช่น พยัคฆ์ร้าย 007 ตอน No Time to Die, Fast and Furious 9 ฯลฯ บริษัทจึงวางแผนลงทุนขยายโรงภาพยนตร์เพิ่ม 4 สาขา จำนวน 20 โรง จากปัจจุบันมี 64 สาขา จำนวน 400 โรง ส่วนงบการตลาดยังใช้เท่าเดิมคือ 100 ล้านบาท/ปี และในปีหน้ายังใช้เท่าเดิม
อย่างไรก็ตาม จากหน้าหนังที่หายไปจำนวนมากในปีนี้ และโรงหนังก็ยังให้บริการได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมที่เคยมีมูลค่า 6-7 พันล้านบาทในปีนี้อาจหายไปเกิน 50% เช่นเดียวกับ SF อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 เดือนสุดท้าย ยังมีหนังฟอร์มยักษ์ที่จะช่วยปลุกตลาดโรงภาพยนตร์ให้ฟื้นตัวบ้าง โดยเฉพาะ Wonder Woman 1984, Monster Hunter ดังนั้นอาจต้องรอดูอีกที
สตรีมมิ่งเป็นอีกหนึ่งในหัวข้อความ ‘กังวล’ ของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ดังนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ SF พยายามพัฒนาประสบการณ์ของการรับชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมองว่า ‘คอนเทนต์’ เป็นอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้สตรีมมิ่งกับโรงภายนตร์ อย่างในสตรีมมิ่งอาจจะเน้น ‘ซีรีส์’ ดังนั้น สำหรับการรับชมภาพยนตร์ให้ได้อรรถรสยังไงก็ต้องรับชมในโรงภาพยนตร์ โดยปัจจุบันราคาตั๋วเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาท โดยในปีนี้ปีหน้ายังไม่มีการปรับ เนื่องจากเห็นว่ากำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น ดังนั้นต้องยังประคองกันต่อไป
“เราต้องยอมรับก่อนว่ามันกระทบ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาตัวเอง แต่ไม่ใช่แค่สตรีมมิ่ง มันคืออะไรก็ตามที่แย่งความสนใจไป ดังนั้นตอนนี้เราไม่ได้มองว่า Major เป็นคู่แข่ง แต่ต้องร่วมมือกันดึงคนเข้าโรงเพื่อสู้กับทุกอย่าง ทั้งคอนเสิร์ต เกมมิ่ง”
‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน
เรายังมีความเชื่อว่าถ้าคอนเทนต์ถึงลูกค้าจะกลับมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะทำให้เขากลับมาได้แค่ไหน ซึ่งเราก็ต้องทำให้เขาได้ยินคำว่าโรงหนัง และสุดท้าย เรายังต้องอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนไปเรื่อย ๆ เราก็ต้องจัดการกับมันให้ได้
]]>อ่าน >>> ไม่ใช่แค่ ‘Hollywood’ แต่ ‘Bollywood’ ของอินเดียก็กำลังเจ็บหนักจาก COVID-19
วิกฤติครั้งนี้ถือเป็นวิกฤติใหญ่สุดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพราะไม่เคยมีครั้งไหนที่จะทำให้โรงภาพยนตร์ปิดได้ทั่วโลกแบบนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ปิดตัวไป 75 วัน รายได้ของเอส เอฟเป็นศูนย์ก็จริง แต่เมื่อกลับมาเปิดอีกครั้งโดยที่ขายตั๋วได้เพียง 25% ซึ่งอาจไม่เต็มในแต่ละรอบเพราะขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังฉายรอบสุดท้ายได้เพียง 6 โมงเย็น จากเดิมดึกสุด 4 ทุ่ม ดังนั้นรายได้ส่วนนี้ไม่สามารถมาอุดต้นทุนของโรงภาพยนตร์ได้
“เรามีรายจ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะตั๋วใบหนึ่งเราจะต้องแบ่งให้ค่ายหนังทันที นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายค่าเช่าสถานที่ ค่าพนักงาน น้ำไฟ บริการต่าง ๆ อีก ซึ่งรวมแล้วเป็นหลักร้อยล้านบาทต่อเดือน”
แม้ว่าที่นั่งจะถูกจำกัด แต่เอส เอฟยืนยันว่าไม่มีการขึ้นราคาตั๋ว ซึ่งราคาจะแตกต่างไปตามสาขา ตั้งแต่ 80 บาท จนถึงหลักพันบาท โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาท ก็แตกต่างกันตามสาขาและประเภทของโรงภาพยนตร์ นอกจากนี้ เอส เอฟมองว่า การที่โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด มันส่งผลดีให้กับหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งห้างสรรพสินค้า ทั้งร้านอาหาร เนื่องจากโรงภาพยนตร์ก็ถือเป็นแรงดึงดูดสำคัญ ซึ่งหลังจากที่โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด ทางร้านอาหารค่อนข้างดีใจที่เอส เอฟกลับมาไม่ใช่แค่ผู้ชม
“ร้านอาหารบอกว่ายอดกลับมาแค่ 20% ดังนั้นไม่ใช่แค่เรา แต่สิ่งหนึ่งที่เขาพูดกับเรา คืออยากให้โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด เพราะอยากให้มีอะไรที่ทำให้คนรู้สึกอยากออกจากบ้านมากขึ้น เราเลยคิดว่าการกลับมาของเรามัน ไม่ได้กลับมาเพื่อตัวเอง แต่เราสามารถประคองคนอื่นไปด้วยได้เหมือนกัน ส่วนคนดูกว่าหลายร้อยคนทักมาหาเรา บอกว่าคิดถึงโรงภาพยนตร์แล้ว”
ธุรกิจภาพยนตร์ขึ้นอยู่กับตัวภาพยนตร์ที่จะดึงดูดลูกค้าได้แค่ไหน ดังนั้นในช่วงแรกที่เปิดหนังใหม่และหนังระดับบล็อกบัสเตอร์อาจจะยังน้อย ดังนั้นในช่วงสัปดาห์แรกจะเป็นการฉายภาพยนตร์ที่ค้างไปตอนปิด COVID-19 ซึ่งกว่าจะมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อาจต้องรอช่วงกลางเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แต่โชคดีที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่แค่เลื่อนฉายไปปลายปี ไม่ได้เปลี่ยนไปฉายปีหน้า ซึ่งตอนนี้มีแค่เรื่องเดียวคือ Fast and Furious 9 ที่เลื่อนฉายไปปีหน้า
นอกจากนี้อาจจะต้องรอดูมาตรการของภาครัฐว่าจะผ่อนปรนมากแค่ไหน สามารถเปิดให้บริการได้ 100% หรือเปล่า ดังนั้นต้องรอลุ้นในช่วงไตรมาส 3
“ปกติภาพยนตร์จะต้องมีเวลาโปรโมตก่อน ดังนั้นภาพยนตร์ใหม่ ๆ ที่จะได้รับชมจะได้เห็นกันวันที่ 18 มิถุนายนนี้ เป็นอย่างต่ำ และคาดว่าเดือนกรกฎาคมจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะตอนนี้ค่ายหนังหลายค่ายก็ให้การตอบรับ”
ในวันที่รายได้เป็นศูนย์ มีแต่รายจ่าย เอส เอฟได้กลับมามองตัวเอง เพื่อหาจุดที่จะลดต้นทุนให้มากที่สุด มีการจัดการต่าง ๆ ที่ลงตัวกับพนักงานมากขึ้น รอบฉายเราก็ได้ทำการออกแบบให้ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ฉายให้ลูกค้าได้มากที่สุด และจากสถานการณ์ตอนนี้ ไม่มีแล้วแพลนระยะยาว 3 เดือน 6 เดือน แต่ทำเป็นรายสัปดาห์ โดยดูพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลัก อย่างการเปิดให้บริการในครั้งนี้ เอส เอฟได้มีมาตรการ #ดูแลด้วยใจ ที่ดึงจุดเด่นเรื่องความใส่ใจ และการให้บริการ เน้นความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานทุกคนมาต่อยอดเป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แต่โจทย์ใหญ่คือ ต้องทำให้ลูกค้าไม่ยุ่งยากและราบรื่นที่สุด
อ่าน >>> ‘SF’ ยืนยันไม่ขึ้น ‘ค่าตั๋ว’ แม้เหลือที่นั่ง 25% พร้อมออก 4 มาตรการ #ดูแลด้วยใจ
พาร์ทเนอร์หลัก ๆ ไม่หายไปไหน แม้ว่าโรงภาพยนตร์จะปิดหรือถูกลดจำนวน โดยทางเอฟ เอสมีการพูดคุยเจรจา ทั้งยืดเวลาสัญญาบ้างอะไรบ้าง อย่าง โค้ก ก็ชัดเจนว่าไม่ไปไหน นอกจากนี้ในส่วนพาร์ทเนอร์ค่ายภาพยนตร์ ทางเอส เอฟก็มีหน้าที่ช่วยเหลือ เพราะเขาเอาหนังมาให้ฉาย ดังนั้นอาจได้เห็นภาพยนตร์อยู่ในโรงฯนานขึ้น จากบางเรื่องที่ปกติจะอยู่แค่ 2 อาทิตย์ แต่ตอนนี้อาจจะเห็นอยู่กันเป็นเดือน
และในส่วนของแผนที่จะเข้าตลาดตลาดหลักทรัพย์ ในปีนี้ คงต้องเลื่อนไปก่อน เพราะด้วยสถานการณ์ โดยยังไม่ได้คิดว่าจะเข้าเมื่อไหร่ คิดแค่ต้องประคองให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ เพราะตอนนี้ถือเป็นช่วงที่ยากที่สุดของการกลับมา แต่โชคดีของเอส เอฟ ที่จะลงทุนทำอะไร ก็ระวังตัวตลอด เลยทำให้ผ่านช่วงนี้มาได้ และผู้บริหารก็ชัดเจนว่าเรื่องกำไรปีนี้ยังไม่ได้คาดหวัง ยังไงก็ต้องพากันไปให้รอดให้นานที่สุด
]]>คุณพิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟจะไม่มีการปรับราคาบัตรชมภาพยนตร์ขึ้น แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากจำนวนรอบฉายที่ลดลง เพราะต้องปิด 21.00 น. และจากการลดที่นั่งเหลือเพียง 25% เนื่องจากเอสเอฟไม่มีนโยบายผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้า เช่นเดียวกับในสภาวะปกติที่ยังคงฉายหนังและให้บริการแม้จะมีผู้ชมเพียงคนเดียว
อย่างไรก็ตาม หลายคนยังกังวลว่าหลังจากนี้จะมีภาพยนตร์เข้าฉายหรือไม่เอสเอฟยืนยันว่าค่ายภาพยนตร์ทุกค่ายยังพร้อมสนับสนุนและนำภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเข้าฉาย รวมถึงมีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่อีกหลายเรื่องที่จะทยอยเข้าฉายตลอดทั้งปีแน่นอน
“ที่ผ่านมาทุกธุรกิจและทุกคนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องให้กำลังใจกันและกันปรับตัวและช่วยเหลือกันเพื่อที่จะก้าวผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ สำหรับเอสเอฟแม้เราจะไม่มีรายได้เลยตลอดเกือบ 3 เดือน แต่เรายังยืนยันที่จะรักษาและดูแลพนักงานของเราทุกคน เช่นเดียวกับการดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด เราเข้าใจว่าความกังวลของลูกค้าไม่ใช่เรื่องผิด เพราะหน้าที่ของทุกคนก็ยังต้องช่วยกันยับยั้งการแพร่ระบาด แต่เป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า”
ทั้งนี้ พร้อมเปิดให้บริการ ภายใต้มาตรการ #ดูแลด้วยใจ ซึ่งประกอบด้วย
1.การดูแลความสะอาดและความปลอดภัยบริเวณ
-โรงภาพยนตร์ผู้ใช้บริการทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
-ลงทะเบียนเมื่อใช้บริการผ่านระบบไทยชนะหรือลงชื่อและข้อมูลติดต่อทุกครั้ง
-กำหนดจุดยืนรอคิวและจุดนั่งรอชมภาพยนตร์เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล
-มีการจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ให้บริการทุกจุดอย่างทั่วถึง
-พนักงานท่าความสะอาดทุกจุดสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 30 นาที
2.การจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ป๊อปคอร์นและเครื่องดื่ม
-ส่งเสริมการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพื่อลดการสัมผัส
-เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Kiosk) บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์จะเปิดให้บริการเว้นตู้เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล
-รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบัตรเอสเอฟพลัสและ E-Payment เพื่อลดการสัมผัสกรณีชำระเงินด้วยเงินสดจะต้องใช้ถาดรับและทอนเงิน
3.การดูแลความสะอาดและความปลอดภัยภายในโรงภาพยนตร์
-ตรวจวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการก่อนเข้าชมภาพยนตร์ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส
-กำหนดทางเข้าออกที่ชัดเจนและให้ทยอยเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อรักษาระยะห่างที่เหมาะสม
-กำหนดระยะห่างของการนั่งชมภาพยนตร์โดยมีการเว้นที่นั่งระหว่างชมภาพยนตร์
-พนักงานดูแลระบบปรับอากาศภายในโรงภาพยนตร์เพื่อตรวจสอบให้มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
-ทำการอบฆ่าเชื้อตัวยโอโซนภายในโรงภาพยนตร์หลังปิดให้บริการทุกวัน
-พนักงานทำความสะอาดพื้นที่อุปกรณ์ทุกจุดสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและเปลี่ยนผ้ารองศีรษะที่เก้าอี้ก่อนรอบฉายทุกรอบ
4.การดูแลพนักงาน
-พนักงานทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาสำหรับพนักงานที่ต้องใกล้ชิดลูกค้าจะสวมใส่ Face Shield และถุงมือด้วย
-มีการตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานก่อนเริ่มงานทุกวันหากมีอาการไข้ไอเจ็บคอจะต้องหยุดปฏิบัติงานและพบแพทย์ทันที
]]>ในยุคนี้ไม่ใช่แค่การลงทุนด้านดิจิทัลเพียงแค่อย่างเดียว แต่เรื่องบิ๊กดาต้าก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ตอนนี้ทุกวงการต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของ Loyalty Program กันอย่างหนักหน่วง ในตลาดโรงภาพยนตร์ก็เช่นกัน ต่างก็ออกบัตรสมาชิกเพื่อที่จะสร้าง CRM กับลูกค้า
ทางฟากของพี่ใหญ่จาก “เมจอร์ ซีนีเพล็กซ์” มีบัตร M Gen มานานแล้ว ส่วนทาง SF Cinema ได้เริ่มมีบัตร Movie Club Card เมื่อปี 2018 แม้จะช้ากว่าแต่ก็เป็นการชัวร์ มองว่าเป็นจังหวะที่ผู้บริโภคพร้อมแล้ว
ในตอนนั้นบัตร Movie Club Card ใช้เป็นบัตร Pre Paid สามารถเติมเงินเข้าไปข้างใน แล้วใช้จ่ายภายในโรงภาพยนตร์ได้ โดยมีค่าสมัคร 100 บาท อีกทั้งยังไม่สามารถใช้ร่วมโปรโมชั่นกับบัตรอื่นๆ ได้
แล้วนั่นก็คือ Pain Point สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่สนุกสนานกับการใช้บัตร Movie Club Card เท่าที่ควร ซึ่งทาง SF ก็ได้เรียนรู้ว่ายังไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคนี้ โจทย์ใหญ่ในปีนี้ก้คือการยกเครื่องบัตรนี้ใหม่ แล้วเปลี่ยนเป็นบัตร SF+ แทน
สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เล่าว่า
“ตั้งแต่มีนาคม ปี 2018 ได้มีทำบัตร Movie Club Card ปีที่แล้วมีสมาชิก 700,000 ราย เก็บข้อมูลมาเรื่อยๆ ก็เห็นว่าทำไมคนถึงไม่สมัครกัน ที่ผ่านมาก็ทำให้เราเรียนรู้ว่ายังไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทุกอย่าง อย่างแรกลูกค้าจะบอกว่าไม่คุ้มต้องเสียค่าสมัคร บางทีดูหนังไม่เยอะเท่าไหร่ อย่างที่สองแม้จะดูหนังเยอะแต่ก็ไม่มีแจกคะแนน หรือรางวัลอะไรให้คนที่ดูเยอะ และอย่างที่สามมีการแยกตามกลุ่มเด็ก นักเรียน คนทั่วไป และคนสูงอายุทำให้ไม่สามารถขยายไปกลุ่มพรีเมี่ยมได้ ในปีนี้จึงทำการปรับโฉมบัตรใหม่”
การเปลี่ยนมาเป็น SF+ จึงไม่มีการเสียค่าสมัครบัตร แต่ถ้าใครอยากได้แพ็คเกจเสริมตามกลุ่มอายุก็สามารถสมัครเพิ่มได้ เพื่อที่จะได้ส่วนลดค่าดูหนัง มีราคา 100 – 150 บาท รวมถึงบัตรเดิมจะไม่ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้ เพราะยุคนี้มีการใช้โปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตมากมาย แต่บัตร SF+ จะสามารถใช้ร่วมกับทุกโปรโมชั่น ทุกราคา
อีกหนึ่งไฮไลต์ของบัตร SF+ คือการแลกรีวอร์ดได้ ในอุตสาหกรรมโรงหนังในต่างประเทศอาจจะมีระบบการสะสมแต้มเพื่อแลกของรางวัลบ้าง แต่ SF ใช้ระบบการสะสมแต้มด้วยการนับจำนวนการดูภาพยนตร์เลย เช่น ดู 1 เรื่อง ก็เป็น 1 แต้ม ดูเพียงแค่ 3 เรื่องก็ได้รับของรางวัลแล้ว เพราะต้องการกระตุ้นให้คนมาดูภาพยนตร์เยอะๆ
รางวัลจะมีตั้งแต่บัตรชมภาพยนตร์ที่นั่งพรีเมียม 1 ที่นั่ง, ชุดป๊อปคอร์นและเครื่องดื่มขนาดกลาง 1 ชุด, บัตรชมภาพยนตร์ที่นั่ง Sofa Sweet 1 คู่, บัตรชมภาพยนตร์ที่นั่ง First Class 1 ที่นั่ง เป็นต้น
ความสำคัญของการออกบัตร SF+ ก็คอืการเก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้านั่นเอง ก็คือสงครามของบิ๊กดาต้าในวงการโรงภาพยนตร์ ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาทำการตลาดได้ต่อ หรือส่งโปรโมชั่นแบบ Personalize ทำให้กระตุน้ให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำได้อีก
บัตร SF+ จะทำหารโอนฐานลูกค้าจากบัตรเดิมมาทั้งหมด 700,000 ราย มีบัตรหมดอายุไปบ้าง แต่บัตรใหม่นี้จะไม่มีการหมดอายุ โดยสามารถแบ่งกลุ่มตามแพ็กเกจเสริม ได้แก่ กลุ่มนักเรียน 50% บุคคลทั่วไป 30% เด็ก 10% และผู้สูงอายุ 10% มีการตั้งเป้าว่าจะมีฐานสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านรายในปีหน้า
ปัจจุบัน SF มีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 64 สาขา 400 โรง 85,000 ที่นั่ง
]]>