Shein – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Apr 2024 10:30:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Shein วางแผนขายสินค้าอื่นเพิ่มเติมนอกจากเสื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ ยาสีฟัน หรือแม้แต่ของเล่น https://positioningmag.com/1471581 Tue, 30 Apr 2024 07:41:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471581 Shein แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน วางแผนขายสินค้าอื่นเพิ่มเติมนอกจากเสื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ ยาสีฟัน หรือแม้แต่ของเล่น ล่าสุดได้มีการพูดคุยกับแบรนด์ต่างชาติหลายแบรนด์แล้ว 

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Shein แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน กำลังอยู่ในขั้นตอนพูดคุยกับผู้ผลิตสินค้าหลายราย โดยบริษัทมีแผนที่จะวางจำหน่ายสินค้าเพิ่มเติมนอกจากเสื้อผ้า เครื่องประดับ เนื่องจากต้องการความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และต้องการหารายได้เพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้น แบรนด์จากประเทศจีน ได้เริ่มพูดคุยกับผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็น Colgate-Palmolive ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ หรือแม้แต่ Hasbro ผู้ผลิตของเล่นจากสหรัฐอเมริกา ให้นำสินค้าของตัวเองมาวางขายบนแพลตฟอร์มได้

Claire Lin ผู้บริหารของ Shein ที่ดูแลในส่วนด้านการตลาดของผู้ค้า ได้กล่าวเชิญชวนกับแบรนด์ต่างๆ ว่า ถ้าแบรนด์ต้องการที่จะเข้าถึงลูกค้าในระดับล้านราย Shein คือโอกาสดังกล่าว และเธอยังได้กล่าวว่าลูกค้าของบริษัทนั้นสนุกในการจับจ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม

Christina Fontana ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการแบรนด์สำหรับยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของ Shein ได้กล่าวในงานสัมมนาเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมาว่า ที่ผ่านมาทุกคนต้องการที่จะร่วมมือกับบริษัทในเรื่องของแฟชั่น แต่บริษัทได้ทำอะไรมากกว่านั้น

ผู้บริหารของ Shein ยังได้กล่าวเสริมว่า ถ้าหากลูกค้าต้องการแบรนด์ใดๆ แล้ว บริษัทจะนำแบรนด์เหล่านั้นมาให้กับลูกค้า

สาเหตุที่ทำให้แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน รายนี้ต้องมีการวางขายสินค้าอื่นเพิ่มเติม เนื่องจากต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ เพื่อที่จะสามารถต่อสู้กับคู่แข่งรายสำคัญคือ Amazon

Xiaofeng Wang นักวิเคราะห์ธุรกิจ E-commerce ของ Forrester ได้กล่าวว่า ถ้าหาก Shein ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ทางฝั่งของ Shein เองก็ต้องได้การรับรองจากแบรนด์ของฝั่งตะวันตกด้วยเช่นกัน

ในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน ได้รุกตลาดต่างประเทศอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา จนทำให้คู่แข่งหลายรายต้องปรับตัว งัดกลยุทธ์มาสู้ หรือแม้แต่การขยายธุรกิจไปยัง ยุโรป ลาตินอเมริกา หรือแม้แต่ในทวีปเอเชีย

ไม่เพียงเท่านี้การวางขายสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ยังเป็นการหารายได้เพิ่มเติมอีกทาง เพื่อปูทางเข้าตลาดหุ้น โดยผลประกอบการในปี 2023 ที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าแบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นอย่าง H&M ที่เป็นคู่แข่งจากทวีปยุโรปด้วยซ้ำ

ท้ายที่สุดต้องมาดูกันว่าแบรนด์ต่างประเทศรายใดจะลงมาวางขายสินค้าบน Shein บ้าง

]]>
1471581
Shein ปี 2023 มีกำไรมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว เติบโตมากกว่าเดิม 3 เท่า ปูทางสู่ IPO เร็วๆ นี้ https://positioningmag.com/1468414 Sun, 31 Mar 2024 11:07:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468414 Shein แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีนได้รายงานผลกำไรให้กับนักลงทุน ซึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ซึ่งมากกว่าคู่แข่งอย่าง H&M ไปแล้ว และบริษัทรอหน่วยงานกำกับดูแลในจีนอนุมัติให้บริษัทสามารถ IPO ในตลาดหุ้นนอกจีนได้

Financial Times รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกียวข้องว่า Shein ได้แจ้งผลประกอบการในปี 2023 ที่ผ่านมาให้กับนักลงทุนของบริษัท ซึ่งบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ซึ่งเติบโตมากกว่าเดิมถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าว 4 ราย ได้กล่าวว่า Shein มียอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) มากถึง 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตมากกว่าปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้กำไรของ Shein ยังแซงหน้าคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจฟาสต์แฟชั่นอย่าง H&M ที่มีกำไรในปี 2023 ราวๆ 820 ล้านเหรียญสหรัฐไปแล้ว แต่ยังตามหลัง Inditex ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่างเช่น Zara ซึ่งมีกำไร 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

Shein ก่อตั้งโดย Chris Xu ในปี 2012 ปัจจุบันธุรกิจฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีนรายนี้คาดว่ามีมูลค่าล่าสุดนั้นอาจสูงถึง 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.3 ล้านล้านบาท โดยธุรกิจนั้นเน้นขายเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นโดยเน้นราคาถูกกว่าเสื้อผ้าแบรนด์คู่แข่ง

อย่างไรก็ดีในช่วงที่ผ่านมา Shein ได้สร้างความกังวลให้กับคู่แข่งไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคา หรือแม้แต่ประเด็นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ของศิลปิน ไปจนถึงบริษัทกลายเป็นเป้าทางความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน โดยเฉพาะกรณีการใช้แรงงานชาวอุยกูร์ แม้บริษัทจะออกมาปฏิเสธแล้วก็ตาม

ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากจีนรายนี้กำลังรอหน่วยงานกำกับดูแลไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซจีน ซึ่งดูแลและกำกับบริการออนไลน์ของจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการอนุมัติให้ไฟเขียวในการเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้หรือไม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

]]>
1468414
ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion ปรับเงินรายชิ้น ให้เหตุผลทำลายสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/1465451 Thu, 07 Mar 2024 04:42:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465451 ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion โดยชี้ถึงการกระตุ้นทำให้คนจับจ่ายใช้สอยมากเกินไป โดยไม่นำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ขณะที่บทลงโทษคือการปรับเงินสินค้ารายชิ้นละ 10 ยูโร และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

สำนักข่าว Reuters และ Euronews รายงานข่าวว่า ฝรั่งเศสเตรียมที่จะเข็นกฎหมายชุดใหม่โดยพุ่งเป้าไปยังแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion หลายแบรนด์ โดยชี้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไป และยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งฝรั่งเศส มองว่าเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับหลายพันรายการต่อวัน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไปและยังก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่จำเป็น

ในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้กล่าวถึง วิวัฒนาการของเครื่องแต่งกายไปสู่แฟชั่นแบบชั่วคราว ผสมกับจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นและราคาที่ถูกนั้นกำลังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างแรงกระตุ้นในการซื้อและทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังระบุถึง Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ที่กำลังมีชื่อเสียงในเวลานี้ โดยชี้ว่าบริษัทจากจีนรายดังกล่าวได้นำเสนอเสื้อผ้ารุ่นใหม่มากกว่า 7,200 รุ่นต่อวัน และผลิตผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 470,000 รายการให้กับผู้บริโภค

คริสตอฟ เบชู รัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า เสื้อผ้าที่เป็น Fast Fashion ถือเป็นหายนะทางระบบนิเวศ โดยเขาชี้ว่าเสื้อผ้าเหล่านี้มีกระบวนการผลิตที่ไม่ดี มีการซื้อกันอย่างแพร่หลาย และถูกโยนทิ้งไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก UNEP ชี้ว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าทั่วโลกมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 10% ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากการขนส่งทางอากาศและทางทะเลด้วยซ้ำ

สำหรับบทลงโทษดังกล่าวถ้าหากกฎหมายออกมา คาดว่าจะมีการปรับเงินเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion เป็นรายชิ้นขั้นต่ำที่ 10 ยูโรต่อชิ้นและอาจปรับเงินเป็นจำนวนมากถึง 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

ที่มา – Reuters, Euronews

]]>
1465451
Shein สนใจ IPO ในตลาดหุ้นลอนดอน สิงคโปร์ หรือฮ่องกง แทนที่สหรัฐฯ เนื่องจากมีโอกาสโดนขวางสูง https://positioningmag.com/1464148 Wed, 28 Feb 2024 03:44:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464148 Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion จากประเทศจีนสนใจที่จะ IPO เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยเปลี่ยนเป้าจากเดิมในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมแผนสำรองในการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รวมถึงฮ่องกงด้วย

Shein แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นชื่อดังจากจีน สนใจที่จะเข้า IPO เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยเปลี่ยนเป้าจากเดิมในสหรัฐอเมริกา และถ้าหากแผนดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าจะเป็นดีลการระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของเกาะอังกฤษในรอบเกือบ 20 ปี

คาดว่า Shein จะระดมทุนมากถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ดีลการระดมทุนดังกล่าวใหญ่ที่สุดของเกาะอังกฤษนับตั้งแต่ปี 2005 ที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง Rosneft เคยระดมทุน

สำหรับ Shein นั้นก่อตั้งโดย Chris Xu ในปี 2012 ปัจจุบันธุรกิจฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีนรายนี้คาดว่ามีมูลค่าสูงมากถึง 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.3 ล้านล้านบาท โดยธุรกิจนั้นเน้นขายเสื้อผ้า Fast Fashion เน้นราคาถูก ซึ่งสามารถเจาะตลาดในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาได้

ในปี 2023 ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนมีมูลค่าการระดมทุนเพียงแค่ 790 ล้านปอนด์เท่านั้น ตัวเลขดังกล่าวถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 ปีด้วย การที่ Shein สนใจเข้าระดมทุนนั้นทำให้สร้างความคึกคักให้กับตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นอีกทาง

นอกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแล้ว Shein เองยังดูตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หรือแม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เป็นทางเลือกด้วย

สาเหตุที่ทำให้ Shein เลือกตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนเป็นเป้าหมายหลัก เนื่องจากลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ Nasdaq เองนั้นมีโอกาสที่จะโดนขวาง แม้ว่าบริษัทจะยื่นไฟลิ่งแล้วก็ตาม แต่นักการเมืองสหรัฐฯ หลายรายได้พยายามขวางบริษัทไม่ให้เข้า IPO เนื่องจากมีข้อกล่าวหาว่าบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์

ไม่เพียงแค่ข้อกล่าวหาในการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ แต่ Shein ยังมีข้อกล่าวหาที่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แบรนด์อื่นๆ และบริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทั้งหมด

ขณะเดียวกัน Donald Tang ซึ่งเป็นประธานบริษัท ได้เข้าพูดคุยกับ Jeremy Hunt รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ ว่าบริษัทสนใจที่จะเข้าระดมทุนในเกาะอังกฤษ

อย่างไรก็ดี โฆษกกระทรวงการคลังของอังกฤษ ได้กล่าวว่า “รัฐบาลไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นเพียงแต่ละบริษัทเท่านั้นที่จะตัดสินใจว่าจะนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นที่ไหน” และยังกล่าวเสริมว่าอังกฤษนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการปฏิรูปตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทต่างๆ เข้ามาระดมทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น

ที่มา – Bloomberg, The Guardian, Business Insider

]]>
1464148
รู้จัก “Lefties” แบรนด์ลูกของ “Zara” ซุ่มขยายสาขาท้าชิงตลาดคืนจาก “Shein” https://positioningmag.com/1464083 Tue, 27 Feb 2024 08:22:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464083 รู้จักแบรนด์ลูกของ “Zara” อย่าง “Lefties” แบรนด์ที่บริษัทหวังให้เป็นหัวหอกยื้อตลาดคืนจาก “Shein” เน้นขายเสื้อผ้าแฟชั่นราคาไม่แพง

ผู้หญิงสายช้อปเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นน่าจะรู้จักแบรนด์ “Shein” กันหมดแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก เราขอรีแคปให้สั้นๆ ว่า “Shein” คือ แอปฯ ขายเสื้อผ้าออนไลน์จากจีนที่เน้นดัมพ์ราคาแบบสุดถูก และใช้การตลาดออนไลน์ปั้นจนดังทั่วโลก

ความแรงของ “Shien” สร้างความโกลาหลให้แอปฯ หลายแขนง ไม่ว่าจะ “Amazon” ซึ่งถือว่าทับไลน์กันในฐานะอีคอมเมิร์ซ รวมถึงบริษัท “Inditex” ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปนก็ชักจะร้อนๆ หนาวๆ เพราะถูกทับไลน์ในตลาดเสื้อผ้า

เหตุนี้ “Inditex” จึงต้องซุ่มสร้างแบรนด์ของตัวเองเพื่อชนกับ “Shein” บ้าง โดยสำนักข่าว Reuters รายงานว่า แบรนด์ที่บริษัทจะใช้คือ “Lefties”

ย้อนความก่อนว่า “Inditex” นั้นคือบริษัทแม่ของ “Zara” ร้านเสื้อผ้าที่ฮิตสุดๆ และยังเป็นเจ้าของแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น Bershka, Pull and Bear, Massimo Dutti ฯลฯ

เมื่อก่อน “Zara” ก็เคยถูกจัดประเภทเป็นฟาสต์แฟชั่น เป็นเสื้อผ้าที่ไม่แพงมาก ซื้อใส่ง่าย หน่ายเร็ว เปลี่ยนบ่อย แต่ระยะหลัง Inditex เริ่มขยับราคาของ Zara ขึ้นเพราะปัจจัยเงินเฟ้อ และทำให้ Zara ต้องพุ่งเป้าไปที่ตลาดระดับกลางบนมากกว่าลูกค้าที่อยากประหยัดเงิน

Lefties
ตัวอย่างสินค้าจาก Lefties แบรนด์ในเครือ Inditex ที่จะมาสู้กับ Shein

แบรนด์ที่จะมาแทนที่จุดนี้จึงเป็น “Lefties” แบรนด์นี้ก่อตั้งเมื่อปี 1993 และเคยอยู่ในฐานะ “ร้านขายของเหลือจาก Zara” มาก่อน แต่ปัจจุบันแบรนด์มีสินค้าของตัวเอง ขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ทั้งของ    ผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหญิง เด็กชาย

ราคาของ Lefties ถือว่าไม่สูงมาก เช่น กางเกงยีนส์ตัวละ 700 บาท เดรสชุดละ 310 บาท หรือกระเป๋าถือใบละแค่ 240 บาท เป็นช่วงราคาที่สู้กับ Shein ได้

การขยายตัวของ Lefties เห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2019 เป็นต้นมา มีการขยายสาขาสูงขึ้น และขยายไปประเทศใหม่ๆ จนขณะนี้ Lefties เปิดไปแล้ว 17 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี และในเขตตะวันออกกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เช่น กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย UAE อิสราเอล โมร็อกโก เป็นต้น (*ยังไม่มีสาขาในเอเชียแปซิฟิก)

Leftiesจากการวิจัยตลาดของ Kantar พบว่า Lefties ในประเทศสเปนซึ่งปัจจุบันมี 25 สาขา สามารถเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าจาก 5 ล้านคนในปี 2019 ขึ้นเป็น 5 ล้านคนในปี 2023 เกือบจะไล่ตาม Shein ที่มีฐานลูกค้าในสเปน 5.2 ล้านคนได้สำเร็จ

ในแง่การตลาด Lefties กำลังซุ่มตามรอย Shein เช่นกัน ด้วยการจ้าง “ไมโครอินฟลูเอนเซอร์” ทั้งใน Instagram และ TikTok ให้รีวิวสินค้า โดยเปรียบเทียบแฮชแท็กกันได้ดังนี้

  • Instagram แฮชแท็ก #Lefties มีจำนวน 213,000 โพสต์ ขณะที่ #Shein มีจำนวน 10 ล้านโพสต์
  • TikTok แฮชแท็ก #Lefties มีจำนวน 18,500 โพสต์ ขณะที่ #Shein มีจำนวน 5.4 ล้านโพสต์

ยังไม่มีรายงานยอดขายและกำไรของ Lefties โดยตรง เนื่องจากตัวเลขทั้งหมดยังรายงานรวมกับ Zara แต่น่าสนใจว่า Inditex จะดันแบรนด์นี้ไปมากแค่ไหน ทั้งการทำตลาดออนไลน์ และการขยายไปในทวีป อื่นๆ ทั่วโลก

Source

]]>
1464083
H&M แก้เกมหลังโดน Shein รุกหนัก ขายสินค้าจับกลุ่มตลาดบนเพิ่มขึ้น ไม่เน้นสินค้าราคาถูกอย่างเดียว https://positioningmag.com/1455999 Sun, 17 Dec 2023 16:46:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455999 H&M ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากจีนอย่าง Shein ไม่น้อย โดยล่าสุดแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากสวีเดนรายนี้ได้งัดกลยุทธ์ใหม่เพื่อที่จะทำให้อัตราการทำกำไรดีขึ้นั่นก็คือ “ขายเสื้อผ้าที่มีราคาแพงมากขึ้น” เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มกำลังซื้อสูง

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า H&M แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากสวีเดน เริ่มได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ Shein ซึ่งเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน โดยเน้นขายสินค้าเสื้อผ้าแบบราคาถูก ทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนกลยุทธ์อื่นมาสู้แทน

H&M ได้นำกลยุทธ์ใหม่มาใช้คือการออกเสื้อผ้าในราคาแพงมากขึ้น เพื่อที่จะจับลูกค้ากลุ่มตลาดบนที่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ยังทำให้อัตราการทำกำไรของบริษัทนั้นมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นด้วย

คอลเลกชัน Rabanne ซึ่งเป็น 1 ในคอลเลกชันสินค้าราคาแพงของ H&M นั้นมีสินค้า เช่น เดรสตาข่ายเมทัลลิกที่ทำจากอะลูมิเนียม ราคา 749 ดอลลาร์สหรัฐ มินิเดรสปักเลื่อม ราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงรองเท้าบูทคาวบอยสีเงิน ราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งราคาสินค้าคอลเลกชันใหม่ดังกล่าวนั้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าปกตินั้นถือว่ามีราคาแพงอย่างมาก และ H&M กำลังเร่งนำคอลเลกชันใหม่ที่มีราคาสูงกว่าเดิมออกสู่ตลาดให้ไวที่สุด เพื่อที่จะแข่งขันกับ Zara ซึ่งเป็นคู่แข่งเดิมรวมถึง Shein ที่เป็นคู่แข่งรายใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

กลยุทธ์ของ Shein ที่กดดัน H&M คือการขายเสื้อผ้าหรือสินค้าแฟชั่นราคาถูก เช่น การขายเดรสของผู้หญิงในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐ เสื้อยืดในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้แต่เครื่องประดับในราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อุตสาหกรรมเกิดความปั่นป่วนขึ้นมาทันที

การเข้ามาของ Shein นั้นไม่ได้สร้างแรงกดดันให้กับ H&M ซึ่งเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นเท่านั้น แต่ยังกดดันถึงผู้เล่น E-commerce รายใหญ่อย่าง Amazon ด้วยเช่นกัน เนื่องจากราคาสินค้าโดยเฉพาะประเภทเสื้อผ้านั้นมีราคาที่ถูกกว่า Amazon อย่างมาก

โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา Shein เองยังเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอันดับ 2 ที่ครองใจวัยรุ่นชาวสหรัฐฯ เนื่องจากราคาสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศจีนที่มีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่งผลทำให้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นไม่เว้นแม้แต่ H&M ต้องงัดกลยุทธ์อื่นมาใช้

อย่างไรก็ดีการใช้กลยุทธ์ขายสินค้าที่เน้นตลาดบนมากขึ้น  H&M เองก็ได้รับแรงกดดันจากลูกค้าไม่น้อย เนื่องจากแบรนด์คู่แข่งที่จับลูกค้าตลาดบนเน้นลูกค้าจับจ่ายใช้สอยราคาแพงนั้นมีอยู่หลายแบรนด์เช่นกัน

]]>
1455999
“Shein” ป่วนอีคอมเมิร์ซสหรัฐฯ! “Amazon” ยอมลดค่าธรรมเนียมร้านขาย “เสื้อผ้า” ยื้อส่วนแบ่งตลาด https://positioningmag.com/1455012 Fri, 08 Dec 2023 12:58:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455012 อีคอมเมิร์ซเสื้อผ้าจากจีน “Shein” สร้างความกังวลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซสหรัฐฯ อย่างมาก ล่าสุดยักษ์ใหญ่อย่าง “Amazon” ต้องลุกมาประกาศลดค่าธรรมเนียมผู้ขายสำหรับร้าน “เสื้อผ้า” ที่ขายสินค้าราคาต่ำกว่า 20 เหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยกดราคาสินค้าให้ต่ำลง

เมื่อวันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2023 ยักษ์อีคอมเมิร์ซ​ “Amazon” ประกาศลดค่าธรรมเนียมผู้ขายในกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นลงจากปกติ 17% หากเป็นสินค้ากลุ่มราคา 15-20 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 530-700 บาท) จะลดค่าธรรมเนียมเหลือ 10% และหากเป็นกลุ่มราคาไม่เกิน 15 เหรียญสหรัฐ จะลดค่าธรรมเนียมเหลือ 5% เท่านั้น อัตราดังกล่าวจะเริ่มใช้งานในเดือนมกราคม 2024

เห็นได้ชัดว่า Amazon ต้องสู้กับ Shein ในหมวดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โดย Shein เป็นที่ขึ้นชื่อว่าขายเสื้อผ้าราคาถูกมาก ลูกค้าสามารถหาซื้อเสื้อยืดได้ในราคา 5 เหรียญเท่านั้น (ประมาณ 180 บาท) หรือกางเกงยีนส์ก็ราคาไม่เกิน 15 เหรียญ (ประมาณ 530 บาท)

Shein ทำราคาได้ถูกขนาดนี้จากการมีเครือข่ายโรงงานผู้ผลิตในมือถึง 6,000 แห่ง และกลายเป็นคู่แข่งทางธุรกิจที่แม้แต่ Amazon ก็ยังต้องกังวล

“เราลดค่าธรรมเนียมในหมวดเสื้อผ้าลงเพื่อช่วยขับเคลื่อนและกระตุ้นให้มีสินค้าหลากหลายมากขึ้นแก่ผู้บริโภค และทำราคาให้แข่งขันได้มากขึ้นด้วย” โฆษกของ Amazon กล่าวกับสำนักข่าว Business Insider “เรายังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนความสำเร็จและการเติบโตของพาร์ทเนอร์ผู้ขายของเราให้มากที่สุด”

shein
Photo : Shutterstock

บริษัทจากจีนอย่าง Shein เลือกจะมาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะได้เปิด IPO ในปีหน้า แหล่งข่าววงในกล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า มาร์เก็ตแคปที่ Shein คาดหวังน่าจะอยู่ในช่วง 8-9 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 2.8-3.2 ล้านล้านบาท)

เมื่อจะเข้าสู่ตลาดหุ้นทำให้ Shein ต้องมีการปรับปรุงแพลตฟอร์มให้ขยายไปขายอย่างอื่นนอกเหนือจากเครื่องแต่งกายบ้าง เช่น ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า

รวมถึงมีการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากเดิมมีขายเฉพาะสินค้าสั่งผลิตเองผ่านเครือข่ายโรงงานเสื้อผ้า เมื่อจะมีของอย่างอื่นขาย Shein จึงต้องมีบางส่วนที่เป็นมาร์เก็ตเพลส ให้ร้านค้าเข้ามาเปิดขายได้ ซึ่งจะไปตรงกับโมเดลธุรกิจของ Amazon มากขึ้น

ไม่แช่แค่ Amazon ที่แสดงความกังวลกับการบุกหนักของ Shein มาร์เก็ตเพลสและร้านเสื้อผ้าอื่นๆ ที่มีตลาดในกลุ่มลูกค้าเดียวกันก็แสดงความกังวลออกมา เช่น Temu, Gap, Etsy เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม Juozas Kaziukenas ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Marketplace Pulse ให้ความเห็นว่า การลดราคาค่าธรรมเนียมให้ผู้ขายของ Amazon คงยังไม่พอสำหรับการต่อสู้กับ Shein

“Amazon ไม่มีผู้ติดตามหลักหลายสิบล้านคนบน Instagram เหมือน Shein และไม่มีคนดูคอนเทนต์ของตัวเองเป็นหลายพันล้านวิวบน TikTok เหมือน Shein” เขาวิเคราะห์ไว้ในบล็อกของตน “การไปมุ่งเน้นตอบโต้เรื่องค่าธรรมเนียมการขายก็เหมือนมองเห็นต้นไม้ไม่กี่ต้นแต่ไม่เห็นป่าทั้งป่าตรงหน้า”

Source

]]>
1455012
Shein ยื่นไฟลิ่งขอ IPO ในสหรัฐอเมริกาแล้ว คาดมูลค่าบริษัทอาจสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1453720 Tue, 28 Nov 2023 09:11:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453720 Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion จากประเทศจีนได้แจ้งว่าบริษัทได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อขอเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาแบบลับ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่ามูลค่าบริษัทล่าสุดจะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท

Shein แบรนด์เสื้อผ้าจากจีนได้ประกาศว่าได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อที่จะขอเข้าระดมทุน (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากสื่อในประเทศจีนอย่าง Shanghai Securities Journal รวมถึงสื่อต่างประเทศอย่าง Reuters และ CNBC รายงานข่าวดังกล่าว

ทาง CNBC ได้อ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ว่า ถ้าหากไฟลิ่งของ Shein ได้รับไฟเขียวจาก ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนี้จะมีการระดมทุนต่อ โดยคาดว่าระยะเวลาจะอยู่ภายในปี 2024 และบริษัทได้ที่ปรึกษาทางการเงินหลายแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา Shein มีแผนที่จะ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาแล้ว แต่ได้เลื่อนออกไปเนื่องจากสภาวะตลาด

สำหรับ Shein นั้นก่อตั้งโดย Chris Xu ในปี 2012 ปัจจุบันธุรกิจฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีนรายนี้คาดว่ามีมูลค่าสูงมากถึง 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.3 ล้านล้านบาท โดยธุรกิจนั้นเน้นขายเสื้อผ้า Fast Fashion เน้นราคาถูก ซึ่งสามารถเจาะตลาดในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาได้

ในเดือนเมษายนปี 2022 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับเงินลงทุนก้อนใหญ่มากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งทะยานไปถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่มูลค่าบริษัทจะลดลงตามสภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สดใสมากนัก

ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นบริษัทมีรายได้ 22,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่ารายได้ของแบรนด์ Fast Fashion ในยุโรปอย่าง H&M รวมถึง Inditex ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์ดังอย่าง Zara รวมกันด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดีแบรนด์จากจีนรายดังกล่าวยังมีข้อกล่าวหาที่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แบรนด์อื่นๆ หรือแม้แต่แต่การใช้ฝ้ายจากแรงงานชาวอุยกูร์ซึ่งท้ายที่สุดบริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทั้งหมด

การเข้ามาระดมทุนในสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าท้าทายไม่น้อย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาปริมาณการ IPO ในตลาดสหรัฐฯ ลดลง และยังรวมถึงผลตอบแทนของหุ้นที่เข้าตลาดนั้นสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกันก็ยังวัดใจว่าหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในจีนหรือสหรัฐฯ​ จะไฟเขียวให้บริษัทจีนรายนี้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือไม่ เนื่องจากความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา – Reuters, CNBC

]]>
1453720
สืบชีวิต Chris Xu เจ้าของ Shein เรื่องเล่าของราชาฟาสต์แฟชั่นผู้ลึกลับ https://positioningmag.com/1449643 Tue, 31 Oct 2023 06:27:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449643 โลกอาจได้ฟังเรื่องราวความสำเร็จหลายแง่มุมของ Shein ทั้งการเป็นแบรนด์แฟชั่นยอดนิยมประจำปี 2565, การเป็นบริษัทฟาสต์แฟชั่นที่ทำกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 และการวางแผน IPO อย่างยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ช่วงปี 2567 แต่กลับไม่ค่อยมีใครได้ทราบเรื่องราวของ “เจ้าของ Shein” ชายชาวจีนซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเวลาไม่กี่ปี

ชายคนนั้นคือ Chris Xu หรือ Xu Yangtian การไม่ได้ออกสื่อทำให้ชาวโลกได้แต่ฟังเรื่องเล่าลือของมหาเศรษฐีลึกลับผู้ก่อตั้ง Shein ซึ่งหากทั้ง 2 เรื่องเป็นความจริง ย่อมแปลว่า Chris Xu มีความมุ่งมั่นและความโหดเหี้ยม (ในยามจำเป็น) เพื่อสร้างอาณาจักรระดับโลกบนสมรภูมิฟาสต์แฟชั่น ที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดจริง ๆ

เรื่องแรกที่มีการแชร์อย่างกว้างขวางผ่านสื่อจีน คือคำบอกเล่าของพนักงานในบริษัทซัพพลายเออร์ของ Shein (ไม่ระบุชื่อ) ที่บรรยายถึงการเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของ Shein ในมณฑลกวางตุ้งเมื่อปี 65 ว่า Chris Xu และทีมจะประจำการพร้อมเข้าประชุมเสมอ ซึ่งไม่ว่าจะเดินทางไปพบเมื่อใด เช้าสายบ่ายเย็นหรือมืดค่ำ ก็ยังสามารถพบ Chris Xu และทีมที่ไม่เคยขี้เกียจ และพยายามเรียนรู้เรื่องราวความคืบหน้าใหม่เสมอ

shein

แต่เรื่องที่ 2 นั้นส่อแววแง่ลบมากกว่า เพราะอดีตหุ้นส่วนธุรกิจและเพื่อนร่วมงาน 2 คนของ Chris Xu ได้แฉว่าหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการสร้างบริษัทอีคอมเมิร์ซร่วมกัน วันหนึ่ง Chris Xu ก็จากไปพร้อมกับนำบัญชี PayPal ของบริษัทติดมือไปด้วย โดยตัดทุกสายโทรเข้า และตัดเพื่อนออกจากเกมแบบไม่มีเยื่อใย

ประวัติศาสตร์จึงบันทึกว่า Chris Xu สามารถก่อตั้ง “บริษัทที่เคยมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์” อย่าง Shein ได้สำเร็จเพียงลำพังภายในหนึ่งทศวรรษ แม้ว่าในรอบการระดมทุนครั้งถัดมา การประเมินมูลค่า Shein จะลดลงเหลือ 66,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งที่สามารถสร้างรายได้ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ได้ในปีนั้น

Chris Xu เป็นใคร?

ชื่อของ Chris Xu นั้นได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อ Shein เริ่มต้นรอบการระดมทุนครั้งใหม่เมื่อต้นปี 2022 ด้วยสถิติที่ชี้ว่า Shein มีมูลค่ามากกว่า Inditex (ต้นสังกัด Zara) และ H&M รวมกัน โดย Shein ได้ประกาศจ้างผู้บริหารคนใหม่เพื่อเป็นหัวหอกในการขยายธุรกิจไปยังยุโรป ซึ่งเป็นผู้บริหารที่เคยมีตำแหน่งอาวุโสใน Inditex และมีประสบการณ์กับแบรนด์หรูอย่าง Burberry มาแล้ว คาดว่า Shein จะมีพัฒนาการที่โดดเด่นในตลาดโลก หลังจากเตรียมเปิดร้านป๊อปอัปในหลายเมืองใหญ่ของยุโรปตลอดปีนี้

การเติบโตเหล่านี้ของ Shein เกิดขึ้นได้เพราะความสามารถจดจำแบรนด์ ไม่เพียงนักช้อปรุ่นเยาว์ที่เข้าชมไซต์หรือแอปอยู่แล้ว แต่ Shein สามารถเสนอตัวในโฆษณาทางเบราว์เซอร์และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจนชินตา ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของ Chris Xu ผู้มักปฏิเสธการสัมภาษณ์และไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ นอกเหนือจากออกมาแถลงข่าวเป็นครั้งคราว

shein
(Photo By Kike Rincon/Europa Press via Getty Images)

วันนี้โลกยังสงสัยกับที่มาชีวิChris Xu ที่ถูกรายงานไว้แตกต่างกัน บางแหล่งบอกว่า Chris Xu เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ขณะที่อีกรายงานชี้ว่า Chris Xu เกิดที่เมืองซานตงในปี 1984 และไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า ทั้งหมดนี้ Shein เปิดเผยกับสื่อเพียงว่า Chris Xu เป็นนักธุรกิจสัญชาติจีน ขณะที่สื่อจีนรายงานว่า Chris Xu เป็นนักเรียนธรรมดาที่มีภูมิหลังยากจน ซึ่งต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงตัวเองระหว่างเรียนวิทยาลัย จนสามารถพัฒนาทักษะด้านการเพิ่มประสิทธิภาพผลการค้นหาบนเสิร์ชเอนจิ้น (SEO) ซึ่งมีส่วนสนับสนุนความสำเร็จในเส้นทางอาชีพจนร่ำรวย

ไม่ว่าอย่างไร ภาพที่ชัดเจนของ Chris Xu คือผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ที่ทำงานหนัก และสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้เด็ดขาด โดยในปี 2008 หนุ่ม Chris Xu ได้ก่อตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนชื่อ Nanjing Dianwei Information Technology ร่วมกับ 2 หุ้นส่วนคือ Wang Xiaohu ซึ่งมีส่วนแบ่งเท่ากัน และ Li Peng ผู้รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 10%

Li ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Wired ในเดือนพฤษภาคม 2022 ว่าเพื่อน 3 คนได้เช่าสำนักงานขนาดเล็ก โดยพยายามขายของทุกอย่างตั้งแต่กาน้ำชาไปจนถึงโทรศัพท์ ก่อนที่จะย้ายไปขายเสื้อผ้า ทั้งหมดเริ่มสร้าง และเสริมเป็นโมเดลซึ่งเชื่อว่าเป็นฐานของบริการ Shein ในปัจจุบัน เช่น การมุ่งหวังผลกำไรที่ต่ำแต่เน้นปริมาณมาก การส่งคำสั่งซื้อย่อยจากลูกค้าตรงไปถึงซัพพลายเออร์รายย่อย การมุ่งตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ  และการใช้ทักษะ SEO ของ Xu ในการโปรโมตสินค้า

shein
Photo : Shutterstock

จนในปี 2011 เซียน SEO อย่าง Chris Xu ได้ก่อตั้ง SheInside เพื่อเป็นร้านค้าปลีกชุดแต่งงานออนไลน์ในหนานจิง การยกฐานะ SheInside ให้เป็นบรรพบุรุษของ Shein นั้นมีสีเทาเกิดขึ้นในรายงานหลายฉบับ เพราะ Li อ้างว่า Xu ดีดหุ้นส่วนออกไปจนหมด โดย Li เล่าว่า Xu หายตัวไปจากออฟฟิศในวันหนึ่ง โดยเอาบัญชี PayPal ของบริษัทไป และไม่รับสายโทรศัพท์ทุกสาย อย่างไรก็ตาม Wang Xiaohu ไม่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม และสนับสนุนว่าคำสัมภาษณ์ในสำนักข่าวเดอะการ์เดียน (Guardian) ของ Li นั้นถูกต้องแล้ว

Shein ปฏิเสธเนื้อหานี้ และมีรายงานว่า Xu ขู่ว่าจะฟ้องร้องเมื่อคำสัมภาษณ์ของ Li ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชน โดย Shein ชี้แจงว่า Li ทำงานให้กับ Nanjing Dianwei ช่วงเดือนตุลาคม 2008 ถึงกลางปี 2009 เท่านั้น พร้อมยืนยันว่าทั้ง Wang และ Li ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนของ SheInside และไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ SheInside

Shein ใหญ่ที่สุดในโลก?

2 ปีหลังจากก่อตั้ง SheInside หนุ่ม Chris Xu ในโพสต์บนโซเชียลมีเดียสาธารณะเพียงโพสต์เดียวบน Facebook ว่าบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและมีพนักงานมากกว่า 50 คน จนในปี 2015 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น Shein และย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่กวางโจว ก่อนจะเปิดสำนักงานในสหรัฐอเมริกา

ภายใต้การบริหารของ Chris Xu อาณาจักร Shein เริ่มพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง มีการจ้างหัวกะทิเพื่อวิเคราะห์หาการออกแบบที่ได้รับความนิยมสูงบนอินเทอร์เน็ต พร้อมกับก่อตั้งทีมออกแบบภายใน รวมถึงการซื้อบริษัทคู่แข่งชื่อ Romwe ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ก่อตั้งโดย Li และแฟนสาวในขณะนั้น ผลคือโฆษณาและผลิตภัณฑ์ของ Shein แพร่หลายไปทั่วอินเทอร์เน็ตในเวลาไม่นาน และกลายเป็นแบรนด์ดังที่ขับเคลื่อนโดยเซเลบฯ ผู้มีอิทธิพล บนโซเชียลมีเดียมากมายโดยเฉพาะ TikTok

shein
(Photo By Cezaro De Luca/Europa Press via Getty Images)

ต้องบอกว่า Shein ควรขอบคุณ TikTok เพราะลูกค้าและผู้มีอิทธิพลบนแพลตฟอร์มได้สร้างวิดีโอไวรัล “Shein haul” ที่แสดงการกว้านซื้อของบน Shein จนทำให้ Shein เป็นแบรนด์ในกลุ่มแอปช้อปปิ้ง ที่มียอดดาวน์โหลดมากเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายที่มีคนเสิร์ชหรือ (Googled) มากที่สุดในประเทศ

อีกสิ่งโดดเด่นของ Shein ที่หาได้ยากในหมู่ซัพพลายเออร์หลายพันราย คือการชำระเงินที่ตรงเวลา อย่างไรก็ตาม Shein ขึ้นชื่อในเรื่องข้อกำหนดที่เข้มงวด จนมีรายงานว่ามีการเปลี่ยนซัพพลายเออร์ถี่มาก ซึ่งรอบการจ่ายเงินรายเดือนที่สม่ำเสมอ ได้กลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ซัพพลายเออร์พยายามทำธุรกิจกับ Shein แม้ว่าจะมีเงื่อนไขทางการค้าที่ยากลำบากก็ตาม

ตรงนี้ Shein ยอมรับว่าบริษัทมีแนวทางช่วยลดต้นทุนและส่งต่อการประหยัดให้กับลูกค้าได้ โดยบอกว่าโมเดลห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีของ Shein สามารถลดปัญหา “การผลิตมากเกินไป” ได้โดยใช้ความต้องการของตลาดจริง เพื่อคาดการณ์ยอดขายและควบคุมการผลิต

ปัญหาใหญ่ตามตัว

วันนี้ Shein เป็นจำเลยที่ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องความยั่งยืนต่อโลก เพราะการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ระบุแนวโน้มความนิยมของไอเท็มแฟชั่นที่รวดเร็วบนออนไลน์ นั้นทำให้ Shein สามารถผลิตเสื้อผ้าได้หลายพันชิ้นในเวลาที่เร็วมาก เสื้อผ้าแบบใหม่สามารถผลิตเป็นล็อตใหญ่ได้ภายในเวลาเพียงสามวัน ส่งผลให้แคตตาล็อกของ Shein มีสินค้าจำนวนมากถึง 600,000 รายการบนเว็บไซต์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม Shein ถูกมองว่าพยายามปกปิดความลับและขาดความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีข่าวลือหนาหูเรื่องการสร้างขยะปริมาณมหาศาล ร่วมกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมาก

shein
Photo : Shutterstock

ในอีกด้าน Shein เคยเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ไม่ดี มีการรายงานว่าสภาพการทำงานของซัพพลายเออร์ Shein นั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ผลจากการสั่งจ้างเหมาเพื่อลดต้นทุน ซึ่งทำให้ Shein ตรวจสอบสภาพการทำงานได้ยาก

ขณะเดียวกัน Shein ยังถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนแบบสินค้าหลายครั้ง รวมถึงยังมีความระแวงในธุรกิจของ Shein ที่อาจเข้าสู่ช่วงอิ่มตัว โดยผลงานล่าสุดของ Shein คือยอดขายเพิ่มขึ้น 60% ในปี 2021 เป็น 16,000 ล้านดอลลาร์ เรียกว่าเติบโตลดลงจากที่เคยบันทึกได้ 250% จนกระโดดเป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020

นาทีนี้ต้องรักษาโมเมนตัม

ท่ามกลางข่าวลือและรายงานเกี่ยวกับการขยายธุรกิจและการโอนสินทรัพย์ระหว่างประเทศ หลายสัญญาณแสดงให้เห็นว่า CEO Shein นั้นต้องการให้ Shein เติบโตมากยิ่งขึ้น รายงานในเดือนพฤษภาคม 2022 ระบุว่า Shein กำลังเจรจาซื้อแบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ของอังกฤษอย่าง Missguided ก่อนที่บริษัทจะล่มสลาย รวมถึงความพยายามซื้อ Topshop ที่ดีลแท้งไปในปี 2021 และการเดินทางไปบราซิลของ Chris Xu เพื่อตรวจสอบโรงงานและซัพพลายเออร์ สำหรับการขยายศักยภาพการผลิตในอนาคต

ที่ผ่านมา Shein ถูกมองว่ากำลังก้าวไปสู่รูปแบบธุรกิจที่คล้ายกับ Amazon Marketplace โดยอนุญาตให้ผู้ค้าปลีกบุคคลที่สามขายสินค้าบนเว็บไซต์ของแต่ละร้านได้ นอกจากนี้ Shein ยังได้ร่วมมือกับแบรนด์ดังอย่าง Forever 21 ซึ่งอาจปูทางให้ผลิตภัณฑ์ของ Shein ได้วางจำหน่ายในร้านค้าของผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ แบบเต็มตัว

วันนี้ Shein ดึงดูดนักลงทุนที่มีชื่อเสียง ไล่ตั้งแต่ Tiger Global Management และ Sequoia Capital China และมีรายงานที่แสดงให้เห็นว่า Chris Xu วางแผนพา Shein เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2024

shein
Photo : Shutterstock

ตรงนี้มีการเชื่อมโยงกับรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ว่าผู้ก่อตั้ง Shein ได้กลายเป็นพลเมืองผู้อยู่อาศัยถาวรในสิงคโปร์ ขณะนี้มีความเชื่อมโยงมากมายระหว่าง Shein และสิงคโปร์ ตั้งแต่การย้ายสำนักงานใหญ่จากจีนไปยังสิงคโปร์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงกฎระเบียบ IPO นอกชายฝั่งที่เข้มงวดและไม่อาจคาดเดาได้ของจีน

ที่สุดแล้ว แนวทางการปรับโครงสร้างทั้งในสิงคโปร์หรือนิวยอร์กของ Shein อาจมีผลบางส่วนต่อความมั่งคั่งของราชาฟาสต์แฟชั่นผู้ลึกลับคนนี้ โดยข้อมูลถึงเดือนกรกฎาคม 2023 สำนักข่าวฟอร์บส์ (Forbes) ประมาณการมูลค่าสุทธิของ Chris Xu อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ ผลจากการเข้าถึงตลาดทั่วโลกของ Shein ที่ครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ

ไม่แน่ หากสามารถขยายฐานสู่ต่างประเทศได้มากขึ้น เจ้าของ Shein อาจจะมีชีวิตที่ลึกลับมากขึ้น ตามความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอีกก็ได้

ที่มา : The Sun, Straitstimes, Business Insider, The Times, The Sun, Investing, Business of Fashion, Apparel Resources, The Guardian

]]>
1449643
TikTok ยังลุยตลาดสหรัฐฯ แม้เสี่ยงโดนแบน เข็นธุรกิจ E-Commerce ชนคู่แข่งสำคัญอย่าง Shein https://positioningmag.com/1439217 Thu, 27 Jul 2023 11:56:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439217 TikTok ยังลุยตลาดสหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดเตรียมจะเปิดตัวธุรกิจ E-Commerce ที่ขายสินค้าทุกชนิดที่นำเข้าจากประเทศจีน เพื่อแข่งกับ Shein ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญ อย่างไรก็ดีก็ยังมีความเสี่ยงในการขยายธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากปัญหาด้านความมั่นคง

The Wall Street Journal รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TikTok เตรียมที่จะเปิดตัวธุรกิจ E-Commerce ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะแข่งขันในการแย่งชิงลูกค้ากับ Shein ที่เป็นแพลตฟอร์มคู่แข่งสำคัญที่กำลังตีตลาดแดนมะกันในตอนนี้

โมเดลที่ TikTok จะนำมาใช้คือการขายสินค้าทุกชนิดเหมือนกับ Amazon ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสินค้าเหล่านี้นำเข้ามาจากประเทศจีน นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะรีวิวร้านค้าทั้งในแพลตฟอร์มหรือแม้แต่ร้านค้าภายนอกได้ด้วย

ก่อนหน้านี้บริษัทได้เตรียมทุ่มเงินระดับหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว จากเหตุผลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชากรกำลังเติบโตสูง และการเข้าถึง E-Commerce ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนา

ไม่เพียงเท่านี้ TikTok เองยังต้องการที่จะใช้จุดเด่นคือเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานต่อวันมากกว่า 1,000 ล้านคนในการหาโมเดลธุรกิจใหม่ด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ByteDance บริษัทแม่ได้หาโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะหารายได้เพิ่มเติมด้วย

ขณะเดียวกันตัวเลขล่าสุดผู้ใช้งาน TikTok ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ราวๆ 150 ล้านคน นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดประเทศกำลังพัฒนาที่มีกำลังซื้อมากที่สุดในโลก ทำให้บริษัทเองก็ไม่สามารถที่จะทิ้งตลาดนี้ไปได้ และบริษัทเองยังวางเป้าหมายที่จะมียอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) ให้ได้มากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย

ในช่วงที่ผ่านมาแพลตฟอร์ม E-Commerce หลายเจ้าได้พยายามที่จะบุกตลาดโลก เพื่อแข่งขันกับ Amazon หรือคู่แข่งที่มาจากบริษัทจีน เช่น Aliexpress ของ Alibaba และ Temu ของ Pinduoduo หรือแม้แต่ Shopee ของ Sea อย่างไรก็ดีปัญหาด้านสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาทำให้หลายแพลตฟอร์มต้องชะลอการขยายธุรกิจด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดีการบุกตลาด E-Commerce ในสหรัฐอเมริกาอาจเป็นงานลำบากของ TikTok เนื่องจากปัญหาการถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลสหรัฐ จากเรื่องข้อมูลผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ประเด็นด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั่นเอง

]]>
1439217