Transportation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 04 Feb 2024 12:03:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายการบินกลับมาเช่าเครื่องบินรุ่นเก่าเพิ่มขึ้น ผลจาก Boeing และ Airbus ผลิตเครื่องบินไม่ทัน คาดปี 2027 สถานการณ์จะคลี่คลาย https://positioningmag.com/1461408 Sat, 03 Feb 2024 11:43:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461408 สายการบินต่างๆ ทั่วโลก เริ่มหันมาเช่าเครื่องบินรุ่นเก่าเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก Boeing และ Airbus ผลิตเครื่องบินไม่ทัน โดยบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการบินคาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาถึงปี 2027 ถึงจะคลี่คลาย

สำนักข่าว Reuters รายงานสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการบิน โดยเล่าถึงสายการบินหลายแห่งเริ่มหันมาเช่าเครื่องบินรุ่นเก่ารองจากรุ่นปัจจุบันมากขึ้น หลังจากที่ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็น Airbus หรือแม้แต่ Boeing ไม่สามารถที่จะผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่ได้ทันความต้องการ

สายการบินหลายแห่งเริ่มกลับมาเช่าเครื่องบินที่มีอยู่ในท้องตลาด อย่างเช่น สายการบินราคาประหยัด อาจเช่าเครื่องบินของ Boeing 737-800 ซึ่งมีอายุมากกว่า 10 ปี แต่เป็นรุ่นรองล่าสุดจาก 737 MAX โดยราคาเช่าเครื่องบินรุ่นดังกล่าวอยู่ที่ 220,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเพียงแค่ 5% เท่านั้น

สาเหตุสำคัญคือ หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกาหรือ FAA ชะลอไม่ให้ Boeing เพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง 737 MAX เนื่องจากปัญหาด้านการควบคุมคุณภาพในการผลิต หลังจากเกิดกรณีที่เครื่องบินของสายการบิน Alaska มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างทำการบิน

ขณะเดียวกันคู่แข่งอย่าง Airbus เองก็มีกำลังการผลิตเต็มที่ ส่งผลทำให้สายการบินไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องหันกลับมาเช่าเครื่องบินรุ่นเก่าแทน สอดคล้องกับผู้บริหารของ Aercap หนึ่งในบริษัทเช่าเครื่องบินรายใหญ่ของโลกได้เคยกล่าวเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปี 2023 ว่า สายการบินต้องการเครื่องบินจำนวนมาก แต่ปัญหาคือผู้ผลิตนั้นผลิตได้ไม่ทัน

นอกจากนี้สถานการณ์ Supply Chain ที่ไม่กลับมาเป็นปกติ กระทบกับการผลิตชิ้นส่วนสำหรับประกอบเครื่องบิน  ทั่วโลก ประเด็นดังกล่าวก็เป็นที่พูดถึงในการประชุมระหว่างบริษัทให้เช่าเครื่องบินที่ประเทศไอร์แลนด์เช่นกัน

บริษัทให้เช่าเครื่องบินอย่าง Avolon ได้กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบินยังมีเครื่องบินขาดแคลนมากถึง 3,000 ลำ  เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ขณะที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) คาดว่าในปี 2024 นี้สายการบินทั่วโลกจะต้องรับมือกับผู้โดยสารมากถึง 4,700 ล้านคน

สถานการณ์ดังกล่าว Cirium บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการบินคาดว่าสถานการณ์เครื่องบินไม่เพียงพอจะคลี่คลายไปได้ต้องรออย่างน้อยถึงปี 2027

สิ่งที่เกิดขึ้นคาดว่าในปี 2024 ค่าเฉลี่ยอายุเครื่องบินที่สายการบินทั่วโลกใช้งานอยู่ที่ 16 ปี มากกว่าในปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 14 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ดีเครื่องบินส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานที่ 25 ปี หรือมากกว่านั้นถ้าหากมีการบำรุงรักษาอย่างดี และสายการบินหรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบินต่างเตรียมยืดอายุการใช้งานเครื่องบินเหล่านี้ต่อ

]]>
1461408
CEO ของ DHL กังวลสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม อาจส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังทวีปเอเชีย https://positioningmag.com/1459390 Thu, 18 Jan 2024 08:44:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459390 Tobias Meyer ซึ่งเป็น CEO ของ DHL บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่จากเยอรมนี ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม อาจส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังทวีปเอเชียภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเกิดจากจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์

Tobias Meyer ซึ่งเป็น CEO ของ DHL บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่จากเยอรมนี ได้ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business ถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม หลังจากที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ได้ประกาศโจมตีกลุ่มติดอาวุธฮูตี ซึ่งอาจกระทบต่อการขนส่งสินค้าได้

เขากล่าวว่า “จำนวนตู้คอนเทนเนอร์กำลังจะขาดแคลนในทวีปเอเชียในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” และปัญหาดังกล่าวบริษัทกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด แม้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ร้ายแรงเท่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ทำให้การขนส่งทางเรือหยุดชะงัก

สถานการณ์ในทะเลแดงนั้นเริ่มย่ำแย่ลง เนื่องจากกลุ่มฮูตีโจมตีเรือสินค้า โดยต้องการตอบโต้ต่อกรณีที่อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา และทางกลุ่มยังออกมาเตือนว่าจะโจมตีเรือสินค้าทุกลำที่เดินทางผ่านเส้นทางทะเลแดงและต้องการเทียบท่าในประเทศอิสราเอล โดยไม่สนใจว่าเป็นเรือชาติใด

ผลดังกล่าวทำให้เรือขนส่งสินค้าหลายลำเลิกใช้เส้นทางทะเลแดง และรอดูท่าทีว่าสถานการณ์จะผ่อนคลายลงหรือไม่

ต่อมาได้มีการจัดตั้งปฏิบัติการ Prosperity Guardian นำโดยสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร เช่น สหราชอาณาจักร บาห์เรน แคนาดา นอร์เวย์ อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน ฯลฯ จะวางกำลังคุ้มกันบริษัทเดินเรือที่ขนส่งสินค้าระหว่างทะเลแดงจนถึงคลองสุเอซเพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ดีกลุ่มติดอาวุธฮูตีกลับยังมีการโจมตีเรือสินค้า และเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้ท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ได้ประกาศโจมตีกลุ่มดังกล่าว โดยให้เหตุผลเพื่อที่จะทำให้กลุ่มฮูตีไม่สามารถโจมตีเรือสินค้าได้อีก

CEO ของ DHL ยังได้กล่าวเสริมว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้เรือเดินทางกลับทวีปเอเชียไม่ตรงเวลา ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งในอนาคต

โดยสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงนั้นส่งผลทำให้เรือขนสินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ จะต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกาแทน ซึ่งใช้เวลาเพิ่มอีกราวๆ 2 สัปดาห์ ส่งผลทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้น และยังรวมถึงต้นทุนจากการทำประกันภัยทางเรือนั้นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

]]>
1459390
คุยกับผู้บริหาร Qatar Airways ถึงอุตสาหกรรมการบิน และเทรนด์นักท่องเที่ยวที่กลับมาเติบโตอีกรอบ https://positioningmag.com/1414366 Sat, 31 Dec 2022 08:12:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414366 Positioning ได้รับเกียรติพูดคุยกับ เบนเน็ต สตีเฟ่นส์ (Bennet Stephens) ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีนของ Qatar Airways คนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการบินมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี กับสายการบินต่างประเทศหลายแห่ง

ก่อนหน้าที่เขาจะย้ายมาเป็นผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีนนั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำภูมิภาคตะวันออกของออสเตรเลีย และผู้จัดการอาวุโสประจำภูมิภาคแอฟริกามาก่อน

เขาได้เล่าถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด การปรับธุรกิจ ความท้าทายของสายการบิน และความมั่นใจต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผลจากโควิดและการปรับตัวของสายการบิน

ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีนของ Qatar Airways ได้เล่าถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบต่อสายการบินทั่วโลก และแน่นอนว่าสายการบินจากประเทศกาตาร์รายนี้ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ซึ่งสายการบินได้ปรับตัวโดยได้ผู้โดยสารที่จองตั๋วกับสายการบินสามารถขอเลื่อนการเดินทางได้นานถึง 2 ปี หรือแม้แต่ถ้าหากต้องการขอเงินคืนก็สามารถทำได้เช่นกัน

เขาได้เล่าว่าสิ่งที่ Qatar Airways ทำไปนั้นเพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของสายการบินในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

ขณะเดียวกันสายการบินเองก็ยังดำเนินธุรกิจอยู่แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาด โดยยังมีเที่ยวบินที่ให้บริการในหลายทวีป แต่ทางสายการบินเองก็ได้ปรับธุรกิจมาเน้นการขนส่งคาร์โก้ทางอากาศมากขึ้นด้วย โดยเขาเล่าว่าปัจจุบันการขนส่งคาร์โก้ของสายการบินเองก็ยังเติบโตอยู่ หรือแม้แต่การจ้างสายการบินให้ขนคาร์โก้โดยเฉพาะก็เติบโตเช่นกัน

เบ็นเน็ต สตีเฟ่นส์ – ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีน กาตาร์ แอร์เวย์ส (คนกลางของรูป)

คนไทยไปแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ มากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวก็มาไทยเยอะเช่นกัน

เบนเน็ต ยังได้กล่าวถึงเทรนด์ของนักท่องเที่ยวไทยที่ไปแหล่งท่องเที่ยวที่มีฟรีวีซ่าอื่นๆ มากขึ้น โดยเขาได้ยกตัวอย่างประเทศจอร์เจียที่สายการบินมีเส้นทางการบินอยู่แล้ว ซึ่งคนไทยรวมถึงเหล่าบล็อกเกอร์นิยมไปเที่ยวประเทศนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้เขายังเห็นปริมาณนักท่องเที่ยวไทยในประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลทำให้สายการบินได้ทยอยเพิ่มเที่ยวบินจากกรุงเทพและภูเก็ตไปยังกรุงโดฮา โดยล่าสุดมีเที่ยวบินจากประเทศไทยไปกาตาร์แล้วกว่า 7 เที่ยวบินต่อวัน แม้ว่าจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดซึ่งอยู่ที่ 10 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ก็ตาม

เขาย้ำว่าถ้าหากปริมาณนักท่องเที่ยวยังเพิ่มมากขึ้น สายการบินจะเพิ่มเที่ยวบินทันที ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเขากล่าวว่าปริมาณนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาไทยก็เพิ่มสูงมากเช่นกัน

ประเทศอื่นๆ ในละแวกอินโดจีน ช่องทางขายตั๋วออนไลน์ และความท้าทายหลังจากนี้

ผู้บริหารรายนี้ยังได้กล่าวว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่เขาได้กล่าวถึงประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างเวียดนาม ซึ่งสายการบินนั้นมีเที่ยวบินให้บริการเช่นกันนั้น เขาชี้ว่าความต้องการที่จะเดินทางนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน (Pent Up Demand) ในช่วงที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันเขาได้ชี้ว่าหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ช่องทางการขายตั๋วออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ Qatar Airways มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น จากเดิมก่อนการแพร่ระบาดอยู่ที่ 20% เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากถึง 35% ที่เหลือนั้นเป็นสัดส่วนของช่องทางจัดจำหน่ายผ่านเอเย่นต์ต่างๆ

ทางด้านความท้าทายของสายการบินนั้นเขาได้กล่าวถึงราคาน้ำมันนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุดของปี 2023 แต่เขาก็ชี้ว่า Qatar Airways สามารถรับมือในเรื่องดังกล่าวได้ และเขายังทิ้งท้ายว่ามั่นใจว่าอุตสาหกรรมการบินนั้นจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง รวมถึงมั่นใจว่าสายการบินจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยกลับมาเติบโตได้

]]>
1414366
“ร.ฟ.ท.” ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ แยก 3 หน่วยธุรกิจ กำกับดูแลกิจการรถไฟไทย https://positioningmag.com/55711 Mon, 10 Sep 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55711

ร.ฟ.ท. ปรับโครงสร้างครั้งประวัติศาสตร์กิจการรถไฟไทย ในรูปแบบหน่วยธุรกิจ (Business Unit: BU) แยก 3 หน่วยธุรกิจกำกับดูแลกิจการ หน่วยธุรกิจการเดินรถ หน่วยธุรกิจการซ่อมบำรุง และหน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน หวังช่วยยกระดับการให้บริการทั้งในด้านความปลอดภัย ความสะดวกรวดเร็ว การตรงต่อเวลา และปริมาณขบวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งเพิ่มความคล่องตัวสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในส่วนการโดยสาร และการขนส่งสินค้าของ ร.ฟ.ท. สามารถแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพกับการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเชื่อมโยง และรองรับ  AEC ด้วยงบลงทุน 1.76 แสนล้านบาท 3-5 ปี จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ ร.ฟ.ท. แน่

พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันที่ราคาของพลังงานในตลาดโลกได้มีแนวโน้ม และคาดว่าจะสูงขึ้นไปอีก ทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งโดยรวมสูงขึ้นและส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยยังคงระดับความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งระบบการขนส่งด้วยระบบรางเป็นรูปแบบการขนส่งทางบกที่มีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้ทีละมาก ๆ รวมทั้งก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับที่ต่ำกว่าการขนส่งทางบกในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมาก อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาการคมนาคมขนส่งทางรางขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ อาทิ ทาง และรถจักร มีสภาพเก่าและไม่มีการทดแทนอย่างเหมาะสม ทำให้ระดับการให้บริการการขนส่งและโดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ในลักษณะถดถอย และส่งผลกระทบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี

ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณมูลค่า 1.76 แสนล้านบาทเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของการรถไฟแห่งประเทศไทย อาทิ ระบบทางคู่ (873 กม.) และ รถจักรใหม่กว่า 70 คัน ตลอดจนรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าใหม่ 605 คัน ที่จะช่วยยกระดับการให้บริการทั้งในด้านความปลอดภัย ความสะดวกรวดเร็ว การตรงต่อเวลา และปริมาณขบวนที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการปรับโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบหน่วยธุรกิจ (Business Unit: BU) ที่มุ่งเน้นในด้านการดำเนินงานที่มีความคล่องตัวสูง สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในส่วนการโดยสารและการขนส่งสินค้าเพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถให้บริการในระดับที่สามารถแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก กล่าวต่อว่า สำหรับในเบื้องต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จะประกอบไปด้วย 3 หน่วยธุรกิจ คือ

1) หน่วยธุรกิจการเดินรถที่รับผิดชอบในด้านการกำหนดตารางเดินรถให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดทั้งในส่วนการโดยสารและการขนส่ง

2) หน่วยธุรกิจการซ่อมบำรุง ที่รับผิดชอบในด้านการสนับสนุนความพร้อมของรถจักรรวมทั้งการควบคุมค่าใช้จ่ายของรถจักร และล้อเลื่อนให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ 

3) หน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ที่รับผิดชอบในการหาประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในการที่จะนำมาสนับสนุนการดำเนินงานโดยในระยะแรกจะเป็นเรื่องของการลดภาระหนี้สิน อาทิ ภาระบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น 

โดยหน่วยธุรกิจทั้งสามยังคงเป็นหน่วยงานภายใต้การรถไฟแห่งประเทศไทย แต่มีการปรับแนวทางและระเบียบการดำเนินการให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กร สำหรับในส่วนของการอื่น ๆ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จะทำหน้าที่ในด้านการวางแนวนโยบายและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาและดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงข่ายทางรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และงานบุคลากรและการบริหารทั่วไป ทั้งนี้อำนาจของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยยังคงมีเช่นเดิม แต่มีการมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยธุรกิจตัดสินใจในประเด็นด้านการปฎิบัติงานเพื่อเป็นการสร้างความคล่องตัวในการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย

รมช. คมนาคม กล่าวต่ออีกว่า อย่างไรก็ดีการลงทุน 1.76 แสนล้านบาท นั้นจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปี กว่าประชาชนจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างทางคู่และจัดหารถจักรและล้อเลื่อน โดยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าจาก 11 ล้านตัน ในปี 2553 เป็น 37 ล้านตัน และปริมาณผู้โดยสารจาก 48 ล้านคนในปี 2553 เป็น 71 ล้านคน โดยขบวนรถโดยสารจะมี ความเร็วเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 90-100 ก.ม. ต่อชั่วโมง จาก 50-60 ก.ม. ต่อชั่วโมงในปัจจุบัน ซึ่งหากการรถไฟสามารถดำเนินการได้ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ก็จะช่วยประหยัดพลังงานให้กับประเทศได้ถึงปีละ 2-3 หมื่นล้านบาทต่อปี และยังยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากต้นทุนของโลจิสติกส์จะลดลงอีกด้วย

 “หากการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ กระทรวงคมนาคมก็จะพยายามผลักดันให้โครงข่ายเส้นทางรถไฟเป็นทางคู่ทั้งหมดรวมทั้งจัดสร้างเส้นทางใหม่ ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ใน AEC รวมทั้งพัฒนาและยกระดับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมและโลจิสติกส์ด้วยระบบรางในทศวรรษหน้า” รมช. คมนาคม กล่าวสรุปในตอนท้าย

]]>
55711
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม "เดินทาง ดูหนัง เล่าเรื่อง" https://positioningmag.com/55332 Thu, 28 Jun 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55332

การรถไฟแห่งประเทศไทย เชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมย้อนยุคสุดเก๋ ในงาน “เดินทาง ดูหนัง เล่าเรื่อง” ในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555 เวลา 10.00 – 19.00 น. ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ ภายในงานจะเป็นการเนรมิต สถานีรถไฟหัวลำโพง ให้เป็นบรรยากาศแบบคลาสสิคแบบย้อนยุคในช่วงปี 70-80 ของไทย โดยนำทุกท่านเข้าสู่เรื่องราวของสถานีหัวลำโพงในอดีต ผ่านโซนต่างๆ 4 โซน คือ หัวลำโพงราม่า, สนามหลวง, ชานชาลา และ ตุ๊กตากระดาษ พร้อมร่วมรำลึกอดีตไปกับบู๊ธกิจกรรมย้อนยุคมากมาย นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกาศผลรางวัลผู้ชนะ โครงการการประกวดหนังสั้น “ในความผูกพันของฉันกับรถไฟไทย” ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวนมากอีกด้วย ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันและเวลาดังกล่าวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

]]>
55332
BTS ออกบัตรแรบบิท ตีตั๋วร่วมรีเทลช้อป https://positioningmag.com/14721 Fri, 08 Jun 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14721

ในเมื่อมีฐานลูกค้าจำนวนมากถึง 1.5 ล้านคน ก็ควรนำมาต่อยอดธุรกิจ นี่คือคอนเซ็ปต์การทำธุรกิจล่าสุดของรถไฟฟ้า ”บีทีเอส” กับการเปิดตัวบัตรแรบบิต ที่ไม่ใช่แค่ใช้ขึ้นรถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ใช้ช้อปปิ้ง มีส่วนลด และสะสมแต้มแลกของรางวัลได้ด้วย

บัตรแรบบิตมาในโมเดลคล้ายกับบัตร Octopus ของฮ่องกง ที่พัฒนาจากบัตรโดยสารระบบขนส่งมวลชนในฮ่องกง ตั้งแต่รถไฟฟ้า รถเมล์ จนถึงเรือเฟอร์รี่ มาเป็นบัตรเดบิตใช้แทนเงินสดกินดื่มช้อป และแม้แต่ค่าถ่ายเอกสารก็จ่ายด้วยบัตร Octopus ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในเรื่องความสะดวกแบบบัตรทำได้ทุกอย่างตลอดวัน

สำหรับบัตรแรบบิต ในเบื้องต้นยังใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์ด่วน บีอาร์ทีและร้านค้าที่ร่วมธุรกิจกันประมาณ 20 แบรนด์ เช่น แมคโดนัลด์ สตาร์บัคส์ โออิชิ ส่วนอนาคตจะใช้กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที 

ความลงตัวของเวลาในการเปิดตัวบัตรแรบบิต เพราะบีทีเอสต้องการกระตุ้นให้ลูกค้ามาเปลี่ยนบัตรเดินทางประเภท 30 วัน ที่ไม่สามารถใช้ได้กับส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง ที่เริ่มเก็บค่าบริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 

นอกจากนี้ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจ จากที่มีฐานลูกค้าที่ถือบัตรทุกประเภทรวมประมาณ 1.5 บัตร มา Cross Segment กับรีเทลช้อป เพื่อให้ลูกค้าสะดวกในการใชับัตรในกิจกรรมประจำวันมากขึ้น และการได้สะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล เพื่อรักษาฐานลูกค้า ในที่สุดทำให้บีทีเอสจะมีรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมที่ลูกค้าใช้บัตรในรีเทลช้อปต่างๆ 

“ไอรินทร์ อริยพงศ์สถิต” ผู้อำนวยการฝ่ายตลาด บริษัทแครอท รีวอร์ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบีทีเอส บอกว่า บัตรแรบบิต และการให้รีวอร์ดสเป็นลอยัลตี้โปรแกรม ที่นำบริการขนส่งมารวมกับรีเทล เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่ต้องการความสะดวกในการบัตรเงินสดเพื่อการเดินทาง ช้อปปิ้ง ทานอาหาร และเพื่อความบันเทิง ที่ต่างจากโปรแกรมเดิมของบีทีเอส ”หนูด่วน” ที่สมาชิกจะได้รับข่าวสารเท่านั้น  

ส่วนสมาชิกหนูด่วนที่ปัจจุบันมีประมาณ 2 แสนคนที่สนใจเป็นสมัครบัตรแรบบิต ต้องลงทะเบียนและสามารถโอนคะแนนสะสมมาได้ 

การที่ไม่ต่อยอดใช้แบรนด์หนูด่วนเพื่อโยงกับการใช้บัตรในบริการรีเทลช้อปนั้น “ไอรินทร์” บอกว่าแรบบิตเป็นบริการจากธุรกิจใหม่ของบีทีเอส ซึ่งการสร้างแบรนด์ใหม่จะง่ายกว่า โดยใช้งบการตลาดประมาณ 40 ล้านบาท

“บีทีเอส” แม้จะไม่มีคู่แข่งโดยตรงในตลาด แต่การมีโปรแกรมตอบแทนบ้าง คือความรู้สึกดีของลูกค้า ที่อาจทำให้เสียงบ่นเบาลง เมื่อธุรกิจนี้คือค่าโดยสารที่ลูกค้าต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

กระต่ายกับรถไฟฟ้า

“กระต่าย” เป็นสัตว์ที่มีความคล่องตัว คล่องแคล่ว ว่องไว สะท้อนบริการของบีทีเอส ส่วนการใช้สีส้ม เพื่อความโดดเด่น และจดจำง่าย 

 

Octopus Card

เอ็มทีอาร์ ในฮ่องกงพัฒนาการจ่ายเงินค่าโดยสารผ่านบัตรเติมเงินในปี 1993 และปี 1994 ได้ร่วมกับบริษัทอื่นตั้งบริษัทครีเอทีฟ สตาร์ ทำตั๋วร่วม และเปลี่ยนชื่อเป็น Octopus Card ในปี 2002 นอกใช้ในระบบขนส่งมวลชนแล้ว ยังใช้เป็นบัตรเงินสดซื้อของในร้านค้าต่างๆ โดยลูกค้าต้องซื้อบัตรมูลค่า 150 เหรียญฮ่องกง (หรือประมาณ 450 บาท) เป็นเงินมัดจำ 50 เหรียญฮ่องกง

Profile

บีทีเอสมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 6 แสนเที่ยวต่อวัน (1คนอาจเดินทางหลายครั้งในแต่ละวัน) การปรับค่าโดยสารครั้งล่าสุดเมื่อปี 2550 จาก10-40 บาท เป็น 15-40 บาท และกำลังมีแผนปรับค่าโดยสาร โดยมีเพดานสูงสุดที่ 65 บาท

สำหรับบัตรแรบบิตคาดว่าจะมีผู้ถือบัตรนี้ประมาณ 1.5 บัตรภายใน 1 ปี โดยอาจมีอุปสรรคในการทำตลาดที่ต้องมีเงินค่ามัดจำบัตร 50 บาท และค่าออกบัตร 150 บาท 

บัตรแรบบิต เกิดขึ้นจากการจัดตั้งบริษัทบางกอกสมาร์ท การ์ด ซิสเต็ม จำกัด เพื่อใช้ตั๋วโดยสารร่วมกัน โดยบีทีเอสซีถือหุ้น 90% และแบงก์กรุงเทพ 10% และในอนาคตบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (อ็มอาร์ที) จะถือ 30% 

]]>
14721
ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม ปั้นแบรนด์ (เรือ) ด่วน https://positioningmag.com/14260 Wed, 30 Nov 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14260

ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม ก้าวเข้ามารับผิดชอบธุรกิจครอบครัวเรือด่วนเจ้าพระยา และบริษัท สุภัทรา จำกัด ในฐานะ Generation ที่ 4บุตรสาวคนเดียวของสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ประธานกรรมการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และเปาว์ พิชัยรณรงค์สงคราม ท่ามกลางความท้าทายในการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวในโลกยุคใหม่ 

“เรือด่วนเจ้าพระยาอายุ 40 ปี มีความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด และเริ่มสร้างแบรนด์เมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนสุภัทราอายุ 92 ปี แต่เราไม่เคยสร้างแบรนด์นี้เลย” ณัฐปรีที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานกับธุรกิจครอบครัวเมื่อกรกฎาคม 2554 บอก 

“แม้จะเป็นธุรกิจครอบครัวแต่หากต้องการจะเติบโตไปมากกว่านี้ก็ถึงเวลาที่ต้องทำอะไรใหม่ๆ เราตั้งเป้าที่จะสร้างแบรนด์สุภัทราให้เป็นแบรนด์ Real Estate&Hospitality สร้างเอกลักษณ์ให้ชัดเจน ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่ และเตรียมว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ระดับโลกด้วยเพราะต้องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เป้าหมายในระยะไกลคือต้องการสร้างแบรนด์สุภัทราให้อินเตอร์””

สุภัทรา คือ ชื่อของคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ ผู้เป็นย่าของเธอ ซึ่งริเริ่มธุรกิจเรือด่วนเจ้าพระยานั่นเอง  

ทั้งนี้โครงการผ่านใต้การบริหารงานของณัฐปรีซึ่งรับผิดชอบด้าน Brand Synergy&Architecture ล้วนเป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ครอบครัวไม่เคยทำมาก่อน อาทิ  การว่าจ้างบริษัทมืออาชีพอย่างคอนทัวร์ บริษัทสถาปนิกชื่อดังซึ่งออกแบบเจ อะเวนิว ให้มาออกแบบพื้นที่บริเวณท่ามหาราชสำหรับโครงการคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกบนย่านถนนท่าพระจันทร์ ภายใต้ชื่อ เดอะ มหาราช 

“ต้องการปรับปรุงท่ามหาราชให้เป็นที่สังสรรค์ของคนในแถบนี้ โดยเฉพาะครอบครัวยุคใหม่ ”

รวมถึงโครงการบูติกโฮเต็ล ขนาด 70 ห้อง ริมถนนพระอาทิตย์ ภายใต้งบกว่า 200 ล้านบาท กับคอนเซ็ปต์ รัตนโกสินทร์ ชิค ซึ่งเธอต้องทำงานร่วมกับลูกพี่ลูกน้องอย่าง ฟาน ศรีไตรรัตน์ บุตรชายของภัทราวดี มีชูธน ผู้เป็นน้าสาวของเธอ 

ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นข้อได้เปรียบเบื้องต้นของตระกูลนี้ น่าสนใจว่าแผนการต่อยอดต่างๆ ที่วางไว้เมื่อแล้วเสร็จจะก่อให้เกิดผลงอกงามอย่างไรบ้าง 

นอกจากนี้ตระกูลของเธอยังถือครองที่ดินอีกมากในหัวหิน นอกเหนือไปจากธุรกิจโรงแรมสุภัทรา รีสอร์ท ที่ดำเนินการอยู่แล้ว โดยเฉพาะที่ดินผืนงาม 4-6 ไร่ ริมหาด ซึ่งเตรียมพัฒนาเป็นค้าปลีกชายทะเลแห่งแรกของหัวหิน

แน่นอนว่าณัฐปรีจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะรุ่น 4 ที่กำลังสร้างประวัติศาสตร์บทใหม่ให้กับธุรกิจครอบครัวของเธอเอง

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>Profile Name : ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม Education : จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
นิวยอร์ก และจบด้านบริหารการโรงแรมจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ มัธยมศึกษาตอนปลาย Institute De
Rosey ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนนานาชาติ บางกอกพัฒนา Career
Highlight : กรกฎาคม 2554-ปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่ง Executive Director บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด มิถุนายน 2551-สิงหาคม 2553
นักวิเคราะห์เพื่อการลงทุนในธุรกิจโรงแรมที่ Colliers  International
Thailand 2 ปี Hobby : วาดภาพ  ชื่นชอบงานศิลปะ
]]>
14260
พลิกโฉมเจ้าพระยากับเรือด่วนฯโฉมใหม่ (แต่มาเมื่อไหร่ไม่รู้) https://positioningmag.com/14146 Thu, 15 Sep 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14146

นับเป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดของบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เพราะมีการรีแบรนด์ในโอกาสครบรอบ 40 ปีแล้ว แถมยังลงทุน 80 ล้านบาท สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ใกล้สะพานพระนั่งเกล้า จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ด้วยอาคารดีไซน์เก๋จากไม้ตะเคียนทอง (ไม้ประเภทเดียวกันกับที่ใช้ต่อเรือโดยสาร)ออกแบบโดยสถาปนิกอเมริกัน Stephen O’Dell (เจ้าของผลงานออกแบบ W Hotel Bangkok) และอนาคตอันใกล้ยังเตรียมติดตั้ง GPS ในเรือโดยสารทุกลำ เพื่อให้ข้อมูลกับผู้โดยสารที่รอขึ้น-ลงเรือตามท่าต่างๆ ที่สำคัญยังเตรียมเผยโฉมเรือโดยสารรูปแบบใหม่ไฉไลระดับอินเตอร์อีกด้วย

โดยบริษัทฯได้ว่าจ้าง Incat Crowther ซึ่งเชี่ยวชาญในการออกแบบเรือโดยสารประเภท Catamaran ออกแบบเรือ 2 ท้องซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะน้ำเคลื่อนตัวผ่านกลางลำ ทำให้เกิดคลื่นน้อยเพียง 10 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นผลดีต่ออาคารบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และยังประหยัดเชื้อเพลิงกว่าเดิมราว 20% โดยเรือโดยสารรูปแบบนี้มีขนาด 200 ที่นั่ง (รองรับผู้โดยสาร 250 คนรวมยืน) มีมูลค่าลำละ 50 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ประธานกรรมการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด บอกว่าต้องขึ้นอยู่กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเทียบเรือที่ได้มาตรฐานเป็นสำคัญหากภาครัฐพร้อม เรือโดยสารอินเตอร์จากบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา ก็พร้อมที่จะให้บริการพร้อมๆกับการเปิดรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ BMCL และรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จใกล้เคียงกันในปี 2558

“ถ้ารัฐพร้อมเราก็พร้อม กำลังรอว่าจะได้ลงทุนเมื่อไหร่ แน่นอนว่าค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นจะตอบโจทย์ผู้โดยสารในแง่ของความสะดวกสบายของที่นั่ง ห้องโดยสารปรับอากาศ ระยะเวลาการเดินทางที่รวดเร็วและตรงเวลายิ่งขึ้น แต่ในขณะนี้กำลังศึกษาโครงสร้างราคาแบบเดียวกับบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีอยู่”

ทั้งนี้เธอต้ั้งเป้าว่าเรือด่วนเจ้าพระยาโฉมใหม่ จะเป็นรูปแบบการบริการทางน้ำระดับอินเตอร์ใกล้เคียงกับ Gold Coast Ferries ออสเตรเลีย Thames Clippers ที่ลอนดอน อังกฤษ และ Water Taxi ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

โดยปัจจุบันเรือโดยสารแบบ Catamaran ที่ให้บริการในประเทศไทยมีเพียงเรือโดยสารของบริษัท เรือเร็วลมพระยา จำกัด ซึ่งให้บริการเส้นทางชุมพร-เกาะเต่า-เกาะพะงัน-เกาะสมุย

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ก่อตั้งโดยคุณหญิงสุภัทรา
สิงหลกะ ปัจจุบันมีเรือทั้งสิ้น 65 ลำ ผู้โดยสารวันธรรมดา     

35,000-40,000 คนต่อวัน ผู้โดยสารวันเสาร์-อาทิตย์ 20,000-25,000 คนต่อวัน ผู้โดยสารต่อปีประมาณ  
10.5 ล้านคน คนไทย   
80% ต่างชาติ  20% ส่วนใหญ่
57% ใช้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน 06.00-09.00 น.

]]>
14146
BRT ช่องนนทรี สถานีฮิตของคนเมือง https://positioningmag.com/14099 Tue, 13 Sep 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14099

หลังจากระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT) เปิดตัวอย่างเป็นทางการกลางปี 2553 ถึงแม้ว่าตัวระบบการโดยสารไม่เป็นที่นิยมนัก แต่สถานีเริ่มต้นของ BRT ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรี กลับกลายเป็นสถานที่ฮิตของคนในย่านนั้น

ด้วยปัจจัยที่ว่าสถานที่ดังกลาวเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางทั้งสองระบบ กับการที่ตึกสำนักงานออฟฟิศที่สำคัญหลายแห่งอยู่ในย่านนั้น จนคอนโดมิเนียมหรูเกิดขึ้นมาพร้อมกับเส้นทางการเดินทางใหม่ๆ และด้วยความเป็นที่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ ดีไซน์ที่ทันสมัย โปร่ง โล่ง ทำให้สถานี BRT เป็นสถานที่ที่ถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ มิวสิกวิดีโอ หรือครอบครัวมาพักผ่อน เพิ่มคุณค่าให้สถานที่จากเดิมที่มีกองถ่ายทำภาพยนตร์อินเดียแวะเวียนมาใช้ถ่ายหนัง อาศัยวิวของตึกสูงโดยรอบ กับตัวสะพานลอยที่เชื่อต่อกันยาว 4 ด้าน พอเพิ่มหลังคาของสถานีเข้าไปช่วยให้อากาศเย็นสบายขึ้น สถานี BRT จึงฮิตแบบไม่มีใครคาดคิด

]]>
14099
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน…หนุนบทบาทไทยในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค https://positioningmag.com/53055 Mon, 13 Sep 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53055

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับจีนในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และเส้นทางกรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งจะเสนอร่างกรอบการเจรจาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

มติครม.ดังกล่าวเป็นความคืบหน้าและอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค อย่างจีนตอนใต้ โดยเฉพาะการค้าชายแดนและผ่านแดนที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้รับปัจจัยหนุนจากทั้งการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 0 จากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน รวมทั้งการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียนสาขาโลจิสติกส์ที่มีเป้าหมายในการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2556 ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสของไทยในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะผ่านเข้ามาด้วยเส้นทางทางบกได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นการยกระดับบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และประตูเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และจีน

แนวคิดรถไฟความเร็วสูงมีความคืบหน้า … แต่ต้องติดตามความชัดเจนอีกหลายประเด็น

ประเทศไทยและจีนมีความร่วมมือกันที่จะพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับจีน ตามกรอบการเจรจาที่ครม.เห็นชอบจะเป็นความร่วมมือในการพัฒนากิจการรถไฟในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะทางประมาณ 615 กิโลเมตร) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง (ระยะทาง 250 กิโลเมตร) และเส้นทางกรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (ยังไม่ได้ระบุจุดหมาย ระยะทางประมาณ 985 กิโลเมตร) ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวคาดว่าจะป็นการพัฒนาระบบรางขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge: 1.435 เมตร) จากที่ปัจจุบันไทยใช้ระบบรางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ซึ่งมีข้อจำกัดด้านน้ำหนักการขนส่งและความเร็วของรถไฟ
โดยความร่วมมือเพื่อพัฒนากิจการรถไฟไทยบางเส้นทางเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรางรถไฟขนาดมาตรฐานของจีนจากคุนหมิง (มณฑลหยุนหนาน ทางตะวันตกของจีน)-นครเวียงจันทน์ (ลาว)-หนองคาย-กรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของไทย-มาเลเซีย ซึ่งความเป็นไปได้ของไทยน่าจะมีความพร้อมในเส้นทางรถไฟเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ ก่อน ซึ่งในเบื้องต้นอาจใช้งบประมาณลงทุนประมาณ 1.7 แสนล้านบาท (280 ล้านบาทต่อกิโลเมตร) มีความเร็วไม่น้อยกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งอาจใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อน ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูง

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวยังคงต้องติดตามความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการ เช่น รูปแบบรางซึ่งอาจเป็นแบบ Single Track หรือ Double Track หรือแบบผสม ซึ่งจะมีผลต่อความเร็วของรถไฟ และการบริการจัดการ รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้าง ลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ร.บ.การเข้าร่วมงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้น แหล่งเงินทุน ซึ่งอาจกระทบต่อระดับหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดในการก่อหนี้ของรัฐในอนาคต รวมทั้ง ประเด็นการแปลงสินทรัพย์ เช่น ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นมูลค่าการถือหุ้น ข้อกำหนดอื่นๆ เช่น การใช้วัสดุก่อสร้าง แรงงาน ผู้เชี่ยวชาญ การแบ่งรายได้ การบริหารงาน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค…สนับสนุนความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน

สำหรับโครงการพัฒนากิจการรถไฟเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเส้นทางในส่วนของไทยที่น่าจะก่อสร้างได้ก่อนช่วงอื่น โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี ซึ่งในระยะสั้นจะทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนสู่ระบบเศรษฐกิจและขยายการจ้างงานในประเทศ

ส่วนผลในระยะปานกลางและยาว หากโครงการแล้วเสร็จคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในประเทศ ซึ่งจะเพิ่มสัดส่วนของการขนส่งระบบการรางที่สามารถขนสินค้าและผู้โดยสารได้ในจำนวนที่มาก รวดเร็วขึ้นกว่าการขนส่งด้วยระบบรางที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ใช้รางขนาด 1 เมตร และยังมีต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยที่ถูกกว่าการขนส่งในบางรูปแบบ โครงการดังกล่าวจะเพิ่มทางเลือกของรูปแบบการขนส่งให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะสินค้าและจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังจะสนับสนุนและเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่นอีกด้วย นอกจากนี้ จะช่วยเชื่อมโยงระบบการขนส่งและเศรษฐกิจภายในอาเซียนและภูมิภาค โดยเฉพาะกับจีนให้มีมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการค้าและเศรษฐกิจภายในภูมิภาคนี้ให้ขยายตัวได้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นส่วนที่เชื่อมจากเส้นทางจากนครคุนหมิงในมณฑลหยุนหนานของจีน ผ่านหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์ในลาว มุ่งสู่ประเทศไทยโดยข้ามผ่านสะพานแม่น้ำโขงแห่งแรกของไทยที่จ.หนองคาย และสู่กรุงเทพฯ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นการเปิดทางออกสู่ทะเลของมณฑลด้านตะวันตกของจีนอย่างมณฑลหยุนหนาน และมณฑลเสฉวนที่ไม่มีทางออกทางทะเล ให้สามารถขนส่งสินค้าไปยังท่าแหลมฉบังได้ ซึ่งจะรวดเร็วกว่าการขนส่งไปยังท่าเรือที่ฮ่องกง นอกจากนี้ การเชื่อมโยงกับมณฑลหยุนหนาน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต อีกทั้งรัฐบาลจีนมีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศด้วยนโยบาย Go West Policy โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางรถไฟ สนามบิน และศูนย์กระจายสินค้า จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ของจีนด้วยโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของจีน ทั้งนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะขยายตลาดในภาคตะวันตกของจีน ซึ่งผู้บริโภคในมณฑลหยุนหนานเองก็ยังค่อนข้างคุ้นเคยกับสินค้าไทยอยู่แล้ว

ขณะที่เส้นทางที่ผ่านลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตสูง โดยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศและมีการเข้าไปลงทุนของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจีนที่เข้าไปลงทุนด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร จึงน่าจะเป็นโอกาสของไทยที่ขยายตลาดในลาว ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคก็ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยอยู่แล้วค่อนข้างมาก

ส่วนการเชื่อมเส้นทางจากกรุงเทพฯสู่ภาคใต้ของไทยไปยังมาเลเซีย และมีโอกาสเชื่อมโยงไปสู่สิงคโปร์ในอนาคต จะทำให้การขนส่งสินค้าจากภาคใต้ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ สู่จีนได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถขนส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ จากมาเลเซียมาที่กรุงเทพฯ เพื่อกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้สะดวกขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบจากการเข้ามาของสินค้าจากประเทศที่มีเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศไทย ซึ่งก็จะสะดวกขึ้นเช่นกันหากโครงการพัฒนารถไฟดังกล่าวแล้วเสร็จ โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเตรียมรับมือกับการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการต่างชาติในไทยที่อาจมีมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคยังมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอีกหลากหลายโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และยังอยู่ระหว่างการพัฒนา อันจะช่วยทั้งเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคและช่วยสนับสนุนการค้าในภูมิภาค

?ทั้งนี้ การขนส่งทางถนนตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ที่เชื่อมโยงแต่ละประเทศเข้าด้วยกันจะช่วยเสริมกันกับการขนส่งในระบบราง ซึ่งจะทำให้ระบบคมนาคมขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงไทยกับประเทศในภูมิภาคมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเส้นทางถนนจะช่วยเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากแต่ละพื้นที่เข้าสู่การขนส่งในระบบราง ขณะเดียวกันก็จะช่วยกระจายสินค้าและผู้โดยสารไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่มีระบบรางพาดผ่าน โดยเฉพาะเมื่อการขนส่งทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่สำคัญและมีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั้งในประเทศไทยรวมทั้งหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งเส้นทางทางถนนที่สำคัญและมีบทบาทเชื่อมโยงในภูมิภาคนี้ อาทิ

เส้นทาง R3A จากกรุงเทพฯ ผ่านลาวไปยังนครคุนหมิงในมณฑลหยุนหนาน ?ซึ่งเป็นอีกเส้นทางที่เชื่อมโยงไทย ลาว และกับจีนตะวันตก โดยจะช่วยกระจายสินค้าและผู้โดยสารในภาคเหนือของไทยสู่มณฑลหยุนหนานได้เช่นกัน นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังมีความสำคัญกับจีนเนื่องจากมีศักยภาพที่จะออกสู่ทะเลได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากไทยมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก (Deep Seaport) ทางฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งในอนาคตหากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2555) และโครงการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า (Intermodal Facilities) ที่เชียงแสนและเชียงของ จ.เชียงราย แล้วเสร็จก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าชายแดนให้เติบโตได้มากขึ้น

ส่วนเส้นทาง ?R8 (จากหนองคายหรือนครพนม ผ่าน R13) หรือ R12 (ผ่านนครพนม) ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งทางถนนที่?สามารถเชื่อมโยงกับการเส้นทางรถไฟหนองคาย-กรุงเทพฯได้ อีกทั้งยังมีเส้นทางที่ผ่านลาวไปยังเวียดนาม และไปถึงนครหนานหนิง ในมณฑลกวางสี ซึ่งเป็นมณฑลเดียวของจีนตอนในทางตะวันตกที่มีทางออกทะเล และมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญของจีนตอนใน อีกทั้งยังติดกับมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยและมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยเส้นทาง R12 มีการใช้สำหรับการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปยังตลาดเจียงหนาน นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-3.5 วัน สั้นกว่าและสะดวกกว่าเส้นทางอื่น ซึ่งหากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 แล้วเสร็จ (คาดว่าจะเปิดใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554) น่าจะทำให้การขนส่งสินค้าตามเส้นทางนี้สะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในภูมิภาคที่อยู่ระหว่างดำเนินการและการศึกษาอีกหลายโครงการยังน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เข้าด้วย เช่น การสร้างถนนจาก จ.กาญจนบุรีถึงชายแดนพม่าเพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือทวายในพม่า การสร้างเส้นทางรถไฟต่อจากท่านาแล้งถึงนครเวียงจันทน์ เป็นต้น

โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์จะช่วยขยายการค้าและการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค

การพัฒนาการค้าภายในอนุภูมิภาค (Sub-Region) ทั้งการค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ขยายตัวร้อยละ 34.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนทิศทางการค้าชายแดนและผ่านแดนที่น่าจะขยายตัวได้ดี แม้ว่าปัจจุบันยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคที่ยังฉุดรั้งการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมายและข้อปฏิบัติ รวมถึงสภาพแวดล้อมระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ยังแตกต่างกัน รวมทั้งขาดความร่วมมือในระดับรัฐ และระดับปฏิบัติการ จึงยังทำให้การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนไม่สะดวกอย่างที่คาดหวังไว้ และอาจต้องใช้ระยะเวลาเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของได้อย่างก้าวกระโดด
โดยปัจจัยที่สนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้ง การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน ซึ่งมีการลดภาษีการนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในอัตราร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ขณะที่การเปิดเสรีการค้าบริการสาขาโลจิสติกส์ซึ่งจะมีการทยอยเปิดมากขึ้นจะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับการค้ามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี น่าจะเป็นแรงหนุนความต้องการสินค้าและบริการ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนมาสู่ภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น ซึ่งหลายประเทศได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน โดยพยายามเข้ามามีส่วนร่วมและลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากผลในทางการค้าแล้ว ไทยยังมีโอกาสที่จะขยายตลาดการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนได้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านที่รวมเวียดนามและจีนมีจำนวนประมาณ 3.7 ล้านคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด โดยมาเลเซียเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังไทยมากที่สุดคือประมาณ 1.8 ล้านคนต่อปี ขณะที่จีนมีจำนวน 8 แสนคนต่อปี แต่คาดว่าภายใน 3-5 ปี นักท่องเที่ยวจากจีนน่าจะแซงหน้ามาเลเซียขึ้นมาเป็นตลาดนักท่องเที่ยวอันดับ 1 ของไทยได้ หากมียุทธศาสตร์รองรับที่ดี

โดยสรุป เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับจีนในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และเส้นทางกรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางรถไฟของจีนจากคุนหมิง (มณฑลหยุนหนาน ของจีน)-นครเวียงจันทน์(ลาว)-หนองคาย-กรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของไทย-มาเลเซีย

ความคืบหน้าดังกล่าวเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค โดยเฉพาะการค้าชายแดนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันการค้าชายแดนของไทยยังมีอุปสรรคอีกหลากหลาย ทั้งด้านความแตกต่างของข้อปฏิบัติ กฎระเบียบ กฎหมาย วัฒนธรรม ภาษา รวมทั้งเศรษฐกิจและการเมือง แต่ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน ซึ่งมีการลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 ในสินค้าหลายรายการ และจะทยอยลดภาษีมากขึ้นในอนาคต ประกอบกับการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียนสาขาโลจิสติกส์ที่มีเป้าหมายการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2556 อีกทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและการศึกษา อาทิ การขนส่งทางถนนตามเส้นทางต่างๆ ทั้ง R3A และ R12 สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 และ 4 (ไทย-ลาว) เป็นต้น จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้มของเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจะขยายตัวได้ในระดับดี และเป็นประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนา ซึ่งจะมีการเปิดประเทศมากขึ้นอย่างลาว พม่า และกัมพูชา จะช่วยให้การค้าชายแดนของไทยสามารถขยายตัวได้ในระดับที่ดี

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2553 การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ อาจมีมูลค่าประมาณ 750,000-790,000 ล้านบาท หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 16.0-22.0 จาก 646,813 ล้านบาท ในปี 2552 ขณะที่ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนอาจเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 1,500,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบร้อยละ 8 ของการค้ารวมของไทย จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8

ด้านการท่องเที่ยว หากความร่วมมือระหว่างประเทศภายในภูมิภาคมีการพัฒนาต่อไป คาดว่าตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนามและจีนจะเติบโตได้มากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนซึ่งภาครัฐมีเป้าหมายเชิงรุกที่จะดึงดูดเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจีนมีโอกาสเพิ่มขึ้นมาถึงระดับ 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะเป็นตลาดนักท่องเที่ยวอันดับ 1 แทนที่มาเลเซียและญี่ปุ่นได้

โดยหากการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนขนาดใหญ่แล้วเสร็จ ประกอบกับความร่วมมือเพื่อลดอุปสรรคทางด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีการค้า การค้าบริการ และการลงทุนที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถผลักดันเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ได้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของภูมิภาคให้สามารถขยายตัวได้อย่างก้าวกระโดดในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งการพัฒนาและความร่วมมือข้างต้นอาจนำมาซึ่งการแข่งขันที่สูงขึ้นจากทั้งสินค้าและบริการ รวมถึงผู้ประกอบการจากประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคที่จะเข้ามายังตลาดภายในประเทศไทย โดยเฉพาะจีน ซึ่งอาจทำให้มีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน

]]>
53055