UOB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 15 Jun 2024 03:58:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB เผย “โอนย้ายลูกค้า Citi เป็นไปด้วยดี มองปัญหาการจ่ายเงินเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าคนละแบบ แต่แก้ปัญหาแล้ว” https://positioningmag.com/1478242 Fri, 14 Jun 2024 14:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478242 ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของ Citi ที่ได้โอนย้ายมาเป็นลูกค้า UOB ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งการไม่สามารถติดต่อกับ Call Center ได้ หรือแม้แต่ปัญหาระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ ซึ่งล่าสุดสถาบันการเงินรายนี้ได้กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวได้กำลังทยอยแก้ปัญหาอยู่

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) ได้ชี้แจงเรื่องราว รวมถึงการแก้ไขปัญหา หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ทางธนาคารเร่งให้ทางธนาคารแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ (Citi) มายังธนาคาร และกำชับให้ธนาคารเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก UOB ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยของซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ในปี 2022 และยังรวมถึงประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

Positioning รวบรวมประเด็นสำคัญจากผู้บริหารของ UOB หลังจากมีการย้ายลูกค้าจากเดิมที่อยู่ Citi มายังระบบของ UOB ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา

การย้ายระบบเป็นไปได้ด้วยดี

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนย้ายบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย มายังระบบของธนาคารยูโอบี โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมาและในขั้นตอนการโอนย้ายมีความปลอดภัยที่ดี

เขายังชี้ว่าการย้ายลูกค้าจากแพลตฟอร์มหนึ่งมาอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความขลุกขลั่กหลายเรื่อง

ในขณะที่ วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การโอนย้ายสำเร็จทั้งลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้า Wealth ซึ่งทางธนาคารรับทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทางธนาคารขออภัยในความไม่สะดวก

ปัญหาเรื่อง Call Center

กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า UOB ได้เพิ่มจำนวน Call Center มากถึง 1,000 คน (จากเดิม 500 คน) และเรื่องดังกล่าวมีการเตรียมพร้อมหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพนักงาน เป็นต้น

แต่เนื่องจากปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นั้นเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า แม้จะเพิ่มพนักงานแล้วเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เธอได้ให้รายละเอียดเป็นเพราะว่าระยะเวลาการพูดคุยเฉลี่ยของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อลูกค้า 1 รายอยู่ที่ 700 วินาที ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 350 วินาที เนื่องจากลูกค้าต้องการให้ช่วยสมัคร บริการ UOB TMRW ซึ่งลูกค้ามากกว่า 90% ของ Citi ได้สมัครบริการ UOB TMRW แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เธอได้กล่าวว่าได้แบ่งกลุ่มของ Call Center ให้แยกรับปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น การสมัคร UOB TMRW การรับปัญหาเรื่อง Statement ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้เก็บไว้ รวมถึงปัญหาเรื่องระบบการ กระจายยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment)

(จากซ้าย) วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand / ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ / ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย / ภาพจาก UOB Thailand

เปิดบริการในหลายช่องทาง

วีระอนงค์ ยังได้กล่าวว่า ปัญหาของ Call Center ในช่วงแรกนั้นได้แก้ปัญหาโดยการฝึกพนักงาน Call Center เพิ่มเติม และยังมีการนำพนักงานที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาช่วยในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันทาง UOB ได้เปิดช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีการส่งอีเมล หรือเปิดรับปัญหาจาก Social Network ต่างๆ สามารถส่งข้อความเข้ามาได้ และยังรวมถึงการให้บริการของสาขาได้มีการขยายเวลาทำการในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีพอสมควร

ในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่าธนาคารได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการรายงานกลับไปเป็นระยะๆ และทุกสัปดาห์มีการประชุมร่วมกันด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นเธอซาบซึ้งธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาลูกค้า

สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น วีระอนงค์ ได้กล่าวว่า หากลูกค้าโทรเข้ามาที่ UOB จะต้องรับสายได้ สามารถมีการส่ง Statement ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงแล้วแต่เธอยังจับตามองอยู่ และพยายามทำให้ลูกค้าสบายใจมากขึ้น

ในส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางคือปรับปรุงกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจ่ายเงิน เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป เลยต้องรีบแก้ไข ทำให้ดีมากกว่านี้ และยังรวมถึงก็สิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า ตอบโจทย์ลูกค้า มีแคมเปญต่างๆ ไม่หยุดทำแคมเปญ

เธอยังมองว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เน้นสื่อสารเรื่องการโอนย้ายลูกค้าเลยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสิทธิประโยชน์หายไป แต่หลังจากนี้ธนาคารจะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของ UOB Thailand ชี้ว่าปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า / ข้อมูลจาก UOB Thailand

ปัญหาเรื่องของระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงปัญหาของระบบ Payment Apportionment ซึ่งทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ นั้นเขามองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าของ Citi และ UOB ที่แตกต่างกัน

เขาได้กล่าวถึงพฤติกรรมลูกค้า UOB คือจะจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สำหรับลูกค้า Citi กลับเลือกจ่ายทีละบัตรเครดิต ซึ่งบางบัตรนั้นลูกค้าจ่ายเต็ม บางบัตรเครดิตลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาตอนนี้คือทางธนาคารกำลังพัฒนาระบบให้เลือกจ่ายได้ตามปกติ

ซึ่งปัญหาดังกล่าว กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มองว่าส่งผลทำให้การพูดคุยกับ Call Center ยาวนานมากขึ้น

ตอนนี้เวฟดอกเบี้ยให้หมด จะไม่เกิด Late Charge และถ้าขึ้นในเครดิตบูโร จะช่วยอัปเดต ลูกค้าที่กระทบนั้นหลักพันราย ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว และตอนนี้ทยอยปรับประวัติลูกค้าแล้ว และดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี จากปัญหาการกระจายยอด

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้กล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยธนาคารจะดำเนินการยกเลิก Payment Apportionment ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน เป็นต้นไป สำหรับการใช้งานบัตรเครดิต

กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังกล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ของ UOB อาจมีความล่าช้าไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารกำลังปรับปรุงระบบให้ดีมากขึ้น นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในเดือนเดือนพฤษภาคมมีลดลงบ้าง แต่เดือนมิถุนายนนั้นยอดการใช้จ่ายได้กลับมาปกติแล้ว

]]>
1478242
UOB มองเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอ แม้ได้ภาคการท่องเที่ยวช่วยไว้ แนะนำลงทุนกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นปันผลดี https://positioningmag.com/1472645 Thu, 09 May 2024 07:05:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472645 ยูโอบี (UOB) ได้คาดการณ์ว่าอาจปรับลดตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในช่วง 2 เดือนแรก แม้ว่าจะมีภาคการท่องเที่ยวช่วยไว้ก็ตาม นอกจากนี้ยังแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มปันผลนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาตลาดมีความผันผวน

เอ็นริโก้ ทานูวิดจายา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาว่ามีความท้าทาย และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกนั้นเพิ่มมากขึ้น ทางด้านเรื่องของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ นั้นมีผลกระทบต่อราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น 

ในส่วนของเศรษฐกิจโลก เอ็นริโก้ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังมีความแข็งแกร่งอยู่ แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวนั้นจะปรับตัวลดลงมาก็ตาม ทำให้เขามองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้เริ่มต้นในเดือนกันยายน และในช่วงปลายปีอีกครั้งหนึ่ง

ขณะที่เศรษฐกิจจีนเขามองว่าชะลอตัวลง แต่มีเสถียรภาพมากขึ้น ตรงข้ามกับอินเดียที่เติบโตอย่างมาก และเขามองว่าอินเดียจะเป็นดาวเด่นทางเศรษฐกิจด้วย

ข้อมูลจาก UOB

ชี้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอ แม้ท่องเที่ยวจะเป็นพระเอกก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research กลุ่มธนาคารยูโอบี ยังได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่าเศรษฐกิจไทยนั้นได้กลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดแล้ว แต่การเติบโตนั้นกลับไม่เท่ากันจะเห็นได้จากภาคบริการเติบโตมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดไปแล้ว แต่หลายอุตสาหกรรมเองกลับไม่ฟื้นตัวกลับมา เช่น ภาคการผลิต เป็นต้น

เขากล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวที่เป็นพระเอกของเศรษฐกิจไทยนั้น นักท่องเที่ยวชาวจีนได้กลับมาแล้ว แต่ไทยเองยังต้องการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ขณะเดียวกันภาคการส่งออกของไทยเขาก็มองว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

อย่างไรก็ดี เอ็นริโก้ มองว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะตัวเลขการเติบโตของเงินให้สินเชื่อของสถาบันการเงินไทยที่เติบโตติดลบ แสดงให้เห็นการบริโภคภายในประเทศถือว่าอ่อนแอมาก ทำให้เขามองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้งในปีนี้ โดยเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน และในช่วงปลายปี

UOB ได้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ในรายงานล่าสุดอยู่ที่ 2.8% แต่ เอ็นริโก้ มองว่าอาจมีความเสี่ยงขาลงจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ 2 เดือนแรกของปีแย่กว่าคาด และอาจมีการปรับประมาณการใหม่ เขาคาดว่า GDP ไทยจะเติบโตแค่ 2.4-2.5% ถ้าหากมีการประมาณการตัวเลขใหม่

สำหรับค่าเงินบาทของไทย เขาไม่ได้กังวลมากนัก และมองว่าเม็ดเงินจะไหลออกระยะสั้นเท่านั้น แต่มองว่าค่าเงินบาทของไทยมีเสถียรภาพเนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นบวก นอกจากนี้ถ้าหากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ก็จะทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าด้วย

ข้อมูลจาก UOB

หุ้นปันผล อีกหนึ่งทางเลือกลงทุน

เอเบล ลิม Head of Wealth Management Advisory and Strategy กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้กล่าวถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะมีอุปสรรคมากมาย เช่น ความไม่แน่นอน แต่ก็พบว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตได้ดี ขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในสภาวะฟื้นตัว ขณะที่ญี่ปุ่นตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้ดีมาก บริษัทญี่ปุ่นยังเติบโตได้ ทางฝั่งยุโรปพบว่ามีเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาส 1 ปีที่แล้วแต่บริษัทหลายแห่งกลับยังทำผลงานได้ดี

เขากล่าวยังว่า “เนื่องจากตลาดมีความอ่อนไหวต่อดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางอัตราการเติบโตและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่แตกต่างกัน การสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอผ่านการลงทุนในหุ้นปันผลจึงเป็นสิ่งสำคัญ” โดยเขายกเหตุผลถึงถ้าหาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นผลดีกับหุ้นปันผลด้วย

ในส่วนของการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมพอร์ตการลงทุนหลัก UOB ได้แนะนำ 4 กลุ่มได้แก่ หุ้นเติบโตขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ (High Quality) หุ้นกลุ่ม Healthcare หุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นในอาเซียน

ขณะที่ความเสี่ยงของการลงทุนในช่วงที่เหลือของปี 2024 นี้ที่ UOB มองไว้ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อลดลงได้ช้ากว่าคาด ส่งผลทำให้ธนาคารกลางต้องคงดอกเบี้ยสูงเป็นระยะเวลานาน และยังรวมถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนจะขยายตัวขึ้น

]]>
1472645
UOB จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ย้ำสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าปี 67 ยอดใช้จ่ายโต 10% https://positioningmag.com/1456483 Wed, 20 Dec 2023 05:12:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456483 ยูโอบี จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยยืนยันว่าสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่าในปี 2567 จะมียอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 10%

ยูโอบี (UOB) ได้จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยได้ยืนยันถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ลดลง และตั้งเป้าว่าภายในปี 2567 นั้นยอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าจะเติบโตได้ถึง 10%

หลังการเข้าซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ Citi สำเร็จในปี 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารมีจำนวนลูกค้ารายย่อยเกือบ 8 ล้านรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย หรือแม้แต่ฐานลูกค้าบัตรเครดิตที่เติบโตมากขึ้นกว่าเดิมกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้เล่นรายใหญ่

ภาพบัตรเครดิตใหม่ ของ 5 พาร์ตเนอร์หลังอยู่ภายใต้ชายคาของ UOB

สำหรับแบรนด์ที่ได้เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand และสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มเติม ได้แก่

  • Grab โดยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ เพิ่ม Code ทุกวันศุกร์ รับคะแนน 3 เท่าในกลุ่มแฟชั่น ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ หรือกลุ่ม Healthcare ถ้าหากผู้สมัครบัตรใหม่ยังได้สิทธิ์ Grab Unlimited 1 ปีเพิ่มด้วย
  • Lazada สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือมีการแจก Code ของ Lazada มากกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับของเดิม
  • Makro สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ ได้แต้ม 2 เท่าถ้าหากซื้อสินค้าใน Makro ในวันที่ 16 ของเดือน
  • การบินไทย สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567
  • Mercedes สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567

สุพรทิพย์ พงศาชำนาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Card Business ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า UOB รู้สึกตื่นเต้นกับความร่วมมือครั้งนี้มาก เพราะจะทำให้ธนาคารมอบบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความสนใจของลูกค้าที่แตกต่างกัน

เธอยังกล่าวเสริมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้ UOB มอบบริการด้านการเงินที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงภูมิภาคอาเซียน และนี่เป็นสิ่งทำให้ธนาคารยูโอบีมีความโดดเด่นและแตกต่าง

นอกจากนี้การเปิดตัวบัตร Co brand ทั้ง 5 นี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของธนาคาร ในการทำให้ธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของลูกค้า บัตรแต่ละใบได้รับการออกแบบเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน 

สิทธิประโยชน์บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นของ UOB กับ 5 พันธมิตร

ไม่เพียงเท่านี้ UOB ยังมีการออกแบบบัตรเครดิตใหม่ โดยเสนอความเป็นแต่ละแบรนด์ เช่น Grab แสดงถึงเรื่องของความไม่จำกัด (Unlimited) บัตร Royal Orchid ของการบินไทยที่มีความเรียบแต่หรู ทางด้านบัตรของ Lazada ที่เป็นแนวตั้งนั้นมองเรื่องความแตกต่าง ขณะที่ Mercedes แสดงถึงแบรนด์แบบเรียบหรู เป็นต้น

ทาง UOB ยังกล่าวถึงการมอบสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตร ไม่ว่าจะเป็นการจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ในช่วงที่ผ่านมา หรือแม้แต่การจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Ed Sheran ในประเทศไทยที่ได้สิทธิพิเศษกับผู้ถือบัตรของ UOB ก่อนใคร

ผู้บริหารของ UOB ยังกล่าวว่า “ตั้งแต่ลูกค้ารู้ว่า Citi จะมาอยู่กับ UOB ลูกค้ามีความกังวลถึงสิทธิประโยชน์อย่างมาก แต่ธนาคารได้ต่อยอดสิทธิประโยชน์จากเดิม เช่น แต้มสะสมไม่หมดอายุ มีแคมเปญพิเศษให้โดยตลอด โดยคนที่ถือบัตรเดิมของ Citi ได้สิทธิประโยชน์ใหม่เช่นกัน และจะมีการส่งบัตรเครดิตใบใหม่ให้ในช่วงต้นปี 2567”

]]>
1456483
ปรากฏการณ์ Taylor Swift ส่งผลให้ UOB ได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 89% ในไตรมาสที่ผ่านมา https://positioningmag.com/1449401 Thu, 26 Oct 2023 10:20:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449401 คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ ได้สร้างผลดีกับสถาบันการเงินอย่าง UOB เมื่อรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 89% ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากเหล่าแฟนคลับแห่กันสมัครและใช้งานบัตรเครดิตเพื่อที่จะจองตั๋วคอนเสิร์ต

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า UOB สถาบันการเงินในสิงคโปร์ ได้รายงานผลประกอบการในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยรายได้ค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิตของสถาบันการเงินรายดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากถึง 89% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา และยังทำสถิติใหม่ด้วย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตของ UOB เพิ่มมากขึ้นก็คือ ผลจากปรากฏการณ์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ ทำให้เหล่าแฟนคลับแห่กันสมัครบัตรเครดิตในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสิทธิพิเศษของผู้ถือบัตรคือสามารถที่จะจองตั๋วคอนเสิร์ตได้ก่อนใคร

ปกติแล้วรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วน 10% ของรายได้รวมทั้งหมดของ UOB แต่ปรากฏการณ์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ผ่านมารายได้นั้นทะลุเป้าเกือบ 20% ของรายได้รวมทั้งหมด

ไม่ใช่แค่ Taylor Swift เท่านั้น ล่าสุดทาง UOB ได้จับมือกับผู้จัดคอนเสิร์ต Ed Sheeran ในการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือบัตรเครดิตของสถาบันการเงินรายนี้สามารถซื้อตั๋วคอนเสิร์ตได้ก่อนใครด้วย

Wee Ee Cheong ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ UOB ได้กล่าวว่า ถ้าคุณมีบัตรเครดิตของ UOB ก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเล็กๆ น้อยๆ และจะมีอีกมากมายตามมาในภายหลังอย่างเช่น คอนเสิร์ตของ Ed Sheeran ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน (กับคอนเสิร์ตของ Taylor Swift)

]]>
1449401
UOB สำรวจผู้บริโภคชาวไทย มอง 6-12 เดือนข้างหน้าใช้จ่ายระมัดระวัง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัว https://positioningmag.com/1446324 Sun, 01 Oct 2023 15:37:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446324 ยูโอบี ได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 ซึ่งเปิดเผยความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภคชาวไทย มีความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า และมองว่าทำให้มีการใช้จ่ายแบบระมัดระวังตัวมากขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว

UOB ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย และได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study โดยในปี 2023 นี้ รายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคคนไทยยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีความระมัดระวังและปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัว

การสำรวจของ UOB ที่ทำในประเทศไทยได้เน้นเจาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท ไปจนถึงมากกว่า 200,000 บาท เป็นจำนวน 600 คนด้วยกัน

72% ของผู้ตอบแบบสำรวจ แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจเกิดขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังกว่าเดิม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงิน โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถามได้เลือกกันเงินสำหรับการออมและการลงทุนมากขึ้น 

โดย 3 ใน 4 ของผู้บริโภคในไทยมีความกังวลในสถานะการเงินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่ความมั่งคั่งของตัวเองลดลง ขณะที่ด้านการงานมองว่ากังวลในเรื่องที่จะได้โบนัสลดลง ความสามารถในการหาตำแหน่งงานที่ดีกว่า ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่จะตกงาน

ข้อมูลจาก UOB

ผู้ตอบแบบสำรวจ 30% ยังกังวลถึงเรื่องของความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยข้าวของที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว ขณะที่ความสามารถในการมีไลฟ์สไตล์แบบปัจจุบันรวมถึงด้านการออมเงินมีมากถึง 30% เช่นกัน ในด้านของการใช้เงินนั้น 25% มองว่าค่าใช้จ่ายตัวเองจะใช้มากขึ้น ขณะที่ 41% จะคงไว้ที่จำนวนเท่าเดิม ขณะที่ 31% จะลดด้านการใช้จ่ายลง

ในเรื่องของการเงินนั้น ผลสำรวจได้ชี้ว่า คนรุ่นใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน โดยเฉพาะ Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด 41% มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ขณะที่ด้านของการใช้บริการของธนาคารผ่านช่องทางต่างๆ 61% นั้นใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ 38% ผ่าน Internet Banking 30% ผ่านช่องทางเครื่องทำธุรกรรมอัตโนมัติ เช่น ATM หรือ CDM ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ดี

รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ว่า 89% ของผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร

]]>
1446324
UOB- The EM District ร่วมปั้น “ยูโอบี ไลฟ์” ฮอลล์จัดอีเวนต์แห่งใหม่ใน THE EMSPHERE รองรับ 6,000 คน https://positioningmag.com/1441251 Thu, 17 Aug 2023 15:45:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441251 UOB และ The EM District รวมถึง AEG ร่วมปั้น “ยูโอบี ไลฟ์” ฮอลล์จัดอีเวนต์แห่งใหม่ใน THE EMSPHERE รองรับ 6,000 คน คาดว่าในแต่ละปีจะสามารถจัดงานต่างๆ ได้มากถึง 100 งาน โดยจะเน้นไปที่การจัดคอนเสิร์ตและกีฬาเป็นหลัก

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารยูโอบีประเทศไทย, ดิ เอ็มดิสทริค (The EM District) รวมถึง เออีจี (AEG) ประกาศความร่วมมือในการให้สิทธ์ยูโอบีใช้ชื่อแบรนด์ ยูโอบี ไลฟ์ (UOB LIVE) ศูนย์กลางการจัดงานแห่งใหม่ที่ครบครันและล้ำสมัยที่สุดในอาเซียน

การให้สิทธิ์ใช้ชื่อ UOB LIVE นั้นจะมีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่การเปิดใช้งานวันแรก คาดว่าจะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า และเริ่มมีการติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวบ้างแล้วด้วย

ขณะที่ ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ ดิ เอ็มดิสทริค ได้เล่าถึง AEG มีแผนจะขยายธุรกิจ โดยบอร์ดผู้บริหารบอกว่ายุโรปน่าสนใจ แต่ Philip Anschutz ซึ่งเป็นเจ้าของ AEG กลับไม่เห็นด้วย

หัวเรือใหญ่ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป รายนี้ได้แนะนำประเทศไทยไปหลังจากการเข้าพบกับเจ้าของ AEG ซึ่งเขาเองเห็นด้วยกับแผนการดังกล่าวนี้ เธอยังได้พาบอร์ดผู้บริหารมาเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเธอมองว่าไทยสามารถผลักดัน World Class Entertainment ได้ และต่างฝ่ายต่างจริงจังในเรื่องนี้เช่นกัน

UOB LIVE นี้สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้ถึง 6,00 คน โดยที่โฟกัสหลักจะอยู่ที่งานประเภทคอนเสิร์ต และ กีฬา แต่สามารถรองรับจัดงานประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น งานสัมมนา หรือแม้แต่งานแต่งงานได้เช่นกัน โดยคาดว่าในแต่ละปีจะมีการจัดงาน 100 งานต่อปี แต่จะเน้นไปที่คอนเสิร์ตกับกีฬาเป็นหลัก

โดยฮอลล์ดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งในไฮไลต์ของ ดิ เอ็มสเฟียร์ (THE EMSPHERE) ศูนย์การค้าแห่งใหม่ ที่มาพร้อมกับแหล่งช็อปปิ้งระดับโลก ตัวเลือกร้านอาหารที่หลากหลาย และพื้นที่สำหรับความบันเทิง

ตัน ชุน ฮิน (ที่ 3 จากด้านซ้าย), ศุภลักษณ์ อัมพุช (กลาง), อดัม วิลคส์ (ที่ 4 จากด้านขวา)

อดัม วิลคส์ ประธานและผู้บริหารสูงสุดของบริษัท AEG แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่นำไปสู่ยุคใหม่ด้านความบันเทิง โดย UOB LIVE จะเป็นสัญลักษณ์แห่งอนาคต ด้วยการมอบประสบการณ์ความบันเทิงเหนือระดับ ผ่านความร่วมมือของ AEG, UOB และ เดอะ มอลล์ กรุ๊ป ถือเป็นก้าวสำคัญในการจัดกิจกรรมระดับเวิลด์คลาสเพื่อสร้างช่วงเวลาสุดพิเศษที่น่าจดจำให้กับผู้เข้าชมงานทั้งในไทยและระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ ประธานและผู้บริหารสูงสุดของบริษัท AEG แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังได้เล่าถึงสาเหตุที่จะทำให้ศิลปินต่างชาติไม่เข้ามาในประเทศไทย สาเหตุส่วนหนึ่งที่เขามองเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่ไม่ดี

สำหรับความร่วมมือกับ UOB และ AEG นั้นครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้สถาบันการเงินจากประเทศสิงคโปร์รายนี้ได้จับมือกันโดยการให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าบัตรเครดิตของ UOB สามารถที่จะซื้อบัตรคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่ประเทศสิงคโปร์ได้ก่อนเพื่อน ก่อนที่จะมาจับมือกับ The EM District และ AEG อีกครั้งในกรุงเทพ

ขณะที่เม็ดเงินลงทุนของ UOB LIVE ที่ The EM District อยู่ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่เม็ดเงินอีก 350 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นทาง AEG และ The Mall Group ได้ลงทุนในฮอลล์จัดอีเวนต์ที่ Bangkok Mall แต่ยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องของการให้สิทธิ์ใช้ชื่อแต่อย่างใด

ประธานและผู้บริหารสูงสุดของบริษัท AEG แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UOB LIVE รวมไปถึงกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการจะประกาศให้ทราบอีกครั้งในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ทาง The EM District และ AEG ก็กำลังคุยกับผู้สนับสนุนรายอื่นๆ (Founding Sponsor) ของฮอลล์จัดอีเวนต์แห่งใหม่นี้ด้วย โดยเบื้องต้นมีทั้งแบรนด์รถยนต์ รวมถึงแบรนด์เครื่องดื่มเข้าร่วมแล้ว

]]>
1441251
UOB สำรวจพบ 3 ใน 4 ของ “ผู้บริหารไทย” เชื่อมั่นรายได้บริษัทฟื้นตัวปีนี้ แต่ยังต้องแบกต้นทุนเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1438981 Tue, 25 Jul 2023 11:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438981 ผลสำรวจ “ผู้บริหารไทย” โดยธนาคารยูโอบี (UOB) พบว่า 3 ใน 4 เชื่อมั่นว่ารายได้ขององค์กรจะฟื้นตัวได้ในปีนี้ แม้ว่าปัจจัยลบเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ โดยบริษัทที่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจปีนี้มากที่สุด ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคอสังหาฯ-โรงแรม และธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

ธนาคารยูโอบี จัดทำรายงาน UOB Business Outlook Study 2023 (SME& Large Enterprises) สำรวจความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารไทยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปีนี้หลังผ่านสถานการณ์โควิด-19 มา โดยสำรวจทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่ม SMEs รวมทั้งหมด 530 คน ครอบคลุมอุตสาหกรรม 10 กลุ่มในประเทศไทย

ผลสำรวจพบว่า 76% หรือ 3 ใน 4 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่าผลประกอบการขององค์กรในปี 2566 มีแนวโน้มสูงขึ้น

โดยธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจด้านการผลิตและวิศวกรรม (85%) ตามด้วย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการโรงแรม (80%) และ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (79%)

74% ของบริษัทที่สำรวจยังเชื่อมั่นด้วยว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะ “ดีขึ้น” และกว่า 90% มั่นใจว่าจะเห็นกำไรฟื้นตัวกลับมาได้ภายในปี 2568

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของปีนี้ของบริษัทต่างๆ 5 อันดับแรก ได้แก่ การมองหาฐานลูกค้าใหม่  (37%) สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง (35%) ลดรายจ่าย (32%) หาแหล่งรายได้ใหม่ (30%) และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (29%)

 

“ต้นทุนพุ่ง” จากเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยลบ

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 90% ของธุรกิจที่สำรวจได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่ปี 2565

61% ของธุรกิจบอกว่าบริษัทของตนมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น และ 44% กล่าวว่ากำไรลดลงจากปัญหานี้

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีผลจากความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปัจจัยนี้ทำให้บริษัท 2 ใน 5 ที่สำรวจระบุว่าซัพพลายเชนของธุรกิจได้รับผลกระทบ และทำให้ต้นทุนสูง

ถึงแม้ว่าปัจจัยลบเหล่านี้ยังคงอยู่ แต่ 63% ของธุรกิจที่สำรวจยังมองบวกว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว และน่าจะปรับลดลงได้ภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี

กลยุทธ์ธุรกิจ: มองหาการขยายไปต่างประเทศ

ผลสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า 90% ของธุรกิจต้องการจะขยายไปยังต่างประเทศภายใน 3 ปี เพื่อทางเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไร และสร้างภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ

โดยธุรกิจที่ต้องการขยายไปต่างประเทศมากที่สุดคือ กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าส่งและส่งออก (96%) เป้าหมายหลักที่บริษัทเหล่านี้ต้องการขยายไปคือ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่งเหมือนกันที่สนใจจะขยายไปนอกภูมิภาคเอเชีย (คิดเป็น 1 ใน 3)

ทั้งนี้ ความท้าทายหลักที่ภาคธุรกิจเผชิญเวลาขยายธุรกิจไปต่างประเทศคือ ขาดความรู้ทางกฎหมาย กฎระเบียบ และภาษี รวมถึงขาดพันธมิตรที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปรับตัวสู่ดิจิทัล ส่วนความยั่งยืน…ยังต้องรอก่อน

เทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในโลกและในไทยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า บริษัทพร้อมแล้วที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจ โดย 92% ของบริษัทไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจอย่างน้อย 1 หน่วยงาน ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย

ธุรกิจมักจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วน SMEs ไทยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อปรับกระบวนการธุรกิจ

ส่วนความสนใจด้านความยั่งยืน 96% ของบริษัทที่สำรวจสนใจแนวทางทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน มองว่ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนจะช่วยส่งเสริมชื่อเสียงของบริษัทให้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถดึงดูดพนักงานใหม่และนักลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้พบว่าแม้ 9 ใน 10 ของธุรกิจไทยจะประกาศเป้าหมายแล้วว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net zero emission) แต่มีเพียง 51% ที่นำแนวคิดด้านความยั่งยืนมาปฏิบัติอย่างจริงจัง

เหตุที่บริษัทเกือบครึ่งหนึ่งที่สำรวจยังไม่ได้ปฏิบัติจริง 1 ใน 3 ของเหตุผลคือความกังวลว่าแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น กระทบต่อกำไรบริษัท

สถานการณ์โควิดที่ผ่านมาเป็นตัวเร่งให้บริษัทในประเทศไทยเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล และผนึกกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อรับมือต่อวิกฤตที่เข้ามา โดยยังสามารถปรับตัวให้ธุรกิจมีผลกำไรและเติบโตไปข้างหน้าท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บริษัทที่ยังไม่พร้อมนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลมาใช้อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1438981
UOB ประกาศซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi สำเร็จ ตั้งเป้าเป็น The Best Consumer Bank ในไทย https://positioningmag.com/1406244 Tue, 01 Nov 2022 17:56:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406244 ยูโอบี (UOB) ประกาศว่าได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป (Citi) ในมาเลเซียและไทยอย่างเสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วในวันนี้ โดยการโอนธุรกิจมายัง UOB นั้นผู้บริหารได้กล่าวว่าลูกค้าแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือแม้แต่ได้รับผลกระทบ และตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนผ่านให้ไร้รอยต่อมากที่สุดด้วย

สำหรับธุรกิจธนาคารลูกค้ารายย่อยที่ UOB ซื้อต่อจาก Citi นั้นประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ซึ่งสถาบันการเงินรายใหญ่จากสิงคโปร์รายนี้ได้ซื้อธุรกิจจาก Citi ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

สถาบันการเงินรายนี้จะยังคงให้ความสำคัญกับการโอนย้ายธุรกิจรายย่อยของ Citi เป็นไปอย่างราบรื่นในทั้ง 4 ประเทศ โดย UOB หวังว่าการโอนย้ายลูกค้าทั้งระบบจะแล้วเสร็จในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีลูกค้าจำนวนมากถึง 5.3 ล้านคนกระจายอยู่ทั่วอาเซียน และไทยเองถือเป็นประเทศที่มีฐานลูกค้ารายย่อยมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน

ตัวเลขที่น่าสนใจ หลังการซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi ของ UOB ในประเทศไทย

  • UOB กลายเป็นธนาคารที่มีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย
  • ธุรกิจบัตรเครดิตของ UOB จะกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 3 ของไทย
  • หลังจากซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi จะทำให้ UOB ในไทยมีรายได้จากลูกค้ารายย่อยสูงถึง 70%
  • ปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อประเทศไทยมีสัดส่วนราวๆ 6% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของกลุ่ม UOB
  • ขณะที่ในมาเลเซีย UOB กลายเป็นธนาคารที่มีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 5 และธุรกิจบัตรเครดิตของ UOB จะกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2

นอกจากนี้หลังจากการโอนย้ายลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วทาง UOB เองได้ตั้งเป้าที่จะเป็น The Best consumer Bank ในประเทศไทย แต่ถ้าหากมองภาพรวมในทั้งอาเซียนแล้วนั้น UOB ตั้งเป้าที่จะมีลูกค้ามากถึง 10 ล้านรายภายในระยะ 3-5 ปีหลังจากนี้

]]>
1406244
ยูโอบีเปิดตัวแอป UOB TMRW ที่แรกในไทย เตรียมเปิดตัวทั่วอาเซียนหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1401831 Mon, 26 Sep 2022 17:21:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401831 ยูโอบี ประเทศไทยจัดการรวม 2 แอปพลิเคชัน UOB Mighty กับ TMRW ให้กลายเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อ UOB TMRW โดยเปิดตัวในประเทศไทยเป็นที่แรก เนื่องจากมีการแข่งขันด้านดิจิทัลแบงก์กิ้งที่สูงแห่งหนึ่งในอาเซียน และจะมีการนำแอปดังกล่าวนี้เปิดตัวในประเทศอื่นๆ ทั่วอาเซียนในภายหลัง

เควิน แลม Head of UOB TMRW and Group Digital Banking ธนาคารยูโอบี เปิดเผยว่าในการเปิดตัว UOB TMRW ที่แรกในประเทศไทยเนื่องจากเป็นตลาดที่สำคัญ มีการใช้งาน รวมถึงการแข่งขันด้านดิจิทัลแบงก์กิ้งที่สูง เขาได้ชี้ว่าถ้าหากสามารถฝ่าด่านในประเทศไทยได้แล้วนั้น ที่อื่นในอาเซียนที่ UOB ให้บริการนั้นก็สามารถที่จะนำแอปพลิเคชันนี้ไปเปิดตัวได้

เขายังได้ชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิดยังทำให้การใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งรวมถึงบริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของ UOB ด้วย จากเดิมใช้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งราวๆ 20% เท่านั้น แต่ปัจจุบันนั้นมีมากถึง 66%

โดยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน UOB TMRW จุดเด่นที่เน้นได้แก่ Simple ใช้งานง่าย Seamless สามารถใช้งานบริการต่างๆ ของธนาคารได้อย่างไร้รอยต่อ รวมถึง Personalise ปรับแต่งเพื่อลูกค้าแต่ละคนตามความต้องการด้านการเงิน

หลังจากนี้ภายใน 24 เดือนจะมีการนำแอปพลิเคชัน UOB TMRW ไปเปิดตัวที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยปัจจุบัน UOB มีลูกค้ามากถึง 5 ล้านคนทั่วอาเซียน

ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้แอปพลิเคชัน TMRW กับ Mighty นั้นจับคนละกลุ่มลูกค้ากัน ต่อมาเมื่อมีพัฒนาการในตลาด เช่น NDID ทำให้สามารถเปิดบัญชีข้ามธนาคารได้นั้น ทำให้ลูกค้าของธนาคารเพิ่มขึ้น

ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินในแอปพลิเคชัน TMRW รวมถึงมีการขยายให้ลูกค้า TMRW ใช้ได้ทั่วประเทศ จากเดิมที่อยู่แต่ในกรุงเทพฯ รวมถึงธนาคารพบว่าลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ อีกมาก เช่น การลงทุน ฯลฯ จึงทำให้ธนาคารตัดสินใจรวม TMRW กับ Mighty เข้าด้วยกัน กลายเป็น UOB TMRW

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังได้กล่าวถึงกลยุทธ์ Retail Banking ของธนาคารนั้นประกอบไปด้วย

  • Omni-Channel มีช่องทางหลากหลายในการบริการ แต่เดิมลูกค้าต่างใช้บริการสาขา ตอนนี้สามารถหาลูกค้าใหม่จากออนไลน์ได้แล้ว สามารถเพิ่มรายได้ให้ธนาคารได้ และถ้าหากสาขามีปัญหาก็สามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้ Seamless Transaction
  • Traditional to Digital เปลี่ยนลูกค้าให้มาใช้บริการดิจิทัล ทำยังไงให้ลูกค้าใช้ชีวิตง่ายชึ้น มีธุรกรรมผ่านมือถือง่ายขึ้น เช่น ปรับวงเงินบัตรเครดิตผ่านแอปได้เลย 
  • Optimise Customer Lifeline Value  มีบริการใหม่ๆ เมื่ออายุของลูกค้าเพิ่ม เช่น บริการบัตรเครดิต สินเชื่อ บริการประกัน บริการการลงทุน ตลอดอายุของลูกค้า เป็นการดูแลลูกค้าแบบครบวงจร

โดยหลังจากนี้ทางแอปพลิเคชัน UOB TMRW จะมีการเพิ่มฟังก์ชันในการใช้งาน รวมถึงบริการทางการเงินใหม่ๆ เป็นระยะๆ

]]>
1401831
ดีล 1.2 เเสนล้านกับทิศทางธุรกิจรายย่อย ‘ซิตี้กรุ๊ป’ ในมือ UOB ต่อยอดลูกค้า ‘เครดิตดี’ https://positioningmag.com/1370465 Fri, 14 Jan 2022 11:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370465 ดีลใหญ่วงการธนาคารในตลาดอาเซียน เมื่อยูโอบี (UOB) เร่งสปีดโค้งสุดท้ายคว้าดีลซื้อธุรกิจรายย่อยซิตี้กรุ๊ป’ (Citigroup) ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียเเละเวียดนาม ด้วยมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2564 “ซิตี้กรุ๊ปประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศไทย จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อเงินฝาก จะถูกขายออกทั้งหมด ซึ่งทางซิตี้จะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเเละธุรกิจลูกค้าสถาบันเเทน

จากนั้นมาก็มีกระเเสข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการเเข่งขันเข้าซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของไทยนั้นก็มีตัวเต็งที่มาในช่วงเเรกๆ อย่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงศรีฯ เเต่ในท้ายที่สุดธนาคารยูโอบีก็ชนะดีลนี้ไปได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทยเเละเป็นราคาที่เหมาะสมผู้บริหารกลุ่มธนาคารยูโอบีกล่าว โดยขอให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะมีการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่บกพร่องเเละไม่มีอะไรหยุดชะงัก

ทุ่มซื้อ 1.2 เเสนล้าน 

กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย (ธุรกิจลูกค้ารายย่อย) ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม (การเสนอซื้อกิจการ) และรวมไปถึงพนักงานธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป

การพิจารณาข้อเสนอเงินสดสำหรับการเสนอซื้อกิจการนี้ จะคำนวณจากค่าพรีเมียมรวม 915 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.25 หมื่นล้านบาท) บวกกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.86 หมื่นล้านบาท) ทำให้เกิดมูลค่าในซื้อกิจการครั้งนี้ อยู่ที่เกือบ 5,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 1.2 แสนล้านบาท 

คาดว่าจะลดอัตราส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Common Equity Tier 1 หรือ CET1) ของธนาคารลง 0.7% เป็น 12.8% ตามสถานะเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2021 ผลกระทบต่ออัตราส่วน CET1 คาดว่าจะมีไม่มากและจะยังอยู่ภายในข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

นับเป็นทิศทางการขยายขอบเขตธุรกิจครั้งใหญ่ของยูโอบี เพื่อเจาะฐานลูกค้าผู้มีกำลังซื้อในอาเซียน และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเติบโตในกลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล เพิ่มเป็น 2 เท่าได้ภายใน 5 ปี

เพิ่มฐานลูกค้าอาเซียนเป็น 2 เท่า 

ปัจจุบันธุรกิจลูกค้ารายย่อยหรือ Retail Banking ของซิตี้กรุ๊ป มีสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.9 หมื่นล้านบาท) และฐานลูกค้าราว 2.4 ล้านราย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2021 และมีรายได้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564

ส่วนธุรกิจ Retail Banking ของ UOB ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีฐานลูกค้าจำนวน 2.89 ล้านราย ดังนั้น เมื่อเข้าทำการซื้อกิจการรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปแล้ว จะทำให้ฐานลูกค้ายูโอบีเพิ่มเป็น 5.29 ล้านราย

โดยเเบ่งเป็นในไทยราว 2.4 ล้านราย มาเลเซียราว 1.5 ล้านราย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย เเละเวียดนามอีกเกือบ 2 เเสนราย ซึ่งในเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าของซิตี้ ทำให้ยูโอบีสามารถเจาะตลาดที่กำลังเติบโตสูงได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการซื้อธุรกิจครั้งนี้

หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมนี้ในครั้งเดียว การเสนอซื้อกิจการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของธนาคาร และผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารยูโอบีได้ทันที

ยูโอบีคาดว่าส่วน ROE จะเพิ่มขึ้นเป็น 13% ในปี 2566 จากปีนี้ที่อยู่เฉลี่ยราว 10% เเละประเมินว่ารายได้จากการขยายกิจการครั้งนี้น่าจะเพิ่มขึ้นราว 1.4 เท่า ซึ่งจะมีรายได้ชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2567-2569 

คาดเเล้วเสร็จ กลางปี 65 ถึงต้นปี 67

การเข้าซื้อกิจการในแต่ละประเทศ จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศสิงคโปร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จระหว่างกลางปี 2565 ถึงต้นปี 2567 ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าและผลของกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร

ภายในครึ่งแรกของปี 2565 ธนาคารจะเข้าไปดำเนินการควบรวมกิจการในส่วนของประเทศไทยและมาเลเซียก่อน จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี จะเข้าไปดำเนินการในส่วนของอินโดนีเซีย และเวียดนาม

โดยในไทยเเละมาเลเซีย คาดว่าจะควบรวมต่างๆ ทั้งด้านระบบเเละพนักงานเเล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566  อินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 เเละเวียดนามในช่วงไตรมาส 1 ปี 2667”

ในระหว่างนี้ จะยังคงใช้ชื่อ Citi ไปก่อน เเละจะมีการเปลี่ยนให้ลูกค้ามาอยู่ภายใต้ยูโอบีทั้งหมดในช่วงปลายปี 2565 

ตลาดไทยหอมหวาน ลูกค้าเครดิตดี 

วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี (UOB) กล่าวว่า ลูกค้ารายย่อยในไทย เป็นพอร์ตที่มีคุณภาพ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับดีเเละจัดการได้ เเละลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมีกำลังซื้อ จึงมองว่าจะเอื้อต่อการเติบโตของยูโอบีได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทย

ประเมินว่า ยูโอบีจะมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจรายย่อยของไทย อยู่ที่อันดับ 6 ขยับขึ้นมาจากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 7 ขณะที่ธุรกิจบัตรเครดิต ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 จากอันดับ 8 และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็น 2.4 ล้านราย จากปัจจุบันที่ 1.3 ล้านราย

ผู้บริหารยูโอบี มองว่า การซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศ นับเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่มาถึงในเวลาที่เหมาะสม เเละเป็นการเข้าซื้อในราคาที่เหมาะสมเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ถึงสองเท่า เพิ่มความเเข็งเเกร่งด้านพันธมิตร เเละการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน

เรามุ่งหวังที่จะโอนย้ายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจที่มีคุณภาพของซิตี้กรุ๊ป และเตรียมต้อนรับทีมงาน สร้างคุณค่าให้กับฐานลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ของเราที่ขยายใหญ่ขึ้น

พร้อมยืนยันว่าพนักงานกว่า 5,000 รายในธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป จากทั้ง 4 ประเทศ จะยังได้ทำงานเช่นเดิม หลังกระบวนการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น โดยไม่มีแผนปลดพนักงานเพราะถือเป็นทีมที่มีคุณภาพ

เน้นดิจิทัล Cross sale ต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ 

สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจรายย่อยของธนาคารยูโอบี จะมุ่งเน้นไปที่การเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกำลังซื้อสูง ที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของซิตี้กรุ๊ปจะยังมีการสานต่อเเละขยายความร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้น ฟีเจอร์ไหนที่ลูกค้าสนใจ ก็จะมีการสื่อสารกับลูกค้าทันที พร้อมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Cross sale ระหว่าง 2 ธนาคารเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป

นอกจากนี้ จะมุ่งการเข้าหากลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่าน UOB TMRW แพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร และให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย (Omni-channel) เเละใช้ AI มาช่วยพัฒนาธุรกิจเเละบริการลูกค้าซึ่งความท้าทายของการโอนย้ายธุรกิจครั้งนี้ก็คือการรวมระบบเน็ตเวิร์กให้มาใช้เเพลตฟอร์มเดียวกัน

การเสนอซื้อกิจการนี้จะขยายเครือข่ายพันธมิตรของยูโอบี และเพิ่มขนาดธุรกิจลูกค้ารายย่อยในทั้ง 4 ประเทศขึ้นเป็นสองเท่า เร่งให้บรรลุเป้าขยายฐานลูกค้าในภูมิภาคเร็วขึ้นถึง 5 ปี

ด้าน ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Citi ประเทศไทย เผยว่า ธุรกรรมนี้เป็นผลดีต่อลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และองค์กรของเรา Citi มุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่น และในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการให้บริการแก่ลูกค้าธนาคารกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้ากลุ่มบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ของเรา

ต้องติดตามต่อไปว่า Retail Banking ซิตี้โฉมใหม่ภายใต้บ้านยูโอบีจะเป็นไปในทิศทางใด

]]>
1370465