WFH – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 23 May 2022 14:51:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เบื่อแล้วรถติด! ส่องผลวิจัย ‘Hybrid Work’ ไม่ได้เวิร์กแค่พนักงานแต่องค์กรก็ได้ประโยชน์ https://positioningmag.com/1386225 Mon, 23 May 2022 03:09:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386225 เชื่อว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา พนักงานออฟฟิศหลายคนน่าจะไปทำงานสาย เพราะเจอทั้งฝนตก และสภาพการจราจรที่คับคั่งเพราะเปิดเทอม หลายคนน่าจะโหยหายการ Work From Home เหมือนช่วงที่มีการระบาด หรืออย่างน้อยก็อยากให้องค์กรของตัวเองปรับการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work)

เว็บไซต์ TOMTOM เผยข้อมูลการจราจร ปี 2564 โดยจัดอันดับการจราจรใน 404 เมือง ใน 58 ประเทศ ใน 6 ทวีป โดยเฉพาะการเสียเวลาการเดินทางบนท้องถนนของ กรุงเทพฯ ประเทศไทย นั้นอยู่อันดับ 74 ของโลก เสียเวลาในการเดินทางอยู่ที่ 71 ชม.ต่อปี หรือเกือบ 3 วันเลยทีเดียว

ดังนั้น คงจะดีว่าถ้าเราสามารถทำงานจากออฟฟิศหรือจากที่บ้านก็ได้ โดยจากรายงานผลการศึกษาของ ซิสโก้ (Cisco) เกี่ยวกับความพร้อมของพนักงานสำหรับการทำงานแบบไฮบริด (“Employees are ready for hybrid work, are you?”) ของพนักงานในประเทศไทยโดยพบว่า

  • 70% เชื่อว่าคุณภาพการทำงานดีขึ้น
  • 71% รู้สึกว่าประสิทธิภาพการทำงานของตนเองปรับปรุงดีขึ้น
  • 82% รู้สึกว่าตนเองสามารถทำงานจากที่บ้านตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จเท่ากับการทำงานในออฟฟิศ
Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน 28,000 คนใน 27 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 1,050 คนในไทย พบว่า มีพนักงานในไทยเพียง 37% เท่านั้นที่คิดว่าบริษัทของตน มีความพร้อมอย่างมาก สำหรับการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต

  • 69% ของพนักงานในไทยที่ต้องการให้มีรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน เชื่อว่าการทำงานในอนาคตจะเป็นรูปแบบไฮบริด
  • 21% เชื่อว่าจะเป็นการทำงานจากที่บ้านทั้งหมด
  • 9% เชื่อว่าจะเป็นการทำงานในออฟฟิศทั้งหมด
Photo : Shutterstock

การทำงานแบบไฮบริดช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต

การศึกษาของซิสโก้มุ่งตรวจสอบผลกระทบของการทำงานแบบไฮบริดต่อคุณภาพชีวิตใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านอารมณ์ การเงิน จิตใจ ร่างกาย และสังคม โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 85% ระบุว่า การทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากที่บ้าน ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนในหลากหลายแง่มุม ได้แก่

  • 83% ระบุว่าการทำงานแบบไฮบริด ช่วยปรับปรุงสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตสำหรับพนักงาน
  • 54% รู้สึกว่าตารางเวลาการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • 46% รู้สึกว่าไม่ต้องเดินทางเพื่อไปทำงานหรือมีการเดินทางน้อยลงอย่างมาก
  • 74% ระบุว่า สามารถช่วยให้ประหยัดเวลาได้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อทำงานอยู่ที่บ้าน
  • 33% ระบุว่าช่วยประหยัดเวลาได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ในส่วนของด้านการเงิน กว่า 87% ระบุว่า คุณภาพชีวิตด้านการเงินของตนเองปรับปรุงดีขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 271,159 บาทต่อปี

  • 84% ระบุว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและ/หรือค่าเดินทาง
  • 64% ระบุว่าช่วยประหยัดค่าอาหารและความบันเทิง

ที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% เชื่อว่าตนเองจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ในระยะยาว และหากคิดที่จะเปลี่ยนงาน ก็อาจพิจารณาปัจจัยเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ในการตัดสินใจ

นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 83% เชื่อว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นเนื่องจากการทำงานจากที่บ้าน และ 78% ระบุว่าการทำงานแบบไฮบริดส่งผลดีต่อนิสัยการกินของตนเอง นอกเรื่องสุขภาพกายแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน 84% ชี้ว่าการทำงานจากที่บ้านช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ในครอบครัว และ 64% ระบุว่า ความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ แน่นแฟ้นมากขึ้น

ความไว้ใจคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

อย่างไรก็ดี มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นที่ว่ารูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันอาจส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม โดยผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 73% เชื่อว่า พฤติกรรมการบริหารงานแบบ จู้จี้จุกจิกและคอยจับผิด (Micromanaging) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากการทำงานจากที่บ้านและการทำงานแบบไฮบริด ที่จริงแล้ว การที่ผู้จัดการไม่ไว้ใจว่าพนักงานจะตั้งใจทำงานนับเป็นปัญหาที่บั่นทอนขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงาน

“ไฮบริดเวิร์ค มันไม่ใช่แค่การทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องมีเทคโนโลยีรองรับ ไมด์เซ็ทที่ดีของผู้บริหาร พนักงาน  ผู้บริหารและองค์กรต่าง ๆ จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากร โดยจะต้องรับฟังความเห็น สร้างความไว้วางใจ และบริหารงานด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความยืดหยุ่น และความยุติธรรม” อานุพัม เตรฮาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบุคลากรและชุมชนของซิสโก้ ประจำภูมิภาค APJC กล่าว

Photo : Shutterstock

ไซเบอร์ซีเคียว ความกังวลหลักขององค์กร

ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% เชื่อว่า ปัญหาในการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนับเป็นอุปสรรคที่จำกัดกรอบอาชีพการงานสำหรับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ 89% จึงมองว่า โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายมีความสำคัญอย่างมากสำหรับประสบการณ์การทำงานจากที่บ้านอย่างไร้รอยต่อ แต่ราว 22% ระบุว่า บริษัทของตนยังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 8 ใน 10 คนเชื่อว่า ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทำงานแบบไฮบริดอย่างปลอดภัย ขณะที่ 75% กล่าวว่า ในปัจจุบันองค์กรของตนมีความสามารถและโปรโตคอลที่เหมาะสมอยู่แล้ว และมีเพียง 76% เท่านั้นที่คิดว่าพนักงานทุกคนในบริษัทของตนเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบไฮบริด และ 79% คิดว่าผู้บริหารส่วนงานธุรกิจมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าว

]]>
1386225
Apple ออกกฎให้พนักงานที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ต้องตรวจโควิด ‘ทุกครั้ง’ ในวันที่จะเข้าออฟฟิศ https://positioningmag.com/1357826 Thu, 21 Oct 2021 08:25:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357826 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Apple เตรียมออกกฎให้พนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ‘ทุกครั้งในวันที่จะเข้าออฟฟิศ สะท้อนให้เห็นความเข้มงวดในการควบคุมโรคมากขึ้นเเต่ก็ยังไม่ถึงขั้นบังคับให้พนักงานต้องฉีดวัคซีนทุกคน

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทาง Apple แจ้งต่อพนักงานในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ข้อกำหนดดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับกลุ่มพนักงานที่ไม่รายงานสถานะการฉีดวัคซีนกับทางบริษัท ส่วนพนักงานที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการตรวจหาเชื้อแบบเร่งด่วน (Rapid Test) ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

เเต่ในกลุ่มพนักงานประจำสาขาของ Apple นั้นจะมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บริษัทจะขอให้พนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนทำการตรวจหาเชื้อ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แทนการตรวจในทุกๆ วันที่จะเข้ามาทำงาน เเละคนที่ฉีดวัคซีนแล้วจะต้องตรวจแบบ Rapid Test สัปดาห์ละครั้ง โดยข้อกำหนดใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ..เป็นต้นไป

Bloomberg ตั้งข้อสังเกตว่ากฎใหม่ที่เข้มงวดขึ้นของ Apple ครั้งนี้ เป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กำหนดให้ผู้รับเหมา (contractor) ที่รับงานจากรัฐบาลกลาง จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้พนักงานครบโดส ภายใน 8 ธันวาคมนี้ ซึ่ง Apple ก็เป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับรัฐบาล ผ่านช่องทางการขายเฉพาะ

ก่อนหน้านี้ Apple ขอให้พนักงานรายงานสถานะการฉีดวัคซีน พร้อมแสดงหลักฐาน ภายในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ หลังขยายเวลาจากตอนเเรกที่กำหนดไว้ที่กลางเดือนกันยายน

Apple เคยประกาศนโยบายให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้ง โดยเป็นการเข้าออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ แต่บางแผนกอาจต้องเข้างาน 4 หรือ 5 วัน ขึ้นอยู่กับเนื้องาน เเต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะมองว่าบริษัทขาดความยืดหยุ่นเกินไป

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้ภาคธุรกิจที่มีจำนวนพนักงานตั้งเเต่ 100 คนขึ้นไป จะต้องฉีดวัคซีนโควิดหรือตรวจหาเชื้อในกลุ่มคนงานที่ไม่ได้รับวัคซีน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งทางทำเนียบขาวกำลังเตรียมออกแนวทางเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ด้วย

]]>
1357826
เมื่อ WFH ทำ ‘เส้นแบ่งชีวิต’ หาย ‘เวลาส่วนตัว’ ที่มากขึ้นคือทางออกก่อน ‘หมดไฟ’ https://positioningmag.com/1350721 Tue, 07 Sep 2021 11:04:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350721 จากการระบาดของ COVID-19 ที่มาหลายระลอกจนหลายคนชินชาที่จะต้องทำทุกกิจกรรมภายในบ้านโดยเฉพาะ ‘การทำงาน’ หรือ ‘Work From Home’ และดูเหมือนว่าแม้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แต่เวลาในการทำงานกลับเหมือนไม่มีสิ้นสุด นำไปสู่อาการหมดไฟ และต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น

ทุกวันนี้ ผู้คนทั่วโลกรู้สึกกดดัน เครียด และเหนื่อยล้ามากขึ้น แม้ว่าการทำงานจากที่บ้านจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวันทำงาน แต่ขณะเดียวกันองค์กรก็มีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นว่าพนักงานจะต้อง พร้อมทำงานอยู่เสมอ และสำหรับหลาย ๆ คน เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ถูกหลอมรวมเป็นเส้นเดียวกันไปแล้ว ทำให้สิ่งที่หลาย ๆ คนต้องการมากที่สุดก็คือ ‘เวลาส่วนตัวที่มากขึ้น’

ก่อนที่โลกจะก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต อะโดบีได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 5,500 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ใน 7 ภูมิภาคทั่วโลก โดยมีการสอบถามเกี่ยวกับเวลาที่รู้สึกกดดันมากที่สุด และส่งผลกระทบกับชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องเวลาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

WFH ทำให้เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลาทำงาน

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับการทำงานจากที่บ้านคือ “ก่อนนี้เราเคยใช้เวลาราวสองชั่วโมงต่อวันเดินทางไป-กลับที่ทำงาน แต่ตอนนี้เมื่อเราทำงานจากที่บ้าน เราใช้เวลาดังกล่าวไปกับเรื่องใดบ้าง?” คำตอบที่ได้คือ คนจำนวนมากใช้เวลาว่างที่เพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงทำงานที่เพิ่มขึ้น

จากผลการสำรวจของอะโดบี พบว่า 49% ของพนักงานบริษัท และ 56% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่า ทุกวันนี้พวกเขาใช้เวลาทำงานยาวนานกว่าเดิม กล่าวคือ พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการ SME ทำงานโดยเฉลี่ย 45.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานปกติ

เวลาที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึง แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ว่าพนักงานหรือผู้ประกอบการต้อง พร้อมติดต่อได้เสมอ แม้กระทั่ง หลังเวลาเลิกงาน ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานบริษัท และ 3 ใน 5 ของผู้ประกอบการ SME รู้สึกกดดันที่จะต้องตอบกลับอีเมล และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหลังเวลางาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) กลายเป็นปัญหาที่พบมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการ SME กว่า 1 ใน 3 ประสบกับปัญหาที่พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า และหมดไฟในการทำงานเพราะความเครียดจากการทำงานในช่วงแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ได้เกิดขึ้นในระดับที่เท่าเทียมกันกับคนทุกกลุ่ม โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อยราว 67%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 49% ด้านผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน (ร้านขายของชำ) ราว 67% มีความเครียดเกี่ยวกับเวลาในการทำงานมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย 52%, ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ชาย 38% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กบางประเภท 49%

ความเครียดดังกล่าวส่งผลกระทบไปถึงเรื่องชีวิตส่วนตัวด้วย โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 64%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 54% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 60% มีความเครียดในเรื่องชีวิตส่วนตัวมากขึ้น จากการที่ต้องคอยประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในเวลาเดียวกัน

ผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 55% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 51% ว่าตนเองรู้สึกหมดไฟในการทำงานและการประกอบธุรกิจ  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่าตนเอง ยินดีที่จะขายธุรกิจในวันพรุ่งนี้ถ้าเป็นไปได้

กลุ่มคน Gen Z กว่าครึ่งพร้อมลาออก

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีพนักงานลาออกเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว พนักงานในสหรัฐฯ กว่า 4 ล้านคนลาออกจากงาน ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ ขณะที่พนักงานบริษัท 35% ระบุว่าตนเองมีแผนที่จะเปลี่ยนงานในปีหน้า และ 61% ของคนกลุ่มนี้ระบุถึงเหตุผลว่าเป็นเพราะ ต้องการที่จะออกแบบตารางเวลาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น

ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นสำหรับคนเพิ่งเริ่มทำงาน โดยถึงแม้ว่าคน Gen Z จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ กว่าครึ่ง หนึ่งมีแผนที่จะหางานใหม่ในปีหน้า  นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังระบุว่าพวกเขามีความพึงพอใจน้อยที่สุดกับ work-life balance (56%) รวมถึงอาชีพการทำงานโดยรวม (59%) และคนกลุ่มนี้รู้สึกกดดันมากที่สุดที่จะต้องทำงานใน ช่วงเวลาทำงานตามปกติ (62%)

1 ใน 4 ระบุว่าตนเองทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่เวลาทำงาน 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของคนรุ่น Gen Z ระบุว่าตนเองมักจะทำงานบนเตียงนอนเป็นประจำ

เทคโนโลยี ตัวช่วยเสริมการทำงาน

จากการสำรวจพบว่า พนักงานมีความคาดหวังที่สูงขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ งานง่าย ๆ อย่างเช่น การจัดการไฟล์ แบบฟอร์ม สัญญา การชำระเงิน และใบแจ้งหนี้

เนื่องจากพนักงานต้องใช้เวลาราว 1 ใน 3 ของชั่วโมงทำงานไปกับ งานธุรการที่ต้องทำซ้ำ ๆ โดย 86% ของพนักงานบริษัท และ 83% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่างานปลีกย่อยเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานหรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น Adobe Acrobat และ Adobe Sign

ดังนั้น ในอนาคต พนักงานจะต้องทำงานร่วมกันกับคนที่อยู่ในออฟฟิศ และคนที่ทำงานจากที่บ้าน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการปรับใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย รวมไปถึงเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติ เพื่อรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ทำงานกับองค์กรไปนาน ๆ

โดยผลการศึกษาของอะโดบีชี้ว่า พนักงานบริษัทราวครึ่งหนึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนงานถ้าหากว่าที่ทำงานใหม่มีเครื่องมือที่ดีกว่า ซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และถ้าหากพนักงานมีเวลาว่างมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งตอบว่า จะใช้เวลาว่างที่ไปกับเรื่องอื่น ๆ ที่ตนเองสนใจ รวมถึงการพัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อการเติบโตในอนาคต

]]>
1350721
Amazon ให้พนักงาน ‘Work from Home’ ยาวถึงปี 2022 หลังโควิดกลับมาระบาดอีกครั้ง https://positioningmag.com/1345712 Sat, 07 Aug 2021 15:35:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345712 หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายวันในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง โดยในช่วงวันที่ 2-6 ส.ค. 64 นั้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันทะยานกว่า 1 แสนราย เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทำให้สหรัฐฯ ต้องกลับมาแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงกลับมาสวมหน้ากากอีกครั้งแม้จะฉีดวัคซีนครบแล้ว

ย้อนไปในปลายเดือนพฤษภาคม Amazon แจ้งพนักงานว่าจะยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากสำหรับพนักงานในโกดังที่ได้รับวัคซีนครบชุด โดยคำสั่งดังกล่าวมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนไม่ต้องสวมหน้ากากได้

แต่จากการระบาดระลอกใหม่ของสายพันธุ์เดลตาทำให้ Amazon อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของสหรัฐฯ ต้องเลื่อนวันกลับเข้าทำงานในออฟฟิศยาวไปจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2022 จากเดิมที่มีกำหนดในการกลับเข้าออฟฟิศในวันที่ 7 กันยายน และเมื่อกลับมาทำงานในออฟฟิศอีกครั้ง พนักงานจะต้องสวมหน้ากากภายในสำนักงาน เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานว่าได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายแห่งถือเป็นกลุ่มบริษัทแรก ๆ ที่ปิดสำนักงานในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่เมื่อปีที่แล้ว และได้กำหนดว่าจะกลับมาทำงานในออฟฟิศอีกครั้งในเดือนกันยายน แต่ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้กำลังชะลอแผนดังกล่าวเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับตัวแปรเดลตาที่ระบาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Google ประกาศว่าจะเลื่อนวันกลับมาทำงานที่สำนักงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนถึงวันที่ 18 ตุลาคม ในขณะที่ Uber ระบุว่าจะไม่เปิดสำนักงานอีกครั้งจนถึงวันที่ 25 ตุลาคม Tim Cook CEO ของ Apple ก็ยืนยันเช่นกันว่าบริษัทจะชะลอการเปิดจากเดือนกันยายนไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน ส่วน Microsoft คาดว่าจะไม่กลับเข้ามาทำงานวันที่ 4 ตุลาคม

อย่างไรก็ตาม บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Lyft วางแผนที่จะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2022

Source

]]>
1345712
HSBC ลอง ‘Zoom-free Friday’ งดประชุมทุกวันศุกร์ ลดความเหนื่อยล้าเกินไป เมื่อต้องทำงานที่บ้าน https://positioningmag.com/1331829 Wed, 12 May 2021 11:08:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331829 สถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง HSBC ปรับกลยุทธ์ทำงานเเบบใหม่ รับเทรนด์ Remote Working ทดลอง Zoom-free Fridayงดประชุมออนไลน์ทุกวันศุกร์เพื่อลดความเครียด ความเหนื่อยล้าเกินไปของพนักงานที่ต้องทำงานจากบ้าน

การมาของโควิด-19 ทำให้หลายองค์กรต้องเปลี่ยนรูปเเบบการทำงาน ลดการใช้ออฟฟิศเเละหันมาประชุมออนไลน์มากขึ้น

HSBC ก็เตรียมลดขนาดพื้นที่สำนักงานลงกว่า 40% ภายหลังการระบาดใหญ่ พร้อมด้วยแผนการลดต้นทุนที่จะปลดพนักงานลงถึง 35,000 ตำเเหน่ง

สำหรับโครงการ Zoom-free Friday งดประชุมออนไลน์ทุกวันศุกร์โดยเฉพาะช่วงบ่ายนั้น จะเริ่มใช้กับพนักงานบางส่วนในสหราชอาณาจักรก่อน เเละให้พนักงานสามารถเอาช่วงเวลานั้นไปทำงานอย่างอื่นได้

ความสำคัญของ Work-life balance ในองค์กร ถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ Jonathan Frostick พนักงานระดับผู้จัดการ วัย 45 ปีของ HSBC ทำงานหนักจนป่วยเป็นโรคหัวใจวาย เเละต้องเข้าโรงพยาบาลเเบบกะทันหัน

เขาได้เเชร์เรื่องราวลงใน LinkedIn ส่วนตัว ถึงความเหนื่อยล้าจากการประชุมที่มากเกินไป คิดถึงเเต่เรื่องงานอยู่ตลอดเวลา ขณะที่พักรักษาตัวอยู่นั้น เขาก็คิดขึ้นได้ว่าต่อไปนี้ ฉันจะไม่ใช้เวลาทั้งวันไปกับ Zoom อีกต่อไป

โดยโพสต์ดังกล่าว มีผู้คนมาร่วมเเสดงความคิดเห็นกว่า 11,000 คอมเมนต์ ผู้ใช้เเพลตฟอร์มคนหนึ่ง ระบุว่าบริษัทต่างๆ กดดันให้พนักงานทำงานเกินขีดจำกัด โดยไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่เเละชีวิตส่วนตัว

Photo : Shutterstock

การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทาง หลายบริษัทงดให้พนักงานเดินทางมาที่ออฟฟิศ เเละให้ทำงานเเบบ Remote Working จากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ในเเต่ละวันเเพลตฟอร์มประชุมออนไลน์อย่าง Zoom , Microsoft Teams , Google Meet ฯลฯ จึงกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญให้พนักงานสามารถพบปะกันเเละสื่อสารงานต่างๆ ได้

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิด ‘Zoom fatigue’ หรือความเหนื่อยล้าจากการประชุมผ่าน Zoom โดยพบว่าพนักงานจำนวนมากมีความกังวลเพิ่มขึ้น เมื่อการงานได้รุกล้ำชีวิตส่วนตัวภายในบ้าน

เเม้เเต่ ‘อีริค หยวน’ ผู้ก่อตั้งเเพลตฟอร์ม Zoom ก็เปิดใจว่า เขาเองก็รู้สึกเหนื่อยจากประชุมออนไลน์ที่ไม่มีกำหนดเวลาเเละมากเกินไป

ก่อนหน้านี้ Citibank ได้ออกนโยบาย ‘ห้ามประชุมทุกวันศุกร์’ เพราะความไม่ชัดเจนของเส้นแบ่งระหว่างที่บ้านกับที่ทำงาน รวมถึงบริษัทหลายแห่งก็มีนโยบาย ‘จำกัดเวลาประชุมออนไลน์’ ออกมาเช่นเดียวกัน

ด้านทางเลือกการทำงานเเบบ ‘ไฮบริด’ ออฟฟิศผสมออนไลน์ ก็ได้รับความสนใจไม่น้อย อย่าง KPMG บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านบัญชี ก็อนุญาตให้พนักงานกว่า 16,000 คน สามารถ ‘เลิกก่อนเวลา’ ได้หนึ่งวันต่อสัปดาห์

 

ที่มา : BBC , Telegraph

]]>
1331829
อยู่แต่บ้านเดี๋ยวเบื่อ ‘Nissan’ ผุดคอนเซ็ปต์รถตู้ ‘Work from Anywhere’ ให้ทำงานได้ทุกที่ https://positioningmag.com/1315896 Fri, 22 Jan 2021 09:32:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315896 จากการระบาดของ COVID-19 รอบสองนี้ หลายประเทศเลยต้องขอให้ภาคเอกชนกลับไป Work from Home เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อ ซึ่งแบรนด์รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘นิสสัน (Nisson)’ ก็ได้ออกแบบรถคอนเซ็ปต์รถตู้นาม ‘NV350’ ที่จะทำให้การทำงานทางไกลไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

นิสสันได้เปิดเผยแนวคิดของรถยนต์ที่เกี่ยวกับเทรนด์การทำงานจากทุก Work from Anywhere ด้วยรถตู้รุ่น ‘NV350’ ที่จะเป็นเสมือนรถธุรกิจสำหรับมืออาชีพและผู้ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยรถคันนี้จะมีส่วนที่ยื่นออกมาจากท้ายรถตู้ที่สามารถพับเก็บได้โดยการสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งด้านในนั้นจะเป็นเหมือนดั่งออฟฟิศไซส์มินิ โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์และฟังก์ชันเสริมซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้แบบ Herman Miller Cosm และพื้นแบบ polycarbonate ที่จะทำให้เรามองเห็นวิวพื้นด้านล่างได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีไฟส่องสว่างรอบตัว

นอกจากนี้ ในส่วนของหลังคารถที่มาพร้อมกับเก้าอี้เอนและร่มกันแดด อีกทั้งยังมี ‘เครื่องชงกาแฟ’ ดังนั้นหากอยากเปลี่ยนบรรยากาศหรือพักสมองสักนิด พร้อมจิบกาแฟชิว ๆ ก่อนลุยงานต่อก็สามารถทำได้ ขณะที่ตัวรถเองก็สามารถขับได้ทั้งบนถนนปกติหรือทางขรุขระแบบออฟโรด เรียกได้ว่าสามารถพาไปได้ทุกที่

นิสสันระบุว่า แนวคิดนี้ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถทำงานได้ทุกที่ แถมยังสามารถปรับให้เข้ากับสไตล์การทำงานของตัวเองได้อีกด้วย เรียกได้ว่าขับไปเรื่อย ๆ เจอที่ไหนวิวดีน่านั่งทำงานก็ปักหลักตรงนั้นได้เลย อย่างไรก็ตาม รถตู้รุ่น NV350 ยังเป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น ใครที่สนใจอาจต้องอดใจรอสักหน่อยนะ

Source

]]>
1315896
MUJI ร่วมสังเวียน Subscription จับตาธุรกิจเช่าโต๊ะ-เก้าอี้รายเดือนมาแรงยุค WFH https://positioningmag.com/1288405 Sat, 18 Jul 2020 01:55:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288405 Photo : muji.com/jp

ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเมื่อเจ้าพ่อสินค้ามินิมอลอย่าง MUJI ประกาศเริ่มให้บริการสมัครสมาชิกเช่าเฟอร์นิเจอร์รายเดือน เพราะนี่คือสัญญาณน่าสนใจว่าธุรกิจสมาชิกเช่าโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์อื่นอาจจะฮอตฮิตติดลมในยุคที่ผู้คนทำงานจากบ้าน (work-from-home) ซึ่งทำให้หลายคนต้องจัดบ้านใหม่เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านมากขึ้น

ก้าวใหม่นี้สะท้อนตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดย MUJI ประกาศว่าตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคมเป็นต้นไป บริษัทจะเปิดให้ผู้สนใจสมัครใช้บริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน (ค่าธรรมเนียม 800 เยนต่อเดือน) ซึ่งจะได้รับเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งภายใน เช่น ชุดโฮมออฟฟิศ เบื้องต้นจะให้บริการผ่านร้าน MUJI จำนวนจำกัด

อีกความเปลี่ยนแปลงคือ MUJI จะเสนอบริการ “petit renovation” ซึ่งเป็นบริการวางแผนปรับเปลี่ยนห้องเพื่อช่วยจัดพื้นที่สำนักงานในบ้านขนาดเล็กโดยที่ปรับเปลี่ยนห้องเพียงเล็กน้อย โดยจะให้บริการคู่ไปกับ “lifestyle consultation” บริการให้คำปรึกษาด้านไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถพูดคุยกับที่ปรึกษามืออาชีพทางออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นการถามถึงวิธีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือชีวิตประจำวันของทุกคน

เช่ายาวได้ 4 ปี

นอกจากอุปกรณ์สำนักงาน MUJI เปิดให้สมาชิกเช่าเฟอร์นิเจอร์และชุดของตกแต่งสำหรับห้องนอน และห้องรับรองได้ด้วย เบื้องต้นอนุญาตให้เช่าต่อเนื่องนานถึง 4 ปี โดยสามารถชำระเงินรายเดือนหรือรายปีก็ได้ และหลังจากหมดระยะเวลาเช่า ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการคืน ต้องการซื้อ หรือขยายระยะเวลาการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นหรือไม่

แนวคิดนี้ถูกมองว่าเหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เพราะอพาร์ตเมนต์ในเขตเมืองของแดนซากุระนั้นค่อนข้างคับแคบ ดังนั้นการได้เช่าเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันลูกค้ายังสามารถใช้โอกาสนี้ในการทดสอบว่าเฟอร์นิเจอร์ของ MUJI นั้นเหมาะสมเป็นไปตามความคาดหวังหากซื้อมาตั้งไว้ในบ้านของตัวเอง

MUJI ประเดิมเฟสแรกที่เมืองใหญ่ของญี่ปุ่น ก่อนจะขยายไปเปิดตัวที่พื้นที่อื่น น่าเสียดายที่ยังไม่มีข่าวว่าบริการสมัครสมาชิกจะเปิดตัวในตลาดอื่นของโลกหรือไม่ แต่เบื้องต้นถูกประเมินว่ามีโอกาสน้อยที่จะให้บริการโดย MUJI USA ซึ่งมีข่าวว่าบริษัทเพิ่งยื่นขอล้มละลาย และกำลังปรับโครงสร้างธุรกิจพร้อมวางแผนปิดร้านค้าที่ทำกำไรน้อยในอนาคต

ตามรอย IKEA?

การให้เช่าเฟอร์นิเจอร์เพื่อให้ลูกค้าเพิ่มความคล่องตัวและทดลองใช้สินค้าที่หลากหลายนั้นถูกมองว่าไม่ใช้แนวคิดใหม่ เพราะรายใหญ่ในวงการเฟอร์นิเจอร์อย่าง IKEA ออกมาประกาศเมื่อปีที่แล้ว ว่าจะเริ่มทดสอบบริการเช่าเฟอร์นิเจอร์ใน 30 ตลาดช่วงปี 2020 นี้

แต่การประกาศของ MUJI เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะพอดีกับกระแส WFH ที่กำลังร้อนแรงในญี่ปุ่น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่อย่างฟูจิตสึประกาศชัดว่าจะลดพื้นที่สำนักงานลงครึ่งหนึ่ง และกระตุ้นให้พนักงานมากกว่า 80,000 คนเปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้าน จุดนี้บริษัทจะเปลี่ยนแปลงจากการให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มาเป็นการให้เงินเดือน 5,000 เยนต่อเดือนเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานจากที่บ้าน

ในขณะที่ MUJI กำลังจะพยายามคว้าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการประเมินว่าผู้รับอานิสงส์จากกระแส WFH ในญี่ปุ่น คือผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ราคาประหยัดชื่อ Nitori Holdings Co. ซึ่งสามารถดันมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 30% ในปีนี้

สำหรับ MUJI รายงานระบุว่าต้นสังกัดอย่างบริษัท Ryohin Keikaku จำเป็นต้องดิ้นเพื่อให้มีแหล่งรายได้ใหม่ เนื่องจากร้านค้า MUJI ได้รับผลกระทบจากการปิดตัวล็อกดาวน์ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคจนหุ้นลดลง 43% ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้.


ที่มา

]]>
1288405